ASTVผู้จัดการรายวัน- “ปิยสวัสดิ์” เสนอรัฐบาลมาร์คควรใช้จังหวะราคาน้ำมันขาลงวางรากฐานพลังงานของประเทศภายใน 99 วันแรกของปี 52 ด้วยการปรับโครงการด้านการผลิตและการใช้ เพื่อรองรับกับวิกฤติน้ำมันที่จะกลับมาอีกรอบในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าเมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว พร้อมค้านการต่ออายุโครงการ 6 มาตรการ 6 เดือน
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานที่ปรึกษามูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม และอดีตรมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันราคาน้ำมันตลาดโลกได้ลดลงจนสู่ระดับใกล้เคียงกับเมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา จึงเป็นจังหวะที่ดีสุดของรัฐบาลใหม่ที่จะวางรากฐานพลังงานของประเทศด้วยการปรับโครงสร้างการผลิตและการใช้ในประเทศภายใน 99 วันแรกในปี 2552 ไว้รองรับผลกระทบวิกฤติน้ำมันที่คาดว่าอีก 2-3 ปี จะกลับมามีราคาแพงในระดับ 70-100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลอีกครั้ง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกจะเริ่มค่อยๆ ฟื้นตัว
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันที่ต่ำรัฐบาลควรจะสานต่อโครงการด้านส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการส่งเสริมพลังงานทดแทนด้วยการเพิ่มการใช้เอทานอลที่จะต้องเร่งขยายปั๊มแก๊สโซฮอล์ 91 แทนเบนซิน 91 ทั้งหมดที่จะทำให้การใช้เอทานอลเพิ่มขึ้นอีก 3 แสนลิตรต่อวัน การเร่งส่งเสริมอี 20 ส่วนอี 85 นั้น ควรวางกรอบปฏิบัติการให้ชัดเจนอย่างเป็นระบบ ส่วนไบโอดีเซลควรบังคับจากดีเซล (บี2) เป็นบี 3 วันที่ 1 เม.ย.2552 และบังคับใช้บี 4 และบี 5 วันที่ 1 ม.ค.2553 และ 1 ม.ค.2554 ตามลำดับ เนื่องจากปริมาณบี 100 ที่ใช้ผสมจะมีการผลิตที่รองรับกับความต้องการได้มากพอ
“รัฐบาลควรส่งเสริมการสร้างระบบขนส่งมวลชนและรถไฟรางคู่ เพื่อที่จะทำให้ภาคขนส่งของไทยมีการใช้พลังงานอย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งยังยืนยันหลักการเดิมที่เคยเสนอไว้กับทุกรัฐบาลคือ การนำเงินกองทุนส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์พลังงานที่มีการจัดเก็บจากผู้ใช้น้ำมันไปร่วมลงทุนสำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้า ซึ่งที่ผ่านมาเราเสียประโยชน์จากจุดนี้ไปโดยสูญเปล่า”นายปิยสวัสดิ์กล่าว
นายปิยสวัสดิ์กล่าวว่า สำหรับมาตรการที่ควรเร่งรัด คือ การปล่อยลอยตัวราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) เนื่องจากราคาแอลพีจีในตลาดโลกลดลงมาอยู่ที่ 338 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือเท่ากับ 11.7 บาทต่อก.ก. ใกล้เคียงกับแอลพีจีหน้าโรงกลั่น 11 บาทต่อก.ก. จึงไม่จำเป็นต้องปรับเพิ่มราคาขายปลีก และขอให้ยกเลิกระบบแอลพีจี 2 ราคา ส่วนก๊าซธรรมชาติ(เอ็นจีวี) ควรจะปรับขึ้นราคา เพราะมีราคาถูกเกินควร
นอกจากนี้ ควรปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันสู่ระดับเดิมทันทีจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนผลกระทบต่อราคาขายปลีกนั้น รัฐบาลสามารถบรรเทาผลกระทบโดยการลดการเก็บเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจากแก๊สโซฮอล์และดีเซลในอัตรา 1.70 บาท/ลิตร เมื่อพิจารณาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลงมาในช่วง 2 วันที่ผ่านมา จะทำให้ราคาขายปลีกแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ไม่เกิน 1 บาท/ลิตร ส่วนราคาดีเซลไม่เพิ่มขึ้นเลย เพราะการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันฯ นอกจากรายได้รัฐจะลดลงแบบไม่มีประโยชน์แล้ว ยังไปส่งเสริมให้คนไทยใช้อย่างไม่ประหยัด
“กรณีรัฐบาลจะต่ออายุ 6 มาตรการ 6 เดือนเพื่อประชาชน ควรพิจารณาเป็นรายมาตรการไป และช่วยเหลือให้ตรงจุด เช่น ภาษีน้ำมันควรจะปรับขึ้นตามอัตราเดิม กรณีค่าไฟฟ้า ค่าน้ำฟรี ตามหลักการแล้วไม่ควรทำ เพราะไปบิดเบือนโครงสร้าง แต่หากจำเป็นควรทบทวนช่วยเหลือกลุ่มคนที่เดือดร้อนจริงๆ เพราะที่ผ่านมา คนรวยก็ได้ประโยชน์จากมาตรการใช้น้ำฟรี ไฟฟรีด้วย ทั้งที่เขาไม่ได้เดือดร้อน” นายปิยสวัสดิ์กล่าว
