ASTVผู้จัดการรายวัน - บิ๊กแบงก์ชาติแนะรัฐบาลใหม่ปรับนโยบายเศรษฐกิจที่เห็นผลชัดเจนรวดเร็ว ชี้ด้านการคลังต้องเน้นลงทุนโครงการขนาดเล็กแทนเมกะโปรเจกต์ไม่เช่นนั้นไม่ทันการณ์ อย่าให้ปัญหาการเมืองเป็นอุปสรรค พร้อมค้านลดภาษีมูลค่าเพิ่ม เหตุเป็นภาระในอนาคต สภาอุตฯ ชง 7 ข้อ ได้แก่ เร่งงบกลางปี ลดดอกเบี้ยอีก 1% ลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 25% ถกร่วมกันวันนี้ บิ๊ก ธอส.อยากเห็นทีมเศรษฐกิจกล้าตัดสินใจและทำงานเร็ว "กรณ์" ถกผู้บริหารเวิลด์แบงก์ ลั่นสานต่อประชานิยมและงบกลางปีกระตุ้นเศรษฐกิจ
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การเมืองไทยไม่ยังมีเสถียรภาพสะท้อนมายังนโยบายการคลัง ปัญหาการเมืองที่ยังไม่สงบอาจทำให้เป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายอยู่ที่ระดับ 94% จะพลาดเป้า ขณะเดียวกันขาดดุลงบประมาณปี 2552 เพิ่มเติมอีก 1 แสนล้านบาท ก็ยังไม่มีความชัดเจน จึงจำเป็นต้องปรับหลักเกณฑ์นโยบายการคลังใหม่ด้วยการเน้นลงทุนในโครงการขนาดเล็กก่อน แม้จะต้องออกมาตรการมาเยอะ แต่สามารถดำเนินการได้ทันทีและรวดเร็วแทนที่จะลงทุนในโครงการสาธาณูปโภคขนาดใหญ่ที่อาจจะใช้เวลานาน เพื่อประคองไม่ให้เศรษฐกิจไหลลงลึกไปกว่านี้
“ไทยคงหลีกเลี่ยงปัญหาการเงินโลกไม่ได้ ทางการเองก็ควรปรับเปลี่ยนมาคิดนอกกรอบบ้าง เพื่อพยุงไม่ให้เศรษฐกิจลงลึกกว่าที่ควรจะเป็น เพราะไม่เช่นนั้นอาจดึงกลับขึ้นมายาก ดังนั้น การสร้างความเชื่อมั่นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในขณะนี้ที่รัฐบาลควรจะทำและทำอย่างมีสมาธิ” นางอัจนากล่าวในงานสัมมนา "อนาคตประเทศไทย อสังหาฯ ยุควิกฤตซ้อนวิกฤต" วานนี้ (16 ธ.ค.)
ส่วนรัฐบาลใหม่จะสามารถเรียกความเชื่อมั่นได้หรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นกับตัวบุคคลหรือว่าจะยกใครขึ้นมาก็ได้ แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะลดความขัดแย้งในสังคมได้หรือไม่ ถือเป็นการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองที่มีผลต่อเศรษฐกิจมหภาค ภาครัฐต้องดำเนินงานในแนวทาง 3 ทาง คือ 1.ช่วงจังหวะที่เหมาะสม 2.การใช้จ่ายภาครัฐต้องเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งในขณะนี้ปัญหาการว่างงานที่มีจำนวนมากควรได้รับความช่วยเหลือเป็นอันดับต้นๆ และเชื่อว่างบประมาณฯ ขาดดุลก็ไม่ได้มากจนฉุดเศรษฐกิจได้ และ3. ควรช่วยสนับสนุนมาตรการเพียงชั่วคราว แต่อย่าสร้างภาระการคลังในระยะยาว โดยเฉพาะการปรับภาษีมูลค่าเพิ่มจากอัตรา 7% ในปัจจุบันมาอยู่ที่ระดับ 4% ที่บางฝ่ายเสนอ เพราะอาจจะช่วยให้ผู้บริโภคมีเงินเพิ่มขึ้นจากการลดภาษี แต่ไม่ได้ช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย อีกทั้งเชื่อว่าไม่มีรัฐบาลไหนจะดึงกลับมาให้ภาษีสูงขึ้นได้อีก จึงอาจสร้างปัญหาให้รัฐบาลในระยะยาวได้
นางอัจนากล่าวว่า เศรษฐกิจไทยคงหนีไม่ได้ที่ปีหน้าเศรษฐกิจจะชะลอตัว รวมถึงความเชื่อมั่นจากวิกฤตการเมืองภายในประเทศที่เพิ่มเติมนอกเหนือจากปัจจัยต่างประเทศที่มีปัญหาแล้ว ซึ่งปัญหาเหล่านี้ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ได้รับผลจากความวุ่นวายการเมืองและเริ่มลุกลามไปยังภาคเศรษฐกิจจริง และเดิมทีส่งผลกระทบแค่ความเชื่อมั่นทั้งนักธุรกิจและบริโภค แต่ขณะนี้เริ่มส่งผลมายังนโยบายภาครัฐและการท่องเที่ยว รวมถึงการจ้างงานภาคธุรกิจด้วย
"รัฐบาลยังไม่มีสมาธิในการทำงานจากปัญหาการเมืองที่ไม่นิ่ง ทำให้เน้นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้" รองผู้ว่าฯ ธปท.กล่าว
ส่วนการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึง 1% ในครั้งล่าสุด เพราะ กนง.มองว่าปีหน้าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวได้หรือไม่ยังไม่มีใครรับประกันได้ ประกอบกับส่วนหนึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ทำการประเมินประเทศ 20 แห่ง ในช่วงวิกฤตตกต่ำ พบว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย หากเกิดปัญหาควบคู่กับสถาบันการเงิน และฟองสบู่แตก ทำให้ราคาหุ้นและสินทรัพย์ลดลงอาจจะใช้เวลานานกว่าที่เศรษฐกิจจะเงยหน้าขึ้นมาได้ จึงอาจมีโอกาสที่จะเห็นเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนหลังของปีหน้าอาจจะไม่ฟื้นตัว และส่งผลให้เศรษฐกิจโลกซึมยาวได้ จึงจำเป็นต้องใช้ยาแรง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
“วิกฤตครั้งนี้ไม่มีใครบอกได้ว่าจะยาวนานแค่ไหน และในช่วงที่ผ่านไม่เคยมีครั้งไหนที่ธนาคารกลางและรัฐบาลในหลายประเทศร่วมทำนโยบายแบบคิดนอกกรอบมาใช้ ถือเป็นการดำเนินการที่รวดเร็วและค่อนข้างมาก โดยแม้สหรัฐมีปัจจัยพื้นฐานที่ไม่ดีทั้งหนี้ครัวเรือนสูงและปัญหาฟองสบู่ แต่ภาคธุรกิจยังคงไปได้ แต่มองว่าเมื่อใดเกิดปัญหาสภาพคล่องเกิดภาวะตึงตึว ก็ยิ่งซ้ำเติมปัญหาให้เลวลงอีก ต่างกับไทยเรายังมีพื้นฐานที่ดี แม้จะมีปัญหานักธุรกิจไม่การตอบสนองนโยบายและความเชื่อมั่นบ้าง”
