เอเอฟพี – พวกผู้นำอุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐฯ เดินเข้ารัฐสภาอีกรอบในวันพุธ(19) เพื่อแบมือขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมมูลค่า 25,000 ล้านดอลลาร์ หลังจากที่ได้พูดเตือนมารอบหนึ่งแล้วในวันอังคาร(18)ว่า หากปล่อยไว้เนิ่นช้าจะทำให้อุตสาหกรรมของพวกเขาล้มละลาย และลากเอาเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐฯอื่น ๆ พังครืนตามไปด้วย
แต่ความช่วยเหลือที่หวังอาจจะไม่ได้มาอย่างง่ายดาย เพราะทั้งคณะรัฐบาลบุชและสมาชิกรัฐสภาหลายคนโดยเฉพาะทางพรรครีพับลิกัน ต่างแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับการอัดฉีดเม็ดเงินให้แก่อุตสาหกรรมรถยนต์ โดยตั้งคำถามว่า “ บิ๊กทรีแห่งดีทรอยต์” อันได้แก่ เจเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม), ฟอร์ด, และไครสเลอร์ จะมีความสามารถจ่ายคืนเงินกู้ที่รัฐบาลให้ไปได้หรือ รวมทั้งเหมาะสมแล้วหรือที่จะเอาเงินไปช่วยบริษัทที่ทำให้ตัวเองล้มเหลวไปเอง
หลังจากการปะทะคารมอันเผ็ดร้อนกันยาวนานถึงสี่ชั่วโมงกับคณะกรรมาธิการการธนาคารของวุฒิสภาในวันอังคาร บรรดาผู้บริหารของ “บิ๊กทรี” ก็เดินหน้าต่อไป โดยจะไปพบกับคณะกรรมาธิการของสภาล่างในวันพุธ
จีเอ็มและไครสเลอร์นั้นได้ออกมาเตือนกันตรงไปตรงมาว่า พวกเขาต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาลอย่างเร่งด่วน ก่อนที่บริษัททั้งสองจะไม่มีเม็ดเงินดำเนินธุรกิจ นักวิเคราะห์กล่าวว่าสถานการณ์นั้นเลวร้ายมากถึงขั้นที่ว่า คงจะต้องมีการปิดบริษัท ชำระบัญชีและขายสินทรัพย์ มากกว่าที่จะสามารถดำเนินการปรับโครงสร้างภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายล้มละลาย
และกระทั่งฟอร์ดที่ยังมีสถานการณ์ที่ดีกว่าจีเอ็มอยู่บ้าง แต่บริษัทก็เตือนว่าหากว่าจีเอ็มต้องปิดตัวลง ก็อาจจะทำให้ฐานอุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐฯต้องสะดุดหยุดลงและส่งผลไปถึงโรงงานรถยนต์ของสหรัฐฯทั้งมวลด้วย
ผลร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้นก็คือ ตำแหน่งงาน 3 ล้านตำแหน่งในอุตสาหกรรมรถยนต์ก็จะต้องหายวับไป และรายได้จากภาษีที่เคยให้รัฐบาลก็จะต้องมลายไปด้วย โดยการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้พบว่า เฉพาะในปีแรกจะเป็นมูลค่าถึงกว่า 156,000 ล้านดอลลาร์ทีเดียว
“นี่มันเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่าดีทรอยท์มากนัก” ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของจีเอ็ม ริค แวกอนเนอร์ ชี้แจงเมื่อวันอังคาร “เพราะมันเป็นเรื่องของการกู้เศรษฐกิจสหรัฐฯให้พ้นจากการพังทลายอยางย่อยยับ”
แวกอนเนอร์ยังได้กล่าวอีกด้วยว่า จีเอ็มนั้นมีความสามารถในการปรับโครงสร้างธุรกิจและฟื้นฟูรายได้ บริษัท “จะทำทุกอย่างที่ทำให้ได้เพื่อจ่ายเงินกู้คืนรัฐบาลพร้อมดอกเบี้ย”
“ความล้มเหลวที่เรากำลังประสบอยู่ตอนนี้มาจากวิกฤตการเงินโลก ซึ่งส่งผลให้สินเชื่อที่เคยมีหดหายไป รวมทั้งยอดขายตกต่ำลงไป สู่ระดับที่ต่ำที่สุดต่อหัวนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา” เขากล่าว “อุตสาหกรรมของเรา ซึ่งเป็นตัวแทนของภาคเศรษฐกิจแท้จริง กำลังต้องการที่จะได้เม็ดเงินที่ทางการตั้งเอาไว้เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจมาประคองเอาไว้”
