ในกรณีของสหรัฐอเมริกา ชนชั้นนำอเมริกันจะชื่นชมระบบทุนนิยมปั่นกำไรมากๆ เพราะ สหรัฐอเมริกาคือผู้ให้กำเนิดทุนนิยมแบบนี้เอง นอกจากนี้ ทุนปั่นกำไร ยังเป็นอาวุธที่ทรงอานุภาพทางการเมืองอย่างยิ่ง
นักวิชาการยุโรป และละติน บางท่านเรียก ทุนนิยมปั่นกำไร นี้ว่า ‘ทุนนิยมคาวบอย ’
บรรดาคาวบอย จะมีวัฒนธรรรมดำเนินชีวิต 2 แบบ
แบบแรก คือ ชอบปล้นชิง ปราบปรามคนที่อ่อนแอกว่า อย่างเช่น การปล้นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนเผ่าอินเดียนแดงในอดีต และการปล้นโลกสมัยใหม่ อย่างเช่น การยึดครองอิรัก และอัฟกานิสถานในปัจจุบัน
อีกแบบชีวิตหนึ่ง คือ การเล่นการพนัน ทุนนิยมเก็งกำไรนี้นักวิชาการบางท่านจะเรียกว่า ‘ทุนนิยมการพนัน’ กล่าวเป็นรูปธรรมคือ เวลาเราเข้าไปในตลาดหุ้นก็ไม่ต่างจากเราเข้าไปในสนามม้า แล้วแทงม้า ถ้าแทงถูกก็ได้เงิน ถ้าแทงผิดก็หมดตัว
คนที่ชอบเล่นการพนัน ที่สุดแล้ว จะมีสภาพกลายเป็นผีพนัน และมีชีวิตอยู่กับความโลภ
ยิ่งได้ ยิ่งรวย ยิ่งโลภ ยิ่งหลงติด
ช่วงเวลาที่เสียเงิน ก็คือ ช่วงเวลาที่เลวร้ายสุดๆ ของบรรดาผีพนัน แต่บรรดาผีพนันจะพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เงินกลับมา ซึ่งผลกลับเป็นไปในทิศตรงข้าม
ยิ่งดิ้น ยิ่งเสีย ยิ่งหายนะ
บรรดานายทุนอเมริกันถือว่า เรื่องเสีย หรือ เรื่องหายนะ เป็นเรื่องของบรรดาแมงเม่าโง่ๆ เท่านั้น
ถ้าฉลาดพอ ก็ไม่มีทางเสีย หรือ แพ้พนัน
อีกสาเหตุที่ชนชั้นนำอเมริกันมองไม่เห็นอันตรายของทุนแบบนี้ เนื่องจากพวกเขาคิดว่าสามารถควบคุมการเคลื่อนตัวของทุนดังกล่าวได้ ที่สำคัญพวกเขาสามารถใช้ทุน (เก็งกำไร) เป็นเครื่องมือสำคัญในการยึดครองโลกนี้ได้ด้วย
ในยุคโลกาภิวัตน์ สหรัฐอเมริกาเป็นทั้งศูนย์กลางของทุนเก็งกำไร และเป็นศูนย์ของสื่อและวัฒนธรรมไร้พรมแดน
ทั้งเงินและสื่อ ได้กลับกลายเป็น ‘อาวุธ ใหม่’ ที่ทรงประสิทธิภาพยิ่ง อาจจะถือได้ว่า มีพลังไม่น้อยกว่าระเบิดปรมาณู เพราะมีอำนาจทำลายล้างเศรษฐกิจประเทศใดประเทศหนึ่งได้ด้วย
ถ้าเรามองย้อนประวัติศาสตร์ ในช่วงปี 1980 ถึง 90 ประเทศญี่ปุ่นได้ก้าวขึ้นมามีฐานะเป็นศูนย์ของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในด้านการผลิต และสามารถขยายอำนาจขึ้นมาท้าทายความยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา
ชนชั้นนำอเมริกันจึงเริ่มใช้สื่อโลกสร้างภาพเรื่อง Japan is Number 1 อย่างต่อเนื่อง เงินเก็งกำไรมหาศาลไหลเข้าประเทศญี่ปุ่นไปที่ตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์
ในที่สุด ฟองสบู่ก็แตกที่ประเทศญี่ปุ่น ปี 1990 ฐานะความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจโลกของญี่ปุ่นก็ทรุดลง ในทางการเมืองทำให้ญี่ปุ่นจำต้องซุกตัวอยู่ภายใต้อำนาจทางการเมืองของจักรวรรดิอเมริกา
