"อภิสิทธิ์" หารือพรรคร่วมปรับรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ หลังภาคเอกชนบ่นผิดหวังเมื่อเห็นโผทางสื่อ โยก"ชาญชัย" นั่งรมว.อุตฯ "ระนองรักษ์" คุมไอซีที ขณะที่"พรทิวา" ยืนยันนั่งรมว.พาณิชย์ คุยเป็นมืออาชีพพอ เผยทูลเกล้าฯ "ครม.มาร์ค1" แล้ว ส่วนนโยบายรัฐบาลเน้นกู้วิกฤติเศรษฐกิจ ลดความแตกแยกในสังคมเป็นเรื่องเร่งด่วน ส่วนแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่บรรจุ เตรียมแถลงต่อสภา 29 ธ.ค.นี้
เมื่อวานนี้ (19 ธ.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความชัดเจนในการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีว่า พรรคร่วมรัฐบาลได้ส่งรายชื่อเข้ามาเรียบร้อยแล้ว และได้ดำเนินการผ่านสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแล้ว หากยังไม่มีการโปรดเกล้าฯ รายชื่อ ครม.ลงมา ก็ไม่เหมาะสมที่จะพูดในรายละเอียด
ส่วนกรณีได้มีการท้วงติงจากภาคเอกชน ตนก็พยายามอธิบาย ซึ่งเน้นย้ำว่าเราพยายามจะให้เกิดเสถียรภาพในการทำงาน เพราะตนคือหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ เมื่อเกิดเสถียรภาพในการทำงานทางการเมือง ตนจึงจะสามารถผลักดันงานต่างๆได้ ถ้าหากงานการเมืองสะดุดก็จะส่งผลกับงานเป็นเจ้าภาพการประชุมอาเซี่ยนซัมมิท และงบประมาณกลางปี และงานการฟื้นฟูเรื่องเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งรัฐบาลจะต้องดูแล และตนก็ต้องทำงานหนัก ยืนยันว่า การทำงานในภาพรวมทั้งหมดจะต้องเป็นไปตาม ยุทธศาสตร์ใหญ่ เพื่อเป็นไปด้วยความโปร่งใส
เมื่อถามว่าภาพครม.ที่ออกมาโดนวิจารณ์จะทำให้การทำงานของรัฐบาลสะดุดหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถือว่าเป็นแรงกดดัน แต่เราก็ยอมรับคำวิจารณ์ต่างๆ แต่เราต้องหาความสมดุลในแง่ของตัวบุคคล และการทำงานทำการเมือง ให้มีความมั่นคง และเดินต่อไปได้ ซึ่งตนยังติดต่อบุคคลข้างนอกอีกหลายคนเข้ามาเป็นคณะทำงาน รวมทั้งได้ย้ำกับสมาชิกพรรคที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่า ต้องไปหาบุคคลที่มีความสามารถมาทำงาน
"ข้อจำกัดของการเมืองคือ ต้องบริหารงานการเมืองได้ และให้รัฐบาลมีความมั่นคงในการทำงานได้ แต่ความมั่นคงจะต้องไม่กระทบต่อทิศทางนโยบาย และไม่กระทบต่อความโปร่งใส และจะต้องไม่กระทบต่อประสิทธิภาพ เราต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญของผู้รู้ ดึงคนเหล่านี้เข้าเพื่อบริหารการเมืองให้เดินไปได้" นายอภิสิทธิ์กล่าว
ส่วนปัญหาที่ภาคเอกชนไม่เชื่อมั่นรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็ได้พูดกับเขา ก็จะมีเฉพาะบางจุดเท่านั้นที่เขาไม่พอใจ แต่หลายส่วนเขาก็ไม่ได้ติดใจ ในส่วนที่เขาเป็นห่วงก็จะกลับมาดูว่าจะทำอย่างไรให้เขาเชื่อมั่น แต่ก็มีความเข้าใจกันดี
ส่วนกรณีที่นาย นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง ที่ออกมาแสดงความไม่พอใจ ต่อโผ ครม.นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ได้เปิดอกคุยกันอย่างเต็มที่ และอธิบายให้ฟังว่าทางเลือกเป็นอย่างไร นอกจากต้องการความมั่งคงแล้วยังต้องการความรวดเร็ว หากขั้นตอนต่อๆไปช้า ก็จะกระทบกับแผนการต่างๆ ที่ได้พูดไว้ข้างต้น
นายอภิสิทธิ์ ยอมรับว่าคนที่มีคุณภาพตั้งใจทำงาน และอยู่ในข่ายรัฐมนตรีได้อีกหลายคน แต่ว่าไม่ได้ผ่านการเห็นชอบครั้งนี้ เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งตนสามรถเอ่ยชื่อได้เช่นนายจุติ ไกรฤกษ์ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ นายนิพิฏฐ์ อิทรสมบัติ นายชินวรณ์ บุณยะเกียรติ และนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ตนเชื่อว่าคนเหล่านี้จะมีโอกาสในวันข้างหน้า
"ยืนยันว่า ไม่มีการครอบงำ ไม่มีเรื่องหนี้ ต้องทำงานและตัวบุคคลที่เข้ามาก็เป็นคนนอก ก็ต้องเป็นบุคคลที่ผมได้ดูแล้ว และได้ดูจริงๆในเรื่องความเหมาะสม ไม่มีเรื่องอื่น ขณะนี้ได้มีการนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯแล้ว"นายกรัฐมนตรีกล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า หลังจากมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากภาคเอกชน ถึงความเชื่อมั่นต่อรัฐมนตรีเศรษฐกิจ โดยเฉพาะนางพรทิวา นาคาศัย ว่าที่รมว.พาณิชย์ และ ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ว่าที่รมว.อุตสาหกรรม ทำให้นายอภิสิทธิ์ หารือกับแกนนำพรรคเพื่อแผ่นดิน และได้เชิญนางพรทิวา มาพบที่พรรค
