รอยเตอร์/เอเอฟพี – บรรดาธนาคารใหญ่ๆ ในยุโรปและเอเชีย พากันออกมาแถลงเปิดเผยเพิ่มเติมอีกเมื่อวานนี้(15) ว่าพวกเขาอาจจะสูญเสียเงินเป็นพันๆ ล้านดอลลาร์ จากการตกเป็นเหยื่อแผนการฉ้อฉลแบบ “แชร์ลูกโซ่” มูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์ โดยผ่านกองทุนเฮดจ์ฟันด์ของเบอร์นาร์ด แมดอฟฟ์ นักการเงินระดับตำนานของวอลล์สตรีท
รายงานของหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ชี้ว่า เอชเอสบีซี โฮลดิ้งส์ ธนาคารยักษ์ใหญ่สัญชาติอังกฤษ ก็เป็นเหยื่อรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่ง โดยน่าจะมีความเสียหายสูงถึง 1,000 ล้านดอลลาร์ แต่ธนาคารเองยังไม่ได้ออกมากล่าวถึงกรณีนี้แต่อย่างใด
ขณะที่แบงก์ใหญ่อีกแห่งหนึ่งของอังกฤษ คือ โรยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ กล่าวว่าธนาคารน่าจะขาดทุนราว 595 ล้านดอลลาร์ หากว่าตัดมูลค่าสินทรัพย์ที่ลงทุนในบริษัทเบอร์นาร์ด แอล แมดอฟฟ์ อินเวสเมนท์ ซีเคียวริตี้ส์ลงไปให้เหลือศูนย์
ส่วนแมนกรุ๊ป กองทุนเฮดจ์ฟันด์สัญชาติอังกฤษเช่นกัน ก็ออกมาประมาณว่าน่าจะขาดทุน 360 ล้านดอลลาร์
ธนาคาร เนทิซิส แห่งฝรั่งเศสก็ระบุว่าได้ลงทุนกับกองทุนของแมดอฟฟ์ราว 605 ล้านดอลลาร์ ส่วนธนาคารใหญ่เป็นอันดับสองของอิตาลี ยูนิเครดิต เอสพีเอ เผยว่าอาจจะขาดทุนราว 75 ล้านยูโร
หนังสือพิมพ์เอลปาอิส ของสเปนก็รายงานว่า บีบีวีเอ แบงก์ใหญ่อันดับสองของประเทศ อาจสูญเสียเงินหลายร้อยล้านดอลลาร์ โดยรายงานข่าวบอกว่า “ผู้จัดการบางคนให้ตัวเลขไว้ที่ราว 500 ล้าน”
เมื่อวันพฤหัสบดี(11) อัยการและหน่วยงานกำกับดูแลอื่น ๆของสหรัฐฯได้กล่าวหาแมดอฟฟ์วัย 70 ปีว่าเป็นผู้ชักใยเบื้องหลังจากฉ้อโกงโดยผ่านธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุนของเขา ซึ่งมีเฮดจ์ฟันด์ไม่น้อยกว่าหนึ่งกองทุนอยู่ภายใต้การดูแล
แมนกรุ๊ปกล่าวว่าพวกเขาเข้าไปเกี่ยวข้องกับแมดอฟฟ์โดยผ่าน อาร์เอ็มเอฟ กองทุนระดับสถาบันที่มีเป้าหมายจะเข้าไปลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งมีเม็ดเงินอยู่ราว 360 ล้านดอลลาร์ที่นำไปลงทุนในกองทุนสองแห่ง และกองทุนทั้งสองแห่งนี้ได้รับคำแนะนำทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากเแมดอฟฟ์ ซีเคียวริตี้ส์
“ดูเหมือนว่าน่าจะมีการฉ้อฉลที่เป็นระบบเกิดขึ้นอย่างขนานใหญ่ ซึ่งเป็นการละเมิดการควบคุมเชิงโครงสร้างต่าง ๆ” แมนกรุ๊ปกล่าวในคำแถลง
การลงทุนของแมนกรุ๊ปคิดเป็นราว 1.5% ของเงินกองทุนของอาร์เอ็มเอฟ และ 0.5% ของเม็ดเงินสำหรับลงทุนทั้งหมดของแมนกรุ๊ป
