รอยเตอร์ - บรรดากองทุนเฮดฟันด์กำลังพยายามสะกัดกั้นกระแสนักลงทุนถอนเงินสดออกไปจากกองทุน แต่เงื่อนไขที่พวกเขากำหนดขึ้นอาจจะส่งผลให้มีการลดค่าบริหารกองทุนที่คิดจากนักลงทุนลงจากเดิมเป็นอย่างมาก อีกทั้งเป็นไปในระยะยาวด้วย
ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา มีกองทุนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆที่ได้ออกมามาตรการเพื่อหยุดยั้งการไหลออกของเม็ดเงิน ซึ่งเกิดจากการที่นักลงทุนผู้กำลังต้องการเงินสด พากันหันมาไถ่ถอนการลงทุนของตนเองออกไป
มาตรการที่กองทุนเฮดจ์ฟันด์ออกมา ก็ได้แก่ ห้ามไถ่ถอนเป็นการชั่วคราว, สร้างเงื่อนไขเพื่อจำกัดให้นักลงทุนสามารถไถ่ถอนภายในช่วงเวลาที่กำหนดเท่านั้น, รวมทั้งนำเอาช่วง “ล็อคอัพ” มาใช้ ซึ่งหมายถึงนักลงทุนจะต้องเอาเงินไว้ในกองทุนให้ครบช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนจึงจะไถ่ถอนได้
แต่ในอีกด้านหนึ่ง กองทุนก็ต้องให้สิ่งตอบแทนแก่นักลงทุนด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงื่อนไขที่นักลงทุนมักจะขอกันมากก็คือ ลดค่าบริหารจัดการกองทุนลงมา ทั้งนี้เป็นที่น่าสงสัยด้วยว่า แม้เมื่อสถานการณ์การเงินกลับสู่ภาวะปกติแล้ว กองทุนจะสามารถเรียกเก็บค่าบริการเหล่านี้เพิ่มขึ้นใหม่ได้หรือไม่ เพราะนักลงทุนน่าจะไม่ยินยอม
ยิ่งช่วงปลายปีใกล้เข้ามา พวกเฮดจ์ฟันด์ก็จะต้องรับมือกับการไถ่ถอนที่เพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น ข้อมูลเร็ว ๆนี้จากเอชเอฟอาร์ ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยในชิคาโกแสดงให้เห็นว่ายอดเงินไหลออกสุทธิในเดือนตุลาคมนั้นสูงเกินกว่า 40,000 ล้านดอลลาร์แล้ว อันเป็นจำนวนที่สูงกว่าเงินไหลออกสุทธิในไตรมาสสามทั้งไตรมาสที่เท่ากับ 31,000 ล้านดอลลาร์ และตรงกันข้ามกับตลอดทั้งปี 2007 ที่พวกเฮดจ์ฟันด์อยู่ในฐานะมีเงินไหลเข้าสุทธิ 194,500 ล้านดอลลาร์
สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นนี้ไม่ถึงกับเป็นสิ่งที่เกิดความคาดหมาย เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ตลาดการเงินโดยรวมที่ย่ำแย่ ตลอดจนเม็ดเงินสดในตลาดที่มีอยู่อย่างเบาบาง มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ากองทุนบางแห่งได้สะสมเม็ดเงินสดเตรียมเอาไว้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากคาดว่าจะมีการไถ่ถอนการลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
นักลงทุนไม่ขัดข้องที่กองทุนจะถือเม็ดเงินสดเอาไว้ชดเชยให้ผู้ลงทุนของตนเอง แต่พวกเขาไม่ต้องการให้เอาเงินไปจ่ายให้กับพวกที่มีอภิสิทธิ์ทั้งหลาย
“ผมไม่ได้จ่ายเงินค่าบริหารกองทุน 2% เพื่อให้กองทุนถือเป็นเงินสดเอาไว้ ถ้าเป็นอย่างนั้นผมก็อยากจะเอาเงินคืน” เป็นคำพูดของ มาร์ก ชินด์เลอร์ ผู้จัดการพอร์ทโฟลิโอของการลงทุนที่ธนาคารคลาริเดน ลิว ซึ่งเป็นธนาคารเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์เอกชนของสวิสเซอร์แลนด์