นี่หมายความว่า ทั้งสื่อไร้พรมแดนและทุนเก็งกำไรได้กลายเป็นอาวุธสำคัญ ที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง สามารถใช้โจมตีและปล้นความมั่งคั่งจากประเทศต่างๆ ได้
หลังจากปี 1990 ทุนปั่นกำไรได้เข้าโจมตีค่าเงินประเทศต่างๆ ทั่วโลก สร้างความมั่งคั่งแก่ทุนปั่นกำไร ในเวลาเดียวกัน เท่ากับเป็นการขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจของระบบทุนโลกซึ่งมีศูนย์ที่สหรัฐอเมริกา อเมริกาจึงเข้ามามีอิทธิพลครอบเหนือระบบเศรษฐกิจโลกทั้งระบบ
ก่อนวิกฤตเอเชีย ปี 1997 ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเริ่มก่อตัวขึ้นในย่านเอเชีย ส่วนหนึ่งมาจากการเติบโตของกลุ่มทุนชาวจีนและการขยายทุนของญี่ปุ่น
ชนชั้นนำอเมริกันเริ่มพบคู่แข่งทางอำนาจใหม่ ที่มีกลุ่มทุนชาวจีนและประเทศจีนเป็นศูนย์กลาง ชนชั้นนำอเมริกันจึงใช้สื่อไร้พรมแดนของอเมริกาเริ่มประโคมข่าวเรื่อง เสือเศรษฐกิจเอเชีย
เงินเก็งกำไรมหาศาลได้ไหลเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อเกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและร้อนแรง ส่งผลให้ทั้งตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์เบ่งบาน ในที่สุดแล้วก็นำสู่หายนะครั้งใหญ่ นั่นคือ ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า โรคต้มยำกุ้ง
หลังจากนั้น ทุนเก็งกำไร(ทั้งสหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์) ก็ได้ประโยชน์มหาศาลจากโรคต้มยำกุ้งออกฤทธิ์ ด้วยการแห่เข้ามากว้านซื้อสินค้าราคาถูก และยึดครองเศรษฐกิจประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในย่านนี้
ผมเคยเขียนงานในช่วงวิกฤตครั้งนั้น ชี้ว่า วิกฤตนี้ ไม่ใช่วิกฤตทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่มีเรื่องการเมืองซ่อนตัวอยู่ด้วย เพราะเป้าหมายที่แท้จริงของการโจมตีค่าเงิน ไม่ใช่ที่ประเทศไทย แต่อยู่ที่การพยายามสกัดกั้นการขยายตัวของกลุ่มทุนจีน และประเทศจีน
หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ ชนชั้นนำสหรัฐอเมริกากำลังกลัวว่าเศรษฐกิจจีนจะทะยานขึ้นไปเรื่อยๆ แบบฉุดไม่อยู่ จึงคิดที่จะใช้สงครามทางการเงิน(ปี 40) สั่นคลอนเศรษฐกิจเอเชียทั้งระบบ
โชคยังดี ประเทศจีนกลับรับสถานการณ์ได้ดีเกินคาด แม้ว่าหลังจากวิกฤตต้มยำกุ้ง โซรอส และทุนปั่นกำไรจะเข้าไปโจมตีค่าเงินจีนในตลาดฮ่องกงหลายครั้ง แต่ก็ล้มเหลว
พอถึงประมาณปี 2004 ถึง 2005 ชนชั้นนำอเมริกันได้พยายามสกัดพัฒนาการของจีนอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากช่วงหลังปี 2000 เป็นต้นมา เศรษฐกิจจีนขยายตัวกว่า 10 เปอร์เซ็นต์เกือบทุกปี ถือว่าเป็นช่วงการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนที่ร้อนแรงมากๆ จนในที่สุด ประเทศจีนพัฒนากลายเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าของโลก
ข่าวตะวันตกก็ช่วยกันสร้างภาพว่า ศตวรรษหน้าและต่อไป จะเป็นศตวรรษของจีน และอาเซียน เพื่อช่วยเพิ่มความร้อนแรงให้แก่เศรษฐกิจจีน
