พปช.ยอมชะลอแก้ รธน. มาตรา 291 ให้รอไปสมัยประชุมหน้า หลังถูกสังคมกดดัน บอกกลัวทำบรรยากาศบ้านเมืองเสีย ขณะที่ประธานวิปรัฐบาล มามุกใหม่ขอแก้ ม.190 อ้างมีปัญหาต่อการบริหารประเทศ "ชัย" บอกใครเสนอแก้ ม.291 จะเป็นบาป "เพื่อแผ่นดิน" ก็เห็นด้วยให้หยุดไว้ก่อน ด้าน ครม.ผวา ม.190 เห็นเป็นข้อตกลงกับต่างประเทศส่งเข้าสภาหมด
พ.อ.อภิวันทน์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เปิดทางตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ทางพรรคพลังประชาชนได้หารือนอกรอบกันแล้ว เห็นว่าบรรยากาศภายหลังเสร็จงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ คนไทยมีความสามัคคีกันดี ทางพรรคพลังประชาชน พร้อมจะถอย 2 ก้าว และขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันถอย 2 ก้าว
ซึ่งก่อนหน้านี้ เราก็ถอยมาแล้ว 2 ก้าว คือไม่ผลักดันนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี กลับมาเป็นนายกฯอีกรอบ และการชะลอเรื่องเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เรื่องนี้ต้องถาม ประชาชนที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ หากประชาชน รวบรวมรายชื่อได้เกิน 5 หมื่นรายชื่อ เพื่อเรียกร้องหรือสนับสนุนให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ทางสภาฯก็ต้องดำเนินการ แต่ที่เราไม่แก้ไขในขณะนี้ เพราะไม่อยากให้มองว่า ทำเพื่อช่วยคดียุบพรรค หรือ ช่วยเหลือบุคคลหนึ่งบุคคลใด แต่จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมารัฐธรรมนูญได้ทำให้เกิดปัญหา และข้อบกพร่อง ทำให้การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลไม่สามารถเดินไป ข้างหน้าได้ โดยเฉพาะมาตรา 190 ,266 ,267
ผู้สื่อข่าวถามแสดงว่าที่ไม่เสนอแก้ไขมาตรา 291 ในตอนนี้ แต่จะนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอโดย คณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) ซึ่งมี นพ.เหวง โตจิราการ เป็นแกนนำ เข้ามาพิจารณาแทนเพื่อเลี่ยงระแสต่อต้านใช่หรือไม่ พ.อ.อภิวันทน์ กล่าวว่า การแก้ไข มาตรา 291 ยังไม่ยกเลิก และไม่มีการหมกเม็ด แต่ทางพรรคเห็นว่าบรรยากาศ ขณะนี้เสนอแก้รัฐธรรมนูญไป ก็ไม่เหมาะสม และคงไม่เสนอให้เปิดประชุมสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ทั้งหมดเราต้องดูเรื่องผลประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นหลัก ที่ผ่านมาทางพรรคยังไม่มีมติให้บรรจุเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่ที่ประชุมสภา วาระการประชุม ต้องให้ประธานสภาฯเป็นผู้พิจารณาไปตามกรอบของกฎหมาย
ส่วนวาระการประชุมร่วม 2 สภา ในวันที่ 24-25 พ.ย.นี้ จะพิจารณาในเรื่องที่รัฐบาลต้องไปลงนามร่วมในสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งมีถึง 25 เรื่อง ที่จะต้องผ่าน ความเห็นชอบจากสภาฯ ให้นายกฯไปลงนามในข้อตกลงกับกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อความรอบคอบ ถึงแม้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะเสนอว่า ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบของ 2 สภา เพื่อสามารถพิจารณาไปตามกรอบได้นั้น ตนเห็นว่า เพื่อความรอบคอบและเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 อย่างกรณีเขาพระวิหารอีก เราควรปฏิบัติไปตามรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัดจะดีกว่า และหลังจากนี้จะมีกรอบอย่างไรค่อยมาพิจารณากันอีกครั้ง
ด้านนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา กล่าวว่า หากมีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 จะต้องพิจารณาเพื่อบรรจุเข้าสู่วาระ แต่เมื่อคืนตนฝันว่าใครเสนอแก้ไข มาตรา 291 เข้ามาตอนนี้จะเป็นบาป ฉะนั้นอย่างเพิ่งเสนอเลยให้รอสมัยประชุมหน้าดีกว่า รอให้ฝ่ายค้านและรัฐบาลเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจะดีกว่า
นายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.อยุธยา พรรคพลังประชาชน ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวว่า โดยส่วนตัวเห็นว่า ควรเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.291 เพื่อนำไปสู่การตั้ง สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) แต่ต้องมาทำข้อตกลงกันว่าจะดำเนินการอย่างไร เพราะการดำเนินการ ต้องทำตามขั้นตอน โดยเฉพาะขั้นตอนการตั้ง ส.ส.ร. ที่ต้องศึกษาเพื่อให้เกิดความ สมบูรณ์และชัดเจน
ส่วนที่พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฏรคนที่สองระบุว่า พรรคพลังประชาชนเห็นด้วยกับการชะลอการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ออกไปก่อนนั้น ตนก็เห็นด้วย โดยเห็นว่าหากยื่นญัตติไม่ทันในสมัยประชุมนี้ ก็ให้ไปยื่นญัตติในสมัยประชุมหน้า แต่ทั้งนี้ตนจะต้องคุยกับคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิ) ในวันที่ 20 พ.ย.ก่อน
นายวิทยา กล่าวว่า นอกจากนี้ที่ประชุมพรรคพลังประชาชนยังมีความเห็นว่า ควรพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ก่อนได้หรือไม่ เพราะมาตรา 190 ถือเป็น เรื่องเร่งด่วนเนื่องจากมีปัญหาต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ตนจึงได้ประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพานิชย์ ให้ส่งความเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากการดำเนินการตามมาตราดังกล่าวมาที่ตน และตั้งอนุกรรมการคณะพิเศษจำนวน 7 คนขึ้นมาศึกษาถึงสภาพปัญหาด้วย
นายรณฤทธิชัย คานเขต ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อแผ่นดิน กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) เดินหน้าเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ว่า ทางพรรคเพื่อแผ่นดินได้มีการหารือกันแล้ว มีมติให้ชะลอการเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในสมัยประชุมสามัญนี้ออกไปก่อน ส่วนจะมีการขอเปิดประชุมสมัยวิสามัญเพื่อนำญัตติดังกล่าวเข้ามาพิจารณาหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับวิปรัฐบาล แต่ทางพรรคเพื่อแผ่นดินเห็นว่าขณะนี้บรรยากาศของประเทศกำลังอยู่ในความสงบ จึงคิดว่าไม่น่าจะมีการเสนอเรื่องอะไรที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งกันในสังคม ประกอบกับในเดือน ธ.ค. จะมีงานพระราชพิธีวันที่ 5 ธันวาฯ ทางพรรค จึงไม่อยากให้มีเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้น หรือทำให้บรรยากาศของประเทศเสีย แต่ขึ้นอยู่กับพรรคพลังประชาชนว่าจะคิดเห็นอย่างไร เพราะเขาเป็นพรรคใหญ่ แต่หากมีการผลักดันเรื่องดังกล่าวเข้าสู่สภา ทางพรรคก็คงเสนอมุมมองถึงเหตุผลที่ไม่เห็นด้วย ที่จะพิจารณาในสมัยประชุมนี้
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า เนื่องจากตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 กำหนดให้การทำข้อตกลงเกี่ยวข้องกับต่างประเทศ ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ครม.จึงมีมติเห็นชอบให้นำร่างข้อตกลงอันเกี่ยวเนื่องกับต่างประเทศ 8 ฉบับ ส่งเข้ารัฐสภา เช่น ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยรัฐบาลแห่งสหภาพพม่าว่าด้วยความร่วมมือการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก ซึ่งจะมีการร่วมมือกันระหว่างไทยกับสหภาพพม่าในการป้องกันโดยการเน้นการบริการสังคม การศึกษา ฝึกอาชีพ และการมีงานทำ การรณรงค์เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการค้ามนุษย์ ส่วนด้านการส่งกลับประเทศทั้ง 2 ฝ่ายในบันทึกความเข้าใจกำหนดให้มีหน่วยงานประสานงานกลางรับและส่งเยื่อการค้ามนุษย์กลับภูมิลำเนา รวมทั้งให้ความช่วยเหลือในการคืนสู่สังคมด้วย