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ในส่วนพรรคเพื่อแผ่นดินนั้น ได้มีการปรับโผรัฐมนตรีใหม่ โดยให้นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง เป็นว่าที่ รมว.อุตสาหกรรม ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เป็นว่าที่ รมว.ไอซีที นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ เป็นว่าที่ รมช.คลัง ส่วนนายพิเชษฐ์ ตันเจริญ เป็นว่าที่ รมช.มหาดไทย ขณะที่นางพรทิวา นาคาศํย จากพรรคมัชฌิมาฯ ยังคงยืนยัน ที่จะนั่ง รมว.พาณิชย์
มาร์คร่วมทำความสะอาดทำเนียบฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเช้าวานนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมทำความสะอาดทำเนียบรัฐบาล ในวันบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ โดยเจ้าหน้าที่ได้เตรียมไม้กวาดให้นายอภิสิทธิ์ และนายชวรัตน์ ชาญวีระกุล อดีตรองนายกฯ ได้ร่วมกันกวาดหน้าบันได บริเวณตึกไทยคู่ฟ้า ทำให้บรรดาสื่อมวลชน และช่างภาพและเจ้าหน้าที่ทำเนียบรัฐบาล ต่างกรูกันเข้ามาบันทึกภาพไว้เป็นที่ระลึก
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หวังว่า ทำเนียบรัฐบาล จะกลับมาอยู่ในสภาพเป็นหน้าเป็นตาของบ้านเมืองได้อีก และเป็นสัญลักษณ์การกลับเข้าความสู่ปกติ ที่นี่คือสถานที่ทำงานเป็นสัญลักษณ์ เป็นหน้าตาของประเทศ ซึ่งจะฟื้นฟูกัน เมื่อปรับสภาพพื้นที่ทุกอย่างเรียบร้อย ก็เป็นโอกาสดีที่จะได้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงการก้าวพ้นปัญหาวิกฤติต่างๆ นานา
หอการค้าผิดหวัง ครม.เศรษฐกิจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อมา นายอภิสิทธิ์ ได้เข้าพบคณะกรรมการบริหารหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อรับทราบปัญหา ข้อเสนอ และแนวทางในการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจ โดยนายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ว่า มีการเปิดใจคุยกัน ซึ่งทางสภาหอการค้าบอกว่า เห็นโผ ครม.แล้วรู้สึกผิดหวัง จึงได้อธิบายว่า เข้าใจเสียงสะท้อนความรู้สึกนี้ดี เป็นเรื่องที่ตนได้อธิบายว่าการทำงานทางการเมือง เป้าหมาย วิธีการ ขณะนี้ ตนมีหน้าที่จะต้องหาความสมดุลในการบริหารการเมืองให้เดินได้ เพื่อให้ตนเข้าไปแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ ฉนั้นตรงนี้จะตนจะทำให้ดีที่สุด เพื่อหาความสมดุล และดำเนินการต่อไป
"มาร์ค"ดอดเข้าบ้าน"เติ้ง"ปรับโผครม.
นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ ยังเดินทางไปที่บ้านนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ย่านถนนจรัญสนิทวงศ์ คาดว่าจะมีการหารือกับนายบรรหาร ถึงโผครม.ที่ยังไม่ลงตัว ทั้งนี้ในการหารือ มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ นายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ และนายสุชาติ ตันเจริญ ร่วมหารือด้วย ซึ่งทั้งหมดใช้เวลาในการหารือประมาณ 1 ชั่วโมง และออกไปโดยไม่มีการสัมภาษณ์แต่อย่างใด
"พรทิวา"คุยมืออาชีพเมินเสียงสวด
เวลา 14.10 น. นางพรทิวา นาคาศัย เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ว่าที่ รมว.พาณิชย์ เดินทางมายังที่ทำการพรรคประชาธิ-ปัตย์ โดยเปิดเผยกับผูสื่อข่าวว่า นายอภิสิทธิ์ เรียกมาพบ ยังไม่ทราบว่าจะมีการหารือเรื่องอะไร ส่วนตำแหน่ง รัฐมนตรีในโควตาพรรคนั้น ลงตัวหมดแล้ว
เมื่อถามถึงการวิจารณ์คุณสมบัติความเหมาะสม นางพรทิวา กล่าวว่าไม่รู้สึกกดดันและเข้าใจว่าทุกคนก็คาดหวังเพราะความห่วงใยบ้านเมือง ซึ่งตนเชื่อมั่นว่าสามารถทำงานได้ ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายมองว่า ในสภาพเศรษฐกิจที่กำลังทรุด ต้องการมืออาชีพเข้ามาบริหารงานนั้น ตนก็เคยผ่านมางานผู้บริหารมา ก็มั่นใจในความเป็นมืออาชีพพอ
นางพรทิวา กล่าวด้วยว่า ได้นำรายชื่อทีมที่ปรึกษาของตน มาให้นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจดูด้วย
"ชื่อทีมที่ปรึกษาเห็นแล้วต้องร้องอ๋อทุกคน เช่น ซีอีโอ บริษัทพรานทะเล ดร.อุตมะ สาวนายน เป็นต้น คิดว่าทีมงานจะสร้างความเชื่อมั่นกับภาคเอกชนได้ เพราะเป็นบุคคลที่มีความสามารถเฉพาะทาง และตัวเองก็มีประสบการณ์เคยทำงานด้านอสังหาริมทรัพย์มาแล้ว"