อย่างไรก็ตาม ทั้งทำเนียบขาวและรัฐมนตรีคลัง เฮนรี พอลสันแสดงท่าทีในวันอังคารคัดค้านแผนช่วยเหลืออุตสาหกรรมรถยนต์เพิ่มเติมอีก 25,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งทางพรรคเดโมแครตบอกว่าน่าจะดึงเงินมาจากแผนการกอบกู้ภาคการเงินมูลค่า 700,000 ล้านดอลลาร์ที่ยังใช้กันไม่หมด
ทั้งนี้ขุนคลังพอลสันและทำเนียบขาวมองว่า รัฐสภาควรที่จะช่วยเหลืออุตสาหกรรมนี้ โดยอาศัยโครงการเงินกู้มูลค่า 25,000 ล้านดอลลาร์ที่อนุมัติกันไปแล้ว ซึ่งมุ่งช่วยให้บริษัทรถยนต์ในสหรัฐฯผลิตรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
พอลสันกล่าวต่อคณะกรรมาธิการวุฒิสภาว่า มาตรการกอบกู้ภาคเงินมูลค่า 700,000 ล้านดอลลาร์ นั้นไม่ใช่ “ยาผีบอกที่สามารถรักษาอาการป่วยไข้ทางเศรษฐกิจได้ทุกประเภท” และเขายืนยันว่ามีหนทางอีกมากที่จะป้องกันมิให้อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศล้มครืนลงมา “ผมเชื่อในวิธีการแก้ไขปัญหาที่จะนำไปสู่ความแข็งแกร่งและมั่นคงในระยะยาว”
ขณะที่โฆษกทำเนียบขาว ดานา เพริโน วิจารณ์แผนช่วยเหลือของเดโมแครตว่า “ไม่ได้ทำให้เกิดความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมแต่อย่างใด” และก็บอกด้วยว่าอาจจะผ่านการเจรจาเพื่อประนีประนอมกันอีกมาก กว่าที่แผนใดๆ จะออกมาได้ โดยหวังว่าน่าจะมีข้อตกลงระหว่างรัฐสภากับทำเนียบขาวในเรื่องนี้ออกมาภายในสัปดาห์นี้
ส่วนทางเดโมแครตก็โต้ว่าความสามารถในการแข่งขันระยะยาวของอุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐฯอาจจะถูกกัดเซาะไป หากว่าเงินกู้ที่จะมีเงื่อนไขกำหนดให้บริษัทหันมาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีราคาแพงเพื่อนำพา “บิ๊ก ทรี” ฝ่าคลื่นลมเศรษฐกิจกลับมาแข็งแกร่งดังเดิม
แต่ความช่วยเหลือที่หวังอาจจะไม่ได้มาอย่างง่ายดาย เพราะทั้งคณะรัฐบาลบุชและสมาชิกรัฐสภาหลายคนโดยเฉพาะทางพรรครีพับลิกัน ต่างแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับการอัดฉีดเม็ดเงินให้แก่อุตสาหกรรมรถยนต์ โดยตั้งคำถามว่า “ บิ๊กทรีแห่งดีทรอยต์” อันได้แก่ เจเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม), ฟอร์ด, และไครสเลอร์ จะมีความสามารถจ่ายคืนเงินกู้ที่รัฐบาลให้ไปได้หรือ รวมทั้งเหมาะสมแล้วหรือที่จะเอาเงินไปช่วยบริษัทที่ทำให้ตัวเองล้มเหลวไปเอง
หลังจากการปะทะคารมอันเผ็ดร้อนกันยาวนานถึงสี่ชั่วโมงกับคณะกรรมาธิการการธนาคารของวุฒิสภาในวันอังคาร บรรดาผู้บริหารของ “บิ๊กทรี” ก็เดินหน้าต่อไป โดยจะไปพบกับคณะกรรมาธิการของสภาล่างในวันพุธ
จีเอ็มและไครสเลอร์นั้นได้ออกมาเตือนกันตรงไปตรงมาว่า พวกเขาต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาลอย่างเร่งด่วน ก่อนที่บริษัททั้งสองจะไม่มีเม็ดเงินดำเนินธุรกิจ นักวิเคราะห์กล่าวว่าสถานการณ์นั้นเลวร้ายมากถึงขั้นที่ว่า คงจะต้องมีการปิดบริษัท ชำระบัญชีและขายสินทรัพย์ มากกว่าที่จะสามารถดำเนินการปรับโครงสร้างภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายล้มละลาย
