ป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหา "นพดล" พ่วง 28 รัฐมนตรี "ครม.หมัก" จงใจฝ่าฝืนรธน.มาตรา 190 (2) และละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ยกเขาพระวิหารให้เขมร คณาจารย์และนักวิชาการจากสถาบันต่างๆ ยื่นหนังสือถอดถอนนายกรัฐมนตรีต่อประธานวุฒิสภา จากกรณีใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุม 7 ตุลาฯ ระบุเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน ยุยง รู้เห็นเป็นใจ ให้ตำรวจเข่นฆ่าประชาชน ขณะที่ ส.ส.หญิงปชป.เรียกร้องยุติความรุนแรงในสภา จี้นายกฯหยุดบ้ากาม ด้านกรรมการสอบโจร ยื้อเวลาไปเรื่อย บ่นน้อยใจพันธมิตรฯ-สื่อ-ประชาชน ไม่ให้ความร่วมมือ "ปรีชา"ยอมรับเลขา ครม.ส่งมติก่อนคืนวันสังหาร ถึงมือแล้ว ส่วน "สุชาติ -พัชรวาท" ยังมุดหัวไม่ยอมมาให้ปากคำ "ไชยวัฒน์" จี้กองทัพเอาผิด ส.ส.-รัฐบาล ระบุมีพฤติกรรมเป็นกบฎ
วานนี้ (23พ.ย.) น.ส.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะประธานอนุกรรมการพิจารณาข้อกล่าวหา คดีการกล่าวหาคณะรัฐมนตรี (ครม.) กระทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ในการออกแถลงการณ์สนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 51 เปิดเผยว่า ป.ป.ช. มีมติแจ้งข้อกล่าวหา นายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ และคณะฐมนตรี 28 คน (รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช) ที่ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 (2) ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยไว้แล้ว และถือเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งนี้มีรัฐมนตรี 4-5 คนไม่ได้เข้าประชุมในวันนั้น
"ถ้าขัดมาตรา 190 (2) ก็จะไปเข้ามาตรา 270 ซึ่งจะต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ ถอดถอน ส่วน มาตรา 119 , 120 ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้เสียดินแดน ไม่ได้อยู่ในอำนาจของป.ป.ช. ส่วนรัฐมนตรีที่ไม่ได้เข้าประชุมวันนั้น แล้วป.ป.ช.ไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาในวันนี้ ถ้าเผื่อมันพาดพิงว่า ท่านรู้ด้วย หรือมีส่วน ก็ค่อยว่ากันทีหลัง ส่วนนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ก็โดนด้วย เพราะท่านอยู่ในครม.ด้วย" น.ส.สมลักษณ์ กล่าว และว่า ขณะนี้ทางป.ป.ช. กำลังจัดทำร่างแจ้งข้อกล่าวหาไปยังรัฐมนตรี ทั้ง 28 คน ซึ่งรัฐมนตรีสามารถนำพยานหลักฐานมาชี้แจงได้ โดยป.ป.ช.ก็พร้อมให้ความเป็นธรรม แต่หากไม่มาชี้แจงด้วยตัวเอง ก็สามารถส่งเป็นลายลักษณ์อักษรได้ แต่ถ้าไม่มา และไม่ส่งหนังสือมา ก็จะถือว่าท่านรับข้อกล่าวหาตามนั้น
เมื่อถามว่า ได้เน้นที่มติ ครม.อย่างเดียวไม่เกี่ยวกับการลงนามในแถลงการณ์ร่วม ใช่หรือไม่ น.ส.สมลักษณ์ กล่าวว่า การลงนามในแถลงการณ์ นายนพดล ลงนามคนเดียว แต่ว่า ครม.เป็นผู้ลงมติเห็นชอบในกรณีนี้ เมื่อถามว่าที่ ป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหาครั้งนี้ แสดงว่า ครม.มีเจตนาที่เชื่อว่าจะฝ่าฝืนมาตรา 190 ใช่หรือไม่ น.ส.สมลักษณ์ กล่าวว่า ศาลรัฐธรรมนูญก็บอกเราแล้วว่า อันนี้เป็นสัญญาที่จะต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา ส่วนที่ ป.ป.ช.สอบ เราสอบว่ามันมีการจงใจหรือไม่
เมื่อถามว่า เท่าที่สอบดูแล้วถือว่าเป็นการจงใจหรือไม่ น.ส.สมลักษณ์ กล่าวว่า "ก็จงใจ เราถึงได้แจ้งข้อกล่าวหา"
เมื่อถามว่าอาจจะมีการอ้างว่า มีการตีความกฎหมายผิดพลาด น.ส.สมลักษณ์ กล่าวว่า "ต้องดูสถานะของบุคคลด้วย คือ ความผิดพลาดอาจจะมีได้เหมือนกัน ซึ่งท่านรัฐมนตรีท่านได้ทุนอะไรด้วยไม่ใช่หรือ ท่านมีความรู้ทางกฎหมายดี และอีกอย่างมีหลายคนทักท้วงในข้อกฎหมาย รวมทั้งในการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ทางกฤษฎีกาก็ได้ทักท้วงในเรื่องนี้ รวมทั้งกองเขตแดนด้วย แสดงว่าท่านรัฐมนตรีรู้เรื่องนี้ดี"
เมื่อถามว่าในกรณีที่ของนายสมัคร ที่ไปรักษาตัวอยู่ต่างประเทศ จะดำเนินการอย่างไร น.ส.สมลักษณ์ กล่าวว่า อันนี้ก็ต้องดำเนินการ แต่ท่านคงไม่ได้ไปอยู่ตลอดชีวิตแน่ ท่านก็คงจะกลับมา สำหรับกรณีของ พล.ท.แดน มีชูอรรถ อดีตเจ้ากรมแผนที่ทหาร ซึ่งเป็น 1 ในผู้ถูกกล่าวหา แต่เนื่องจากเสียชีวิตไปแล้วป.ป.ช.ก็ต้องจำหน่ายคดีออกไป รวมทั้งข้าราชการก็ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา เอาไว้ก่อน เมื่อสอบแล้วมีการพาดพิง ก็ต้องพิจารณาต่อไป
สำหรับบุคคลที่ไม่ถูกป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหาในชั้นนี้ คือ 1.นายกฤช ไกรจิตติ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย 2. นายเชิดชู รักตบุตร อัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส 3. นายพิษณุ สุวรรณรชฎ รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก 4.นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ 5. พล.ท.แดน มีชูอรรถ อดีตเจ้ากรมแผนที่ทหาร 6. พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ 7. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เนื่องจากบุคคลเหล่านี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกมติ ครม. ดังกล่าว
ส่วนรัฐมนตรีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหา เนื่องจากไม่ได้เข้าร่วมประชุม ครม.ในวันดังกล่าว คือ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬ่า นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ อดีตรมช.มหาดไทย และพล.ท.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ อดีตรมว.พลังงาน
สำหรับนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรมว.ศึกษาธิการ ได้เข้าร่วมประชุมด้วย
คณาจารย์ยื่นถอดถอน "สมชาย"
ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 10.45 น. วานนี้ (13 พ.ย.) นางจิราพร ลิ้มปานานนท์ อดีตอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมคณะอาจารย์จาก 5 มหาวิทยาลัย จำนวน 16 คน ซึ่งเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยราชดำเนินของพันธมิตรฯ ได้เข้าแสดงตนต่อ นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เป็นคณะผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 รายชื่อ ขอถอดถอนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะกระทำการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ตามพฤติการณ์ดังนี้ คือ มีส่วนส่งเสริม สนับสนุน ยุยง รู้เห็นเป็นใจ ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯอย่างรุนแรง ในเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ตุลาฯ โดยมีการเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นการด่วน เมื่อคืนวันที่ 6 ต.ค. จากนั้นมีการเคลื่อนกำลังตำรวจพร้อมอาวุธครบมือจำนวนมาก บ่งชี้ให้เห็นว่าเป็นคำสั่งโดยเจตนา และเป็นไปด้วยการรู้เห็นเป็นใจของครม. จนมีการใช้กำลังสลายตอนช่วงเช้าวันที่ 7 ต.ค. โดยไม่คำนึงว่าประชาชนจะได้รับบาดเจ็บมากน้อยเพียงใด เพียงเพื่อจะเข้าไปแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
นางจิราพรกล่าวด้วยว่า นายกฯ ครม. และสมาชิกรัฐสภาจำนวนหนึ่งยังคงเดินหน้าแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ทั้งที่เป็นการแถลงต่อคณะองค์ประชุมที่ไม่ชอบธรรม เพราะมีการรูดบัตรแทนสมาชิกคนอื่น เป็นการกระทำที่ไม่ชอบธรรม ขาดจริยธรรม ไร้ซึ่งวุฒิภาวะของผู้นำ นอกจากนี้เมื่อนายสมชาย ออกจากรัฐสภาทางเฮลิคอปเตอร์แล้ว แต่ยังสั่ง สนับสนุน รู้เห็นเป็นใจ หรือปล่อยปละละเลยให้เจ้าหน้าที่ยิงแก๊สน้ำตา และอาวุธเข้าใส่ประชาชนอีก เป็นการกระทำที่เห็นแก่ตัวอย่างไร้มนุษยธรรม เอาชีวิตประชาชนแลกกับความต้องการของตน จนเป็นเหตุให้ น.ส. อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ เสียชีวิต การกระทำของนายสมชายดังกล่าว เป็นการกระทำโหดเหี้ยม ทารุณ ใช้อาวุธร้ายแรงกับประชาชนมือเปล่า และเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกในวันเดียวกัน เพื่อคงไว้ซึ่งอำนาจวาสนาของตน แสดงให้เห็นถึงความบกพร่องทางศีลธรรม จริยธรรมของผู้ปกครอง แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้ทำให้นายสมชายมีสำนึก โดยคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา แถลงรายงานผลการสอบสวนเหตุการณ์ 7 ตุลาฯ ให้รัฐบาลโดยนายสมชาย ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
