รมว.คลังประกาศลดภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา ลั่นเข้า ครม.ให้เร็วที่สุด พร้อมรับข้อเสนอภาคเอกชนประกอบการพิจารณา ยันสถานะปัจจุบันต้องขาดดุลการคลังเท่านั้นยังไม่จำเป็นต้องเร่งชำระหนี้ เชื่อไม่กระทบฐานะการคลังแน่นอนเหตุกรอบวินัยทางการคลังเปิดช่องก่อหนี้ได้ถึง 50% ของจีดีพี ส.อ.ท.ประเมินแนวโน้มเลิกจ้างงานปี’52 อีกระลอก ล่าสุดอยุธยามีโรงงานจากการสำรวจกว่า 200 แห่ง จ่อลอยแพแสนคน
นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะเร่งพิจารณาข้อเสนอเกี่ยวกับการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดาตามข้อเสนอของภาคเอกชนในสัปดาห์หน้า เพื่อช่วยกระตุ้นการลงทุน และการบริโภคในประเทศซึ่งจะมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวม โดยกระทรวงการคลังได้มีการศึกษาการปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบไว้อยู่แล้ว
"ขณะนี้กำลังเร่งพิจารณาอยู่ ต้องทำให้สอดคล้องกัน เพราะได้มีการศึกษาแนวทางลดภาษีไว้แล้ว ไม่เฉพาะภาษีนิติบุคคล แต่เป็นการดูภาษีทั้งระบบ ก็คงต้องรอสัปดาห์หน้าว่าจะมีการพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร" นายสุชาติ กล่าวและว่าต้องรอดูข้อเสนอของภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ด้วย ขณะที่กระทรวงการคลังก็อยู่ระหว่างศึกษาแนวทางการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีนิติบุคคล และจะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี เพราะขณะนี้สถานการณ์การเมืองมีความไม่แน่นอน และยืนยันว่า การลดอัตราภาษีคงไม่กระทบฐานะการคลัง เพราะมีกรอบการขาดดุลงบประมาณอยู่แล้วและสัดส่วนหนี้ภาครัฐต่อจีดีพียังอยู่ในระดับต่ำ
ส่วนภาระการชำระคืนหนี้ภาครัฐนั้นจะดำเนินการตามกรอบที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่เกิน 15% ของวงเงิน และยังไม่จำเป็นต้องขยายกรอบเพดานงบชำระหนี้เพิ่ม เพราะเป็นส่วนที่เม็ดเงินไม่ได้เข้าสู่ระบบเหมือนการอัดฉีดเงินประมาณผ่านการใช้จ่ายในโครงการต่างๆ ซึ่งขณะนี้ไม่ใช้เวลาเร่งใช้หนี้แต่เป็นช่วงของการใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจและรองรับปัญหาการตกงานในอนาคตมากกว่า เช่น การเร่งใช้งบกลางแสนล้านบาท
“ขณะนี้เศรษฐกิจไทยได้รับผลจากเศรษฐกิจโลกมีผลให้เศรษฐกิจทั้งระบบชะลอตัว รัฐบาลจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งทางออกเดียวคือการใช้จ่ายภาครัฐผ่านการขาดดุลการคลัง ซึ่งการตั้งงบชำระหนี้ปีนี้ที่ 1.8 แสนล้านบาท แม้จะชำระดอกเบี้ยสูงถึง 1.2 แสนล้านบาท และชำระต้นเงินกู้เพียง 6 หมื่นล้านบาท ก็เหมาะสมแล้ว คงจะไม่เพิ่มงบชำระหนี้อีก เพราะการชำระหนี้เป็นการนำเงินไปจมไว้ ไม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจแต่อย่างใด อีกทั้งกรอบวินัยการคลังก็ระบุให้เป็นหนี้ได้ถึง 50% ของจีดีพี” นายสุชาติกล่าว
