นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวตอนหนึ่ง ในการเสวนาเรื่อง"การเมืองสยามประเทศ(ไทย)-หลังรัฐบาลใหม่และหลังรัฐธรรมนูญ 2550" ว่า หากพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ตนฟันธงได้เลยว่า เราจะได้รัฐบาลที่ไม่มีเสถียรภาพมากนัก โดยหากมีการโหวตเป็นไปตามผลของกฎหมายมีผลได้นายกรัฐมนตรี
แต่หากไม่เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มฝ่ายผลประโยชน์ ก็จะมีปัญหาทางกฎหมายตามมา เช่น
การยื่นตีความทางกฎหมาย ของสมาชิกภาพของ ส.ส.ระบบสัดส่วน ว่าเข้ามาร่วมโหวตนายกรัฐมนตรี
ได้ด้วยหรือไม่
นอกจากนี้ หลังมีรัฐบาลใหม่ ปัญหาจากรัฐธรรมนูญปี 2550 จะทำให้เกิดการเผชิญหน้า
และนำมาซึ่งความแตกแยกเพิ่มขึ้น ขณะที่คะแนนที่โหวตนายกรัฐมนตรีจะไม่ทิ้งห่างกันมากนัก
จะทำให้เกิดปัญหาในคะแนนที่จะสนับสนุนทั้งนโยบาย และการออกกฎหมาย
**โทษรธน.50 ตัวก่อปัญหา
นายวรเจตน์ ยังคงยืนยันว่า ปัญหาทั้งหมดเกิดจากรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่มีทางตัน และจะ
มีความพยายามที่ตีความกฎหมาย เพื่อให้เกิดภาวะสุญญากาศ และนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงกติกา
"รัฐธรรมนูญจะถูกนำมาเป็นสนามประลองกำลังทางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์ ทั้ง
ฝ่ายที่ต้องการคงรัฐธรรมนูญไว้ กลุ่มที่เกลียดนักการเมืองต้องการเปลี่ยนแปลงการเมืองใหม่ และ
กลุ่มที่ปฏิเสธรัฐธรรมนูญ”
**อ้างมี"อภิชน"จ้องทำลายปชต.
ด้านนางผาสุก พงษ์ไพจิตร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า
ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างมาก ขณะเดียวกันเกิดความเหลื่อมล้ำ
ของคนชั้นชนบท และคนระดับกลางถึงรวย มากยิ่งขึ้น คนจนถึง 20% มีจีเอ็นพี ไม่ถึง 5 % จากที่คน
รวย มีจีเอ็นพีถึง 20% ทำให้ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนของประทศใกล้เคียงกับทวีป
ลาตินอเมริกาไปแล้ว ขณะที่คนในเมืองกลุ่มน้อยที่ได้ประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ และคนระดับล่างก็
มองว่า เขาถูกดูถูกว่าไม่มีการเรียนรู้ทางการเมือง จนนำมาซึ่งความแตกแยกโดยเฉพาะความเห็นต่าง
ทางประชาธิปไตย
ขณะที่ชนชั้นอภิชน หรือชนชั้นการเมืองกลับคิดถอยหลัง ต้องการที่จะเปลี่ยนแนวคิด 1
คน 1 เสียง มาเป็นการแต่งตั้งที่มีสัดส่วนมากขึ้น และพยายามที่จะนำแนวคิดอื่นๆมาใช้ ถือว่าเป็นการ
คิดย้อนหลัง เพื่อต้องการให้มีการเข้ามาแทรกแซงการเมืองให้ได้ง่ายขึ้น
"คนส่วนใหญ่ต้องการระบบการปกครองตามหลักการประชาธิปไตย 1 คน 1 เสียง แต่ชน
ชั้นอภิชน กลับทำแบบทวนเข็มนาฬิกา ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ ทำให้เกิดช่องว่างและเข้ามา
แทรกแซงการเมืองได้"
**แก้ไขรัฐธรรมนูญคือทางออก
นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สถานการณ์?