นางจิราพร กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังปรากฏในคลิปวีดิโอแพร่หลายว่า มีผู้ชายรูปร่างหน้าตาเหมือนนายสมชาย พาหญิงวัยรุ่นข้าไปในโรงแรมม่านรูด ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับผู้ชายพาผู้หญิงที่ไม่ใช่ภรรยาเข้าไปมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งมีการแพร่หลายนานหลายสัปดาห์ นายสมชาย ก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าชายดังกล่าวไม่ใช่ตน แต่มายอมรับในภายหลัง และระบุว่ามีการตัดต่อ แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าไม่ได้พาหญิงอื่นซึ่งไม่ใช่ภรรยาของตนเข้าโรงแรม ทำให้เชื่อได้ว่านายสมชาย เป็นบุคคลที่มีความประพฤติขัดต่อศีลธรรมอันดีอย่างร้ายแรง ไม่สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป เพราะกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดรัฐธรรมนูญ จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อกฎหมาย ฝ่าฝืนต่อมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ทำให้วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนนายสมชายออกจากตำแหน่งได้
"ปธ.วุฒิ" ให้บัวแก้วพิจารณาเรื่อง "แม้ว"
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภาให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ว่า คณะบุคคลดังกล่าวต้องไปหารายชื่อประชาชนให้ได้เกิน 2 หมื่นรายชื่อ แล้วถึงจะไปตรวจสอบอีกครั้ง
เมื่อถามถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีประเทศบาฮามาส ระบุอนุญาตให้พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จัดตั้งรัฐบาลผลัดถิ่นในประเทศบาฮามาสได้ นายประสพสุข กล่าวว่า ไม่ทราบรายละเอียดเรื่องนี้ต้องไปถามกระทรวงการต่างประเทศ ทางวุฒิสภาไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ และเชื่อว่าคงไม่ได้ตั้งอะไรอย่างนั้น จะต้องไปดูรายละเอียด ไม่ได้ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงวิจารณ์ไม่ได้
เมื่อถามว่าทางมาเลเซียกำลังพิจารณาว่าจะให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ลี้ภัยได้หรือไม่ เรื่องนี้จะกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือไม่ นายประสพสุข กล่าวว่า กระทรวงต่างประเทศต้องรับผิดชอบ
"ชัย" ยันย้าย-เลื่อนประชุม 7 ต.ค.ไม่ได้
นายสุรสีห์ โกศลนาวิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1 ซึ่งสอบสวนกรณีเหตุการณ์ 7 ตุลาฯ เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการฯได้พบนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาช่วงเช้าวันที่ 13 พ.ย. ที่รัฐสภา เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคม โดยนายชัย ยืนยันกับอนุฯว่า ในการประชุมรัฐสภาวันดังกล่าวเพื่อพิจารณาคำแถลงนโยบายของรัฐบาล ไม่สามารถย้ายที่ประชุมได้ เพราะมีข้อบังคับการประชุมกำหนดไว้ชัดว่า ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา คือ อาคารรัฐสภา และหากเลื่อนก็ต้องนัดประชุมล่วงหน้า 3 วัน
ทั้งนี้ ได้กำหนดการประชุมไว้แล้ว 3 วัน คือวันที่ 7 -9 ตุลาคม ซึ่งวันที่ 9 ตุลาคม ก็เป็นวันครบ 15 วัน ในการที่รัฐบาลต้องแถลงนโยบายต่อสภา อย่างไรก็ดี ไม่ได้มีการหารือกับรัฐบาลว่า หากเกิน 15 วัน แล้วจะแถลงนโยบายได้หรือไม่ อย่างไร
นอกจากนี้การย้ายที่ประชุมยุ่งยาก ทำไม่ทัน สมาชิกจำนวนมาก และต้องใช้ระบบบันทึกเสียง จึงต้องประชุมที่อาคารรัฐสภา และได้เข้ามาที่สภาเวลา 7 โมงกว่าๆจึงไม่เห็นเหตุการณ์สลายการชุมนุมในช่วงเช้าที่มีผู้บาดเจ็บสาหัส และไม่นึกว่าจะมีปัญหาต่อเนื่องตลอดทั้งวัน
กก.สอบโจรครวญไม่มีใครร่วมมือ
นายปรีชา พานิชวงศ์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบ ข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม แถลงภายหลังการประชุมที่บ้านมนังคศิลาว่า คณะกรรมการได้ทำการสอบปากคำสื่อมวลชนที่อยู้ใน เหตุการณ์ประกอบด้วย ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ 2 ฉบับ ผู้สื่อข่าววิทยุกระจายเสียง 2-3 คน ขณะที่ยังไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้สื่อข่าวจากทุกสถานนีโทรทัศน์
นอกจากนี้ได้มีการสอบปากคำแพทย์และพยาบาลไปแล้วจำนวน 2 โรงพยาบาล แต่ก็ยังจำเป็นที่จะต้องได้รับข้อเท็จจริง ที่เป็นพยานบุคคลทั้งจากผู้ร่วมชุมนุม ตั้งแต่เมื่อวันที่ 6-7 ต.ค. รวมทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐ
นายปรีชายังกล่าวด้วยน้ำเสียงเชิงน้อยใจว่า นับตั้งแต่มีการประชุมคณะกรรมการครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 ต.ค. แต่ไม่ได้รับความร่วมมือจากสื่อมวลชน และประชาชนเท่าที่ควร จึงขอร้องให้ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์เดินทางมาให้ปากคำได้ที่บ้านมนังคศิลา ได้ตลอดเวลา
ทั้งนี้กรรมการได้วิเคราะห์ว่า เหตุใดประชาชนและสื่อมวลชนจึงไม่เข้ามาให้ ข้อเท็จจริง สาเหตุอาจเนื่องมาจากท่านเหล่านี้ไม่เชื่อมั่นในคณะกรรมการชุดนี้ว่าจะมีอิสระ เป็นกลางอย่างแท้จริง หากเข้าใจก็คงจะน้อย
"ผมอยากจะบอกว่า ผิดหวังและเสียใจ ขอยืนยันอีกครั้งว่า ผมรับรองได้ว่า กรรมการทุกท่านจะทำหน้าที่อย่างอิสระเป็นกลาง โดยทำหลักฐานอย่างเป็นธรรมและให้ได้ข้อเท็จจริง จึงอยากขอให้ทุกท่านให้ความร่วมมือ การตรวจสอบจะได้ยุติโดยเร็ว"
ผู้สื่อข่าวถามว่า สาเหตุนอกจากความไม่เชื่อใจแล้ว อาจจะเป็นเพราะคณะกรรมการไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนในการตรวจสอบ รวมทั้งรัฐบาล ก็ไม่ได้กำหนดเวลาเช่นเดียวกันนายปรีชา กล่าวว่า รัฐบาลจะมากำหนอเวลา ให้เราได้อย่างไร ก็พวกคุณไม่มา (สื่อมวลชน)
"ช่วยแห่กันมาก็จะดี ผมอยากจะให้เสร็จในเดือนนี้ด้วยซ้ำไป พ่อคุณเอ๋ย ออกมาให้ข้อมูลกันเถอะ"
ด้านนายวิชัย ตันติกุลาสนันท์ กรรมการ ระบุว่า ได้มีการทำหนังสือแจ้งไปยังสื่อมวลชน เพื่อให้ผู้สื่อข่าวมาให้ข้อมูลแต่ก็ได้รับความร่วมมือน้อยมาก ไม่มีฉบับใดส่งมาเลย เคาไม่เต็มใจก็ไม่มาตรงนี้เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง
เมื่อถามว่า คณะกรรมการได้แจ้งไปยังพันธมิตรฯ เพื่อมาให้ข้อมูลด้วยหรือไม่ นายวิชัยกล่าวว่า ได้มีหนังสือแจ้งไปยังโรงพยาบาลทุกแห่ง บางแห่งก็ไม่ให้ความร่วมมือที่จะให้อนุกรรมการฯ เก็บข้อมูล โดยอ้างว่าเป็นการผิดจรรยาบรรณแพทย์ ขณะที่กลุ่มพันธมิตรฯ เราก็ได้เชิญไปบางท่านแต่ก็ไม่มีการตอบกลับมา
"สุชาติ-พัชรวาท" ไม่ไปให้ปากคำ
เมื่อถามว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาให้ข้อมูล และชี้แจงกับคณะกรรมการอย่างไร นายปรีชา กล่าวว่า เราคงจะยังบอกไม่ได้เนื่องจาก เป็นมารยาทต้องให้มีการสอบสวนให้แล้วเสร็จเสียก่อน นอกจากนั้นยังได้เชิญ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รมว.มหาดไทย มาให้ข้อมูล รวมทั้งได้เดินทางไปยังบ้านพักของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เพื่อสอบปากคำต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
