xs
xsm
sm
md
lg

ด่งเวียดนามเน่าสนิทชิปปิ้งไม่รับส่งออกป่วน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#FF0000> ภาพถ่ายวันที่ 8 มิ.ย.2551 ท่าเรือไซ่งอนเต็มไปด้วยคอนเทนเนอร์สินค้าทั้งขาเข้าและขาออก ทุกอย่างปั่นป่วนไปหมด เบื้องหลังก็คือบริษัทชิปปิ้งยอมฝืนกฎหมายไม่รับเงินด่งเวียดนามเป็นค่าบริการ ตั้งแต่ก่อนหน้านั้น 3 วัน และยังให้ลูกค้าอัตราแลกเปลี่ยนด่ง-ดอลลาร์ในตลาดมืด ชิ้ปปิ้งบางรายยอมรับเงินด่ง แต่ลูกึ้าต้องจ่ายเซอร์ชาร์จอีก 10% (ภาพ: AFP) </FONT></CENTER>

ผู้จัดการรายวัน -- บริษัทขนส่งสินค้าหลายแห่งประกาศไม่ยอมรับเงินด่งเงินสกุลเวียดนาม เป็นค่าขนส่งสินค้าอีกต่อไป ทั้งยื่นคำขาดให้ผู้ส่งออกและนำเข้าจ่ายค่าบริการ รวมทั้งค่าธรรมเนียมต่างๆ เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แทน ซึ่งเจ้าหน้าที่ทางการกล่าวว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย

นักวิเคราะห์มองว่า การปรับอัตราดอกเบี้ยกลางขึ้นจาก 12 เป็น 14% โดยมีผลในวันพุธ (11 มิ.ย.) รวมทั้งการปรับอัตราแลกเปลี่ยนในการกู้ยืมเงินดอลลาร์ระหว่างธนาคาร (Interbank Rate) ลงราว 2% กำลังจะซ้ำเติมสถานการณ์ในภาคส่งออก ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจหลักของประเทศ

บริษัทขนส่งทางเรือหลายแห่งที่นำโดยบริษัทเมดิเตอร์เรเนียนชิปปิ้ง (Mediterranean Shipping Company S.A) ซึ่งเป็นบริษัทขนส่งรายใหญ่ ได้แจ้งเรื่องนี้ต่อบริษัทต่างๆ ในเวียดนามตั้งแต่วันที่ 5 มิ.ย. หนังสือพิมพ์เหงือยลาวด่ง (Nguoi Lao Dong) หรือ “คนงาน” รายงานเรื่องนี้เมื่อวันพุธ (11 มิ.ย.)

บริษัทชิปปิ้งแห่งต่างๆ ได้ปิดบัญชีเดินสะพัดเงินสกุลด่งลง เปิดบัญชีรับเงินสกุลดอลลาร์แทนและให้ลูกค้าใช้อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดมืดเป็นเกณฑ์ ทั้งนี้ เพื่อลดการขาดทุน หนังสือพิมพ์ของทางการกล่าว

ความเคลื่อนไหวของบริษัทชิปปิ้งมีขึ้นในช่วงที่ค่าเงินเวียดนามอ่อนลงเป็นระยะๆ จนกระทั่งแตะ 17,000-18,000 ด่งต่อดอลลาร์ปลายสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดโดยธนาคารแห่งรัฐเวียดนามหรือ SBV (State Bank of Vietnam) อยู่ที่ 16,100 ด่ง

นักวิเคราะห์ มองว่า การที่ SBV ขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งหนึ่งซึ่งเป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี และมีผลในวันพุธ กำลังซ้ำเติมความยากลำบากในภาคส่งออกและนำเข้าสินค้าของประเทศ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์แห่งต่างๆ ตกอยู่ในสภาพขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง

ไม่เพียงแต่บริษัทขนส่งสินค้าและภาคการส่งออกและนำเข้าเท่านั้นที่ประสบปัญหา ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในชั่วเวลาเพียงข้ามวันนี้กำลังทำให้ธุรกิจต่างๆ ในประเทศต้องปิดตัวเองลงอีกจำนวนมากเนื่องจากขาดสภาพคล่องอย่างวิกฤต
<CENTER><FONT color=#FF0000> ภาพถ่ายวันที่ 8 มิ.ย.2551 ท่าเรือไซ่งอนเต็มไปด้วยคอนเทนเนอร์สินค้าทั้งขาเข้าและขาออก ทุกอย่างปั่นป่วนไปหมด เบื้องหลังก็คือบริษัทชิปปิ้งยอมฝืนกฎหมายไม่รับเงินด่งเวียดนามเป็นค่าบริการ ตั้งแต่วันที่ 5 มิ.ย.และยังให้ลูกค้าใช้อัตราแลกเปลี่ยนด่ง-ดอลลาร์ในตลาดมืด ชิ้ปปิ้งบางรายยอมรับเงินด่ง แต่ลูกค้าต้องจ่ายเซอร์ชาร์จอีก 10% (ภาพ: AFP)
นอกจากประกาศขึ้นดอกเบี้ยแล้ว วันอังคารที่ผ่านมา SBV ยังประกาศปรับลดอัตรากู้ยืมเงินดอลลาร์ระหว่างธนาคารจาก 16,139 ด่ง เป็น 16,461 ด่งต่อดอลลาร์ ซึ่งเท่ากับว่ารัฐบาลได้ลดค่าเงินด่งลงประมาณ 2% โดยปริยาย

ในทางปฏิบัตินั้น SBV ได้อะลุ้มอล่วยให้ธนาคารพาณิชย์ยืดหยุ่นอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นหรือลงจากอัตราที่แบงก์แห่งรัฐกำหนดได้ 1% ในแต่ละวัน การปรับลดลง 2% ก็จะไม่มีผลแตกต่างกันมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาพื้นฐานอื่นๆ ในภาคการเงินของประเทศยังไม่ได้รับการแก้ไข

