"โอฬาร" รับข้อเสนอ กรอ. ปรับโครงสร้างภาษี-กระตุ้นศก. ตีกรอบไว้แค่ 3 กลุ่ม โซนนิ่ง 10 จังหวัดอีสาน โยนคลัง-แรงงาน เจ้าภาพคุมแผนฯ คาดแล้วเสร็จภายใน 1-2 เดือน เผยการว่างงานมีแค่ 3% ยังไม่น่าห่วง
วันนี้ ( 20 พ.ย.) นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.) โดยระบุว่า ตนเองได้หารือกับภาคเอกชนในการเตรียมรับมือภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยกระทรวงการคลังรับไปปรับโครงสร้างภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และเตรียมจะพิจารณาเป็นแพคเกจ เพื่อประกาศใช้ได้ภายในปี 2552
สำหรับด้านรายจ่ายของรัฐบาลในการเพิ่มงบกลางปีอีก 100,000 ล้านบาทนั้น นายโอฬาร ระบุว่า ตนเองกำหนดเป้าหมายให้เงินตกถึงประชาชนโดยตรง และต้องกระจายทั่วประเทศ เพื่อช่วยแก้ปัญหาคำสั่งซื้อทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่ลดลง
ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการเป็นรูปธรรม นายโอฬาร กล่วว่า ตนเองได้ขอให้ภาคเอกชนช่วยประเมินพื้นที่ที่มีปัญหากระทบมากที่สุด 10 จังหวัด เพื่อใช้งบกลางปีและงบประจำ รวมถึงมาตรการภาษีที่จะลงไปช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวลงได้ตรงจุด
นายโอฬาร ยังได้ขอให้เอกชนเน้น 3 เรื่อง คือ ท่องเที่ยว สถานประกอบการขนาดเล็ก ซึ่งกระจุกอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ และอุตสาหกรรมพื้นบ้านตามชนบท โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีการนำไปเย็บที่บ้าน เช่น เสื้อโหล ในส่วนของเอสเอ็มอี ปี 2552 กระทรวงการคลังจะตั้งกองทุนหมุนเวียนช่วยเหลือผู้ประกอบการทั่วประเทศ
นอกจากนี้ นายโอฬาร ยังมอบหมายให้กระทรวงการคลังนำข้อเสนอการปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไปพิจารณา ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 1-2 เดือนข้างหน้า
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การประชุม กรอ.ครั้งแรกของรัฐบาลชุดนี้เป็นการหารือเพื่อเตรียมการในทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชน รับมือกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการชุดเล็ก เพื่อหารือกับเอกชนและออกมาตรการที่ตรงจุดอีกครั้ง
สำหรับมาตรการปรับโครงสร้างภาษีที่ภาคเอกชนเสนอ ทางกระทรวงการคลังรับไปพิจารณาทำเป็นแพคเกจ ซึ่งจะประกาศใช้ในปีหน้า สำหรับมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี จะมีการช่วยสร้างการมีงานทำ นอกเหนือจากการตั้งกองทุนที่จะให้การช่วยเหลือด้านการเงิน
ทั้งนี้ ภาครัฐจะร่วมมือกับสมาคมธนาคารไทยในการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่เป็นส่วนผสมระหว่างธนาคารรัฐและธนาคารพาณิชย์ รวมถึงการค้ำประกันลูกค้าเงินกู้และการกู้ปกติของเอสเอ็มอี ในส่วนของเอสเอ็มอีเพาเวอร์ ในช่วง 10 วันนี้มีผู้สนใจขอกู้แล้วกว่า 1,000 ล้านบาท
