ข่าวเกี่ยวกับข้อเสนอของรัฐบาลบาฮามาสที่จะให้มีการตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นโดยอดีตนายกรัฐมนตรีนั้น ได้นำไปสู่คำวิพากษ์วิจารณ์และคำถามมากมาย ที่สำคัญคือ ความไม่พอใจต่อรัฐบาลของประเทศที่มีประชากรประมาณ 3 แสนคน ที่อยู่ห่างไกลถึงอเมริกาใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดความรู้สึกว่าประเทศดังกล่าวบังอาจเข้ามาจุ้นจ้านในกิจการภายในของประเทศไทย และเป็นการแสดงทีท่าที่ไม่เป็นมิตรกับประเทศไทย รวมทั้งรัฐบาลปัจจุบัน สันนิษฐานว่าเป็นคนละรัฐบาลกัน
แต่โชคดีที่ข่าวดังกล่าวกลายเป็นข่าวโคมลอยเพราะได้มีการปฏิเสธมาแล้วโดยรัฐบาลบาฮามาส ในขณะที่ไม่มีหลักฐานพิสูจน์ได้แน่ชัดว่าระหว่างแหล่งข่าวและรัฐบาลบาฮามาสใครเป็นผู้พูดความจริง ก็ต้องยกประโยชน์ให้กับรัฐบาลบาฮามาสว่าข่าวดังกล่าวนั้นตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เป็นข่าวที่กุขึ้นมาโดยเจตนาหรือโดยความเข้าใจผิดของผู้ให้ข่าวแล้วแต่กรณี
แต่มีประเด็นทางวิชาการและความรู้ที่จะต้องมีการพูดถึงเพื่อความกระจ่างกับผู้สนใจทั่วไป นั่นคือ การตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น (exile government) ในความหมายที่แท้จริงนั้นรัฐบาลพลัดถิ่นหมายถึงรัฐบาลที่มาจากการได้อำนาจรัฐอย่างถูกต้องตามกฎหมายและมีความชอบธรรม เช่น มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน แต่รัฐบาลดังกล่าวถูกยึดอำนาจโดยฝ่ายที่ทำการรัฐประหาร หรือบางครั้งโดยฝ่ายที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ เช่น กรณีของรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนไล่รัฐบาลสาธารณรัฐจีน หรือรัฐบาลของนายพลเจียง ไคเช็ค ซึ่งมีพรรคก๊กมินตั๋งเป็นองค์กรการเมืองไปอยู่ที่เกาะไต้หวัน
รัฐบาลที่ถูกขับไล่จากการรัฐประหารนั้นอาจจะแยกไปตั้งรัฐบาลที่มีความชอบธรรมอยู่นอกประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศใกล้เคียง ในกรณีของรัฐบาลที่เกาะไต้หวันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน จึงไม่มีลักษณะเป็นรัฐบาลพลัดถิ่น เพียงแต่ประเทศแบ่งออกเป็นสองส่วน เช่น กรณีเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ในอดีต
รัฐบาลพลัดถิ่นจะเป็นรัฐบาลที่คงไว้ซึ่งความเป็นรัฐบาลอยู่นอกประเทศ คอยวันที่จะมีโอกาสกลับมาเป็นรัฐบาลได้อีกครั้งหนึ่งหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงภายในประเทศ เช่น มีเรื่องวุ่นวายเกิดขึ้น มีการสู้รบจนฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลพลัดถิ่นยึดอำนาจได้สำเร็จ จึงเชิญให้รัฐบาลพลัดถิ่นกลับมาบริหารตามเดิม รัฐบาลพลัดถิ่นจะต้องได้รับการยอมรับหรือการรับรองจากประเทศต่างๆ มากพอ แต่ที่สำคัญสถานการณ์ต้องอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ลงตัว โอกาสที่จะออกหัวออกก้อยได้เสมอ แต่ในความเป็นจริงรัฐบาลที่ยึดอำนาจรัฐได้ และโดยพฤตินัยจะยังคงอยู่ถาวร การรับรองรัฐบาลพลัดถิ่นนั้นก็จะค่อยๆ หมดไปเพราะในความเป็นจริงไม่สามารถจะกลับไปยึดอำนาจรัฐคืนได้
