เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2551 นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้มอบนโยบายให้กรมราชทัณฑ์ไปลดจำนวนผู้ต้องขังที่ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการควบคุมตัวในเรือนจำลงเพื่อลดความแออัด
ด้วยการ “พักการลงโทษ” นักโทษบางประเภท!
ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ต้องขังสูงถึง 180,000 คน ในขณะที่อัตราความจุปกติ
ของเรือนจำรับได้แค่ 120,000 คน แปลว่ามีความแออัดยัดเยียดมาก และเกินความจุอยู่กว่า 60,000 คน
ปีนี้ถือเป็นปีพิเศษนักการเมืองคนสำคัญระดับชาติต่างทยอยถูกพิพากษาให้จำคุกในปีเดียวกัน
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาเป็นที่สิ้นสุดแล้วว่า ต้องโทษจำคุกโดยไม่รอลงอาญา 2 ปี ในคดีผลประโยชน์ทับซ้อนที่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ได้ซื้อที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษกในขณะที่เป็นภรรยาของนายกรัฐมนตรี เป็นการกระทำที่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อนและผิดต่อกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตัดสินใจหนีไปต่างประเทศไม่ยอมกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของความแออัดในเรือนจำไทย!
นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีอีกคนหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุกโดยไม่รอลงอาญา 2 ปีในข้อหาหมิ่นประมาทนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปีนี้ อดีตนายกรัฐมนตรีในฝ่ายรัฐบาลถูกตัดสินจำคุกถึง 2 คน นโยบายลดจำนวนนักโทษเพื่อลดความแออัดด้วยการ “พักการลงโทษ” ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมปีนี้ จึงน่าสนใจว่าจะบังเอิญเอื้อประโยชน์ให้กับอดีตนายกรัฐมนตรีทั้ง 2 คนนี้ ได้หรือไม่?
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ให้กรมราชทัณฑ์ใช้วิธีการพักการลงโทษกรณีพิเศษให้แก่นักโทษบางประเภทตามหลักเกณฑ์และกฎหมายที่จะทำได้ โดยในปีงบประมาณ 2552 มีการพักการลงโทษจำนวน 3,000 ราย และ ในจำนวนนี้มีการดำเนินโครงการพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษให้แก่นักโทษเด็ดขาด คดีความผิดเล็กน้อย เจ็บป่วยร้ายแรง และชราภาพประมาณ 1,500 ราย
เหตุพิเศษ “นักโทษเด็ดขาด คดีความผิดเล็กน้อย เจ็บป่วยร้ายแรง และชรา” ซึ่งบังเอิญคุณสมบัติที่ว่านี้คล้ายคลึงกับนายสมัคร สุนทรเวช พอดี!
จึงต้องมาพิจารณารายละเอียดของ “เหตุพิเศษ” ที่น่าสนใจนี้!
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้ให้อธิบายหลักเกณฑ์และคุณสมบัติที่ว่านี้คือ นักโทษเด็ดขาดที่เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง มีอาการอยู่ในระยะอันตรายอาจถึงแก่ชีวิต อาทิ โรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคเอดส์ที่อยู่ในระยะที่มีโรคแทรกซ้อนแสดงอาการ หรือป่วยเป็นอัมพาต หรือโรคอื่นๆ ที่อยู่ในสภาพไม่อาจช่วยเหลือตัวเองได้หรือได้น้อยประมาณ 120 ราย
นอกจากนั้นยังจะพักโทษให้กับนักโทษเด็ดขาดที่ชราภาพซึ่งมีอายุตั้งแต่ 70 ปี ขึ้นไป ประมาณ 180 ราย
ประเด็นสำคัญ จะมีการพักโทษให้กับ “นักโทษเด็ดขาดคดีความผิดเล็กน้อยที่มีกำหนดโทษตามคำพิพากษาไม่เกิน 3 ปี” ซึ่งไม่ใช่คดียาเสพติด และไม่เคยมีประวัติทำผิดมาก่อน อีกประมาณ 1,200 ราย
ซึ่งบังเอิญที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนายสมัคร สุนทรเวช ถูกศาลพิพากษาให้จำคุก 2 ปีเหมือนกัน ซึ่งไม่เกิน 3 ปี ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว
นักการเมืองไทยเป็นบุคคลพิเศษ ที่มีอำนาจและมีเงิน มีความสามารถในการแทรกแซงและแทรกซื้อกระบวนการยุติธรรม ในยามที่กระทำความผิดก็ยังหาหนทางหนีการลงโทษ หลบหนีไปต่างประเทศ และยังอาศัยอำนาจทางการเมืองเพื่อช่วยเหลือตัวเองในการพักการลงโทษ นิรโทษกรรม หรือแม้กระทั่งแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับเหล่านักการเมืองด้วยกันเองได้อีก
