ที่รัฐสภา วานนี้ (11 พ.ย.) นายพิชา วิจิตรศิลป์ อ้างว่าเป็น นักกฎหมายไทย ได้เข้ายื่นหนังสือถึงนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เพื่อขอให้ดำเนินการถอดถอนการดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ของนายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และขอให้ตรวจสอบคุณสมบัติของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนอื่นๆ ที่น่าจะขาดคุณสมบัติด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยให้การจัดรายการ ชิมไปบ่นไป และรายการ ยกโขยง 6 โมงเช้า ของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 เนื่องจากผู้มีตำแหน่งรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใดก็ไม่ได้ด้วยนั้น ซึ่งในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้ใช้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานตีความความหมาย ของคำว่า ลูกจ้าง ไว้อย่างกว้างๆ ว่าหมายถึงผู้ที่ตกลงทำการงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร ได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าสินจ้างหรือในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินอย่างอื่น หากมีตกลงเป็นผู้รับจ้างทำการงานแล้วย่อมอยู่ในความหมาย ของคำว่า ลูกจ้าง ทั้งสิ้น
นายพิชา กล่าวว่า ดังนั้นคำวินิจฉัยดังกล่าวจึงเป็นบรรทัดฐานในการตีความ ความหมายของคำว่า ลูกจ้าง ในมาตราอื่นๆ ของรัฐธรรมญด้วย โดยในกรณีของ นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้น มีหลักฐานพบว่า ในช่วงเวลาก่อน และในขณะที่ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ดำรงหลายตำแหน่งใน มหาวิทยาลัยต่างๆ และเป็นนักจัดรายการวิทยุ คลื่นความคิด ทางเอฟเอ็ม 96.5 ซึ่งการกระทำดังกล่าวล้วนได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าสินจ้างหรือค่าตอบแทนในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินทั้งสิ้น
เมื่อเปรียบเทียบความหมายจากที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยตีความแล้ว นายจรัญ ย่อมตกเป็นลูกจ้างด้วยเช่นกัน และยังถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 207(3) มีผลต้องพ้นจากตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตาม มาตรา 209(5) ทันที ดังนั้นประธานวุฒิสภาในฐานะผู้รับสนองพระบรมราชโองการฯ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 206(2) โดยนำรายชื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ขึ้นกราบบังคมทูล เพราะฉะนั้นจึงขอให้ดำเนินการถอดถอนนายจรัญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนอื่นที่มีพฤติกรรมที่น่าจะขาดคุณสมบัติเหมือนกับนายจรัญด้วย
นายพิชา กล่าวปฏิเสธถึงกรณีที่มายื่นถอดถอนครั้งนี้ไม่มีใคร หรือพรรคการเมืองใดอยู่เบื้องหลังรวมทั้งกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกำลังจะมีการพิจารณายุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตยด้วย แต่เนื่องจากตนเพิ่งได้เห็นหลักฐานดังกล่าวจากนิตยสาร ความจริงวันนี้ ฉบับล่าสุด ซึ่งมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจน ดังนั้นจึงเกรงว่าการทำหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและองค์คณะอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย อาจทำให้การพิจารณาคดีต่างๆ โดยเฉพาะการพิจารณายุบพรรคการเมืองอีกหลายพรรคที่จะมีขึ้นในขณะนี้เป็นโมฆะได้
ทั้งนี้เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยให้การจัดรายการ ชิมไปบ่นไป และรายการ ยกโขยง 6 โมงเช้า ของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 เนื่องจากผู้มีตำแหน่งรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใดก็ไม่ได้ด้วยนั้น ซึ่งในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้ใช้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานตีความความหมาย ของคำว่า ลูกจ้าง ไว้อย่างกว้างๆ ว่าหมายถึงผู้ที่ตกลงทำการงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร ได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าสินจ้างหรือในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินอย่างอื่น หากมีตกลงเป็นผู้รับจ้างทำการงานแล้วย่อมอยู่ในความหมาย ของคำว่า ลูกจ้าง ทั้งสิ้น
นายพิชา กล่าวว่า ดังนั้นคำวินิจฉัยดังกล่าวจึงเป็นบรรทัดฐานในการตีความ ความหมายของคำว่า ลูกจ้าง ในมาตราอื่นๆ ของรัฐธรรมญด้วย โดยในกรณีของ นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้น มีหลักฐานพบว่า ในช่วงเวลาก่อน และในขณะที่ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ดำรงหลายตำแหน่งใน มหาวิทยาลัยต่างๆ และเป็นนักจัดรายการวิทยุ คลื่นความคิด ทางเอฟเอ็ม 96.5 ซึ่งการกระทำดังกล่าวล้วนได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าสินจ้างหรือค่าตอบแทนในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินทั้งสิ้น
เมื่อเปรียบเทียบความหมายจากที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยตีความแล้ว นายจรัญ ย่อมตกเป็นลูกจ้างด้วยเช่นกัน และยังถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 207(3) มีผลต้องพ้นจากตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตาม มาตรา 209(5) ทันที ดังนั้นประธานวุฒิสภาในฐานะผู้รับสนองพระบรมราชโองการฯ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 206(2) โดยนำรายชื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ขึ้นกราบบังคมทูล เพราะฉะนั้นจึงขอให้ดำเนินการถอดถอนนายจรัญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนอื่นที่มีพฤติกรรมที่น่าจะขาดคุณสมบัติเหมือนกับนายจรัญด้วย
นายพิชา กล่าวปฏิเสธถึงกรณีที่มายื่นถอดถอนครั้งนี้ไม่มีใคร หรือพรรคการเมืองใดอยู่เบื้องหลังรวมทั้งกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกำลังจะมีการพิจารณายุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตยด้วย แต่เนื่องจากตนเพิ่งได้เห็นหลักฐานดังกล่าวจากนิตยสาร ความจริงวันนี้ ฉบับล่าสุด ซึ่งมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจน ดังนั้นจึงเกรงว่าการทำหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและองค์คณะอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย อาจทำให้การพิจารณาคดีต่างๆ โดยเฉพาะการพิจารณายุบพรรคการเมืองอีกหลายพรรคที่จะมีขึ้นในขณะนี้เป็นโมฆะได้