"คณะกรรมการได้รับหลักฐาน มติครม. เมื่อเวลา 23.00 น.วันที่ 6 พ.ย.ที่มีการประชุมภายในทำเนียบชั่วคราว แต่บอกไม่ได้ว่าเป็นเอกสาร หรือเป็นเทปการประชุม แต่ยังพูดไม่ได้โดยหลักฐานชิ้นนี้ เลขาธิการ ครม. เป็นผู้มาให้ข้อมูลด้วยตัวเอง ขณะที่ข้อมูลในการประชุมของ พล.อ.ชวลิต และนายตำรวจระดับสูงที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) กรรมการยังไม่ได้รับเนื่องจากพล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น. ก็ยังไม่ได้เดินทางมาให้ข้อมูล รวมทั้งพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.ก็ยังไม่ได้มาให้ข้อมูลเช่นกัน"
นายปรีชา กล่าวอีกว่า ขณะนี้เรายังได้รับข้อมูลจากผลการสอบสวนของทั้งกรรอนุกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่นำผลสอบสวนลงในเว็บไซต์ แต่ยังไม่ได้รับข้อมูลตัวเต็มซึ่งได้ประสานไปแล้ว ขณะเดียวกันจะเชิญสมาชิกวุฒิสภา 2-3 คนที่ปรากฏในข่าวว่าได้รับข้อมูลจากกรรมการสิทธิฯ มาสอบปากคำ
อย่างไรก็ตามในเวลา 10.00 น.วันที่ 27 พ.ย. คณะกรรมการจะมีการนัดประชุมอีกครั้ง ส่วนผู้ใดที่ประสงค์จะให้ถ้อยคำ กรุณาแจ้ง ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ และหมาเลขโทรศัพท์ มายังคณะกรรมการได่ที่บ้านมนังคศิลา หมายเลขโทรศัพท์ 02-280-6870-71 และโทรสาร 02-280-6877
ส.ส.หญิงขอให้ยุติความรุนแรงในสภา
ในวันเดียวกันนี้ กลุ่ม ส.ส.หญิงพรรคประชาธิปัตย์กว่า10 คน นำโดยนางผุสดี ตามไท นางรัชดาภรณ์ แก้วสนิท น.ส.รังสิมา รอดรัศมี และนางนาตยา เบญจศิริวรรณ ร่วมกันแถลงข่าว เรียกร้องให้หยุดพฤติกรรมความรุนแรงในรัฐสภา เนื่องจากในเดือน พ.ย. ซึ่งเป็นเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก และสตรีของสังคมไทย
นางผุสดี กล่าวว่า ขณะนี้ความรุนแรงเกิดขึ้นในทุกแห่งทั้งพื้นที่ส่วนตัวคือ ครอบครัวและพื้นที่สาธารณะ เช่นการสลายการชุมนุมหน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา แต่รัฐบาลไม่ได้ใส่ใจ กลับเพิกเฉย ไม่เร่งดำเนินการเพื่อหยุดยั้งความรุนแรงแต่อย่างใด
ทั้งนี้ทางกลุ่ม ส.ส.หญิงพรรคประชาธิปัตย์ มีความกังวล 2 เรื่อง คือ ความรุนแรง ที่เกิดขึ้นในรัฐสภา ที่ส.ส.บางคนมีพฤติกรรมทำร้ายร่างการ เช่น การกระโดดถีบเพื่อน ส.ส.บางกลุ่ม คุกคามโดยการรุมล้อม และชี้หน้าอภิปรายในห้องประชุม เช่น กรณี ส.ว.รสนา โตสิตระกูล ต่อมามีบางคนพูดคุกคามให้ห้องประชุม โดยอ้างว่าเป็นการรำพึง
นางผุสดี กล่าวว่า ที่ร้ายกว่านั้น มีกลุ่มส.ส.เข้าชื่อถอดถอน น.ส.รสนา ซึ่งเป็นผู้ถูกกระทำ ถือเป็นการใช้ความรุนแรงต่อสภาวะจิตใจเป็นอย่างยิ่ง ต่อผู้ทีได้รับการเลือกตั้ง เข้ามาทำหน้าที่ในสภา ทางกลุ่มส.ส.หญิงพรรคประชาธิปัตย์ ขอเรียกร้องให้ ส.ส. ที่มีพฤติกรรมดังกล่าวหยุด ซึ่งหากคิดว่าเพื่อนสมาชิกมีการกระทำผิดข้อบังคับ ก็ควรเสนอให้ประธานตั้งกรรมการสอบสวน ทางกลุ่มเสียใจมาก ที่มีการใช้ทวิมาตราฐานในสภา คือ เลือกยื่นเสนอถอดถอนผู้ถูกกระทำ ในขณะที่ผู้กระทำลอยนวล
จี้นายกฯ หยุดพฤติกรรมบ้ากาม
ด้านนางรัชดาภรณ์ กล่าวว่า ประเด็นที่ทางกลุ่มกังวลคือ การนอกใจ ไม่ซื่อสัตย์ต่อครบอครัว ถือเป็นความรุนแรงทางจิตใจ เช่น ข่าวคลิปหน้าเหมือน ซึ่งต่อมา นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ก็ออกมายอมรับว่า บางส่วนเป็นภาพของท่าน ซึ่งถือเป็นความรุนแรงทางเพศ เป็นการเอาเปรียบทางเพศ ทั้งในครอบครัว และที่ทำงาน เพราะหากแม้แต่ครอบท่านยังไม่ซื่อสัตย์ แล้วจะซื่อสัตย์ต่อคนอื่น และบ้านเมืองได้อย่างไร รวมทั้งเป็นการใช้อำนาจบังคับบัญชา เพื่อให้เกิดการจำยอม แต่สังคมชอบใช้คำว่า สมยอม การกระทำเช่นนี้ อาจทำให้เยาวชนเกิดการเอาแบอย่าง เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีตัวคนจริง และกรณีนี้ นายกฯไม่มีสิทธิ์ใช้คำว่า อโหสิต่อผู้ถ่ายคลิปดังกล่าวด้วยซ้ำ
"ขอให้ยุติความรุนแรงทางเพศและความรุนแรงทุกรูปแบบต่อผู้หญิง และเด็กแค่นี้ก็สร้างคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อสังคม ไม่เช่นนั้นท่านจะเป็นผู้มีจริยธรรมบกพร่องอย่างรุนแรง" นางรัชดาภรณ์ กล่าว
เมื่อถามว่า จะยื่นถอดถอนนายสมชายหรือไม่ นางผุสดี กล่าวว่า คงไม่ยื่น แต่จะทำจดหมายส่วนตัว ส่งถึงนายสมชาย เพราะแม้ที่ผ่านมามีเรื่องใหญ่กว่านี้ นายสมชาย ก็ยังไม่ลาออก จึงเชื่อว่าถึงยื่นถอดถอน ก็คงไม่มีผล
เมื่อถามว่า จะยื่นให้ตรวจสอบว่านายสมชาย ทำผิดประมวลจริยธรรมหรือไม่ ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้ยื่นถอดถอนได้ นางรัชดาภรณ์ กล่าวว่า ตอนนี้ประมวลจริยธรรมยังพิจารณาไม่เสร็จ และไม่รู้จะเสร็จเมื่อใดจึงไม่สามารถยื่นเรื่องดังกล่าวได้
เมื่อถามว่า จะประสานไปยัง นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ภรรยานายสมชายหรือไม่ ในฐานะผู้เสียหาย นางรัชดาภรณ์ กล่าวว่า เราคงไม่ทำ แต่อยากให้นายกฯพิจารณาก่อนที่จะมีคลิปออกมาอีก
จี้กองทัพเอาผิด ส.ส.-รัฐบาล
เมื่อเวลา10.00 น. วานนี้ ที่กองทัพภาคที่ 1 นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ เลขาธิการสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย (สปท.) ได้ทำหนังสือเปิดผนึก เพื่อขอวิงวอนให้กองทัพจัดการกับขบวนการกบฎ โดยมี พล.ต.สุรพันธ์ พวงเพชร ที่ปรึกษากองทัพภาคที่ 1 เป็นผู้รับหนังสือแทน พล.ท. คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1
ทั้งนี้นายไชยวัฒน์ กล่าวว่า การยื่นเรื่องครั้งนี้เป็นการตั้งข้อกล่าวหาในพฤติกรรมของรัฐบาล และสมาชิกเสียงข้างมากในสภาผู้แทน ที่มีพฤติกรรมเป็นกบฎต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งนี้ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มีความชัดเจนว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียงข้างมาก และรัฐบาลมีพฤติกรรมใช้อำนาจแทนประชาชนที่ผิด ไม่ได้ใช้เพื่อประโยชน์ในฐานะประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย แต่ใช้อำนาจแทนประชาชนทั้งหมด เพื่อประโยชน์ของคนคนเดียว และตนเองในการแก้รัฐธรรมนูญไม่ให้ยุบพรรคการเมืองของตนเอง ถือว่าเป็นผิดหลักตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
"เมื่อรัฐบาลเป็นกบฏเสียเอง ก็เป็นหน้าที่ของกองทัพภาคที่ 1 ในฐานะเจ้าของพื้นที่ที่จะมีกฎหมายพิเศษ และมีความพร้อมในเรื่องกำลัง และเครื่องมือในการจัดปัญหาให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด จึงได้มาขอวิงวอนแม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะที่รับผิดชอบในพื้นที่ หลังจากนี้ทาง สปท.จะมายื่นหนังสืออีก โดยจะทิ้งห่าง10 วัน เพื่อเอาเรื่องทั้งหมดที่ยื่นไว้แล้วเพื่อไปขอให้ประชาชนที่เห็นด้วยลงลายมือชื่อ อย่างไรก็ตาม เราประเมินสถานการณ์ล่าสุดว่า มีการยกระดับจากเรื่องมิติทางการเมือง เป็นเรื่องมาตรการความปลอดภัย ความมั่นคงของประเทศ และรัฐบาลได้แสดงพฤติกรรมชัดเจนในการครอบงำ สั่งการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นกองกำลังเพื่อคุ้มครองรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกองกำลังส่วนตัว และการใช้อาวุธสงครามในพื้นที่ กทม.ทุกคน ทำให้มีประชาชนได้รับบาดเจ็บ ฉะนั้นมาตรการความมั่นคงปลอดภัย เป็นมาตรการที่กองทัพจะสามารถใช้กฎหมายพิเศษจัดการได้ กฎหมายตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก เพราะเป็นอำนาจของแม่ทัพภาคที่ 1 จะประกาศได้ในเงื่อนไขที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน" นายไชยวัฒน์ กล่าว
นายไชยวัฒน์ กล่าวด้วยว่า เมื่อกองทัพประกาศกฎอัยการศึก กองทัพก็ใช้อำนาจโดยถูกต้องตามกฎหมายในรัฐธรรมนูญ เพื่อควบคุมตัวบุคคลที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคง เพื่อความปลอดภัยประเทศชาติได้ นั่นคือสิ่งที่เราคิด และเสนอกองทัพ ทั้งนี้ คงไม่ใช่เป็นการกดดันกองทัพให้ออกมา แต่เราเป็นประชาชน ฐานะเจ้าของอำนาจที่ห่วงใยบ้านเมือง ซึ่งเรามีหน้าที่ปกป้องสถาบันหลักของชาติ และช่วยกันให้เกิดความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง เมื่อกองทัพมีหน้าที่เช่นเดียวกันตามรัฐธรรมนูญ เราได้ประมวลความคิดเห็นแล้วเสนอมาถึงกองทัพช่วยนำความคิดเห็นของเราประกอบการตัดสินใจ
