รอยเตอร์ – แผนการให้เงินกู้ฉุกเฉินช่วยชีวิต 3 บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่สหรัฐฯ หรือ “บิ๊กทรีแห่งดีทรอยต์” ปรากฏว่าแท้งคลอดไม่ออกในวุฒิสภาเมื่อคืนวันพฤหัสบดี(11) ทำให้โอกาสที่อุตสาหกรรมนี้จะล้มละลายมีสูงมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความหวั่นผวาไปทั่วโลก โดยที่ตลาดหุ้นเอเชียดิ่งลง เพราะความกลัวว่าอาจทำให้เศรษฐกิจยิ่งชะลอตัวกินลึกลงไปอีก
“มันจบแล้ว” แฮร์รี รีด วุฒิสมาชิกพรรคเดโมแครต ซึ่งเป็นผู้นำเสียงข้างมากในวุฒิสภากล่าวยอมรับ ก่อนหน้าที่แผนการนี้ของเดโมแครต ที่มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การให้เงินกู้ฉุกเฉิน 14,000 ล้านดอลลาร์แก่อุตสาหกรรมรถยนต์นั้น ไม่สามารถฟันฝ่าเข้าสู่การลงมติได้
ทั้งนี้เดโมแครตและวุฒิสมาชิกอิสระที่มักโหวตตามเดโมแครต เป็นฝ่ายที่มีเสียงเกินครึ่งหนึ่งของวุฒิสภาที่มีอยู่ 100 เสียง ทว่าพวกเสียงข้างน้อยในวุฒิสภาสหรัฐฯนิยมใช้วิธีต่อสู้ถ่วงเวลา อาทิ ส่งคนขึ้นอภิปรายไม่ยอมหยุด โดยหากจะเสนอญัตติให้ปิดอภิปรายเพื่อลงมติให้ได้ ตามระเบียบว่าต้องได้คะแนนเสียงถึง 60 เสียง ปรากฏว่าญัตติขอปิดอภิปรายในคืนวันพฤหัสบดีได้คะแนน 52 ต่อ 35 ไม่เพียงพอที่จะคืบหน้าไปสู่การลงมติได้
ตอนนี้แรงกดดันก็ย้ายไปอยู่ที่ทำเนียบขาว เพราะมีเสียงเรียกร้องให้ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช เข้ามาแทรกแซง ด้วยการเจียดเอาเงินจากโครงการช่วยภาคการเงิน 700,000 ล้านดอลลาร์ที่ยังเหลืออยู่มาก มาช่วยเหลืออุตสาหกรรมรถยนต์อย่างเร่งด่วน
โดยเฉพาะบิ๊กอันดับ 1 และอันดับ 3 คือ เจเนอรัล มอเตอร์ส(จีเอ็ม) และไครสเลอร์นั้น กำลังอยู่ระหว่างพยายามหาความช่วยเหลือ เพื่อให้บริษัทมีเงินดำเนินการไปจนกระทั่งถึงเดือนมีนาคมได้ พวกเขายังออกมาเตือนว่าอาจมีปัญหาล้มละลาย หากว่าเงินช่วยเหลือยังไม่มาเสียที
“ผมกลัวที่จะมองดูวอลล์สตรีทในวันพรุ่งนี้ เพราะว่ามันน่าจะเป็นภาพที่ไม่น่าดูเลย” วุฒิสมาชิกรีดกล่าว
ก่อนที่วอลล์สตรีทจะเปิดซื้อขาย ปรากฏว่าตลาดหุ้นในเอเชีย-แปซิฟิกที่เปิดทำการก่อนเมื่อวานนี้ พากันร่วงลงมากกว่า 3% จากปัจจัยข้อเสนอช่วยอุตสาหกรรมรถยนต์ล้มครืนนี้ ดัชนีนิกเคอิในญี่ปุ่นและที่ฮั่งเส็งในฮ่องกงดิ่งลงมากกว่า 5%
หุ้นของโตโยต้า มอเตอร์ร่วงลง 10% และฮอนดามอเตอร์ร่วงลง 12.5% เนื่องความวิตกเรื่องเศรษฐกิจสหรัฐฯที่อาจจะเกิดการชะงักงันอย่างรุนแรง หากว่าบริษัทรถยนต์แห่งใดแห่งหนึ่งของสหรัฐฯต้องล้มละลาย
นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้าของสหรัฐฯ ตกลง 2 เหรียญมาอยู่ที่ 45.90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่เงินเยนพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 13 ปีเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
พวกบริษัทรถยนต์นั้นมีการใช้บริษัทชิ้นส่วนอะไหล่และวัตถุดิบ ตลอดจนผู้ขายปลีกรายเดียวกันเป็นจำนวนมาก ดังนั้นหากว่าบริษัทในสหรัฐฯแห่งหนึ่งล้มละลายต้องปิดตัวไป ก็อาจจะลากเอาอีกสองบริษัทร่วมชาติไปลงหลุมด้วยกัน อีกทั้งยังน่าจะลุกลามไปยังบริษัทรถยนต์สัญชาติอื่น ๆ