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพยายามดูแลให้เศรษฐกิจเติบโตไปได้ เพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงินโลก แต่ยอมรับว่าปัญหาการลดกำลังการผลิตและเลิกจ้างในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั่วโลกนั้นอาจจะส่งผลกระทบประเทศไทยที่มีการผลิตและส่งออกยานยนต์ไปทั่วโลก โดยคาดว่าในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) คงจะมีข้อเสนอจากภาคเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ต่อไป
นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมได้หารือกับภาคเอกชนในการเตรียมรับมือภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยกระทรวงการคลังรับไปปรับโครงสร้างภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจะพิจารณาเป็นแพคเกจ ประกาศใช้ได้ในปี 2552 ด้านรายจ่ายของรัฐบาลในการเพิ่มงบกลางปีอีก 100,000 ล้านบาทนั้น ได้ขอให้ภาคเอกชนช่วยประเมินพื้นที่ที่มีปัญหากระทบมากที่สุด 10 จังหวัด เพื่อใช้งบกลางปีและงบประจำ รวมถึงมาตรการภาษีที่จะลงไปช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวลงได้ตรงจุด โดยขอให้เอกชนเน้น 3 เรื่อง คือ ท่องเที่ยว เอสเอ็มอี และอุตสาหกรรมพื้นบ้านตามชนบท โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า จะมีการตั้งคณะกรรมการชุดเล็ก เพื่อหารือกับเอกชนและออกมาตรการที่ตรงจุดอีกครั้ง ในส่วนของมาตรการปรับโครงสร้างภาษีที่ภาคเอกชนเสนอ ทางกระทรวงการคลังรับไปพิจารณาทำเป็นแพคเกจ ซึ่งจะประกาศใช้ในปีหน้า สำหรับมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี จะมีการตั้งกองทุนที่จะให้การช่วยเหลือด้านการเงิน
***พบเร็วๆ นี้ลอยแพที่เดียวนับแสน
นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานงานแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า วันที่ 24 พ.ย.นี้จะมีการประชุมประจำเดือนของสมาชิกประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดซึ่งจะได้มีการประเมินผลกระทบต่ออัตราการจ้างงานอีกครั้งหนึ่งให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น จากเบื้องต้นที่ประเมินไว้ในปี 2552 ที่ประมาณการคำสั่งซื้อหรือออร์เดอร์จะลดลงเฉลี่ย 20-30% ที่จะกระทบต่อการจ้างงานประมาณ 5 แสน-1 ล้านคน(รวมนักศึกษาจบใหม่ 4-5 แสนคน) โดยคาดว่าผลกระทบจากออร์เดอร์ที่ลดลงจะเริ่มมีผลต่อการจ้างงานในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552
ล่าสุดมีรายงานจากสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอยุธยาเพิ่มเติม โดยระบุถึงจำนวนโรงงานกว่า 200 แห่งที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม 5-6 แห่งในจังหวัดเริ่มประสบปัญหาบ้างแล้วเนื่องจากมีแนวโน้มออร์เดอร์ลดลง 25-30% โดยแรงงานทั้งหมดที่จ้างจะอยู่ราว 3 แสนคนดังนั้นประมาณการว่าจะกระทบแรงงานส่วนนี้ถึงระดับ 1 แสนคน โดยล่าสุดได้มีการขอร้องให้โรงงานต่างๆ ใช้วิธีเจรจาลูกจ้างในการลดเวลาทำงานและลดรายได้แทนการเลิกจ้าง
“ คงต้องประเมินตัวเลขให้ชัดเจนในทุกเดือนเพราะค่อนข้างเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เนื่องจากบางรายออร์เดอร์ที่จะเจรจาใหม่ในปีหน้าถูกชะลอการเจรจาออกไปซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าท้ายสุดจะมีการเจรจาเกิดขึ้นหรือไม่ เวลานี้โรงงานส่วนใหญ่อาศัยทำงานจากออร์เดอร์เก่าอยู่และหลายรายถูกลูกค้าให้เลื่อนส่งมอบสินค้าเพราะสต็อกล้นหากสต็อกมีมากขึ้นการหยุดโรงงานจะมีให้เห็นมากขึ้นตามมาด้วยเช่นกัน”นายทวีกิจกล่าว
