ใกล้ปีใหม่ว่าจะเขียนแต่เรื่องดีๆ ก็มีอันต้องล้มเลิกความตั้งใจไปฉับพลัน เพราะรู้สึกอดรนทนไม่ได้กับปรากฏการณ์ “มั่วข่าว” กรณีที่มีนักข่าวตาน้ำข้าวนามว่า Thomas Bell ตีพิมพ์บทความโจมตีรัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ของไทย นายกษิต ภิรมย์ ลงหนังสือพิมพ์ The daily telegraph โดยตีพิมพ์เมื่อ 21 ธันวาคม ที่ผ่านมา
พาดหัวของบทความเจ้าปัญหา เขียนว่า “Bangkok airport protests were fun, says Thailand's new foreign minister” เห็นได้ชัดว่า ผู้เขียนจงใจจะตัดตอนคำพูดเพียงบางประโยคของรัฐมนตรีต่างประเทศของไทย เพื่อนำมาใช้สื่อสารในทางที่ทำให้คนอ่านเกิดความเข้าใจผิด สับสน และอาจทำให้มองได้ว่า ผู้พูดขาดวุฒิภาวะ ทั้งที่เป็นถึงรัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ แต่กลับทำเรื่องไม่เหมาะสม ด้วยการออกมาพูดสนับสนุนการบุกยึดสนามบินของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทั้งยังกล่าวชื่นชม การกระทำอันอุกอาจว่าเป็นเรื่องสนุกสนาน (แม้ว่าความจริง มันจะสนุกแค่ไหนก็ตาม)
และก็เป็นไปตามที่คาดไว้ คือ ทันทีที่มีการเผยแพร่บทความดังกล่าวออกมา นักข่าวบ้านเราหลายสำนักก็กระโดดคว้าประเด็นนี้มาเล่นต่อ โดยไม่มีการทำการบ้านแม้แต่น้อยว่า ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งมีดีกรีเป็นถึงอดีตทูตหลายสมัย หลายประเทศ และเป็นอดีตข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศที่ได้รับการกล่าวขาน เรื่องความสามารถในหน้าที่การงาน ความซื่อสัตย์ และความเสียสละตลอดชีวิตราชการ ได้พูดประโยคดังกล่าวออกมาจากปากจริงหรือไม่ ถ้าพูด- พูดในบริบทใด พูดกับใคร และต้องการจะสื่อความที่แท้จริงว่าอย่างไร
เรื่องราวลุกลามบานปลายถึงขนาดที่นักข่าวได้นำประเด็นดังกล่าวไปสัมภาษณ์นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีว่า รัฐมนตรีต่างประเทศท่านนี้จะเป็น “สายล่อฟ้า” ทำลายความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลชุดนี้หรือไม่ ทั้งที่ถ้าวัดตามคุณวุฒิ ประสบการณ์ และชื่อเสียงที่สั่งสมมาตลอดชั่วอายุการทำงาน คนระดับนายกษิต ภิรมย์ นายกรณ์ จาติกวณิช ก็ดี น่าจะถูกจัดอยู่ในระดับเป็น “จุดขาย” ของรัฐบาลมาร์ค 1 ด้วยซ้ำไป
แต่โชคดีที่ประเด็นนี้มากระจ่างได้ หลังคอลัมนิสต์อาวุโสอย่าง “กาแฟดำ” ช่วยไขข้อข้องใจให้ฟังในหน้า 2 ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจฉบับวันพุธว่า ในบทความของนักข่าว Daily Telegraph ก็มีการยอมรับว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยผู้นี้ยังได้พูดอีกสองประโยคสำคัญ (ซึ่งสำคัญกว่าที่มันเอาไปพาดหัวเสียอีก) ว่า “Look at it (the PAD) as pushing the process of democratization forward.” “ขอให้มองดูการรณรงค์ของพันธมิตรฯ เป็นการผลักดันกระบวนการประชาธิปไตยไปข้างหน้า...”
และ “You should be happy that for the first time ordinary people came out in full force to oppose corruption,” he said. “If society has to be changed it has a price.”
“คุณควรจะดีใจที่เป็นครั้งแรกที่ประชาชนธรรมดาออกมาต่อต้นคอร์รัปชันอย่างเต็มที่... และถ้าสังคมต้องการเปลี่ยนแปลง ก็ต้องมีราคาที่จะต้องจ่าย...”
