นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นายประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช นายฐาปนันท์ นิพิฏกุฐกุล นายธีระ สุธีวรางกูร และนายปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกแถลงการณ์ว่า คุณสมบัติตุลาการรัฐธรรมนูญผู้วินิจฉัยคดียุบพรรคอาจขาดคุณสมบัติ รวมทั้งการเร่งรัดวินิจฉัยคดีอย่างเร่งด่วนอาจทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่าทำเพื่อประโยชน์การเมือง
แถลงการณ์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สอดคล้องกับความเห็นของกลุ่ม นปก. พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาฯ เป็นอย่างยิ่ง
ถ้าหากตุลาการรัฐธรรมนูญบางท่านจะขาดคุณสมบัติอย่างที่อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังกล่าวสงสัย คำวินิจฉัยต่างๆ ที่แล้วมา ไม่ว่าจะเป็นกรณีของนายสมัคร สุนทรเวช ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขาดคุณสมบัติเพราะการไปออกรายการโทรทัศน์ชิมไปบ่นไป มีผลประโยชน์ทับซ้อน ก็น่าจะไม่ถูกต้อง หรือกรณีของนายไชยา สะสมทรัพย์ แจ้งบัญชีทรัพย์สินไม่ถูกต้อง เมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ก็น่าจะไม่ถูกต้อง และยังกรณีอื่นๆ อีก
อาจารย์เหล่านี้น่าจะลุกขึ้นมาเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับนายสมัคร สุนทรเวช นายไชยา สะสมทรัพย์ หรือคนอื่นๆ ที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยมาแล้ว
คุณสมบัติของตุลาการรัฐธรรมนูญที่พวกเขาสงสัยเห็นจะเป็นกรณีของนายจรัญ ภักดีธนากุล หนึ่งในเก้าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ชี้แจงผ่านหนังสือพิมพ์ว่า คนที่มองเรื่องนี้ต้องถามตัวเองว่า การเป็นครูบาอาจารย์ถือเป็นลูกจ้างหรือไม่ จะให้ครูอยู่ในฐานะอะไร ถ้าเห็นว่าเป็นลูกจ้างก็คงเห็นว่าผิด แต่ตนไม่เคยมองว่าครูเป็นลูกจ้าง แต่เป็นผู้ให้ความรู้ เป็นวิทยาทาน และไม่ได้ตั้งโต๊ะไปรับจ้างบริษัทไปสอน แต่ไปสอนมหาวิทยาลัยที่เป็นสถาบันการศึกษาของชาติ เป็นองค์กรเผยแพร่ความรู้ และตนไม่เคยสอนให้ไปเกเรเนรคุณ แต่สอนให้กตัญญูต่อผู้มีพระคุณและแผ่นดิน และมีใจและการปฏิบัติที่เป็นธรรม
ศาลรัฐธรรมนูญนัดปิดคดียุบพรรค 3 พรรคการเมืองในวันที่ 2 ธันวาคม หลังจากนั้นก็จะได้นัดอ่านคำวินิจฉัยต่อไป
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ออกแถลงการณ์ก็เช่นเดียวกับบรรดาลูกพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาฯ ที่ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า รวดเร็วเกินไป ขณะเดียวกัน พรรคพลังประชาชนก็ให้กรรมการบริหารพรรคที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนลาออก ไม่เว้นกระทั่งนายสมัคร สุนทรเวช ที่ป่วยหนักอยู่ต่างประเทศ เพื่อจะได้เลื่อนคนอื่นมาเป็นแทน รักษาสัดส่วน จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเอาไว้ จะได้สนับสนุนส่งเสริมให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง หรือนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ หรือนายชัย ชิดชอบ คนใดคนหนึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป
ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่า พรรคพลังประชาชนเองก็รู้ตัวดีว่า ชะตากรรมของพรรคจะเป็นอย่างไร
การพิจารณาคดียุบหรือไม่ยุบของพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรค คือ พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก ไม่ใช่เรื่องสลับซับซ้อนชนิดที่คนระดับที่เป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะต้องคลางแคลงสงสัยว่า ทำไมใช้เวลาในการพิจารณาเร็วนัก
ใครที่อ่านภาษาไทยออก ฟังภาษาไทยรู้เรื่อง อ่านบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 ก็รู้เรื่องแล้วละครับว่า อะไรผิด อะไรถูก หรืออาจารย์ทั้ง 5 ไม่รู้
