เหตุการณ์เปลี่ยนขั้วทางการเมืองชนิดที่ได้เห็นภาพที่ไม่เคยคิดว่าจะได้เห็นคือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะกับนายเนวิน ชิดชอบกอดกันเป็นแฝดสยามนั้น ทำให้ผมเกิดแรงบันดาลใจที่จะเขียนภาคต่อของข้อเขียนที่ได้นำเสนอไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แม้จะยังไม่มีนักวิชาการกลุ่มไหนจากสถาบันใดขานรับเข้ามาเสนอทำงานวิจัยเพื่อค้นคว้า “ความเป็นพันธมิตรฯ” ก็ตามที
เพราะปรากฏการณ์เปลี่ยนขั้วทางการเมืองครั้งนี้คือชัยชนะของพันธมิตรฯโดยแท้ !
เป็น “ชัยชนะ” ที่หนักแน่นและยั่งยืนด้วยซ้ำ !!
ไม่ใช่ชนะเพราะพรรคประชาธิปัตย์สามารถพลิกกลับมาเป็นขั้วจัดตั้งรัฐบาลได้ ตามที่คนรู้ไม่จริงรู้ไม่หมดชอบกล่าวหาว่าพันธมิตรฯกับพรรคประชาธิปัตย์เป็นพวกเดียวกัน คิดเหมือนกัน และเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อประโยชน์ของกันและกัน บางคนในกลุ่มนี้ถึงขนาดออกโรงต่อต้านล่วงหน้าตีกันไม่ให้อาจารย์สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ หนึ่งในแกนนำพันธมิตรฯ เข้าไปเป็นรัฐมนตรี
หากพรรคประชาธิปัตย์เปลี่ยนขั้วทางการเมืองได้สำเร็จ มองอย่างสุดโต่งแล้ว ถือเป็นความพ่ายแพ้ของพันธมิตรฯด้วยซ้ำ
เพราะนี่คือการทำให้ “การเมืองเก่า” เดินหน้าต่อไปได้ โดยจะมีผู้คนบางส่วนหลงคิดว่านี่คือจุดเริ่มต้นของ “การเมืองใหม่” !
การเปลี่ยนขั้วครั้งนี้เป็นการเมืองเก่าสมบูรณ์แบบ ที่นอกจากจะทำให้ระบบการเมืองไทยเปลือยตัวเองล่อนจ้อนแล้ว ยังลากเอาผู้บัญชาการทหารบก เสนาธิการทหารบก และอดีตผู้บัญชาการทหารบก เข้ามาร่วมเปลือยกายด้วยในระดับสำคัญ เพราะท่ามกลางประโยคเท่ “การเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง” ท่านได้เปิดบ้าน “ให้คำปรึกษา” แก่บรรดาแกนนำพรรคการเมืองตัวจริงที่ร่วมปฏิบัติการเปลี่ยนขั้วในครั้งนี้เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2551 ก่อนที่พวกเขาจะไปแถลงข่าวช็อคการเมืองไทยที่โรงแรมสุโขทัย รายละเอียดของปฏิบัติการที่ควรจะ “ลับ” แต่ดัน “รั่ว” ออกมาให้สื่อหลายค่ายหลากสำนักจับได้แม้กระทั่งภาพเคลื่อนไหวจนต้องยอมรับในระดับหนึ่งนี้หาอ่านได้ทั่วไป แต่ที่ผมอยากจะแนะนำคือข้อเขียนที่ให้ภาพรวมได้งามหมดจดของ “ประชา บูรพาวิถี” ในนสพ.กรุงเทพธุรกิจฉบับวันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม 2551 ที่แค่ชื่อเรื่องก็บอกเล่าไปได้เยอะแล้ว...
“ปฏิวัติแบบป๊อก ๆ”
โดยเฉพาะช็อตเด็ดที่ใช้อารมณ์ขันแพรวพราวเปิดเผยสัมพันธ์ของคนชื่อเล่น ป.ปลา เหมือนกัน 3 คน
“ความสัมพันธ์ของ ‘ป๊อก-โป๋-เป็ด’ จึงแน่นปึ้ก โดยที่คนภายนอกไม่ค่อยทราบมากนัก...”
