xs
xsm
sm
md
lg

สัญญาณอันตรายเงินด่งตลาดนอกวูบ 40%

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#660099>นักธุรกิจนักลงทุนกับตัวแทนกลุ่มประเทศผู้บริจาค (Donor Countries) ประชุมเมื่อวันจันทร์ (2 มิ.ย.) แม้ว่าเวียดนามยังเป็นปลายทางลงทุนที่น่าสนใจ แต่เกือบทั้งหมดก็สะท้อนความห่วงใยต่อสถานการณ์เงินเฟ้อ ซึ่งจะส่งผลถึงบรรยากาศการลทุนในประเทศ (ภาพ: AFP) </FONT></CENTER>

ผู้จัดการรายวัน-- เงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นสูงกว่า 25% ในเดือน พ.ค. จากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่พุ่งลิ่วได้ทำให้ค่าเงินผันผวนอย่างหนัก และ กำลังส่งผลอย่างเป็นลูกโซ่ทำให้ค่าเงินด่งของเวียดนามในตลาดค้าเงินล่วงหน้าต่างประเทศตกวูบลงในวันอังคาร (3 มิ.ย.) ที่ผ่านมา

ขณะเดียวกันแบงก์ชาติได้ปรับอัตราแลกเปลี่ยนอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นอัตราต่ำที่สุดในรอบ 4 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์

นักวิเคราะห์กล่าวว่าค่าเงินด่งอ่อนลงเกือบ 40% ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ตัวเลขขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นอย่างน่าใจหาย และทุกฝ่ายกำลังจับตาอย่างใกล้ชิดว่า จะมีสัญญาณการประกาศลดค่าเงินจากธนาคาแห่งรัฐเวียดนาม (State Bank of Vietnam) ออกมาเมื่อไร

แต่นักวิเคราะห์อีกจำนวนหนึ่งจะลงความเห็นว่า ความเสี่ยงที่จะได้เห็น SVB ทำเช่นนั้นยังมีต่ำมาก

ธนาคารแห่งรัฐเวียดนามได้ปรับอัตราแลกเปลี่ยนลงเล็กน้อยเมื่อวันอังคารนี้ เป็น 16,099 ด่งต่อดอลลาร์ จาก 16,060 ด่งก่อนหน้านี้ หลังจากอัตราแลกในตลาดผันผวนอย่างหนัก

ช่วงกลางสัปดาห์จนถึงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ดีลเลอร์ใหญ่ 2-3 รายในนครโฮจิมินห์กับกรุงฮานอยประกาศซื้อดอลลาร์ในอัตราตั้งแต่ 17,300-17,700 ขณะทั่งอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการซึ่งแม้จะปรับเพียงเล็กน้อย แต่ก็เป็นค่าเงินที่ต่ำสุดในรอบ 4 เดือน ตั้งแต่วันที่ 28 ม.ค.เป็นต้นมา
<CENTER><FONT color=#660099>เงินเฟ้อเดือน พ.ค.พุ่งขึ้นสูง 25.3% เทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้วแต่วันที่ 24 กลุ่มนักลงทุนจากแคนาดาทำพิธีวางศิลาฤกก์ก่อสร้างโครงการโรงแรมกาสิโนรีสอร์ทหรูกับศูนย์การค้าใหญ่โต มูลค่า 4,200 ล้านดอลลาร์ที่เมืองหวุงเต่า (Vung Tao) ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ทุกอย่างสวนทางกันหมด (ภาพ: AFP) </FONT></CENTER>
ตามรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ ค่าเงินด่งซื้อขายล่วงหน้า1 ปีในตลาดออฟชอร์ PNDG ในบ่ายวันอังคารนี้ปรับไปอยู่ที่ 22,150/23,150 ต่อดอลลาร์ซึ่งแสดงว่าค่าเงินเวียดนามได้ลดลง 39.3% ขณะที่ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดประเทศเป็น 16,250/16,260

นักวิเคราะห์กล่าวว่าการที่ค่าเงินด่งเปลี่ยนแปลงเกือบ 40% ในเวลาแค่เพียง 1 ปีย่อมแสดงให้เห็นความกระวนกระวายใจของนักลงทุน ที่หวาดผวาว่าอาจมีการประกาศลดค่าเงินของเวียดนาม

บรรดานักลงทุนมองไปที่การขาดดุลการค้าที่เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัวในช่วงเดียวกัน กับเงินเฟ้อที่พุ่งทะยานไม่หยุด ซึ่งทำให้เวียดนามเป็นประเทศที่เงินเฟ้อสูงเป็นอันดับ 3 ในย่านเอเชียถัดจากศรีลังกากับพม่า