การต่อสู้คดีอย่างนี้ไม่มีหนทางอื่นใดที่จะดีไปกว่าการเสนอพยานเยอะๆ เข้าไว้ พรรคละ 20 คน 30 คนหรือมากกว่า วันนี้ขอสืบพยาน 1 คน แล้วอีก 2-3 เดือนขอสืบอีกคน กว่าที่จะสืบพยานจบก็ใช้เวลา 4-5 ปี หรืออาจจะมากกว่านี้ก็ได้ พอดีกับที่กรรมการบริหารพรรคบางคนตายไปแล้ว หรือกำลังจะตาย
หรือพอดีกับที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อยู่เป็นนายกรัฐมนตรีจนครบเทอม สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติมากไปกว่านี้
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ที่อยู่ระหว่างพเนจรร่อนเร่อยู่ขณะนี้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เคยเป็นผู้พิพากษามาก่อน รู้ว่าสิ่งที่ทำมาเป็นขบวนการไม่เคยไปยุ่งเกี่ยวกับการทุจริตเลือกตั้ง ในฐานะเป็นจำเลยต้องการความเป็นธรรม ขอความกรุณาให้ได้สู้คดี ไม่ใช่ว่าเป็นจำเลยแล้วไม่ได้สู้ คิดว่าน่าจะได้รับความเป็นธรรม
การขอความเป็นธรรมของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีที่ไร้เกียรติที่สุดนับตั้งแต่ที่ประเทศไทยเคยมีตำแหน่งนี้มา ช่างสอดคล้องกับแถลงการณ์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อะไรเช่นนั้น
คดียุบพรรคพลังประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งได้พิจารณาตัดสินเรียบร้อยแล้ว นายยงยุทธ ติยะไพรัช ได้ต่อสู้ในคดีนี้มาแล้วตั้งแต่ชั้นกรรมการการเลือกตั้ง ครั้นกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าทำผิดกฎหมายเลือกตั้งก็ส่งอัยการ อัยการพิจารณาสั่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ศาลก็ได้สืบพยานผู้ร้อง ผู้ถูกร้อง จนกระทั่งตัดสินออกมาแล้ว ยังจะต้องพิรี้พิไรอะไรกันอีก
ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญมาสืบพยานใหม่ปากละเดือน สองเดือนไปอีก 4-5 ปี ค่อยมีคำวินิจฉัยออกมาจึงจะเป็นธรรมอย่างนั้นหรือ?
ต้องสืบสวนสอบสวนเหมือนคดีบุกบ้านพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งป่านนี้ยังไม่รู้ว่าอยู่ที่ตำรวจ หรืออยู่ที่อัยการอย่างนั้นหรือจึงจะเป็นธรรม ต้องพิจารณาด้วยความสุขุมคัมภีรภาพเหมือนอย่างที่ ป.ป.ช.หรืออัยการทำอยู่หลายคดีในขณะนี้หรือจึงจะเป็นธรรม
ทีเรื่องอย่างนี้ไม่เห็นอาจารย์ทั้ง 5 ออกมาเสนอหน้าเลย หรือว่าตั้งธงเอาไว้ว่า จะเสนอหน้าก็ต่อเมื่อเป็นประโยชน์กับระบอบทักษิณเท่านั้น
แถลงการณ์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สอดคล้องกับความเห็นของกลุ่ม นปก. พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาฯ เป็นอย่างยิ่ง
ถ้าหากตุลาการรัฐธรรมนูญบางท่านจะขาดคุณสมบัติอย่างที่อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังกล่าวสงสัย คำวินิจฉัยต่างๆ ที่แล้วมา ไม่ว่าจะเป็นกรณีของนายสมัคร สุนทรเวช ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขาดคุณสมบัติเพราะการไปออกรายการโทรทัศน์ชิมไปบ่นไป มีผลประโยชน์ทับซ้อน ก็น่าจะไม่ถูกต้อง หรือกรณีของนายไชยา สะสมทรัพย์ แจ้งบัญชีทรัพย์สินไม่ถูกต้อง เมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ก็น่าจะไม่ถูกต้อง และยังกรณีอื่นๆ อีก
อาจารย์เหล่านี้น่าจะลุกขึ้นมาเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับนายสมัคร สุนทรเวช นายไชยา สะสมทรัพย์ หรือคนอื่นๆ ที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยมาแล้ว
คุณสมบัติของตุลาการรัฐธรรมนูญที่พวกเขาสงสัยเห็นจะเป็นกรณีของนายจรัญ ภักดีธนากุล หนึ่งในเก้าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ชี้แจงผ่านหนังสือพิมพ์ว่า คนที่มองเรื่องนี้ต้องถามตัวเองว่า การเป็นครูบาอาจารย์ถือเป็นลูกจ้างหรือไม่ จะให้ครูอยู่ในฐานะอะไร ถ้าเห็นว่าเป็นลูกจ้างก็คงเห็นว่าผิด แต่ตนไม่เคยมองว่าครูเป็นลูกจ้าง แต่เป็นผู้ให้ความรู้ เป็นวิทยาทาน และไม่ได้ตั้งโต๊ะไปรับจ้างบริษัทไปสอน แต่ไปสอนมหาวิทยาลัยที่เป็นสถาบันการศึกษาของชาติ เป็นองค์กรเผยแพร่ความรู้ และตนไม่เคยสอนให้ไปเกเรเนรคุณ แต่สอนให้กตัญญูต่อผู้มีพระคุณและแผ่นดิน และมีใจและการปฏิบัติที่เป็นธรรม