ในกรณีรัฐบาลของพรรคคอมมิวนิสต์บนแผ่นดินใหญ่และรัฐบาลคณะชาติที่ยกไปอยู่เกาะไต้หวันนั้น บางประเทศก็รับรองรัฐบาลแผ่นดินใหญ่ เช่น อังกฤษรับรองรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี 1950 ซึ่งเป็นปีถัดจากปีที่พรรคคอมมิวนิสต์คณะชาติยึดอำนาจรัฐได้ในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 แต่สหรัฐฯ ยังคงรับรองรัฐบาลจีนคณะชาติอยู่ต่อไปเป็นเวลา 30 กว่าปี จนมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เดินทางไปเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่ ทางรัฐบาลเกาะไต้หวันนั้นเดิมมีแผนที่จะยึดแผ่นดินใหญ่คืนเพราะถือว่ายังอยู่ระหว่างสงครามกลางเมือง แต่มาในปัจจุบันบางกลุ่มก็ต้องการให้ประเทศแยกตัวเป็นเอกราชแยกจากแผ่นดินใหญ่ ในขณะที่แผ่นดินใหญ่ถือว่าไต้หวันเป็นมณฑลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน จึงเสนอให้เป็น 1 ประเทศ 2 ระบบ ซึ่งยังตกลงกันไม่ได้
ที่กล่าวมาคือการรับรอง รัฐบาลและยังมีการรับรองอีกส่วนหนึ่งนั่นคือการรับรองรัฐประเทศซึ่งเกิดสงครามกลางเมืองแยกเป็นสองประเทศ อาจจะได้รับการรับรองโดยประเทศต่างๆ ในสังคมนานาชาติให้เป็นประเทศต่างหาก ตัวอย่างเช่น กรณีของติมอร์ตะวันออก ซึ่งสหประชาชาติได้เข้าไปมีส่วนจัดการ การตั้งประเทศอิสราเอลหลังสงครามโลกครั้งที่สองก็มีการลงมติกันในองค์การสหประชาชาติ (ชื่อสมัยนั้น) การแยกตัวออกมาเป็นประเทศบังกลาเทศก็เป็นอีกกรณีหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีการรับรองแล้ว การรับรองรัฐต่างจากการรับรองรัฐบาล ตัวอย่างเช่น ในกรณีประเทศไทยนั้นเป็นรัฐเอกราชที่ได้รับการรับรองทั่วโลก แต่รัฐบาลอาจจะไม่ได้รับการรับรองถ้าเป็นรัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหาร แม้จะไม่มีการแสดงออกอย่างเป็นทางการก็ตาม เช่น กรณีรัฐบาลหลังวันที่ 19 กันยายน 2549 มีข้อสังเกตว่าประเทศในสหภาพยุโรปไม่ได้เชิญตัวแทนจากรัฐบาลดังกล่าวไปติดต่อทางการเมืองแต่อย่างใด
ในกรณีการรับรองรัฐนั้นในทางกฎหมายระหว่างประเทศและประเพณีระหว่างประเทศ ถ้ามีสงครามกลางเมืองเกิดขึ้นและสถานการณ์ไม่เบ็ดเสร็จ อาจจะมีการรับรองบางส่วนที่กำลังทำสงครามอยู่นั้นให้เป็นรัฐต่างหาก จากนั้นก็ทำสัญญากับรัฐบาลของรัฐนั้น พร้อมกับส่งกำลังทหารเข้าไปช่วยเหลือโดยอ้างว่าเพื่อป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนของตน ตัวอย่างคือในกรณีที่สหรัฐฯ ต้องการขุดคลองปานามา จึงดำเนินการให้มีสงครามกลางเมืองเกิดขึ้น จนประเทศดังกล่าวแยกออกเป็นสองประเทศ หลังจากนั้นก็เสนอการรับรองส่วนที่ตนจะสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต การเมือง และทางการทหาร ให้เป็นประเทศใหม่ จากนั้นก็ทำการขุดคลอง ได้มีการทักท้วงประธานาธิบดี Theodore Roosevelt ว่าเป็นการผิดกฎหมาย คำตอบก็คือ Damn the law. I want the canal built.
