เอเอฟพี – โอบามาและพลพรรคชาวเดโมแครตในสภา ต่างกำลังคาดหวังจัดเตรียมแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่าสูงถึง 850,000 ล้านดอลลาร์ให้พรักพร้อม และนำออกมาดำเนินการได้ทันทีที่มีการถ่ายโอนอำนาจในทำเนียบขาววันที่ 20 มกราคม ศกหน้า ความเคลื่อนไหวเช่นนี้ยิ่งตอกย้ำว่า เศรษฐกิจจะเป็นประเด็นสำคัญอันดับแรกที่คณะรัฐบาลใหม่ของสหรัฐฯเห็นว่าจะต้องจัดการ
สเตนี ฮอยเออร์ ส.ส.เดโมแครตที่เป็นผู้นำเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ แถลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า แผนกระตุ้นเศรษฐกิจจะเป็นภารกิจสำคัญอันดับแรกในช่วง 100 วันของสภาคองเกรสสมัยหน้า ที่จะเปิดประชุมกันต้นเดือนมกราคม
เศรษฐกิจอเมริกายังล้มลุกคลุกคลานแม้ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ลงนามผ่านมาตรการกอบกู้ภาคการเงินวอลล์สตรีทมูลค่า 700,000 ล้านดอลลาร์ตั้งแต่เดือนที่แล้ว และถือเป็นปัญหาที่คนอเมริกันกังวลที่สุดทั้งก่อนและหลังเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน
“สิ่งที่เราตระหนักกันเป็นอย่างดี โดยที่พวกนักเศรษฐศาสตร์ไม่ว่าจะมีแนวความคิดทางการเมืองในฝ่ายไหน ต่างก็ประเมินตรงกัน นั่นคือ เราจะต้องดำเนินการอย่างกล้าหาญเกี่ยวกับมาตรการกู้เศรษฐกิจ” บารัค โอบามา ว่าที่ประธานาธิบดีคนต่อไป บอกกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันศุกร์ (19)
“เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว คุณอาจเห็นเศรษฐกิจถอยหลังต่อไปในอัตราความเร็วที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผมรับไม่ได้ และเชื่อว่าคนอเมริกันก็คงรับไม่ได้เช่นเดียวกัน”
โอบามาปฏิเสธที่จะให้ตัวเลขมูลค่าแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่เขากำลังเตรียมการ แต่บอกว่าจะทำเฉยต่อยอดขาดดุลงบประมาณที่เพิ่มขึ้น จนกว่าเศรษฐกิจสามารถพ้นจากเหวและขยายตัวอีกครั้ง หลังจากนั้นเขาจึงจะกลับมาให้ความสนใจกับการปรับงบประมาณให้อยู่ในสภาพสมดุล
จากข้อมูลของสื่อในสหรัฐฯ ทีมงานของโอบามากำลังร่างมาตรการกู้วิกฤตที่จะมีการใช้จ่ายเป็นมูลค่า 675,000-775,000 ล้านดอลลาร์ภายในระยะเวลาสองปี แต่ตัวเลขสุดท้ายอาจเป็น 850,000 ล้านดอลลาร์เนื่องจากต้องผ่านกระบวนการในรัฐสภา นอกจากนั้นมีบางคนคาดว่ามาตรการนี้อาจมีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์
โอบามายังแสดงท่าทีว่าต้องการจะสร้างงานใหม่ๆ หรือสงวนรักษางานเก่าให้ได้รวม 3 ล้านตำแหน่ง ตลอดช่วง 2 ปีแรกแห่งการดำรงตำแหน่งของเขา ไม่ใช่เพียง 2.5 ล้านตำแหน่งที่เขาสัญญาไว้ในเดือนที่แล้วว่าจะสร้างขึ้นมา ทั้งนี้ตามรายงานของหนังสือพิมพ์หลายฉบับเมื่อวานนี้(21) โดยต่างอ้างแหล่งข่าวซึ่งเป็นที่ปรึกษาของโอบามา
รายงานข่าวเหล่านี้ชี้ว่า การปรับตัวเลขให้มีการสร้างหรือรักษาตำแหน่งงานเพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ เนื่องมาจากคำทำนายทางเศรษฐกิจที่ระบุว่า ปี 2009 อาจจะต้องมีการปลดพนักงานสูงขึ้นเป็นสองเท่าตัว และทำให้อัตราการว่างงานของประเทศสูงเกิน 9% หากไม่รีบดำเนินการอะไรเพื่อบรรเทาปัญหา
อลิซ ริฟลิน นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันบรูกกิงส์ และอดีตผู้จัดการด้านงบประมาณของประธานาธิบดีบิลล์ คลินตัน เชื่อว่าแผนกระตุ้นเศรษฐกิจจะต้องมีขนาดใหญ่เพื่อดึงเศรษฐกิจกลับมาอยู่กับร่องกับรอย หรืออย่างน้อยก็เพื่อปัดเป่าความเสียหาย