ส่วนธนาคารโรยัล แบงก์ ออฟ สก๊อตแลนด์แถลงว่าเข้าไปเกี่ยวพันกับแมดอฟฟ์โดยการซื้อขายและการประกันสินเชื่อสำหรับเม็ดเงินที่เฮดจ์ฟันด์ของธนาคารที่เข้าไปลงทุนในกลุ่มธุรกิจของแมดอฟฟ์
ข่าวร้ายครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตการเงินรุนแรง ที่ส่งผลให้เฮดจ์ฟันด์มีผลประกอบการย่ำแย่ไปตาม ๆกัน และสถานการณ์นี้ก็ยิ่งซ้ำเติมสถานะของกองทุนเหล่านี้มากขึ้นจนอาจไม่สามารถจะทำให้กำไรได้แม้ตลาดจะดีขึ้นแล้วก็ตาม รวมทั้งยังทำให้ธนาคารและนักลงทุนผู้ร่ำรวยทั่วโลกกลายเหยื่อไปตาม ๆกัน
ทางด้าน โนมูระ โฮลดิ้งส์ อิงก์ แห่งญี่ปุ่นแถลงวานนี้เช่นกันว่า ลงทุนราว 27,500 ล้านเยนในกองทุนที่เกี่ยวพันกับแมดอฟฟ์ แต่ผลเสียหายที่เกิดกับเงินลงทุนของบริษัทมีจำกัดมาก
ส่วนเจ้าหน้าที่หลายรายของเกาหลีใต้เผยว่า มีสถาบันการเงินของเกาหลีใต้หลายแห่ง โดยอย่างน้อยก็มีบริษัทประกันภัย 1 แห่ง และบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์อีก 6 แห่ง ที่ได้ไปลงทุนกับแมดอฟฟ์ เป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 95.1 ล้านดอลลาร์
เและเมื่อวันอาทิตย์ ธนาคารยุโรปสามแห่ง คือ แซนแทนเดอร์ ธนาคารใหญ่ที่สุดในสเปน และบีเอ็นพี ปารีบาส์ ธนาคารใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส รวมทั้ ไรช์มุธ แอนด์ โค ธนาคารเพื่อการลงทุนในธุรกิจของสวิสเซอร์แลนด์ก็ออกมาประกาศว่ามีเงินลงทุนไว้กับแมดอฟฟ์รวมกันถึง 3,800 ล้านดอลลาร์
รายงานของหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ชี้ว่า เอชเอสบีซี โฮลดิ้งส์ ธนาคารยักษ์ใหญ่สัญชาติอังกฤษ ก็เป็นเหยื่อรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่ง โดยน่าจะมีความเสียหายสูงถึง 1,000 ล้านดอลลาร์ แต่ธนาคารเองยังไม่ได้ออกมากล่าวถึงกรณีนี้แต่อย่างใด
ขณะที่แบงก์ใหญ่อีกแห่งหนึ่งของอังกฤษ คือ โรยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ กล่าวว่าธนาคารน่าจะขาดทุนราว 595 ล้านดอลลาร์ หากว่าตัดมูลค่าสินทรัพย์ที่ลงทุนในบริษัทเบอร์นาร์ด แอล แมดอฟฟ์ อินเวสเมนท์ ซีเคียวริตี้ส์ลงไปให้เหลือศูนย์
ส่วนแมนกรุ๊ป กองทุนเฮดจ์ฟันด์สัญชาติอังกฤษเช่นกัน ก็ออกมาประมาณว่าน่าจะขาดทุน 360 ล้านดอลลาร์
ธนาคาร เนทิซิส แห่งฝรั่งเศสก็ระบุว่าได้ลงทุนกับกองทุนของแมดอฟฟ์ราว 605 ล้านดอลลาร์ ส่วนธนาคารใหญ่เป็นอันดับสองของอิตาลี ยูนิเครดิต เอสพีเอ เผยว่าอาจจะขาดทุนราว 75 ล้านยูโร
หนังสือพิมพ์เอลปาอิส ของสเปนก็รายงานว่า บีบีวีเอ แบงก์ใหญ่อันดับสองของประเทศ อาจสูญเสียเงินหลายร้อยล้านดอลลาร์ โดยรายงานข่าวบอกว่า “ผู้จัดการบางคนให้ตัวเลขไว้ที่ราว 500 ล้าน”