ในเวลาเดียวกัน ชนชั้นนำสหรัฐอเมริกา ก็ช่วยเติมความร้อนแรงของเศรษฐกิจอาเซียน ด้วยการปั่นราคาน้ำมันโลกให้ขยายตัวอย่างรุนแรง หวังว่าจะทำให้เศรษฐกิจในย่านอาเซียน และจีนร้อนแรงอย่างสุดๆ และเกิดการทรุดใหญ่
ปรากฏว่า “ได้ผลอย่างยิ่ง”
ประเทศในย่านเอเชีย หลายประเทศ ไม่ว่า อินเดีย เวียดนาม อินโดฯ เกาหลี และแม้แต่ไทยเอง ก็ต้องเผชิญปัญหาเงินเฟ้อและฝืด บางประเทศ อย่างเช่น เวียดนาม เงินเฟ้อพุ่งสูงถึงตัวเลข 2 หลัก
จีนเองพยายามค้ำยันไม่ให้ปัญหาทั้งเงินฝืดและเงินเฟ้อขยายตัว โดยพยายามอุ้มราคาน้ำมันไว้ให้อยู่ และเกือบจะเอาไม่อยู่เช่นกัน แต่เหตุการณ์กลับพลิกผันเกินคาด ปรากฏว่า ปัญหาทั้งเงินเฟ้อและฝืดได้ระบาดเข้าสู่สหรัฐอเมริกาและยุโรป
ผมหยุดเว้นระยะ และกล่าวว่า
“นี่แหละ ที่พระท่านสอนว่า ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว”
ชนชั้นนำอเมริกันประมาท และคาดการณ์เรื่องอันตรายของฟองสบู่ที่แพร่อยู่ในสหรัฐอเมริกาและยุโรปต่ำกว่าที่เป็นจริง
สาเหตุที่ประมาทมาก เนื่องจากชนชั้นนำอเมริกันเชื่อในมายาคติว่า “สามารถควบคุม และจัดการได้”
จนมีการพูดกันติดปากว่า “เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสได้”
อีกสาเหตุหนึ่งที่นำสู่ความประมาทอย่างยิ่ง ก็เนื่องจากว่าประเทศสหรัฐอเมริกาเองเคยเจอวิกฤตฟองสบู่มาแล้ว และสามารถจัดการได้ง่ายๆ เมื่อ ปลายปี 2000 (ซึ่งผมได้เล่าไว้แล้วในตอนต้นของบทความนี้)
ความสำเร็จในช่วงปี 2000 มีส่วนผลักให้เกิดทุนฟองสบู่เติบใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว และทำให้เศรษฐกิจอเมริกาทั้งระบบกลายเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีชีวิตอยู่กับฟองสบู่
เมื่อฟองสบู่ขยายใหญ่ขึ้น ชีวิตของคนอเมริกันก็ถูกลากเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตฟองสบู่โดยถ้วนหน้า แม้แต่เงินออมที่เรียกว่า ‘เงินบำนาญ’ ที่คนอเมริกันถือเป็นเงินที่เก็บไว้ใช้ในยามแก่ ก็กลายเป็นเงินฟองสบู่
ผมขอเล่าแบบนิยายเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น
มีประเทศ ประเทศหนึ่งชื่อว่า มิสเตอร์อเมริกา ได้เลี้ยงยักษ์ไว้ตนหนึ่ง ยักษ์ตัวนี้เลี้ยงไว้เพื่อใช้ปราบปรามและทำลายล้างประเทศอื่นๆ แต่มีปัญหาอยู่อย่างหนึ่งคือ ยักษ์ตนนี้ กินเก่งมากๆ
ยิ่งกิน ยิ่งใหญ่
ยิ่งพอง ยิ่งมีอำนาจการกินมากขึ้นเรื่อยๆ
ผมจะเรียกการกินแบบนี้ว่า Turbo-Accumulation หรือ กินแบบติดจรวด
วันหนึ่ง เมื่อยักษ์ตนนี้เติบใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ไม่รู้จะกินอะไรต่อไป ก็หันไปกินประเทศที่ให้กำเนิดและเลี้ยงดูตัวเองมา
ทุนฟองสบู่ ไม่ต่างจากยักษ์ตนนี้ หรือต้นกาฝาก ที่จะเติบใหญ่ และใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อใหญ่มากๆ เข้า ก็จะเกินความสามารถในการควบคุม แล้วมันจะหันกลับมาทำลายผู้เลี้ยงดู หรือต้นไม้จริง หรือนั่นก็คือ การผลิตจริง ให้พังพินาศไปในที่สุด (ยังมีต่อ)