ผมไม่ปฏิเสธว่าทั้งพรรคประชาธิปัตย์และป.ป๊อกกับคณะว่าล้วนมีเจตนาดี ต้องการให้การเมืองไทยเปลี่ยนแปลงจากภายในระบบ เพื่อจะได้ไม่เสี่ยงต่อการนองเลือด พลันที่มีข่าวเปลี่ยนขั้วออกมาเมื่อเย็นค่ำวันที่ 6 ธันวาคม 2551 บรรยากาศโดยทั่วไปก็ผ่อนคลายขึ้นทันตาเห็น แต่ใช่หรือไม่ว่านี่เป็นเพียงเรื่องชั่วคราวเท่านั้น ยังมีปัญหาตามมาอีกมาก
และที่สำคัญ มันเป็นปฏิบัติการที่ค่อนข้างย้อนยุคอยู่ไม่ใช่น้อย
ย้อนยุคของพรรคประชาธิปัตย์ที่เคยร่วมรัฐบาลพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์อย่างถาวรตลอด 8 ปี
ย้อนยุคคมช.ที่คิดจะเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยด้วยวิธีการสนับสนุนนักการเมืองในระบบจำนวนหนึ่งให้รวมกลุ่มกันจัดตั้งรัฐบาล อันเป็นวิธีการที่ล้มเหลวมาแล้ว
นี่คือ “การเมืองเก่า” ที่พันธมิตรฯ ปฏิเสธมาโดยตลอดอย่างหนักแน่นและเปิดเผย !
พันธมิตรฯอาจจะมีจุดอ่อนอยู่อย่างน้อย 2 ประการ ประการหนึ่งคือความไม่ชัดเจนเรื่องรูปธรรมของ “การเมืองใหม่” จนถูกโจมตีว่าเป็นระบบ 70 : 30 อีกประการหนึ่งคือการสนับสนุนให้ทหารเข้ามาร่วมกับภาคประชาชนในการปฏิรูปการเมืองครั้งใหญ่ จนถูกโจมตีว่าออกมาเป็นหน้าม้าเพื่อสร้างเงื่อนไขให้ทหารปฏิวัติ แต่ก็เป็นจุดอ่อนที่สถานการณ์การเมืองในขณะนี้และในอนาคตข้างหน้าจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่านอกจากจะไม่ใช่จุดอ่อนแล้ว ยังอาจจะแปรเป็นจุดแข็งด้วยซ้ำ
พันธมิตรฯคงอยากเห็นพรรคประชาธิปัตย์เคลื่อนไหวให้การเมืองในระบบไปถึงทางตัน หรืออย่างน้อยก็ทำความถูกความผิดให้กระจ่างในกรณีผลทางกฎหมายของการยุบพรรค มากกว่าจะกระดี้กระด้าแข่งกันจัดตั้งรัฐบาล
พันธมิตรฯคงอยากเห็นผู้บัญชาการทหารบกเข้าร่วมขบวน “ปฏิวัติประชาธิปไตย” กับมวลชน มากกว่า “ปฏิวัติแบบป๊อก ๆ”อย่างที่เห็น
แม้เป้าหมายจะไม่สัมฤทธิผล แต่ผมก็ยังยืนยันว่าพันธมิตรฯประสบชัยชนะอย่างหนักแน่นและยั่งยืน !