างการเมืองขณะนี้ กำลังจะทำให้กลับไปสู่การเมืองเก่า หรือวังน้ำวน ของคณาธิปไตยอันเป็นการ
ปกครองของอภิชน โดยอภิชน เพื่ออภิชน และเชื่อว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิ
ปัตย์ จะได้เป็นายกรัฐมนตรีในรัฐบาลสูตรผสมใหม่ จากกลุ่มของนายเนวิน ชิดชอบ แต่จะบริหารบ้าน
เมืองอย่างไม่ราบรื่น และบริหารได้ในระยะเวลาช่วงสั้นๆ
นายชาญวิทย์ ยังกล่าวด้วยว่าขณะนี้อยู่ในช่วงการพักรบ และเกี้ยเซียะ ของเงินเก่า และเงิน
ใหม่ ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคพวก จะหมดอนาคตทางการเมืองตามโผของ พลังสีเหลือ
งและพลังสีเขียว ผนวกกับตุลาการธิปไตย ตามทฤษฎีอัลาคาโปน จะติดคุกหรืออยู่ต่างประเทศไป
ระยะเวลาหนึ่ง แต่ก็อาจสามารถกลับมาได้ด้วยทฤษฎีประชานิยม และการอภัยโทษ ตามทฤษฎีเอวิตา
เปรอง จากความเห็นใจของรากหญ้า นอกจากนี้ยังเชื่อว่า การนองเลือด สงครามการเมือง การจลาจล
หรือกลียุค จะเกิดขึ้นในไม่ช้า
อดีตอธิการบดี มธ. กล่าวอีกว่า ทางออกของสังคมไทยจะต้องมีการยอมรับความแตกต่าง
ที่ใม่แตกแยก ต้องมีจิตใจกว้างขวาง ไม่คับแคบ ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยกเลิกมาตราที่เป็นอำมา
ตยาธิปไตย ที่เป็นการปกครองของอภิชน ไม่เอาส .ว. ไม่เอาส.ส.ปาตี้ลิตส์ หรือการสรรหา ไม่เอา
กฎหมายยุบพรรค แต่ยุบนักการเมืองได้ ไม่เอา 70/30 แม้จะถอยหลังไปที่ 50/50 แต่ต้องอยู่ในหลัก
สากล และให้อำนาจตุลาการกลับไปสู่ความยุติธรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่เป็นเครื่องมือทางการเมือง และ
ไม่เอาส่วนเกิน คือศาลรัฐธรรมนูญ และปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้สถาบันกษัตริย์ของสยามประเทศ
เป็นสถาบันสูงสุด ที่ทรงไว้ซึ่งพระคุณ อย่างเช่นในอารยะประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป และไม่
ถูกนำมาอ้าง หรือใช้นำไปอิงในการต่อสู้ทำลายกันทางการเมือง
**ชี้"อภิสิทธิ์"พังเพราะตีกันเอง
นายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หาก
ได้รัฐบาลใหม่ ตามที่คาดคะเน การเมืองไทย ก็จะได้ระบบการเมืองเก่า และได้ระบบการเมืองก่อน
รัฐบาลทักษิณกลับมา เหมือนทศวรรษที่ 80-90 ขณะที่การผสมผสานของรัฐบาลก็จะเป็นแบบเก่า มี
แต่การแก่งแย่ง และฝ่ายบริหารก็จะอ่อนแอ ขณะที่รัฐธรรมนูญปี 2550 ก็จะทำให้สถาบันอำนาจเก่า
แข็งแกร่งขึ้น ทั้งกองทัพ ระบบราชการ เครือข่ายตุลาการ และสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็น
เรื่องเก่าๆ
นายฐิตินันท์ กล่าวด้วยว่า พรรคประชาธิปัตย์ ได้ประโยชน์จากการออกมาเคลื่อนไหว
ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพราะเชื่อว่า พันธมิตรฯ ต้องการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ
เพื่อให้เกิดการเมืองใหม่ โดยปฏิเสธระบบผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้องการการคานอำนาจให้มีการแต่งตั้งเพิ่ม
ขึ้น เน้นการแต่งตั้งในสภาล่างมากที่สุด ซึ่งเชื่อว่าหาก 20-30 ปีที่ผ่านมา คงทำได้ แต่ในปัจจุบันคง