**ส.อ.ท.ยื่นมาร์ค 7 ข้อกระตุ้น ศก.
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า วันนี้ (17ธ.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่าที่นายกรัฐมนตรี และทีมงาน อาทิ นายกรณ์ จาติกวณิช นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี และนายไพฑูรย์ แก้วทอง ฯลฯ ได้ขอเข้าพบและหารือกับสมาชิก ส.อ.ท.เพื่อกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจซึ่ง ส.อ.ท.เตรียมเสนอแนวทางการดำเนินงานแบ่งเป็นมาตรการระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว
สำหรับประเด็นเร่งด่วน ประกอบด้วย 7 แนวทางได้แก่ 1. ภาคการเงิน การคลัง ประกอบด้วย 8 แนวทางได้แก่ 1. ส่งเสริมสภาพคล่องโดยจัดสรรงบประมาณมากกว่า 1 แสนล้านบาท ที่ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจที่แท้จริง 2 การส่งเสริมจัดตั้งกองทุนวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) อัตราดอกเบี้ยต่ำ 50,000 ล้านบาท 3. คงวงเงินตามมาตรการให้ความช่วยทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยขอให้คลังไปดูแลเรื่องเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน)
4. ลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 1% (จาก 2.75 เหลือ 1.75%) 5. เร่งรัดการคืนภาษีอากร 6. ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 25 และขอขยายระยะเวลาในการนำผลการขาดทุนสะสมมาหักภาษีเงินได้จาก 5 ปีเป็น 8 ปี
7.ขอยกเว้นการจัดเก็บภาษีจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ซึ่งกรมสรรพากรตีความว่าเป็นรายได้พึงประเมินที่ต้องนำมาเสียภาษี และ 8. ขอลดภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายทุกประเภทให้เหลือร้อยละ 1 เพียงอัตราเดียว
2. การส่งเสริมความร่วมมือภาครัฐเอกชน ประกอบด้วย 2 แนวทางคือ 1. ขอให้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.) และกรอ.จังหวัดรวมทั้งกลุ่มจังหวัด 2. จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจเพื่อกำหนดนโยบายการทำงานของกระทรวงเศรษฐกิจ(คลัง อุตสาหกรรม พาณิชย์ ต่างประเทศ เกษตรและสหกรณ์) ไปในทิศทางเดียวกัน รวมไปถึงการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา และการจัดตั้งคณะกรรมการโลจิสติกส์แห่งชาติ
3. กระตุ้นการลงทุนในประเทศและจากต่างประเทศ 4. ส่งเสริมความสามารถการแข่งขันในการค้าระหว่างประเทศ(ส่งออกและนำเข้า) 5. เร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณและงบลงทุนโครงการขนาดใหญ่ 6. ผลักดันให้มีการพิจารณาให้ความเห็นชอบความตกลงในกรอบอาเซียน 7. การจัดระบบแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (ลาว พม่า กัมพูชา)
ส่วนมาตรการระยะกลางและระยะยาวประกอบด้วย 9 แนวทางได้แก่ 1. ติดตามปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างภาษี 2. การจัดการน้ำเพื่อภาคอุตสาหกรรม 3. ปรับปรุงแก้ไขกฏหมายที่เป็นอุปสรรคต่อภาคอุตสาหกรรมและการลงทุน 4.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์ 5.การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้หรือเซาท์เทิร์นซีบอร์ด 6. รัฐควรวางยุทธศาสตร์พลังงาน 7. ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม 8. ส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอี และ 9. การใช้สิทธิประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีหรือ เอฟทีเอ
“การที่นายอภิสิทธิ์ จะเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจถือเป็นเรื่องดีเพราะจะได้ตัดสินใจด้วยตนเองและเร็วขึ้น ส่วนทีมเศรษฐกิจที่อาจจะต้องมาจากหลายพรรคการเมือง แต่หากมาหารือร่วมกันก็จะสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว และเห็นด้วยกับแนวคิดดึงบุคคลภายนอกมาช่วยงานด้านเศรษฐกิจ รวมถึงการดึงผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการทำธุรกิจในต่างประเทศ “นายสันติกล่าว
นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า สศอ. จะเสนอมาตรการต่อผู้บริหารในการช่วยพยุงผู้ประกอบการในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ เช่น การลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ให้หน่วยงานและสถาบันเฉพาะทางในกำกับปรับลดราคาหรือให้เครดิตแก่ผู้ประกอบการ สำหรับบริการตรวจวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ และเสนอรัฐสนับสนุนงบประมาณกลางปีในการพัฒนาและรักษาบุคลากรเพื่อชะลอการเลิกจ้าง
“หัวใจสำคัญสำหรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2552 คือ การใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นอำนาจซื้อภายในประเทศ โดยรัฐบาลชุดใหม่จะต้องเร่งผลักดันเพิ่มงบกลางปี 100,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันต้องเร่งรัดโครงการเมกะโปรเจกต์ เช่น รถไฟฟ้า ซึ่ง สศอ. ขอเสนอแนะให้รัฐบาลให้ความสำคัญและชี้นำให้ผู้ได้รับสัมปทานต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ ชิ้นส่วนร่วม ชิ้นส่วนประกอบภายในประเทศให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกับสาขาอุตสาหกรรมของประเทศ”นายอาทิตย์กล่าว
นอกจากนี้การปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล จะมีผลทั้งในเชิงจิตวิทยาและลดภาระของประชาชนและภาคธุรกิจ แต่หากติดขัดต่อรายได้ภาครัฐไม่สามารถทำได้ทั้งระบบ ก็ขอให้ปรับลดอัตราภาษีสำหรับกลุ่มเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
**อสังหาฯ ลุ้นความเชื่อมั่นเกิด
นายชายนิด โง้วศิริมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เฟอร์เฟค จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2551 ถือว่ามีขนาดที่ใหญ่ในระดับโลก แต่ผลกระทบที่จะมาถึงไทยคงไม่ใหญ่ เมื่อเทียบกับปี 2540 ที่มีความรุนแรงกว่าปีนี้มาก บริษัทต่างๆ ต้องเปลี่ยนกลยุทธ์จากเกมรุก เป็นการตั้งรับ และบริหารกระแสเงินสดให้มีประสิทธิภาพ มากกว่าการทำกำไร ควบค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ปรับปรุงประสิทธิภาพการก่อสร้าง แนวโน้มอสังหาริมทรัพย์ ทั้งตลาดจะชะลอตัวเหลือไม่เกิน 5 หมื่นหน่วย โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมจะชะลอตัวลง แต่เชื่อว่าผู้ประกอบการยังแข็งแกร่ง เพราะไม่ถูกลดค่าเงินเหมือนปี 2540 และ สัดส่วนหนี้สินต่อทุนยังต่ำ ปัจจัยบวกดอกเบี้ยลดลง และจะเห็นดอกเบี้ยที่ใกล้จุดต่ำสุดในรอบ 10 ปี
ทั้งนี้ การมีรัฐบาลใหม่ โดยเฉพาะภาพลักษณ์ของว่าที่นายกฯก็สามารถสร้างความเชื่อมั่นกับภาคธุรกิจได้ ถ้ารัฐบาลสามารถสร้างความมีเสถียรภาพ โดยการบูรณาการระบบเศรษฐกิจไทย เพื่อแก้ปัญหาในภาคการส่งออกกับท่องเที่ยวให้ฟื้นขึ้นมาได้
“ขณะนี้รอเพียงความมั่นใจของผู้บริโภคที่จะฟื้นขึ้นมา ถ้ายังแบ่งแยกอยู่ประเทศจะมีแต่ทรุดกับทรุดการที่รัฐบาลใหม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใช้วงเงินสูง น่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ในปี 2553 ที่สำคัญรัฐบาลควรเน้นลงทุนเมกโปรเจกต์เฉพาะโครงการที่มีความเป็นไปได้และโครงการใดที่ได้มีการลงทุนไปแล้วควรสานต่อให้แล้วเสร็จเพื่อให้ใช้งานได้”
นายทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หากรัฐบาลชุดใหม่ สามารถสร้างความสามัคคี และทำให้การเมืองในประเทศสงบ ก็จะเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้ เพราะที่ผ่านมาปัญหาการเมืองได้ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ทำให้ลูกค้าที่ลดลง 30% อย่างไรก็ตามในภาวะที่ตลาดมีการชะลอตัว เป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการในการพัฒนาองค์กร คุณภาพงาน ขบวนธุรกิจ เพื่อสร้างความพร้อมองค์กร รับกับช่วงฟื้นตัว หากรัฐบาลชุดใหม่ที่เข้ามาบริหารประเทศมีความเข้มแข็ง ปลายไตรมาส 1 ปีหน้าความเชื่อมั่นอาจจะฟื้นขึ้นมาได้
"หากรัฐบาลชุดใหม่ สามารถสร้างความสามัคคี และทำให้การเมืองในประเทศสงบ ก็จะเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้" นายทองมากล่าวและว่า แนวโน้มปี 52 อสังหาฯ โดยรวมจะหดตัวลง จาก 5 หมื่นหน่วย เหลือ 4 หมื่นหน่วย หรือลดลง 20%
**บิ๊ก ธอส.ชี้ทีม ศก.ต้องทำงานเร็ว
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) มองว่า รัฐบาลชุดใหม่ ควรเร่งฟอร์มทีมเศรษฐกิจ ที่มีความเข้มแข็งเหมือนในอดีต เข้ามาดูแลปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวในขณะนี้ และแนวโน้มจะรุนแรงขึ้นในปีหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวลงมา 3 ปี และมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 3 คน ตนอยากเห็นทีมเศรษฐกิจแข็งแกร่งเหมือนสมัยที่นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ส่วน ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุล และนายกรณ์ จาติกวณิช ก็มีความเหมาะสม
ทั้งนี้ คุณสมบัติสำคัญของทีมเศรษฐกิจคือ ต้องทำงานอย่างรวดเร็ว กล้าตัดสินใจ ต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนให้กลับมาลงทุนในประเทศไทย รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับภาคอสังหาริมทรัพย์ เพราะที่ผ่านมาผู้ซื้อบ้านลังเลใจในการซื้อบ้าน ซึ่งหากผู้บริโภคตัดสินใจซื้อบ้านก็จะมีผลต่อเนื่องในหลายภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเม็ดเงินอีกหลายรอบ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น