นักวิชาการยุโรป และละติน บางท่านเรียก ทุนนิยมปั่นกำไร นี้ว่า ‘ทุนนิยมคาวบอย ’
บรรดาคาวบอย จะมีวัฒนธรรรมดำเนินชีวิต 2 แบบ
แบบแรก คือ ชอบปล้นชิง ปราบปรามคนที่อ่อนแอกว่า อย่างเช่น การปล้นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนเผ่าอินเดียนแดงในอดีต และการปล้นโลกสมัยใหม่ อย่างเช่น การยึดครองอิรัก และอัฟกานิสถานในปัจจุบัน
อีกแบบชีวิตหนึ่ง คือ การเล่นการพนัน ทุนนิยมเก็งกำไรนี้นักวิชาการบางท่านจะเรียกว่า ‘ทุนนิยมการพนัน’ กล่าวเป็นรูปธรรมคือ เวลาเราเข้าไปในตลาดหุ้นก็ไม่ต่างจากเราเข้าไปในสนามม้า แล้วแทงม้า ถ้าแทงถูกก็ได้เงิน ถ้าแทงผิดก็หมดตัว
คนที่ชอบเล่นการพนัน ที่สุดแล้ว จะมีสภาพกลายเป็นผีพนัน และมีชีวิตอยู่กับความโลภ
ยิ่งได้ ยิ่งรวย ยิ่งโลภ ยิ่งหลงติด
ช่วงเวลาที่เสียเงิน ก็คือ ช่วงเวลาที่เลวร้ายสุดๆ ของบรรดาผีพนัน แต่บรรดาผีพนันจะพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เงินกลับมา ซึ่งผลกลับเป็นไปในทิศตรงข้าม
ยิ่งดิ้น ยิ่งเสีย ยิ่งหายนะ
บรรดานายทุนอเมริกันถือว่า เรื่องเสีย หรือ เรื่องหายนะ เป็นเรื่องของบรรดาแมงเม่าโง่ๆ เท่านั้น
ถ้าฉลาดพอ ก็ไม่มีทางเสีย หรือ แพ้พนัน
อีกสาเหตุที่ชนชั้นนำอเมริกันมองไม่เห็นอันตรายของทุนแบบนี้ เนื่องจากพวกเขาคิดว่าสามารถควบคุมการเคลื่อนตัวของทุนดังกล่าวได้ ที่สำคัญพวกเขาสามารถใช้ทุน (เก็งกำไร) เป็นเครื่องมือสำคัญในการยึดครองโลกนี้ได้ด้วย
ในยุคโลกาภิวัตน์ สหรัฐอเมริกาเป็นทั้งศูนย์กลางของทุนเก็งกำไร และเป็นศูนย์ของสื่อและวัฒนธรรมไร้พรมแดน
ทั้งเงินและสื่อ ได้กลับกลายเป็น ‘อาวุธ ใหม่’ ที่ทรงประสิทธิภาพยิ่ง อาจจะถือได้ว่า มีพลังไม่น้อยกว่าระเบิดปรมาณู เพราะมีอำนาจทำลายล้างเศรษฐกิจประเทศใดประเทศหนึ่งได้ด้วย
ถ้าเรามองย้อนประวัติศาสตร์ ในช่วงปี 1980 ถึง 90 ประเทศญี่ปุ่นได้ก้าวขึ้นมามีฐานะเป็นศูนย์ของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในด้านการผลิต และสามารถขยายอำนาจขึ้นมาท้าทายความยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา
ชนชั้นนำอเมริกันจึงเริ่มใช้สื่อโลกสร้างภาพเรื่อง Japan is Number 1 อย่างต่อเนื่อง เงินเก็งกำไรมหาศาลไหลเข้าประเทศญี่ปุ่นไปที่ตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์
ในที่สุด ฟองสบู่ก็แตกที่ประเทศญี่ปุ่น ปี 1990 ฐานะความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจโลกของญี่ปุ่นก็ทรุดลง ในทางการเมืองทำให้ญี่ปุ่นจำต้องซุกตัวอยู่ภายใต้อำนาจทางการเมืองของจักรวรรดิอเมริกา
นี่หมายความว่า ทั้งสื่อไร้พรมแดนและทุนเก็งกำไรได้กลายเป็นอาวุธสำคัญ ที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง สามารถใช้โจมตีและปล้นความมั่งคั่งจากประเทศต่างๆ ได้