ร่างความตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมรายสาขา ของอาเซียนสำหรับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดี โดยนายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข รายงานต่อที่ประชุมว่าถ้านำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมอาเซียนก็จะส่งผลให้ทุกประเทศมีมาตรฐานในการผลิตยาเป็นอันเดียวกัน เป็นการส่งผลดีต่อภูมิภาค
ทั้งนี้มีร่างเอกสารรับรองสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 โดยมี 2 ฉบับ ที่ต้องส่งรัฐสภา คือแผนนโยบายบูรณาความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียนและแผนกลยุทธความมั่นคงด้านอาหาร เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ต้องมีการประชุมอาเซียน ที่จะต้องมีการทำความตกลงกัน โดยเฉพาะภูมิภาคอาเซียนและประเทศไทยเป็นพื้นที่สำคัญในการผลิตอาหารของโลก
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า การลงนามระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ว่าด้วยเรื่องการแลกเปลี่ยนสิทธิการเช่าที่ดินระหว่างกันเพื่อใช้ในงานทางการ กงสุล โดยทั้ง2 ฝ่ายสำรวจที่ดินแปลงต่างๆแล้วพร้อมทั้งตกลงว่า พื้นที่ที่จะให้เช่ามีพื้นที่เท่ากัน คือ 6,092 ตารางเมตร แล้วก็อัตราค่าเช่าคือ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ทั้งนี้ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะเห็นว่าการจะให้พื้นที่ของประเทศไทยใช้สำหรับดำเนินการทางกงสุลของประเทศลาวเท่ากับว่าให้ลาวมีพื้นที่อธิปไตยในประเทศไทย แม้ว่าจะเป็นการตกลงแลกเปลี่ยนเช่า ปีละ 1 ดอลล่าร์ ต่อ หนึ่งประเทศ จึงได้นำเรื่องเข้าที่ประชุมรัฐสภา
"มาตรา190ทำให้ครม.ตั้งแต่รัฐบาลของนายกสมัคร สุนทรเวช จนมาถึงรัฐบาลปัจจุบันถ้าไม่มั่นใจก็ส่งสภาก่อน เพื่อความมั่นใจแล้วก็ปลอดภัยในการดำเนินงาน โดยในครม.ไม่มีใครพูดถึงปัญหาของรัฐธรรมนูญมาตรา 190 อีกแล้ว เพราะเพียงแค่เห็นว่าเป็นการลงนามต่างประเทศหรือเห็นว่าเป็นต่างประเทศก็ขอส่งสภาก่อนเป็นอันดับแรก"
พ.อ.อภิวันทน์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เปิดทางตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ทางพรรคพลังประชาชนได้หารือนอกรอบกันแล้ว เห็นว่าบรรยากาศภายหลังเสร็จงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ คนไทยมีความสามัคคีกันดี ทางพรรคพลังประชาชน พร้อมจะถอย 2 ก้าว และขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันถอย 2 ก้าว
ซึ่งก่อนหน้านี้ เราก็ถอยมาแล้ว 2 ก้าว คือไม่ผลักดันนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี กลับมาเป็นนายกฯอีกรอบ และการชะลอเรื่องเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เรื่องนี้ต้องถาม ประชาชนที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ หากประชาชน รวบรวมรายชื่อได้เกิน 5 หมื่นรายชื่อ เพื่อเรียกร้องหรือสนับสนุนให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ทางสภาฯก็ต้องดำเนินการ แต่ที่เราไม่แก้ไขในขณะนี้ เพราะไม่อยากให้มองว่า ทำเพื่อช่วยคดียุบพรรค หรือ ช่วยเหลือบุคคลหนึ่งบุคคลใด แต่จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมารัฐธรรมนูญได้ทำให้เกิดปัญหา และข้อบกพร่อง ทำให้การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลไม่สามารถเดินไป ข้างหน้าได้ โดยเฉพาะมาตรา 190 ,266 ,267