เท่าที่ผ่านมาฝ่ายนิติบัญญัติของสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในกลุ่มที่วิพากษ์วิจารณ์อุตสาหกรรมรถยนต์อย่างรุนแรง แต่ตอนนี้ชาวพรรคเดโมแครต ตลอดจนรีพับลิกันบางคน รวมทั้งทำเนียบขาวด้วย ต่างกำลังรวมกลุ่มกันเพื่อผลักดันร่างกฎหมายให้เงินช่วยเหลือฉุกเฉินฉบับนี้ ออกมาบังคับใช้ เพราะว่าไม่มีใครอยากจะถูกตราหน้าว่าเป็นต้นเหตุให้เศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอยลงไปอีก หากว่าบริษัทใดบริษัทหนึ่งต้องล้มละลายไป
จีเอ็ม ฟอร์ด มอเตอร์ และไครสเลอร์นั้น จ้างงานรวมกันมากกว่า 250,000 ตำแหน่ง และอีก 100,000 ตำแหน่งจากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง อย่างเช่นซัพพลายเออร์ ก็จะต้องแขวนอยู่กับความอยู่รอดของบริษัทสามแห่งนี้ บริษัทเหล่านี้อ้างว่าหนึ่งในสิบในตำแหน่งงานของสหรัฐฯนั้นอยู่ในภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งเมื่อคำนวณออกมาก็น่าจะเท่ากับพนักงานหลายล้านตำแหน่ง
จีเอ็มและไครสเลอร์ออกมาบอกแล้วว่ากำลังเผชิญหน้ากับภาวะการเงินอย่างรุนแรง และก็ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาภายนอก เพื่อมาช่วยตรวจสอบดูถึงทางเลือกการล้มละลาย ซึ่งทั้งสองบริษัทบอกว่าพบปัญหามากมาย
“มันจะยากเย็นยิ่งสำหรับบริษัททั้งสองที่จะหลีกเลี่ยงการยื่นขอความคุ้มครองจากศาลล้มละลาย” อีริค เมอร์เคิล ที่ปรึกษาของโครว์ ชิเซ็กในมิชิแกนกล่าวให้ความเห็น ในกรณีที่สมมุติว่าจีเอ็มและไครสเลอร์ ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ
“จีเอ็มอาจจะดำเนินธุรกิจไปได้จนเดือนมกราคม และผมก็สงสัยว่าขั้นตอนต่อไปน่าจะอยู่ในรูปที่ว่า จีเอ็มออกมาแถลงว่าจะยื่นขอความคุ้มครองในสถานะล้มละลายในวันนั้นวันนี้” เมอร์เคิลกล่าว
“มันจบแล้ว” แฮร์รี รีด วุฒิสมาชิกพรรคเดโมแครต ซึ่งเป็นผู้นำเสียงข้างมากในวุฒิสภากล่าวยอมรับ ก่อนหน้าที่แผนการนี้ของเดโมแครต ที่มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การให้เงินกู้ฉุกเฉิน 14,000 ล้านดอลลาร์แก่อุตสาหกรรมรถยนต์นั้น ไม่สามารถฟันฝ่าเข้าสู่การลงมติได้
ทั้งนี้เดโมแครตและวุฒิสมาชิกอิสระที่มักโหวตตามเดโมแครต เป็นฝ่ายที่มีเสียงเกินครึ่งหนึ่งของวุฒิสภาที่มีอยู่ 100 เสียง ทว่าพวกเสียงข้างน้อยในวุฒิสภาสหรัฐฯนิยมใช้วิธีต่อสู้ถ่วงเวลา อาทิ ส่งคนขึ้นอภิปรายไม่ยอมหยุด โดยหากจะเสนอญัตติให้ปิดอภิปรายเพื่อลงมติให้ได้ ตามระเบียบว่าต้องได้คะแนนเสียงถึง 60 เสียง ปรากฏว่าญัตติขอปิดอภิปรายในคืนวันพฤหัสบดีได้คะแนน 52 ต่อ 35 ไม่เพียงพอที่จะคืบหน้าไปสู่การลงมติได้
ตอนนี้แรงกดดันก็ย้ายไปอยู่ที่ทำเนียบขาว เพราะมีเสียงเรียกร้องให้ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช เข้ามาแทรกแซง ด้วยการเจียดเอาเงินจากโครงการช่วยภาคการเงิน 700,000 ล้านดอลลาร์ที่ยังเหลืออยู่มาก มาช่วยเหลืออุตสาหกรรมรถยนต์อย่างเร่งด่วน
โดยเฉพาะบิ๊กอันดับ 1 และอันดับ 3 คือ เจเนอรัล มอเตอร์ส(จีเอ็ม) และไครสเลอร์นั้น กำลังอยู่ระหว่างพยายามหาความช่วยเหลือ เพื่อให้บริษัทมีเงินดำเนินการไปจนกระทั่งถึงเดือนมีนาคมได้ พวกเขายังออกมาเตือนว่าอาจมีปัญหาล้มละลาย หากว่าเงินช่วยเหลือยังไม่มาเสียที
