ในงานครบรอบ 60 ปีของคณะรัฐศาสตร์ ผมได้รับเชิญให้ไปพูดเรื่อง “60 ปีแห่งการศึกษารัฐไทย” ผมเขียนหนังสือเรื่อง “รัฐ” ไว้เมื่อ 30 ปีที่แล้ว คิดว่าจะเขียนเพิ่มเติมอีก เพราะในระยะ 30 ปีที่ผ่านมานี้ มีพัฒนาการไปอีกมากมาย
ในต่างประเทศ การศึกษาที่เน้นเรื่อง “รัฐ” หรือเอารัฐเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ วิจัยมีน้อย และไม่ค่อยจะมีคนสนใจมากเท่าไรนัก นักวิชาการยุโรปเคยเขียนเรื่องรัฐไว้บ้าง แต่เมื่อนักวิชาการเหล่านั้นอพยพมาอยู่อเมริกา ก็หันไปสนใจเรื่องอื่น เพราะในอเมริกามีระบบการเมืองแบบสาธารณรัฐ อำนาจที่ส่วนกลางมีน้อย มลรัฐได้รับการมอบอำนาจไปมาก รัฐจึงไม่มีบทบาทมากนัก มีแต่การดูแลให้มีการแข่งขันกันอย่างเสมอภาค ตามกติกา จึงมีการเปรียบเทียบว่า รัฐเป็นเหมือนกรรมการ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมก็ทำโดยภาคเอกชนตามระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี
นักวิชาการตะวันตก มีความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐอย่างนี้ในระบอบประชาธิปไตย รัฐมีความเป็นกลาง ไม่มีกลุ่มอิทธิพลหรือกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มหนึ่งกลุ่มใด สามารถยึดกุมรัฐและใช้อำนาจรัฐเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ได้
อย่างไรก็ตาม มีนักวิชาการส่วนหนึ่งเห็นว่า มีชนชั้นนำที่สามารถกุมอำนาจรัฐไว้ได้ คือมีอำนาจและอิทธิพลครอบงำนโยบายทุกนโยบาย ต่อมามีผลงานวิจัยออกมาแย้งว่า ไม่มีคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งสามารถมีอำนาจ และอิทธิพลได้หมดทุกอย่าง แต่มีหลายกลุ่มที่แข่งขันกัน และแต่ละกลุ่มก็มีอำนาจและอิทธิพลเฉพาะในบางส่วนของสังคม ความเห็นและข้อค้นพบนี้เป็นความเชื่อที่มีอยู่ในปัจจุบันว่า ประชาธิปไตยเสรีนั้นคือการที่อำนาจและอิทธิพลกระจายตัวไปที่หลายกลุ่ม ไม่ได้กระจุกตัวอยู่ที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ประชาธิปไตยจึงมีลักษณะพหุนิยม
ในขณะที่นักวิชาการอเมริกันเห็นว่า รัฐไม่มีบทบาทมากนัก แต่ในเอเชียและแอฟริกา รัฐได้เข้าไปกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจจนประเทศหลายประเทศมีการพัฒนาเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า ทั้งๆ ที่มีระบอบเผด็จการทางการเมืองต่างจากสมมติฐานที่ว่า ระบอบเผด็จการมีผลร้ายต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ การเติบโตอย่างรวดเร็วของไต้หวัน เกาหลี สิงคโปร์ เป็นตัวอย่างที่ทำให้นักรัฐศาสตร์หลายคนหันมาวิเคราะห์บทบาทของรัฐมากขึ้น
แต่รัฐในระบอบเผด็จการ ก็มิได้ถูกยึดกุมด้วยกลุ่มผลประโยชน์ รัฐบาลทหาร และพลเรือนของเกาหลี สิงคโปร์ได้ใช้การลงทุนของรัฐ และมีนโยบายการส่งเสริมการลงทุน และการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมที่ไม่ได้เป็นกลุ่มของผู้มีอำนาจในรัฐบาล
แต่พัฒนาการทางการเมืองของไทย ไม่ได้เป็นเช่นนั้น รัฐมีบทบาทในการพัฒนาโดยข้าราชการมีบทบาทในการผลักดันนโยบายต่างๆ แม้จะมีการคอร์รัปชัน แต่ข้าราชการก็มิได้มีผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ชัดเจน ทหารที่ขึ้นมาเป็นผู้นำ ก็มิได้เป็นนักธุรกิจ