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า จากผลสำรวจโรงงานในเขตจ.อยุธยาซึ่งประกอบด้วยนิคมสหรัตนนคร 77 แห่ง บางปะอิน 37 แห่ง นิคมฯไฮเทค 76 แห่ง สวนอุตสาหกรรมโรจนะ 58 แห่ง แฟคตอรี่แลนด์(วังน้อย) 8 แห่งและอื่นๆ 4 แห่ง รวมโรงงานกว่า 200แห่ง พบว่า ตัวลขการทำงานล่วงเวลาหรือโอทีลดลงประมาณ 6.78% การลดจ้างพนักงานใหม่ประมาณ 35.04% การพิจารณาเลิกจ้างประมาณ 15.34% ระบบการจัดการลดลง 10.1%และพิจารณาแนวโน้มเศรษฐกิจไม่ได้ประมาณ 38%
ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ทิศทางของโรงงานเริ่มมีการชะลอตัว โดยเฉพาะภาคกระบวนการผลิต เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อ(ออเดอร์) ปรับลดลงเห็นได้ชัดเจน ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบให้โรงงานเริ่มหดตัวนั้น มี 2 ปัจจัยหลักคือ 1. สภาวะเศรษฐกิจโลกปรับตัวลดลงต่ำสุด ซึ่งส่วนใหญ่ประเทศไทยส่งออกประมาณ 67 %ของอัตราการเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ(จีดีพี)ประกอบกับประเทศไทยอิงตลาดส่งออก3ประเทศหลัก ได้แก่ อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น เป็นต้น ดังนั้นหากเศรษฐกิจโลกไม่ดี ก็ย่อมส่งผลกระทบประเทศไทยด้วย
“ ล่าสุดธนาคารสหรัฐปลดพนักงานไปแล้วประมาณ 50,000 คน คาดว่าปี2552 จะมีคนว่างงานเพิ่มอีก ซึ่งมีการมองว่าปีหน้าช่วงไตรมาสแรก ก้าวสู่ต้นไตรมาส2สภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกจะเข้าสู่ภาวะต่ำสุดในรอบ 40 ปี จุดนี้คงจะต้องติดตามผลกระทบต่อไทยอย่างใกล้ชิด”นายธนิตกล่าว.
นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะเร่งพิจารณาข้อเสนอเกี่ยวกับการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดาตามข้อเสนอของภาคเอกชนในสัปดาห์หน้า เพื่อช่วยกระตุ้นการลงทุน และการบริโภคในประเทศซึ่งจะมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวม โดยกระทรวงการคลังได้มีการศึกษาการปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบไว้อยู่แล้ว
"ขณะนี้กำลังเร่งพิจารณาอยู่ ต้องทำให้สอดคล้องกัน เพราะได้มีการศึกษาแนวทางลดภาษีไว้แล้ว ไม่เฉพาะภาษีนิติบุคคล แต่เป็นการดูภาษีทั้งระบบ ก็คงต้องรอสัปดาห์หน้าว่าจะมีการพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร" นายสุชาติ กล่าวและว่าต้องรอดูข้อเสนอของภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ด้วย ขณะที่กระทรวงการคลังก็อยู่ระหว่างศึกษาแนวทางการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีนิติบุคคล และจะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี เพราะขณะนี้สถานการณ์การเมืองมีความไม่แน่นอน และยืนยันว่า การลดอัตราภาษีคงไม่กระทบฐานะการคลัง เพราะมีกรอบการขาดดุลงบประมาณอยู่แล้วและสัดส่วนหนี้ภาครัฐต่อจีดีพียังอยู่ในระดับต่ำ
