ผู้เขียนมีความประสงค์ที่จะเสนอบทความทางวิชาการนี้ต่อสาธารณชน เพื่อประโยชน์แก่ทุกคนที่จะนำไปพิจารณาและดำเนินการให้เกิดสันติสุขในแผ่นดิน
ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยโดยมีมติเป็นเอกฉันท์มีสาระสำคัญว่า นายสมัคร สุนทรเวชนายกรัฐมนตรี ได้กระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 มีผลให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7) จึงเป็นเหตุให้รัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 180 วรรคหนึ่ง แต่ด้วยความเป็นรัฐมนตรีเป็นการสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ทำให้รัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีที่เหลือ จึงอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181
ทันทีที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยก็ปรากฏข่าวทางสื่อมวลชนว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนหนึ่งได้มีมติเป็นเอกฉันท์ที่จะโหวตให้นายสมัคร สุนทรเวชเป็นนายกรัฐมนตรีอีก เพราะยังเป็นส.ส.สัดส่วนกับมีข่าวอีกว่า พรรคการเมืองจะกอดคอกันไว้เพื่อพิสูจน์ให้ระบบตุลาการเห็นว่าข้อกล่าวหาเหล่านี้ทำอะไรพวกเรา(พรรคการเมือง)ไม่ได้ การตัดสินเช่นนี้น่าอายชาวโลกว่านายกไทยต้องพ้นจากตำแหน่ง เพราะจัดรายการอาหาร(ข่าวมติชน, ไทยโพสต์, วิทยุ )
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือหลักรัฐธรรมนูญในนานาอารยประเทศนั้น เป็นกฎหมายแม่แบบของการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น กฎหมายรัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายที่ไม่มีบทลงโทษเพื่อใช้บังคับกับบุคคลที่อยู่ในฐานะเป็นผู้ปกครองประเทศ บุคคลที่เป็นชนชั้นปกครองหรืออยู่ในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนนั้น เป็นบุคคลที่ทุกประเทศ หรือมนุษยชาติทั่วโลกยอมรับเป็นบุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม และมีคุณสมบัติของผู้ดีที่สูงกว่าบุคคลทั่วไป เพราะเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อการปกครองประเทศ ดูแลความทุกข์ความสุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง
ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยเพราะนายสมัคร สุนทรเวช ได้กระทำการอันฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ เพราะมีการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของความเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา264 ทำให้ผู้ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้นไม่มีสถานภาพของความเป็นรัฐมนตรีและเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีกต่อไป และสูญสิ้นไปซึ่งสถานภาพของการดำรงตำแหน่งดังกล่าว กรณีจึงหาใช่เป็นเรื่องว่าเมื่อมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว และนายสมัครพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว 1 วันถือเป็นการลงโทษสิ้นสุดลงแล้ว และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ก็จะเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีใหม่ในทันทีที่สิ้นเสียงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น หาทำได้ไม่ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่บทบังคับที่เป็นการลงโทษ (PUNISHMENT) แต่เป็นคำวินิจฉัยที่มีผลต่อสถานภาพของบุคคล (STATUS)
ผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นนักการเมืองจะต้องรู้ดีว่า การสิ้นสถานภาพของรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะมีผลตลอดไปในช่วงวาระของการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และวาระของสภาผู้แทนราษฎรนั้นกำหนดไว้คราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง (มาตรา 104) เว้นแต่จะมีการยุบสภา เนื่องจากการเข้ามาดำรงตำแหน่งของรัฐมนตรีจะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญตลอดอายุของสภาผู้แทนราษฎร คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงมีผลให้สถานภาพ(STATUS) การเป็นรัฐมนตรีของนายสมัครสิ้นสุดลงตลอดระยะเวลาของอายุสภาผู้แทนราษฎร โดยนายสมัครไม่อาจกลับมาเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีได้อีกตลอดวาระอายุของสภาผู้แทนราษฎรนั้น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวาระหนึ่งๆ ซึ่งมีวาระ 4 ปีนั้น เปรียบเสมือนประชาชนได้ปลูกธัญพืชเอาไว้รับประทานในฤดูกาลหนึ่ง หรือ CROP หนึ่ง ซึ่งมีเวลา 4 ปี ถ้าธัญพืชนั้นเป็นเชื้อราหรือเน่าเสียจะต้องถอนทิ้งไป ก็ต้องทิ้งไป ไม่สามารถที่จะเอาธัญพืชนั้นเข้ามาในแปลงเพาะปลูกได้อีก เพราะมิฉะนั้นธัญพืชทั้งแปลงจะเน่าและเป็นเชื้อราทั้งหมดซึ่งจะต้องรื้อทิ้งทั้งแปลง