สิ่งที่ประชาธิปไตยไทยแตกต่างไปจากประชาธิปไตยแบบตะวันตก ก็คือ ในขณะที่รัฐและอำนาจรัฐมีความเป็นกลาง และเป็นฝ่ายที่สร้างกติกา รักษากติกาเพื่อให้อำนาจรัฐคุ้มครองทุกกลุ่มในการแสวงหาผลประโยชน์ และความมั่งคั่ง รัฐไทยในยุคทักษิณได้ถูกยึดกุมโดยกลุ่มทุนของทักษิณและพรรคพวก โดยอาศัยการเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์จากโครงการใหญ่ๆ และงบประมาณแผ่นดิน รัฐจึงไม่มีความเป็นกลางตามความหมายของระบอบประชาธิปไตย แต่กลายเป็นสิ่งที่สร้างความมั่งคั่งให้กับกลุ่มทุนเพียงกลุ่มเดียว กลุ่มทุนเพียงแต่อาศัยการเลือกตั้งเข้ามายึดกุมอำนาจรัฐ และใช้อำนาจนั้นแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมาย เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ตัวเอง เรียกได้ว่า เป็นกระบวนการเอารัฐเป็นสมบัติส่วนตัว
ดังนั้น ความเข้าใจระบอบประชาธิปไตย จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการดูว่าประเทศหนึ่งๆ มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหรือไม่ แต่จะต้องดูที่บทบาทของรัฐด้วยว่าเป็นกลาง และคอยเป็นกรรมการดูแลการแข่งขันระหว่างกลุ่มต่างๆ หรือกลายเป็นเครื่องมือของกลุ่มบางกลุ่มเท่านั้น
การต่อสู้คัดค้านของผู้ชุมนุมเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้การเลือกตั้งที่นำไปสู่การยึดกลไกของรัฐ และใช้อำนาจรัฐแก้ไขผลักดันกฎหมาย และโครงการต่างๆ ทำให้ระบอบประชาธิปไตยถูกทำลาย หากชาวตะวันตกพิจารณาประเด็นนี้ด้วยก็จะเข้าใจว่า ผู้ชุมนุมไม่ได้ต่อต้านระบอบประชาธิปไตย หากป้องกันมิให้ระบอบประชาธิปไตยถูกยึดกุมโดยกลุ่มผลประโยชน์เพียงกลุ่มเดียวต่างหาก
หากเรามีรัฐบาลใหม่ รัฐบาลน่าจะทำความเข้าใจกับชาติตะวันตก ดังได้กล่าวมาแล้ว ทักษิณจะได้หยุดโฆษณาชวนเชื่อเสียที
เราจะต้องมีทั้งระบอบประชาธิปไตย และ รัฐประชาธิปไตยพร้อมๆ กันไป จะมีแต่ระบอบประชาธิปไตย แต่รัฐไม่เป็นประชาธิปไตยไม่ได้
ในต่างประเทศ การศึกษาที่เน้นเรื่อง “รัฐ” หรือเอารัฐเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ วิจัยมีน้อย และไม่ค่อยจะมีคนสนใจมากเท่าไรนัก นักวิชาการยุโรปเคยเขียนเรื่องรัฐไว้บ้าง แต่เมื่อนักวิชาการเหล่านั้นอพยพมาอยู่อเมริกา ก็หันไปสนใจเรื่องอื่น เพราะในอเมริกามีระบบการเมืองแบบสาธารณรัฐ อำนาจที่ส่วนกลางมีน้อย มลรัฐได้รับการมอบอำนาจไปมาก รัฐจึงไม่มีบทบาทมากนัก มีแต่การดูแลให้มีการแข่งขันกันอย่างเสมอภาค ตามกติกา จึงมีการเปรียบเทียบว่า รัฐเป็นเหมือนกรรมการ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมก็ทำโดยภาคเอกชนตามระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี
นักวิชาการตะวันตก มีความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐอย่างนี้ในระบอบประชาธิปไตย รัฐมีความเป็นกลาง ไม่มีกลุ่มอิทธิพลหรือกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มหนึ่งกลุ่มใด สามารถยึดกุมรัฐและใช้อำนาจรัฐเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ได้
อย่างไรก็ตาม มีนักวิชาการส่วนหนึ่งเห็นว่า มีชนชั้นนำที่สามารถกุมอำนาจรัฐไว้ได้ คือมีอำนาจและอิทธิพลครอบงำนโยบายทุกนโยบาย ต่อมามีผลงานวิจัยออกมาแย้งว่า ไม่มีคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งสามารถมีอำนาจ และอิทธิพลได้หมดทุกอย่าง แต่มีหลายกลุ่มที่แข่งขันกัน และแต่ละกลุ่มก็มีอำนาจและอิทธิพลเฉพาะในบางส่วนของสังคม ความเห็นและข้อค้นพบนี้เป็นความเชื่อที่มีอยู่ในปัจจุบันว่า ประชาธิปไตยเสรีนั้นคือการที่อำนาจและอิทธิพลกระจายตัวไปที่หลายกลุ่ม ไม่ได้กระจุกตัวอยู่ที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ประชาธิปไตยจึงมีลักษณะพหุนิยม