หลังจากปี 1990 ทุนปั่นกำไรได้เข้าโจมตีค่าเงินประเทศต่างๆ ทั่วโลก สร้างความมั่งคั่งแก่ทุนปั่นกำไร ในเวลาเดียวกัน เท่ากับเป็นการขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจของระบบทุนโลกซึ่งมีศูนย์ที่สหรัฐอเมริกา อเมริกาจึงเข้ามามีอิทธิพลครอบเหนือระบบเศรษฐกิจโลกทั้งระบบ
ก่อนวิกฤตเอเชีย ปี 1997 ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเริ่มก่อตัวขึ้นในย่านเอเชีย ส่วนหนึ่งมาจากการเติบโตของกลุ่มทุนชาวจีนและการขยายทุนของญี่ปุ่น
ชนชั้นนำอเมริกันเริ่มพบคู่แข่งทางอำนาจใหม่ ที่มีกลุ่มทุนชาวจีนและประเทศจีนเป็นศูนย์กลาง ชนชั้นนำอเมริกันจึงใช้สื่อไร้พรมแดนของอเมริกาเริ่มประโคมข่าวเรื่อง เสือเศรษฐกิจเอเชีย
เงินเก็งกำไรมหาศาลได้ไหลเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อเกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและร้อนแรง ส่งผลให้ทั้งตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์เบ่งบาน ในที่สุดแล้วก็นำสู่หายนะครั้งใหญ่ นั่นคือ ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า โรคต้มยำกุ้ง
หลังจากนั้น ทุนเก็งกำไร(ทั้งสหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์) ก็ได้ประโยชน์มหาศาลจากโรคต้มยำกุ้งออกฤทธิ์ ด้วยการแห่เข้ามากว้านซื้อสินค้าราคาถูก และยึดครองเศรษฐกิจประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในย่านนี้
ผมเคยเขียนงานในช่วงวิกฤตครั้งนั้น ชี้ว่า วิกฤตนี้ ไม่ใช่วิกฤตทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่มีเรื่องการเมืองซ่อนตัวอยู่ด้วย เพราะเป้าหมายที่แท้จริงของการโจมตีค่าเงิน ไม่ใช่ที่ประเทศไทย แต่อยู่ที่การพยายามสกัดกั้นการขยายตัวของกลุ่มทุนจีน และประเทศจีน
หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ ชนชั้นนำสหรัฐอเมริกากำลังกลัวว่าเศรษฐกิจจีนจะทะยานขึ้นไปเรื่อยๆ แบบฉุดไม่อยู่ จึงคิดที่จะใช้สงครามทางการเงิน(ปี 40) สั่นคลอนเศรษฐกิจเอเชียทั้งระบบ
โชคยังดี ประเทศจีนกลับรับสถานการณ์ได้ดีเกินคาด แม้ว่าหลังจากวิกฤตต้มยำกุ้ง โซรอส และทุนปั่นกำไรจะเข้าไปโจมตีค่าเงินจีนในตลาดฮ่องกงหลายครั้ง แต่ก็ล้มเหลว
พอถึงประมาณปี 2004 ถึง 2005 ชนชั้นนำอเมริกันได้พยายามสกัดพัฒนาการของจีนอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากช่วงหลังปี 2000 เป็นต้นมา เศรษฐกิจจีนขยายตัวกว่า 10 เปอร์เซ็นต์เกือบทุกปี ถือว่าเป็นช่วงการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนที่ร้อนแรงมากๆ จนในที่สุด ประเทศจีนพัฒนากลายเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าของโลก
ข่าวตะวันตกก็ช่วยกันสร้างภาพว่า ศตวรรษหน้าและต่อไป จะเป็นศตวรรษของจีน และอาเซียน เพื่อช่วยเพิ่มความร้อนแรงให้แก่เศรษฐกิจจีน