ส่วนสถานการณ์การเลิกจ้างที่มีปัญหาเกิดขึ้นในขณะนี้ รัฐบาลมองว่ามีไม่ถึง 3% ของอัตราการจ้างงานทั้งหมด เนื่องจากเป็นเพียงผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก ต่างจากเมื่อปี 2544 ที่ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจโดยตรง ทำให้มีการเลิกจ้าง 9 แสนคน การส่งออกติดลบ 7.1% การลงทุนภาครัฐและเอกชนขยายตัวเพียง 0.5% ขณะที่เทียบกับปี 52 ที่คาดว่าหากสถานการณ์เลวร้ายการส่งออกก็ยังขยายตัวไม่ต่ำกว่า 5% การลงทุนภาครัฐและขยายตัว 2-3% ก่อให้เกิดการจ้างงานในระดับที่เหมาะสม
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวถึงแนวโน้มในปีหน้า โดยเชื่อว่าการหางานทำจะยากขึ้น เพราะปกติมีผู้ว่างงานจำนวนหนึ่งและยังมีนักศึกษาจบใหม่ บวกกับการถูกเลิกจ้างในปีหน้าด้วย สิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่ทำให้คนว่างงานมากขึ้น ซึ่งรัฐบาลได้ให้เอกชนไปศึกษาว่าจะมีการเลิกจ้างงานมากน้อยเพียงใด
ส่วนใน 10 จังหวัดที่กระทบมากที่สุด จะเป็นจังหวัดใดนั้น ทางภาคเอกชนจะหารือกับนายคณิต แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและพื้นที่ที่มีการจ้างงานในชนบท เช่น รับจ้างเย็บเสื้อผ้า รวมถึงเอสเอ็มอีขนาดเล็กว่าประสบปัญหาหรือไม่
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การทำงานของภาครัฐและเอกชนจะทำร่วมกัน เพื่อทราบภาพรวมของปัญหาที่เกิดขึ้นและการปรับโครงสร้างภาษีที่กระทรวงการคลังรับไปดำเนินการ วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเอกชนไทย
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า การกำหนดพื้นที่เป้าหมาย 10 จังหวัดที่ประสบปัญหาการจ้างงานลดลงรุนแรงที่สุด ที่ประชุมได้มอบหมายให้เอกชนเป็นผู้กำหนดพื้นที่ เนื่องจากจะได้ไม่มีการต่อว่าจังหวัดนั้นถูกกำหนดโดยนักการเมือง เมื่อกำหนดแล้วก็จะมีความชัดเจนในพื้นที่ดังกล่าว
วันนี้ ( 20 พ.ย.) นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.) โดยระบุว่า ตนเองได้หารือกับภาคเอกชนในการเตรียมรับมือภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยกระทรวงการคลังรับไปปรับโครงสร้างภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และเตรียมจะพิจารณาเป็นแพคเกจ เพื่อประกาศใช้ได้ภายในปี 2552
สำหรับด้านรายจ่ายของรัฐบาลในการเพิ่มงบกลางปีอีก 100,000 ล้านบาทนั้น นายโอฬาร ระบุว่า ตนเองกำหนดเป้าหมายให้เงินตกถึงประชาชนโดยตรง และต้องกระจายทั่วประเทศ เพื่อช่วยแก้ปัญหาคำสั่งซื้อทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่ลดลง
ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการเป็นรูปธรรม นายโอฬาร กล่วว่า ตนเองได้ขอให้ภาคเอกชนช่วยประเมินพื้นที่ที่มีปัญหากระทบมากที่สุด 10 จังหวัด เพื่อใช้งบกลางปีและงบประจำ รวมถึงมาตรการภาษีที่จะลงไปช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวลงได้ตรงจุด
นายโอฬาร ยังได้ขอให้เอกชนเน้น 3 เรื่อง คือ ท่องเที่ยว สถานประกอบการขนาดเล็ก ซึ่งกระจุกอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ และอุตสาหกรรมพื้นบ้านตามชนบท โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีการนำไปเย็บที่บ้าน เช่น เสื้อโหล ในส่วนของเอสเอ็มอี ปี 2552 กระทรวงการคลังจะตั้งกองทุนหมุนเวียนช่วยเหลือผู้ประกอบการทั่วประเทศ