เพราะท่ามกลางมายาภาพของลัทธิเลือกตั้งธิปไตย พันธมิตรฯได้ลงหลักปักฐานแนวคิดการเมืองใหม่ไว้มากแล้วในการชุมนุมปักหลักพักค้าง 193 วัน
พันธมิตรฯในวันนี้มีอะไรหลายอย่างที่พรรคการเมืองในระบบและองค์กรเคลื่อนทางการเมืองเท่าที่มีอยู่ไม่มีและไม่เคยมี
มีโทรทัศน์เป็นของตนเอง (ASTV) แม้จะเป็นเพียงโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
มีวิทยุเป็นของตัวเอง (FM 97.75 Megahertz) แม้จะเป็นเพียงวิทยุชุมชนรับฟังได้ในวงจำกัด
มีหนังสือพิมพ์รายวันเป็นของตนเอง (ASTV ผู้จัดการรายวัน) แม้ยอดพิมพ์จะไม่สูงเท่าไทยรัฐ
มีหน่วยศิลปวัฒนธรรมของตนเองที่ทำหน้าที่ผลิตทั้งบทเพลงและการแสดงในรูปแบบต่าง ๆ แม้จะยังยิ่งใหญ่เท่าแกรมมี่ฯหรืออาร์เอสฯ
มีคนศรัทธาอยู่ทั่วประเทศที่พร้อมจะขานรับปฏิบัติตามมติของแกนนำ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหว หรือการร่วมระดมทุน แม้จะไม่มีระบบสมาชิกเหมือนพรรคการเมืองที่ชอบอ้างว่า 16 ล้าน 19 ล้าน แต่จากคาดการณ์ได้ว่าแตะหลัก 10 ล้านแน่นอน
มี “พรรคการเมือง” ไหนบ้างในประเทศนี้ ไม่ว่าปัจจุบันหรืออดีต “มีเครื่องมือ” สมบูรณ์เท่าพันธมิตรฯ ?
คำถามต่อไปก็คือก้าวย่างต่อไปของกลุ่มการเมืองที่มีเครื่องไม้เครื่องมือมากที่สุดกลุ่มนี้
ก้าวย่างที่นอกเหนือจากการชุมนุมเดินขบวน
ก้าวย่างที่นอกเหนือจากการเป่านกหวีดระดมพลและประกาศว่าม้วนเดียวจบ
พูดตามตรง – ผมขอเสนอให้พันธมิตรฯพิจารณาเรื่องการก่อตั้ง “พรรคการเมือง” ขึ้นมาอยู่ภายในเครือข่าย !
พูดง่าย ๆ ให้ฟังยาก ๆ ก็คือ...
“พันธมิตรฯ” จะต้องไม่ใช่ “พรรคพันธมิตรฯ” แต่ “พรรคพันธมิตรฯ” จะเป็นส่วนหนึ่งบทบาทหนึ่งในการต่อสู้ทางการเมืองของ “พันธมิตรฯ” โดยมีหลักการว่า...
ไม่ใช่เข้าไปสันถวะกับการเมืองเก่า แต่เข้าไปประกาศการเมืองใหม่จากใจกลางของการเมืองเก่า !
เพราะปรากฏการณ์เปลี่ยนขั้วทางการเมืองครั้งนี้คือชัยชนะของพันธมิตรฯโดยแท้ !
เป็น “ชัยชนะ” ที่หนักแน่นและยั่งยืนด้วยซ้ำ !!
ไม่ใช่ชนะเพราะพรรคประชาธิปัตย์สามารถพลิกกลับมาเป็นขั้วจัดตั้งรัฐบาลได้ ตามที่คนรู้ไม่จริงรู้ไม่หมดชอบกล่าวหาว่าพันธมิตรฯกับพรรคประชาธิปัตย์เป็นพวกเดียวกัน คิดเหมือนกัน และเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อประโยชน์ของกันและกัน บางคนในกลุ่มนี้ถึงขนาดออกโรงต่อต้านล่วงหน้าตีกันไม่ให้อาจารย์สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ หนึ่งในแกนนำพันธมิตรฯ เข้าไปเป็นรัฐมนตรี
หากพรรคประชาธิปัตย์เปลี่ยนขั้วทางการเมืองได้สำเร็จ มองอย่างสุดโต่งแล้ว ถือเป็นความพ่ายแพ้ของพันธมิตรฯด้วยซ้ำ
เพราะนี่คือการทำให้ “การเมืองเก่า” เดินหน้าต่อไปได้ โดยจะมีผู้คนบางส่วนหลงคิดว่านี่คือจุดเริ่มต้นของ “การเมืองใหม่” !
