ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ไครสซิส อัดอุตฯเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางเพื่อการส่งออกชายแดนใต้แบนเป็นแซนด์วิช ประธานสภาอุตฯยะลาเผยผู้ประกอบการถูกโชคร้ายเล่นงานหลายเด้ง ทั้งปัญหาความไม่สงบ และแรงงาน แถมปลายปีนี้ต่างประเทศยังตัด-ยกเลิกออเดอร์ ทำให้ต้องลดการผลิตลง 50-60 % เสียรายได้นับพันล้านบาท ขณะที่ จ.พัทลุงก็ถูกฟาดซ้ำทั้งยอดสั่งซื้อวูบ โรงงานแปรรูปหยุดรับซื้อส่งผลกระทบผู้รับซื้อไม้ยางรายย่อยที่ทุนจมทันที แต่ยังฮึดสู้ขอรัฐบาลให้ยาหอมฝ่ามรสุมด้านมาตรการภาษี เพิ่มระยะเวลารับสิทธิประโยชน์จากบีโอไอ และช่วยเหลือซอฟต์โลน รวมทั้งเจาะตลาดตะวันออกกลาง
นอกจากปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ส่งผลกระทบอย่างสาหัสต่ออุตสาหกรรมในพื้นที่แล้ว ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กำลังแผ่ขยายผลกระทบในวงกว้างก็ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่รุมเร้า โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางแปรรูป ซึ่งสร้างรายได้เข้าประเทศปีละหลายพันล้านบาท
นายยู่สิน จิตนภากร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ปันป่วนอยู่ในขณะนี้ ทำให้สภาอุตสาหกรรมต้องจับตาดูความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด รวมทั้งจับเข่าพูดคุยและหารือมาโดยตลอด โดยภาคอุตสาหกรรมในภาค SMEs ซึ่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีการผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์จากการแปรรูปไม้ยางพาราเป็นจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก
“ทุกๆ ปลายปีจะเป็นช่วงที่ลูกค้าส่งออเดอร์เข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่ปีนี้ออเดอร์จากบางประเทศลดน้อยลง และบางประเทศตัดออเดอร์ไปทั้งหมดก็มี ทำให้โรงงานบางแห่งไม่มีออเดอร์จากต่างประเทศเข้ามาเลย ซึ่งปัจจุบันจังหวัดยะลามีโรงงานไม้ยางพาราประมาณ 30 โรง บางแห่งต้องลดการผลิตลง เนื่องจากไม่สามารถนำไม้ยางเข้ามาสู่กระบวนการผลิตได้จากปัญหาความไม่สงบทำให้หาวัตถุดิบได้น้อยลง ซึ่งจากเดิมสามารถตัดไม้ยางได้วันละ 2-3 รอบ แต่ปัจจุบันได้วันละครั้งเดียว ภาพรวมจึงมีการลดการผลิตลงประมาณร้อยละ 50-60%” นายยู่สิน กล่าวต่อและว่า
ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นแม้ว่าผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวลดต้นทุนเองแล้ว รัฐบาลเองก็ต้องดูแลและให้ความช่วยเหลือด้วยเช่นกัน โดยในระยะแรกให้ใช้มาตรการเร่งด่วนใน 3 ส่วนก่อนที่จะสายเกินแก้ ได้แก่ ด้านลดภาษี, เพิ่มสิทธิประโยชน์บีโอไอ และการช่วยเหลือด้านเงินกู้ซอฟต์โลน ซึ่งจะช่วยพยุงภาคธุรกิจให้สามารถฝ่ามรสุมลูกนี้ไปได้
“พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับผลกระทบ 2 – 3 เด้ง ซึ่งไม่ใช่เป็นแฮมเบอร์เกอร์ แต่เป็นแซนด์วิชทีเดียว เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบอยู่ด้วย ถึงแม้ว่าภาครัฐได้พยายามที่จะให้เกิดความสันติสุขมาโดยตลอดก็ตาม แต่ก็ยังมีเหตุการณ์ที่ลดลง ก็ยังไม่สร้างความไว้วางใจต่อผู้ประกอบการ วัตถุดิบไม้ยางซึ่งอยู่รอบนอกพื้นที่ทำให้ต้องเสี่ยงเดินทางเข้าไป และมีน้อยมากที่วัตถุดิบจะถูกป้อนสู่ผู้ประกอบการโดยตรง รัฐจึงควรลดภาษีลงเพื่อช่วยให้ภาคธุรกิจได้ขับเคลื่อนไปบ้างในภาวะที่ฝืดเคือง” นายยู่สิน กล่าวต่อและว่า
ส่วนที่สองนั้น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ควรเพิ่มเวลาสิทธิประโยชน์ ในกรณีที่บางโรงงานหรือผู้ประกอบการกำลังจะหมดไปหรือหมดระยะเวลาการได้รับสิทธิประโยชน์แล้วอีก 3-5 ปี เนื่องจากแนวทางดังกล่าวได้ช่วยเหลือเข้าถึงผู้ประกอบการได้ เปรียบเหมือนการต่อลมหายใจในภาคการลงทุนได้อีกระยะหนึ่ง
ส่วนที่สาม การช่วยเหลือเงินซอฟต์โลน ซึ่งภาครัฐควรจะมาช่วยเหลือและดูแลเรื่องนี้ด้วยตัวเอง เนื่องจากตาม พ.ร.บ.การเงินฉบับใหม่นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่สามารถดำเนินการช่วยเหลือเรื่องเงินกู้ซอฟต์โลนได้ ดังนั้น ภาครัฐควรที่จะตั้งกองทุนขึ้นมากองทุนหนึ่ง เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคธุรกิจหรือภาคอุตสาหกรรม ถึงแม้ว่าดอกเบี้ยเพียง 5 % แต่ก็ควรให้ต่ำที่สุด เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เงินมาหมุนเวียน
นอกจากนี้ ภาครัฐควรเปิดทางทำโรดโชว์ตลาดเฟอร์นิเจอร์ใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากตลาดใหญ่ที่มีอยู่ ทั้งอเมริกาและยุโรปซึ่งประสบปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินโดยตรง ซึ่งผู้ประกอบการเห็นว่าน่าจะเป็นตลาดในตะวันออกกลาง เป็นต้น
ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.ยะลา ยังกล่าวต่อด้วยว่า สำหรับสถานการณ์แรงงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น พบว่าขาดแคลนแรงงานประเภทไร้ฝีมือ ซึ่งอยากให้รัฐผ่อนปรนให้มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวบ้าง ขณะเดียวกันก็ยังมีแรงงานบางประเภทมากเกินกว่าจำนวนงานที่มี
ด้าน จ.พัทลุง ซึ่งเป็นอีกพื้นที่หนึ่ง ที่มีผู้ประกอบการธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราเพื่อการส่งออก เป็นอันดับรองจาก จ.ยะลา ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยนายเล็ก อังศุวารี อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง และผู้ประกอบการธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารารายใหญ่จังหวัดพัทลุง กล่าวว่า อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา ชิ้นส่วนไม้ยางพาราเพื่อการส่งออกในพื้นที่ได้รับผลกระทบแล้วเช่นกัน โดยพบว่ายอดส่งออกตกไปประมาณ 30 – 40 % โรงงานแปรรูปจึงหยุดรับซื้อไม้ยางพาราชั่วคราว อีกทั้งราคาไม้ยางพาราลดต่ำลง ส่งผลให้พ่อค้าคนกลางที่รับซื้อไม้ไปแล้วราคาตั้งแต่ 40,000 – 100,000 บาท/ไร่ ประสบภาวะขาดทุนอีกเด้งหนึ่งด้วย