เมื่อถามว่า ดูเหมือนว่าแต่ละฝ่ายอยากเอากองทัพเป็นพวกนายไชยวัฒน์ กล่าวว่าไม่ใช่ วันนี้ตนเชื่อว่า บ้านเมืองไม่ได้แบ่งเป็น 2 ฝ่าย แต่มีความคิดเห็นที่แตกต่างทางความคิดทางการเมือง เพราะฝ่ายประชาชนไม่มีพรรคของตนเอง แต่อีกฝ่ายหนึ่งมีพรรค มีกองกำลังส่วนตัว พรรคการเมืองแสวงหาอำนาจ ที่มีฐานะอำนาจเป็นรัฐบาล มีเสียงข้างมากในสภา ดังนั้นประชาชนที่ลุกขึ้นมา ตนถือเป็นการทำหน้าที่ และใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นหน้าที่เดียวกับกองทัพ แต่บัญญัติไว้คนละมาตราเท่านั้น
ทั้งนี้ ขอให้กองทัพพิจารณาในฐานะกลไกแห่งรัฐ กองทัพไม่ได้ถูกว่างเป็นกลไกของรัฐบาล แต่กองทัพถูกว่างเป็นกลไกแห่งรัฐ เมื่อรัฐบาลที่เราเชื่อว่าเป็นกบฏต่อการปกครอง กองทัพต้องกลับมาพิจารณาในฐานนะกลไกของรัฐที่จะจัดการคณะรัฐบาล อย่างไรก็ตาม เราเรียกร้องให้ทุกฝ่ายทำตามหน้าที่ของรัฐธรรมนูญ ไม่ได้มาเรียกร้องให้กองทัพเลือกข้าง
สมุดปกดำไข 7 มูลเหตุนองเลือด
เมื่อเวลา 14.00 น. วันเดียวกันนี้ ที่สำนักงานเครือข่ายเพื่อผู้บริโภค กลุ่มประชาชนผู้ไม่เอาสงครามกลางเมือง ประกอบด้วยเครือข่ายภาคประชาสังคมหลากหลายส่วน อาทิ เครือข่ายผู้บริโภค มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เครือข่ายพนักงานบริการ เครือข่ายครอบครัว เครือข่ายสลัมสี่ภาค เครือข่ายจิตอาสา เครือข่ายสุขภาพ เครือข่ายนักศึกษา อดีตสมาชิกวุฒิสภา เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ชมรมนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย ตัวแทนนักวิชาการ ร่วมกันจัดการแถลงข่าว เปิดตัวหนังสือมูลเหตุสงครามกลางเมือง(สมุดปกดำ)
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการเครือข่ายผู้เพื่อโภค กล่าวว่า เครือข่ายเห็นว่าสถานการณ์ทางการเมืองที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น และได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่จะทำให้เกิดสงครามกลางเมือง โดยมีการวิเคราะห์ผ่าน 7 เหตุผลหลักที่จะนำไปสู่สงครามกลางเมืองประกอบด้วย
1. การแก้รัฐธรรมนูญผ่าน ส.ส.ร. 3 จะเป็นสาเหตุให้มีการเคลื่อนตัวของปัญหามากขึ้น 2. การที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่เคารพกติกา และระบบยุติธรรมจะยิ่งทำให้ปัญหาเพิ่มขึ้น เพราะมีปัญหาเรื่องคำพิพากษา และความพยายามดิ้นรนเพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากความผิด รวมถึงพรรคพวกของพ.ต.ท.ทักษิณ ก็พยายามทำให้คนทั่วไปคิดว่าพ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้รับความเป็นธรรม
3. คุณภาพของนักการเมืองที่มีผลประโยชน์ต่างตอบแทน 4. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่รณรงค์ทางการเมืองมาแล้วกว่า100 วัน แต่ก็มีคำถามว่า จะจบอย่างไร ถ้ารัฐบาลยังดึงดันแก้รัฐธรรมนูญ ก็เชื่อว่าทั้งพันธมิตรฯ และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ก็จะมาชุมนุมที่หน้ารัฐสภา และทั้งสองกลุ่มพร้อมที่จะใช้กำลัง และภาพสงครามกลางเมืองจึงไม่ใช่ภาพที่เกินความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า
5.กลุ่มคัดค้านการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ พร้อมจะใช้กำลังเข้าจัดการ ไม่ว่าจะขู่ด้วยการใช้อาวุธเข้าสลายที่หน้าทำเนียบรัฐบาล 6. สื่อทั้ง NBT และASTV เสนอข่าวอย่างมีอคติ และ 7.เรามีรัฐ แต่ก็ไร้ประสิทธิภาพ
"ขณะนี้สังคมไทยต้องการเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกัน เราจึงขอเสนอให้รัฐบาลใช้แก้ไขปัญหาด้วยการยุบสภา และคืนอำนาจให้กับประชาชน ไม่คิดว่าการที่รัฐบาลยุบสภาไม่ได้ทำให้เสียหน้าแต่อย่างใด แม้หลายคนกลัวว่า หากมีการยุบสภาเรื่องจะไม่จบ พรรคพลังประชน อาจจะกลับมาอีก และพันธมิตรฯก็ต้องกลับมาชุมนุมอีก ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราคิดได้ แต่เป็นเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น เราทุกคนก็จะต้องกลับไปทำการบ้านว่า จะทำให้ประชาชนตื่นตัวในทางการเมืองอย่างไร และต้องตั้งรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งดิฉันเชื่อว่า ถ้ารัฐบาลยุบสภาทุกฝ่ายก็ต้องกลับไปที่ตั้งได้ และกลุ่มเราเองก็ไม่เห็นด้วยในการให้ทหารออกมาปฏิวัติ" เลขาธิการเครือข่ายผู้บริโภคกล่าว และว่า ทั้งนี้เชื่อว่าภายหลังเสร็จงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์แล้ว ความรุนแรงจะยิ่งขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจถึงขั้นนองเลือด
"ทักษิณ" คือเงื่อนไขความรุนแรง
น.ส.สารี กล่าวอีกว่า ถ้าพ.ต.ท.ทักษิณ ยังโฟนอิน ปัญหาก็แก้ไม่ได้ ยิ่งขณะนี้รัฐบาลบาฮามาสประกาศว่าจะให้พ.ต.ท.ทักษิณ จัดตั้งรัฐบาลผลัดถิ่น นั้นประเด็นนี้ก็จะกลายเป็นปัจจัยที่จะก่อให้เกิดความรุนแรงได้ หากพ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่หยุดเคลื่อนไหวในลักษณะนี้ความรุนแรงก็จะยิ่งบานปลายขึ้นเรื่อยๆ เพราะปัญหาหลายข้อมันเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันอย่างเห็นได้ชัดและแม้แต่พันธมิตรฯเอง หากรัฐบาลประกาศว่า ไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วเขายังชุมนุมต่อ เขาก็ต้องกลับไปทบทวนตัวเองเหมือนกัน เพราะความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้ จะไม่ใช่แค่แขนขาขาดอีกต่อไปแล้ว แต่มันจะหมายถึงชีวิตของผู้คนจำนวนมาก
ด้าน นายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ ประธานเครือข่ายสุขภาพ กล่าวว่า ขณะนี้ทุกคนห่วงใยบ้านเมืองเหมือนกันหมด เพราะผลโพลคนอยู่ตรงกลางมีมากขึ้น แต่ยังไม่มีช่องทางในการแสดงออก ซึ่งกิจกรรมที่มีออกมาอย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการสานเสวนา แต่ในภาพรวมยังไม่ได้ชี้ให้เห็นความชัดเจนว่า จุดใดเป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง เราพยายามแยกออกมาให้คนตรงกลางเห็นว่า เจ็ดประเด็นที่เรานำเสนอ ถ้าไม่รีบแก้ไขยับยั้งโอกาสเกิดความรุนแรงจะสูงมาก จะต้องมีการนำเสนอข้อมูลต่างๆเหล่านี้ เพื่อวิเคราะห์ร่วมกัน ซึ่งเราเองพยายามมองให้ครบทุกองค์ประกอบ และชี้ให้เห็นทุกองค์ประกอบว่าสถานการณ์เฉพาะหน้าในการขับเคลื่อนของรัฐ ในการแก้รัฐธรรมนูญ เป็นสิ่งอ่อนไหวเปราะบาง นำไปสู่ความรุนแรงได้ง่าย
"เราไม่ได้เห็นว่ารัฐธรรมนูญที่มีการประกาศใช้มีข้อบกพร่องหมด แต่ขณะนี้ไม่ใช่เวลาในการแก้รัฐธรรมนูญ เราต้องถามว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้กระทบกับนักการเมืองหรือประชาชนกันแน่ ยกตัวอย่างประเทศอังกฤษ ใช้เวลายาวนานมากในการพัฒนาประชาธิปไตยกว่าจะได้ประชาธิปไตยเต็มใบ ดังนั้นเราต้องอดทนเพื่อที่จะเรียนรู้การก้าวสู่ประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์แบบ ผมไม่อยากให้เกิดการเสียเลือดเสียเนื้ออีกแล้ว" ประธานเครือข่ายสุขภาพ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เอกสารมูลเหตุสงครามกลางเมืองนี้ ทางกลุ่มได้ตั้งเป้าในการจัดพิมพ์จำนวน 100,000 เล่ม โดยเบื้องต้นได้จัดพิมพ์แล้วเสร็จ 10,000 เล่ม และพร้อมนำเผยแพร่ในเว็บไซต์ ของแต่ละเครือข่าย และแจกประชาชนทั่วไปให้รับทราบถึงมูลเหตุที่จะก่อให้เกิดสงครามกลางเมือง
ขยายเวลาสอบ "สมชาย" ถือหุ้นเกิน
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงความคืบหน้าการ พิจารณาคำร้องกรณีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ถือหุ้นในบริษัท ซี เอส ล็อกซ์อินโฟ จำกัด (มหาชน) ว่า ขณะนี้ทางคณะอนุกรรมการสอบสวนที่มีนายอิสระ หลิมศิริวงศ์ เป็นประธาน ได้ขอขยายเวลาการสอบสวนออกไปอีก15 วัน โดยเป็นการขอขยายเวลาเป็นรอบที่สอง ซึ่งจะครบกำหนดภายในสิ้นเดือนนี้