เรียกร้องเลิกแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ในช่วงบ่ายวันเดียวกันนี้ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (รสก.) ได้มายื่นหนังสือต่อนายอภิสิทธิ์ เสนอให้รัฐบาลกำหนดแนวนโยบายของรัฐ โดยยกเลิกนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นเอกชน ยกเลิกเรียกคืนรัฐวิสาหกิจที่ถูกแปรสภาพไปเป็นบริษัททุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บมจ.ปตท. และธุรกิจพลังงาน และเรียกร้องให้รัฐบาลจัดตั้งกระทรวงรัฐวิสาหกิจ แยกงบประมาณของรัฐวิสาหกิจออกจากกระทรวงการคลัง โดยให้ทุกภาคส่วนรวมทั้งสหภาพแรงงานมีส่วนร่วมในการบริหารกองทุน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวกับตัวแทนสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ ว่า รัฐบาลจะไม่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริการสาธารณะ ส่วนองค์กรที่แปรรูปไปแล้วนั้น จะต้องเข้าไปบริหารจัดการไม่ให้เกิดการผูกขาด ยึดหลักธรรมาภิบาล ทำให้เกิดการแข่งขัน และการกำกับดูแลที่ดี สำหรับข้อเสนอการตั้งกระทรวงรัฐวิสาหกิจนั้น เป็นเรื่องที่เสี่ยง หากผู้ที่ควบคุมกระทรวงไม่ดี ก็จะยิ่งทำให้ปัญหาแย่ยิ่งกว่าเดิม อย่างไรก็ตามข้อเรียกร้องต่าง ๆ สามารถที่จะพูดคุยกันได้
เน้นนโยบาย ศก.-ลดความขัดแย้ง
ช่วงบ่ายวานนี้ ที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการประชุมคณะกรรมการยกร่างนโยบายของรัฐบาล โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธาน และมีนางพรทิวา นาคาศัย ตัวแทนพรรคภูมิใจไทย นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล ตัวแทนพรรคร่วมใจไทยชาติพัฒนา นายอรรคพล สรสุชาติ ตัวแทนพรรคชาติไทยพัฒนา เข้าร่วมประชุม
ทั้งนี้ นายจุรินทร์ กล่าวภายหลังการการประชุมว่า เป็นการประชุมครั้งที่ 2 จากนั้นจะมอบให้เลขาคณะกรรมการไปปรับตามความเห็นของทุกพรรค ซึ่งน่าจะได้ร่างที่เกือบสมบูรณ์ในวันที่ 21 ธ.ค. หากในวันที่ 23 ธ.ค.มีการประชุมครม.ได้ ก็จะนำร่างนโยบายเข้าสู่ที่ประชุม และหากเป็นไปได้จะแถลงต่อรัฐสภาในวันที่ 29 ธ.ค.นี้
ทั้งนี้ นโยบายส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้มองเป็นประชานิยม แต่ส่วนใหญ่นั้นสอดคล้องกับนโยบายหลักของประชาธิปัตย์อยู่แล้ว ถือว่านโยบายของพรรคร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์เป็นทิศทางเดี่ยวกัน ทั้งนี้ จะมีการแบ่งนโยบายออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ 1. นโยบายเร่งด่วนดำเนินการในปีแรกโดยหลายเรื่องต้องทำให้เสร็จภายใน 2-3 เดือน อีกนโยบายต้องดำเนินการในระยะเวลาที่เหลืออยู่ของรัฐบาล คือ 3 ปี ซึ่งในส่วนของนโยบายเร่งด่วน คือจะมุ่งให้ประเทศมุ่งออกจากวิกฤต คือวิกฤตเศรษฐกิจ และแก้วิกฤตความขัดแย้ง โดยถือหลักกฎหมาย หลักนิติรัฐ นิติธรรม ความเสมอภาคเป็นธรรม จะช่วยลดความขัดแย้ง และไม่สร้างเงื่อนไขใหม่
การแก้ปัญหาความสงบใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยจัดตั้งองค์กรแก้ปัญหา จะเน้นให้มีกฎหมายรองรับ เน้นการมีส่วนร่วมของภาครัฐ เอกชน ผู้นำศาสนา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
"การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เรามีทั้งนโยบายที่แก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจนอกประเทศ และผลกระทบภายในประเทศ โดยเน้นการสร้างความเชื่อมั่น เช่น การเลื่อนการประชุมอาเซียน ซัมมิท ให้เร็วขึ้น การแก้สภาพคล่องในระบอบเศรษฐกิจ การส่งออก ผลกระทบจาการท่องเที่ยว แก้ปัญหาราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ และโครงการเมกะโปรเจ็กต์ และการลงทุนด้านการศึกษา" นายจุรินทร์ กล่าว และว่า ส่วนนโยบาย 99 วันของพรรคที่เคยหาเสียงจบรรจุในนโยบายรัฐบาลแน่นอน เช่น เรื่องเรียนฟรี รักษาฟรี เบี้ยยังชีพคนชรา เบี้ยตอบแทน อสม. กองทุกเศรษฐกิจพอเพียง ประกันพืชผล โฉนดชุมชุน ธนาคารที่ดิน เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการบรรจุ การแก้รัฐธรรมนูญในนโยบายหรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า ไม่ได้บุรรจุ แต่นโยบายการเมืองจะบรรจุในเรื่องของการส่งสริมในระบอบประชาธิปไตยเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเมือง
"โพธิพงษ์" ยอมรับ ครม.ไม่เพอร์เฟค
นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ ประธานกรรมการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด ในฐานะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวยอมรับว่า การจัดโผครม.ครั้งนี้ยากลำบาก เพราะต้องอาศัยความอลุ้มอะล่วย เป็นอย่างมาก