การเปลี่ยนขั้วครั้งนี้เป็นการเมืองเก่าสมบูรณ์แบบ ที่นอกจากจะทำให้ระบบการเมืองไทยเปลือยตัวเองล่อนจ้อนแล้ว ยังลากเอาผู้บัญชาการทหารบก เสนาธิการทหารบก และอดีตผู้บัญชาการทหารบก เข้ามาร่วมเปลือยกายด้วยในระดับสำคัญ เพราะท่ามกลางประโยคเท่ “การเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง” ท่านได้เปิดบ้าน “ให้คำปรึกษา” แก่บรรดาแกนนำพรรคการเมืองตัวจริงที่ร่วมปฏิบัติการเปลี่ยนขั้วในครั้งนี้เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2551 ก่อนที่พวกเขาจะไปแถลงข่าวช็อคการเมืองไทยที่โรงแรมสุโขทัย รายละเอียดของปฏิบัติการที่ควรจะ “ลับ” แต่ดัน “รั่ว” ออกมาให้สื่อหลายค่ายหลากสำนักจับได้แม้กระทั่งภาพเคลื่อนไหวจนต้องยอมรับในระดับหนึ่งนี้หาอ่านได้ทั่วไป แต่ที่ผมอยากจะแนะนำคือข้อเขียนที่ให้ภาพรวมได้งามหมดจดของ “ประชา บูรพาวิถี” ในนสพ.กรุงเทพธุรกิจฉบับวันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม 2551 ที่แค่ชื่อเรื่องก็บอกเล่าไปได้เยอะแล้ว...
“ปฏิวัติแบบป๊อก ๆ”
โดยเฉพาะช็อตเด็ดที่ใช้อารมณ์ขันแพรวพราวเปิดเผยสัมพันธ์ของคนชื่อเล่น ป.ปลา เหมือนกัน 3 คน
“ความสัมพันธ์ของ ‘ป๊อก-โป๋-เป็ด’ จึงแน่นปึ้ก โดยที่คนภายนอกไม่ค่อยทราบมากนัก...”
ผมไม่ปฏิเสธว่าทั้งพรรคประชาธิปัตย์และป.ป๊อกกับคณะว่าล้วนมีเจตนาดี ต้องการให้การเมืองไทยเปลี่ยนแปลงจากภายในระบบ เพื่อจะได้ไม่เสี่ยงต่อการนองเลือด พลันที่มีข่าวเปลี่ยนขั้วออกมาเมื่อเย็นค่ำวันที่ 6 ธันวาคม 2551 บรรยากาศโดยทั่วไปก็ผ่อนคลายขึ้นทันตาเห็น แต่ใช่หรือไม่ว่านี่เป็นเพียงเรื่องชั่วคราวเท่านั้น ยังมีปัญหาตามมาอีกมาก
และที่สำคัญ มันเป็นปฏิบัติการที่ค่อนข้างย้อนยุคอยู่ไม่ใช่น้อย
ย้อนยุคของพรรคประชาธิปัตย์ที่เคยร่วมรัฐบาลพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์อย่างถาวรตลอด 8 ปี
ย้อนยุคคมช.ที่คิดจะเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยด้วยวิธีการสนับสนุนนักการเมืองในระบบจำนวนหนึ่งให้รวมกลุ่มกันจัดตั้งรัฐบาล อันเป็นวิธีการที่ล้มเหลวมาแล้ว
นี่คือ “การเมืองเก่า” ที่พันธมิตรฯ ปฏิเสธมาโดยตลอดอย่างหนักแน่นและเปิดเผย !
