เช้าวันจันทร์ที่ 15 ธันวาคมนี้ นับเป็นวันสำคัญทางการเมืองอีกวันหนึ่ง เพราะจะมีการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญเพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย โดยมีคู่ชิง คือ"อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กับ "พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก" ว่าที่หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน
**เกณฑ์ขั้นต่ำใครได้เสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่งของส.ส.เท่าที่มีอยู่ในสภาขณะนี้ คือเกิน 220 เสียง ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
ในขั้วประชาธิปัตย์นั้น มี ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลเดิม คือ อดีตพรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดินบางส่วน และกลุ่มเพื่อเนวิน ให้การสนับสนุน ซึ่งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ มั่นใจว่า ขณะนี้มีเสียงส.ส.ที่กอดไว้แนบอกถึง 260 เสียง
ขณะที่ฝ่ายพรรคเพื่อไทย หรือ อดีตพรรคพลังประชาชน ก็พยายามดิ้นสู้ โดยมอบหมายให้นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช เป็นผู้จัดการเดินเกมสู้ ตามแนวทางรัฐบาลเพื่อชาติ
แม้ว่าภาพที่ปรากฏตามสื่อมวลชนขณะนี้ จะชี้ไปทางขั้วประชาธิปัตย์ ว่าเป็นต่ออยู่หลายขุม แต่ทางขั้วพรรคเพื่อไทย ก็ยังหวังว่าจะพลิกเกมกลับมาชนะได้อย่างสูสี เพราะล่าสุด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้บงการเกมตัวจริง ได้สั่งสู้เต็มพิกัด ทั้งเล่ห์กล เงินตรา เพื่อยึดกุมอำนาจไว้ให้ได้
**ไม้เด็ดนอกจากการทุ่มเงินดูดกลับแล้ว พลพรรคเพื่อไทย ยังมีความหวังจากการ "โฟนอิน" ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะต่อสายเข้ามาในรายการความจริงวันนี้ ที่สนามศุภชลาศัย (13ธ.ค.)
คาดหมายกันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะพูดเพื่อเรียกคะแนนสงสาร หวังปลุกระดมให้มวลชนที่เป็นฐานเสียงของพรรคออกกดดันส.ส.ในพื้นที่ภาคอีสานและภาคเหนือ รวมทั้งกลุ่มเพื่อนเนวิน ให้หวนกลับมาสนับสนุนพรรคเพื่อไทยให้มากที่สุด
ขณะที่ส.ส.ของพรรคก็พยายามออกมาปล่อยข่าวว่า ถ้าแพ้ก็จะยุบสภา เพราะรู้ดีว่าสิ่งที่ส.ส.กลัวที่สุดก็คือการยุบสภา แต่ผู้ที่มีอำนาจยุบสภาตัวจริงคือ "ชวรัตน์ ชาญวีรกูล" รักษาการนายกรัฐมนตรี ก็ได้ออกมาประกาศชัดแล้วว่า เรื่องยุบสภา ขณะนี้มันสายไปเสียแล้ว
เป็นอันว่า เรื่องยุบสภาน่าจะเลิกกังวลกันไปได้
**ผลโหวตนายกรัฐมนตรีที่จะออกมาในเช้าวันที่ 15 ธันวาคมนี้ ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายชนะก็ตาม ถือว่าเป็นชัยชนะแค่เพียงยกแรกเท่านั้น
เพราะต้องไม่ลืมว่า เงื่อนปมที่ชวนระทึกใจต่อมาคือ ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับสถานภาพ ส.ส.สัดส่วน ของพรรคการเมืองหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรค รวมทั้งสถานภาพของ"ชัย ชิดชอบ" ในการทำหน้าที่ประธานรัฐสภา ว่าจะขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
ปมปัญหาเหล่านี้ได้มีผู้ร้องไปที่ กกต. และศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้วินิจฉัยแล้ว แต่ กกต. และศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้ชี้ขาด
ถามว่า การโหวตนายกรัฐมนตรี ทำไมไม่รอให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินเพื่อความกระจ่างเสียก่อน คำตอบคือ การชิงไวชิงพริบในการจัดตั้งรัฐบาลนั้น รอช้าอยู่ไม่ได้ เพราะทุกวินาทีที่ทอดยาวออกไป หมายถึงยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อสถานการณ์อาจพลิกผันได้ตลอดเวลา
ถามว่าทำไม กกต.ไม่รีบพิจารณาตัดสิน เพราะน่าจะรู้ว่า สถานการณ์เช่นนี้ มีความสำคัญต่อประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง มัวรออะไรอยู่