ขณะเดียวกันผู้จัดการกองทุนที่พยายามจะหยุดยั้งการไถ่ถอน “ก็จะเริ่มเห็นว่าถ้าต้องการประคองธุรกิจเอาไว้ จำเป็นจะต้องลดหรือกระทั่งยกเว้นค่าบริหารกองทุน” ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันหนึ่งให้ข้อมูล โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่เปิดเผยชื่อของเขา “และทุกครั้งที่มีการเจรจากันเรื่องต่ออายุการลงทุนหรือปรับโครงสร้างแผนการลงทุนต่าง ๆ ค่าบริหารก็เป็นส่วนหนึ่งของการเจรจา และส่วนใหญ่แล้วค่าบริหารเหล่านี้น้อยครั้งนักที่จะเพิ่มขึ้นได้”
แม้แต่บริษัทเฮดจ์ฟันด์ที่มีชื่อเสียงบางแห่งอย่างเช่น บลูเบย์ แอสเสต แมเนจเมนท์, เฮนเดอร์สัน โกลบัล อินเวสเตอร์ส และอาร์เอบี แคปิตอล ก็ได้เริ่มนำเอามาตรการป้องการเม็ดเงินไหลออกมาใช้ในกองทุนของตนเอง โดยยอมแลกกับการคิดค่าบริหารลดลงไป
เมื่อกองทุนต้องคืนเงินให้แก่นักลงทุน หากว่าพวกเขาไม่มีเม็ดเงินสดเพียงพอก็จำเป็นต้องปิดบัญชีและเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงิน เพื่อให้ได้เม็ดเงินไปตอบสนองความต้องการของนักลงทุนให้ได้
แต่สำหรับกองทุนที่บริหารความเสี่ยงสูงแบบคานดีด(นั่นคืออาศัยการระดมเงินกู้มาใช้ในการลงทุนด้วย)แล้ว การเปลี่ยนสินทรัพย์ให้เป็นเม็ดเงินนั้นไม่ง่ายเลย เพราะกองทุนเหล่านี้กู้ยืมเงินมาลงทุนให้หลักทรัพย์ต่าง ๆโดยใช้พอร์ทโฟลิโอของตนเองค้ำประกันเอาไว้ วิธีการนี้เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการดำเนินการของเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้ทำให้กองทุนจำเป็นต้องคิดค่าบริหารในราคาสูงมาก
หากว่ากองทุนคาดเก็งตลาดได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ความเสี่ยงแบบคานดีดก็จะทำให้ได้ผลตอบแทนมหาศาล แต่เมื่อตลาดอยู่ในขาลง กองทุนก็จะขาดทุนอย่างมหาศาลด้วยเช่นเดียวกัน แถมในช่วงตลาดขาลงย่อมเป็นช่วงเวลาที่นักลงทุนมักต้องการอย่างสุดแสนที่จะได้เม็ดเงินของตนคืน
ผู้จัดการกองทุนที่มีเงินสดในมือไม่พอเพียงเพื่อคืนให้แก่นักลงทุน จะถูกบีบให้ขายสินทรัพย์ออกไป แต่ราคาก็จะตกต่ำอย่างน่าใจหาย ยิ่งถ้าต้องขายหลักทรัพย์ที่ไร้สภาพคล่องแล้ว แม้จะดิ้นรนไปเท่าไรก็หาผู้ซื้อไม่ได้
ในอีกทางหนึ่ง แรงกดดันจากเจ้าหนี้ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย เพราะเจ้าหนี้จะเรียกร้องเฮดจ์ฟันด์ให้เพิ่มเงินค้ำประกันสูงขึ้น จากการที่ราคาสินทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกันนั้นดิ่งลงรุนแรงตามสถานการณ์ตลาด
นอกจากนี้การขายสินทรัพย์ออกไปก็อาจจะไม่สามารถเสริมสภาพคล่องให้แก่กองทุนได้ดังใจหมาย หากว่าการไถ่ถอนนั้นพุ่งขึ้นพร้อม ๆกันกับที่กองทุนจะต้องเพิ่มการค้ำประกันสินเชื่อ ซึ่งทั้งสองประการจะดูดเอาเม็ดเงินของกองทุนอย่างรวดเร็ว จนอาจจะขายทรัพย์สินตามไปไม่ทัน
และแล้วสถานการณ์อาจจะเป็นเหมือนความตื่นตระหนกของประชาชนที่นำไปสู่การขาดแคลนสภาพคล่องอย่างหนักของธนาคาร ความเชื่อที่ว่ากองทุนกำลังมีปัญหารุนแรงก็จะทำให้นักลงทุนแตกตื่นพากันเข้าแถวชิงกันหอบเงินของตนวิ่งออกประตูไปให้ทัน ก่อนไฟแห่งการขาดทุนจะมอดไหม้พวกเขา
ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา มีกองทุนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆที่ได้ออกมามาตรการเพื่อหยุดยั้งการไหลออกของเม็ดเงิน ซึ่งเกิดจากการที่นักลงทุนผู้กำลังต้องการเงินสด พากันหันมาไถ่ถอนการลงทุนของตนเองออกไป
มาตรการที่กองทุนเฮดจ์ฟันด์ออกมา ก็ได้แก่ ห้ามไถ่ถอนเป็นการชั่วคราว, สร้างเงื่อนไขเพื่อจำกัดให้นักลงทุนสามารถไถ่ถอนภายในช่วงเวลาที่กำหนดเท่านั้น, รวมทั้งนำเอาช่วง “ล็อคอัพ” มาใช้ ซึ่งหมายถึงนักลงทุนจะต้องเอาเงินไว้ในกองทุนให้ครบช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนจึงจะไถ่ถอนได้
แต่ในอีกด้านหนึ่ง กองทุนก็ต้องให้สิ่งตอบแทนแก่นักลงทุนด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงื่อนไขที่นักลงทุนมักจะขอกันมากก็คือ ลดค่าบริหารจัดการกองทุนลงมา ทั้งนี้เป็นที่น่าสงสัยด้วยว่า แม้เมื่อสถานการณ์การเงินกลับสู่ภาวะปกติแล้ว กองทุนจะสามารถเรียกเก็บค่าบริการเหล่านี้เพิ่มขึ้นใหม่ได้หรือไม่ เพราะนักลงทุนน่าจะไม่ยินยอม
ยิ่งช่วงปลายปีใกล้เข้ามา พวกเฮดจ์ฟันด์ก็จะต้องรับมือกับการไถ่ถอนที่เพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น ข้อมูลเร็ว ๆนี้จากเอชเอฟอาร์ ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยในชิคาโกแสดงให้เห็นว่ายอดเงินไหลออกสุทธิในเดือนตุลาคมนั้นสูงเกินกว่า 40,000 ล้านดอลลาร์แล้ว อันเป็นจำนวนที่สูงกว่าเงินไหลออกสุทธิในไตรมาสสามทั้งไตรมาสที่เท่ากับ 31,000 ล้านดอลลาร์ และตรงกันข้ามกับตลอดทั้งปี 2007 ที่พวกเฮดจ์ฟันด์อยู่ในฐานะมีเงินไหลเข้าสุทธิ 194,500 ล้านดอลลาร์
สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นนี้ไม่ถึงกับเป็นสิ่งที่เกิดความคาดหมาย เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ตลาดการเงินโดยรวมที่ย่ำแย่ ตลอดจนเม็ดเงินสดในตลาดที่มีอยู่อย่างเบาบาง มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ากองทุนบางแห่งได้สะสมเม็ดเงินสดเตรียมเอาไว้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากคาดว่าจะมีการไถ่ถอนการลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
นักลงทุนไม่ขัดข้องที่กองทุนจะถือเม็ดเงินสดเอาไว้ชดเชยให้ผู้ลงทุนของตนเอง แต่พวกเขาไม่ต้องการให้เอาเงินไปจ่ายให้กับพวกที่มีอภิสิทธิ์ทั้งหลาย
“ผมไม่ได้จ่ายเงินค่าบริหารกองทุน 2% เพื่อให้กองทุนถือเป็นเงินสดเอาไว้ ถ้าเป็นอย่างนั้นผมก็อยากจะเอาเงินคืน” เป็นคำพูดของ มาร์ก ชินด์เลอร์ ผู้จัดการพอร์ทโฟลิโอของการลงทุนที่ธนาคารคลาริเดน ลิว ซึ่งเป็นธนาคารเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์เอกชนของสวิสเซอร์แลนด์