**“กรณ์” แลกเปลี่ยนข้อมูลเวิลด์แบงก์
วานนี้ (16 ธ.ค.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวภายหลังการหารือร่วมกับผู้อำนวยการภูมิภาคธนาคารโลกว่า ได้พูดคุยถึงโครงการที่ธนาคารโลกได้ดำเนินในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมาเพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน และความพร้อมของธนาคารโลกที่จะสนับสนุนโครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆ รวมถึงความพร้อมของธนาคารโลกในการใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ กรณีที่อาจจะมีแผนใช้งบประมาณเพิ่มเติม ตนยังได้ขอให้ทางธนาคารโลกนำเสนอข้อมูลแนวคิดเกี่ยวกับแหล่งทุนที่จะให้กับประชาชนรากหญ้า เนื่องจากธนาคารโลกในประเทศต่างๆ มีประสบการณ์นำเสนอโครงการ การเข้าถึงแหล่งทุนให้ให้กับรากหญ้าอินโดนีเซีย ซึ่งน่าจะนำมาใช้ประโยชน์กับประชาชนคนไทยได้
"การมาหารือครั้งนี้เพราะเวิลด์แบงก์เห็นว่าทางพรรคจะจัดตั้งรัฐบาล จึงอยากนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ผมจึงรับหน้า ส่วนความรับผิดชอบว่าใครจะมาดูแลเรื่องนี้ (เศรษฐกิจ) อีกไม่นาน พรรคคงจะประกาศออกมาให้ทราบ เวิลด์แบงก์ดีว่าเศรษฐกิจโลกโดยรวมกำลังมีปัญหาจึงน่ากังวลกับประเทศคู่ค้าซึ่งเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่มากกว่าประเทศไทย ในแง่เสถียรภาพการเงินของไทยยังคงมีความมั่นคง แต่เป็นห่วงเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการส่งออกที่ยังเป็นปัญหา และระดับบริโภคภายในประเทศที่มีการชะลอตัว แต่ขณะเดียวกันยังมีความเชื่อมั่นว่าปัญหาเศรษฐกิจของเราหากมีความตั้งใจและมีแนวคิดเชิงนโยบาย ที่ชัดเจนนำไปสู่การปฏิบัติน่าจะเป็นปัญหาที่รักษาเยียวยาได้"
ส่วนปัญหาทางการเมืองจะส่งผลกระทบต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจหรือไม่ นายกรณ์ กล่าวว่า ปัญหาของบ้านเราส่วนหนึ่ง ปฏิเสธไม่ได้ว่ามาจากความขัดแย้งทางการเมือง และความขัดแย้งในสังคม เพราะฉะนั้น นโยบายเศรษฐกิจที่จะส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาของประชาชน ต้องควบคู่กันระหว่างปัญหาเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจและปัญหาทางการเมือง ซึ่งความตั้งใจของว่าที่นายกรัฐมนตรี จะสร้างบรรยากาศให้มีความสามารถการแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้มากกว่าในอดีตที่ผ่านมา
เมื่อถามว่าจะมีโนบายเศรษฐกิจที่จะดูแลคนรากหญ้าแบบเดียวกับที่พรรคไทยรักไทยเคยทำมาอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ปัญหาเศรษฐกิจที่ชัดเจนส่วนหนึ่งมีผลจากการชะลอตัวของคู่ค้าทางเศรษฐกิจ คือ ราคาพืชผลเกษตร ซึ่งแม้ภาคเกษตรจะเป็นสัดส่วนต่อจีดีพีเพียง 10% แต่กระทบกับรากหญ้าอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะข้าว ยาง ปาล์มน้ำมัน ซึ่งจะต้องเข้ามาแก้ไขโดยส่วน อีกปัญหาคือเรื่องการจ้างงาน ซึ่งขณะนี้มีสัญญาณจากภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี เนื่องจากการเข้าถึงแหล่งทุน มีปัญหามากขึ้นเนื่องจากกำลังซื้อของลูกค้าลดน้อยลง อาจจะมีผลต่อการว่างงานมากขึ้นในช่วงปี 52 เพราะฉะนั้น 2 ปัญหานี้ถือเป็นปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องเข้ามาเยียวยา
นายกรณ์กล่าวว่า รัฐบาลนโยบายของรัฐบาลเดิมที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ งบประมาณกลางปี 1 แสนล้านบาท ซึ่ง เป็นข้อเสนอที่ทาง ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์ เคยนำเสนอรัฐบาลพรรคพลังประชาชนตั้งแต่สมัยแรกๆ เราทำต่อแน่นอนเพราะเรายึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ไม่มีการกีดกันที่มาของความคิด โดยจะดูว่าจะนำเงินจากส่วนไหนมาใช้ และนำไปใช่ในส่วนใดบ้าง ส่วนโครงการรถไฟฟ้าที่รัฐบาลพรรคพลังประชาชนทำมาก่อนนั้น ตนเห็นว่า ข้อเสนอของพรรคการเมืองแต่ละพรรคที่หาเสียงไว้จะต้องดูว่าที่ทำจริงๆ มีกี่สายและดำเนินการไปถึงไหนแล้ว และแนวคิดของประชาธิปัตย์ก็สนับสนุนเห็นความสำคัญ ของการสร้างทางเลือกในการจราจร และพรรคพูดมาตั้งแต่แรกว่าเรื่องรถไฟฟ้าเป็นเรื่องสำคัญ แต่จะต้องประเมินตามความเหมาะสมว่าจะจัดลำดับความสำคัญของเส้นทางไหนก่อนหลัง และสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ คือ สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจเปลี่ยนไปมาก ดังนั้น การที่จะยึดหลักว่าอะไรที่เคยพูดไว้เมื่อ 4-5 ปีก่อน แล้วจะทำเหมือนไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงคงไม่ได้ ดังนั้นคงต้องดูความต้องการตามสถานภาพทางการเงินของประเทศ ซึ่งเรื่องนี้พรรคต้องสร้างความชัดเจนให้กับประชาชน