คำตอบคือ กระบวนการพิจารณาของกกต. ต้องเป็นไปตามขั้นตอน เมื่อมีการร้องเข้ามา ก็จะต้องตั้งอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อศึกษาข้อกฎหมาย และทำความเห็นเสนอ กกต.ก่อน จากนั้นกกต.จึงจะพิจารณาวินิจฉัย หากกกต.มีความเห็นให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาด ก็ต้องมีการทำความเห็นประกอบไปด้วย ไม่เหมือนกับการที่ ส.ส.หรือ ส.ว.เข้าชื่อกัน ก็สามารถส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้เลย
**ที่สำคัญคือ ความคิดเห็นในเรื่องส.ส.สัดส่วนนี้ บรรดากกต. ก็ยังมีความคิดเห็นที่ต่างกัน บางคนก็บอกว่าไม่มีปัญหา เมื่อมีการยุบพรรค ส.ส.สามารถย้ายพรรคไปสังกัดพรรคอื่นได้ภายใน 60 วัน และ ส.ส. ก็คือ ส.ส. ไม่ได้มีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ต้องเป็น ส.ส.เขต หรือ ส.ส.สัดส่วน
บางคนว่า น่าจะหมดสภาพไปตามคำสั่งยุบพรรค การจะเอาส.ส.สัดส่วนไปเพิ่มให้กับบางพรรคที่ไม่เคยมี ส.ส.สัดส่วน หรือไปอยู่ในบัญชี ส.ส.สัดส่วนของพรรคที่เต็มแล้วจะได้อย่างไร ซึ่ง ก็เป็นเรื่องที่น่าคิด
สถานภาพ ส.ส.สัดส่วนที่ว่านี้ บังเอิญไปผูกโยงกับ "ชัย ชิดชอบ" ที่เป็นประธานรัฐสภาเสียด้วย หากถึงที่สุดแล้ว ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องสถานภาพ ก็โล่งไป แต่ถ้ามีปัญหาขัดรัฐธรรมนูญขึ้นมา การเปิดสภาเพื่อโหวตนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ ย่อมต้องมีปัญหาตามมาแน่ ว่าถูกต้อง ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
**สถานภาพของนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 นี้ ก็จะมีปมให้เป็นข้อถกเถียง ตีความกันต่อไปอีก
หากถึงที่สุดแล้ว ปัญหานี้หมดข้อสงสัย โดยไม่กระทบกระเทือนถึงสถานภาพของผู้ที่ได้รับเลือกนายกรัฐมนตรี ก็ยังมีอีกด่านคือ การเลือกตั้งซ่อม แทนส.ส.ที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองของทั้ง 3 พรรค ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 11 มกราคมที่จะถึงนี้ อีก 29 ที่นั่ง
หากผลการเลือกนายกรัฐมนตรีชนะกันไม่กี่เสียง แต่เมื่อมีการเลือกตั้งซ่อม ขั้วที่แพ้การโหวตนายกรัฐมนตรี กลับมีเสียงส.ส.เพิ่มขึ้นมารวมแล้วมีมากกว่าฝ่ายรัฐบาล ตรงนี้ก็ยุ่งแน่
**ดังนั้นปมปัญหาเหล่านี้ จะติดตามไปกวนใจนายกรัฐมนตรีคนใหม่อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
**เกณฑ์ขั้นต่ำใครได้เสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่งของส.ส.เท่าที่มีอยู่ในสภาขณะนี้ คือเกิน 220 เสียง ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
ในขั้วประชาธิปัตย์นั้น มี ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลเดิม คือ อดีตพรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดินบางส่วน และกลุ่มเพื่อเนวิน ให้การสนับสนุน ซึ่งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ มั่นใจว่า ขณะนี้มีเสียงส.ส.ที่กอดไว้แนบอกถึง 260 เสียง
ขณะที่ฝ่ายพรรคเพื่อไทย หรือ อดีตพรรคพลังประชาชน ก็พยายามดิ้นสู้ โดยมอบหมายให้นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช เป็นผู้จัดการเดินเกมสู้ ตามแนวทางรัฐบาลเพื่อชาติ
แม้ว่าภาพที่ปรากฏตามสื่อมวลชนขณะนี้ จะชี้ไปทางขั้วประชาธิปัตย์ ว่าเป็นต่ออยู่หลายขุม แต่ทางขั้วพรรคเพื่อไทย ก็ยังหวังว่าจะพลิกเกมกลับมาชนะได้อย่างสูสี เพราะล่าสุด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้บงการเกมตัวจริง ได้สั่งสู้เต็มพิกัด ทั้งเล่ห์กล เงินตรา เพื่อยึดกุมอำนาจไว้ให้ได้
**ไม้เด็ดนอกจากการทุ่มเงินดูดกลับแล้ว พลพรรคเพื่อไทย ยังมีความหวังจากการ "โฟนอิน" ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะต่อสายเข้ามาในรายการความจริงวันนี้ ที่สนามศุภชลาศัย (13ธ.ค.)
คาดหมายกันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะพูดเพื่อเรียกคะแนนสงสาร หวังปลุกระดมให้มวลชนที่เป็นฐานเสียงของพรรคออกกดดันส.ส.ในพื้นที่ภาคอีสานและภาคเหนือ รวมทั้งกลุ่มเพื่อนเนวิน ให้หวนกลับมาสนับสนุนพรรคเพื่อไทยให้มากที่สุด
ขณะที่ส.ส.ของพรรคก็พยายามออกมาปล่อยข่าวว่า ถ้าแพ้ก็จะยุบสภา เพราะรู้ดีว่าสิ่งที่ส.ส.กลัวที่สุดก็คือการยุบสภา แต่ผู้ที่มีอำนาจยุบสภาตัวจริงคือ "ชวรัตน์ ชาญวีรกูล" รักษาการนายกรัฐมนตรี ก็ได้ออกมาประกาศชัดแล้วว่า เรื่องยุบสภา ขณะนี้มันสายไปเสียแล้ว
เป็นอันว่า เรื่องยุบสภาน่าจะเลิกกังวลกันไปได้
**ผลโหวตนายกรัฐมนตรีที่จะออกมาในเช้าวันที่ 15 ธันวาคมนี้ ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายชนะก็ตาม ถือว่าเป็นชัยชนะแค่เพียงยกแรกเท่านั้น
เพราะต้องไม่ลืมว่า เงื่อนปมที่ชวนระทึกใจต่อมาคือ ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับสถานภาพ ส.ส.สัดส่วน ของพรรคการเมืองหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรค รวมทั้งสถานภาพของ"ชัย ชิดชอบ" ในการทำหน้าที่ประธานรัฐสภา ว่าจะขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
ปมปัญหาเหล่านี้ได้มีผู้ร้องไปที่ กกต. และศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้วินิจฉัยแล้ว แต่ กกต. และศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้ชี้ขาด
ถามว่า การโหวตนายกรัฐมนตรี ทำไมไม่รอให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินเพื่อความกระจ่างเสียก่อน คำตอบคือ การชิงไวชิงพริบในการจัดตั้งรัฐบาลนั้น รอช้าอยู่ไม่ได้ เพราะทุกวินาทีที่ทอดยาวออกไป หมายถึงยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อสถานการณ์อาจพลิกผันได้ตลอดเวลา
ถามว่าทำไม กกต.ไม่รีบพิจารณาตัดสิน เพราะน่าจะรู้ว่า สถานการณ์เช่นนี้ มีความสำคัญต่อประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง มัวรออะไรอยู่
คำตอบคือ กระบวนการพิจารณาของกกต. ต้องเป็นไปตามขั้นตอน เมื่อมีการร้องเข้ามา ก็จะต้องตั้งอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อศึกษาข้อกฎหมาย และทำความเห็นเสนอ กกต.ก่อน จากนั้นกกต.จึงจะพิจารณาวินิจฉัย หากกกต.มีความเห็นให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาด ก็ต้องมีการทำความเห็นประกอบไปด้วย ไม่เหมือนกับการที่ ส.ส.หรือ ส.ว.เข้าชื่อกัน ก็สามารถส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้เลย
**ที่สำคัญคือ ความคิดเห็นในเรื่องส.ส.สัดส่วนนี้ บรรดากกต. ก็ยังมีความคิดเห็นที่ต่างกัน บางคนก็บอกว่าไม่มีปัญหา เมื่อมีการยุบพรรค ส.ส.สามารถย้ายพรรคไปสังกัดพรรคอื่นได้ภายใน 60 วัน และ ส.ส. ก็คือ ส.ส. ไม่ได้มีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ต้องเป็น ส.ส.เขต หรือ ส.ส.สัดส่วน
บางคนว่า น่าจะหมดสภาพไปตามคำสั่งยุบพรรค การจะเอาส.ส.สัดส่วนไปเพิ่มให้กับบางพรรคที่ไม่เคยมี ส.ส.สัดส่วน หรือไปอยู่ในบัญชี ส.ส.สัดส่วนของพรรคที่เต็มแล้วจะได้อย่างไร ซึ่ง ก็เป็นเรื่องที่น่าคิด
สถานภาพ ส.ส.สัดส่วนที่ว่านี้ บังเอิญไปผูกโยงกับ "ชัย ชิดชอบ" ที่เป็นประธานรัฐสภาเสียด้วย หากถึงที่สุดแล้ว ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องสถานภาพ ก็โล่งไป แต่ถ้ามีปัญหาขัดรัฐธรรมนูญขึ้นมา การเปิดสภาเพื่อโหวตนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ ย่อมต้องมีปัญหาตามมาแน่ ว่าถูกต้อง ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
**สถานภาพของนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 นี้ ก็จะมีปมให้เป็นข้อถกเถียง ตีความกันต่อไปอีก
หากถึงที่สุดแล้ว ปัญหานี้หมดข้อสงสัย โดยไม่กระทบกระเทือนถึงสถานภาพของผู้ที่ได้รับเลือกนายกรัฐมนตรี ก็ยังมีอีกด่านคือ การเลือกตั้งซ่อม แทนส.ส.ที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองของทั้ง 3 พรรค ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 11 มกราคมที่จะถึงนี้ อีก 29 ที่นั่ง
หากผลการเลือกนายกรัฐมนตรีชนะกันไม่กี่เสียง แต่เมื่อมีการเลือกตั้งซ่อม ขั้วที่แพ้การโหวตนายกรัฐมนตรี กลับมีเสียงส.ส.เพิ่มขึ้นมารวมแล้วมีมากกว่าฝ่ายรัฐบาล ตรงนี้ก็ยุ่งแน่
**ดังนั้นปมปัญหาเหล่านี้ จะติดตามไปกวนใจนายกรัฐมนตรีคนใหม่อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้