ศาลรัฐธรรมนูญนัดปิดคดียุบพรรค 3 พรรคการเมืองในวันที่ 2 ธันวาคม หลังจากนั้นก็จะได้นัดอ่านคำวินิจฉัยต่อไป
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ออกแถลงการณ์ก็เช่นเดียวกับบรรดาลูกพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาฯ ที่ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า รวดเร็วเกินไป ขณะเดียวกัน พรรคพลังประชาชนก็ให้กรรมการบริหารพรรคที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนลาออก ไม่เว้นกระทั่งนายสมัคร สุนทรเวช ที่ป่วยหนักอยู่ต่างประเทศ เพื่อจะได้เลื่อนคนอื่นมาเป็นแทน รักษาสัดส่วน จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเอาไว้ จะได้สนับสนุนส่งเสริมให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง หรือนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ หรือนายชัย ชิดชอบ คนใดคนหนึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป
ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่า พรรคพลังประชาชนเองก็รู้ตัวดีว่า ชะตากรรมของพรรคจะเป็นอย่างไร
การพิจารณาคดียุบหรือไม่ยุบของพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรค คือ พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก ไม่ใช่เรื่องสลับซับซ้อนชนิดที่คนระดับที่เป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะต้องคลางแคลงสงสัยว่า ทำไมใช้เวลาในการพิจารณาเร็วนัก
ใครที่อ่านภาษาไทยออก ฟังภาษาไทยรู้เรื่อง อ่านบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 ก็รู้เรื่องแล้วละครับว่า อะไรผิด อะไรถูก หรืออาจารย์ทั้ง 5 ไม่รู้
การต่อสู้คดีอย่างนี้ไม่มีหนทางอื่นใดที่จะดีไปกว่าการเสนอพยานเยอะๆ เข้าไว้ พรรคละ 20 คน 30 คนหรือมากกว่า วันนี้ขอสืบพยาน 1 คน แล้วอีก 2-3 เดือนขอสืบอีกคน กว่าที่จะสืบพยานจบก็ใช้เวลา 4-5 ปี หรืออาจจะมากกว่านี้ก็ได้ พอดีกับที่กรรมการบริหารพรรคบางคนตายไปแล้ว หรือกำลังจะตาย
หรือพอดีกับที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อยู่เป็นนายกรัฐมนตรีจนครบเทอม สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติมากไปกว่านี้
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ที่อยู่ระหว่างพเนจรร่อนเร่อยู่ขณะนี้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เคยเป็นผู้พิพากษามาก่อน รู้ว่าสิ่งที่ทำมาเป็นขบวนการไม่เคยไปยุ่งเกี่ยวกับการทุจริตเลือกตั้ง ในฐานะเป็นจำเลยต้องการความเป็นธรรม ขอความกรุณาให้ได้สู้คดี ไม่ใช่ว่าเป็นจำเลยแล้วไม่ได้สู้ คิดว่าน่าจะได้รับความเป็นธรรม
การขอความเป็นธรรมของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีที่ไร้เกียรติที่สุดนับตั้งแต่ที่ประเทศไทยเคยมีตำแหน่งนี้มา ช่างสอดคล้องกับแถลงการณ์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อะไรเช่นนั้น
คดียุบพรรคพลังประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งได้พิจารณาตัดสินเรียบร้อยแล้ว นายยงยุทธ ติยะไพรัช ได้ต่อสู้ในคดีนี้มาแล้วตั้งแต่ชั้นกรรมการการเลือกตั้ง ครั้นกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าทำผิดกฎหมายเลือกตั้งก็ส่งอัยการ อัยการพิจารณาสั่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ศาลก็ได้สืบพยานผู้ร้อง ผู้ถูกร้อง จนกระทั่งตัดสินออกมาแล้ว ยังจะต้องพิรี้พิไรอะไรกันอีก
ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญมาสืบพยานใหม่ปากละเดือน สองเดือนไปอีก 4-5 ปี ค่อยมีคำวินิจฉัยออกมาจึงจะเป็นธรรมอย่างนั้นหรือ?
ต้องสืบสวนสอบสวนเหมือนคดีบุกบ้านพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งป่านนี้ยังไม่รู้ว่าอยู่ที่ตำรวจ หรืออยู่ที่อัยการอย่างนั้นหรือจึงจะเป็นธรรม ต้องพิจารณาด้วยความสุขุมคัมภีรภาพเหมือนอย่างที่ ป.ป.ช.หรืออัยการทำอยู่หลายคดีในขณะนี้หรือจึงจะเป็นธรรม
ทีเรื่องอย่างนี้ไม่เห็นอาจารย์ทั้ง 5 ออกมาเสนอหน้าเลย หรือว่าตั้งธงเอาไว้ว่า จะเสนอหน้าก็ต่อเมื่อเป็นประโยชน์กับระบอบทักษิณเท่านั้น