"เศรษฐกิจไตรมาส 4 ปีนี้ และไตรมาส 1 ปีหน้ามีโอกาสติดลบสูง แต่คาดว่าถ้าเราเข้ามาแก้ไขเรื่องเฉพาะหน้า เช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และการเข้าถึงแหล่งเงินของธุรกิจเอสเอ็มอี เศรษฐกิจก็น่าจะฟื้นตัวได้ในไตรมาส 2-3 ในปีหน้า แต่หากไตรมาส 4 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไม่ประสบปัญหา เศรษฐกิจก็น่าจะดีกว่าปีนี้แน่นอน ดังนั้นเศรษฐกิจจะออกมาเท่าไหร่ไม่ได้กำหนดไว้เป็นเป้าหมาย เพราะไม่เคยบริหารงานลักษณะนั้น ผมถือว่าอัตราการขยายตัวจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับแนวทางการบริหาร ไม่มีประโยชน์ที่จะไปกำหนดเป้าหมาย โดยเฉพาะเมื่อมีความผันผวนมากขนาดนี้" นายกรณ์ประเมินเศรษฐกิจปีหน้า
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การเมืองไทยไม่ยังมีเสถียรภาพสะท้อนมายังนโยบายการคลัง ปัญหาการเมืองที่ยังไม่สงบอาจทำให้เป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายอยู่ที่ระดับ 94% จะพลาดเป้า ขณะเดียวกันขาดดุลงบประมาณปี 2552 เพิ่มเติมอีก 1 แสนล้านบาท ก็ยังไม่มีความชัดเจน จึงจำเป็นต้องปรับหลักเกณฑ์นโยบายการคลังใหม่ด้วยการเน้นลงทุนในโครงการขนาดเล็กก่อน แม้จะต้องออกมาตรการมาเยอะ แต่สามารถดำเนินการได้ทันทีและรวดเร็วแทนที่จะลงทุนในโครงการสาธาณูปโภคขนาดใหญ่ที่อาจจะใช้เวลานาน เพื่อประคองไม่ให้เศรษฐกิจไหลลงลึกไปกว่านี้
“ไทยคงหลีกเลี่ยงปัญหาการเงินโลกไม่ได้ ทางการเองก็ควรปรับเปลี่ยนมาคิดนอกกรอบบ้าง เพื่อพยุงไม่ให้เศรษฐกิจลงลึกกว่าที่ควรจะเป็น เพราะไม่เช่นนั้นอาจดึงกลับขึ้นมายาก ดังนั้น การสร้างความเชื่อมั่นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในขณะนี้ที่รัฐบาลควรจะทำและทำอย่างมีสมาธิ” นางอัจนากล่าวในงานสัมมนา "อนาคตประเทศไทย อสังหาฯ ยุควิกฤตซ้อนวิกฤต" วานนี้ (16 ธ.ค.)
ส่วนรัฐบาลใหม่จะสามารถเรียกความเชื่อมั่นได้หรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นกับตัวบุคคลหรือว่าจะยกใครขึ้นมาก็ได้ แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะลดความขัดแย้งในสังคมได้หรือไม่ ถือเป็นการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองที่มีผลต่อเศรษฐกิจมหภาค ภาครัฐต้องดำเนินงานในแนวทาง 3 ทาง คือ 1.ช่วงจังหวะที่เหมาะสม 2.การใช้จ่ายภาครัฐต้องเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งในขณะนี้ปัญหาการว่างงานที่มีจำนวนมากควรได้รับความช่วยเหลือเป็นอันดับต้นๆ และเชื่อว่างบประมาณฯ ขาดดุลก็ไม่ได้มากจนฉุดเศรษฐกิจได้ และ3. ควรช่วยสนับสนุนมาตรการเพียงชั่วคราว แต่อย่าสร้างภาระการคลังในระยะยาว โดยเฉพาะการปรับภาษีมูลค่าเพิ่มจากอัตรา 7% ในปัจจุบันมาอยู่ที่ระดับ 4% ที่บางฝ่ายเสนอ เพราะอาจจะช่วยให้ผู้บริโภคมีเงินเพิ่มขึ้นจากการลดภาษี แต่ไม่ได้ช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย อีกทั้งเชื่อว่าไม่มีรัฐบาลไหนจะดึงกลับมาให้ภาษีสูงขึ้นได้อีก จึงอาจสร้างปัญหาให้รัฐบาลในระยะยาวได้
นางอัจนากล่าวว่า เศรษฐกิจไทยคงหนีไม่ได้ที่ปีหน้าเศรษฐกิจจะชะลอตัว รวมถึงความเชื่อมั่นจากวิกฤตการเมืองภายในประเทศที่เพิ่มเติมนอกเหนือจากปัจจัยต่างประเทศที่มีปัญหาแล้ว ซึ่งปัญหาเหล่านี้ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ได้รับผลจากความวุ่นวายการเมืองและเริ่มลุกลามไปยังภาคเศรษฐกิจจริง และเดิมทีส่งผลกระทบแค่ความเชื่อมั่นทั้งนักธุรกิจและบริโภค แต่ขณะนี้เริ่มส่งผลมายังนโยบายภาครัฐและการท่องเที่ยว รวมถึงการจ้างงานภาคธุรกิจด้วย
"รัฐบาลยังไม่มีสมาธิในการทำงานจากปัญหาการเมืองที่ไม่นิ่ง ทำให้เน้นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้" รองผู้ว่าฯ ธปท.กล่าว
ส่วนการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึง 1% ในครั้งล่าสุด เพราะ กนง.มองว่าปีหน้าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวได้หรือไม่ยังไม่มีใครรับประกันได้ ประกอบกับส่วนหนึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ทำการประเมินประเทศ 20 แห่ง ในช่วงวิกฤตตกต่ำ พบว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย หากเกิดปัญหาควบคู่กับสถาบันการเงิน และฟองสบู่แตก ทำให้ราคาหุ้นและสินทรัพย์ลดลงอาจจะใช้เวลานานกว่าที่เศรษฐกิจจะเงยหน้าขึ้นมาได้ จึงอาจมีโอกาสที่จะเห็นเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนหลังของปีหน้าอาจจะไม่ฟื้นตัว และส่งผลให้เศรษฐกิจโลกซึมยาวได้ จึงจำเป็นต้องใช้ยาแรง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
“วิกฤตครั้งนี้ไม่มีใครบอกได้ว่าจะยาวนานแค่ไหน และในช่วงที่ผ่านไม่เคยมีครั้งไหนที่ธนาคารกลางและรัฐบาลในหลายประเทศร่วมทำนโยบายแบบคิดนอกกรอบมาใช้ ถือเป็นการดำเนินการที่รวดเร็วและค่อนข้างมาก โดยแม้สหรัฐมีปัจจัยพื้นฐานที่ไม่ดีทั้งหนี้ครัวเรือนสูงและปัญหาฟองสบู่ แต่ภาคธุรกิจยังคงไปได้ แต่มองว่าเมื่อใดเกิดปัญหาสภาพคล่องเกิดภาวะตึงตึว ก็ยิ่งซ้ำเติมปัญหาให้เลวลงอีก ต่างกับไทยเรายังมีพื้นฐานที่ดี แม้จะมีปัญหานักธุรกิจไม่การตอบสนองนโยบายและความเชื่อมั่นบ้าง”