สุดท้ายคนจะต้องรับกรรม ก็จะกลายเป็นผู้ที่รับใช้นักการเมืองหรือเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคการเมืองอย่างไม่ลืมหูลืมตา โดยที่ไม่ได้มีอำนาจเหมือนกับนักการเมืองเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการ เจ้าพนักงาน ทั้งหลาย
ลองทบทวนกันดูว่ามีกี่คนแล้วที่ต้องรับกรรมแทนนักการเมืองเหล่านี้
15 กันยายน พ.ศ. 2549 ศาลอาญาได้พิพากษาให้จำคุก คณะกรรมการการเลือกตั้ง 3 คน ซึ่งประกอบไปด้วย พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ อดีตประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.), นายปริญญา นาคฉัตรีย์, นายวีระชัย แนวบุญเนียร อดีตกรรมการการเลือกตั้งว่า กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง และประมวลกฎหมายอาญา “ต้องโทษจำคุกคนละ 2 ปีโดยไม่รอลงอาญา” โทษฐานที่ ไม่เร่งสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ข้อร้องเรียนกล่าวหาพรรคไทยรักไทย ว่าจ้างพรรคแผ่นดินไทย และพรรคพัฒนาชาติไทย ลงรับสมัครเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 โดยพลัน
25 ธันวาคม พ.ศ. 2549 อนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.พ.ก. ) เปิดเผยว่า ที่ประชุม อ.พ.ก. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ “ไล่ออก” ข้าราชการกระทรวงการคลัง 5 คน ซึ่งประกอบไปด้วย นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร และข้าราชการกระทรวงการคลังอีก 4 คน ซึ่งประกอบไปด้วย นายวิชัย จึงรักเกียรติ, น.ส.สุจินดา แสงชมพู, น.ส.โมรีรัตน์ บุญญาศิริ และน.ส.บุญฤดี แสงสายยันต์ โดยพิจารณาความผิดจากมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) ที่ระบุความผิดอย่างร้ายแรง และถูกดำเนินคดีอาญา กรณีละเว้นไม่เก็บภาษีการรับโอนหุ้นมูลค่า 378 ล้านบาท ระหว่างนายบรรณพจน์ กับน.ส.ดวงตา วงศ์ภักดี
20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีคำสั่งลงโทษไล่พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เทพจันดา ออกจากราชการ กรณีการปล่อยให้อันธพาลทำร้ายประชาชนที่ส่งเสียงตะโกนไล่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์เนื่องจากมีพยานหลักฐานที่ ทางป.ป.ช.พิจารณาอย่างชัดเจน ต่อมาศาลอาญาได้พิพากษาเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2551 ให้จำคุก 2 ปี และปรับ 1 หมื่นบาท แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญาฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อีกด้วย
25 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ศาลได้มีคำสั่งให้จำคุกนายพิชิต ชื่นบาน ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, นางสาวศุภศรี ศรีสวัสดิ์ เสมียนทนายความ และนายธนา ตันศิริ ผู้ประสานงานทีมทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ในคดีทุจริตที่ดินรัชดาฯ คนละ 6 เดือน ฐานละเมิดอำนาจศาล มีพฤติการณ์เป็นการเสนอสินบนเป็นถุงขนมใส่เงิน 2 ล้านบาท ให้เจ้าหน้าที่ศาลแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ชักจูงใจให้กระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ศาลอาญาพิพากษาจำคุก นางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมาน 2 ปีโดยไม่รอลงอาญา ฐานร่วมกันจงใจหลีกเลี่ยงการชำระภาษีอากรหุ้น บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด จำนวน 546 ล้านบาทจากหุ้น 4.5 ล้านหุ้น ซึ่งมีหุ้นมูลค่า 738 ล้านบาท
ยังมีข้าราชการและนักการเมืองที่ต้องรับโทษแทนผู้สั่งการอีกหลายคดีที่กำลังเดินหน้าอยู่ในปัจจุบัน