มหาอำนาจจึงอาจใช้กำลังทหารและวิธีการทางการเมืองของตนเข้าไปก่อความวุ่นวายทางการเมืองและแยกดินแดนออกเป็นหลายส่วนได้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ประเทศเล็กๆ ไม่สามารถจะตอบโต้อะไรได้มาก
นอกเหนือจากนั้นยังมีหลักการอีก นั่นคือ การตัดสินใจที่จะเลือกอนาคตของตัวเอง (self-determination) ด้วยการลงประชามติ (referendum หรือ plebiscite) โดยการเปิดโอกาสให้ส่วนของประเทศที่ไม่ต้องการร่วมกับประเทศเดิมนั้นลงประชามติว่าจะยังอยู่ร่วมกับประเทศนั้นต่อหรือจะขอแยกตัวออกไป ถ้าการลงประชามติดังกล่าวเป็นที่ยอมรับโดยประเทศนั้น และหลังจากได้ลงประชามติแล้วก็เกิดรัฐใหม่ขึ้น การรับรองรัฐใหม่เป็นการรับรองรัฐ และหลังจากมีรัฐบาลก็จะมีการรับรองรัฐบาลต่อไป
นี่คือข้อมูลเพื่อความกระจ่างในเรื่องการรับรองรัฐและรัฐบาล และการรับรองรัฐบาลพลัดถิ่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศและการเมืองระหว่างประเทศ
แต่โชคดีที่ข่าวดังกล่าวกลายเป็นข่าวโคมลอยเพราะได้มีการปฏิเสธมาแล้วโดยรัฐบาลบาฮามาส ในขณะที่ไม่มีหลักฐานพิสูจน์ได้แน่ชัดว่าระหว่างแหล่งข่าวและรัฐบาลบาฮามาสใครเป็นผู้พูดความจริง ก็ต้องยกประโยชน์ให้กับรัฐบาลบาฮามาสว่าข่าวดังกล่าวนั้นตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เป็นข่าวที่กุขึ้นมาโดยเจตนาหรือโดยความเข้าใจผิดของผู้ให้ข่าวแล้วแต่กรณี
แต่มีประเด็นทางวิชาการและความรู้ที่จะต้องมีการพูดถึงเพื่อความกระจ่างกับผู้สนใจทั่วไป นั่นคือ การตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น (exile government) ในความหมายที่แท้จริงนั้นรัฐบาลพลัดถิ่นหมายถึงรัฐบาลที่มาจากการได้อำนาจรัฐอย่างถูกต้องตามกฎหมายและมีความชอบธรรม เช่น มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน แต่รัฐบาลดังกล่าวถูกยึดอำนาจโดยฝ่ายที่ทำการรัฐประหาร หรือบางครั้งโดยฝ่ายที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ เช่น กรณีของรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนไล่รัฐบาลสาธารณรัฐจีน หรือรัฐบาลของนายพลเจียง ไคเช็ค ซึ่งมีพรรคก๊กมินตั๋งเป็นองค์กรการเมืองไปอยู่ที่เกาะไต้หวัน
รัฐบาลที่ถูกขับไล่จากการรัฐประหารนั้นอาจจะแยกไปตั้งรัฐบาลที่มีความชอบธรรมอยู่นอกประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศใกล้เคียง ในกรณีของรัฐบาลที่เกาะไต้หวันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน จึงไม่มีลักษณะเป็นรัฐบาลพลัดถิ่น เพียงแต่ประเทศแบ่งออกเป็นสองส่วน เช่น กรณีเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ในอดีต
รัฐบาลพลัดถิ่นจะเป็นรัฐบาลที่คงไว้ซึ่งความเป็นรัฐบาลอยู่นอกประเทศ คอยวันที่จะมีโอกาสกลับมาเป็นรัฐบาลได้อีกครั้งหนึ่งหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงภายในประเทศ เช่น มีเรื่องวุ่นวายเกิดขึ้น มีการสู้รบจนฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลพลัดถิ่นยึดอำนาจได้สำเร็จ จึงเชิญให้รัฐบาลพลัดถิ่นกลับมาบริหารตามเดิม รัฐบาลพลัดถิ่นจะต้องได้รับการยอมรับหรือการรับรองจากประเทศต่างๆ มากพอ แต่ที่สำคัญสถานการณ์ต้องอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ลงตัว โอกาสที่จะออกหัวออกก้อยได้เสมอ แต่ในความเป็นจริงรัฐบาลที่ยึดอำนาจรัฐได้ และโดยพฤตินัยจะยังคงอยู่ถาวร การรับรองรัฐบาลพลัดถิ่นนั้นก็จะค่อยๆ หมดไปเพราะในความเป็นจริงไม่สามารถจะกลับไปยึดอำนาจรัฐคืนได้
