นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนที่ 27 ด้วยความยินดีปรีดาจากประชาชนโดยทั่วไป แม้จะไม่นึกว่าจะได้เห็นนายเนวิน กับนายอภิสิทธิ์กอดกัน หรือจะได้เห็นการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีที่พรรคการเมืองขนาดใหญ่ตกเป็นเบี้ยล่างให้กับพรรคการเมืองขนาดกลางและเล็ก ทหาร และนายทุน อย่างที่เห็นทุกวันนี้
ที่คนส่วนใหญ่ได้ให้กำลังใจ สนับสนุน และให้โอกาส นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เพราะเหตุว่าประวัติของนายอภิสิทธิ์ที่ทำงานทางการเมืองมากว่า 16 ปี ไม่เคยมีประวัติด่างพร้อย แสดงความคิดเห็นอยู่บนความถูกต้องชอบธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต โดยเฉพาะในสถานการณ์บ้านเมืองที่ต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตทางการเมือง และปัญหาทางเศรษฐกิจเช่นนี้ คงฝากความหวังหัวหน้าพรรคการเมืองอื่นในระบบการเมืองเก่าไม่ได้อีกต่อไปแล้ว
ด้านหนึ่งจึงถือว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โชคร้ายที่ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีในยามที่บ้านเมืองมีวิกฤตทางการเมือง และวิกฤตทางเศรษฐกิจ จึงต้องมีความเสี่ยงและต้องยอมเปลืองตัวที่ต้องทำงานร่วมกับกลุ่มนักการเมืองน้ำเน่าในระบบการเมืองเก่า
อีกด้านหนึ่งต้องถือว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โชคดี เพราะในยามที่เกิดวิกฤตทางการเมือง และวิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้ คนส่วนใหญ่ก็ได้พยายามยอมหลับตาข้างหนึ่ง หรือมองข้ามองค์ประกอบบางส่วนที่ไม่สมบูรณ์และอัปลักษณ์ของรัฐบาล เพื่อให้เวลากับนายกรัฐมนตรีที่มีภาพลักษณ์ดีคนนี้เร่งแก้ไขปัญหาทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจให้ได้เร็วที่สุด
ประชาชนจึงหวังว่าสิ่งที่นายอภิสิทธิ์ได้กล่าวสุนทรพจน์เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เอาไว้ จะได้นำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง
“บรรดาประสบการณ์ความรู้ทั้งหมด ผมจะนำมาใช้บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อรับใช้ผลประโยชน์ส่วนรวม “เท่านั้น” และผมยืนยันกับพี่น้องประชาชนที่ได้สนับสนุนผมมาตลอดว่า ผมจะไม่ละทิ้งอุดมการณ์ แนวทางการทำงานของผม และปล่อยสิ่งเหล่านี้ให้สูญหายไปกับการใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้อง หรือปล่อยปละละเลยให้เกิดความไม่ถูกต้องขึ้นในบ้านเมืองนี้”
บัดนี้บททดสอบแรกได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว เมื่อรัฐบาลที่มีองค์ประกอบมาจากการต่อรองของกลุ่มพรรคการเมือง ทหาร และนายทุน มีการขัดกันกับผลประโยชน์ของประชาชนและความถูกต้องชอบธรรม นายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจะเลือกอะไร?
การเร่งรีบย้าย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ กลับเข้ามาทำหน้าที่ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเหมือนดังเดิม โดยรักษาการนายกรัฐมนตรี นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ทั้งๆ ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 อย่างไม่ชอบมาพากล ย่อมถูกสงสัยได้ว่า แท้ที่จริงแล้วรัฐบาลชุดนี้อยู่ภายใต้การครอบงำของฝ่ายทหารผ่านสายสัมพันธ์ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหรือไม่?