**ส.อ.ท.ยื่นมาร์ค 7 ข้อกระตุ้น ศก.
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า วันนี้ (17ธ.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่าที่นายกรัฐมนตรี และทีมงาน อาทิ นายกรณ์ จาติกวณิช นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี และนายไพฑูรย์ แก้วทอง ฯลฯ ได้ขอเข้าพบและหารือกับสมาชิก ส.อ.ท.เพื่อกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจซึ่ง ส.อ.ท.เตรียมเสนอแนวทางการดำเนินงานแบ่งเป็นมาตรการระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว
สำหรับประเด็นเร่งด่วน ประกอบด้วย 7 แนวทางได้แก่ 1. ภาคการเงิน การคลัง ประกอบด้วย 8 แนวทางได้แก่ 1. ส่งเสริมสภาพคล่องโดยจัดสรรงบประมาณมากกว่า 1 แสนล้านบาท ที่ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจที่แท้จริง 2 การส่งเสริมจัดตั้งกองทุนวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) อัตราดอกเบี้ยต่ำ 50,000 ล้านบาท 3. คงวงเงินตามมาตรการให้ความช่วยทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยขอให้คลังไปดูแลเรื่องเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน)
4. ลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 1% (จาก 2.75 เหลือ 1.75%) 5. เร่งรัดการคืนภาษีอากร 6. ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 25 และขอขยายระยะเวลาในการนำผลการขาดทุนสะสมมาหักภาษีเงินได้จาก 5 ปีเป็น 8 ปี
7.ขอยกเว้นการจัดเก็บภาษีจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ซึ่งกรมสรรพากรตีความว่าเป็นรายได้พึงประเมินที่ต้องนำมาเสียภาษี และ 8. ขอลดภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายทุกประเภทให้เหลือร้อยละ 1 เพียงอัตราเดียว
2. การส่งเสริมความร่วมมือภาครัฐเอกชน ประกอบด้วย 2 แนวทางคือ 1. ขอให้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.) และกรอ.จังหวัดรวมทั้งกลุ่มจังหวัด 2. จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจเพื่อกำหนดนโยบายการทำงานของกระทรวงเศรษฐกิจ(คลัง อุตสาหกรรม พาณิชย์ ต่างประเทศ เกษตรและสหกรณ์) ไปในทิศทางเดียวกัน รวมไปถึงการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา และการจัดตั้งคณะกรรมการโลจิสติกส์แห่งชาติ
3. กระตุ้นการลงทุนในประเทศและจากต่างประเทศ 4. ส่งเสริมความสามารถการแข่งขันในการค้าระหว่างประเทศ(ส่งออกและนำเข้า) 5. เร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณและงบลงทุนโครงการขนาดใหญ่ 6. ผลักดันให้มีการพิจารณาให้ความเห็นชอบความตกลงในกรอบอาเซียน 7. การจัดระบบแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (ลาว พม่า กัมพูชา)
ส่วนมาตรการระยะกลางและระยะยาวประกอบด้วย 9 แนวทางได้แก่ 1. ติดตามปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างภาษี 2. การจัดการน้ำเพื่อภาคอุตสาหกรรม 3. ปรับปรุงแก้ไขกฏหมายที่เป็นอุปสรรคต่อภาคอุตสาหกรรมและการลงทุน 4.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์ 5.การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้หรือเซาท์เทิร์นซีบอร์ด 6. รัฐควรวางยุทธศาสตร์พลังงาน 7. ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม 8. ส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอี และ 9. การใช้สิทธิประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีหรือ เอฟทีเอ
“การที่นายอภิสิทธิ์ จะเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจถือเป็นเรื่องดีเพราะจะได้ตัดสินใจด้วยตนเองและเร็วขึ้น ส่วนทีมเศรษฐกิจที่อาจจะต้องมาจากหลายพรรคการเมือง แต่หากมาหารือร่วมกันก็จะสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว และเห็นด้วยกับแนวคิดดึงบุคคลภายนอกมาช่วยงานด้านเศรษฐกิจ รวมถึงการดึงผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการทำธุรกิจในต่างประเทศ “นายสันติกล่าว
นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า สศอ. จะเสนอมาตรการต่อผู้บริหารในการช่วยพยุงผู้ประกอบการในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ เช่น การลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ให้หน่วยงานและสถาบันเฉพาะทางในกำกับปรับลดราคาหรือให้เครดิตแก่ผู้ประกอบการ สำหรับบริการตรวจวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ และเสนอรัฐสนับสนุนงบประมาณกลางปีในการพัฒนาและรักษาบุคลากรเพื่อชะลอการเลิกจ้าง
“หัวใจสำคัญสำหรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2552 คือ การใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นอำนาจซื้อภายในประเทศ โดยรัฐบาลชุดใหม่จะต้องเร่งผลักดันเพิ่มงบกลางปี 100,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันต้องเร่งรัดโครงการเมกะโปรเจกต์ เช่น รถไฟฟ้า ซึ่ง สศอ. ขอเสนอแนะให้รัฐบาลให้ความสำคัญและชี้นำให้ผู้ได้รับสัมปทานต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ ชิ้นส่วนร่วม ชิ้นส่วนประกอบภายในประเทศให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกับสาขาอุตสาหกรรมของประเทศ”นายอาทิตย์กล่าว