ทั้งนี้ คณะอนุฯชุดดังกล่าวได้มีการสอบพยานไปได้ 4-5 ปากแล้ว ซึ่งตนทราบว่าทางคณะอนุฯได้ทำหนังสือเชิญให้ นายสมชาย และบริษัทที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงต่อคณะอนุฯแล้ว โดยนายกฯสามารถมาชี้แจงด้วยตัวเอง หรือทำเป็นหนังสือชี้แจงมาก็ได้
วานนี้ (23พ.ย.) น.ส.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะประธานอนุกรรมการพิจารณาข้อกล่าวหา คดีการกล่าวหาคณะรัฐมนตรี (ครม.) กระทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ในการออกแถลงการณ์สนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 51 เปิดเผยว่า ป.ป.ช. มีมติแจ้งข้อกล่าวหา นายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ และคณะฐมนตรี 28 คน (รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช) ที่ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 (2) ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยไว้แล้ว และถือเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งนี้มีรัฐมนตรี 4-5 คนไม่ได้เข้าประชุมในวันนั้น
"ถ้าขัดมาตรา 190 (2) ก็จะไปเข้ามาตรา 270 ซึ่งจะต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ ถอดถอน ส่วน มาตรา 119 , 120 ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้เสียดินแดน ไม่ได้อยู่ในอำนาจของป.ป.ช. ส่วนรัฐมนตรีที่ไม่ได้เข้าประชุมวันนั้น แล้วป.ป.ช.ไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาในวันนี้ ถ้าเผื่อมันพาดพิงว่า ท่านรู้ด้วย หรือมีส่วน ก็ค่อยว่ากันทีหลัง ส่วนนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ก็โดนด้วย เพราะท่านอยู่ในครม.ด้วย" น.ส.สมลักษณ์ กล่าว และว่า ขณะนี้ทางป.ป.ช. กำลังจัดทำร่างแจ้งข้อกล่าวหาไปยังรัฐมนตรี ทั้ง 28 คน ซึ่งรัฐมนตรีสามารถนำพยานหลักฐานมาชี้แจงได้ โดยป.ป.ช.ก็พร้อมให้ความเป็นธรรม แต่หากไม่มาชี้แจงด้วยตัวเอง ก็สามารถส่งเป็นลายลักษณ์อักษรได้ แต่ถ้าไม่มา และไม่ส่งหนังสือมา ก็จะถือว่าท่านรับข้อกล่าวหาตามนั้น
เมื่อถามว่า ได้เน้นที่มติ ครม.อย่างเดียวไม่เกี่ยวกับการลงนามในแถลงการณ์ร่วม ใช่หรือไม่ น.ส.สมลักษณ์ กล่าวว่า การลงนามในแถลงการณ์ นายนพดล ลงนามคนเดียว แต่ว่า ครม.เป็นผู้ลงมติเห็นชอบในกรณีนี้ เมื่อถามว่าที่ ป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหาครั้งนี้ แสดงว่า ครม.มีเจตนาที่เชื่อว่าจะฝ่าฝืนมาตรา 190 ใช่หรือไม่ น.ส.สมลักษณ์ กล่าวว่า ศาลรัฐธรรมนูญก็บอกเราแล้วว่า อันนี้เป็นสัญญาที่จะต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา ส่วนที่ ป.ป.ช.สอบ เราสอบว่ามันมีการจงใจหรือไม่
เมื่อถามว่า เท่าที่สอบดูแล้วถือว่าเป็นการจงใจหรือไม่ น.ส.สมลักษณ์ กล่าวว่า "ก็จงใจ เราถึงได้แจ้งข้อกล่าวหา"
เมื่อถามว่าอาจจะมีการอ้างว่า มีการตีความกฎหมายผิดพลาด น.ส.สมลักษณ์ กล่าวว่า "ต้องดูสถานะของบุคคลด้วย คือ ความผิดพลาดอาจจะมีได้เหมือนกัน ซึ่งท่านรัฐมนตรีท่านได้ทุนอะไรด้วยไม่ใช่หรือ ท่านมีความรู้ทางกฎหมายดี และอีกอย่างมีหลายคนทักท้วงในข้อกฎหมาย รวมทั้งในการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ทางกฤษฎีกาก็ได้ทักท้วงในเรื่องนี้ รวมทั้งกองเขตแดนด้วย แสดงว่าท่านรัฐมนตรีรู้เรื่องนี้ดี"
เมื่อถามว่าในกรณีที่ของนายสมัคร ที่ไปรักษาตัวอยู่ต่างประเทศ จะดำเนินการอย่างไร น.ส.สมลักษณ์ กล่าวว่า อันนี้ก็ต้องดำเนินการ แต่ท่านคงไม่ได้ไปอยู่ตลอดชีวิตแน่ ท่านก็คงจะกลับมา สำหรับกรณีของ พล.ท.แดน มีชูอรรถ อดีตเจ้ากรมแผนที่ทหาร ซึ่งเป็น 1 ในผู้ถูกกล่าวหา แต่เนื่องจากเสียชีวิตไปแล้วป.ป.ช.ก็ต้องจำหน่ายคดีออกไป รวมทั้งข้าราชการก็ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา เอาไว้ก่อน เมื่อสอบแล้วมีการพาดพิง ก็ต้องพิจารณาต่อไป
สำหรับบุคคลที่ไม่ถูกป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหาในชั้นนี้ คือ 1.นายกฤช ไกรจิตติ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย 2. นายเชิดชู รักตบุตร อัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส 3. นายพิษณุ สุวรรณรชฎ รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก 4.นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ 5. พล.ท.แดน มีชูอรรถ อดีตเจ้ากรมแผนที่ทหาร 6. พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ 7. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เนื่องจากบุคคลเหล่านี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกมติ ครม. ดังกล่าว
ส่วนรัฐมนตรีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหา เนื่องจากไม่ได้เข้าร่วมประชุม ครม.ในวันดังกล่าว คือ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬ่า นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ อดีตรมช.มหาดไทย และพล.ท.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ อดีตรมว.พลังงาน
สำหรับนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรมว.ศึกษาธิการ ได้เข้าร่วมประชุมด้วย
คณาจารย์ยื่นถอดถอน "สมชาย"
ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 10.45 น. วานนี้ (13 พ.ย.) นางจิราพร ลิ้มปานานนท์ อดีตอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมคณะอาจารย์จาก 5 มหาวิทยาลัย จำนวน 16 คน ซึ่งเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยราชดำเนินของพันธมิตรฯ ได้เข้าแสดงตนต่อ นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เป็นคณะผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 รายชื่อ ขอถอดถอนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะกระทำการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ตามพฤติการณ์ดังนี้ คือ มีส่วนส่งเสริม สนับสนุน ยุยง รู้เห็นเป็นใจ ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯอย่างรุนแรง ในเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ตุลาฯ โดยมีการเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นการด่วน เมื่อคืนวันที่ 6 ต.ค. จากนั้นมีการเคลื่อนกำลังตำรวจพร้อมอาวุธครบมือจำนวนมาก บ่งชี้ให้เห็นว่าเป็นคำสั่งโดยเจตนา และเป็นไปด้วยการรู้เห็นเป็นใจของครม. จนมีการใช้กำลังสลายตอนช่วงเช้าวันที่ 7 ต.ค. โดยไม่คำนึงว่าประชาชนจะได้รับบาดเจ็บมากน้อยเพียงใด เพียงเพื่อจะเข้าไปแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
นางจิราพรกล่าวด้วยว่า นายกฯ ครม. และสมาชิกรัฐสภาจำนวนหนึ่งยังคงเดินหน้าแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ทั้งที่เป็นการแถลงต่อคณะองค์ประชุมที่ไม่ชอบธรรม เพราะมีการรูดบัตรแทนสมาชิกคนอื่น เป็นการกระทำที่ไม่ชอบธรรม ขาดจริยธรรม ไร้ซึ่งวุฒิภาวะของผู้นำ นอกจากนี้เมื่อนายสมชาย ออกจากรัฐสภาทางเฮลิคอปเตอร์แล้ว แต่ยังสั่ง สนับสนุน รู้เห็นเป็นใจ หรือปล่อยปละละเลยให้เจ้าหน้าที่ยิงแก๊สน้ำตา และอาวุธเข้าใส่ประชาชนอีก เป็นการกระทำที่เห็นแก่ตัวอย่างไร้มนุษยธรรม เอาชีวิตประชาชนแลกกับความต้องการของตน จนเป็นเหตุให้ น.ส. อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ เสียชีวิต การกระทำของนายสมชายดังกล่าว เป็นการกระทำโหดเหี้ยม ทารุณ ใช้อาวุธร้ายแรงกับประชาชนมือเปล่า และเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกในวันเดียวกัน เพื่อคงไว้ซึ่งอำนาจวาสนาของตน แสดงให้เห็นถึงความบกพร่องทางศีลธรรม จริยธรรมของผู้ปกครอง แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้ทำให้นายสมชายมีสำนึก โดยคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา แถลงรายงานผลการสอบสวนเหตุการณ์ 7 ตุลาฯ ให้รัฐบาลโดยนายสมชาย ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