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ กับพวก ได้ถูกตั้งเรื่องเสนอต่อนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551 ด้วยข้อหาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงในการเสนอราคาการจัดจ้างโฆษณา และเผยแพร่รายการของตำรวจโดยวิธีพิเศษภายหลังจากที่ได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วสรุปความเห็นแล้วว่าเรื่องดังกล่าวมีมูล
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่นายชูศักดิ์ ศิรินิล เลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ และพวก และเสนอให้ย้าย พล.ต.อ.พัชรวาท มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีก่อน เพราะหากมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงและยังทำงานในหน้าที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติต่อไป อาจมีปัญหาและอุปสรรคในการสืบสวนข้อเท็จจริง
นักการเมืองน้ำดีและมีประสบการณ์ทางการเมืองถึง 16 ปี อย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ย่อมเข้าใจว่า ปัญหาและอุปสรรคในการสอบสวนข้อเท็จจริงต่อผู้ที่ยังทำงานในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดในหน่วยงานนั้นเป็นเรื่องที่ยากเย็นแสนเข็ญเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานอย่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ต้นเรื่องการย้าย พล.ต.อ.พัชรวาท จึงไม่ได้มีความเกี่ยวพันกับการขัดขืนต่ออำนาจรัฐในการไม่ยินยอมฟังคำสั่งในการสลายการชุมนุมที่สนามบินสุวรรณภูมิ หรือทำเนียบรัฐบาล แต่เป็นเรื่องการกล่าวหาว่าได้มีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542
พ.ร.บ.การเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หรือเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ว่าเป็นกฎหมายป้องกันและลงโทษการฮั้ว เป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย สมัยที่ 2 อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ซึ่งสังคมให้ความเชื่อถือว่าเป็นนักการเมืองที่ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ตั้ง จึงย่อมเป็นไปไม่ได้ที่นายกรัฐมนตรีภาพลักษณ์ดีอย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้ซึ่งยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ตั้งเหมือนกัน จะละเลยเพิกเฉยต่อผู้กระทำความผิดในกฎหมายที่พรรคประชาธิปัตย์ริเริ่มขึ้นมาเอง
นายสุพล ฟองงาม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ทำหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เพื่อขอให้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง
แต่นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล กลับออกคำสั่งตัดหน้าวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เพื่อนำ พล.ต.อ.พัชรวาท กลับมานั่งที่เดิมก่อนที่นายอภิสิทธิ์จะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหลังจากแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยอ้างอย่างไร้เหตุผลว่า ได้ปฏิบัติภารกิจที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสร็จสิ้นแล้ว และเพิกเฉยต่อข้อกล่าวหาความผิดว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐทั้งหมดซึ่งเป็นเหตุผลในการย้ายไปก่อนหน้านี้
ถ้านายกรัฐมนตรีคนนี้ไม่เป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คงถูกประชาชนสงสัยไปแล้วว่าขยิบตาให้ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ช่วยใช้อำนาจตัดหน้าโยกย้าย พล.ต.อ.พัชรวาท กลับมาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อตอบแทนบุญคุณฝ่ายทหาร และเป็นหนังหน้าไฟแทนนายกรัฐมนตรี ใช่หรือไม่?
แต่เมื่อเป็นนายอภิสิทธิ์ กรณีนี้จึงกลายเป็นความท้าทายจริยธรรมว่าจะเลือกถนอมน้ำใจ และเกรงใจ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก หรือยืนอยู่บนความถูกต้องบนนิติรัฐและอยู่บนความถูกต้อง?
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยังมีอีกหนึ่งคดีที่ตำรวจได้สลายการชุมนุม 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 หน้ารัฐสภา ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้สรุปแล้วว่า พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ และตำรวจอีก 23 คนต้องรับผิดชอบในการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าว รวมทั้งการละเมิดต่อกฎหมายที่อาจเข้าข่ายเป็นความผิด ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติและ/หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุได้รับอันตรายสาหัส ฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมาอาญา มาตรา 157, 295, 297, 288, 289, 83
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ไม่มีสิทธิที่จะรอดพ้นการถูกดำเนินคดีโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพราะรู้อยู่แล้วว่าการสลายการชุมนุมในช่วงเช้าโดยตำรวจนั้น ได้กระทำเกินกว่าเหตุจนเป็นผลทำให้มีประชาชนบาดเจ็บสาหัส แขนขาขาด และเสียชีวิต แล้วยังปล่อยปละละเลยให้ใช้แก๊สน้ำตาและการสลายด้วยความเหี้ยมโหดต่อไปอีกหลายครั้งจนถึงเวลากลางคืน
คนอย่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคงจะไม่ยอมยืนอยู่ข้าง พล.ต.อ.พัชรวาท และทิ้งวีรชนที่พิการ บาดเจ็บ และเสียชีวิต จากเหตุการณ์ดังกล่าว เพราะรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับดังกล่าวนี้ ส่วนหนึ่งได้เกิดขึ้นมาเพราะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ทำหนังสือถึง ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เพื่อให้สอบสวนเหตุการณ์การสลายการชุมนุมวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551
เนื้อความส่วนหนึ่งในจดหมายของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะที่ทำถึงประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินั้น มีเนื้อความส่วนหนึ่งระบุว่า...
พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากการสั่งการและปฏิบัติการที่รุนแรงเกินกว่าเหตุตั้งแต่ช่วงเช้าจนถึงยามวิกาลทำให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายและละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง สมควรที่จะต้องสอบสวนหาข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการลงโทษต่อผู้กระทำความผิดต่อไป
และลงท้ายจดหมายดังกล่าวว่า...
“พรรคประชาธิปัตย์จึงขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดำเนินการสอบสวนเบื้องหน้าเบื้องหลังอันเป็นต้นเหตุของเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นตามอำนาจหน้าที่เป็นการเร่งด่วน เพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดต่อไป
เมื่อรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนออกมาดังนี้แล้ว ก็เชื่อมั่นว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมาเป็นนายกรัฐมนตรีก็คงจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนเหมือนเจตนารมณ์ที่ได้ตั้งไว้ก่อนเป็นนายกรัฐมนตรี และเชื่อมั่นว่า “จะไม่ปล่อยปละละเลยให้เกิดความไม่ถูกต้องขึ้นในบ้านเมืองนี้” ตามที่นายอภิสิทธิ์ได้กล่าวสุนทรพจน์เอาไว้ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ถ้าดำเนินการเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมาไม่เห็นแก่หน้าใครแล้ว ก็จะเป็นการเริ่มต้นของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เข้มแข็งและงดงาม เป็นความหวัง เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ ตามที่ได้กล่าวเอาไว้ในสุนทรพจน์จริงๆ!
ที่คนส่วนใหญ่ได้ให้กำลังใจ สนับสนุน และให้โอกาส นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เพราะเหตุว่าประวัติของนายอภิสิทธิ์ที่ทำงานทางการเมืองมากว่า 16 ปี ไม่เคยมีประวัติด่างพร้อย แสดงความคิดเห็นอยู่บนความถูกต้องชอบธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต โดยเฉพาะในสถานการณ์บ้านเมืองที่ต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตทางการเมือง และปัญหาทางเศรษฐกิจเช่นนี้ คงฝากความหวังหัวหน้าพรรคการเมืองอื่นในระบบการเมืองเก่าไม่ได้อีกต่อไปแล้ว
ด้านหนึ่งจึงถือว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โชคร้ายที่ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีในยามที่บ้านเมืองมีวิกฤตทางการเมือง และวิกฤตทางเศรษฐกิจ จึงต้องมีความเสี่ยงและต้องยอมเปลืองตัวที่ต้องทำงานร่วมกับกลุ่มนักการเมืองน้ำเน่าในระบบการเมืองเก่า
อีกด้านหนึ่งต้องถือว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โชคดี เพราะในยามที่เกิดวิกฤตทางการเมือง และวิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้ คนส่วนใหญ่ก็ได้พยายามยอมหลับตาข้างหนึ่ง หรือมองข้ามองค์ประกอบบางส่วนที่ไม่สมบูรณ์และอัปลักษณ์ของรัฐบาล เพื่อให้เวลากับนายกรัฐมนตรีที่มีภาพลักษณ์ดีคนนี้เร่งแก้ไขปัญหาทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจให้ได้เร็วที่สุด
ประชาชนจึงหวังว่าสิ่งที่นายอภิสิทธิ์ได้กล่าวสุนทรพจน์เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เอาไว้ จะได้นำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง
“บรรดาประสบการณ์ความรู้ทั้งหมด ผมจะนำมาใช้บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อรับใช้ผลประโยชน์ส่วนรวม “เท่านั้น” และผมยืนยันกับพี่น้องประชาชนที่ได้สนับสนุนผมมาตลอดว่า ผมจะไม่ละทิ้งอุดมการณ์ แนวทางการทำงานของผม และปล่อยสิ่งเหล่านี้ให้สูญหายไปกับการใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้อง หรือปล่อยปละละเลยให้เกิดความไม่ถูกต้องขึ้นในบ้านเมืองนี้”
บัดนี้บททดสอบแรกได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว เมื่อรัฐบาลที่มีองค์ประกอบมาจากการต่อรองของกลุ่มพรรคการเมือง ทหาร และนายทุน มีการขัดกันกับผลประโยชน์ของประชาชนและความถูกต้องชอบธรรม นายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจะเลือกอะไร?