นอกจากนี้การปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล จะมีผลทั้งในเชิงจิตวิทยาและลดภาระของประชาชนและภาคธุรกิจ แต่หากติดขัดต่อรายได้ภาครัฐไม่สามารถทำได้ทั้งระบบ ก็ขอให้ปรับลดอัตราภาษีสำหรับกลุ่มเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
**อสังหาฯ ลุ้นความเชื่อมั่นเกิด
นายชายนิด โง้วศิริมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เฟอร์เฟค จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2551 ถือว่ามีขนาดที่ใหญ่ในระดับโลก แต่ผลกระทบที่จะมาถึงไทยคงไม่ใหญ่ เมื่อเทียบกับปี 2540 ที่มีความรุนแรงกว่าปีนี้มาก บริษัทต่างๆ ต้องเปลี่ยนกลยุทธ์จากเกมรุก เป็นการตั้งรับ และบริหารกระแสเงินสดให้มีประสิทธิภาพ มากกว่าการทำกำไร ควบค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ปรับปรุงประสิทธิภาพการก่อสร้าง แนวโน้มอสังหาริมทรัพย์ ทั้งตลาดจะชะลอตัวเหลือไม่เกิน 5 หมื่นหน่วย โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมจะชะลอตัวลง แต่เชื่อว่าผู้ประกอบการยังแข็งแกร่ง เพราะไม่ถูกลดค่าเงินเหมือนปี 2540 และ สัดส่วนหนี้สินต่อทุนยังต่ำ ปัจจัยบวกดอกเบี้ยลดลง และจะเห็นดอกเบี้ยที่ใกล้จุดต่ำสุดในรอบ 10 ปี
ทั้งนี้ การมีรัฐบาลใหม่ โดยเฉพาะภาพลักษณ์ของว่าที่นายกฯก็สามารถสร้างความเชื่อมั่นกับภาคธุรกิจได้ ถ้ารัฐบาลสามารถสร้างความมีเสถียรภาพ โดยการบูรณาการระบบเศรษฐกิจไทย เพื่อแก้ปัญหาในภาคการส่งออกกับท่องเที่ยวให้ฟื้นขึ้นมาได้
“ขณะนี้รอเพียงความมั่นใจของผู้บริโภคที่จะฟื้นขึ้นมา ถ้ายังแบ่งแยกอยู่ประเทศจะมีแต่ทรุดกับทรุดการที่รัฐบาลใหม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใช้วงเงินสูง น่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ในปี 2553 ที่สำคัญรัฐบาลควรเน้นลงทุนเมกโปรเจกต์เฉพาะโครงการที่มีความเป็นไปได้และโครงการใดที่ได้มีการลงทุนไปแล้วควรสานต่อให้แล้วเสร็จเพื่อให้ใช้งานได้”
นายทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หากรัฐบาลชุดใหม่ สามารถสร้างความสามัคคี และทำให้การเมืองในประเทศสงบ ก็จะเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้ เพราะที่ผ่านมาปัญหาการเมืองได้ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ทำให้ลูกค้าที่ลดลง 30% อย่างไรก็ตามในภาวะที่ตลาดมีการชะลอตัว เป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการในการพัฒนาองค์กร คุณภาพงาน ขบวนธุรกิจ เพื่อสร้างความพร้อมองค์กร รับกับช่วงฟื้นตัว หากรัฐบาลชุดใหม่ที่เข้ามาบริหารประเทศมีความเข้มแข็ง ปลายไตรมาส 1 ปีหน้าความเชื่อมั่นอาจจะฟื้นขึ้นมาได้
"หากรัฐบาลชุดใหม่ สามารถสร้างความสามัคคี และทำให้การเมืองในประเทศสงบ ก็จะเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้" นายทองมากล่าวและว่า แนวโน้มปี 52 อสังหาฯ โดยรวมจะหดตัวลง จาก 5 หมื่นหน่วย เหลือ 4 หมื่นหน่วย หรือลดลง 20%
**บิ๊ก ธอส.ชี้ทีม ศก.ต้องทำงานเร็ว
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) มองว่า รัฐบาลชุดใหม่ ควรเร่งฟอร์มทีมเศรษฐกิจ ที่มีความเข้มแข็งเหมือนในอดีต เข้ามาดูแลปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวในขณะนี้ และแนวโน้มจะรุนแรงขึ้นในปีหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวลงมา 3 ปี และมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 3 คน ตนอยากเห็นทีมเศรษฐกิจแข็งแกร่งเหมือนสมัยที่นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ส่วน ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุล และนายกรณ์ จาติกวณิช ก็มีความเหมาะสม
ทั้งนี้ คุณสมบัติสำคัญของทีมเศรษฐกิจคือ ต้องทำงานอย่างรวดเร็ว กล้าตัดสินใจ ต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนให้กลับมาลงทุนในประเทศไทย รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับภาคอสังหาริมทรัพย์ เพราะที่ผ่านมาผู้ซื้อบ้านลังเลใจในการซื้อบ้าน ซึ่งหากผู้บริโภคตัดสินใจซื้อบ้านก็จะมีผลต่อเนื่องในหลายภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเม็ดเงินอีกหลายรอบ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น
**“กรณ์” แลกเปลี่ยนข้อมูลเวิลด์แบงก์
วานนี้ (16 ธ.ค.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวภายหลังการหารือร่วมกับผู้อำนวยการภูมิภาคธนาคารโลกว่า ได้พูดคุยถึงโครงการที่ธนาคารโลกได้ดำเนินในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมาเพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน และความพร้อมของธนาคารโลกที่จะสนับสนุนโครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆ รวมถึงความพร้อมของธนาคารโลกในการใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ กรณีที่อาจจะมีแผนใช้งบประมาณเพิ่มเติม ตนยังได้ขอให้ทางธนาคารโลกนำเสนอข้อมูลแนวคิดเกี่ยวกับแหล่งทุนที่จะให้กับประชาชนรากหญ้า เนื่องจากธนาคารโลกในประเทศต่างๆ มีประสบการณ์นำเสนอโครงการ การเข้าถึงแหล่งทุนให้ให้กับรากหญ้าอินโดนีเซีย ซึ่งน่าจะนำมาใช้ประโยชน์กับประชาชนคนไทยได้