นางจิราพร กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังปรากฏในคลิปวีดิโอแพร่หลายว่า มีผู้ชายรูปร่างหน้าตาเหมือนนายสมชาย พาหญิงวัยรุ่นข้าไปในโรงแรมม่านรูด ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับผู้ชายพาผู้หญิงที่ไม่ใช่ภรรยาเข้าไปมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งมีการแพร่หลายนานหลายสัปดาห์ นายสมชาย ก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าชายดังกล่าวไม่ใช่ตน แต่มายอมรับในภายหลัง และระบุว่ามีการตัดต่อ แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าไม่ได้พาหญิงอื่นซึ่งไม่ใช่ภรรยาของตนเข้าโรงแรม ทำให้เชื่อได้ว่านายสมชาย เป็นบุคคลที่มีความประพฤติขัดต่อศีลธรรมอันดีอย่างร้ายแรง ไม่สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป เพราะกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดรัฐธรรมนูญ จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อกฎหมาย ฝ่าฝืนต่อมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ทำให้วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนนายสมชายออกจากตำแหน่งได้
"ปธ.วุฒิ" ให้บัวแก้วพิจารณาเรื่อง "แม้ว"
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภาให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ว่า คณะบุคคลดังกล่าวต้องไปหารายชื่อประชาชนให้ได้เกิน 2 หมื่นรายชื่อ แล้วถึงจะไปตรวจสอบอีกครั้ง
เมื่อถามถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีประเทศบาฮามาส ระบุอนุญาตให้พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จัดตั้งรัฐบาลผลัดถิ่นในประเทศบาฮามาสได้ นายประสพสุข กล่าวว่า ไม่ทราบรายละเอียดเรื่องนี้ต้องไปถามกระทรวงการต่างประเทศ ทางวุฒิสภาไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ และเชื่อว่าคงไม่ได้ตั้งอะไรอย่างนั้น จะต้องไปดูรายละเอียด ไม่ได้ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงวิจารณ์ไม่ได้
เมื่อถามว่าทางมาเลเซียกำลังพิจารณาว่าจะให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ลี้ภัยได้หรือไม่ เรื่องนี้จะกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือไม่ นายประสพสุข กล่าวว่า กระทรวงต่างประเทศต้องรับผิดชอบ
"ชัย" ยันย้าย-เลื่อนประชุม 7 ต.ค.ไม่ได้
นายสุรสีห์ โกศลนาวิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1 ซึ่งสอบสวนกรณีเหตุการณ์ 7 ตุลาฯ เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการฯได้พบนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาช่วงเช้าวันที่ 13 พ.ย. ที่รัฐสภา เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคม โดยนายชัย ยืนยันกับอนุฯว่า ในการประชุมรัฐสภาวันดังกล่าวเพื่อพิจารณาคำแถลงนโยบายของรัฐบาล ไม่สามารถย้ายที่ประชุมได้ เพราะมีข้อบังคับการประชุมกำหนดไว้ชัดว่า ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา คือ อาคารรัฐสภา และหากเลื่อนก็ต้องนัดประชุมล่วงหน้า 3 วัน
ทั้งนี้ ได้กำหนดการประชุมไว้แล้ว 3 วัน คือวันที่ 7 -9 ตุลาคม ซึ่งวันที่ 9 ตุลาคม ก็เป็นวันครบ 15 วัน ในการที่รัฐบาลต้องแถลงนโยบายต่อสภา อย่างไรก็ดี ไม่ได้มีการหารือกับรัฐบาลว่า หากเกิน 15 วัน แล้วจะแถลงนโยบายได้หรือไม่ อย่างไร
นอกจากนี้การย้ายที่ประชุมยุ่งยาก ทำไม่ทัน สมาชิกจำนวนมาก และต้องใช้ระบบบันทึกเสียง จึงต้องประชุมที่อาคารรัฐสภา และได้เข้ามาที่สภาเวลา 7 โมงกว่าๆจึงไม่เห็นเหตุการณ์สลายการชุมนุมในช่วงเช้าที่มีผู้บาดเจ็บสาหัส และไม่นึกว่าจะมีปัญหาต่อเนื่องตลอดทั้งวัน
กก.สอบโจรครวญไม่มีใครร่วมมือ
นายปรีชา พานิชวงศ์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบ ข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม แถลงภายหลังการประชุมที่บ้านมนังคศิลาว่า คณะกรรมการได้ทำการสอบปากคำสื่อมวลชนที่อยู้ใน เหตุการณ์ประกอบด้วย ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ 2 ฉบับ ผู้สื่อข่าววิทยุกระจายเสียง 2-3 คน ขณะที่ยังไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้สื่อข่าวจากทุกสถานนีโทรทัศน์
นอกจากนี้ได้มีการสอบปากคำแพทย์และพยาบาลไปแล้วจำนวน 2 โรงพยาบาล แต่ก็ยังจำเป็นที่จะต้องได้รับข้อเท็จจริง ที่เป็นพยานบุคคลทั้งจากผู้ร่วมชุมนุม ตั้งแต่เมื่อวันที่ 6-7 ต.ค. รวมทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐ
นายปรีชายังกล่าวด้วยน้ำเสียงเชิงน้อยใจว่า นับตั้งแต่มีการประชุมคณะกรรมการครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 ต.ค. แต่ไม่ได้รับความร่วมมือจากสื่อมวลชน และประชาชนเท่าที่ควร จึงขอร้องให้ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์เดินทางมาให้ปากคำได้ที่บ้านมนังคศิลา ได้ตลอดเวลา
ทั้งนี้กรรมการได้วิเคราะห์ว่า เหตุใดประชาชนและสื่อมวลชนจึงไม่เข้ามาให้ ข้อเท็จจริง สาเหตุอาจเนื่องมาจากท่านเหล่านี้ไม่เชื่อมั่นในคณะกรรมการชุดนี้ว่าจะมีอิสระ เป็นกลางอย่างแท้จริง หากเข้าใจก็คงจะน้อย
"ผมอยากจะบอกว่า ผิดหวังและเสียใจ ขอยืนยันอีกครั้งว่า ผมรับรองได้ว่า กรรมการทุกท่านจะทำหน้าที่อย่างอิสระเป็นกลาง โดยทำหลักฐานอย่างเป็นธรรมและให้ได้ข้อเท็จจริง จึงอยากขอให้ทุกท่านให้ความร่วมมือ การตรวจสอบจะได้ยุติโดยเร็ว"
ผู้สื่อข่าวถามว่า สาเหตุนอกจากความไม่เชื่อใจแล้ว อาจจะเป็นเพราะคณะกรรมการไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนในการตรวจสอบ รวมทั้งรัฐบาล ก็ไม่ได้กำหนดเวลาเช่นเดียวกันนายปรีชา กล่าวว่า รัฐบาลจะมากำหนอเวลา ให้เราได้อย่างไร ก็พวกคุณไม่มา (สื่อมวลชน)
"ช่วยแห่กันมาก็จะดี ผมอยากจะให้เสร็จในเดือนนี้ด้วยซ้ำไป พ่อคุณเอ๋ย ออกมาให้ข้อมูลกันเถอะ"
ด้านนายวิชัย ตันติกุลาสนันท์ กรรมการ ระบุว่า ได้มีการทำหนังสือแจ้งไปยังสื่อมวลชน เพื่อให้ผู้สื่อข่าวมาให้ข้อมูลแต่ก็ได้รับความร่วมมือน้อยมาก ไม่มีฉบับใดส่งมาเลย เคาไม่เต็มใจก็ไม่มาตรงนี้เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง
เมื่อถามว่า คณะกรรมการได้แจ้งไปยังพันธมิตรฯ เพื่อมาให้ข้อมูลด้วยหรือไม่ นายวิชัยกล่าวว่า ได้มีหนังสือแจ้งไปยังโรงพยาบาลทุกแห่ง บางแห่งก็ไม่ให้ความร่วมมือที่จะให้อนุกรรมการฯ เก็บข้อมูล โดยอ้างว่าเป็นการผิดจรรยาบรรณแพทย์ ขณะที่กลุ่มพันธมิตรฯ เราก็ได้เชิญไปบางท่านแต่ก็ไม่มีการตอบกลับมา
"สุชาติ-พัชรวาท" ไม่ไปให้ปากคำ
เมื่อถามว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาให้ข้อมูล และชี้แจงกับคณะกรรมการอย่างไร นายปรีชา กล่าวว่า เราคงจะยังบอกไม่ได้เนื่องจาก เป็นมารยาทต้องให้มีการสอบสวนให้แล้วเสร็จเสียก่อน นอกจากนั้นยังได้เชิญ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รมว.มหาดไทย มาให้ข้อมูล รวมทั้งได้เดินทางไปยังบ้านพักของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เพื่อสอบปากคำต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
"คณะกรรมการได้รับหลักฐาน มติครม. เมื่อเวลา 23.00 น.วันที่ 6 พ.ย.ที่มีการประชุมภายในทำเนียบชั่วคราว แต่บอกไม่ได้ว่าเป็นเอกสาร หรือเป็นเทปการประชุม แต่ยังพูดไม่ได้โดยหลักฐานชิ้นนี้ เลขาธิการ ครม. เป็นผู้มาให้ข้อมูลด้วยตัวเอง ขณะที่ข้อมูลในการประชุมของ พล.อ.ชวลิต และนายตำรวจระดับสูงที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) กรรมการยังไม่ได้รับเนื่องจากพล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น. ก็ยังไม่ได้เดินทางมาให้ข้อมูล รวมทั้งพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.ก็ยังไม่ได้มาให้ข้อมูลเช่นกัน"
