นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีต ส.ส.ร.50 กล่าวถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินยุบ 3 พรรคการเมืองที่โฏงเลือกตั้งว่า ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่คนไทยจะเริ่มได้เห็นการเมืองรูปโฉมใหม่ ไม่ใช่แบบเดิมๆ ที่มีการทุจริตการเลือกตั้ง ซื้อเสียงจนเป็นเรื่องปกติ ซึ่งการตัดสินยุบพรรคครั้งนี้เป็นการแสดงให้เห็นแล้วว่า กฎหมายยังเป็นกฎหมาย ทำให้เห็นว่ามีการเอาจริงเอาจังกับการแก้ปัญหาการโกง จะได้เป็นที่รู้กันว่า เมื่อใดก็ตามที่นักการเมืองทำผิดจะถูกลงโทษ
ทั้งนี้ ตนคาดว่าในภายภาคหน้าอาจจะเกิดกรณีการยุบพรรคอีกประมาณ 2-3 ครั้ง รับรองว่าคนไทยจะได้เห็นพรรคการเมืองน้ำดีของจริงอย่างแน่นอน เพราะไม่มีใครกล้าทำผิด และตราบใดที่นักการเมืองไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรม ก็จะถูกดำเนินการเช่นนี้ต่อๆไป ซึ่งตนเชื่อว่าในอนาคตประเทศไทยจะเป็นตัวอย่างในเรื่องของนักการเมืองที่ดีไม่กล้าคอร์รัปชั่น ไม่กล้าทำผิด
ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวตอนหนึ่งในการเสวนาเรื่อง"นโยบายสาธารณะอันพึงปรารถนาเพื่ออนาคตสังคมไทย" ว่า นโยบายสาธารณะที่รัฐไทยพึงกระทำขณะนี้ ควรที่จะแก้ปัญหาวิกฤติความแตกแยกของสังคมไทยก่อนเป็นอันดับแรก ขณะที่นโยบายที่คนไทยต้องการในปัจจุบันน่าจะเป็นการรับมือวิกฤติเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในปี 2552 แต่ก็ต้องดูว่าใครจะเป็นผู้เข้ามาเป็นผู้ตัดสินใจในการกำหนดนโยบายให้เป็นผล
ขณะเดียวกันนโยบายที่รัฐบาลไทยไม่สนใจในการนำมาดำเนินการมาเป็นเวลายาวนาน คือ นโยบายการเสริมสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์ หากมองไปที่ประเทศที่พัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ เช่น ประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ หรือเกาหลีใต้ ซึ่งประเทศเหล่านี้มีการพัฒนาเทียบเท่าประเทศในกลุ่มตะวันตก
ทั้งนี้ประกอบไปด้วย ค่านิยมในการทำงานหนัก ที่คนญี่ปุ่นหรือ ประเทศเหล่านี้ขยันที่จะทำงานหนักทั่วประเทศ ซึ่งแตกต่างกับคนไทยที่กลับต้องการทำงานที่ฉาบฉวย ต้องการค่าตอบแทนที่สูง มีค่านิยมที่ต้องการเป็นเจ้าคนนายคน ขณะที่ค่านิยมในการมีวินัยในตัวเอง ซึ่งแตกต่างกับประเทศไทยที่มีความบกพร่อง ไม่มีการปลูกฝังให้คนมีความตรงต่อเวลา นอกจากนั้นยังมีค่านิยมต่อการใช้สินค้าไทย
อธิการม.นิด้า กล่าวว่า จะเห็นได้ว่ารัฐบาลหรือผู้มาตัดสินใจในการใช้นโยบายมีความล้มเหลว ไม่ต้องการที่จะปลูกฝังจิตสำนึกที่จะรณรงค์ค่านิยมของชาติ แต่ไม่ใช่การปลูกฝังจนเป็นการคลั่งชาติ แต่นักการเมืองกลับมีแต่ฉาบฉวยเท่านั้น เช่น นโยบายบัตร อีลีท การ์ท สมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ตัดสินใจทำจากข้อเสนอเท่านั้น ไม่มีการวิเคราะห์ให้มีความชัดเจน เป็นต้น ดังนั้นหากผู้ตัดสินใจใช้นโยบายสามารถทำให้เป็นนโยบายสาธารณะที่พึงประสงค์ได้ทิศทางนโยบายสาธารณะของประเทศก็จะชัดเจนขึ้น
"ต้องมาช่วยกันจับตาดูว่าผู้ที่จะมาเป็นผู้ตัดสินใจใช้นโยบายสาธารณะ อันดับ 1 ของประเทศ จะเป็นใคร ต่อไปไม่กี่วันก็จะมีผู้ที่มาตัดสินใจใช้นโยบาย จะเป็น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง หรือนายชัย ชิดชอบ" ศ.ดร.สมบัติกล่าว