28 รัฐมนตรีและข้าราชการอีกหลายคนในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี กำลังถูกดำเนินคดีข้อหาสนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และกระทำผิดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 190 ซึ่งจะต้องสร้างความทุกข์ใจไปอีกหลายปี
ยิ่งนานวันยิ่งมีข้าราชการและนักการเมืองที่ขาดสติ ต้องรับกรรมแทนเจ้านายตัวเองเพิ่มขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะข้อหาการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี
ปีนี้ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นเหยื่อคดีความหนักที่สุด เพราะมีส่วนร่วมกับฝ่ายการเมืองต่อกรณีการยกปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบให้กัมพูชาไปขึ้นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ
แต่คดีอาจยังไม่หมด เพราะอย่าเพิ่งมองข้ามการละเว้นไม่ยกเลิกหนังสือเดินทางทุกประเภทของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร!
อย่าว่าแต่หนังสือเดินทางทูตเล่มสีแดง หรือหนังสือเดินทางราชการเล่มสีน้ำเงิน ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ควรจะมีโอกาสได้ใช้เลย เอาเฉพาะหนังสือเดินทางปกติเล่มสีน้ำตาล กระทรวงการต่างประเทศก็ไม่ควรละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยการยกเลิกหนังสือเดินทางนั้นเสียโดยไม่ชักช้า
เพราะหนังสือเดินทางนั้น ได้ปรากฏเป็นระเบียบของกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 ที่ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ลงนามโดย นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระบุเอาไว้อย่างชัดเจน
ข้อ 23 พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถยกเลิกและเรียกคืนหนังสือเดินทางได้ เมื่อปรากฏภายหลังว่า
(1) ผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นผู้ซึ่งขาดคุณสมบัติที่จะขอหนังสือเดินทางประเภทนั้น
(2) ผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นบุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจออกหนังสือเดินทางให้ตามข้อ 21 (2) (3) และ (4)
และข้อห้ามที่เจ้าพนักงานไม่อาจออกหนังสือเดินทางตามระเบียบข้อ 21 (2) (3) และ (4) คือ
(3) เมื่อได้รับแจ้งว่าผู้ร้องเป็นผู้ซึ่งกำลังรับโทษในคดีอาญา หรืออยู่ระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราว หรือเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาที่ได้มีการออกหมายจับไว้แล้ว ซึ่งศาลหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเห็นว่าไม่ควรจะออกหนังสือเดินทางให้
(4) เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายอื่นสั่งห้ามไม่ให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
(5) เมื่อผู้ร้องกระทำผิดกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติทางราชการ ซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือปิดบังความจริงอันเป็นสาระสำคัญ หรือแสดงเอกสารหลักฐานอันเป็นเท็จในการขอหนังสือเดินทาง หรือไม่อยู่ในฐานะที่จะเดินทางไปต่างประเทศได้ หรือหากเดินทางออกนอกราชอาณาจักร จะเป็นภัยต่อสวัสดิภาพของผู้
เดินทางเอง หรือจะกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงปลอดภัย หรือชื่อเสียงและเกียรติภูมิของประเทศไทย
นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต่างผลัดกันโยนเผือกร้อนได้อย่างสนุกสนาน โดยไม่ต้องสนใจการเพิกถอนหนังสือเดินทาง อาจเป็นเพราะระเบียบดังกล่าวระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่า “ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้”
งานนี้ถึงคราวที่ “ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ” อาจจะต้องเป็นเหยื่ออีกหนึ่งคดี!
