xs
xsm
sm
md
lg

คุมไม่ไหวเงินเฟ้อเวียดนามแปดเดือนทะลุ 28%

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#FF0000>เงินเฟ้อได้แผ่พิษสงเข้าสู่ทุกวงการอาชีพ ภาพจากแฟ้มวันที่ 31 ก.ค.2551 พนักงานขับแท็กซี่บริษัท Sao Saigon หยุดงานประท้วงบริษัทที่ปรับระบบให้ให้พวกเขาได้รับค่าตอบแทนน้อยลงหลังจากทางการปรับขึ้นราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันขึ้นโดบเฉลี่ย 33% ในวันที่ 21 เดือน ซึ่งได้ทำให้อัตราเฟ้อโดยรวมปีต่อปีในเดือน ส.ค. พุ่งขึ้นทะลุ 28% (ภาพ: AFP) <FONT></CENTER>

ผู้จัดการรายวัน-- ถึงแม้จะมีความพยายามยิ่งยวดและอย่างต่อเนื่องก็ตาม แต่สถานการณ์เงินเฟ้อในเวียดนามยิ่งกลับรุนแรง อัตราเฟ้อปีต่อปีในเดือน ส.ค.นี้ พุ่งขึ้นสูงถึง 28.3% เช่นเดียวกันกับตัวเลขรขาดดุลการค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนทะลุ 16,000 ล้านดอลลาร์

อัตราเงินเฟ้อได้เพิ่มขึ้น 1.56% จากเดือน ก.ค. ทำให้อัตราเฟ้อตั้งแต่ต้นปีกลายเป็น 21.7% ทั้งนี้เป็นตัวเลขคาดการณ์เบื้องต้นของสำนักงานใหญ่สถิติเวียดนาม (Vietnam's General Statistics Office)

"อัตราเงินเฟ้อในช่วงแปดเดือนของปีนี้ยังคงอยู่ในระดับสูง อันเนื่องมาจากราคาน้ำมันดิบและก๊าซ" นายโหงะจิลอง (Ngho Tri Long) รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการตาดและราคา (Institute for Market and Prices Research) กล่าวเมื่อวันจันทร์

รัฐบาลได้ปรับราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดขึ้นโดยเฉลี่ย 35% เมื่อวันที่ 21 ก.ค. ท่ามกลางความห่วงใยของทุกฝ่ายว่าอาจจะเป็นตัวกระตุนเงินเฟ้อในเดือน ส.ค. ซึ่งก็ได้กลายเป็นเรื่องจริง

ราคาน้ำมันและก๊าซถูกปรับลงในสัปดาห์ต้นเดือนนี้ แต่กระทรวงการคลังก็ยืนยันที่จะปรับราคาขายต่อไปตามอัตราขึ้นลงของราคาในตลาดโลก

เศรษฐกิจเวียดนามต้องพบกับปัญหาเงินเฟ้อที่แก้ไม่ตก อัตราเงินเฟ้อเป็นตัวเลข 2 หลักมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วและรุนแรงยิ่งขึ้นในต้นปีนี้ขณะที่ราคาข้าวในตลาดโลกพุ่งขึ้นสูง ฉุดราคาขายในประเทศพุ่งขึ้นตาม จนเกิดความปั่นป่วนขึ้นในสังคมในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ผู้คนวิตกกันว่าจะเกิดภาวะอดอยาก

เวียดนามเป็นประเทศส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศไทย ยกเว้นเมื่อปีที่แล้วที่ลดยอดจำหน่ายลงจนกระทั่งน้อยกว่าข้าวจากอินเดีย

เวียดนามประกาศว่าจะสามารถผลิตข้าวได้เกินเป้าในปีนี้และประกาศในเดือน ส.ค.จะส่งออกเต็มเป้า 4.5 ล้านตัน เท่ากับปีที่แล้ว
<CENTER><FONT color=#FF0000> ภาพจากแฟ้มวันที่ 21 ก.ค.2551 ชายคนนี้กำลังเติมน้ำมันรถจักรยานยนต์ ที่ปั๊มปิโตรลิเม็กซ์ (Petrolimex) หลังจากทางการปรับขึ้นราคาจำหน่ายน้ำมันทุกชนิดในวันเดียวกัน ท่ามกลางความวิตกว่าจะทำให้เงินเฟ้อที่กำลังปักหัวลงพุ่งกลับขึ้นไปอีกซึ่งก็เป็นความจริงที่ปรากฎให้เห็นทางดัชนี CPI ในเดือนนี้ (Reuters)   <FONT></CENTER>
รายงานของ GSO ก่อนหน้านี้ระบุว่า แม้อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ค.-ส.ค.จะเพิ่งสูงขึ้นอีกเทียบกับในเดือน ก.ค.-มิ.ย. แต่ดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารในโฮจิมินห์ซึ่งเป็นนครใหญ่ที่มีประชากร 8 ล้านคน ลดลงเกือบ 2% และกว่า 0.5%% ในกรุงฮานอย

เจ้าหน้าที่ GSO กล่าวว่าการปรับราคาขายปลีกน้ำมันและก๊าซในเดือน ก.ค. ได้เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เงินเฟ้อวิ่งขึ้นสูงในเดือน ส.ค.นี้ เนื่องจากได้ทำให้ต้นทุนสินค้าหลายชนิด รวมทั้งค่าขนส่งและบริการเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตามรายงานที่เผยแพร่ในวันจันทร์ ราคาอาหารปีต่อปีในเดือน ส.ค.ยังคงเพิ่มขึ้นถึง 44.1% ขณะที่ราคาเครื่องดื่มและยาสูบเพิ่มขึ้น 12.4% ค่าบ้านและอุปกรณ์ก่อสร้างเพิ่มอย่างต่อเนื่องเป็น 27.4%