ผู้สื่อข่าวถามแสดงว่าที่ไม่เสนอแก้ไขมาตรา 291 ในตอนนี้ แต่จะนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอโดย คณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) ซึ่งมี นพ.เหวง โตจิราการ เป็นแกนนำ เข้ามาพิจารณาแทนเพื่อเลี่ยงระแสต่อต้านใช่หรือไม่ พ.อ.อภิวันทน์ กล่าวว่า การแก้ไข มาตรา 291 ยังไม่ยกเลิก และไม่มีการหมกเม็ด แต่ทางพรรคเห็นว่าบรรยากาศ ขณะนี้เสนอแก้รัฐธรรมนูญไป ก็ไม่เหมาะสม และคงไม่เสนอให้เปิดประชุมสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ทั้งหมดเราต้องดูเรื่องผลประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นหลัก ที่ผ่านมาทางพรรคยังไม่มีมติให้บรรจุเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่ที่ประชุมสภา วาระการประชุม ต้องให้ประธานสภาฯเป็นผู้พิจารณาไปตามกรอบของกฎหมาย
ส่วนวาระการประชุมร่วม 2 สภา ในวันที่ 24-25 พ.ย.นี้ จะพิจารณาในเรื่องที่รัฐบาลต้องไปลงนามร่วมในสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งมีถึง 25 เรื่อง ที่จะต้องผ่าน ความเห็นชอบจากสภาฯ ให้นายกฯไปลงนามในข้อตกลงกับกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อความรอบคอบ ถึงแม้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะเสนอว่า ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบของ 2 สภา เพื่อสามารถพิจารณาไปตามกรอบได้นั้น ตนเห็นว่า เพื่อความรอบคอบและเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 อย่างกรณีเขาพระวิหารอีก เราควรปฏิบัติไปตามรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัดจะดีกว่า และหลังจากนี้จะมีกรอบอย่างไรค่อยมาพิจารณากันอีกครั้ง
ด้านนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา กล่าวว่า หากมีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 จะต้องพิจารณาเพื่อบรรจุเข้าสู่วาระ แต่เมื่อคืนตนฝันว่าใครเสนอแก้ไข มาตรา 291 เข้ามาตอนนี้จะเป็นบาป ฉะนั้นอย่างเพิ่งเสนอเลยให้รอสมัยประชุมหน้าดีกว่า รอให้ฝ่ายค้านและรัฐบาลเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจะดีกว่า
นายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.อยุธยา พรรคพลังประชาชน ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวว่า โดยส่วนตัวเห็นว่า ควรเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.291 เพื่อนำไปสู่การตั้ง สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) แต่ต้องมาทำข้อตกลงกันว่าจะดำเนินการอย่างไร เพราะการดำเนินการ ต้องทำตามขั้นตอน โดยเฉพาะขั้นตอนการตั้ง ส.ส.ร. ที่ต้องศึกษาเพื่อให้เกิดความ สมบูรณ์และชัดเจน
ส่วนที่พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฏรคนที่สองระบุว่า พรรคพลังประชาชนเห็นด้วยกับการชะลอการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ออกไปก่อนนั้น ตนก็เห็นด้วย โดยเห็นว่าหากยื่นญัตติไม่ทันในสมัยประชุมนี้ ก็ให้ไปยื่นญัตติในสมัยประชุมหน้า แต่ทั้งนี้ตนจะต้องคุยกับคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิ) ในวันที่ 20 พ.ย.ก่อน
นายวิทยา กล่าวว่า นอกจากนี้ที่ประชุมพรรคพลังประชาชนยังมีความเห็นว่า ควรพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ก่อนได้หรือไม่ เพราะมาตรา 190 ถือเป็น เรื่องเร่งด่วนเนื่องจากมีปัญหาต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ตนจึงได้ประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพานิชย์ ให้ส่งความเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากการดำเนินการตามมาตราดังกล่าวมาที่ตน และตั้งอนุกรรมการคณะพิเศษจำนวน 7 คนขึ้นมาศึกษาถึงสภาพปัญหาด้วย