ส่วนที่มีกระแสวิจารณ์ว่าครม..ชุดนี้ขี้เหร่ โดยเฉพาะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ต้องยอมรับว่า ไม่มีอะไรเพอร์เฟค แต่ตนในฐานะภาคธุรกิจ เชื่อมั่นว่า นายอภิสิทธิ์ ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้เศรษฐกิจของประเทศได้
สำหรับภาพ ครม.ชุดนี้ ที่ถูกวิจารณ์ว่า เป็นครม.ต่างตอบแทนกลุ่มผลประโยชน์ ของพรรคประชาธิปัตย์นั้น นายโพธิพงษ์ กล่าวว่า "ไม่หรอกครับ อย่างทูตกษิต (ภิรมย์ ว่าที่รมว.ต่างประเทศ) เท่าที่ผมรู้จักก็เป็นคนกล้าหาญ กล้าที่จะแสดงความเห็นทางการเมือง ซึ่งก็เป็นสิทธิของแต่ละบุคคล ไม่ใช่ว่าจะเชื่อมโยงกับกลุ่มพันธมิตรฯ ที่พูดเช่นนี้ไม่ใช่ว่าผมเห็นด้วยกับพันธมิตรฯ เพราะผมเองก็ไม่เคยไปชุมนุม"
เมื่อถามว่า การที่มีกลุ่มทุน มาอยู่ในโควตารัฐมนตรีของพรรค ทำให้เกิดภาพกลุ่มทุนครอบงำ นายโพธิพงษ์ กล่าวว่า "เมื่อ 10 ปีที่แล้วตอนที่ผมเป็นรัฐมนตรีโควตาคนนอกของรัฐบาลชวน หลีกภัย ผมก็ไม่ได้ไปครอบงำอะไรพรรค และนายชวน ก็ไม่เคยขอเงินผมซักบาทเดียว "
นายโพธิพงษ์ ยังกล่าวถึงอนาคตของรัฐบาลว่า ถ้าทำผลงานออกมาดี ประชาชนก็จะสนับสนุน ก็จะอยู่ได้นาน ทั้งนี้ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่นายกฯ ต้องแก้ปัญหาความแตกแยกในสังคมให้ได้เสียก่อนเพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุน
บรรหารให้กำลังใจนายกฯใหม่
นายรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ และแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเข้าพบที่บ้านพักว่า เป็นการมาพบเพื่อขอความเห็นในการจัดตั้งรัฐบาล ตนก็ได้ให้ข้อคิด และข้อสังเกตไปหลายข้อ พอทุกอย่างเรียบร้อยก็มาเรียนให้ทราบ ว่ารายชื่อครม.เรียบร้อยแล้ว และจะนำรายชื่อครม.ขึ้นทูลเกล้าฯในช่วงบ่าย
เมื่อถามว่าได้แนะนำการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้กับนายกรัฐมนตรีหรือไม่ นายบรรหาร กล่าวว่า ท่านนายกฯได้ให้คำมั่นสัญญาว่า ปลายเดือนนี้สามารถแถลงนโยบายได้ ก็จะตอบกับกลุ่มอาเซียนได้ว่าปลายเดือนม.ค.นี้ก็สามารถเปิดประชุมอาเซียนได้ เพื่อสร้างความมั่นใจ และเรียกความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มประเทศอาเซียน เท่านี้ก็พอใจแล้ว ถ้ามีความเชื่อมั่นทุกอย่างมันจะมา ทั้งความร่วมมือ การซื้อขาย การตกลงเจรจาทวิภาคี ทำได้ทั้งหมดอยู่แล้ว นายกรัฐมนตรีได้ไปพบองค์กรภาคเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นสภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม นักธุรกิจ ซึ่งแต่ละฝ่ายได้ให้ข้อมูลจำนวนมาก และท่านก็รับไว้ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดี
อย่างไรก็ตามเท่าที่ได้ฟังนายกรัฐมนตรี พูดท่าทีก็ใช้ได้มีความรวดเร็ว เหมือนท่านเตรียมไว้ล่วงหน้า ไม่ติดขัด ทั้งเรื่องการแก้ไขปัญหายางพารา ราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ ก็มีแนวคิดที่ดี ท่านฉับไว ถ้าเป็นคนอื่นก็คิดอีกหลายวัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า สภาหอการค้าไม่พอใจทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล นายบรรหาร กล่าวว่า ทีมเศรษฐกิจก็ดี เช่น นายกรณ์ จาติกวาณิช แล้วจะมีใครไม่ดี เมื่อถามว่ากระทรวงพาณิชย์ ที่มีนางพรทิวา นาคาศัย จะไหวหรือไม่ นายบรรหาร กล่าวว่า ให้ลองดู เพราะการที่จะเข้าไปดำรงตำแหน่งกระทรวงไหนสำคัญขึ้นอยู่กับที่ปรึกษาว่าจะมาช่วยอย่างไร ไม่มีรัฐมนตรีคนไหนที่เข้าไปแล้วจะรู้หมดทุกอย่าง ถ้าที่ปรึษามีความรู้ และชำนาญด้านพาณิชย์ เอามาเป็นที่ปรึกษาก็จะสามารถเคลื่อนไปได้ แต่ถ้าเป็นตัวคนเดียวคงไม่ไหว แต่ต้องมีคณะทำงานที่เก่งด้วย
ต่อข้อถามที่ว่า ดูจากรายชื่อครม.รู้สึกเป็นห่วงหรือไม่ นายบรรหาร กล่าวว่า ยังไม่เห็นรายชื่อ แต่จะให้หน้าตาหล่อเหมือนนายกรัฐมนตรีคงเป็นไปไม่ได้ แต่อย่าให้บุ๋มมากเท่านั้นแหละ ตอนนี้ปัญหาเศรษฐกิจมันลงดิ่งไปเยอะมาก เพราะฉะนั้นการกู้เศรษฐกิจกลับคืนมาต้องใช้เวลาพอสมควร เช่น การท่องเที่ยว กว่าจะเรียกความเชื่อมั่นจากต่างชาติได้ก็ต้องใช้เวลา รวมทั้งการส่งออก โดยเฉพาะค่าเงินมันผันผวน เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ไม่ค่อยดี กระทบไปหลายประเทศ สังเกตที่ราคาน้ำมัน ทำไมราคาถึงลดลง เพราะทุกประเทศประหยัด ไม่ค่อยใช้ เพราะเศรษฐกิจไม่ดี การซื้อขายหายไปมาก