ส่วนภาระการชำระคืนหนี้ภาครัฐนั้นจะดำเนินการตามกรอบที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่เกิน 15% ของวงเงิน และยังไม่จำเป็นต้องขยายกรอบเพดานงบชำระหนี้เพิ่ม เพราะเป็นส่วนที่เม็ดเงินไม่ได้เข้าสู่ระบบเหมือนการอัดฉีดเงินประมาณผ่านการใช้จ่ายในโครงการต่างๆ ซึ่งขณะนี้ไม่ใช้เวลาเร่งใช้หนี้แต่เป็นช่วงของการใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจและรองรับปัญหาการตกงานในอนาคตมากกว่า เช่น การเร่งใช้งบกลางแสนล้านบาท
“ขณะนี้เศรษฐกิจไทยได้รับผลจากเศรษฐกิจโลกมีผลให้เศรษฐกิจทั้งระบบชะลอตัว รัฐบาลจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งทางออกเดียวคือการใช้จ่ายภาครัฐผ่านการขาดดุลการคลัง ซึ่งการตั้งงบชำระหนี้ปีนี้ที่ 1.8 แสนล้านบาท แม้จะชำระดอกเบี้ยสูงถึง 1.2 แสนล้านบาท และชำระต้นเงินกู้เพียง 6 หมื่นล้านบาท ก็เหมาะสมแล้ว คงจะไม่เพิ่มงบชำระหนี้อีก เพราะการชำระหนี้เป็นการนำเงินไปจมไว้ ไม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจแต่อย่างใด อีกทั้งกรอบวินัยการคลังก็ระบุให้เป็นหนี้ได้ถึง 50% ของจีดีพี” นายสุชาติกล่าว
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพยายามดูแลให้เศรษฐกิจเติบโตไปได้ เพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงินโลก แต่ยอมรับว่าปัญหาการลดกำลังการผลิตและเลิกจ้างในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั่วโลกนั้นอาจจะส่งผลกระทบประเทศไทยที่มีการผลิตและส่งออกยานยนต์ไปทั่วโลก โดยคาดว่าในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) คงจะมีข้อเสนอจากภาคเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ต่อไป
นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมได้หารือกับภาคเอกชนในการเตรียมรับมือภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยกระทรวงการคลังรับไปปรับโครงสร้างภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจะพิจารณาเป็นแพคเกจ ประกาศใช้ได้ในปี 2552 ด้านรายจ่ายของรัฐบาลในการเพิ่มงบกลางปีอีก 100,000 ล้านบาทนั้น ได้ขอให้ภาคเอกชนช่วยประเมินพื้นที่ที่มีปัญหากระทบมากที่สุด 10 จังหวัด เพื่อใช้งบกลางปีและงบประจำ รวมถึงมาตรการภาษีที่จะลงไปช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวลงได้ตรงจุด โดยขอให้เอกชนเน้น 3 เรื่อง คือ ท่องเที่ยว เอสเอ็มอี และอุตสาหกรรมพื้นบ้านตามชนบท โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า จะมีการตั้งคณะกรรมการชุดเล็ก เพื่อหารือกับเอกชนและออกมาตรการที่ตรงจุดอีกครั้ง ในส่วนของมาตรการปรับโครงสร้างภาษีที่ภาคเอกชนเสนอ ทางกระทรวงการคลังรับไปพิจารณาทำเป็นแพคเกจ ซึ่งจะประกาศใช้ในปีหน้า สำหรับมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี จะมีการตั้งกองทุนที่จะให้การช่วยเหลือด้านการเงิน