"การมาหารือครั้งนี้เพราะเวิลด์แบงก์เห็นว่าทางพรรคจะจัดตั้งรัฐบาล จึงอยากนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ผมจึงรับหน้า ส่วนความรับผิดชอบว่าใครจะมาดูแลเรื่องนี้ (เศรษฐกิจ) อีกไม่นาน พรรคคงจะประกาศออกมาให้ทราบ เวิลด์แบงก์ดีว่าเศรษฐกิจโลกโดยรวมกำลังมีปัญหาจึงน่ากังวลกับประเทศคู่ค้าซึ่งเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่มากกว่าประเทศไทย ในแง่เสถียรภาพการเงินของไทยยังคงมีความมั่นคง แต่เป็นห่วงเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการส่งออกที่ยังเป็นปัญหา และระดับบริโภคภายในประเทศที่มีการชะลอตัว แต่ขณะเดียวกันยังมีความเชื่อมั่นว่าปัญหาเศรษฐกิจของเราหากมีความตั้งใจและมีแนวคิดเชิงนโยบาย ที่ชัดเจนนำไปสู่การปฏิบัติน่าจะเป็นปัญหาที่รักษาเยียวยาได้"
ส่วนปัญหาทางการเมืองจะส่งผลกระทบต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจหรือไม่ นายกรณ์ กล่าวว่า ปัญหาของบ้านเราส่วนหนึ่ง ปฏิเสธไม่ได้ว่ามาจากความขัดแย้งทางการเมือง และความขัดแย้งในสังคม เพราะฉะนั้น นโยบายเศรษฐกิจที่จะส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาของประชาชน ต้องควบคู่กันระหว่างปัญหาเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจและปัญหาทางการเมือง ซึ่งความตั้งใจของว่าที่นายกรัฐมนตรี จะสร้างบรรยากาศให้มีความสามารถการแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้มากกว่าในอดีตที่ผ่านมา
เมื่อถามว่าจะมีโนบายเศรษฐกิจที่จะดูแลคนรากหญ้าแบบเดียวกับที่พรรคไทยรักไทยเคยทำมาอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ปัญหาเศรษฐกิจที่ชัดเจนส่วนหนึ่งมีผลจากการชะลอตัวของคู่ค้าทางเศรษฐกิจ คือ ราคาพืชผลเกษตร ซึ่งแม้ภาคเกษตรจะเป็นสัดส่วนต่อจีดีพีเพียง 10% แต่กระทบกับรากหญ้าอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะข้าว ยาง ปาล์มน้ำมัน ซึ่งจะต้องเข้ามาแก้ไขโดยส่วน อีกปัญหาคือเรื่องการจ้างงาน ซึ่งขณะนี้มีสัญญาณจากภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี เนื่องจากการเข้าถึงแหล่งทุน มีปัญหามากขึ้นเนื่องจากกำลังซื้อของลูกค้าลดน้อยลง อาจจะมีผลต่อการว่างงานมากขึ้นในช่วงปี 52 เพราะฉะนั้น 2 ปัญหานี้ถือเป็นปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องเข้ามาเยียวยา
นายกรณ์กล่าวว่า รัฐบาลนโยบายของรัฐบาลเดิมที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ งบประมาณกลางปี 1 แสนล้านบาท ซึ่ง เป็นข้อเสนอที่ทาง ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์ เคยนำเสนอรัฐบาลพรรคพลังประชาชนตั้งแต่สมัยแรกๆ เราทำต่อแน่นอนเพราะเรายึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ไม่มีการกีดกันที่มาของความคิด โดยจะดูว่าจะนำเงินจากส่วนไหนมาใช้ และนำไปใช่ในส่วนใดบ้าง ส่วนโครงการรถไฟฟ้าที่รัฐบาลพรรคพลังประชาชนทำมาก่อนนั้น ตนเห็นว่า ข้อเสนอของพรรคการเมืองแต่ละพรรคที่หาเสียงไว้จะต้องดูว่าที่ทำจริงๆ มีกี่สายและดำเนินการไปถึงไหนแล้ว และแนวคิดของประชาธิปัตย์ก็สนับสนุนเห็นความสำคัญ ของการสร้างทางเลือกในการจราจร และพรรคพูดมาตั้งแต่แรกว่าเรื่องรถไฟฟ้าเป็นเรื่องสำคัญ แต่จะต้องประเมินตามความเหมาะสมว่าจะจัดลำดับความสำคัญของเส้นทางไหนก่อนหลัง และสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ คือ สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจเปลี่ยนไปมาก ดังนั้น การที่จะยึดหลักว่าอะไรที่เคยพูดไว้เมื่อ 4-5 ปีก่อน แล้วจะทำเหมือนไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงคงไม่ได้ ดังนั้นคงต้องดูความต้องการตามสถานภาพทางการเงินของประเทศ ซึ่งเรื่องนี้พรรคต้องสร้างความชัดเจนให้กับประชาชน
"เศรษฐกิจไตรมาส 4 ปีนี้ และไตรมาส 1 ปีหน้ามีโอกาสติดลบสูง แต่คาดว่าถ้าเราเข้ามาแก้ไขเรื่องเฉพาะหน้า เช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และการเข้าถึงแหล่งเงินของธุรกิจเอสเอ็มอี เศรษฐกิจก็น่าจะฟื้นตัวได้ในไตรมาส 2-3 ในปีหน้า แต่หากไตรมาส 4 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไม่ประสบปัญหา เศรษฐกิจก็น่าจะดีกว่าปีนี้แน่นอน ดังนั้นเศรษฐกิจจะออกมาเท่าไหร่ไม่ได้กำหนดไว้เป็นเป้าหมาย เพราะไม่เคยบริหารงานลักษณะนั้น ผมถือว่าอัตราการขยายตัวจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับแนวทางการบริหาร ไม่มีประโยชน์ที่จะไปกำหนดเป้าหมาย โดยเฉพาะเมื่อมีความผันผวนมากขนาดนี้" นายกรณ์ประเมินเศรษฐกิจปีหน้า