ขณะเดียวกันผู้จัดการกองทุนที่พยายามจะหยุดยั้งการไถ่ถอน “ก็จะเริ่มเห็นว่าถ้าต้องการประคองธุรกิจเอาไว้ จำเป็นจะต้องลดหรือกระทั่งยกเว้นค่าบริหารกองทุน” ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันหนึ่งให้ข้อมูล โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่เปิดเผยชื่อของเขา “และทุกครั้งที่มีการเจรจากันเรื่องต่ออายุการลงทุนหรือปรับโครงสร้างแผนการลงทุนต่าง ๆ ค่าบริหารก็เป็นส่วนหนึ่งของการเจรจา และส่วนใหญ่แล้วค่าบริหารเหล่านี้น้อยครั้งนักที่จะเพิ่มขึ้นได้”
แม้แต่บริษัทเฮดจ์ฟันด์ที่มีชื่อเสียงบางแห่งอย่างเช่น บลูเบย์ แอสเสต แมเนจเมนท์, เฮนเดอร์สัน โกลบัล อินเวสเตอร์ส และอาร์เอบี แคปิตอล ก็ได้เริ่มนำเอามาตรการป้องการเม็ดเงินไหลออกมาใช้ในกองทุนของตนเอง โดยยอมแลกกับการคิดค่าบริหารลดลงไป
เมื่อกองทุนต้องคืนเงินให้แก่นักลงทุน หากว่าพวกเขาไม่มีเม็ดเงินสดเพียงพอก็จำเป็นต้องปิดบัญชีและเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงิน เพื่อให้ได้เม็ดเงินไปตอบสนองความต้องการของนักลงทุนให้ได้
แต่สำหรับกองทุนที่บริหารความเสี่ยงสูงแบบคานดีด(นั่นคืออาศัยการระดมเงินกู้มาใช้ในการลงทุนด้วย)แล้ว การเปลี่ยนสินทรัพย์ให้เป็นเม็ดเงินนั้นไม่ง่ายเลย เพราะกองทุนเหล่านี้กู้ยืมเงินมาลงทุนให้หลักทรัพย์ต่าง ๆโดยใช้พอร์ทโฟลิโอของตนเองค้ำประกันเอาไว้ วิธีการนี้เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการดำเนินการของเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้ทำให้กองทุนจำเป็นต้องคิดค่าบริหารในราคาสูงมาก
หากว่ากองทุนคาดเก็งตลาดได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ความเสี่ยงแบบคานดีดก็จะทำให้ได้ผลตอบแทนมหาศาล แต่เมื่อตลาดอยู่ในขาลง กองทุนก็จะขาดทุนอย่างมหาศาลด้วยเช่นเดียวกัน แถมในช่วงตลาดขาลงย่อมเป็นช่วงเวลาที่นักลงทุนมักต้องการอย่างสุดแสนที่จะได้เม็ดเงินของตนคืน
ผู้จัดการกองทุนที่มีเงินสดในมือไม่พอเพียงเพื่อคืนให้แก่นักลงทุน จะถูกบีบให้ขายสินทรัพย์ออกไป แต่ราคาก็จะตกต่ำอย่างน่าใจหาย ยิ่งถ้าต้องขายหลักทรัพย์ที่ไร้สภาพคล่องแล้ว แม้จะดิ้นรนไปเท่าไรก็หาผู้ซื้อไม่ได้
ในอีกทางหนึ่ง แรงกดดันจากเจ้าหนี้ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย เพราะเจ้าหนี้จะเรียกร้องเฮดจ์ฟันด์ให้เพิ่มเงินค้ำประกันสูงขึ้น จากการที่ราคาสินทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกันนั้นดิ่งลงรุนแรงตามสถานการณ์ตลาด
นอกจากนี้การขายสินทรัพย์ออกไปก็อาจจะไม่สามารถเสริมสภาพคล่องให้แก่กองทุนได้ดังใจหมาย หากว่าการไถ่ถอนนั้นพุ่งขึ้นพร้อม ๆกันกับที่กองทุนจะต้องเพิ่มการค้ำประกันสินเชื่อ ซึ่งทั้งสองประการจะดูดเอาเม็ดเงินของกองทุนอย่างรวดเร็ว จนอาจจะขายทรัพย์สินตามไปไม่ทัน
และแล้วสถานการณ์อาจจะเป็นเหมือนความตื่นตระหนกของประชาชนที่นำไปสู่การขาดแคลนสภาพคล่องอย่างหนักของธนาคาร ความเชื่อที่ว่ากองทุนกำลังมีปัญหารุนแรงก็จะทำให้นักลงทุนแตกตื่นพากันเข้าแถวชิงกันหอบเงินของตนวิ่งออกประตูไปให้ทัน ก่อนไฟแห่งการขาดทุนจะมอดไหม้พวกเขา