***พบเร็วๆ นี้ลอยแพที่เดียวนับแสน
นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานงานแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า วันที่ 24 พ.ย.นี้จะมีการประชุมประจำเดือนของสมาชิกประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดซึ่งจะได้มีการประเมินผลกระทบต่ออัตราการจ้างงานอีกครั้งหนึ่งให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น จากเบื้องต้นที่ประเมินไว้ในปี 2552 ที่ประมาณการคำสั่งซื้อหรือออร์เดอร์จะลดลงเฉลี่ย 20-30% ที่จะกระทบต่อการจ้างงานประมาณ 5 แสน-1 ล้านคน(รวมนักศึกษาจบใหม่ 4-5 แสนคน) โดยคาดว่าผลกระทบจากออร์เดอร์ที่ลดลงจะเริ่มมีผลต่อการจ้างงานในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552
ล่าสุดมีรายงานจากสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอยุธยาเพิ่มเติม โดยระบุถึงจำนวนโรงงานกว่า 200 แห่งที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม 5-6 แห่งในจังหวัดเริ่มประสบปัญหาบ้างแล้วเนื่องจากมีแนวโน้มออร์เดอร์ลดลง 25-30% โดยแรงงานทั้งหมดที่จ้างจะอยู่ราว 3 แสนคนดังนั้นประมาณการว่าจะกระทบแรงงานส่วนนี้ถึงระดับ 1 แสนคน โดยล่าสุดได้มีการขอร้องให้โรงงานต่างๆ ใช้วิธีเจรจาลูกจ้างในการลดเวลาทำงานและลดรายได้แทนการเลิกจ้าง
“ คงต้องประเมินตัวเลขให้ชัดเจนในทุกเดือนเพราะค่อนข้างเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เนื่องจากบางรายออร์เดอร์ที่จะเจรจาใหม่ในปีหน้าถูกชะลอการเจรจาออกไปซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าท้ายสุดจะมีการเจรจาเกิดขึ้นหรือไม่ เวลานี้โรงงานส่วนใหญ่อาศัยทำงานจากออร์เดอร์เก่าอยู่และหลายรายถูกลูกค้าให้เลื่อนส่งมอบสินค้าเพราะสต็อกล้นหากสต็อกมีมากขึ้นการหยุดโรงงานจะมีให้เห็นมากขึ้นตามมาด้วยเช่นกัน”นายทวีกิจกล่าว
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า จากผลสำรวจโรงงานในเขตจ.อยุธยาซึ่งประกอบด้วยนิคมสหรัตนนคร 77 แห่ง บางปะอิน 37 แห่ง นิคมฯไฮเทค 76 แห่ง สวนอุตสาหกรรมโรจนะ 58 แห่ง แฟคตอรี่แลนด์(วังน้อย) 8 แห่งและอื่นๆ 4 แห่ง รวมโรงงานกว่า 200แห่ง พบว่า ตัวลขการทำงานล่วงเวลาหรือโอทีลดลงประมาณ 6.78% การลดจ้างพนักงานใหม่ประมาณ 35.04% การพิจารณาเลิกจ้างประมาณ 15.34% ระบบการจัดการลดลง 10.1%และพิจารณาแนวโน้มเศรษฐกิจไม่ได้ประมาณ 38%
ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ทิศทางของโรงงานเริ่มมีการชะลอตัว โดยเฉพาะภาคกระบวนการผลิต เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อ(ออเดอร์) ปรับลดลงเห็นได้ชัดเจน ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบให้โรงงานเริ่มหดตัวนั้น มี 2 ปัจจัยหลักคือ 1. สภาวะเศรษฐกิจโลกปรับตัวลดลงต่ำสุด ซึ่งส่วนใหญ่ประเทศไทยส่งออกประมาณ 67 %ของอัตราการเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ(จีดีพี)ประกอบกับประเทศไทยอิงตลาดส่งออก3ประเทศหลัก ได้แก่ อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น เป็นต้น ดังนั้นหากเศรษฐกิจโลกไม่ดี ก็ย่อมส่งผลกระทบประเทศไทยด้วย
“ ล่าสุดธนาคารสหรัฐปลดพนักงานไปแล้วประมาณ 50,000 คน คาดว่าปี2552 จะมีคนว่างงานเพิ่มอีก ซึ่งมีการมองว่าปีหน้าช่วงไตรมาสแรก ก้าวสู่ต้นไตรมาส2สภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกจะเข้าสู่ภาวะต่ำสุดในรอบ 40 ปี จุดนี้คงจะต้องติดตามผลกระทบต่อไทยอย่างใกล้ชิด”นายธนิตกล่าว.