"ผมคิดว่ารัฐบาลนี้น่าจะไปได้ พวกเราให้กำลังใจเถอะ คนอายุ 44 ปี ก็ให้เขาทำงานบ้างซิ เพราะทุกทีมันอายุ 60 ปีทั้งนั้น เพราะฉะนั้นเราต้องให้โอกาสรัฐบาล ส่วนจะให้เวลาเท่าไร ไม่ทราบ อยู่ที่การทำงาน และอย่าใช้เวลาเป็นเครื่องกำหนดว่า จะทำได้หรือไม่ได้ เพราะตอนนี้เศรฐกิจถอยหลังเป็นปีกว่าจะกู้ขึ้นมาไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ" นายบรรหารกล่าว
เมื่อวานนี้ (19 ธ.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความชัดเจนในการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีว่า พรรคร่วมรัฐบาลได้ส่งรายชื่อเข้ามาเรียบร้อยแล้ว และได้ดำเนินการผ่านสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแล้ว หากยังไม่มีการโปรดเกล้าฯ รายชื่อ ครม.ลงมา ก็ไม่เหมาะสมที่จะพูดในรายละเอียด
ส่วนกรณีได้มีการท้วงติงจากภาคเอกชน ตนก็พยายามอธิบาย ซึ่งเน้นย้ำว่าเราพยายามจะให้เกิดเสถียรภาพในการทำงาน เพราะตนคือหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ เมื่อเกิดเสถียรภาพในการทำงานทางการเมือง ตนจึงจะสามารถผลักดันงานต่างๆได้ ถ้าหากงานการเมืองสะดุดก็จะส่งผลกับงานเป็นเจ้าภาพการประชุมอาเซี่ยนซัมมิท และงบประมาณกลางปี และงานการฟื้นฟูเรื่องเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งรัฐบาลจะต้องดูแล และตนก็ต้องทำงานหนัก ยืนยันว่า การทำงานในภาพรวมทั้งหมดจะต้องเป็นไปตาม ยุทธศาสตร์ใหญ่ เพื่อเป็นไปด้วยความโปร่งใส
เมื่อถามว่าภาพครม.ที่ออกมาโดนวิจารณ์จะทำให้การทำงานของรัฐบาลสะดุดหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถือว่าเป็นแรงกดดัน แต่เราก็ยอมรับคำวิจารณ์ต่างๆ แต่เราต้องหาความสมดุลในแง่ของตัวบุคคล และการทำงานทำการเมือง ให้มีความมั่นคง และเดินต่อไปได้ ซึ่งตนยังติดต่อบุคคลข้างนอกอีกหลายคนเข้ามาเป็นคณะทำงาน รวมทั้งได้ย้ำกับสมาชิกพรรคที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่า ต้องไปหาบุคคลที่มีความสามารถมาทำงาน
"ข้อจำกัดของการเมืองคือ ต้องบริหารงานการเมืองได้ และให้รัฐบาลมีความมั่นคงในการทำงานได้ แต่ความมั่นคงจะต้องไม่กระทบต่อทิศทางนโยบาย และไม่กระทบต่อความโปร่งใส และจะต้องไม่กระทบต่อประสิทธิภาพ เราต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญของผู้รู้ ดึงคนเหล่านี้เข้าเพื่อบริหารการเมืองให้เดินไปได้" นายอภิสิทธิ์กล่าว
ส่วนปัญหาที่ภาคเอกชนไม่เชื่อมั่นรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็ได้พูดกับเขา ก็จะมีเฉพาะบางจุดเท่านั้นที่เขาไม่พอใจ แต่หลายส่วนเขาก็ไม่ได้ติดใจ ในส่วนที่เขาเป็นห่วงก็จะกลับมาดูว่าจะทำอย่างไรให้เขาเชื่อมั่น แต่ก็มีความเข้าใจกันดี
ส่วนกรณีที่นาย นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง ที่ออกมาแสดงความไม่พอใจ ต่อโผ ครม.นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ได้เปิดอกคุยกันอย่างเต็มที่ และอธิบายให้ฟังว่าทางเลือกเป็นอย่างไร นอกจากต้องการความมั่งคงแล้วยังต้องการความรวดเร็ว หากขั้นตอนต่อๆไปช้า ก็จะกระทบกับแผนการต่างๆ ที่ได้พูดไว้ข้างต้น
นายอภิสิทธิ์ ยอมรับว่าคนที่มีคุณภาพตั้งใจทำงาน และอยู่ในข่ายรัฐมนตรีได้อีกหลายคน แต่ว่าไม่ได้ผ่านการเห็นชอบครั้งนี้ เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งตนสามรถเอ่ยชื่อได้เช่นนายจุติ ไกรฤกษ์ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ นายนิพิฏฐ์ อิทรสมบัติ นายชินวรณ์ บุณยะเกียรติ และนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ตนเชื่อว่าคนเหล่านี้จะมีโอกาสในวันข้างหน้า
"ยืนยันว่า ไม่มีการครอบงำ ไม่มีเรื่องหนี้ ต้องทำงานและตัวบุคคลที่เข้ามาก็เป็นคนนอก ก็ต้องเป็นบุคคลที่ผมได้ดูแล้ว และได้ดูจริงๆในเรื่องความเหมาะสม ไม่มีเรื่องอื่น ขณะนี้ได้มีการนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯแล้ว"นายกรัฐมนตรีกล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า หลังจากมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากภาคเอกชน ถึงความเชื่อมั่นต่อรัฐมนตรีเศรษฐกิจ โดยเฉพาะนางพรทิวา นาคาศัย ว่าที่รมว.พาณิชย์ และ ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ว่าที่รมว.อุตสาหกรรม ทำให้นายอภิสิทธิ์ หารือกับแกนนำพรรคเพื่อแผ่นดิน และได้เชิญนางพรทิวา มาพบที่พรรค