ศ.ดร.สมบัติ ยังกล่าวถึง สถานการณ์ทางการเมืองหลังจาก 3 พรรคการเมืองถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคว่า สถานการณ์บ้านเมืองคงไม่ดีขึ้น เพราะกลุ่มขั้วอำนาจเดิมจะยังคงเป็นรัฐบาลต่อไป นอกจากนี้ คนที่มีอำนาจที่แท้จริงที่อยู่นอกพรรค ก็ยังมีอำนาจสั่งการได้อยู่
ส่วนการต่อสู้ของกลุ่มพันธมิตรฯว่า น่าจะดำเนินต่อไป เพราะพันธมิตรฯ ต่อสู้กับพรรคการเมืองที่ไร้สปิริต ไม่มีมารยาททางการเมือง และทำทุกอย่างเพื่อคงไว้ซึ่งอำนาจ ดังนั้นทางออกของประเทศก็ยังคงมืดมิดอยู่
นพ.ชูชัย ศุภวงษ์ ที่ปรึกษาระดับ 11 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า การเมืองใหม่ที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เสนอ ถือว่าเป็นคุณูประการในการออกแบบการเมืองของไทย โดยเฉพาะนโยบายของประเทศ ที่ขณะนี้ กำลังกลายเป็น “โรคพร่องนโยบายสาธารณะที่ดีอย่างแรง” ขณะที่สังคมไทยไม่มีโอกาสที่จะกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศอย่างชัดเจน ตามมาตรา 3 ว่าด้วยอำนาจอธิปไตยของคนในชาติของรัฐธรรมนูญปี 2550 รวมทั้งไม่มีโอกาสตาม มาตรา 87 ว่าด้วยการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ทั้งนี้ความพร่องนโยบาย เกิดจากความบกพร่องความคิดทางนโยบาย แต่กลับไปกำหนดทิศทางด้านเทคนิค การวางยุทธศาสตร์จากองค์กร สถาบันของรัฐ หรือข้าราชการเหมือนกับไปแย่งงานของฝ่ายบริหาร ขณะที่ภาคการศึกษากลับไม่มีความรู้ร้อน รู้หนาว กับสังคม เอาวิชาการมาเป็นตัวตั้ง แต่ไม่มีการเรียนรู้นอกห้องเรียน
ดังนั้นหากมีการเปิดเวทีสาธารณะ ระดมภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และสื่อสารมวลชน รวมทั้งประชาชนเป็นผู้กำหนดนโยบายได้ด้วยตัวเอง ก็จะสามารถจำกัดผู้ที่จะเข้ามาเป็นผู้ตัดสินใจนโยบายได้
ทั้งนี้ ตนคาดว่าในภายภาคหน้าอาจจะเกิดกรณีการยุบพรรคอีกประมาณ 2-3 ครั้ง รับรองว่าคนไทยจะได้เห็นพรรคการเมืองน้ำดีของจริงอย่างแน่นอน เพราะไม่มีใครกล้าทำผิด และตราบใดที่นักการเมืองไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรม ก็จะถูกดำเนินการเช่นนี้ต่อๆไป ซึ่งตนเชื่อว่าในอนาคตประเทศไทยจะเป็นตัวอย่างในเรื่องของนักการเมืองที่ดีไม่กล้าคอร์รัปชั่น ไม่กล้าทำผิด
ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวตอนหนึ่งในการเสวนาเรื่อง"นโยบายสาธารณะอันพึงปรารถนาเพื่ออนาคตสังคมไทย" ว่า นโยบายสาธารณะที่รัฐไทยพึงกระทำขณะนี้ ควรที่จะแก้ปัญหาวิกฤติความแตกแยกของสังคมไทยก่อนเป็นอันดับแรก ขณะที่นโยบายที่คนไทยต้องการในปัจจุบันน่าจะเป็นการรับมือวิกฤติเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในปี 2552 แต่ก็ต้องดูว่าใครจะเป็นผู้เข้ามาเป็นผู้ตัดสินใจในการกำหนดนโยบายให้เป็นผล
ขณะเดียวกันนโยบายที่รัฐบาลไทยไม่สนใจในการนำมาดำเนินการมาเป็นเวลายาวนาน คือ นโยบายการเสริมสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์ หากมองไปที่ประเทศที่พัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ เช่น ประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ หรือเกาหลีใต้ ซึ่งประเทศเหล่านี้มีการพัฒนาเทียบเท่าประเทศในกลุ่มตะวันตก