ด้วยการ “พักการลงโทษ” นักโทษบางประเภท!
ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ต้องขังสูงถึง 180,000 คน ในขณะที่อัตราความจุปกติ
ของเรือนจำรับได้แค่ 120,000 คน แปลว่ามีความแออัดยัดเยียดมาก และเกินความจุอยู่กว่า 60,000 คน
ปีนี้ถือเป็นปีพิเศษนักการเมืองคนสำคัญระดับชาติต่างทยอยถูกพิพากษาให้จำคุกในปีเดียวกัน
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาเป็นที่สิ้นสุดแล้วว่า ต้องโทษจำคุกโดยไม่รอลงอาญา 2 ปี ในคดีผลประโยชน์ทับซ้อนที่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ได้ซื้อที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษกในขณะที่เป็นภรรยาของนายกรัฐมนตรี เป็นการกระทำที่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อนและผิดต่อกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตัดสินใจหนีไปต่างประเทศไม่ยอมกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของความแออัดในเรือนจำไทย!
นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีอีกคนหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุกโดยไม่รอลงอาญา 2 ปีในข้อหาหมิ่นประมาทนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปีนี้ อดีตนายกรัฐมนตรีในฝ่ายรัฐบาลถูกตัดสินจำคุกถึง 2 คน นโยบายลดจำนวนนักโทษเพื่อลดความแออัดด้วยการ “พักการลงโทษ” ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมปีนี้ จึงน่าสนใจว่าจะบังเอิญเอื้อประโยชน์ให้กับอดีตนายกรัฐมนตรีทั้ง 2 คนนี้ ได้หรือไม่?
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ให้กรมราชทัณฑ์ใช้วิธีการพักการลงโทษกรณีพิเศษให้แก่นักโทษบางประเภทตามหลักเกณฑ์และกฎหมายที่จะทำได้ โดยในปีงบประมาณ 2552 มีการพักการลงโทษจำนวน 3,000 ราย และ ในจำนวนนี้มีการดำเนินโครงการพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษให้แก่นักโทษเด็ดขาด คดีความผิดเล็กน้อย เจ็บป่วยร้ายแรง และชราภาพประมาณ 1,500 ราย
เหตุพิเศษ “นักโทษเด็ดขาด คดีความผิดเล็กน้อย เจ็บป่วยร้ายแรง และชรา” ซึ่งบังเอิญคุณสมบัติที่ว่านี้คล้ายคลึงกับนายสมัคร สุนทรเวช พอดี!
จึงต้องมาพิจารณารายละเอียดของ “เหตุพิเศษ” ที่น่าสนใจนี้!
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้ให้อธิบายหลักเกณฑ์และคุณสมบัติที่ว่านี้คือ นักโทษเด็ดขาดที่เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง มีอาการอยู่ในระยะอันตรายอาจถึงแก่ชีวิต อาทิ โรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคเอดส์ที่อยู่ในระยะที่มีโรคแทรกซ้อนแสดงอาการ หรือป่วยเป็นอัมพาต หรือโรคอื่นๆ ที่อยู่ในสภาพไม่อาจช่วยเหลือตัวเองได้หรือได้น้อยประมาณ 120 ราย
นอกจากนั้นยังจะพักโทษให้กับนักโทษเด็ดขาดที่ชราภาพซึ่งมีอายุตั้งแต่ 70 ปี ขึ้นไป ประมาณ 180 ราย
ประเด็นสำคัญ จะมีการพักโทษให้กับ “นักโทษเด็ดขาดคดีความผิดเล็กน้อยที่มีกำหนดโทษตามคำพิพากษาไม่เกิน 3 ปี” ซึ่งไม่ใช่คดียาเสพติด และไม่เคยมีประวัติทำผิดมาก่อน อีกประมาณ 1,200 ราย
ซึ่งบังเอิญที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนายสมัคร สุนทรเวช ถูกศาลพิพากษาให้จำคุก 2 ปีเหมือนกัน ซึ่งไม่เกิน 3 ปี ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว
นักการเมืองไทยเป็นบุคคลพิเศษ ที่มีอำนาจและมีเงิน มีความสามารถในการแทรกแซงและแทรกซื้อกระบวนการยุติธรรม ในยามที่กระทำความผิดก็ยังหาหนทางหนีการลงโทษ หลบหนีไปต่างประเทศ และยังอาศัยอำนาจทางการเมืองเพื่อช่วยเหลือตัวเองในการพักการลงโทษ นิรโทษกรรม หรือแม้กระทั่งแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับเหล่านักการเมืองด้วยกันเองได้อีก