นายปรีชา กล่าวอีกว่า ขณะนี้เรายังได้รับข้อมูลจากผลการสอบสวนของทั้งกรรอนุกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่นำผลสอบสวนลงในเว็บไซต์ แต่ยังไม่ได้รับข้อมูลตัวเต็มซึ่งได้ประสานไปแล้ว ขณะเดียวกันจะเชิญสมาชิกวุฒิสภา 2-3 คนที่ปรากฏในข่าวว่าได้รับข้อมูลจากกรรมการสิทธิฯ มาสอบปากคำ
อย่างไรก็ตามในเวลา 10.00 น.วันที่ 27 พ.ย. คณะกรรมการจะมีการนัดประชุมอีกครั้ง ส่วนผู้ใดที่ประสงค์จะให้ถ้อยคำ กรุณาแจ้ง ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ และหมาเลขโทรศัพท์ มายังคณะกรรมการได่ที่บ้านมนังคศิลา หมายเลขโทรศัพท์ 02-280-6870-71 และโทรสาร 02-280-6877
ส.ส.หญิงขอให้ยุติความรุนแรงในสภา
ในวันเดียวกันนี้ กลุ่ม ส.ส.หญิงพรรคประชาธิปัตย์กว่า10 คน นำโดยนางผุสดี ตามไท นางรัชดาภรณ์ แก้วสนิท น.ส.รังสิมา รอดรัศมี และนางนาตยา เบญจศิริวรรณ ร่วมกันแถลงข่าว เรียกร้องให้หยุดพฤติกรรมความรุนแรงในรัฐสภา เนื่องจากในเดือน พ.ย. ซึ่งเป็นเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก และสตรีของสังคมไทย
นางผุสดี กล่าวว่า ขณะนี้ความรุนแรงเกิดขึ้นในทุกแห่งทั้งพื้นที่ส่วนตัวคือ ครอบครัวและพื้นที่สาธารณะ เช่นการสลายการชุมนุมหน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา แต่รัฐบาลไม่ได้ใส่ใจ กลับเพิกเฉย ไม่เร่งดำเนินการเพื่อหยุดยั้งความรุนแรงแต่อย่างใด
ทั้งนี้ทางกลุ่ม ส.ส.หญิงพรรคประชาธิปัตย์ มีความกังวล 2 เรื่อง คือ ความรุนแรง ที่เกิดขึ้นในรัฐสภา ที่ส.ส.บางคนมีพฤติกรรมทำร้ายร่างการ เช่น การกระโดดถีบเพื่อน ส.ส.บางกลุ่ม คุกคามโดยการรุมล้อม และชี้หน้าอภิปรายในห้องประชุม เช่น กรณี ส.ว.รสนา โตสิตระกูล ต่อมามีบางคนพูดคุกคามให้ห้องประชุม โดยอ้างว่าเป็นการรำพึง
นางผุสดี กล่าวว่า ที่ร้ายกว่านั้น มีกลุ่มส.ส.เข้าชื่อถอดถอน น.ส.รสนา ซึ่งเป็นผู้ถูกกระทำ ถือเป็นการใช้ความรุนแรงต่อสภาวะจิตใจเป็นอย่างยิ่ง ต่อผู้ทีได้รับการเลือกตั้ง เข้ามาทำหน้าที่ในสภา ทางกลุ่มส.ส.หญิงพรรคประชาธิปัตย์ ขอเรียกร้องให้ ส.ส. ที่มีพฤติกรรมดังกล่าวหยุด ซึ่งหากคิดว่าเพื่อนสมาชิกมีการกระทำผิดข้อบังคับ ก็ควรเสนอให้ประธานตั้งกรรมการสอบสวน ทางกลุ่มเสียใจมาก ที่มีการใช้ทวิมาตราฐานในสภา คือ เลือกยื่นเสนอถอดถอนผู้ถูกกระทำ ในขณะที่ผู้กระทำลอยนวล
จี้นายกฯ หยุดพฤติกรรมบ้ากาม
ด้านนางรัชดาภรณ์ กล่าวว่า ประเด็นที่ทางกลุ่มกังวลคือ การนอกใจ ไม่ซื่อสัตย์ต่อครบอครัว ถือเป็นความรุนแรงทางจิตใจ เช่น ข่าวคลิปหน้าเหมือน ซึ่งต่อมา นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ก็ออกมายอมรับว่า บางส่วนเป็นภาพของท่าน ซึ่งถือเป็นความรุนแรงทางเพศ เป็นการเอาเปรียบทางเพศ ทั้งในครอบครัว และที่ทำงาน เพราะหากแม้แต่ครอบท่านยังไม่ซื่อสัตย์ แล้วจะซื่อสัตย์ต่อคนอื่น และบ้านเมืองได้อย่างไร รวมทั้งเป็นการใช้อำนาจบังคับบัญชา เพื่อให้เกิดการจำยอม แต่สังคมชอบใช้คำว่า สมยอม การกระทำเช่นนี้ อาจทำให้เยาวชนเกิดการเอาแบอย่าง เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีตัวคนจริง และกรณีนี้ นายกฯไม่มีสิทธิ์ใช้คำว่า อโหสิต่อผู้ถ่ายคลิปดังกล่าวด้วยซ้ำ
"ขอให้ยุติความรุนแรงทางเพศและความรุนแรงทุกรูปแบบต่อผู้หญิง และเด็กแค่นี้ก็สร้างคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อสังคม ไม่เช่นนั้นท่านจะเป็นผู้มีจริยธรรมบกพร่องอย่างรุนแรง" นางรัชดาภรณ์ กล่าว
เมื่อถามว่า จะยื่นถอดถอนนายสมชายหรือไม่ นางผุสดี กล่าวว่า คงไม่ยื่น แต่จะทำจดหมายส่วนตัว ส่งถึงนายสมชาย เพราะแม้ที่ผ่านมามีเรื่องใหญ่กว่านี้ นายสมชาย ก็ยังไม่ลาออก จึงเชื่อว่าถึงยื่นถอดถอน ก็คงไม่มีผล
เมื่อถามว่า จะยื่นให้ตรวจสอบว่านายสมชาย ทำผิดประมวลจริยธรรมหรือไม่ ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้ยื่นถอดถอนได้ นางรัชดาภรณ์ กล่าวว่า ตอนนี้ประมวลจริยธรรมยังพิจารณาไม่เสร็จ และไม่รู้จะเสร็จเมื่อใดจึงไม่สามารถยื่นเรื่องดังกล่าวได้
เมื่อถามว่า จะประสานไปยัง นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ภรรยานายสมชายหรือไม่ ในฐานะผู้เสียหาย นางรัชดาภรณ์ กล่าวว่า เราคงไม่ทำ แต่อยากให้นายกฯพิจารณาก่อนที่จะมีคลิปออกมาอีก
จี้กองทัพเอาผิด ส.ส.-รัฐบาล
เมื่อเวลา10.00 น. วานนี้ ที่กองทัพภาคที่ 1 นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ เลขาธิการสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย (สปท.) ได้ทำหนังสือเปิดผนึก เพื่อขอวิงวอนให้กองทัพจัดการกับขบวนการกบฎ โดยมี พล.ต.สุรพันธ์ พวงเพชร ที่ปรึกษากองทัพภาคที่ 1 เป็นผู้รับหนังสือแทน พล.ท. คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1
ทั้งนี้นายไชยวัฒน์ กล่าวว่า การยื่นเรื่องครั้งนี้เป็นการตั้งข้อกล่าวหาในพฤติกรรมของรัฐบาล และสมาชิกเสียงข้างมากในสภาผู้แทน ที่มีพฤติกรรมเป็นกบฎต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งนี้ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มีความชัดเจนว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียงข้างมาก และรัฐบาลมีพฤติกรรมใช้อำนาจแทนประชาชนที่ผิด ไม่ได้ใช้เพื่อประโยชน์ในฐานะประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย แต่ใช้อำนาจแทนประชาชนทั้งหมด เพื่อประโยชน์ของคนคนเดียว และตนเองในการแก้รัฐธรรมนูญไม่ให้ยุบพรรคการเมืองของตนเอง ถือว่าเป็นผิดหลักตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
"เมื่อรัฐบาลเป็นกบฏเสียเอง ก็เป็นหน้าที่ของกองทัพภาคที่ 1 ในฐานะเจ้าของพื้นที่ที่จะมีกฎหมายพิเศษ และมีความพร้อมในเรื่องกำลัง และเครื่องมือในการจัดปัญหาให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด จึงได้มาขอวิงวอนแม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะที่รับผิดชอบในพื้นที่ หลังจากนี้ทาง สปท.จะมายื่นหนังสืออีก โดยจะทิ้งห่าง10 วัน เพื่อเอาเรื่องทั้งหมดที่ยื่นไว้แล้วเพื่อไปขอให้ประชาชนที่เห็นด้วยลงลายมือชื่อ อย่างไรก็ตาม เราประเมินสถานการณ์ล่าสุดว่า มีการยกระดับจากเรื่องมิติทางการเมือง เป็นเรื่องมาตรการความปลอดภัย ความมั่นคงของประเทศ และรัฐบาลได้แสดงพฤติกรรมชัดเจนในการครอบงำ สั่งการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นกองกำลังเพื่อคุ้มครองรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกองกำลังส่วนตัว และการใช้อาวุธสงครามในพื้นที่ กทม.ทุกคน ทำให้มีประชาชนได้รับบาดเจ็บ ฉะนั้นมาตรการความมั่นคงปลอดภัย เป็นมาตรการที่กองทัพจะสามารถใช้กฎหมายพิเศษจัดการได้ กฎหมายตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก เพราะเป็นอำนาจของแม่ทัพภาคที่ 1 จะประกาศได้ในเงื่อนไขที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน" นายไชยวัฒน์ กล่าว
นายไชยวัฒน์ กล่าวด้วยว่า เมื่อกองทัพประกาศกฎอัยการศึก กองทัพก็ใช้อำนาจโดยถูกต้องตามกฎหมายในรัฐธรรมนูญ เพื่อควบคุมตัวบุคคลที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคง เพื่อความปลอดภัยประเทศชาติได้ นั่นคือสิ่งที่เราคิด และเสนอกองทัพ ทั้งนี้ คงไม่ใช่เป็นการกดดันกองทัพให้ออกมา แต่เราเป็นประชาชน ฐานะเจ้าของอำนาจที่ห่วงใยบ้านเมือง ซึ่งเรามีหน้าที่ปกป้องสถาบันหลักของชาติ และช่วยกันให้เกิดความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง เมื่อกองทัพมีหน้าที่เช่นเดียวกันตามรัฐธรรมนูญ เราได้ประมวลความคิดเห็นแล้วเสนอมาถึงกองทัพช่วยนำความคิดเห็นของเราประกอบการตัดสินใจ