ซึ่งเป็นการสะท้อนจุดยืนเรื่องการส่งเสริมประชาธิปไตย และการต่อต้านคอร์รัปชัน ล้วนเป็นการตอกย้ำคุณธรรม และค่านิยมที่เป็นสากลทั้งสิ้น
นอกจากนี้ ในท้ายบทความของนาย Thomas bell ที่อ้างคำพูดของนายกษิต ภิรมย์ที่ว่า ภริยาของเขาก็ยังเข้าไปร่วมการรณรงค์ดังกล่าว โดยมีเพียงอาหาร และยาติดมือติดไม้ไป ซึ่งหากจะมองให้เป็นธรรม จะเห็นว่าผู้พูดเพียงต้องการจะชี้แจงให้ทูตต่างประเทศเข้าใจว่าสถานการณ์ในประเทศไทยไม่ได้เลวร้ายและรุนแรงอย่างที่เป็นข่าว หากแต่เป็นเพียงการชุมนุมอย่างสงบของประชาชนที่ไม่ยอมรับอำนาจการบริหารงานของรัฐบาลนอมินีเท่านั้น
ที่น่าสังเกต คือ บทสนทนาระหว่างนายกษิต ภิรมย์ กับทูตหลายประเทศ ที่นาย Thomas bell หยิบมากล่าวอ้าง ไม่ได้ถูกอธิบายว่า มีบริบทของการสนทนาระหว่างสองฝ่ายเป็นแบบไหน เป็นการพูดอย่างทางการ? พูดในเวทีสาธารณะ? หรือพูดในวงนักการทูตที่สนิทชิดเชื้อ ในฐานะอดีตผู้ร่วมอาชีพ แต่ที่แน่ๆ ก็คือ เป็นการพูดก่อนหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะนำรายชื่อคณะรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯ
อย่างไรก็ดี เรื่องนี้จบลงที่ตัวท่านรัฐมนตรีกษิต ภิรมย์ ได้ออกมาชี้ความจริงทั้งหมดด้วยตนเอง สำทับด้วยคำอธิบายจากนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรองนายกฯ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
แต่ผู้เขียนเห็นกรณีของรัฐมนตรีกษิต พาลให้นึกถึงอีกหลายกรณี ที่พี่น้องสื่อสารมวลชนบ้านเราทำหน้าที่ที่อาจจะเรียกได้ว่าเข้าขั้นบกพร่อง จะด้วยความตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกรณีการเต้าข่าวของ สำนักข่าวแห่งหนึ่ง ที่ว่า ผู้นำเบอร์มิวด้าเสนอรับพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์ ทั้งที่ผู้นำประเทศนั้นๆ ไม่ได้รู้เรื่องอะไรที่ว่านี้ด้วยเลย
หรือแม้แต่กรณีที่ทำร้ายหัวใจคนไทยด้วยกันอย่างยิ่ง ที่มี หนังสือพิมพ์บางฉบับ ป้ายสีศิลปินหัวใจบริสุทธิ์เหยื่อการสลายการชุมนุม 7 ตุลาเลือด โดยกล่าวหาว่า มือขวาของพี่ชายของเรา ‘พี่ตี๋’ ชิงชัย เจริญอุดมกิจ กำระเบิด ทั้งที่แพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดียืนยันว่า มันเป็นแค่พวงกุญแจบ้านธรรมดาๆ เท่านั้นเอง เรื่องนี้เครือข่ายศิลปินเห็นว่า ควรจะต้องหาวิธีสั่งสอนสื่อมักง่ายเหล่านี้ ให้หลาบจำกันบ้าง จึงให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีในชั้นศาลกันอยู่ด้วย
ส่วนกรณีที่ถือว่า คลาสสิกที่สุด ผู้ตกเป็นเหยื่อถูกสื่อมักง่ายนำไปบิดเบือนความจริงกลายเป็น “พระพรหมบนตึกไทยคู่ฟ้า” โดยถูกกล่าวหาว่ามีมือดีขึ้นไปควักพระเนตร ทาขี้ผึ้งทำคุณไสย แต่สุดท้ายกลายเป็นเรื่องโอละพ่อ ..โธ่นี่ถ้าพระพรหมท่านขอใช้สิทธิถูกพาดพิงฟ้องร้องดำเนินคดีได้ คงมีเรื่องให้พี่น้องร่วมอาชีพเราได้อับอายขายหน้า เพิ่มอีกคดีเป็นแน่