ในขณะที่นักวิชาการอเมริกันเห็นว่า รัฐไม่มีบทบาทมากนัก แต่ในเอเชียและแอฟริกา รัฐได้เข้าไปกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจจนประเทศหลายประเทศมีการพัฒนาเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า ทั้งๆ ที่มีระบอบเผด็จการทางการเมืองต่างจากสมมติฐานที่ว่า ระบอบเผด็จการมีผลร้ายต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ การเติบโตอย่างรวดเร็วของไต้หวัน เกาหลี สิงคโปร์ เป็นตัวอย่างที่ทำให้นักรัฐศาสตร์หลายคนหันมาวิเคราะห์บทบาทของรัฐมากขึ้น
แต่รัฐในระบอบเผด็จการ ก็มิได้ถูกยึดกุมด้วยกลุ่มผลประโยชน์ รัฐบาลทหาร และพลเรือนของเกาหลี สิงคโปร์ได้ใช้การลงทุนของรัฐ และมีนโยบายการส่งเสริมการลงทุน และการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมที่ไม่ได้เป็นกลุ่มของผู้มีอำนาจในรัฐบาล
แต่พัฒนาการทางการเมืองของไทย ไม่ได้เป็นเช่นนั้น รัฐมีบทบาทในการพัฒนาโดยข้าราชการมีบทบาทในการผลักดันนโยบายต่างๆ แม้จะมีการคอร์รัปชัน แต่ข้าราชการก็มิได้มีผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ชัดเจน ทหารที่ขึ้นมาเป็นผู้นำ ก็มิได้เป็นนักธุรกิจ
สิ่งที่ประชาธิปไตยไทยแตกต่างไปจากประชาธิปไตยแบบตะวันตก ก็คือ ในขณะที่รัฐและอำนาจรัฐมีความเป็นกลาง และเป็นฝ่ายที่สร้างกติกา รักษากติกาเพื่อให้อำนาจรัฐคุ้มครองทุกกลุ่มในการแสวงหาผลประโยชน์ และความมั่งคั่ง รัฐไทยในยุคทักษิณได้ถูกยึดกุมโดยกลุ่มทุนของทักษิณและพรรคพวก โดยอาศัยการเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์จากโครงการใหญ่ๆ และงบประมาณแผ่นดิน รัฐจึงไม่มีความเป็นกลางตามความหมายของระบอบประชาธิปไตย แต่กลายเป็นสิ่งที่สร้างความมั่งคั่งให้กับกลุ่มทุนเพียงกลุ่มเดียว กลุ่มทุนเพียงแต่อาศัยการเลือกตั้งเข้ามายึดกุมอำนาจรัฐ และใช้อำนาจนั้นแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมาย เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ตัวเอง เรียกได้ว่า เป็นกระบวนการเอารัฐเป็นสมบัติส่วนตัว
ดังนั้น ความเข้าใจระบอบประชาธิปไตย จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการดูว่าประเทศหนึ่งๆ มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหรือไม่ แต่จะต้องดูที่บทบาทของรัฐด้วยว่าเป็นกลาง และคอยเป็นกรรมการดูแลการแข่งขันระหว่างกลุ่มต่างๆ หรือกลายเป็นเครื่องมือของกลุ่มบางกลุ่มเท่านั้น
การต่อสู้คัดค้านของผู้ชุมนุมเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้การเลือกตั้งที่นำไปสู่การยึดกลไกของรัฐ และใช้อำนาจรัฐแก้ไขผลักดันกฎหมาย และโครงการต่างๆ ทำให้ระบอบประชาธิปไตยถูกทำลาย หากชาวตะวันตกพิจารณาประเด็นนี้ด้วยก็จะเข้าใจว่า ผู้ชุมนุมไม่ได้ต่อต้านระบอบประชาธิปไตย หากป้องกันมิให้ระบอบประชาธิปไตยถูกยึดกุมโดยกลุ่มผลประโยชน์เพียงกลุ่มเดียวต่างหาก
หากเรามีรัฐบาลใหม่ รัฐบาลน่าจะทำความเข้าใจกับชาติตะวันตก ดังได้กล่าวมาแล้ว ทักษิณจะได้หยุดโฆษณาชวนเชื่อเสียที
เราจะต้องมีทั้งระบอบประชาธิปไตย และ รัฐประชาธิปไตยพร้อมๆ กันไป จะมีแต่ระบอบประชาธิปไตย แต่รัฐไม่เป็นประชาธิปไตยไม่ได้