สุดท้ายคนจะต้องรับกรรม ก็จะกลายเป็นผู้ที่รับใช้นักการเมืองหรือเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคการเมืองอย่างไม่ลืมหูลืมตา โดยที่ไม่ได้มีอำนาจเหมือนกับนักการเมืองเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการ เจ้าพนักงาน ทั้งหลาย
ลองทบทวนกันดูว่ามีกี่คนแล้วที่ต้องรับกรรมแทนนักการเมืองเหล่านี้
15 กันยายน พ.ศ. 2549 ศาลอาญาได้พิพากษาให้จำคุก คณะกรรมการการเลือกตั้ง 3 คน ซึ่งประกอบไปด้วย พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ อดีตประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.), นายปริญญา นาคฉัตรีย์, นายวีระชัย แนวบุญเนียร อดีตกรรมการการเลือกตั้งว่า กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง และประมวลกฎหมายอาญา “ต้องโทษจำคุกคนละ 2 ปีโดยไม่รอลงอาญา” โทษฐานที่ ไม่เร่งสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ข้อร้องเรียนกล่าวหาพรรคไทยรักไทย ว่าจ้างพรรคแผ่นดินไทย และพรรคพัฒนาชาติไทย ลงรับสมัครเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 โดยพลัน
25 ธันวาคม พ.ศ. 2549 อนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.พ.ก. ) เปิดเผยว่า ที่ประชุม อ.พ.ก. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ “ไล่ออก” ข้าราชการกระทรวงการคลัง 5 คน ซึ่งประกอบไปด้วย นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร และข้าราชการกระทรวงการคลังอีก 4 คน ซึ่งประกอบไปด้วย นายวิชัย จึงรักเกียรติ, น.ส.สุจินดา แสงชมพู, น.ส.โมรีรัตน์ บุญญาศิริ และน.ส.บุญฤดี แสงสายยันต์ โดยพิจารณาความผิดจากมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) ที่ระบุความผิดอย่างร้ายแรง และถูกดำเนินคดีอาญา กรณีละเว้นไม่เก็บภาษีการรับโอนหุ้นมูลค่า 378 ล้านบาท ระหว่างนายบรรณพจน์ กับน.ส.ดวงตา วงศ์ภักดี
20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีคำสั่งลงโทษไล่พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เทพจันดา ออกจากราชการ กรณีการปล่อยให้อันธพาลทำร้ายประชาชนที่ส่งเสียงตะโกนไล่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์เนื่องจากมีพยานหลักฐานที่ ทางป.ป.ช.พิจารณาอย่างชัดเจน ต่อมาศาลอาญาได้พิพากษาเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2551 ให้จำคุก 2 ปี และปรับ 1 หมื่นบาท แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญาฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อีกด้วย
25 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ศาลได้มีคำสั่งให้จำคุกนายพิชิต ชื่นบาน ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, นางสาวศุภศรี ศรีสวัสดิ์ เสมียนทนายความ และนายธนา ตันศิริ ผู้ประสานงานทีมทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ในคดีทุจริตที่ดินรัชดาฯ คนละ 6 เดือน ฐานละเมิดอำนาจศาล มีพฤติการณ์เป็นการเสนอสินบนเป็นถุงขนมใส่เงิน 2 ล้านบาท ให้เจ้าหน้าที่ศาลแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ชักจูงใจให้กระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ศาลอาญาพิพากษาจำคุก นางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมาน 2 ปีโดยไม่รอลงอาญา ฐานร่วมกันจงใจหลีกเลี่ยงการชำระภาษีอากรหุ้น บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด จำนวน 546 ล้านบาทจากหุ้น 4.5 ล้านหุ้น ซึ่งมีหุ้นมูลค่า 738 ล้านบาท
ยังมีข้าราชการและนักการเมืองที่ต้องรับโทษแทนผู้สั่งการอีกหลายคดีที่กำลังเดินหน้าอยู่ในปัจจุบัน
