กฎหมายเป็นหลักการและกฎเกณฑ์ที่มนุษย์เขียนขึ้นมา เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ โดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาไว้ซึ่งกฎกติกา ข้อตกลง หลักการและปรัชญา ที่เกิดขึ้นในสังคม เพื่อให้เกิดความแจ่มชัดและให้มีการปฏิบัติอย่างคงเส้นคงวา ใช้บังคับกับทุกคน มีหลักฐานเห็นได้แน่วแน่ จึงได้ร่างมาเป็นลายลักษณ์อักษร
แต่ในกรณีแนวปฏิบัติที่กลายเป็นวัฒนธรรมหรือขนบธรรมเนียมและประเพณี และสังคมส่วนใหญ่รับมาถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันก็ไม่จำเป็นต้องเขียนเอาไว้ เช่น ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่างตอบแทนในการแลกเปลี่ยนของขวัญ การที่บิดามารดาดูแลทะนุถนอมเลี้ยงดูบุตรธิดา การที่ลูกหลานดูแลให้ความเอาใจใส่ต่อปู่ย่าตายาย บิดามารดา และผู้สูงอายุด้วยความกตัญญู ล้วนแล้วแต่เป็นวัฒนธรรมหรือขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่จำเป็นต้องเขียนไว้ในกฎหมาย
ในสังคมที่มีวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีในทางการเมือง ที่สอดคล้องกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ก็ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาพร่ำเพรื่อ เพราะมีแนวปฏิบัติที่ยึดถือกันมานาน เช่น กรณีของประเทศอังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนใหญ่ใช้ขนบธรรมเนียมประเพณีและกฎหมายซึ่งเป็นพระราชบัญญัติโดยใช้วิธีเทียบเคียง ซึ่งต่างจากสหรัฐอเมริกาซึ่งมีรัฐธรรมนูญที่มีลายลักษณ์อักษรแต่ก็มีความยาวไม่มากนัก ยังถือเอาขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นมรดกตกทอดมาจากอังกฤษเป็นการอ้างอิง และใช้วิธีแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยการเพิ่มเติมที่เรียกว่า Amendment เพื่อปรับเข้ากับสถานการณ์ใหม่
การเขียนกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำรัฐธรรมนูญนั้น ส่วนใหญ่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญจะคิดเพียงชั้นเดียวหรืออย่างมากก็สองชั้น เนื่องจากไม่มีประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติที่แท้จริง และมักจะเป็นปรากฏการณ์ที่คาดคิดไม่ถึง ยกเว้นแต่จะมีปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นจึงได้ศึกษาเอาประสบการณ์นั้นมาใช้ในการจัดทำรัฐธรรมนูญเพื่อร่างมาตราต่างๆ เป็นการปรับประยุกต์จึงสามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่หลายครั้งก็ไม่สามารถจะป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่าเต็มที่ เนื่องจากวัฒนธรรมทางการเมืองที่ไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตีความกฎหมายโดยมีแนวทางการตีความดังต่อไปนี้
การตีความตามลายลักษณ์อักษร (the letter of the law) หมายความว่าบัญญัติไว้อย่างไรก็ดำเนินไปตามที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นกรณีที่ชัดเจน เช่น การต้องสังกัดพรรค 90 วัน จึงจะมีสิทธิเป็นผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง จะตีความเป็น 89 วัน 60 วัน ไม่ได้ แต่ถ้าเป็นกรณีที่เกิดความคลุมเครือและไม่บัญญัติไว้ชัดเจนก็ต้องมีการตีความถึงเจตนารมณ์ (the spirit of the law) ของการร่างมาตราดังกล่าว และต้องคำนึงถึงหลักการกฎหมายโดยทั่วไปด้วย
การที่คิดไม่รอบคอบและการขาดประสบการณ์ หรือการไม่มีตัวอย่างจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมักจะนำไปสู่ปัญหาของการนำรัฐธรรมนูญไปปฏิบัติ เพราะมักจะไม่มีการบัญญัติไว้ชัดแจ้งและสามารถตีความได้ทั้งสองด้านหรือมากกว่า ขณะเดียวกันก็เกิดความขัดแย้งกันเองในรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการนำรัฐธรรมนูญมาใช้และทำการแก้ไขเป็นระยะๆ เพื่อให้เกิดความกระจ่างในกรณีที่เกิดปัญหาซับซ้อนขึ้น โดยทางออกในเบื้องต้นในการแก้ปัญหาก็ได้แก่การส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลสูงสุดในการตีความการใช้กฎหมายและตีความบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ทั้งในแง่ลายลักษณ์อักษรและเจตนารมณ์ จุดประสงค์ก็เพื่อหาข้อยุติจากความขัดแย้งเพื่อแก้ปัญหาที่ค้างคา คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงต้องผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรของรัฐ (มาตรา 216 วรรค 5)