ในกรณีรัฐบาลของพรรคคอมมิวนิสต์บนแผ่นดินใหญ่และรัฐบาลคณะชาติที่ยกไปอยู่เกาะไต้หวันนั้น บางประเทศก็รับรองรัฐบาลแผ่นดินใหญ่ เช่น อังกฤษรับรองรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี 1950 ซึ่งเป็นปีถัดจากปีที่พรรคคอมมิวนิสต์คณะชาติยึดอำนาจรัฐได้ในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 แต่สหรัฐฯ ยังคงรับรองรัฐบาลจีนคณะชาติอยู่ต่อไปเป็นเวลา 30 กว่าปี จนมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เดินทางไปเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่ ทางรัฐบาลเกาะไต้หวันนั้นเดิมมีแผนที่จะยึดแผ่นดินใหญ่คืนเพราะถือว่ายังอยู่ระหว่างสงครามกลางเมือง แต่มาในปัจจุบันบางกลุ่มก็ต้องการให้ประเทศแยกตัวเป็นเอกราชแยกจากแผ่นดินใหญ่ ในขณะที่แผ่นดินใหญ่ถือว่าไต้หวันเป็นมณฑลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน จึงเสนอให้เป็น 1 ประเทศ 2 ระบบ ซึ่งยังตกลงกันไม่ได้
ที่กล่าวมาคือการรับรอง รัฐบาลและยังมีการรับรองอีกส่วนหนึ่งนั่นคือการรับรองรัฐประเทศซึ่งเกิดสงครามกลางเมืองแยกเป็นสองประเทศ อาจจะได้รับการรับรองโดยประเทศต่างๆ ในสังคมนานาชาติให้เป็นประเทศต่างหาก ตัวอย่างเช่น กรณีของติมอร์ตะวันออก ซึ่งสหประชาชาติได้เข้าไปมีส่วนจัดการ การตั้งประเทศอิสราเอลหลังสงครามโลกครั้งที่สองก็มีการลงมติกันในองค์การสหประชาชาติ (ชื่อสมัยนั้น) การแยกตัวออกมาเป็นประเทศบังกลาเทศก็เป็นอีกกรณีหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีการรับรองแล้ว การรับรองรัฐต่างจากการรับรองรัฐบาล ตัวอย่างเช่น ในกรณีประเทศไทยนั้นเป็นรัฐเอกราชที่ได้รับการรับรองทั่วโลก แต่รัฐบาลอาจจะไม่ได้รับการรับรองถ้าเป็นรัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหาร แม้จะไม่มีการแสดงออกอย่างเป็นทางการก็ตาม เช่น กรณีรัฐบาลหลังวันที่ 19 กันยายน 2549 มีข้อสังเกตว่าประเทศในสหภาพยุโรปไม่ได้เชิญตัวแทนจากรัฐบาลดังกล่าวไปติดต่อทางการเมืองแต่อย่างใด
ในกรณีการรับรองรัฐนั้นในทางกฎหมายระหว่างประเทศและประเพณีระหว่างประเทศ ถ้ามีสงครามกลางเมืองเกิดขึ้นและสถานการณ์ไม่เบ็ดเสร็จ อาจจะมีการรับรองบางส่วนที่กำลังทำสงครามอยู่นั้นให้เป็นรัฐต่างหาก จากนั้นก็ทำสัญญากับรัฐบาลของรัฐนั้น พร้อมกับส่งกำลังทหารเข้าไปช่วยเหลือโดยอ้างว่าเพื่อป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนของตน ตัวอย่างคือในกรณีที่สหรัฐฯ ต้องการขุดคลองปานามา จึงดำเนินการให้มีสงครามกลางเมืองเกิดขึ้น จนประเทศดังกล่าวแยกออกเป็นสองประเทศ หลังจากนั้นก็เสนอการรับรองส่วนที่ตนจะสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต การเมือง และทางการทหาร ให้เป็นประเทศใหม่ จากนั้นก็ทำการขุดคลอง ได้มีการทักท้วงประธานาธิบดี Theodore Roosevelt ว่าเป็นการผิดกฎหมาย คำตอบก็คือ Damn the law. I want the canal built.
มหาอำนาจจึงอาจใช้กำลังทหารและวิธีการทางการเมืองของตนเข้าไปก่อความวุ่นวายทางการเมืองและแยกดินแดนออกเป็นหลายส่วนได้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ประเทศเล็กๆ ไม่สามารถจะตอบโต้อะไรได้มาก
นอกเหนือจากนั้นยังมีหลักการอีก นั่นคือ การตัดสินใจที่จะเลือกอนาคตของตัวเอง (self-determination) ด้วยการลงประชามติ (referendum หรือ plebiscite) โดยการเปิดโอกาสให้ส่วนของประเทศที่ไม่ต้องการร่วมกับประเทศเดิมนั้นลงประชามติว่าจะยังอยู่ร่วมกับประเทศนั้นต่อหรือจะขอแยกตัวออกไป ถ้าการลงประชามติดังกล่าวเป็นที่ยอมรับโดยประเทศนั้น และหลังจากได้ลงประชามติแล้วก็เกิดรัฐใหม่ขึ้น การรับรองรัฐใหม่เป็นการรับรองรัฐ และหลังจากมีรัฐบาลก็จะมีการรับรองรัฐบาลต่อไป
นี่คือข้อมูลเพื่อความกระจ่างในเรื่องการรับรองรัฐและรัฐบาล และการรับรองรัฐบาลพลัดถิ่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศและการเมืองระหว่างประเทศ