นายธนาคารในกรุงฮานอยผู้หนึ่งให้สัมภาษณ์เมื่อวันจันทร์ ระบุว่าแบงก์พาณิชย์ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับปริมาณการปล่อยกู้ ทำให้ธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องการเงินจำนวนมากต้องหันไปกู้ระหว่างธุรกิจด้วยกันในอัตราดอกเบี้ย 5-7% ต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก และยังเป็นอันตรายต่อระบบการเงินของประเทศ

นายเลเจียวเฟือง (Le Trieu Phuong) ผู้อำนวยการใหญ่บริษัท MSC กล่าวว่า การปฏิเสธรับเงินด่งเป็นค่าบริการนั้นเป็นมาตรการเพียงชั่วคราว และอาจจะไม่สอดคล้องกับกฎระเบียบทางราชการ แต่ก็มีความจำเป็น ไม่เช่นนั้นก็จะต้องหยุดให้บริการ

นายเฟือง กล่าวว่า ในเดือน พ.ค.เดือนเดียว บริษัทขาดทุนราว 3,000 ล้านด่ง (186,000 ดอลลาร์เศษ) เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวนอย่างหนัก

“ถ้า MSC ยอมรับเงินด่งต่อไปก็จะต้องล้มละลายเนื่องจากบริษัทฯ มีภาระจะต้องจ่ายให้แก่หุ้นส่วนต่างชาติเดือนละ 4 ล้านดอลลาร์” นายเฟือง กล่าว
<CENTER><FONT color=#FF0000>ภาพถ่ายวันพุธ 11 มิ.ย.2551 สตรีเวียดนามกำลังเดินออกจากสำนักงานแบงก์แห่งหนึ่งในนครโฮจิมินห์ ผนังกระจกด้านหน้าแสดงอัตรา ซูเปอร์ดอกเบี้ย ที่เพิ่งปรับใหม่ 17.8% (ภาพ: AFP). </FONT></CENTER>
ชิปปิ้งรายใหญ่นี้ ยังกล่าวอีกว่า มีปัญหาต่างๆ อีกมากมาย รวมทั้งการที่แบงก์พาณิชย์ปฏิเสธขายดอลลาร์ให้แก่ธุรกิจต่างๆ ในปริมาณนับล้านๆ ขณะที่บริษัทรับขนส่งสินค้าจะต้องจ่ายให้บริษัทเดินเรือเดือนละ 2 ล้านดอลลาร์ ขึ้นไป ซึ่งบังคับให้ต้องไปซื้อดอลลาร์ในตลาดมืด

ปัญหานี้ยังคงไม่มีทางออกขณะที่ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกยังคงเต็มท่าเรือไซ่ง่อน เนื่องจากบริษัทชิปปิ้งต่างๆ ยังไม่สามารถนำผ่านขบวนการศุลกากร ทั้งนี้ เพราะอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวนอย่างหนักในช่วง 2-3 สัปดาห์นี้

นายเจิ่นหือว์หวิ่ง (Tran Huu Huynh) หัวหน้าฝ่ายกฎหมาย สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (Vietnam Chamber of Commerce and Industry) กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวของบริษัทชิปปิ้งขัดต่อกฎหมายที่ระบุให้ใช้เงินด่งจ่ายค่าบริการ ภาษีกับค่าธรรมเนียมต่างๆ ในเขตน้ำแดนดินเวียดนาม

การใช้อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดมืด แทนอัตราอย่างเป็นทางการก็เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายเช่นเดียวกัน นายหวิ่ง กล่าว
<CENTER><FONT color=#FF0000>ภาพถ่ายวันที่ 8 มิ.ย.2551 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของแบงก์แห่งหนึ่ง 15.6% เมื่อวันพุธนี้ทุกแห่งต้องปรับขึ้นแบบก้าวกระโดดเพื่อแข่งกันดึงดูดลูกค้าเงินฝาก เนื่องจากเงินแห้งตลาด (ภาพ: AFP) </FONT></CENTER>
บริษัทชิปปิ้งรายใหญ่อีกหลายแห่งรวมทั้งบริษัท จาร์ดีน (Jardine) จากฮ่องกง ก็เข้าร่วมความเคลื่อนไหวกับ MSC ด้วย แต่บริษัทนี้เสนอว่า หากลูกค้าจะจ่ายเป็นเงินด่งโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารการค้าต่างประเทศหรือ Vietcombank ก็จะต้องจ่ายเป็นคาเซอร์ชาร์จอีก 10% ของค่าบริการ

ความเคลื่อนไหวของบริษัทชิปปิ้งได้ทำให้การส่งออกและนำเข้าติดขัดมาเป็นเวลาข้ามเดือน และดูเหมือนว่ายังไม่มีทางออก

ตามรายงานของเหงือยลาวด่ง ไม่เพียงแต่บริษัทชิปปิ้งและบริษัทเดินเรือเท่านั้น ที่กำลังได้รับผลกระทบจากค่าเงินด่ง สายการบินอีกหลายแห่งที่ให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ ก็ได้พยายามตั้งเงื่อนไขของตัวเองเช่นเดียวกัน

บริษัททรานส์เวียดคาร์โก (TransViet Cargo) บริษัทขนส่งรายใหญ่ที่เป็นผู้แทนสายการบินระหว่างประเทศหลายแห่งในเวียดนามได้เริ่มให้ลูกค้าจ่ายค่าบริการเป็นเงินดอลลาร์มาตั้งแต่วันที่ 5 มิ.ย.แล้ว หนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกันกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น