ธนาคารแห่งรัฐเวียดนามประกาศเมื่อวันจันทร์ ว่า จะคงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานไว้ที่ 12% เพื่อต่อสู้เงินเฟ้อต่อไป

ตามรายงานของหนังสือพิมพ์เวียดนามนิวส์ นายกรัฐมนตรีเวียดนามเหวียนเติ๋นยวุ๋งกล่าวระหว่างปราศรัยเปิดการประชุมสัมมนาในกรุงฮานอยเมื่อวันจันทร์ ยืนยันว่าเศรษฐกิจเวียดนามยังคงมีเสถียรภาพดี “แม้ว่าจะมีปัญหาและอุปสรรคในเชิงลบบางอย่าง” ซึ่งอยู่ระหว่างการแก้ไข
<CENTER><FONT color=#660099> แต่เศรษฐกิจบนท้องถนนนั้นวิกฤต ภาพถ่ายวันที่ 1 มิ.ย.2551-- แม่ค้าปลาที่ตลาดด่งซวน (Dong Xuan) กรุงฮานอยนั่งเหงาๆ รอลูกค้า เงินเฟ้อทำให้ข้าวของทุกอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งหมวดอาหารแพงขึ้น เข้าสู่สภาพซื้อยาก-ขายยาก (ภาพ: Reuters) </FONT></CENTER>
นายกรัฐมนตรีเวียดนามให้สัมภาษณ์อีกครั้งหนึ่ง เรียกร้องไปยังภาคส่วนต่างๆ ให้ร่วมกับภาครัฐในการต่อสู้ภัยเงินเฟ้อ

ผู้นำเวียดนามได้ส่งเสียงเตือนถึงผู้ที่ปล่อยข่าวผิดๆ สร้างความแตกตื่นให้ผู้คนเข้าใจผิดว่ากำลังจะเกิดความอดอยากขึ้นในประเทศนี้ รวมทั้งกลุ่มบุคคลที่กักตุนสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อเก็งกำไร

สำนักงานใหญ่สถิติเวียดนาม (General Statistics Office) ประกาศตัวเลขเงินเฟ้อ 25.3% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยชี้ไปที่ราคาอาหารรวมทั้งข้าวสารที่เป็นตัวนำหน้าฉุดดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) ต่อเนื่องจากเดือน เม.ย. ท่ามกลางการกดดันจากราคาน้ำมัน

ในเดือน เม.ย.ประชาชนที่อาศัยในเมืองใหญ่ทั้งนครโฮจิมินห์ กรุงฮานอยและนครใหญ่อื่นๆ ของประเทศพากันแตกตื่นไปซื้อข้าวและอาหารเพื่อกักตุนจนกระทั่งหมดเกลี้ยงจากซูเปอร์มาร์เก็ตและห้างสรรพสินค้าต่างๆ

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วรัฐบาลได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการกับสินค้านำเข้าที่ยังคงอยู่ในคอนเทนเนอร์ติดค้างอยู่ท่าเรือไซ่ง่อน จนให้อาคารคลังสินค้าแน่นขนัดไม่สามารถจะรับเพิ่มได้อีก

ตามรายงานของสื่อทางการ ผู้นำเข้ากำลังเผชิญกับความผันผวนของค่าเงินด่งไม่สามารถนำสินค้าเข้าสู่ระบบศุลกากรได้ เนื่องจากจะต้องจ่ายแพงขึ้น นอกจากนั้นก็ยังผู้นำเข้าสินค้าประเภทอาหารตั้งใจจะเก็บสิ่งของทั้งหมดเอาไว้เพื่อเก็งกำไรอีกด้วย

อย่างไรก็ตามปลายสัปดาห์ที่แล้วทางการนครโฮจิมินห์ได้สั่งการไปยังแผนกศุลกากรให้ "เคลียร์" สินค้าคงค้างออกจากท่าเรือให้หมดภายใน 15 วัน

เวียดนามเป็นประเทศส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศไทยเท่านั้น และรัฐบาลได้ห้ามส่งออกตั้งแต่เดือน มี.ค. เพื่อสำรวจความต้องการที่แท้จริงในประเทศ
<CENTER><FONT color=#660099>ภาพถ่ายวันที่ 2 มิ.ย.2551 นักลงทุนรายหนึ่งเฝ้าติดตามความผันผวนของดัชนีหุ้นที่ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์กรุงฮานอย ส่วนดัชนี VN Index ตลาดหลักทรัพท์หลักของประเทศในนครโฮจิมินห์ก็ไม่ต่างกัน 1 ปีที่ผ่านมาหุ้นเวียดนามดิ่งลงไปแล้ว 75% (ภาพ: AFP)</FONT></CENTER>
นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้ออกยืนยันต่อประชาชนมาในหลายโอกาสว่า จะไม่เกิดการขาดแคลนข้าวในประเทศ แต่ถึงกระนั้นก็ไม่สามารถหยุดยั้งราคาในท้องตลาดและริมถนนได้