ในเวลาเดียวกัน ชนชั้นนำสหรัฐอเมริกา ก็ช่วยเติมความร้อนแรงของเศรษฐกิจอาเซียน ด้วยการปั่นราคาน้ำมันโลกให้ขยายตัวอย่างรุนแรง หวังว่าจะทำให้เศรษฐกิจในย่านอาเซียน และจีนร้อนแรงอย่างสุดๆ และเกิดการทรุดใหญ่
ปรากฏว่า “ได้ผลอย่างยิ่ง”
ประเทศในย่านเอเชีย หลายประเทศ ไม่ว่า อินเดีย เวียดนาม อินโดฯ เกาหลี และแม้แต่ไทยเอง ก็ต้องเผชิญปัญหาเงินเฟ้อและฝืด บางประเทศ อย่างเช่น เวียดนาม เงินเฟ้อพุ่งสูงถึงตัวเลข 2 หลัก
จีนเองพยายามค้ำยันไม่ให้ปัญหาทั้งเงินฝืดและเงินเฟ้อขยายตัว โดยพยายามอุ้มราคาน้ำมันไว้ให้อยู่ และเกือบจะเอาไม่อยู่เช่นกัน แต่เหตุการณ์กลับพลิกผันเกินคาด ปรากฏว่า ปัญหาทั้งเงินเฟ้อและฝืดได้ระบาดเข้าสู่สหรัฐอเมริกาและยุโรป
ผมหยุดเว้นระยะ และกล่าวว่า
“นี่แหละ ที่พระท่านสอนว่า ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว”
ชนชั้นนำอเมริกันประมาท และคาดการณ์เรื่องอันตรายของฟองสบู่ที่แพร่อยู่ในสหรัฐอเมริกาและยุโรปต่ำกว่าที่เป็นจริง
สาเหตุที่ประมาทมาก เนื่องจากชนชั้นนำอเมริกันเชื่อในมายาคติว่า “สามารถควบคุม และจัดการได้”
จนมีการพูดกันติดปากว่า “เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสได้”
อีกสาเหตุหนึ่งที่นำสู่ความประมาทอย่างยิ่ง ก็เนื่องจากว่าประเทศสหรัฐอเมริกาเองเคยเจอวิกฤตฟองสบู่มาแล้ว และสามารถจัดการได้ง่ายๆ เมื่อ ปลายปี 2000 (ซึ่งผมได้เล่าไว้แล้วในตอนต้นของบทความนี้)
ความสำเร็จในช่วงปี 2000 มีส่วนผลักให้เกิดทุนฟองสบู่เติบใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว และทำให้เศรษฐกิจอเมริกาทั้งระบบกลายเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีชีวิตอยู่กับฟองสบู่
เมื่อฟองสบู่ขยายใหญ่ขึ้น ชีวิตของคนอเมริกันก็ถูกลากเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตฟองสบู่โดยถ้วนหน้า แม้แต่เงินออมที่เรียกว่า ‘เงินบำนาญ’ ที่คนอเมริกันถือเป็นเงินที่เก็บไว้ใช้ในยามแก่ ก็กลายเป็นเงินฟองสบู่
ผมขอเล่าแบบนิยายเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น
มีประเทศ ประเทศหนึ่งชื่อว่า มิสเตอร์อเมริกา ได้เลี้ยงยักษ์ไว้ตนหนึ่ง ยักษ์ตัวนี้เลี้ยงไว้เพื่อใช้ปราบปรามและทำลายล้างประเทศอื่นๆ แต่มีปัญหาอยู่อย่างหนึ่งคือ ยักษ์ตนนี้ กินเก่งมากๆ
ยิ่งกิน ยิ่งใหญ่
ยิ่งพอง ยิ่งมีอำนาจการกินมากขึ้นเรื่อยๆ
ผมจะเรียกการกินแบบนี้ว่า Turbo-Accumulation หรือ กินแบบติดจรวด
วันหนึ่ง เมื่อยักษ์ตนนี้เติบใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ไม่รู้จะกินอะไรต่อไป ก็หันไปกินประเทศที่ให้กำเนิดและเลี้ยงดูตัวเองมา
ทุนฟองสบู่ ไม่ต่างจากยักษ์ตนนี้ หรือต้นกาฝาก ที่จะเติบใหญ่ และใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อใหญ่มากๆ เข้า ก็จะเกินความสามารถในการควบคุม แล้วมันจะหันกลับมาทำลายผู้เลี้ยงดู หรือต้นไม้จริง หรือนั่นก็คือ การผลิตจริง ให้พังพินาศไปในที่สุด (ยังมีต่อ)