จะทำได้ยาก เพราะจากความตื่นตัวของภาคชนบท
ขณะที่การเข้ามาของพรรคประชาธิปัตย์ แม้จะมีความได้เปรียบจากบุคลากร ทั้งด้าน
เศรษฐกิจ และการต่างประเทศ แต่เมื่อคู่ต่อสู้ไม่มี กองทัพ ยังพยายามที่จะอุ้มเข้าทางประตูหลัง ขณะที่
อีกฝ่ายก็กวาดทิ้ง ระบบตุลาการ และการสร้างเงื่อนไขของพันธมิตรฯ ที่ทุกฝ่ายก็อยู่ในภาวะจำยอม
ดังนั้น ตนเชื่อว่า คนที่ตีกันเองก็อาจจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มของผู้ที่ให้การสนับสนุน
แต่หากไม่เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มฝ่ายผลประโยชน์ ก็จะมีปัญหาทางกฎหมายตามมา เช่น
การยื่นตีความทางกฎหมาย ของสมาชิกภาพของ ส.ส.ระบบสัดส่วน ว่าเข้ามาร่วมโหวตนายกรัฐมนตรี
ได้ด้วยหรือไม่
นอกจากนี้ หลังมีรัฐบาลใหม่ ปัญหาจากรัฐธรรมนูญปี 2550 จะทำให้เกิดการเผชิญหน้า
และนำมาซึ่งความแตกแยกเพิ่มขึ้น ขณะที่คะแนนที่โหวตนายกรัฐมนตรีจะไม่ทิ้งห่างกันมากนัก
จะทำให้เกิดปัญหาในคะแนนที่จะสนับสนุนทั้งนโยบาย และการออกกฎหมาย
**โทษรธน.50 ตัวก่อปัญหา
นายวรเจตน์ ยังคงยืนยันว่า ปัญหาทั้งหมดเกิดจากรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่มีทางตัน และจะ
มีความพยายามที่ตีความกฎหมาย เพื่อให้เกิดภาวะสุญญากาศ และนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงกติกา
"รัฐธรรมนูญจะถูกนำมาเป็นสนามประลองกำลังทางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์ ทั้ง
ฝ่ายที่ต้องการคงรัฐธรรมนูญไว้ กลุ่มที่เกลียดนักการเมืองต้องการเปลี่ยนแปลงการเมืองใหม่ และ
กลุ่มที่ปฏิเสธรัฐธรรมนูญ”
**อ้างมี"อภิชน"จ้องทำลายปชต.
ด้านนางผาสุก พงษ์ไพจิตร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า
ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างมาก ขณะเดียวกันเกิดความเหลื่อมล้ำ
ของคนชั้นชนบท และคนระดับกลางถึงรวย มากยิ่งขึ้น คนจนถึง 20% มีจีเอ็นพี ไม่ถึง 5 % จากที่คน
รวย มีจีเอ็นพีถึง 20% ทำให้ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนของประทศใกล้เคียงกับทวีป
ลาตินอเมริกาไปแล้ว ขณะที่คนในเมืองกลุ่มน้อยที่ได้ประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ และคนระดับล่างก็
มองว่า เขาถูกดูถูกว่าไม่มีการเรียนรู้ทางการเมือง จนนำมาซึ่งความแตกแยกโดยเฉพาะความเห็นต่าง
ทางประชาธิปไตย
ขณะที่ชนชั้นอภิชน หรือชนชั้นการเมืองกลับคิดถอยหลัง ต้องการที่จะเปลี่ยนแนวคิด 1
คน 1 เสียง มาเป็นการแต่งตั้งที่มีสัดส่วนมากขึ้น และพยายามที่จะนำแนวคิดอื่นๆมาใช้ ถือว่าเป็นการ
คิดย้อนหลัง เพื่อต้องการให้มีการเข้ามาแทรกแซงการเมืองให้ได้ง่ายขึ้น
"คนส่วนใหญ่ต้องการระบบการปกครองตามหลักการประชาธิปไตย 1 คน 1 เสียง แต่ชน
ชั้นอภิชน กลับทำแบบทวนเข็มนาฬิกา ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ ทำให้เกิดช่องว่างและเข้ามา
แทรกแซงการเมืองได้"
**แก้ไขรัฐธรรมนูญคือทางออก
นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สถานการณ์?