เมื่อถามว่า ดูเหมือนว่าแต่ละฝ่ายอยากเอากองทัพเป็นพวกนายไชยวัฒน์ กล่าวว่าไม่ใช่ วันนี้ตนเชื่อว่า บ้านเมืองไม่ได้แบ่งเป็น 2 ฝ่าย แต่มีความคิดเห็นที่แตกต่างทางความคิดทางการเมือง เพราะฝ่ายประชาชนไม่มีพรรคของตนเอง แต่อีกฝ่ายหนึ่งมีพรรค มีกองกำลังส่วนตัว พรรคการเมืองแสวงหาอำนาจ ที่มีฐานะอำนาจเป็นรัฐบาล มีเสียงข้างมากในสภา ดังนั้นประชาชนที่ลุกขึ้นมา ตนถือเป็นการทำหน้าที่ และใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นหน้าที่เดียวกับกองทัพ แต่บัญญัติไว้คนละมาตราเท่านั้น
ทั้งนี้ ขอให้กองทัพพิจารณาในฐานะกลไกแห่งรัฐ กองทัพไม่ได้ถูกว่างเป็นกลไกของรัฐบาล แต่กองทัพถูกว่างเป็นกลไกแห่งรัฐ เมื่อรัฐบาลที่เราเชื่อว่าเป็นกบฏต่อการปกครอง กองทัพต้องกลับมาพิจารณาในฐานนะกลไกของรัฐที่จะจัดการคณะรัฐบาล อย่างไรก็ตาม เราเรียกร้องให้ทุกฝ่ายทำตามหน้าที่ของรัฐธรรมนูญ ไม่ได้มาเรียกร้องให้กองทัพเลือกข้าง
สมุดปกดำไข 7 มูลเหตุนองเลือด
เมื่อเวลา 14.00 น. วันเดียวกันนี้ ที่สำนักงานเครือข่ายเพื่อผู้บริโภค กลุ่มประชาชนผู้ไม่เอาสงครามกลางเมือง ประกอบด้วยเครือข่ายภาคประชาสังคมหลากหลายส่วน อาทิ เครือข่ายผู้บริโภค มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เครือข่ายพนักงานบริการ เครือข่ายครอบครัว เครือข่ายสลัมสี่ภาค เครือข่ายจิตอาสา เครือข่ายสุขภาพ เครือข่ายนักศึกษา อดีตสมาชิกวุฒิสภา เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ชมรมนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย ตัวแทนนักวิชาการ ร่วมกันจัดการแถลงข่าว เปิดตัวหนังสือมูลเหตุสงครามกลางเมือง(สมุดปกดำ)
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการเครือข่ายผู้เพื่อโภค กล่าวว่า เครือข่ายเห็นว่าสถานการณ์ทางการเมืองที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น และได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่จะทำให้เกิดสงครามกลางเมือง โดยมีการวิเคราะห์ผ่าน 7 เหตุผลหลักที่จะนำไปสู่สงครามกลางเมืองประกอบด้วย
1. การแก้รัฐธรรมนูญผ่าน ส.ส.ร. 3 จะเป็นสาเหตุให้มีการเคลื่อนตัวของปัญหามากขึ้น 2. การที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่เคารพกติกา และระบบยุติธรรมจะยิ่งทำให้ปัญหาเพิ่มขึ้น เพราะมีปัญหาเรื่องคำพิพากษา และความพยายามดิ้นรนเพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากความผิด รวมถึงพรรคพวกของพ.ต.ท.ทักษิณ ก็พยายามทำให้คนทั่วไปคิดว่าพ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้รับความเป็นธรรม
3. คุณภาพของนักการเมืองที่มีผลประโยชน์ต่างตอบแทน 4. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่รณรงค์ทางการเมืองมาแล้วกว่า100 วัน แต่ก็มีคำถามว่า จะจบอย่างไร ถ้ารัฐบาลยังดึงดันแก้รัฐธรรมนูญ ก็เชื่อว่าทั้งพันธมิตรฯ และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ก็จะมาชุมนุมที่หน้ารัฐสภา และทั้งสองกลุ่มพร้อมที่จะใช้กำลัง และภาพสงครามกลางเมืองจึงไม่ใช่ภาพที่เกินความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า
5.กลุ่มคัดค้านการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ พร้อมจะใช้กำลังเข้าจัดการ ไม่ว่าจะขู่ด้วยการใช้อาวุธเข้าสลายที่หน้าทำเนียบรัฐบาล 6. สื่อทั้ง NBT และASTV เสนอข่าวอย่างมีอคติ และ 7.เรามีรัฐ แต่ก็ไร้ประสิทธิภาพ
"ขณะนี้สังคมไทยต้องการเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกัน เราจึงขอเสนอให้รัฐบาลใช้แก้ไขปัญหาด้วยการยุบสภา และคืนอำนาจให้กับประชาชน ไม่คิดว่าการที่รัฐบาลยุบสภาไม่ได้ทำให้เสียหน้าแต่อย่างใด แม้หลายคนกลัวว่า หากมีการยุบสภาเรื่องจะไม่จบ พรรคพลังประชน อาจจะกลับมาอีก และพันธมิตรฯก็ต้องกลับมาชุมนุมอีก ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราคิดได้ แต่เป็นเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น เราทุกคนก็จะต้องกลับไปทำการบ้านว่า จะทำให้ประชาชนตื่นตัวในทางการเมืองอย่างไร และต้องตั้งรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งดิฉันเชื่อว่า ถ้ารัฐบาลยุบสภาทุกฝ่ายก็ต้องกลับไปที่ตั้งได้ และกลุ่มเราเองก็ไม่เห็นด้วยในการให้ทหารออกมาปฏิวัติ" เลขาธิการเครือข่ายผู้บริโภคกล่าว และว่า ทั้งนี้เชื่อว่าภายหลังเสร็จงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์แล้ว ความรุนแรงจะยิ่งขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจถึงขั้นนองเลือด
"ทักษิณ" คือเงื่อนไขความรุนแรง
น.ส.สารี กล่าวอีกว่า ถ้าพ.ต.ท.ทักษิณ ยังโฟนอิน ปัญหาก็แก้ไม่ได้ ยิ่งขณะนี้รัฐบาลบาฮามาสประกาศว่าจะให้พ.ต.ท.ทักษิณ จัดตั้งรัฐบาลผลัดถิ่น นั้นประเด็นนี้ก็จะกลายเป็นปัจจัยที่จะก่อให้เกิดความรุนแรงได้ หากพ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่หยุดเคลื่อนไหวในลักษณะนี้ความรุนแรงก็จะยิ่งบานปลายขึ้นเรื่อยๆ เพราะปัญหาหลายข้อมันเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันอย่างเห็นได้ชัดและแม้แต่พันธมิตรฯเอง หากรัฐบาลประกาศว่า ไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วเขายังชุมนุมต่อ เขาก็ต้องกลับไปทบทวนตัวเองเหมือนกัน เพราะความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้ จะไม่ใช่แค่แขนขาขาดอีกต่อไปแล้ว แต่มันจะหมายถึงชีวิตของผู้คนจำนวนมาก
ด้าน นายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ ประธานเครือข่ายสุขภาพ กล่าวว่า ขณะนี้ทุกคนห่วงใยบ้านเมืองเหมือนกันหมด เพราะผลโพลคนอยู่ตรงกลางมีมากขึ้น แต่ยังไม่มีช่องทางในการแสดงออก ซึ่งกิจกรรมที่มีออกมาอย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการสานเสวนา แต่ในภาพรวมยังไม่ได้ชี้ให้เห็นความชัดเจนว่า จุดใดเป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง เราพยายามแยกออกมาให้คนตรงกลางเห็นว่า เจ็ดประเด็นที่เรานำเสนอ ถ้าไม่รีบแก้ไขยับยั้งโอกาสเกิดความรุนแรงจะสูงมาก จะต้องมีการนำเสนอข้อมูลต่างๆเหล่านี้ เพื่อวิเคราะห์ร่วมกัน ซึ่งเราเองพยายามมองให้ครบทุกองค์ประกอบ และชี้ให้เห็นทุกองค์ประกอบว่าสถานการณ์เฉพาะหน้าในการขับเคลื่อนของรัฐ ในการแก้รัฐธรรมนูญ เป็นสิ่งอ่อนไหวเปราะบาง นำไปสู่ความรุนแรงได้ง่าย
"เราไม่ได้เห็นว่ารัฐธรรมนูญที่มีการประกาศใช้มีข้อบกพร่องหมด แต่ขณะนี้ไม่ใช่เวลาในการแก้รัฐธรรมนูญ เราต้องถามว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้กระทบกับนักการเมืองหรือประชาชนกันแน่ ยกตัวอย่างประเทศอังกฤษ ใช้เวลายาวนานมากในการพัฒนาประชาธิปไตยกว่าจะได้ประชาธิปไตยเต็มใบ ดังนั้นเราต้องอดทนเพื่อที่จะเรียนรู้การก้าวสู่ประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์แบบ ผมไม่อยากให้เกิดการเสียเลือดเสียเนื้ออีกแล้ว" ประธานเครือข่ายสุขภาพ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เอกสารมูลเหตุสงครามกลางเมืองนี้ ทางกลุ่มได้ตั้งเป้าในการจัดพิมพ์จำนวน 100,000 เล่ม โดยเบื้องต้นได้จัดพิมพ์แล้วเสร็จ 10,000 เล่ม และพร้อมนำเผยแพร่ในเว็บไซต์ ของแต่ละเครือข่าย และแจกประชาชนทั่วไปให้รับทราบถึงมูลเหตุที่จะก่อให้เกิดสงครามกลางเมือง
ขยายเวลาสอบ "สมชาย" ถือหุ้นเกิน
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงความคืบหน้าการ พิจารณาคำร้องกรณีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ถือหุ้นในบริษัท ซี เอส ล็อกซ์อินโฟ จำกัด (มหาชน) ว่า ขณะนี้ทางคณะอนุกรรมการสอบสวนที่มีนายอิสระ หลิมศิริวงศ์ เป็นประธาน ได้ขอขยายเวลาการสอบสวนออกไปอีก15 วัน โดยเป็นการขอขยายเวลาเป็นรอบที่สอง ซึ่งจะครบกำหนดภายในสิ้นเดือนนี้
ทั้งนี้ คณะอนุฯชุดดังกล่าวได้มีการสอบพยานไปได้ 4-5 ปากแล้ว ซึ่งตนทราบว่าทางคณะอนุฯได้ทำหนังสือเชิญให้ นายสมชาย และบริษัทที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงต่อคณะอนุฯแล้ว โดยนายกฯสามารถมาชี้แจงด้วยตัวเอง หรือทำเป็นหนังสือชี้แจงมาก็ได้