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ได้วินิจฉัยให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งไปด้วย ตามมาตรา 180 นั้น ก็เป็นผลมาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้นเอง แม้มาตรา 182 บัญญัติให้ การกระทำที่ต้องห้ามไม่ให้รัฐมนตรีกระทำการตามมาตรา 267 เป็นการกระทำที่ให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวก็ตาม แต่รัฐธรรมนูญมาตรา 181ได้บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา182 แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างแจ้งชัดว่า แม้จะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของนายสมัครในฐานะเป็นรัฐมนตรีก็ตาม แต่เมื่อนายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว รัฐมนตรีทั้งคณะก็ต้องพ้นจากตำแหน่งไปด้วยตามมาตรา 180 (1) เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดแจ้งเช่นนี้ จึงไม่อาจตีความเป็นอย่างอื่นไปได้ สถานภาพของความเป็นรัฐมนตรีทั้งคณะจึงสิ้นสภาพการเป็นรัฐมนตรีไปด้วย บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญตามมาตรา 180 วรรคแรก (1)นี้เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับถึงความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรีที่ต้องมีต่อสาธารณชน (PUBLIC RESPONSIBILITY) ตามหลักรัฐธรรมนูญที่เป็นสากล การสิ้นสภาพของการเป็นรัฐมนตรีของคณะรัฐมนตรีจึงเป็นการสิ้นสุดสถานภาพตลอดไปจนสิ้นอายุของสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 104 ด้วยเช่นกัน นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจึงไม่อาจกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีได้อีกในช่วงอายุของสภาผู้แทนราษฎรนี้ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
การตีความของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แสดงออกต่อสาธารณชน โดยตีความว่า เมื่อนายสมัครพ้นจากตำแหน่งการเป็นนายกรัฐมนตรีตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ถือเป็นการเสร็จสิ้นแล้วโดยจะเลือกเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่นั้น หรือตีความว่าคณะรัฐมนตรีที่สิ้นสถานภาพตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปเพียงวันหรือสองวันแล้ว ก็สามารถกลับมาเป็นรัฐมนตรีได้ใหม่นั้น เป็นการตีความที่มีเจตนาจะไม่ใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ในหมวด 12 เรื่องการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในส่วนการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ เพราะสามารถใช้อำนาจบริหารหรือการออกเสียงในสภาเข้ามาดำรงตำแหน่งได้อีก การตีความดังกล่าวจะมีผลทำให้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญในเรื่อง การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐหมดสภาพบังคับใช้ และถ้าจะตีความเช่นนั้นบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในหมวด 12 ก็ไม่จำเป็นต้องบัญญัติไว้เลยก็ได้
การพยายามดำเนินการใดๆ เพื่อให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่มีประสิทธิภาพในการเป็นแม่แบบการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย หรือการดำเนินการใดๆที่จะแสดงให้เห็นศักยภาพ การใช้อำนาจในทางสภาผู้แทนราษฎรนั้นสามารถยกเลิกหรือแกล้งโง่กับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยไม่นำมาเป็นแม่แบบการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย หรือไม่ให้มีผลบังคับใช้โดยวิธีการทางสภาโดยอาศัยเสียงข้างมากแล้ว จึงเป็นกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะเข้าข่ายการกระทำการอันฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ซึ่งบัญญัติว่า “ บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้มิได้” การกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศดังกล่าวด้วยวิธีการตีความคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ให้มีผลที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น เป็นวิธีการที่มิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจมีผู้เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยสั่งเลิกการกระทำดังกล่าวได้ และสามารถดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าวได้ และในกรณีเช่นนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสั่งยุบพรรคการเมือง และสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบได้เป็นระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคสอง วรรคสาม และที่นอกเหนือไปจากนี้ ประชาชนมีสิทธิอันชอบตามรัฐธรรมนูญที่จะต่อต้านโดยสันติวิธี จากการกระทำดังกล่าวของพรรคการเมืองนั้นๆได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 69
ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยโดยมีมติเป็นเอกฉันท์มีสาระสำคัญว่า นายสมัคร สุนทรเวชนายกรัฐมนตรี ได้กระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 มีผลให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7) จึงเป็นเหตุให้รัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 180 วรรคหนึ่ง แต่ด้วยความเป็นรัฐมนตรีเป็นการสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ทำให้รัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีที่เหลือ จึงอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181
ทันทีที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยก็ปรากฏข่าวทางสื่อมวลชนว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนหนึ่งได้มีมติเป็นเอกฉันท์ที่จะโหวตให้นายสมัคร สุนทรเวชเป็นนายกรัฐมนตรีอีก เพราะยังเป็นส.ส.สัดส่วนกับมีข่าวอีกว่า พรรคการเมืองจะกอดคอกันไว้เพื่อพิสูจน์ให้ระบบตุลาการเห็นว่าข้อกล่าวหาเหล่านี้ทำอะไรพวกเรา(พรรคการเมือง)ไม่ได้ การตัดสินเช่นนี้น่าอายชาวโลกว่านายกไทยต้องพ้นจากตำแหน่ง เพราะจัดรายการอาหาร(ข่าวมติชน, ไทยโพสต์, วิทยุ )
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือหลักรัฐธรรมนูญในนานาอารยประเทศนั้น เป็นกฎหมายแม่แบบของการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น กฎหมายรัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายที่ไม่มีบทลงโทษเพื่อใช้บังคับกับบุคคลที่อยู่ในฐานะเป็นผู้ปกครองประเทศ บุคคลที่เป็นชนชั้นปกครองหรืออยู่ในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนนั้น เป็นบุคคลที่ทุกประเทศ หรือมนุษยชาติทั่วโลกยอมรับเป็นบุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม และมีคุณสมบัติของผู้ดีที่สูงกว่าบุคคลทั่วไป เพราะเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อการปกครองประเทศ ดูแลความทุกข์ความสุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง
ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยเพราะนายสมัคร สุนทรเวช ได้กระทำการอันฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ เพราะมีการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของความเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา264 ทำให้ผู้ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้นไม่มีสถานภาพของความเป็นรัฐมนตรีและเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีกต่อไป และสูญสิ้นไปซึ่งสถานภาพของการดำรงตำแหน่งดังกล่าว กรณีจึงหาใช่เป็นเรื่องว่าเมื่อมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว และนายสมัครพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว 1 วันถือเป็นการลงโทษสิ้นสุดลงแล้ว และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ก็จะเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีใหม่ในทันทีที่สิ้นเสียงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น หาทำได้ไม่ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่บทบังคับที่เป็นการลงโทษ (PUNISHMENT) แต่เป็นคำวินิจฉัยที่มีผลต่อสถานภาพของบุคคล (STATUS)
ผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นนักการเมืองจะต้องรู้ดีว่า การสิ้นสถานภาพของรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะมีผลตลอดไปในช่วงวาระของการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และวาระของสภาผู้แทนราษฎรนั้นกำหนดไว้คราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง (มาตรา 104) เว้นแต่จะมีการยุบสภา เนื่องจากการเข้ามาดำรงตำแหน่งของรัฐมนตรีจะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญตลอดอายุของสภาผู้แทนราษฎร คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงมีผลให้สถานภาพ(STATUS) การเป็นรัฐมนตรีของนายสมัครสิ้นสุดลงตลอดระยะเวลาของอายุสภาผู้แทนราษฎร โดยนายสมัครไม่อาจกลับมาเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีได้อีกตลอดวาระอายุของสภาผู้แทนราษฎรนั้น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวาระหนึ่งๆ ซึ่งมีวาระ 4 ปีนั้น เปรียบเสมือนประชาชนได้ปลูกธัญพืชเอาไว้รับประทานในฤดูกาลหนึ่ง หรือ CROP หนึ่ง ซึ่งมีเวลา 4 ปี ถ้าธัญพืชนั้นเป็นเชื้อราหรือเน่าเสียจะต้องถอนทิ้งไป ก็ต้องทิ้งไป ไม่สามารถที่จะเอาธัญพืชนั้นเข้ามาในแปลงเพาะปลูกได้อีก เพราะมิฉะนั้นธัญพืชทั้งแปลงจะเน่าและเป็นเชื้อราทั้งหมดซึ่งจะต้องรื้อทิ้งทั้งแปลง