พาดหัวของบทความเจ้าปัญหา เขียนว่า “Bangkok airport protests were fun, says Thailand's new foreign minister” เห็นได้ชัดว่า ผู้เขียนจงใจจะตัดตอนคำพูดเพียงบางประโยคของรัฐมนตรีต่างประเทศของไทย เพื่อนำมาใช้สื่อสารในทางที่ทำให้คนอ่านเกิดความเข้าใจผิด สับสน และอาจทำให้มองได้ว่า ผู้พูดขาดวุฒิภาวะ ทั้งที่เป็นถึงรัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ แต่กลับทำเรื่องไม่เหมาะสม ด้วยการออกมาพูดสนับสนุนการบุกยึดสนามบินของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทั้งยังกล่าวชื่นชม การกระทำอันอุกอาจว่าเป็นเรื่องสนุกสนาน (แม้ว่าความจริง มันจะสนุกแค่ไหนก็ตาม)
และก็เป็นไปตามที่คาดไว้ คือ ทันทีที่มีการเผยแพร่บทความดังกล่าวออกมา นักข่าวบ้านเราหลายสำนักก็กระโดดคว้าประเด็นนี้มาเล่นต่อ โดยไม่มีการทำการบ้านแม้แต่น้อยว่า ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งมีดีกรีเป็นถึงอดีตทูตหลายสมัย หลายประเทศ และเป็นอดีตข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศที่ได้รับการกล่าวขาน เรื่องความสามารถในหน้าที่การงาน ความซื่อสัตย์ และความเสียสละตลอดชีวิตราชการ ได้พูดประโยคดังกล่าวออกมาจากปากจริงหรือไม่ ถ้าพูด- พูดในบริบทใด พูดกับใคร และต้องการจะสื่อความที่แท้จริงว่าอย่างไร
เรื่องราวลุกลามบานปลายถึงขนาดที่นักข่าวได้นำประเด็นดังกล่าวไปสัมภาษณ์นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีว่า รัฐมนตรีต่างประเทศท่านนี้จะเป็น “สายล่อฟ้า” ทำลายความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลชุดนี้หรือไม่ ทั้งที่ถ้าวัดตามคุณวุฒิ ประสบการณ์ และชื่อเสียงที่สั่งสมมาตลอดชั่วอายุการทำงาน คนระดับนายกษิต ภิรมย์ นายกรณ์ จาติกวณิช ก็ดี น่าจะถูกจัดอยู่ในระดับเป็น “จุดขาย” ของรัฐบาลมาร์ค 1 ด้วยซ้ำไป
แต่โชคดีที่ประเด็นนี้มากระจ่างได้ หลังคอลัมนิสต์อาวุโสอย่าง “กาแฟดำ” ช่วยไขข้อข้องใจให้ฟังในหน้า 2 ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจฉบับวันพุธว่า ในบทความของนักข่าว Daily Telegraph ก็มีการยอมรับว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยผู้นี้ยังได้พูดอีกสองประโยคสำคัญ (ซึ่งสำคัญกว่าที่มันเอาไปพาดหัวเสียอีก) ว่า “Look at it (the PAD) as pushing the process of democratization forward.” “ขอให้มองดูการรณรงค์ของพันธมิตรฯ เป็นการผลักดันกระบวนการประชาธิปไตยไปข้างหน้า...”
และ “You should be happy that for the first time ordinary people came out in full force to oppose corruption,” he said. “If society has to be changed it has a price.”
“คุณควรจะดีใจที่เป็นครั้งแรกที่ประชาชนธรรมดาออกมาต่อต้นคอร์รัปชันอย่างเต็มที่... และถ้าสังคมต้องการเปลี่ยนแปลง ก็ต้องมีราคาที่จะต้องจ่าย...”