สัปดาห์ที่แล้วบริษัทฟิตช์เรทติง (Fitch Rating) ได้วิจารณ์ว่า รัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามได้ออกมาตรการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ "ล่าช้าเกินไป" และ "น้อยเกินไป" จนสุ่มเสี่ยงต่อการที่จะเกิดปัญหาขึ้นในระบบการเงินการธนาคาร

ธนาคารแห่งรัฐได้ออกมาตรการดอกเบี้ยสกัดกั้นการปล่อยกู้ แต่ในขณะเดียวกันก็ได้ส่งผลโดยตรงต่อตลาดหุ้น ดัชนีหุ้นเวียดนาม (VN Index) ตลาดหลักทรัพย์นครโฮจิมินห์หล่นวูบลงเกือบ 75% หลังจากที่เคยพุ่งขึ้นแตะ 1,170 จุดในเดือน มี.ค.ปีที่แล้ว

แต่ภัยเงินเฟ้อก็ยังคงอยู่และกำลังกัดกร่อนเข้าสู่ใจกลางระบบเศรษฐกิจกับการเงินเวียดนาม สำนักวิเคราะห์แห่งต่างๆ เห็นพ้องกันว่าโอกาสที่เงินด่งจะอ่อนค่าลงอีกมีอยู่สูงมาก

ธนาคารดอยช์แบงก์ได้ออกบทวิเคราะห์ชิ้นหนึ่งตั้งธงเอาไว้ว่า ค่าเงินด่งอาจจะตกลงถึง 30% ในเวลาอีกหลายเดือนข้างหน้านี้ ขณะที่ราคาสิ่งอุปโภคบริโภคพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในช่วง 16 ปีที่ผ่านมา
<CENTER><FONT color=#660099>รัฐมนตรีกระทรวงวางแผนและการลงทุน นายหวอห่งม์ฟุก (Vo Hng Phuc) --นั่งตรงกล่าง-- บอกกับที่ประชุม Vietnam Business Forum ว่า รัฐบาลต้องลดเป้าการขยายตัวทางเศรษฐกิจลงเหลือ 7% ในปีนี้ เพื่อสู้กับภัยเงินเฟ้อและแก้ปัญหาขาดดุลการค้า (ภาพ: AFP)</FONT></CENTER>
**นักลงทุนจี้รัฐบาลเอาใจใส่การเงิน**

ถึงแม้ว่านักลงทุนที่เข้าร่วมการประชุมสัมมนา Vietnam Business Forum 2008 ที่จัดขึ้นในวันจันทร์ (2 พ.ค.) จะยังแสดงความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของเวียดนาม และยังเห็นว่าประเทศนี้ยังเป็นปลายทางที่น่าสนใจสำหรับการลงทุน แต่ผู้เข้าร่วมการประชุมได้เรียกร้องให้รัฐบาลเอาใจใส่ระบบการเงินของประเทศ

สิ่งนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความห่วงใยต่อปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนอย่างไม่มีทางเลี่ยง เนื่องจากค่าจ้างแรงงานในเวียดนามที่จะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีต้นทุนที่สูงขึ้น

นายไมเคิล พีส (Michael Pease) ประธานหอการค้าอเมริกัน (AmCham) ในเวียดนามกล่าวว่า ผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาทุกคนเป็นห่วงว่า “ราคาสินค้าที่พุ่งสูงกับปัจจัยเชิงลบต่างๆ จะกระทบต่อบรรยากาศการลงทุน” แต่ก็ไม่ใช่เวลาที่จะชี้นิ้วว่าอะไรเป็นต้นเหตุ

ตัวแทนจากหอการค้ายุโรปในเวียดนามได้เรียกร้องให้การส่งออกของเวียดนามดำเนินต่อไปอย่างเข้มแข็ง หาทางเข้าสู่ตลาดโลกอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อสร้างปัจจัยเชิงบวกให้แก่การลงทุนในประเทศ ทั้งนี้เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์เวียดนามนิวส์.
กำลังโหลดความคิดเห็น