มองแวบแรก ห้องครัวเล็กกระทัดรัดของโจน พิก ไม่แตกต่างจากห้องครัวทั่วไป ที่มุมหนึ่งมีตู้เย็นใบเขื่อง กาต้มน้ำสีขาว หม้อหุงข้าวสะอาดสะอ้าน กะทะสีส้มสด หม้อหุงต้มในตู้
แต่ในความเป็นจริง ครัวของคุณยายไม่เหมือนครัวทั่วไป ตัวอย่างเช่นตู้เย็นใบเขื่องไม่ได้เสียบปลั๊กมาตั้งแต่ปี 1973
“ฉันซื้อมาเมื่อ 40 ปีที่แล้ว แต่ 30 ปีหลังมานี้ใช้เก็บถั่วและจมูกข้าว”
ส่วนหม้อหุงข้าวเต็มไปด้วยข่าวการเมืองที่ตัดจากหนังสือพิมพ์และเก่าจนเหลือง “เป็นที่เก็บกระดาษอย่างดีเชียว”
ขณะที่กะทะสีส้มสดไม่เคยเจอความร้อนมานานแล้ว แม้โจนใช้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวันก็ตาม
“อันนี้เป็นอุปกรณ์ยกน้ำหนักที่เพอร์เฟ็กต์มาก” คุณยายเล่าพร้อมสาธิตด้วยยกกะทะชูขึ้นๆ ลงๆ
“ฉันไม่ได้ทำอาหารมา 35 ปีแล้ว เพราะฉันว่ามันไร้สาระและเสียเวลาเปล่า”
ไม่ใช่แค่ทำครัวอย่างเดียวที่โจนเลิก คุณยายนักอนุรักษ์วัย 67 ปี กินอาหารที่ไม่ผ่านการปรุง (เช่น ผลไม้สด ถั่ว และจมูกข้าว) ไม่มีหลอดไฟในบ้าน ไม่ใช้เครื่องซักผ้า ไม่ขับรถหรือดูทีวี อาบน้ำอุ่นหรือเปิดเครื่องทำความร้อนในบ้านหลังน้อยที่อยู่ทางใต้ของลอนดอน
รายการสิ่งที่คุณยายไม่ทำยังรวมถึงการเดินทางด้วยยานพาหนะที่ต้องใช้เครื่องยนต์ ซึ่งเป็นกฎเหล็กที่เธอฝ่าฝืนมาเพียงสองครั้งนับจากปี 1973 ครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 1991 เมื่อคุณยายไหล่หลุดต้องนั่งรถพยาบาลไปหาหมอ และครั้งที่สองในเดือนมิถุนายน 1992 ที่จำเป็นต้องนั่งรถในขบวนแห่ศพแม่ไปฝังยังสุสาน
โจนเป็นนักรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมตัวยง เธอประหยัดพลังงานมาตลอดสามทศวรรษครึ่ง จนวันนี้ได้รับยกย่องว่าเป็นวีรสตรีสิ่งแวดล้อมแห่งศตวรรษที่ 21
“ฉันตัดสินใจทดลองด้วยวิธีการดำเนินชีวิตโดยใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อพิสูจน์ว่าเราสามารถอยู่รอดได้ และแน่นอนฉันใช้พลังงานน้อยที่สุดตลอด 35 ปีที่ผ่านมาโดยที่รู้สึกว่าชีวิตสุขสบายดี”
โจนไม่ใช่มนุษย์ประหลาด เธอจบปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบริสตอล เป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักเขียน นักวิจัยตลาด และนักกีฬา เธอวิ่งไปทุกที่ด้วยรองเท้าวิ่งราคาประหยัด
จุดเริ่มต้นของการสงวนรักษาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นเมื่อต้นปี 1972 เมื่อโจนเป็นที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่อุตสาหกรรมพลังงาน
“ตอนนั้นอยู่ๆ ฉันก็ตระหนักว่าเราตั้งโจทย์พลังงานผิด ฉันมองว่าโลกคือธุรกิจที่จำเป็นต้องมีการบริหารที่ดี พลังงานเป็นสกุลเงินร่วม และต้นไม้เป็นแรงงานในเศรษฐกิจที่อิงกับพลังงาน”
ด้วยเหตุนี้ โจนจึงนำชีวิตของตัวเองมาเป็นบททดลอง ปี 1973 มอร์ริส ไมเนอร์ รถรุ่นคุณทวด ถูกจอดตายในโรงรถจนถึงวันนี้ ยานพาหนะที่มาแทนที่คือจักรยานที่ปัจจุบันจอดพิงในห้องนอนแขกในสภาพยางแบนและสนิมเขลอะ