ในกรณีที่เกิดปัญหาเนื่องจากมิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญก็จะต้องมีการหาทางออกด้วยการใช้ประเพณีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อหาข้อยุติโดยใช้การตีความโดยอนุโลม ซึ่งมีการบัญญัติไว้ในมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ แต่ถ้ามีการบัญญัติไว้โดยชัดเจนในรัฐธรรมนูญจะนำมาตรา 7 มาใช้ไม่ได้ ซึ่งเป็นการตีความที่ผิดๆ ของพรรคหนึ่งโดยเสนอให้ใช้มาตรา 7 ตั้งนายกรัฐมนตรีโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ท่านได้ออกมามีพระราชดำรัสว่าเป็นสิ่งที่กระทำมิได้ เพราะรัฐธรรมนูญยังอยู่และกำหนดไว้ชัดเจนว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากการลงมติในสภาผู้แทนราษฎร
ประเด็นที่ไม่มีความกระจ่างในรัฐธรรมนูญปี 2550 มีอยู่หลายประเด็นซึ่งจะต้องมีการแก้ไขหรืออาศัยการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นบรรทัดฐาน จะได้เกิดความกระจ่าง ประเด็นที่อาจจะมีปัญหามีดังต่อไปนี้ คือ
ประเด็นที่หนึ่ง ในกรณีการยุบพรรคการเมืองนั้นตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106 (8) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ไม่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเนื่องจากมิได้เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดการเลือกตั้ง หรือเป็นคณะกรรมการบริหารพรรคซึ่งจะต้องรับผิดชอบตามมาตรา 68 และมาตรา 237 จะต้องหาพรรคการเมืองอื่นเข้าสังกัดเพื่อเป็นสมาชิกภายใน 60 วัน ประเด็นที่เกิดขึ้นก็คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนซึ่งลงสมัครในนามพรรคและการลงคะแนนเสียงนั้นลงให้กับพรรค โดยรัฐธรรมนูญปี 2540 เขตเลือกตั้งทั้งหมดของ Party List เป็นเขตประเทศ
แต่ในกรณีรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้แบ่งออกเป็นเขตๆ เขตละ 10 คน รวมทั้งสิ้น 80 คน จึงเกิดประเด็นปัญหาที่สำคัญคือ เมื่อพรรคที่ตนเป็นสมาชิกนั้นถูกยุบและโดยสมาชิกภาพได้มาจากการที่ประชาชนลงคะแนนเสียงเลือกพรรค เมื่อพรรคถูกยุบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนจะยังคงความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ต่อไปได้หรือไม่ เพราะต้องมีพรรคเป็นฐาน รัฐธรรมนูญก็ไม่ได้ระบุไว้ชัด
ถ้าตีความตามรัฐธรรมนูญสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นแบบสัดส่วนก็ยังคงเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ แต่ถ้าดูจากฐานแห่งการได้มาซึ่งสมาชิกภาพ เมื่อพรรคถูกยุบจะอ้างความเป็นสมาชิกภาพของพรรคใด พรรคที่เข้าไปสังกัดเป็นพรรคใหม่ไม่ใช่เป็นพรรคที่ประชาชนเลือกขึ้นเพื่อให้ตนได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน จึงเกิดประเด็นปัญหาขึ้นมา เพราะเป็นเรื่องที่ขัดเจตนารมณ์ของการมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนโดยใช้พรรคเป็นฐานในการตัดสินจากคะแนนที่ได้รับจากประชาชน
ขณะเดียวกันเมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนมิใช่ใช้ประเทศเป็นเขต ถ้ามีการสมัครเข้าเป็นสมาชิกบางพรรคในพรรค สมมติว่าพรรคนั้นมีสมาชิกแบบสัดส่วนเพียงภูมิภาคเดียวและได้เต็มจำนวน คำถามคือตนจะเข้าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนในเขตใดถ้ามาจากคนละภูมิภาค เช่น สมมติว่ามาจากเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือแต่ไปสมัครสมาชิกพรรคที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนเต็มจำนวนในภาคใต้ แต่ไม่มีแม้แต่คนเดียวในภาคซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนคนเดิมได้รับการเลือกตั้งจากเขตในภาคตะวันอกเฉียงเหนือ จะเป็นความขัดแย้งกันหรือไม่ ประเด็นดังกล่าวต้องมีการวินิจฉัยหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญในรายละเอียดให้เกิดความกระจ่าง (อ่านต่อวันพฤหัสฯ หน้า)