และกระทั่งฟอร์ดที่ยังมีสถานการณ์ที่ดีกว่าจีเอ็มอยู่บ้าง แต่บริษัทก็เตือนว่าหากว่าจีเอ็มต้องปิดตัวลง ก็อาจจะทำให้ฐานอุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐฯต้องสะดุดหยุดลงและส่งผลไปถึงโรงงานรถยนต์ของสหรัฐฯทั้งมวลด้วย
ผลร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้นก็คือ ตำแหน่งงาน 3 ล้านตำแหน่งในอุตสาหกรรมรถยนต์ก็จะต้องหายวับไป และรายได้จากภาษีที่เคยให้รัฐบาลก็จะต้องมลายไปด้วย โดยการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้พบว่า เฉพาะในปีแรกจะเป็นมูลค่าถึงกว่า 156,000 ล้านดอลลาร์ทีเดียว
“นี่มันเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่าดีทรอยท์มากนัก” ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของจีเอ็ม ริค แวกอนเนอร์ ชี้แจงเมื่อวันอังคาร “เพราะมันเป็นเรื่องของการกู้เศรษฐกิจสหรัฐฯให้พ้นจากการพังทลายอยางย่อยยับ”
แวกอนเนอร์ยังได้กล่าวอีกด้วยว่า จีเอ็มนั้นมีความสามารถในการปรับโครงสร้างธุรกิจและฟื้นฟูรายได้ บริษัท “จะทำทุกอย่างที่ทำให้ได้เพื่อจ่ายเงินกู้คืนรัฐบาลพร้อมดอกเบี้ย”
“ความล้มเหลวที่เรากำลังประสบอยู่ตอนนี้มาจากวิกฤตการเงินโลก ซึ่งส่งผลให้สินเชื่อที่เคยมีหดหายไป รวมทั้งยอดขายตกต่ำลงไป สู่ระดับที่ต่ำที่สุดต่อหัวนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา” เขากล่าว “อุตสาหกรรมของเรา ซึ่งเป็นตัวแทนของภาคเศรษฐกิจแท้จริง กำลังต้องการที่จะได้เม็ดเงินที่ทางการตั้งเอาไว้เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจมาประคองเอาไว้”
อย่างไรก็ตาม ทั้งทำเนียบขาวและรัฐมนตรีคลัง เฮนรี พอลสันแสดงท่าทีในวันอังคารคัดค้านแผนช่วยเหลืออุตสาหกรรมรถยนต์เพิ่มเติมอีก 25,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งทางพรรคเดโมแครตบอกว่าน่าจะดึงเงินมาจากแผนการกอบกู้ภาคการเงินมูลค่า 700,000 ล้านดอลลาร์ที่ยังใช้กันไม่หมด
ทั้งนี้ขุนคลังพอลสันและทำเนียบขาวมองว่า รัฐสภาควรที่จะช่วยเหลืออุตสาหกรรมนี้ โดยอาศัยโครงการเงินกู้มูลค่า 25,000 ล้านดอลลาร์ที่อนุมัติกันไปแล้ว ซึ่งมุ่งช่วยให้บริษัทรถยนต์ในสหรัฐฯผลิตรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
พอลสันกล่าวต่อคณะกรรมาธิการวุฒิสภาว่า มาตรการกอบกู้ภาคเงินมูลค่า 700,000 ล้านดอลลาร์ นั้นไม่ใช่ “ยาผีบอกที่สามารถรักษาอาการป่วยไข้ทางเศรษฐกิจได้ทุกประเภท” และเขายืนยันว่ามีหนทางอีกมากที่จะป้องกันมิให้อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศล้มครืนลงมา “ผมเชื่อในวิธีการแก้ไขปัญหาที่จะนำไปสู่ความแข็งแกร่งและมั่นคงในระยะยาว”
ขณะที่โฆษกทำเนียบขาว ดานา เพริโน วิจารณ์แผนช่วยเหลือของเดโมแครตว่า “ไม่ได้ทำให้เกิดความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมแต่อย่างใด” และก็บอกด้วยว่าอาจจะผ่านการเจรจาเพื่อประนีประนอมกันอีกมาก กว่าที่แผนใดๆ จะออกมาได้ โดยหวังว่าน่าจะมีข้อตกลงระหว่างรัฐสภากับทำเนียบขาวในเรื่องนี้ออกมาภายในสัปดาห์นี้
ส่วนทางเดโมแครตก็โต้ว่าความสามารถในการแข่งขันระยะยาวของอุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐฯอาจจะถูกกัดเซาะไป หากว่าเงินกู้ที่จะมีเงื่อนไขกำหนดให้บริษัทหันมาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีราคาแพงเพื่อนำพา “บิ๊ก ทรี” ฝ่าคลื่นลมเศรษฐกิจกลับมาแข็งแกร่งดังเดิม