ซึ่งเป็นการสะท้อนจุดยืนเรื่องการส่งเสริมประชาธิปไตย และการต่อต้านคอร์รัปชัน ล้วนเป็นการตอกย้ำคุณธรรม และค่านิยมที่เป็นสากลทั้งสิ้น
นอกจากนี้ ในท้ายบทความของนาย Thomas bell ที่อ้างคำพูดของนายกษิต ภิรมย์ที่ว่า ภริยาของเขาก็ยังเข้าไปร่วมการรณรงค์ดังกล่าว โดยมีเพียงอาหาร และยาติดมือติดไม้ไป ซึ่งหากจะมองให้เป็นธรรม จะเห็นว่าผู้พูดเพียงต้องการจะชี้แจงให้ทูตต่างประเทศเข้าใจว่าสถานการณ์ในประเทศไทยไม่ได้เลวร้ายและรุนแรงอย่างที่เป็นข่าว หากแต่เป็นเพียงการชุมนุมอย่างสงบของประชาชนที่ไม่ยอมรับอำนาจการบริหารงานของรัฐบาลนอมินีเท่านั้น
ที่น่าสังเกต คือ บทสนทนาระหว่างนายกษิต ภิรมย์ กับทูตหลายประเทศ ที่นาย Thomas bell หยิบมากล่าวอ้าง ไม่ได้ถูกอธิบายว่า มีบริบทของการสนทนาระหว่างสองฝ่ายเป็นแบบไหน เป็นการพูดอย่างทางการ? พูดในเวทีสาธารณะ? หรือพูดในวงนักการทูตที่สนิทชิดเชื้อ ในฐานะอดีตผู้ร่วมอาชีพ แต่ที่แน่ๆ ก็คือ เป็นการพูดก่อนหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะนำรายชื่อคณะรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯ
อย่างไรก็ดี เรื่องนี้จบลงที่ตัวท่านรัฐมนตรีกษิต ภิรมย์ ได้ออกมาชี้ความจริงทั้งหมดด้วยตนเอง สำทับด้วยคำอธิบายจากนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรองนายกฯ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
แต่ผู้เขียนเห็นกรณีของรัฐมนตรีกษิต พาลให้นึกถึงอีกหลายกรณี ที่พี่น้องสื่อสารมวลชนบ้านเราทำหน้าที่ที่อาจจะเรียกได้ว่าเข้าขั้นบกพร่อง จะด้วยความตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกรณีการเต้าข่าวของ สำนักข่าวแห่งหนึ่ง ที่ว่า ผู้นำเบอร์มิวด้าเสนอรับพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์ ทั้งที่ผู้นำประเทศนั้นๆ ไม่ได้รู้เรื่องอะไรที่ว่านี้ด้วยเลย
หรือแม้แต่กรณีที่ทำร้ายหัวใจคนไทยด้วยกันอย่างยิ่ง ที่มี หนังสือพิมพ์บางฉบับ ป้ายสีศิลปินหัวใจบริสุทธิ์เหยื่อการสลายการชุมนุม 7 ตุลาเลือด โดยกล่าวหาว่า มือขวาของพี่ชายของเรา ‘พี่ตี๋’ ชิงชัย เจริญอุดมกิจ กำระเบิด ทั้งที่แพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดียืนยันว่า มันเป็นแค่พวงกุญแจบ้านธรรมดาๆ เท่านั้นเอง เรื่องนี้เครือข่ายศิลปินเห็นว่า ควรจะต้องหาวิธีสั่งสอนสื่อมักง่ายเหล่านี้ ให้หลาบจำกันบ้าง จึงให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีในชั้นศาลกันอยู่ด้วย
ส่วนกรณีที่ถือว่า คลาสสิกที่สุด ผู้ตกเป็นเหยื่อถูกสื่อมักง่ายนำไปบิดเบือนความจริงกลายเป็น “พระพรหมบนตึกไทยคู่ฟ้า” โดยถูกกล่าวหาว่ามีมือดีขึ้นไปควักพระเนตร ทาขี้ผึ้งทำคุณไสย แต่สุดท้ายกลายเป็นเรื่องโอละพ่อ ..โธ่นี่ถ้าพระพรหมท่านขอใช้สิทธิถูกพาดพิงฟ้องร้องดำเนินคดีได้ คงมีเรื่องให้พี่น้องร่วมอาชีพเราได้อับอายขายหน้า เพิ่มอีกคดีเป็นแน่