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานที่ปรึกษามูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม และอดีตรมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันราคาน้ำมันตลาดโลกได้ลดลงจนสู่ระดับใกล้เคียงกับเมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา จึงเป็นจังหวะที่ดีสุดของรัฐบาลใหม่ที่จะวางรากฐานพลังงานของประเทศด้วยการปรับโครงสร้างการผลิตและการใช้ในประเทศภายใน 99 วันแรกในปี 2552 ไว้รองรับผลกระทบวิกฤติน้ำมันที่คาดว่าอีก 2-3 ปี จะกลับมามีราคาแพงในระดับ 70-100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลอีกครั้ง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกจะเริ่มค่อยๆ ฟื้นตัว
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันที่ต่ำรัฐบาลควรจะสานต่อโครงการด้านส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการส่งเสริมพลังงานทดแทนด้วยการเพิ่มการใช้เอทานอลที่จะต้องเร่งขยายปั๊มแก๊สโซฮอล์ 91 แทนเบนซิน 91 ทั้งหมดที่จะทำให้การใช้เอทานอลเพิ่มขึ้นอีก 3 แสนลิตรต่อวัน การเร่งส่งเสริมอี 20 ส่วนอี 85 นั้น ควรวางกรอบปฏิบัติการให้ชัดเจนอย่างเป็นระบบ ส่วนไบโอดีเซลควรบังคับจากดีเซล (บี2) เป็นบี 3 วันที่ 1 เม.ย.2552 และบังคับใช้บี 4 และบี 5 วันที่ 1 ม.ค.2553 และ 1 ม.ค.2554 ตามลำดับ เนื่องจากปริมาณบี 100 ที่ใช้ผสมจะมีการผลิตที่รองรับกับความต้องการได้มากพอ
“รัฐบาลควรส่งเสริมการสร้างระบบขนส่งมวลชนและรถไฟรางคู่ เพื่อที่จะทำให้ภาคขนส่งของไทยมีการใช้พลังงานอย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งยังยืนยันหลักการเดิมที่เคยเสนอไว้กับทุกรัฐบาลคือ การนำเงินกองทุนส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์พลังงานที่มีการจัดเก็บจากผู้ใช้น้ำมันไปร่วมลงทุนสำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้า ซึ่งที่ผ่านมาเราเสียประโยชน์จากจุดนี้ไปโดยสูญเปล่า”นายปิยสวัสดิ์กล่าว
นายปิยสวัสดิ์กล่าวว่า สำหรับมาตรการที่ควรเร่งรัด คือ การปล่อยลอยตัวราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) เนื่องจากราคาแอลพีจีในตลาดโลกลดลงมาอยู่ที่ 338 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือเท่ากับ 11.7 บาทต่อก.ก. ใกล้เคียงกับแอลพีจีหน้าโรงกลั่น 11 บาทต่อก.ก. จึงไม่จำเป็นต้องปรับเพิ่มราคาขายปลีก และขอให้ยกเลิกระบบแอลพีจี 2 ราคา ส่วนก๊าซธรรมชาติ(เอ็นจีวี) ควรจะปรับขึ้นราคา เพราะมีราคาถูกเกินควร
นอกจากนี้ ควรปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันสู่ระดับเดิมทันทีจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนผลกระทบต่อราคาขายปลีกนั้น รัฐบาลสามารถบรรเทาผลกระทบโดยการลดการเก็บเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจากแก๊สโซฮอล์และดีเซลในอัตรา 1.70 บาท/ลิตร เมื่อพิจารณาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลงมาในช่วง 2 วันที่ผ่านมา จะทำให้ราคาขายปลีกแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ไม่เกิน 1 บาท/ลิตร ส่วนราคาดีเซลไม่เพิ่มขึ้นเลย เพราะการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันฯ นอกจากรายได้รัฐจะลดลงแบบไม่มีประโยชน์แล้ว ยังไปส่งเสริมให้คนไทยใช้อย่างไม่ประหยัด
“กรณีรัฐบาลจะต่ออายุ 6 มาตรการ 6 เดือนเพื่อประชาชน ควรพิจารณาเป็นรายมาตรการไป และช่วยเหลือให้ตรงจุด เช่น ภาษีน้ำมันควรจะปรับขึ้นตามอัตราเดิม กรณีค่าไฟฟ้า ค่าน้ำฟรี ตามหลักการแล้วไม่ควรทำ เพราะไปบิดเบือนโครงสร้าง แต่หากจำเป็นควรทบทวนช่วยเหลือกลุ่มคนที่เดือดร้อนจริงๆ เพราะที่ผ่านมา คนรวยก็ได้ประโยชน์จากมาตรการใช้น้ำฟรี ไฟฟรีด้วย ทั้งที่เขาไม่ได้เดือดร้อน” นายปิยสวัสดิ์กล่าว