ASTVผู้จัดการรายวัน - หลังหารือร่วมกัน บิ๊ก ธปท.เผยปีหน้าแบงก์พาณิชย์เน้นดูแลสภาพคล่อง หวั่นเงินฝากไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เหตุเอกชนกลับมาขอกู้ในประเทศมากขึ้น พร้อมห่วงปัญหาแบงก์รีไฟแนนซ์หนี้ ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าระยะยาวอาจหายไป ส่วนดอกเบี้ยนโยบายมีโอกาสผ่อนคลายต่อ เผยหลังปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย 1% คนหันมาลงทุนพันธบัตรมากขึ้น
เมื่อวานนี้ (9 ธ.ค.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เชิญฝ่ายบริหารเงินของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย ซึ่งประกอบด้วยธนาคารพาณิชย์ไทยจำนวน 6 แห่งมาร่วมหารือและแสดงความคิดเห็นหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1% รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาดการเงินและภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันและอนาคต
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท.เปิดเผยว่า ในการหารือร่วมกันระหว่าง ธปท.ฝ่ายบริหารเงินของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย ซึ่งส่วนใหญ่มองว่าการดำเนินนโยบายการเงินด้านอัตราดอกเบี้ยจะมีแนวทางการผ่อนคลายมากขึ้นและเป็นความพยายามของธปท.ที่จะใช้วิธีการลดอัตราดอกเบี้ยแบบแรงๆ ในช่วงต้น แต่ ธปท.ได้ให้ความคิดเห็นว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยในอนาคตจะต้องพิจารณาถึงเครื่องชี้เศรษฐกิจต่างๆ ที่จะเพิ่มขึ้น รวมทั้งรอความชัดเจนในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่
นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารเงินของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยยังมองว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะแย่ลงหรือแทบไม่ขยายตัว ทำให้มีความเป็นห่วงเรื่องเป้าหมายเงินฝากที่อาจไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องในระบบก็ยังมีอยู่มาก และอาจมีการใช้สภาพคล่องผ่านการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งขณะนี้มีสภาพคล่องสูง และการกู้ยืมอาจจะต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น
จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและรายได้การส่งออกที่น้อยลง
“การปรับลดเครดิตของประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์บางแห่งนั้น ธปท.เชื่อว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยและภาคการเงินยังดีอยู่ แม้จะเจอเหตุการณ์ผิดปกติบ้างจากปัญหาการเมือง แต่ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคการเงินยังไม่มีปัญหาอะไร”
อย่างไรก็ตามธนาคารพาณิชย์ยืนยันว่า แม้ในช่วงที่ผ่านมาจะระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้มีการปรับลดวงเงินการให้สินเชื่อแก่ลูกค้า แต่กลับดูรายละเอียดเรื่องเครดิตไลน์ อายุการกู้ และธุรกิจของลูกค้าที่เข้ามากู้มากขึ้น ซึ่งหากมีความเสี่ยงมากก็จะมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ
“การที่แบงก์พาณิชย์บางแห่งเริ่มทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้แล้วนั้น เราเชื่อว่าเป็นการทยอยปรับลด เพื่อรักษาสภาพคล่องของแต่ละสถาบันการเงิน ซึ่งกรณีที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 1% และเงินกู้น้อยกว่า คือ 0.5% แบงก์ได้ให้เหตุผลว่าในช่วงต้นปีที่ผ่านมาต้นทุนเงินฝากสูงกว่า อย่างไรก็ตามมองว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะทยอยลงอีก แม้จะขาดรายได้ แต่แบงก์จะหารายได้จากด้านอื่นทดแทนนอกเหนือจากการใช้จ่ายและการลงทุน คือ การลงทุนในพันธบัตรหรือหุ้น เพื่อให้เกิดสภาพคล่อง”
นางสุชาดากล่าวว่า หลังจากที่ กนง.มีการตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1% ธปท.ได้มีการสำรวจตลาดการเงิน ซึ่งพบว่า การลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวส่งผลให้มีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ด้านค่าเงินบาทจากเดิมที่เป็นห่วงว่าหากลดดอกเบี้ยนโยบายลงเยอะจะส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยกับต่างประเทศห่างกันมากนั้นและกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าเกินไป แต่ผลไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะประเทศอื่นมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปก่อนหน้านี้และอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงมากกว่าไทย อาทิ สวีเดนปรับลด 1.75% อังกฤษและอินเดียที่ต่างกับปรับลดลง 1% รวมถึงกลุ่มสหภาพยุโรป 0.75% นอกจากนี้คาดการณ์ว่าการปรับดอกเบี้ยจะช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น โดยไม่ได้รับแรงกดดันจากเงินเฟ้อมากและช่วยอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนตัวอยู่ในขณะนี้