28 รัฐมนตรีและข้าราชการอีกหลายคนในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี กำลังถูกดำเนินคดีข้อหาสนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และกระทำผิดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 190 ซึ่งจะต้องสร้างความทุกข์ใจไปอีกหลายปี
ยิ่งนานวันยิ่งมีข้าราชการและนักการเมืองที่ขาดสติ ต้องรับกรรมแทนเจ้านายตัวเองเพิ่มขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะข้อหาการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี
ปีนี้ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นเหยื่อคดีความหนักที่สุด เพราะมีส่วนร่วมกับฝ่ายการเมืองต่อกรณีการยกปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบให้กัมพูชาไปขึ้นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ
แต่คดีอาจยังไม่หมด เพราะอย่าเพิ่งมองข้ามการละเว้นไม่ยกเลิกหนังสือเดินทางทุกประเภทของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร!
อย่าว่าแต่หนังสือเดินทางทูตเล่มสีแดง หรือหนังสือเดินทางราชการเล่มสีน้ำเงิน ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ควรจะมีโอกาสได้ใช้เลย เอาเฉพาะหนังสือเดินทางปกติเล่มสีน้ำตาล กระทรวงการต่างประเทศก็ไม่ควรละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยการยกเลิกหนังสือเดินทางนั้นเสียโดยไม่ชักช้า
เพราะหนังสือเดินทางนั้น ได้ปรากฏเป็นระเบียบของกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 ที่ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ลงนามโดย นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระบุเอาไว้อย่างชัดเจน
ข้อ 23 พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถยกเลิกและเรียกคืนหนังสือเดินทางได้ เมื่อปรากฏภายหลังว่า
(1) ผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นผู้ซึ่งขาดคุณสมบัติที่จะขอหนังสือเดินทางประเภทนั้น
(2) ผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นบุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจออกหนังสือเดินทางให้ตามข้อ 21 (2) (3) และ (4)
และข้อห้ามที่เจ้าพนักงานไม่อาจออกหนังสือเดินทางตามระเบียบข้อ 21 (2) (3) และ (4) คือ
(3) เมื่อได้รับแจ้งว่าผู้ร้องเป็นผู้ซึ่งกำลังรับโทษในคดีอาญา หรืออยู่ระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราว หรือเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาที่ได้มีการออกหมายจับไว้แล้ว ซึ่งศาลหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเห็นว่าไม่ควรจะออกหนังสือเดินทางให้
(4) เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายอื่นสั่งห้ามไม่ให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
(5) เมื่อผู้ร้องกระทำผิดกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติทางราชการ ซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือปิดบังความจริงอันเป็นสาระสำคัญ หรือแสดงเอกสารหลักฐานอันเป็นเท็จในการขอหนังสือเดินทาง หรือไม่อยู่ในฐานะที่จะเดินทางไปต่างประเทศได้ หรือหากเดินทางออกนอกราชอาณาจักร จะเป็นภัยต่อสวัสดิภาพของผู้
เดินทางเอง หรือจะกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงปลอดภัย หรือชื่อเสียงและเกียรติภูมิของประเทศไทย
นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต่างผลัดกันโยนเผือกร้อนได้อย่างสนุกสนาน โดยไม่ต้องสนใจการเพิกถอนหนังสือเดินทาง อาจเป็นเพราะระเบียบดังกล่าวระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่า “ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้”
งานนี้ถึงคราวที่ “ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ” อาจจะต้องเป็นเหยื่ออีกหนึ่งคดี!