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ในส่วนพรรคเพื่อแผ่นดินนั้น ได้มีการปรับโผรัฐมนตรีใหม่ โดยให้นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง เป็นว่าที่ รมว.อุตสาหกรรม ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เป็นว่าที่ รมว.ไอซีที นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ เป็นว่าที่ รมช.คลัง ส่วนนายพิเชษฐ์ ตันเจริญ เป็นว่าที่ รมช.มหาดไทย ขณะที่นางพรทิวา นาคาศํย จากพรรคมัชฌิมาฯ ยังคงยืนยัน ที่จะนั่ง รมว.พาณิชย์
มาร์คร่วมทำความสะอาดทำเนียบฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเช้าวานนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมทำความสะอาดทำเนียบรัฐบาล ในวันบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ โดยเจ้าหน้าที่ได้เตรียมไม้กวาดให้นายอภิสิทธิ์ และนายชวรัตน์ ชาญวีระกุล อดีตรองนายกฯ ได้ร่วมกันกวาดหน้าบันได บริเวณตึกไทยคู่ฟ้า ทำให้บรรดาสื่อมวลชน และช่างภาพและเจ้าหน้าที่ทำเนียบรัฐบาล ต่างกรูกันเข้ามาบันทึกภาพไว้เป็นที่ระลึก
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หวังว่า ทำเนียบรัฐบาล จะกลับมาอยู่ในสภาพเป็นหน้าเป็นตาของบ้านเมืองได้อีก และเป็นสัญลักษณ์การกลับเข้าความสู่ปกติ ที่นี่คือสถานที่ทำงานเป็นสัญลักษณ์ เป็นหน้าตาของประเทศ ซึ่งจะฟื้นฟูกัน เมื่อปรับสภาพพื้นที่ทุกอย่างเรียบร้อย ก็เป็นโอกาสดีที่จะได้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงการก้าวพ้นปัญหาวิกฤติต่างๆ นานา
หอการค้าผิดหวัง ครม.เศรษฐกิจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อมา นายอภิสิทธิ์ ได้เข้าพบคณะกรรมการบริหารหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อรับทราบปัญหา ข้อเสนอ และแนวทางในการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจ โดยนายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ว่า มีการเปิดใจคุยกัน ซึ่งทางสภาหอการค้าบอกว่า เห็นโผ ครม.แล้วรู้สึกผิดหวัง จึงได้อธิบายว่า เข้าใจเสียงสะท้อนความรู้สึกนี้ดี เป็นเรื่องที่ตนได้อธิบายว่าการทำงานทางการเมือง เป้าหมาย วิธีการ ขณะนี้ ตนมีหน้าที่จะต้องหาความสมดุลในการบริหารการเมืองให้เดินได้ เพื่อให้ตนเข้าไปแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ ฉนั้นตรงนี้จะตนจะทำให้ดีที่สุด เพื่อหาความสมดุล และดำเนินการต่อไป
"มาร์ค"ดอดเข้าบ้าน"เติ้ง"ปรับโผครม.
นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ ยังเดินทางไปที่บ้านนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ย่านถนนจรัญสนิทวงศ์ คาดว่าจะมีการหารือกับนายบรรหาร ถึงโผครม.ที่ยังไม่ลงตัว ทั้งนี้ในการหารือ มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ นายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ และนายสุชาติ ตันเจริญ ร่วมหารือด้วย ซึ่งทั้งหมดใช้เวลาในการหารือประมาณ 1 ชั่วโมง และออกไปโดยไม่มีการสัมภาษณ์แต่อย่างใด
"พรทิวา"คุยมืออาชีพเมินเสียงสวด
เวลา 14.10 น. นางพรทิวา นาคาศัย เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ว่าที่ รมว.พาณิชย์ เดินทางมายังที่ทำการพรรคประชาธิ-ปัตย์ โดยเปิดเผยกับผูสื่อข่าวว่า นายอภิสิทธิ์ เรียกมาพบ ยังไม่ทราบว่าจะมีการหารือเรื่องอะไร ส่วนตำแหน่ง รัฐมนตรีในโควตาพรรคนั้น ลงตัวหมดแล้ว
เมื่อถามถึงการวิจารณ์คุณสมบัติความเหมาะสม นางพรทิวา กล่าวว่าไม่รู้สึกกดดันและเข้าใจว่าทุกคนก็คาดหวังเพราะความห่วงใยบ้านเมือง ซึ่งตนเชื่อมั่นว่าสามารถทำงานได้ ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายมองว่า ในสภาพเศรษฐกิจที่กำลังทรุด ต้องการมืออาชีพเข้ามาบริหารงานนั้น ตนก็เคยผ่านมางานผู้บริหารมา ก็มั่นใจในความเป็นมืออาชีพพอ
นางพรทิวา กล่าวด้วยว่า ได้นำรายชื่อทีมที่ปรึกษาของตน มาให้นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจดูด้วย
"ชื่อทีมที่ปรึกษาเห็นแล้วต้องร้องอ๋อทุกคน เช่น ซีอีโอ บริษัทพรานทะเล ดร.อุตมะ สาวนายน เป็นต้น คิดว่าทีมงานจะสร้างความเชื่อมั่นกับภาคเอกชนได้ เพราะเป็นบุคคลที่มีความสามารถเฉพาะทาง และตัวเองก็มีประสบการณ์เคยทำงานด้านอสังหาริมทรัพย์มาแล้ว"