พันธมิตรฯอาจจะมีจุดอ่อนอยู่อย่างน้อย 2 ประการ ประการหนึ่งคือความไม่ชัดเจนเรื่องรูปธรรมของ “การเมืองใหม่” จนถูกโจมตีว่าเป็นระบบ 70 : 30 อีกประการหนึ่งคือการสนับสนุนให้ทหารเข้ามาร่วมกับภาคประชาชนในการปฏิรูปการเมืองครั้งใหญ่ จนถูกโจมตีว่าออกมาเป็นหน้าม้าเพื่อสร้างเงื่อนไขให้ทหารปฏิวัติ แต่ก็เป็นจุดอ่อนที่สถานการณ์การเมืองในขณะนี้และในอนาคตข้างหน้าจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่านอกจากจะไม่ใช่จุดอ่อนแล้ว ยังอาจจะแปรเป็นจุดแข็งด้วยซ้ำ
พันธมิตรฯคงอยากเห็นพรรคประชาธิปัตย์เคลื่อนไหวให้การเมืองในระบบไปถึงทางตัน หรืออย่างน้อยก็ทำความถูกความผิดให้กระจ่างในกรณีผลทางกฎหมายของการยุบพรรค มากกว่าจะกระดี้กระด้าแข่งกันจัดตั้งรัฐบาล
พันธมิตรฯคงอยากเห็นผู้บัญชาการทหารบกเข้าร่วมขบวน “ปฏิวัติประชาธิปไตย” กับมวลชน มากกว่า “ปฏิวัติแบบป๊อก ๆ”อย่างที่เห็น
แม้เป้าหมายจะไม่สัมฤทธิผล แต่ผมก็ยังยืนยันว่าพันธมิตรฯประสบชัยชนะอย่างหนักแน่นและยั่งยืน !
เพราะท่ามกลางมายาภาพของลัทธิเลือกตั้งธิปไตย พันธมิตรฯได้ลงหลักปักฐานแนวคิดการเมืองใหม่ไว้มากแล้วในการชุมนุมปักหลักพักค้าง 193 วัน
พันธมิตรฯในวันนี้มีอะไรหลายอย่างที่พรรคการเมืองในระบบและองค์กรเคลื่อนทางการเมืองเท่าที่มีอยู่ไม่มีและไม่เคยมี
มีโทรทัศน์เป็นของตนเอง (ASTV) แม้จะเป็นเพียงโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
มีวิทยุเป็นของตัวเอง (FM 97.75 Megahertz) แม้จะเป็นเพียงวิทยุชุมชนรับฟังได้ในวงจำกัด
มีหนังสือพิมพ์รายวันเป็นของตนเอง (ASTV ผู้จัดการรายวัน) แม้ยอดพิมพ์จะไม่สูงเท่าไทยรัฐ
มีหน่วยศิลปวัฒนธรรมของตนเองที่ทำหน้าที่ผลิตทั้งบทเพลงและการแสดงในรูปแบบต่าง ๆ แม้จะยังยิ่งใหญ่เท่าแกรมมี่ฯหรืออาร์เอสฯ
มีคนศรัทธาอยู่ทั่วประเทศที่พร้อมจะขานรับปฏิบัติตามมติของแกนนำ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหว หรือการร่วมระดมทุน แม้จะไม่มีระบบสมาชิกเหมือนพรรคการเมืองที่ชอบอ้างว่า 16 ล้าน 19 ล้าน แต่จากคาดการณ์ได้ว่าแตะหลัก 10 ล้านแน่นอน
มี “พรรคการเมือง” ไหนบ้างในประเทศนี้ ไม่ว่าปัจจุบันหรืออดีต “มีเครื่องมือ” สมบูรณ์เท่าพันธมิตรฯ ?
คำถามต่อไปก็คือก้าวย่างต่อไปของกลุ่มการเมืองที่มีเครื่องไม้เครื่องมือมากที่สุดกลุ่มนี้
ก้าวย่างที่นอกเหนือจากการชุมนุมเดินขบวน
ก้าวย่างที่นอกเหนือจากการเป่านกหวีดระดมพลและประกาศว่าม้วนเดียวจบ
พูดตามตรง – ผมขอเสนอให้พันธมิตรฯพิจารณาเรื่องการก่อตั้ง “พรรคการเมือง” ขึ้นมาอยู่ภายในเครือข่าย !
พูดง่าย ๆ ให้ฟังยาก ๆ ก็คือ...
“พันธมิตรฯ” จะต้องไม่ใช่ “พรรคพันธมิตรฯ” แต่ “พรรคพันธมิตรฯ” จะเป็นส่วนหนึ่งบทบาทหนึ่งในการต่อสู้ทางการเมืองของ “พันธมิตรฯ” โดยมีหลักการว่า...
ไม่ใช่เข้าไปสันถวะกับการเมืองเก่า แต่เข้าไปประกาศการเมืองใหม่จากใจกลางของการเมืองเก่า !