ผลกระทบดังกล่าวยังไม่หยุดอยู่แค่นั้น แต่ยังเชื่อมโยงถึงบริษัทขนส่งสินค้ารายใหญ่ที่ต้องได้หยุดกิจการชั่วคราวจากยอดขายสินค้าลดน้อยลง ทำให้ธุรกิจรับส่งสินค้าภายในประเทศซบเซาลงด้วย ซึ่งเดิมรถบรรทุกสินค้าแต่ละคันสามารถรับส่งสินค้า ประมาณคันละ 6-8 เที่ยว/เดือน/ แต่ปรากฏว่าในขณะนี้เหลือประมาณ 1-2 เที่ยว / เดือนเท่านั้น ไม้เว้นแม้แต่ธุรกิจกลุ่มรับซื้อของเก่า เช่น เศษเหล็ก เศษกระดาษ เช่นถุงพลาสติก ซึ่งบางโรงงานที่รับซื้อก็ต้องปิดโรงงานลงชั่วคราว หลังจากผู้ประกอบการหยุดเดินรถในการขนส่ง
นอกจากปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ส่งผลกระทบอย่างสาหัสต่ออุตสาหกรรมในพื้นที่แล้ว ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กำลังแผ่ขยายผลกระทบในวงกว้างก็ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่รุมเร้า โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางแปรรูป ซึ่งสร้างรายได้เข้าประเทศปีละหลายพันล้านบาท
นายยู่สิน จิตนภากร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ปันป่วนอยู่ในขณะนี้ ทำให้สภาอุตสาหกรรมต้องจับตาดูความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด รวมทั้งจับเข่าพูดคุยและหารือมาโดยตลอด โดยภาคอุตสาหกรรมในภาค SMEs ซึ่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีการผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์จากการแปรรูปไม้ยางพาราเป็นจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก
“ทุกๆ ปลายปีจะเป็นช่วงที่ลูกค้าส่งออเดอร์เข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่ปีนี้ออเดอร์จากบางประเทศลดน้อยลง และบางประเทศตัดออเดอร์ไปทั้งหมดก็มี ทำให้โรงงานบางแห่งไม่มีออเดอร์จากต่างประเทศเข้ามาเลย ซึ่งปัจจุบันจังหวัดยะลามีโรงงานไม้ยางพาราประมาณ 30 โรง บางแห่งต้องลดการผลิตลง เนื่องจากไม่สามารถนำไม้ยางเข้ามาสู่กระบวนการผลิตได้จากปัญหาความไม่สงบทำให้หาวัตถุดิบได้น้อยลง ซึ่งจากเดิมสามารถตัดไม้ยางได้วันละ 2-3 รอบ แต่ปัจจุบันได้วันละครั้งเดียว ภาพรวมจึงมีการลดการผลิตลงประมาณร้อยละ 50-60%” นายยู่สิน กล่าวต่อและว่า
ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นแม้ว่าผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวลดต้นทุนเองแล้ว รัฐบาลเองก็ต้องดูแลและให้ความช่วยเหลือด้วยเช่นกัน โดยในระยะแรกให้ใช้มาตรการเร่งด่วนใน 3 ส่วนก่อนที่จะสายเกินแก้ ได้แก่ ด้านลดภาษี, เพิ่มสิทธิประโยชน์บีโอไอ และการช่วยเหลือด้านเงินกู้ซอฟต์โลน ซึ่งจะช่วยพยุงภาคธุรกิจให้สามารถฝ่ามรสุมลูกนี้ไปได้
“พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับผลกระทบ 2 – 3 เด้ง ซึ่งไม่ใช่เป็นแฮมเบอร์เกอร์ แต่เป็นแซนด์วิชทีเดียว เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบอยู่ด้วย ถึงแม้ว่าภาครัฐได้พยายามที่จะให้เกิดความสันติสุขมาโดยตลอดก็ตาม แต่ก็ยังมีเหตุการณ์ที่ลดลง ก็ยังไม่สร้างความไว้วางใจต่อผู้ประกอบการ วัตถุดิบไม้ยางซึ่งอยู่รอบนอกพื้นที่ทำให้ต้องเสี่ยงเดินทางเข้าไป และมีน้อยมากที่วัตถุดิบจะถูกป้อนสู่ผู้ประกอบการโดยตรง รัฐจึงควรลดภาษีลงเพื่อช่วยให้ภาคธุรกิจได้ขับเคลื่อนไปบ้างในภาวะที่ฝืดเคือง” นายยู่สิน กล่าวต่อและว่า