นายรณฤทธิชัย คานเขต ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อแผ่นดิน กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) เดินหน้าเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ว่า ทางพรรคเพื่อแผ่นดินได้มีการหารือกันแล้ว มีมติให้ชะลอการเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในสมัยประชุมสามัญนี้ออกไปก่อน ส่วนจะมีการขอเปิดประชุมสมัยวิสามัญเพื่อนำญัตติดังกล่าวเข้ามาพิจารณาหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับวิปรัฐบาล แต่ทางพรรคเพื่อแผ่นดินเห็นว่าขณะนี้บรรยากาศของประเทศกำลังอยู่ในความสงบ จึงคิดว่าไม่น่าจะมีการเสนอเรื่องอะไรที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งกันในสังคม ประกอบกับในเดือน ธ.ค. จะมีงานพระราชพิธีวันที่ 5 ธันวาฯ ทางพรรค จึงไม่อยากให้มีเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้น หรือทำให้บรรยากาศของประเทศเสีย แต่ขึ้นอยู่กับพรรคพลังประชาชนว่าจะคิดเห็นอย่างไร เพราะเขาเป็นพรรคใหญ่ แต่หากมีการผลักดันเรื่องดังกล่าวเข้าสู่สภา ทางพรรคก็คงเสนอมุมมองถึงเหตุผลที่ไม่เห็นด้วย ที่จะพิจารณาในสมัยประชุมนี้
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า เนื่องจากตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 กำหนดให้การทำข้อตกลงเกี่ยวข้องกับต่างประเทศ ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ครม.จึงมีมติเห็นชอบให้นำร่างข้อตกลงอันเกี่ยวเนื่องกับต่างประเทศ 8 ฉบับ ส่งเข้ารัฐสภา เช่น ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยรัฐบาลแห่งสหภาพพม่าว่าด้วยความร่วมมือการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก ซึ่งจะมีการร่วมมือกันระหว่างไทยกับสหภาพพม่าในการป้องกันโดยการเน้นการบริการสังคม การศึกษา ฝึกอาชีพ และการมีงานทำ การรณรงค์เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการค้ามนุษย์ ส่วนด้านการส่งกลับประเทศทั้ง 2 ฝ่ายในบันทึกความเข้าใจกำหนดให้มีหน่วยงานประสานงานกลางรับและส่งเยื่อการค้ามนุษย์กลับภูมิลำเนา รวมทั้งให้ความช่วยเหลือในการคืนสู่สังคมด้วย
ร่างความตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมรายสาขา ของอาเซียนสำหรับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดี โดยนายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข รายงานต่อที่ประชุมว่าถ้านำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมอาเซียนก็จะส่งผลให้ทุกประเทศมีมาตรฐานในการผลิตยาเป็นอันเดียวกัน เป็นการส่งผลดีต่อภูมิภาค
ทั้งนี้มีร่างเอกสารรับรองสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 โดยมี 2 ฉบับ ที่ต้องส่งรัฐสภา คือแผนนโยบายบูรณาความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียนและแผนกลยุทธความมั่นคงด้านอาหาร เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ต้องมีการประชุมอาเซียน ที่จะต้องมีการทำความตกลงกัน โดยเฉพาะภูมิภาคอาเซียนและประเทศไทยเป็นพื้นที่สำคัญในการผลิตอาหารของโลก
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า การลงนามระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ว่าด้วยเรื่องการแลกเปลี่ยนสิทธิการเช่าที่ดินระหว่างกันเพื่อใช้ในงานทางการ กงสุล โดยทั้ง2 ฝ่ายสำรวจที่ดินแปลงต่างๆแล้วพร้อมทั้งตกลงว่า พื้นที่ที่จะให้เช่ามีพื้นที่เท่ากัน คือ 6,092 ตารางเมตร แล้วก็อัตราค่าเช่าคือ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ทั้งนี้ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะเห็นว่าการจะให้พื้นที่ของประเทศไทยใช้สำหรับดำเนินการทางกงสุลของประเทศลาวเท่ากับว่าให้ลาวมีพื้นที่อธิปไตยในประเทศไทย แม้ว่าจะเป็นการตกลงแลกเปลี่ยนเช่า ปีละ 1 ดอลล่าร์ ต่อ หนึ่งประเทศ จึงได้นำเรื่องเข้าที่ประชุมรัฐสภา
"มาตรา190ทำให้ครม.ตั้งแต่รัฐบาลของนายกสมัคร สุนทรเวช จนมาถึงรัฐบาลปัจจุบันถ้าไม่มั่นใจก็ส่งสภาก่อน เพื่อความมั่นใจแล้วก็ปลอดภัยในการดำเนินงาน โดยในครม.ไม่มีใครพูดถึงปัญหาของรัฐธรรมนูญมาตรา 190 อีกแล้ว เพราะเพียงแค่เห็นว่าเป็นการลงนามต่างประเทศหรือเห็นว่าเป็นต่างประเทศก็ขอส่งสภาก่อนเป็นอันดับแรก"