“นี่จะเป็นการถดถอยที่รุนแรงที่สุด และฉันคิดว่าในระยะอันใกล้นี้ สิ่งที่เราจะหวังได้มากที่สุดคือเกิดความเสียหายน้อยที่สุด” ริฟลินกล่าว พร้อมกับเสริมว่า แม้มีการอัดฉีดเงินก้อนใหญ่เข้าไปแล้ว แต่การเยียวยาเศรษฐกิจก็ยังต้องใช้เวลา
ทันทีที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาแล้ว รัฐสภาสหรัฐฯวางแผนว่าจะจัดทำงบประมาณปี 2009 ให้แล้วเสร็จต่อไป โดยยืนยันว่าจะมีการลดภาษีชนชั้นกลางตามที่โอบามาสัญญาไว้ระหว่างหาเสียง รวมถึงการจัดการกับปัญหาด้านการรักษาพยาบาล
อย่างไรก็ตาม วุฒิสมาชิกและผู้แทนราษฎรในคองเกรสชุดใหม่จะไม่ลงมือจัดการปัญหาเหล่านี้ก่อนที่จะเยียวยาเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว โดยหวังว่าจะมีแผนกระตุ้นพร้อมทันทีที่โอบามาสาบานตัวเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม ทว่า มีหลายคนเตือนว่า มูลค่าของแผนการที่อยู่ระหว่างพิจารณา อาจชะลอความหวังนี้
ริฟลินบอกว่า พวกสมาชิกพรรคเดโมแครตที่นิยมแนวทางการคลังแบบอนุรักษ์นิยมนั้น มีแนวโน้มต้องการต่อรองให้ลดมูลค่าแผนกระตุ้นลงมา สำหรับตัวเธอเองก็เช่นกัน อยากให้แบ่งมาตรการออกเป็นสามส่วน ตัวอย่างเช่นส่วนแรกมุ่งส่งเสริมการสร้างงาน โดยการนำงบประมาณไปปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิม เช่น ถนน และสะพาน เนื่องจากการสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่ต้องใช้เวลานาน
อนึ่ง เมื่อต้นปี บุชเสนอมาตรการจูงใจด้านภาษีมูลค่า 168,000 ล้านดอลลาร์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ต้องทั้งปลอบทั้งขู่กว่าจะผ่านความเห็นชอบของรัฐสภามาได้
ภายหลังวิกฤตการเงินระเบิดขึ้นในเดือนกันยายน พวกสมาชิกสภาคองเกรสโดยเฉพาะทางฝ่ายเดโมแครต เรียกร้องให้จัดทำแผนกระตุ้นฉบับที่สองเพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจ แต่ถูกต่อต้านอย่างหนักจากทำเนียบขาวก่อนที่จะมีการอนุมัติออกมาในท้ายที่สุด
สเตนี ฮอยเออร์ ส.ส.เดโมแครตที่เป็นผู้นำเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ แถลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า แผนกระตุ้นเศรษฐกิจจะเป็นภารกิจสำคัญอันดับแรกในช่วง 100 วันของสภาคองเกรสสมัยหน้า ที่จะเปิดประชุมกันต้นเดือนมกราคม
เศรษฐกิจอเมริกายังล้มลุกคลุกคลานแม้ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ลงนามผ่านมาตรการกอบกู้ภาคการเงินวอลล์สตรีทมูลค่า 700,000 ล้านดอลลาร์ตั้งแต่เดือนที่แล้ว และถือเป็นปัญหาที่คนอเมริกันกังวลที่สุดทั้งก่อนและหลังเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน
“สิ่งที่เราตระหนักกันเป็นอย่างดี โดยที่พวกนักเศรษฐศาสตร์ไม่ว่าจะมีแนวความคิดทางการเมืองในฝ่ายไหน ต่างก็ประเมินตรงกัน นั่นคือ เราจะต้องดำเนินการอย่างกล้าหาญเกี่ยวกับมาตรการกู้เศรษฐกิจ” บารัค โอบามา ว่าที่ประธานาธิบดีคนต่อไป บอกกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันศุกร์ (19)
“เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว คุณอาจเห็นเศรษฐกิจถอยหลังต่อไปในอัตราความเร็วที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผมรับไม่ได้ และเชื่อว่าคนอเมริกันก็คงรับไม่ได้เช่นเดียวกัน”
โอบามาปฏิเสธที่จะให้ตัวเลขมูลค่าแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่เขากำลังเตรียมการ แต่บอกว่าจะทำเฉยต่อยอดขาดดุลงบประมาณที่เพิ่มขึ้น จนกว่าเศรษฐกิจสามารถพ้นจากเหวและขยายตัวอีกครั้ง หลังจากนั้นเขาจึงจะกลับมาให้ความสนใจกับการปรับงบประมาณให้อยู่ในสภาพสมดุล