เรียกร้องเลิกแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ในช่วงบ่ายวันเดียวกันนี้ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (รสก.) ได้มายื่นหนังสือต่อนายอภิสิทธิ์ เสนอให้รัฐบาลกำหนดแนวนโยบายของรัฐ โดยยกเลิกนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นเอกชน ยกเลิกเรียกคืนรัฐวิสาหกิจที่ถูกแปรสภาพไปเป็นบริษัททุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บมจ.ปตท. และธุรกิจพลังงาน และเรียกร้องให้รัฐบาลจัดตั้งกระทรวงรัฐวิสาหกิจ แยกงบประมาณของรัฐวิสาหกิจออกจากกระทรวงการคลัง โดยให้ทุกภาคส่วนรวมทั้งสหภาพแรงงานมีส่วนร่วมในการบริหารกองทุน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวกับตัวแทนสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ ว่า รัฐบาลจะไม่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริการสาธารณะ ส่วนองค์กรที่แปรรูปไปแล้วนั้น จะต้องเข้าไปบริหารจัดการไม่ให้เกิดการผูกขาด ยึดหลักธรรมาภิบาล ทำให้เกิดการแข่งขัน และการกำกับดูแลที่ดี สำหรับข้อเสนอการตั้งกระทรวงรัฐวิสาหกิจนั้น เป็นเรื่องที่เสี่ยง หากผู้ที่ควบคุมกระทรวงไม่ดี ก็จะยิ่งทำให้ปัญหาแย่ยิ่งกว่าเดิม อย่างไรก็ตามข้อเรียกร้องต่าง ๆ สามารถที่จะพูดคุยกันได้
เน้นนโยบาย ศก.-ลดความขัดแย้ง
ช่วงบ่ายวานนี้ ที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการประชุมคณะกรรมการยกร่างนโยบายของรัฐบาล โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธาน และมีนางพรทิวา นาคาศัย ตัวแทนพรรคภูมิใจไทย นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล ตัวแทนพรรคร่วมใจไทยชาติพัฒนา นายอรรคพล สรสุชาติ ตัวแทนพรรคชาติไทยพัฒนา เข้าร่วมประชุม
ทั้งนี้ นายจุรินทร์ กล่าวภายหลังการการประชุมว่า เป็นการประชุมครั้งที่ 2 จากนั้นจะมอบให้เลขาคณะกรรมการไปปรับตามความเห็นของทุกพรรค ซึ่งน่าจะได้ร่างที่เกือบสมบูรณ์ในวันที่ 21 ธ.ค. หากในวันที่ 23 ธ.ค.มีการประชุมครม.ได้ ก็จะนำร่างนโยบายเข้าสู่ที่ประชุม และหากเป็นไปได้จะแถลงต่อรัฐสภาในวันที่ 29 ธ.ค.นี้
ทั้งนี้ นโยบายส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้มองเป็นประชานิยม แต่ส่วนใหญ่นั้นสอดคล้องกับนโยบายหลักของประชาธิปัตย์อยู่แล้ว ถือว่านโยบายของพรรคร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์เป็นทิศทางเดี่ยวกัน ทั้งนี้ จะมีการแบ่งนโยบายออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ 1. นโยบายเร่งด่วนดำเนินการในปีแรกโดยหลายเรื่องต้องทำให้เสร็จภายใน 2-3 เดือน อีกนโยบายต้องดำเนินการในระยะเวลาที่เหลืออยู่ของรัฐบาล คือ 3 ปี ซึ่งในส่วนของนโยบายเร่งด่วน คือจะมุ่งให้ประเทศมุ่งออกจากวิกฤต คือวิกฤตเศรษฐกิจ และแก้วิกฤตความขัดแย้ง โดยถือหลักกฎหมาย หลักนิติรัฐ นิติธรรม ความเสมอภาคเป็นธรรม จะช่วยลดความขัดแย้ง และไม่สร้างเงื่อนไขใหม่
การแก้ปัญหาความสงบใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยจัดตั้งองค์กรแก้ปัญหา จะเน้นให้มีกฎหมายรองรับ เน้นการมีส่วนร่วมของภาครัฐ เอกชน ผู้นำศาสนา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
"การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เรามีทั้งนโยบายที่แก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจนอกประเทศ และผลกระทบภายในประเทศ โดยเน้นการสร้างความเชื่อมั่น เช่น การเลื่อนการประชุมอาเซียน ซัมมิท ให้เร็วขึ้น การแก้สภาพคล่องในระบอบเศรษฐกิจ การส่งออก ผลกระทบจาการท่องเที่ยว แก้ปัญหาราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ และโครงการเมกะโปรเจ็กต์ และการลงทุนด้านการศึกษา" นายจุรินทร์ กล่าว และว่า ส่วนนโยบาย 99 วันของพรรคที่เคยหาเสียงจบรรจุในนโยบายรัฐบาลแน่นอน เช่น เรื่องเรียนฟรี รักษาฟรี เบี้ยยังชีพคนชรา เบี้ยตอบแทน อสม. กองทุกเศรษฐกิจพอเพียง ประกันพืชผล โฉนดชุมชุน ธนาคารที่ดิน เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการบรรจุ การแก้รัฐธรรมนูญในนโยบายหรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า ไม่ได้บุรรจุ แต่นโยบายการเมืองจะบรรจุในเรื่องของการส่งสริมในระบอบประชาธิปไตยเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเมือง
"โพธิพงษ์" ยอมรับ ครม.ไม่เพอร์เฟค
นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ ประธานกรรมการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด ในฐานะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวยอมรับว่า การจัดโผครม.ครั้งนี้ยากลำบาก เพราะต้องอาศัยความอลุ้มอะล่วย เป็นอย่างมาก
ส่วนที่มีกระแสวิจารณ์ว่าครม..ชุดนี้ขี้เหร่ โดยเฉพาะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ต้องยอมรับว่า ไม่มีอะไรเพอร์เฟค แต่ตนในฐานะภาคธุรกิจ เชื่อมั่นว่า นายอภิสิทธิ์ ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้เศรษฐกิจของประเทศได้