ขณะที่ราคาสินทรัพย์ต่างๆ ปรับตัวดีขึ้นทั้งราคาพันธบัตรและราคาหุ้น โดยขณะนี้ในตลาดการเงิน โดยเฉพาะผลตอบแทนตลาดพันธบัตรปรับตัวลดลงมาก รวมถึง Swap Point โดยผลตอบแทนพันธบัตรเฉลี่ยประมาณ 20-30% แต่ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับลดลงเยอะเกือบ 100% ซึ่งภาพเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าคนทั่วไปเริ่มหันมาลงทุนในตลาดพันธบัตรระยะยาวมากขึ้นโดยที่ไม่ได้ห่วงเรื่องอัตราเงินเฟ้อ ทำให้การออกพันธบัตรของรัฐบาลมีต้นทุนถูกลงประมาณ 0.3-0.4% เช่นเดียวกับเอกชนที่แม้ความเสี่ยงที่สูงขึ้น แต่เมื่อผลตอบแทนพันธบัตรลดลง ทำให้โดยรวมแล้วต้นทุนในการออกพันธบัตรถูกลง โดยเฉพาะบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่อนาคตอาจหันมาพึ่งแห่งเงินกู้ในประเทศมากขึ้นจากเดิมที่พึ่งพาในต่างประเทศ
นางสุชาดา กล่าวว่า สำหรับการเตรียมความพร้อมของธนาคารพาณิชย์ไทยในปีหน้านั้นมองว่าเงินฝากยังคงเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญทั้งในระยะยาวและมีความมั่นคงสูง ทำให้ในระยะต่อไปบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่เดิมมีการพึ่งพาเงินกู้ต่างประเทศอาจหันมาขอกู้ในประเทศมากขึ้น จึงมีบางฝ่ายห่วงว่าสภาพคล่องในระบบจะลดลง แต่เท่าที่ ธปท.สำรวจดูระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีหนี้ต่างประเทศทั้งระบบมีน้อยประมาณ 7 พันล้านเหรียญ ซึ่งส่วนนี้ประมาณ 3-4 พันล้านเหรียญ เป็นหนี้ระยะสั้น
“เมื่อมีการรีไฟแนนซ์หนี้เก่าสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (สว็อป) หนี้ระยะยาวอาจหายไป เพราะตลาดโลกยังไม่นิ่ง ทำให้การคิดผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ ของแบงก์พาณิชย์ไทยขณะนี้ยังไม่มากนัก ประกอบกับแต่ละสถาบันการเงินหันมาดูแลสภาพคล่องตัวเองทั้งการลงทุนระยะสั้นและการปล่อยกู้ที่ระมัดระวังมากขึ้น”
เมื่อวานนี้ (9 ธ.ค.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เชิญฝ่ายบริหารเงินของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย ซึ่งประกอบด้วยธนาคารพาณิชย์ไทยจำนวน 6 แห่งมาร่วมหารือและแสดงความคิดเห็นหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1% รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาดการเงินและภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันและอนาคต
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท.เปิดเผยว่า ในการหารือร่วมกันระหว่าง ธปท.ฝ่ายบริหารเงินของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย ซึ่งส่วนใหญ่มองว่าการดำเนินนโยบายการเงินด้านอัตราดอกเบี้ยจะมีแนวทางการผ่อนคลายมากขึ้นและเป็นความพยายามของธปท.ที่จะใช้วิธีการลดอัตราดอกเบี้ยแบบแรงๆ ในช่วงต้น แต่ ธปท.ได้ให้ความคิดเห็นว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยในอนาคตจะต้องพิจารณาถึงเครื่องชี้เศรษฐกิจต่างๆ ที่จะเพิ่มขึ้น รวมทั้งรอความชัดเจนในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่
นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารเงินของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยยังมองว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะแย่ลงหรือแทบไม่ขยายตัว ทำให้มีความเป็นห่วงเรื่องเป้าหมายเงินฝากที่อาจไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องในระบบก็ยังมีอยู่มาก และอาจมีการใช้สภาพคล่องผ่านการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งขณะนี้มีสภาพคล่องสูง และการกู้ยืมอาจจะต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น
จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและรายได้การส่งออกที่น้อยลง
“การปรับลดเครดิตของประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์บางแห่งนั้น ธปท.เชื่อว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยและภาคการเงินยังดีอยู่ แม้จะเจอเหตุการณ์ผิดปกติบ้างจากปัญหาการเมือง แต่ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคการเงินยังไม่มีปัญหาอะไร”
อย่างไรก็ตามธนาคารพาณิชย์ยืนยันว่า แม้ในช่วงที่ผ่านมาจะระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้มีการปรับลดวงเงินการให้สินเชื่อแก่ลูกค้า แต่กลับดูรายละเอียดเรื่องเครดิตไลน์ อายุการกู้ และธุรกิจของลูกค้าที่เข้ามากู้มากขึ้น ซึ่งหากมีความเสี่ยงมากก็จะมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ
“การที่แบงก์พาณิชย์บางแห่งเริ่มทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้แล้วนั้น เราเชื่อว่าเป็นการทยอยปรับลด เพื่อรักษาสภาพคล่องของแต่ละสถาบันการเงิน ซึ่งกรณีที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 1% และเงินกู้น้อยกว่า คือ 0.5% แบงก์ได้ให้เหตุผลว่าในช่วงต้นปีที่ผ่านมาต้นทุนเงินฝากสูงกว่า อย่างไรก็ตามมองว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะทยอยลงอีก แม้จะขาดรายได้ แต่แบงก์จะหารายได้จากด้านอื่นทดแทนนอกเหนือจากการใช้จ่ายและการลงทุน คือ การลงทุนในพันธบัตรหรือหุ้น เพื่อให้เกิดสภาพคล่อง”
นางสุชาดากล่าวว่า หลังจากที่ กนง.มีการตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1% ธปท.ได้มีการสำรวจตลาดการเงิน ซึ่งพบว่า การลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวส่งผลให้มีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ด้านค่าเงินบาทจากเดิมที่เป็นห่วงว่าหากลดดอกเบี้ยนโยบายลงเยอะจะส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยกับต่างประเทศห่างกันมากนั้นและกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าเกินไป แต่ผลไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะประเทศอื่นมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปก่อนหน้านี้และอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงมากกว่าไทย อาทิ สวีเดนปรับลด 1.75% อังกฤษและอินเดียที่ต่างกับปรับลดลง 1% รวมถึงกลุ่มสหภาพยุโรป 0.75% นอกจากนี้คาดการณ์ว่าการปรับดอกเบี้ยจะช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น โดยไม่ได้รับแรงกดดันจากเงินเฟ้อมากและช่วยอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนตัวอยู่ในขณะนี้
ขณะที่ราคาสินทรัพย์ต่างๆ ปรับตัวดีขึ้นทั้งราคาพันธบัตรและราคาหุ้น โดยขณะนี้ในตลาดการเงิน โดยเฉพาะผลตอบแทนตลาดพันธบัตรปรับตัวลดลงมาก รวมถึง Swap Point โดยผลตอบแทนพันธบัตรเฉลี่ยประมาณ 20-30% แต่ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับลดลงเยอะเกือบ 100% ซึ่งภาพเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าคนทั่วไปเริ่มหันมาลงทุนในตลาดพันธบัตรระยะยาวมากขึ้นโดยที่ไม่ได้ห่วงเรื่องอัตราเงินเฟ้อ ทำให้การออกพันธบัตรของรัฐบาลมีต้นทุนถูกลงประมาณ 0.3-0.4% เช่นเดียวกับเอกชนที่แม้ความเสี่ยงที่สูงขึ้น แต่เมื่อผลตอบแทนพันธบัตรลดลง ทำให้โดยรวมแล้วต้นทุนในการออกพันธบัตรถูกลง โดยเฉพาะบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่อนาคตอาจหันมาพึ่งแห่งเงินกู้ในประเทศมากขึ้นจากเดิมที่พึ่งพาในต่างประเทศ
นางสุชาดา กล่าวว่า สำหรับการเตรียมความพร้อมของธนาคารพาณิชย์ไทยในปีหน้านั้นมองว่าเงินฝากยังคงเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญทั้งในระยะยาวและมีความมั่นคงสูง ทำให้ในระยะต่อไปบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่เดิมมีการพึ่งพาเงินกู้ต่างประเทศอาจหันมาขอกู้ในประเทศมากขึ้น จึงมีบางฝ่ายห่วงว่าสภาพคล่องในระบบจะลดลง แต่เท่าที่ ธปท.สำรวจดูระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีหนี้ต่างประเทศทั้งระบบมีน้อยประมาณ 7 พันล้านเหรียญ ซึ่งส่วนนี้ประมาณ 3-4 พันล้านเหรียญ เป็นหนี้ระยะสั้น
“เมื่อมีการรีไฟแนนซ์หนี้เก่าสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (สว็อป) หนี้ระยะยาวอาจหายไป เพราะตลาดโลกยังไม่นิ่ง ทำให้การคิดผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ ของแบงก์พาณิชย์ไทยขณะนี้ยังไม่มากนัก ประกอบกับแต่ละสถาบันการเงินหันมาดูแลสภาพคล่องตัวเองทั้งการลงทุนระยะสั้นและการปล่อยกู้ที่ระมัดระวังมากขึ้น”