แต่ในกรณีแนวปฏิบัติที่กลายเป็นวัฒนธรรมหรือขนบธรรมเนียมและประเพณี และสังคมส่วนใหญ่รับมาถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันก็ไม่จำเป็นต้องเขียนเอาไว้ เช่น ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่างตอบแทนในการแลกเปลี่ยนของขวัญ การที่บิดามารดาดูแลทะนุถนอมเลี้ยงดูบุตรธิดา การที่ลูกหลานดูแลให้ความเอาใจใส่ต่อปู่ย่าตายาย บิดามารดา และผู้สูงอายุด้วยความกตัญญู ล้วนแล้วแต่เป็นวัฒนธรรมหรือขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่จำเป็นต้องเขียนไว้ในกฎหมาย
ในสังคมที่มีวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีในทางการเมือง ที่สอดคล้องกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ก็ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาพร่ำเพรื่อ เพราะมีแนวปฏิบัติที่ยึดถือกันมานาน เช่น กรณีของประเทศอังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนใหญ่ใช้ขนบธรรมเนียมประเพณีและกฎหมายซึ่งเป็นพระราชบัญญัติโดยใช้วิธีเทียบเคียง ซึ่งต่างจากสหรัฐอเมริกาซึ่งมีรัฐธรรมนูญที่มีลายลักษณ์อักษรแต่ก็มีความยาวไม่มากนัก ยังถือเอาขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นมรดกตกทอดมาจากอังกฤษเป็นการอ้างอิง และใช้วิธีแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยการเพิ่มเติมที่เรียกว่า Amendment เพื่อปรับเข้ากับสถานการณ์ใหม่
การเขียนกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำรัฐธรรมนูญนั้น ส่วนใหญ่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญจะคิดเพียงชั้นเดียวหรืออย่างมากก็สองชั้น เนื่องจากไม่มีประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติที่แท้จริง และมักจะเป็นปรากฏการณ์ที่คาดคิดไม่ถึง ยกเว้นแต่จะมีปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นจึงได้ศึกษาเอาประสบการณ์นั้นมาใช้ในการจัดทำรัฐธรรมนูญเพื่อร่างมาตราต่างๆ เป็นการปรับประยุกต์จึงสามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่หลายครั้งก็ไม่สามารถจะป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่าเต็มที่ เนื่องจากวัฒนธรรมทางการเมืองที่ไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตีความกฎหมายโดยมีแนวทางการตีความดังต่อไปนี้
การตีความตามลายลักษณ์อักษร (the letter of the law) หมายความว่าบัญญัติไว้อย่างไรก็ดำเนินไปตามที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นกรณีที่ชัดเจน เช่น การต้องสังกัดพรรค 90 วัน จึงจะมีสิทธิเป็นผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง จะตีความเป็น 89 วัน 60 วัน ไม่ได้ แต่ถ้าเป็นกรณีที่เกิดความคลุมเครือและไม่บัญญัติไว้ชัดเจนก็ต้องมีการตีความถึงเจตนารมณ์ (the spirit of the law) ของการร่างมาตราดังกล่าว และต้องคำนึงถึงหลักการกฎหมายโดยทั่วไปด้วย
การที่คิดไม่รอบคอบและการขาดประสบการณ์ หรือการไม่มีตัวอย่างจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมักจะนำไปสู่ปัญหาของการนำรัฐธรรมนูญไปปฏิบัติ เพราะมักจะไม่มีการบัญญัติไว้ชัดแจ้งและสามารถตีความได้ทั้งสองด้านหรือมากกว่า ขณะเดียวกันก็เกิดความขัดแย้งกันเองในรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการนำรัฐธรรมนูญมาใช้และทำการแก้ไขเป็นระยะๆ เพื่อให้เกิดความกระจ่างในกรณีที่เกิดปัญหาซับซ้อนขึ้น โดยทางออกในเบื้องต้นในการแก้ปัญหาก็ได้แก่การส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลสูงสุดในการตีความการใช้กฎหมายและตีความบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ทั้งในแง่ลายลักษณ์อักษรและเจตนารมณ์ จุดประสงค์ก็เพื่อหาข้อยุติจากความขัดแย้งเพื่อแก้ปัญหาที่ค้างคา คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงต้องผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรของรัฐ (มาตรา 216 วรรค 5)