ทั้งนี้ประกอบไปด้วย ค่านิยมในการทำงานหนัก ที่คนญี่ปุ่นหรือ ประเทศเหล่านี้ขยันที่จะทำงานหนักทั่วประเทศ ซึ่งแตกต่างกับคนไทยที่กลับต้องการทำงานที่ฉาบฉวย ต้องการค่าตอบแทนที่สูง มีค่านิยมที่ต้องการเป็นเจ้าคนนายคน ขณะที่ค่านิยมในการมีวินัยในตัวเอง ซึ่งแตกต่างกับประเทศไทยที่มีความบกพร่อง ไม่มีการปลูกฝังให้คนมีความตรงต่อเวลา นอกจากนั้นยังมีค่านิยมต่อการใช้สินค้าไทย
อธิการม.นิด้า กล่าวว่า จะเห็นได้ว่ารัฐบาลหรือผู้มาตัดสินใจในการใช้นโยบายมีความล้มเหลว ไม่ต้องการที่จะปลูกฝังจิตสำนึกที่จะรณรงค์ค่านิยมของชาติ แต่ไม่ใช่การปลูกฝังจนเป็นการคลั่งชาติ แต่นักการเมืองกลับมีแต่ฉาบฉวยเท่านั้น เช่น นโยบายบัตร อีลีท การ์ท สมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ตัดสินใจทำจากข้อเสนอเท่านั้น ไม่มีการวิเคราะห์ให้มีความชัดเจน เป็นต้น ดังนั้นหากผู้ตัดสินใจใช้นโยบายสามารถทำให้เป็นนโยบายสาธารณะที่พึงประสงค์ได้ทิศทางนโยบายสาธารณะของประเทศก็จะชัดเจนขึ้น
"ต้องมาช่วยกันจับตาดูว่าผู้ที่จะมาเป็นผู้ตัดสินใจใช้นโยบายสาธารณะ อันดับ 1 ของประเทศ จะเป็นใคร ต่อไปไม่กี่วันก็จะมีผู้ที่มาตัดสินใจใช้นโยบาย จะเป็น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง หรือนายชัย ชิดชอบ" ศ.ดร.สมบัติกล่าว
ศ.ดร.สมบัติ ยังกล่าวถึง สถานการณ์ทางการเมืองหลังจาก 3 พรรคการเมืองถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคว่า สถานการณ์บ้านเมืองคงไม่ดีขึ้น เพราะกลุ่มขั้วอำนาจเดิมจะยังคงเป็นรัฐบาลต่อไป นอกจากนี้ คนที่มีอำนาจที่แท้จริงที่อยู่นอกพรรค ก็ยังมีอำนาจสั่งการได้อยู่
ส่วนการต่อสู้ของกลุ่มพันธมิตรฯว่า น่าจะดำเนินต่อไป เพราะพันธมิตรฯ ต่อสู้กับพรรคการเมืองที่ไร้สปิริต ไม่มีมารยาททางการเมือง และทำทุกอย่างเพื่อคงไว้ซึ่งอำนาจ ดังนั้นทางออกของประเทศก็ยังคงมืดมิดอยู่
นพ.ชูชัย ศุภวงษ์ ที่ปรึกษาระดับ 11 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า การเมืองใหม่ที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เสนอ ถือว่าเป็นคุณูประการในการออกแบบการเมืองของไทย โดยเฉพาะนโยบายของประเทศ ที่ขณะนี้ กำลังกลายเป็น “โรคพร่องนโยบายสาธารณะที่ดีอย่างแรง” ขณะที่สังคมไทยไม่มีโอกาสที่จะกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศอย่างชัดเจน ตามมาตรา 3 ว่าด้วยอำนาจอธิปไตยของคนในชาติของรัฐธรรมนูญปี 2550 รวมทั้งไม่มีโอกาสตาม มาตรา 87 ว่าด้วยการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ทั้งนี้ความพร่องนโยบาย เกิดจากความบกพร่องความคิดทางนโยบาย แต่กลับไปกำหนดทิศทางด้านเทคนิค การวางยุทธศาสตร์จากองค์กร สถาบันของรัฐ หรือข้าราชการเหมือนกับไปแย่งงานของฝ่ายบริหาร ขณะที่ภาคการศึกษากลับไม่มีความรู้ร้อน รู้หนาว กับสังคม เอาวิชาการมาเป็นตัวตั้ง แต่ไม่มีการเรียนรู้นอกห้องเรียน
ดังนั้นหากมีการเปิดเวทีสาธารณะ ระดมภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และสื่อสารมวลชน รวมทั้งประชาชนเป็นผู้กำหนดนโยบายได้ด้วยตัวเอง ก็จะสามารถจำกัดผู้ที่จะเข้ามาเป็นผู้ตัดสินใจนโยบายได้