จากข้อมูลของสื่อในสหรัฐฯ ทีมงานของโอบามากำลังร่างมาตรการกู้วิกฤตที่จะมีการใช้จ่ายเป็นมูลค่า 675,000-775,000 ล้านดอลลาร์ภายในระยะเวลาสองปี แต่ตัวเลขสุดท้ายอาจเป็น 850,000 ล้านดอลลาร์เนื่องจากต้องผ่านกระบวนการในรัฐสภา นอกจากนั้นมีบางคนคาดว่ามาตรการนี้อาจมีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์
โอบามายังแสดงท่าทีว่าต้องการจะสร้างงานใหม่ๆ หรือสงวนรักษางานเก่าให้ได้รวม 3 ล้านตำแหน่ง ตลอดช่วง 2 ปีแรกแห่งการดำรงตำแหน่งของเขา ไม่ใช่เพียง 2.5 ล้านตำแหน่งที่เขาสัญญาไว้ในเดือนที่แล้วว่าจะสร้างขึ้นมา ทั้งนี้ตามรายงานของหนังสือพิมพ์หลายฉบับเมื่อวานนี้(21) โดยต่างอ้างแหล่งข่าวซึ่งเป็นที่ปรึกษาของโอบามา
รายงานข่าวเหล่านี้ชี้ว่า การปรับตัวเลขให้มีการสร้างหรือรักษาตำแหน่งงานเพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ เนื่องมาจากคำทำนายทางเศรษฐกิจที่ระบุว่า ปี 2009 อาจจะต้องมีการปลดพนักงานสูงขึ้นเป็นสองเท่าตัว และทำให้อัตราการว่างงานของประเทศสูงเกิน 9% หากไม่รีบดำเนินการอะไรเพื่อบรรเทาปัญหา
อลิซ ริฟลิน นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันบรูกกิงส์ และอดีตผู้จัดการด้านงบประมาณของประธานาธิบดีบิลล์ คลินตัน เชื่อว่าแผนกระตุ้นเศรษฐกิจจะต้องมีขนาดใหญ่เพื่อดึงเศรษฐกิจกลับมาอยู่กับร่องกับรอย หรืออย่างน้อยก็เพื่อปัดเป่าความเสียหาย
“นี่จะเป็นการถดถอยที่รุนแรงที่สุด และฉันคิดว่าในระยะอันใกล้นี้ สิ่งที่เราจะหวังได้มากที่สุดคือเกิดความเสียหายน้อยที่สุด” ริฟลินกล่าว พร้อมกับเสริมว่า แม้มีการอัดฉีดเงินก้อนใหญ่เข้าไปแล้ว แต่การเยียวยาเศรษฐกิจก็ยังต้องใช้เวลา
ทันทีที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาแล้ว รัฐสภาสหรัฐฯวางแผนว่าจะจัดทำงบประมาณปี 2009 ให้แล้วเสร็จต่อไป โดยยืนยันว่าจะมีการลดภาษีชนชั้นกลางตามที่โอบามาสัญญาไว้ระหว่างหาเสียง รวมถึงการจัดการกับปัญหาด้านการรักษาพยาบาล
อย่างไรก็ตาม วุฒิสมาชิกและผู้แทนราษฎรในคองเกรสชุดใหม่จะไม่ลงมือจัดการปัญหาเหล่านี้ก่อนที่จะเยียวยาเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว โดยหวังว่าจะมีแผนกระตุ้นพร้อมทันทีที่โอบามาสาบานตัวเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม ทว่า มีหลายคนเตือนว่า มูลค่าของแผนการที่อยู่ระหว่างพิจารณา อาจชะลอความหวังนี้
ริฟลินบอกว่า พวกสมาชิกพรรคเดโมแครตที่นิยมแนวทางการคลังแบบอนุรักษ์นิยมนั้น มีแนวโน้มต้องการต่อรองให้ลดมูลค่าแผนกระตุ้นลงมา สำหรับตัวเธอเองก็เช่นกัน อยากให้แบ่งมาตรการออกเป็นสามส่วน ตัวอย่างเช่นส่วนแรกมุ่งส่งเสริมการสร้างงาน โดยการนำงบประมาณไปปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิม เช่น ถนน และสะพาน เนื่องจากการสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่ต้องใช้เวลานาน
อนึ่ง เมื่อต้นปี บุชเสนอมาตรการจูงใจด้านภาษีมูลค่า 168,000 ล้านดอลลาร์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ต้องทั้งปลอบทั้งขู่กว่าจะผ่านความเห็นชอบของรัฐสภามาได้
ภายหลังวิกฤตการเงินระเบิดขึ้นในเดือนกันยายน พวกสมาชิกสภาคองเกรสโดยเฉพาะทางฝ่ายเดโมแครต เรียกร้องให้จัดทำแผนกระตุ้นฉบับที่สองเพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจ แต่ถูกต่อต้านอย่างหนักจากทำเนียบขาวก่อนที่จะมีการอนุมัติออกมาในท้ายที่สุด