นอกจากนี้ นายโอฬาร ยังมอบหมายให้กระทรวงการคลังนำข้อเสนอการปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไปพิจารณา ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 1-2 เดือนข้างหน้า
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การประชุม กรอ.ครั้งแรกของรัฐบาลชุดนี้เป็นการหารือเพื่อเตรียมการในทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชน รับมือกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการชุดเล็ก เพื่อหารือกับเอกชนและออกมาตรการที่ตรงจุดอีกครั้ง
สำหรับมาตรการปรับโครงสร้างภาษีที่ภาคเอกชนเสนอ ทางกระทรวงการคลังรับไปพิจารณาทำเป็นแพคเกจ ซึ่งจะประกาศใช้ในปีหน้า สำหรับมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี จะมีการช่วยสร้างการมีงานทำ นอกเหนือจากการตั้งกองทุนที่จะให้การช่วยเหลือด้านการเงิน
ทั้งนี้ ภาครัฐจะร่วมมือกับสมาคมธนาคารไทยในการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่เป็นส่วนผสมระหว่างธนาคารรัฐและธนาคารพาณิชย์ รวมถึงการค้ำประกันลูกค้าเงินกู้และการกู้ปกติของเอสเอ็มอี ในส่วนของเอสเอ็มอีเพาเวอร์ ในช่วง 10 วันนี้มีผู้สนใจขอกู้แล้วกว่า 1,000 ล้านบาท
ส่วนสถานการณ์การเลิกจ้างที่มีปัญหาเกิดขึ้นในขณะนี้ รัฐบาลมองว่ามีไม่ถึง 3% ของอัตราการจ้างงานทั้งหมด เนื่องจากเป็นเพียงผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก ต่างจากเมื่อปี 2544 ที่ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจโดยตรง ทำให้มีการเลิกจ้าง 9 แสนคน การส่งออกติดลบ 7.1% การลงทุนภาครัฐและเอกชนขยายตัวเพียง 0.5% ขณะที่เทียบกับปี 52 ที่คาดว่าหากสถานการณ์เลวร้ายการส่งออกก็ยังขยายตัวไม่ต่ำกว่า 5% การลงทุนภาครัฐและขยายตัว 2-3% ก่อให้เกิดการจ้างงานในระดับที่เหมาะสม
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวถึงแนวโน้มในปีหน้า โดยเชื่อว่าการหางานทำจะยากขึ้น เพราะปกติมีผู้ว่างงานจำนวนหนึ่งและยังมีนักศึกษาจบใหม่ บวกกับการถูกเลิกจ้างในปีหน้าด้วย สิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่ทำให้คนว่างงานมากขึ้น ซึ่งรัฐบาลได้ให้เอกชนไปศึกษาว่าจะมีการเลิกจ้างงานมากน้อยเพียงใด
ส่วนใน 10 จังหวัดที่กระทบมากที่สุด จะเป็นจังหวัดใดนั้น ทางภาคเอกชนจะหารือกับนายคณิต แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและพื้นที่ที่มีการจ้างงานในชนบท เช่น รับจ้างเย็บเสื้อผ้า รวมถึงเอสเอ็มอีขนาดเล็กว่าประสบปัญหาหรือไม่
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การทำงานของภาครัฐและเอกชนจะทำร่วมกัน เพื่อทราบภาพรวมของปัญหาที่เกิดขึ้นและการปรับโครงสร้างภาษีที่กระทรวงการคลังรับไปดำเนินการ วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเอกชนไทย
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า การกำหนดพื้นที่เป้าหมาย 10 จังหวัดที่ประสบปัญหาการจ้างงานลดลงรุนแรงที่สุด ที่ประชุมได้มอบหมายให้เอกชนเป็นผู้กำหนดพื้นที่ เนื่องจากจะได้ไม่มีการต่อว่าจังหวัดนั้นถูกกำหนดโดยนักการเมือง เมื่อกำหนดแล้วก็จะมีความชัดเจนในพื้นที่ดังกล่าว