างการเมืองขณะนี้ กำลังจะทำให้กลับไปสู่การเมืองเก่า หรือวังน้ำวน ของคณาธิปไตยอันเป็นการ
ปกครองของอภิชน โดยอภิชน เพื่ออภิชน และเชื่อว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิ
ปัตย์ จะได้เป็นายกรัฐมนตรีในรัฐบาลสูตรผสมใหม่ จากกลุ่มของนายเนวิน ชิดชอบ แต่จะบริหารบ้าน
เมืองอย่างไม่ราบรื่น และบริหารได้ในระยะเวลาช่วงสั้นๆ
นายชาญวิทย์ ยังกล่าวด้วยว่าขณะนี้อยู่ในช่วงการพักรบ และเกี้ยเซียะ ของเงินเก่า และเงิน
ใหม่ ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคพวก จะหมดอนาคตทางการเมืองตามโผของ พลังสีเหลือ
งและพลังสีเขียว ผนวกกับตุลาการธิปไตย ตามทฤษฎีอัลาคาโปน จะติดคุกหรืออยู่ต่างประเทศไป
ระยะเวลาหนึ่ง แต่ก็อาจสามารถกลับมาได้ด้วยทฤษฎีประชานิยม และการอภัยโทษ ตามทฤษฎีเอวิตา
เปรอง จากความเห็นใจของรากหญ้า นอกจากนี้ยังเชื่อว่า การนองเลือด สงครามการเมือง การจลาจล
หรือกลียุค จะเกิดขึ้นในไม่ช้า
อดีตอธิการบดี มธ. กล่าวอีกว่า ทางออกของสังคมไทยจะต้องมีการยอมรับความแตกต่าง
ที่ใม่แตกแยก ต้องมีจิตใจกว้างขวาง ไม่คับแคบ ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยกเลิกมาตราที่เป็นอำมา
ตยาธิปไตย ที่เป็นการปกครองของอภิชน ไม่เอาส .ว. ไม่เอาส.ส.ปาตี้ลิตส์ หรือการสรรหา ไม่เอา
กฎหมายยุบพรรค แต่ยุบนักการเมืองได้ ไม่เอา 70/30 แม้จะถอยหลังไปที่ 50/50 แต่ต้องอยู่ในหลัก
สากล และให้อำนาจตุลาการกลับไปสู่ความยุติธรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่เป็นเครื่องมือทางการเมือง และ
ไม่เอาส่วนเกิน คือศาลรัฐธรรมนูญ และปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้สถาบันกษัตริย์ของสยามประเทศ
เป็นสถาบันสูงสุด ที่ทรงไว้ซึ่งพระคุณ อย่างเช่นในอารยะประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป และไม่
ถูกนำมาอ้าง หรือใช้นำไปอิงในการต่อสู้ทำลายกันทางการเมือง
**ชี้"อภิสิทธิ์"พังเพราะตีกันเอง
นายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หาก
ได้รัฐบาลใหม่ ตามที่คาดคะเน การเมืองไทย ก็จะได้ระบบการเมืองเก่า และได้ระบบการเมืองก่อน
รัฐบาลทักษิณกลับมา เหมือนทศวรรษที่ 80-90 ขณะที่การผสมผสานของรัฐบาลก็จะเป็นแบบเก่า มี
แต่การแก่งแย่ง และฝ่ายบริหารก็จะอ่อนแอ ขณะที่รัฐธรรมนูญปี 2550 ก็จะทำให้สถาบันอำนาจเก่า
แข็งแกร่งขึ้น ทั้งกองทัพ ระบบราชการ เครือข่ายตุลาการ และสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็น
เรื่องเก่าๆ
นายฐิตินันท์ กล่าวด้วยว่า พรรคประชาธิปัตย์ ได้ประโยชน์จากการออกมาเคลื่อนไหว
ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพราะเชื่อว่า พันธมิตรฯ ต้องการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ
เพื่อให้เกิดการเมืองใหม่ โดยปฏิเสธระบบผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้องการการคานอำนาจให้มีการแต่งตั้งเพิ่ม
ขึ้น เน้นการแต่งตั้งในสภาล่างมากที่สุด ซึ่งเชื่อว่าหาก 20-30 ปีที่ผ่านมา คงทำได้ แต่ในปัจจุบันคง
จะทำได้ยาก เพราะจากความตื่นตัวของภาคชนบท
ขณะที่การเข้ามาของพรรคประชาธิปัตย์ แม้จะมีความได้เปรียบจากบุคลากร ทั้งด้าน
เศรษฐกิจ และการต่างประเทศ แต่เมื่อคู่ต่อสู้ไม่มี กองทัพ ยังพยายามที่จะอุ้มเข้าทางประตูหลัง ขณะที่
อีกฝ่ายก็กวาดทิ้ง ระบบตุลาการ และการสร้างเงื่อนไขของพันธมิตรฯ ที่ทุกฝ่ายก็อยู่ในภาวะจำยอม
ดังนั้น ตนเชื่อว่า คนที่ตีกันเองก็อาจจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มของผู้ที่ให้การสนับสนุน