“ผมกลัวที่จะมองดูวอลล์สตรีทในวันพรุ่งนี้ เพราะว่ามันน่าจะเป็นภาพที่ไม่น่าดูเลย” วุฒิสมาชิกรีดกล่าว
ก่อนที่วอลล์สตรีทจะเปิดซื้อขาย ปรากฏว่าตลาดหุ้นในเอเชีย-แปซิฟิกที่เปิดทำการก่อนเมื่อวานนี้ พากันร่วงลงมากกว่า 3% จากปัจจัยข้อเสนอช่วยอุตสาหกรรมรถยนต์ล้มครืนนี้ ดัชนีนิกเคอิในญี่ปุ่นและที่ฮั่งเส็งในฮ่องกงดิ่งลงมากกว่า 5%
หุ้นของโตโยต้า มอเตอร์ร่วงลง 10% และฮอนดามอเตอร์ร่วงลง 12.5% เนื่องความวิตกเรื่องเศรษฐกิจสหรัฐฯที่อาจจะเกิดการชะงักงันอย่างรุนแรง หากว่าบริษัทรถยนต์แห่งใดแห่งหนึ่งของสหรัฐฯต้องล้มละลาย
นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้าของสหรัฐฯ ตกลง 2 เหรียญมาอยู่ที่ 45.90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่เงินเยนพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 13 ปีเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
พวกบริษัทรถยนต์นั้นมีการใช้บริษัทชิ้นส่วนอะไหล่และวัตถุดิบ ตลอดจนผู้ขายปลีกรายเดียวกันเป็นจำนวนมาก ดังนั้นหากว่าบริษัทในสหรัฐฯแห่งหนึ่งล้มละลายต้องปิดตัวไป ก็อาจจะลากเอาอีกสองบริษัทร่วมชาติไปลงหลุมด้วยกัน อีกทั้งยังน่าจะลุกลามไปยังบริษัทรถยนต์สัญชาติอื่น ๆ
เท่าที่ผ่านมาฝ่ายนิติบัญญัติของสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในกลุ่มที่วิพากษ์วิจารณ์อุตสาหกรรมรถยนต์อย่างรุนแรง แต่ตอนนี้ชาวพรรคเดโมแครต ตลอดจนรีพับลิกันบางคน รวมทั้งทำเนียบขาวด้วย ต่างกำลังรวมกลุ่มกันเพื่อผลักดันร่างกฎหมายให้เงินช่วยเหลือฉุกเฉินฉบับนี้ ออกมาบังคับใช้ เพราะว่าไม่มีใครอยากจะถูกตราหน้าว่าเป็นต้นเหตุให้เศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอยลงไปอีก หากว่าบริษัทใดบริษัทหนึ่งต้องล้มละลายไป
จีเอ็ม ฟอร์ด มอเตอร์ และไครสเลอร์นั้น จ้างงานรวมกันมากกว่า 250,000 ตำแหน่ง และอีก 100,000 ตำแหน่งจากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง อย่างเช่นซัพพลายเออร์ ก็จะต้องแขวนอยู่กับความอยู่รอดของบริษัทสามแห่งนี้ บริษัทเหล่านี้อ้างว่าหนึ่งในสิบในตำแหน่งงานของสหรัฐฯนั้นอยู่ในภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งเมื่อคำนวณออกมาก็น่าจะเท่ากับพนักงานหลายล้านตำแหน่ง
จีเอ็มและไครสเลอร์ออกมาบอกแล้วว่ากำลังเผชิญหน้ากับภาวะการเงินอย่างรุนแรง และก็ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาภายนอก เพื่อมาช่วยตรวจสอบดูถึงทางเลือกการล้มละลาย ซึ่งทั้งสองบริษัทบอกว่าพบปัญหามากมาย
“มันจะยากเย็นยิ่งสำหรับบริษัททั้งสองที่จะหลีกเลี่ยงการยื่นขอความคุ้มครองจากศาลล้มละลาย” อีริค เมอร์เคิล ที่ปรึกษาของโครว์ ชิเซ็กในมิชิแกนกล่าวให้ความเห็น ในกรณีที่สมมุติว่าจีเอ็มและไครสเลอร์ ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ
“จีเอ็มอาจจะดำเนินธุรกิจไปได้จนเดือนมกราคม และผมก็สงสัยว่าขั้นตอนต่อไปน่าจะอยู่ในรูปที่ว่า จีเอ็มออกมาแถลงว่าจะยื่นขอความคุ้มครองในสถานะล้มละลายในวันนั้นวันนี้” เมอร์เคิลกล่าว