สำนักงานใหญ่สถิติกล่าวว่าตัวเลขขาดดุลการค้าระหว่างเดือน ม.ค.-ส.ค. จะเพิ่มขึ้นเป็น 16,000 ล้านดอลลาร์ แม้ว่าเวียดนามจะส่งออกได้มากขึ้นก็ตาม

ตัวเลขส่งออกในช่วง 8 เดือนของปีนี้เป็น 43,000 ล้านดอลลาร์ขยายตัว 39.1% ขณะที่นำมูลค่าการนำเข้าในช่วงเดียวกันขยายตัว 54.1% เป็น 59,100 ล้านดอลลาร์

ส่วนตัวเลขขาดดุลในเดือน ส.ค.ลดลงเป็น 900 ล้านดอลลาร์ จากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์เมื่อเดือนที่แล้ว ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวเวียดนามเอ็กซ์เพรส

ตัวเลขที่น่าสนใจก็คือ ในช่วงเดียวกันนี้เวียดนามนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมชนิดต่างๆ มูลค่า 9,100 ล้านดอลลาร์ ขณะที่มีรายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบ 7,900 ล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกัน

ปัจจุบันเวียดนามเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย

ช่วงปีใกล้ๆ นี้เวียดนามลดการส่งออกลงเพื่อสต๊อคไว้ป้อนโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกที่จะเปิดดำเนินการในเดือน ก.พ.2551 แต่รายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้น

เศรษฐกิจเวียดนามยังคงผันผวน แม้ว่าภาคการเงินการธนาคารของประเทศจะมีเสถียรภาพดีขึ้นเนื่องจากธนาคารแห่งรัฐเวียดนาม หรือ SNV (State Bank of Vietnam) ได้ใช้มาตรการดอกเบี้ยสูงเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ

มาตรการดังกล่าวได้รับการยกย่องจากบรรดาสถาบันการเงินขนาดใหญ่ รวมทั้งธนาคารต่างชาติ แต่ในทางกลับกันได้สร้างความบอบช้ำแก่ผู้ประกอบการและนักลงทุนขนาดกลางขนาดย่อมในประเทศ ซึ่งขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ ได้ออกรายงานสถานะเศรษฐกิจของเวียดนามในเดือนนี้ โดยมองว่าเงินลงทุนโดยตรงของต่างประเทศ หรือ FDI (Foreign Direct Investment) ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ได้ช่วยผ่อนคลายความวิตกกังวลปัญหาสภาพคล่องในประเทศ

ธนาคารของอังกฤษแห่งนี้กล่าวว่า ความกังวลในตลาดผ่อนคลายลงมากในช่วงปีใกล้ๆ นี้เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินด่ง-ดอลลาร์มีเสถียรภาพสูง มีส่วนช่วยลดตัวเลขขาดดุล
<CENTER><FONT color=#FF0000> ภาพเมื่อวันที่ 29 ก.ค.2551 พนักงานหญิงร้านแลกเงินแห่งหนึ่งที่ถนนหั่งบั๊ก (Hang Bac) กรุงฮานอยนั่งรอลูกค้า เงินด่งได้แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดปรับขึ้นเป็น 16,750 ด่งต่อดอลลาร์เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 1 เดือน อัตรานี้แข็งกว่าอัตราซื้อขายระหว่างธนาคารที่กำหนดโดยธนาคารแห่งรัฐเสียอีก (Reuters)  <FONT></CENTER>
ตัวเลข FDI ในเวียดนามจนถึงเดือน ก.ค.ที่ผ่านมาสูงถึง 44,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งแสดงให้เห็นความเชื่อมันของบรรดานักลงทุนจากโพ้นทะเลที่มีต่อเศรษฐกิจเวียดนาม

ธนาคารแห่งนี้ยังมองการส่งออกของเวียดนามเป็นบวกมาก โดยเห็นว่ามูลค่าได้เพิ่มขึ้นอย่างคงเส้นคงวาและอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งในปีนี้ที่ทั่วโลกต่างวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ

รายงานของสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ระบุอีกว่า ถึงแม้ว่านโยบายการเงินจะเริ่มส่งดอกออกผล แต่ SBV ยังจำเป็นที่จะต้องคงอัตราดอกเบี้ยสูงเช่นนี้ต่อไป เพื่อรักษาสถานภาพทางการเงินและเศรษฐกิจมหภาคโดยรวม

สแตนดาร์ดชาร์เตอร์มีสาขาและสำนักงานกว่า 1,750 แห่ง ใน 70 ประเทศและดินแดนทั่วโลก แต่ 90% ของผลกำไรไปจากกิจการในทวีปเอเชีย แอฟริกาและตะวันออกกลางทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าววีเอ็นเอ (VNA) ของทางการเวียดนาม

ในเวียดนามสแตนดาร์ดชาร์เตอร์มีสาขาในกรุงฮานอยกับนครโฮจิมินห์และมีแผนจะเปิดอีก 20-30 แห่ในระยะ 3-4 ปีข้างหน้านี้วีเอ็นเอกล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น