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ได้วินิจฉัยให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งไปด้วย ตามมาตรา 180 นั้น ก็เป็นผลมาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้นเอง แม้มาตรา 182 บัญญัติให้ การกระทำที่ต้องห้ามไม่ให้รัฐมนตรีกระทำการตามมาตรา 267 เป็นการกระทำที่ให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวก็ตาม แต่รัฐธรรมนูญมาตรา 181ได้บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา182 แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างแจ้งชัดว่า แม้จะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของนายสมัครในฐานะเป็นรัฐมนตรีก็ตาม แต่เมื่อนายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว รัฐมนตรีทั้งคณะก็ต้องพ้นจากตำแหน่งไปด้วยตามมาตรา 180 (1) เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดแจ้งเช่นนี้ จึงไม่อาจตีความเป็นอย่างอื่นไปได้ สถานภาพของความเป็นรัฐมนตรีทั้งคณะจึงสิ้นสภาพการเป็นรัฐมนตรีไปด้วย บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญตามมาตรา 180 วรรคแรก (1)นี้เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับถึงความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรีที่ต้องมีต่อสาธารณชน (PUBLIC RESPONSIBILITY) ตามหลักรัฐธรรมนูญที่เป็นสากล การสิ้นสภาพของการเป็นรัฐมนตรีของคณะรัฐมนตรีจึงเป็นการสิ้นสุดสถานภาพตลอดไปจนสิ้นอายุของสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 104 ด้วยเช่นกัน นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจึงไม่อาจกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีได้อีกในช่วงอายุของสภาผู้แทนราษฎรนี้ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
การตีความของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แสดงออกต่อสาธารณชน โดยตีความว่า เมื่อนายสมัครพ้นจากตำแหน่งการเป็นนายกรัฐมนตรีตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ถือเป็นการเสร็จสิ้นแล้วโดยจะเลือกเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่นั้น หรือตีความว่าคณะรัฐมนตรีที่สิ้นสถานภาพตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปเพียงวันหรือสองวันแล้ว ก็สามารถกลับมาเป็นรัฐมนตรีได้ใหม่นั้น เป็นการตีความที่มีเจตนาจะไม่ใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ในหมวด 12 เรื่องการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในส่วนการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ เพราะสามารถใช้อำนาจบริหารหรือการออกเสียงในสภาเข้ามาดำรงตำแหน่งได้อีก การตีความดังกล่าวจะมีผลทำให้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญในเรื่อง การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐหมดสภาพบังคับใช้ และถ้าจะตีความเช่นนั้นบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในหมวด 12 ก็ไม่จำเป็นต้องบัญญัติไว้เลยก็ได้
การพยายามดำเนินการใดๆ เพื่อให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่มีประสิทธิภาพในการเป็นแม่แบบการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย หรือการดำเนินการใดๆที่จะแสดงให้เห็นศักยภาพ การใช้อำนาจในทางสภาผู้แทนราษฎรนั้นสามารถยกเลิกหรือแกล้งโง่กับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยไม่นำมาเป็นแม่แบบการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย หรือไม่ให้มีผลบังคับใช้โดยวิธีการทางสภาโดยอาศัยเสียงข้างมากแล้ว จึงเป็นกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะเข้าข่ายการกระทำการอันฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ซึ่งบัญญัติว่า “ บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้มิได้” การกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศดังกล่าวด้วยวิธีการตีความคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ให้มีผลที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น เป็นวิธีการที่มิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจมีผู้เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยสั่งเลิกการกระทำดังกล่าวได้ และสามารถดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าวได้ และในกรณีเช่นนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสั่งยุบพรรคการเมือง และสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบได้เป็นระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคสอง วรรคสาม และที่นอกเหนือไปจากนี้ ประชาชนมีสิทธิอันชอบตามรัฐธรรมนูญที่จะต่อต้านโดยสันติวิธี จากการกระทำดังกล่าวของพรรคการเมืองนั้นๆได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 69