การเร่งรีบย้าย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ กลับเข้ามาทำหน้าที่ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเหมือนดังเดิม โดยรักษาการนายกรัฐมนตรี นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ทั้งๆ ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 อย่างไม่ชอบมาพากล ย่อมถูกสงสัยได้ว่า แท้ที่จริงแล้วรัฐบาลชุดนี้อยู่ภายใต้การครอบงำของฝ่ายทหารผ่านสายสัมพันธ์ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหรือไม่?
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ กับพวก ได้ถูกตั้งเรื่องเสนอต่อนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551 ด้วยข้อหาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงในการเสนอราคาการจัดจ้างโฆษณา และเผยแพร่รายการของตำรวจโดยวิธีพิเศษภายหลังจากที่ได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วสรุปความเห็นแล้วว่าเรื่องดังกล่าวมีมูล
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่นายชูศักดิ์ ศิรินิล เลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ และพวก และเสนอให้ย้าย พล.ต.อ.พัชรวาท มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีก่อน เพราะหากมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงและยังทำงานในหน้าที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติต่อไป อาจมีปัญหาและอุปสรรคในการสืบสวนข้อเท็จจริง
นักการเมืองน้ำดีและมีประสบการณ์ทางการเมืองถึง 16 ปี อย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ย่อมเข้าใจว่า ปัญหาและอุปสรรคในการสอบสวนข้อเท็จจริงต่อผู้ที่ยังทำงานในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดในหน่วยงานนั้นเป็นเรื่องที่ยากเย็นแสนเข็ญเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานอย่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ต้นเรื่องการย้าย พล.ต.อ.พัชรวาท จึงไม่ได้มีความเกี่ยวพันกับการขัดขืนต่ออำนาจรัฐในการไม่ยินยอมฟังคำสั่งในการสลายการชุมนุมที่สนามบินสุวรรณภูมิ หรือทำเนียบรัฐบาล แต่เป็นเรื่องการกล่าวหาว่าได้มีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542
พ.ร.บ.การเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หรือเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ว่าเป็นกฎหมายป้องกันและลงโทษการฮั้ว เป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย สมัยที่ 2 อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ซึ่งสังคมให้ความเชื่อถือว่าเป็นนักการเมืองที่ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ตั้ง จึงย่อมเป็นไปไม่ได้ที่นายกรัฐมนตรีภาพลักษณ์ดีอย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้ซึ่งยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ตั้งเหมือนกัน จะละเลยเพิกเฉยต่อผู้กระทำความผิดในกฎหมายที่พรรคประชาธิปัตย์ริเริ่มขึ้นมาเอง
นายสุพล ฟองงาม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ทำหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เพื่อขอให้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง
แต่นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล กลับออกคำสั่งตัดหน้าวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เพื่อนำ พล.ต.อ.พัชรวาท กลับมานั่งที่เดิมก่อนที่นายอภิสิทธิ์จะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหลังจากแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยอ้างอย่างไร้เหตุผลว่า ได้ปฏิบัติภารกิจที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสร็จสิ้นแล้ว และเพิกเฉยต่อข้อกล่าวหาความผิดว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐทั้งหมดซึ่งเป็นเหตุผลในการย้ายไปก่อนหน้านี้
ถ้านายกรัฐมนตรีคนนี้ไม่เป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คงถูกประชาชนสงสัยไปแล้วว่าขยิบตาให้ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ช่วยใช้อำนาจตัดหน้าโยกย้าย พล.ต.อ.พัชรวาท กลับมาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อตอบแทนบุญคุณฝ่ายทหาร และเป็นหนังหน้าไฟแทนนายกรัฐมนตรี ใช่หรือไม่?