ในกรณีที่เกิดปัญหาเนื่องจากมิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญก็จะต้องมีการหาทางออกด้วยการใช้ประเพณีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อหาข้อยุติโดยใช้การตีความโดยอนุโลม ซึ่งมีการบัญญัติไว้ในมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ แต่ถ้ามีการบัญญัติไว้โดยชัดเจนในรัฐธรรมนูญจะนำมาตรา 7 มาใช้ไม่ได้ ซึ่งเป็นการตีความที่ผิดๆ ของพรรคหนึ่งโดยเสนอให้ใช้มาตรา 7 ตั้งนายกรัฐมนตรีโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ท่านได้ออกมามีพระราชดำรัสว่าเป็นสิ่งที่กระทำมิได้ เพราะรัฐธรรมนูญยังอยู่และกำหนดไว้ชัดเจนว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากการลงมติในสภาผู้แทนราษฎร
ประเด็นที่ไม่มีความกระจ่างในรัฐธรรมนูญปี 2550 มีอยู่หลายประเด็นซึ่งจะต้องมีการแก้ไขหรืออาศัยการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นบรรทัดฐาน จะได้เกิดความกระจ่าง ประเด็นที่อาจจะมีปัญหามีดังต่อไปนี้ คือ
ประเด็นที่หนึ่ง ในกรณีการยุบพรรคการเมืองนั้นตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106 (8) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ไม่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเนื่องจากมิได้เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดการเลือกตั้ง หรือเป็นคณะกรรมการบริหารพรรคซึ่งจะต้องรับผิดชอบตามมาตรา 68 และมาตรา 237 จะต้องหาพรรคการเมืองอื่นเข้าสังกัดเพื่อเป็นสมาชิกภายใน 60 วัน ประเด็นที่เกิดขึ้นก็คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนซึ่งลงสมัครในนามพรรคและการลงคะแนนเสียงนั้นลงให้กับพรรค โดยรัฐธรรมนูญปี 2540 เขตเลือกตั้งทั้งหมดของ Party List เป็นเขตประเทศ
แต่ในกรณีรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้แบ่งออกเป็นเขตๆ เขตละ 10 คน รวมทั้งสิ้น 80 คน จึงเกิดประเด็นปัญหาที่สำคัญคือ เมื่อพรรคที่ตนเป็นสมาชิกนั้นถูกยุบและโดยสมาชิกภาพได้มาจากการที่ประชาชนลงคะแนนเสียงเลือกพรรค เมื่อพรรคถูกยุบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนจะยังคงความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ต่อไปได้หรือไม่ เพราะต้องมีพรรคเป็นฐาน รัฐธรรมนูญก็ไม่ได้ระบุไว้ชัด
ถ้าตีความตามรัฐธรรมนูญสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นแบบสัดส่วนก็ยังคงเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ แต่ถ้าดูจากฐานแห่งการได้มาซึ่งสมาชิกภาพ เมื่อพรรคถูกยุบจะอ้างความเป็นสมาชิกภาพของพรรคใด พรรคที่เข้าไปสังกัดเป็นพรรคใหม่ไม่ใช่เป็นพรรคที่ประชาชนเลือกขึ้นเพื่อให้ตนได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน จึงเกิดประเด็นปัญหาขึ้นมา เพราะเป็นเรื่องที่ขัดเจตนารมณ์ของการมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนโดยใช้พรรคเป็นฐานในการตัดสินจากคะแนนที่ได้รับจากประชาชน
ขณะเดียวกันเมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนมิใช่ใช้ประเทศเป็นเขต ถ้ามีการสมัครเข้าเป็นสมาชิกบางพรรคในพรรค สมมติว่าพรรคนั้นมีสมาชิกแบบสัดส่วนเพียงภูมิภาคเดียวและได้เต็มจำนวน คำถามคือตนจะเข้าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนในเขตใดถ้ามาจากคนละภูมิภาค เช่น สมมติว่ามาจากเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือแต่ไปสมัครสมาชิกพรรคที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนเต็มจำนวนในภาคใต้ แต่ไม่มีแม้แต่คนเดียวในภาคซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนคนเดิมได้รับการเลือกตั้งจากเขตในภาคตะวันอกเฉียงเหนือ จะเป็นความขัดแย้งกันหรือไม่ ประเด็นดังกล่าวต้องมีการวินิจฉัยหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญในรายละเอียดให้เกิดความกระจ่าง (อ่านต่อวันพฤหัสฯ หน้า)