ส่วนที่สองนั้น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ควรเพิ่มเวลาสิทธิประโยชน์ ในกรณีที่บางโรงงานหรือผู้ประกอบการกำลังจะหมดไปหรือหมดระยะเวลาการได้รับสิทธิประโยชน์แล้วอีก 3-5 ปี เนื่องจากแนวทางดังกล่าวได้ช่วยเหลือเข้าถึงผู้ประกอบการได้ เปรียบเหมือนการต่อลมหายใจในภาคการลงทุนได้อีกระยะหนึ่ง
ส่วนที่สาม การช่วยเหลือเงินซอฟต์โลน ซึ่งภาครัฐควรจะมาช่วยเหลือและดูแลเรื่องนี้ด้วยตัวเอง เนื่องจากตาม พ.ร.บ.การเงินฉบับใหม่นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่สามารถดำเนินการช่วยเหลือเรื่องเงินกู้ซอฟต์โลนได้ ดังนั้น ภาครัฐควรที่จะตั้งกองทุนขึ้นมากองทุนหนึ่ง เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคธุรกิจหรือภาคอุตสาหกรรม ถึงแม้ว่าดอกเบี้ยเพียง 5 % แต่ก็ควรให้ต่ำที่สุด เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เงินมาหมุนเวียน
นอกจากนี้ ภาครัฐควรเปิดทางทำโรดโชว์ตลาดเฟอร์นิเจอร์ใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากตลาดใหญ่ที่มีอยู่ ทั้งอเมริกาและยุโรปซึ่งประสบปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินโดยตรง ซึ่งผู้ประกอบการเห็นว่าน่าจะเป็นตลาดในตะวันออกกลาง เป็นต้น
ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.ยะลา ยังกล่าวต่อด้วยว่า สำหรับสถานการณ์แรงงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น พบว่าขาดแคลนแรงงานประเภทไร้ฝีมือ ซึ่งอยากให้รัฐผ่อนปรนให้มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวบ้าง ขณะเดียวกันก็ยังมีแรงงานบางประเภทมากเกินกว่าจำนวนงานที่มี
ด้าน จ.พัทลุง ซึ่งเป็นอีกพื้นที่หนึ่ง ที่มีผู้ประกอบการธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราเพื่อการส่งออก เป็นอันดับรองจาก จ.ยะลา ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยนายเล็ก อังศุวารี อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง และผู้ประกอบการธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารารายใหญ่จังหวัดพัทลุง กล่าวว่า อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา ชิ้นส่วนไม้ยางพาราเพื่อการส่งออกในพื้นที่ได้รับผลกระทบแล้วเช่นกัน โดยพบว่ายอดส่งออกตกไปประมาณ 30 – 40 % โรงงานแปรรูปจึงหยุดรับซื้อไม้ยางพาราชั่วคราว อีกทั้งราคาไม้ยางพาราลดต่ำลง ส่งผลให้พ่อค้าคนกลางที่รับซื้อไม้ไปแล้วราคาตั้งแต่ 40,000 – 100,000 บาท/ไร่ ประสบภาวะขาดทุนอีกเด้งหนึ่งด้วย
ผลกระทบดังกล่าวยังไม่หยุดอยู่แค่นั้น แต่ยังเชื่อมโยงถึงบริษัทขนส่งสินค้ารายใหญ่ที่ต้องได้หยุดกิจการชั่วคราวจากยอดขายสินค้าลดน้อยลง ทำให้ธุรกิจรับส่งสินค้าภายในประเทศซบเซาลงด้วย ซึ่งเดิมรถบรรทุกสินค้าแต่ละคันสามารถรับส่งสินค้า ประมาณคันละ 6-8 เที่ยว/เดือน/ แต่ปรากฏว่าในขณะนี้เหลือประมาณ 1-2 เที่ยว / เดือนเท่านั้น ไม้เว้นแม้แต่ธุรกิจกลุ่มรับซื้อของเก่า เช่น เศษเหล็ก เศษกระดาษ เช่นถุงพลาสติก ซึ่งบางโรงงานที่รับซื้อก็ต้องปิดโรงงานลงชั่วคราว หลังจากผู้ประกอบการหยุดเดินรถในการขนส่ง