เมื่อวันพฤหัสบดี(11) อัยการและหน่วยงานกำกับดูแลอื่น ๆของสหรัฐฯได้กล่าวหาแมดอฟฟ์วัย 70 ปีว่าเป็นผู้ชักใยเบื้องหลังจากฉ้อโกงโดยผ่านธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุนของเขา ซึ่งมีเฮดจ์ฟันด์ไม่น้อยกว่าหนึ่งกองทุนอยู่ภายใต้การดูแล
แมนกรุ๊ปกล่าวว่าพวกเขาเข้าไปเกี่ยวข้องกับแมดอฟฟ์โดยผ่าน อาร์เอ็มเอฟ กองทุนระดับสถาบันที่มีเป้าหมายจะเข้าไปลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งมีเม็ดเงินอยู่ราว 360 ล้านดอลลาร์ที่นำไปลงทุนในกองทุนสองแห่ง และกองทุนทั้งสองแห่งนี้ได้รับคำแนะนำทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากเแมดอฟฟ์ ซีเคียวริตี้ส์
“ดูเหมือนว่าน่าจะมีการฉ้อฉลที่เป็นระบบเกิดขึ้นอย่างขนานใหญ่ ซึ่งเป็นการละเมิดการควบคุมเชิงโครงสร้างต่าง ๆ” แมนกรุ๊ปกล่าวในคำแถลง
การลงทุนของแมนกรุ๊ปคิดเป็นราว 1.5% ของเงินกองทุนของอาร์เอ็มเอฟ และ 0.5% ของเม็ดเงินสำหรับลงทุนทั้งหมดของแมนกรุ๊ป
ส่วนธนาคารโรยัล แบงก์ ออฟ สก๊อตแลนด์แถลงว่าเข้าไปเกี่ยวพันกับแมดอฟฟ์โดยการซื้อขายและการประกันสินเชื่อสำหรับเม็ดเงินที่เฮดจ์ฟันด์ของธนาคารที่เข้าไปลงทุนในกลุ่มธุรกิจของแมดอฟฟ์
ข่าวร้ายครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตการเงินรุนแรง ที่ส่งผลให้เฮดจ์ฟันด์มีผลประกอบการย่ำแย่ไปตาม ๆกัน และสถานการณ์นี้ก็ยิ่งซ้ำเติมสถานะของกองทุนเหล่านี้มากขึ้นจนอาจไม่สามารถจะทำให้กำไรได้แม้ตลาดจะดีขึ้นแล้วก็ตาม รวมทั้งยังทำให้ธนาคารและนักลงทุนผู้ร่ำรวยทั่วโลกกลายเหยื่อไปตาม ๆกัน
ทางด้าน โนมูระ โฮลดิ้งส์ อิงก์ แห่งญี่ปุ่นแถลงวานนี้เช่นกันว่า ลงทุนราว 27,500 ล้านเยนในกองทุนที่เกี่ยวพันกับแมดอฟฟ์ แต่ผลเสียหายที่เกิดกับเงินลงทุนของบริษัทมีจำกัดมาก
ส่วนเจ้าหน้าที่หลายรายของเกาหลีใต้เผยว่า มีสถาบันการเงินของเกาหลีใต้หลายแห่ง โดยอย่างน้อยก็มีบริษัทประกันภัย 1 แห่ง และบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์อีก 6 แห่ง ที่ได้ไปลงทุนกับแมดอฟฟ์ เป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 95.1 ล้านดอลลาร์
เและเมื่อวันอาทิตย์ ธนาคารยุโรปสามแห่ง คือ แซนแทนเดอร์ ธนาคารใหญ่ที่สุดในสเปน และบีเอ็นพี ปารีบาส์ ธนาคารใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส รวมทั้ ไรช์มุธ แอนด์ โค ธนาคารเพื่อการลงทุนในธุรกิจของสวิสเซอร์แลนด์ก็ออกมาประกาศว่ามีเงินลงทุนไว้กับแมดอฟฟ์รวมกันถึง 3,800 ล้านดอลลาร์