แต่เมื่อเป็นนายอภิสิทธิ์ กรณีนี้จึงกลายเป็นความท้าทายจริยธรรมว่าจะเลือกถนอมน้ำใจ และเกรงใจ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก หรือยืนอยู่บนความถูกต้องบนนิติรัฐและอยู่บนความถูกต้อง?
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยังมีอีกหนึ่งคดีที่ตำรวจได้สลายการชุมนุม 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 หน้ารัฐสภา ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้สรุปแล้วว่า พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ และตำรวจอีก 23 คนต้องรับผิดชอบในการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าว รวมทั้งการละเมิดต่อกฎหมายที่อาจเข้าข่ายเป็นความผิด ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติและ/หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุได้รับอันตรายสาหัส ฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมาอาญา มาตรา 157, 295, 297, 288, 289, 83
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ไม่มีสิทธิที่จะรอดพ้นการถูกดำเนินคดีโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพราะรู้อยู่แล้วว่าการสลายการชุมนุมในช่วงเช้าโดยตำรวจนั้น ได้กระทำเกินกว่าเหตุจนเป็นผลทำให้มีประชาชนบาดเจ็บสาหัส แขนขาขาด และเสียชีวิต แล้วยังปล่อยปละละเลยให้ใช้แก๊สน้ำตาและการสลายด้วยความเหี้ยมโหดต่อไปอีกหลายครั้งจนถึงเวลากลางคืน
คนอย่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคงจะไม่ยอมยืนอยู่ข้าง พล.ต.อ.พัชรวาท และทิ้งวีรชนที่พิการ บาดเจ็บ และเสียชีวิต จากเหตุการณ์ดังกล่าว เพราะรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับดังกล่าวนี้ ส่วนหนึ่งได้เกิดขึ้นมาเพราะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ทำหนังสือถึง ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เพื่อให้สอบสวนเหตุการณ์การสลายการชุมนุมวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551
เนื้อความส่วนหนึ่งในจดหมายของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะที่ทำถึงประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินั้น มีเนื้อความส่วนหนึ่งระบุว่า...
พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากการสั่งการและปฏิบัติการที่รุนแรงเกินกว่าเหตุตั้งแต่ช่วงเช้าจนถึงยามวิกาลทำให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายและละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง สมควรที่จะต้องสอบสวนหาข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการลงโทษต่อผู้กระทำความผิดต่อไป
และลงท้ายจดหมายดังกล่าวว่า...
“พรรคประชาธิปัตย์จึงขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดำเนินการสอบสวนเบื้องหน้าเบื้องหลังอันเป็นต้นเหตุของเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นตามอำนาจหน้าที่เป็นการเร่งด่วน เพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดต่อไป
เมื่อรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนออกมาดังนี้แล้ว ก็เชื่อมั่นว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมาเป็นนายกรัฐมนตรีก็คงจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนเหมือนเจตนารมณ์ที่ได้ตั้งไว้ก่อนเป็นนายกรัฐมนตรี และเชื่อมั่นว่า “จะไม่ปล่อยปละละเลยให้เกิดความไม่ถูกต้องขึ้นในบ้านเมืองนี้” ตามที่นายอภิสิทธิ์ได้กล่าวสุนทรพจน์เอาไว้ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ถ้าดำเนินการเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมาไม่เห็นแก่หน้าใครแล้ว ก็จะเป็นการเริ่มต้นของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เข้มแข็งและงดงาม เป็นความหวัง เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ ตามที่ได้กล่าวเอาไว้ในสุนทรพจน์จริงๆ!