สำหรับภาพ ครม.ชุดนี้ ที่ถูกวิจารณ์ว่า เป็นครม.ต่างตอบแทนกลุ่มผลประโยชน์ ของพรรคประชาธิปัตย์นั้น นายโพธิพงษ์ กล่าวว่า "ไม่หรอกครับ อย่างทูตกษิต (ภิรมย์ ว่าที่รมว.ต่างประเทศ) เท่าที่ผมรู้จักก็เป็นคนกล้าหาญ กล้าที่จะแสดงความเห็นทางการเมือง ซึ่งก็เป็นสิทธิของแต่ละบุคคล ไม่ใช่ว่าจะเชื่อมโยงกับกลุ่มพันธมิตรฯ ที่พูดเช่นนี้ไม่ใช่ว่าผมเห็นด้วยกับพันธมิตรฯ เพราะผมเองก็ไม่เคยไปชุมนุม"
เมื่อถามว่า การที่มีกลุ่มทุน มาอยู่ในโควตารัฐมนตรีของพรรค ทำให้เกิดภาพกลุ่มทุนครอบงำ นายโพธิพงษ์ กล่าวว่า "เมื่อ 10 ปีที่แล้วตอนที่ผมเป็นรัฐมนตรีโควตาคนนอกของรัฐบาลชวน หลีกภัย ผมก็ไม่ได้ไปครอบงำอะไรพรรค และนายชวน ก็ไม่เคยขอเงินผมซักบาทเดียว "
นายโพธิพงษ์ ยังกล่าวถึงอนาคตของรัฐบาลว่า ถ้าทำผลงานออกมาดี ประชาชนก็จะสนับสนุน ก็จะอยู่ได้นาน ทั้งนี้ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่นายกฯ ต้องแก้ปัญหาความแตกแยกในสังคมให้ได้เสียก่อนเพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุน
บรรหารให้กำลังใจนายกฯใหม่
นายรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ และแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเข้าพบที่บ้านพักว่า เป็นการมาพบเพื่อขอความเห็นในการจัดตั้งรัฐบาล ตนก็ได้ให้ข้อคิด และข้อสังเกตไปหลายข้อ พอทุกอย่างเรียบร้อยก็มาเรียนให้ทราบ ว่ารายชื่อครม.เรียบร้อยแล้ว และจะนำรายชื่อครม.ขึ้นทูลเกล้าฯในช่วงบ่าย
เมื่อถามว่าได้แนะนำการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้กับนายกรัฐมนตรีหรือไม่ นายบรรหาร กล่าวว่า ท่านนายกฯได้ให้คำมั่นสัญญาว่า ปลายเดือนนี้สามารถแถลงนโยบายได้ ก็จะตอบกับกลุ่มอาเซียนได้ว่าปลายเดือนม.ค.นี้ก็สามารถเปิดประชุมอาเซียนได้ เพื่อสร้างความมั่นใจ และเรียกความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มประเทศอาเซียน เท่านี้ก็พอใจแล้ว ถ้ามีความเชื่อมั่นทุกอย่างมันจะมา ทั้งความร่วมมือ การซื้อขาย การตกลงเจรจาทวิภาคี ทำได้ทั้งหมดอยู่แล้ว นายกรัฐมนตรีได้ไปพบองค์กรภาคเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นสภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม นักธุรกิจ ซึ่งแต่ละฝ่ายได้ให้ข้อมูลจำนวนมาก และท่านก็รับไว้ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดี
อย่างไรก็ตามเท่าที่ได้ฟังนายกรัฐมนตรี พูดท่าทีก็ใช้ได้มีความรวดเร็ว เหมือนท่านเตรียมไว้ล่วงหน้า ไม่ติดขัด ทั้งเรื่องการแก้ไขปัญหายางพารา ราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ ก็มีแนวคิดที่ดี ท่านฉับไว ถ้าเป็นคนอื่นก็คิดอีกหลายวัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า สภาหอการค้าไม่พอใจทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล นายบรรหาร กล่าวว่า ทีมเศรษฐกิจก็ดี เช่น นายกรณ์ จาติกวาณิช แล้วจะมีใครไม่ดี เมื่อถามว่ากระทรวงพาณิชย์ ที่มีนางพรทิวา นาคาศัย จะไหวหรือไม่ นายบรรหาร กล่าวว่า ให้ลองดู เพราะการที่จะเข้าไปดำรงตำแหน่งกระทรวงไหนสำคัญขึ้นอยู่กับที่ปรึกษาว่าจะมาช่วยอย่างไร ไม่มีรัฐมนตรีคนไหนที่เข้าไปแล้วจะรู้หมดทุกอย่าง ถ้าที่ปรึษามีความรู้ และชำนาญด้านพาณิชย์ เอามาเป็นที่ปรึกษาก็จะสามารถเคลื่อนไปได้ แต่ถ้าเป็นตัวคนเดียวคงไม่ไหว แต่ต้องมีคณะทำงานที่เก่งด้วย
ต่อข้อถามที่ว่า ดูจากรายชื่อครม.รู้สึกเป็นห่วงหรือไม่ นายบรรหาร กล่าวว่า ยังไม่เห็นรายชื่อ แต่จะให้หน้าตาหล่อเหมือนนายกรัฐมนตรีคงเป็นไปไม่ได้ แต่อย่าให้บุ๋มมากเท่านั้นแหละ ตอนนี้ปัญหาเศรษฐกิจมันลงดิ่งไปเยอะมาก เพราะฉะนั้นการกู้เศรษฐกิจกลับคืนมาต้องใช้เวลาพอสมควร เช่น การท่องเที่ยว กว่าจะเรียกความเชื่อมั่นจากต่างชาติได้ก็ต้องใช้เวลา รวมทั้งการส่งออก โดยเฉพาะค่าเงินมันผันผวน เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ไม่ค่อยดี กระทบไปหลายประเทศ สังเกตที่ราคาน้ำมัน ทำไมราคาถึงลดลง เพราะทุกประเทศประหยัด ไม่ค่อยใช้ เพราะเศรษฐกิจไม่ดี การซื้อขายหายไปมาก
"ผมคิดว่ารัฐบาลนี้น่าจะไปได้ พวกเราให้กำลังใจเถอะ คนอายุ 44 ปี ก็ให้เขาทำงานบ้างซิ เพราะทุกทีมันอายุ 60 ปีทั้งนั้น เพราะฉะนั้นเราต้องให้โอกาสรัฐบาล ส่วนจะให้เวลาเท่าไร ไม่ทราบ อยู่ที่การทำงาน และอย่าใช้เวลาเป็นเครื่องกำหนดว่า จะทำได้หรือไม่ได้ เพราะตอนนี้เศรฐกิจถอยหลังเป็นปีกว่าจะกู้ขึ้นมาไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ" นายบรรหารกล่าว