ตู้เย็นและหม้อหุงข้าวกลายสภาพเป็นภาชนะเก็บของ ระบบทำความร้อนถูกทอดทิ้ง
ค่าไฟเดือนๆ หนึ่งตกแค่ 7 ปอนด์ (364 บาท) โดยหมดไปกับหลอดประหยัดไฟ และวิทยุมือสอง เครื่องดูดฝุ่นที่ใช้ทุกวันพุธ และกาต้มน้ำสำหรับชงชานม
นอกจากประหยัดไฟแล้ว โจนยังใช้เครื่องใช้อย่างถนอมรักษา ชุดเก้าอี้สีส้มถูกนำกลับมาใช้งานรอบที่สอง สิ่งที่ดูเหมือนโรงงานชีสขนาดใหญ่บนผนังคืองานศิลป์ฝีมือตัวเอง
เธอบอกว่าเธอมีงานทำยุ่งตลอดวัน โจนตื่นตั้งแต่ตี 5.15 ฟังข่าว ตามด้วยการออกไปซื้อหนังสือพิมพ์ตอนหกโมงเช้า อาหารเช้าคือส้มซัทซูมสองลูกกับแอปเปิลหนึ่งลูก จากนั้นจึงไปถึงห้องสมุดตอนแปดโมงครึ่ง
“ฉันไปถึงคนแรกเสมอ ที่นั่นมีกลุ่มเพื่อนที่จะมานั่งคุยกันและอ่านหนังสือพิมพ์ ถ้าเป็นวันพฤหัสฯ ฉันจะอยู่นานหน่อยเพื่ออ่านนิวไซเอนทิสต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการวิจัยด้านพลังงานของฉัน”
มื้อกลางวัน โจนกินจมูกข้าว ถั่วบราซิล และลูกเกด เธอบอกว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการแถมราคาถูก
จบจากนั้น โจนจะนั่งร่างจดหมายร่ายถึงความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งให้นักการเมือง สมาชิกรัฐสภา ผู้นำในอุตสาหกรรม และนักวิเคราะห์ธุรกิจ ด้วยพิมพ์ดีดเก่าแก่ในห้องนั่งเล่น
“ส่วนใหญ่ฉันจะเก็บแรงไว้วิ่งยาวๆ ในวันอาทิตย์ไปกลางลอนดอน ปกติแล้วฉันจะวิ่งสัก 4-5 ชั่วโมง”
โจนหมกมุ่นกับการทำให้ร่างกายแข็งแรงกระปรี้กระเปร่าเสมอ ทุกเย็น เธอจะออกกำลังกายในยิมส่วนตัวที่ไม่ธรรมดาประมาณ 90 นาที
การออกกำลังกายของคุณยายเริ่มต้นขึ้นในครัวด้วยกะทะสีส้ม
“ฉันยกกะทะด้วยแขนข้างละ 360 ครั้ง ต่อด้วยเครื่องบริหารท่ากรรเชียงอีก 360 ครั้ง กระโดดข้ามสิ่งกีดขวางในจำนวนครั้งเท่ากันและเต้นฮูลาฮูปอีกนิดหน่อยในห้องนั่งเล่น จบด้วยการยืดหัวไหล่
“ถ้าคุณไปไหนมาไหนด้วยการวิ่ง สิ่งสำคัญคือการทำให้ร่างกายแข็งแรง การออกกำลังกายยังทำให้ฉันรู้สึกอุ่นสบายก่อนเข้านอน” แน่นอนว่านั่นเป็นสิ่งที่ดีมากในบ้านที่ไม่เปิดเครื่องทำความร้อนไม่ว่าอากาศจะหนาวเหน็บแค่ไหน
แม้บ้านของคุณยายค่อนข้างมืด แต่รับรองได้ว่าสะอาดสะอ้านทุกซอกมุม แต่เมื่อถามถึงอุปกรณ์ทำความสะอาด โจนตอบว่า
“อุปกรณ์เหล่านั้นเป็นต้นเหตุสำคัญของการรั่วไหลและปัญหาต่างๆ ในบ้าน แถมยังต้องเปลี่ยนกันบ่อยๆ ฉันเลยดีใจที่ในบ้านไม่มีของพวกนั้นสักชิ้น
“ส่วนการทำความสะอาดร่างกาย ฉันใช้แค่กาต้มน้ำ เหยือกสองใบ ชามกับที่ขัดตัวแค่นั้น คนส่วนใหญ่มักอาบน้ำและถูตัวมากเกินไป วิธีของฉันดีที่สุดแล้ว”
เนื้อตัวคุณยายดูสะอาดสะอ้านทุกอณูเหมือนบ้านที่อยู่ กระนั้น ชีวิตความเป็นอยู่ของโจนพลอยทำให้นึกถึงอาการกลัวที่ปิดทึบ
“อ๋อ ใช่ แต่ฉันสมมติว่าโลกหดลง ทางแก้ก็แค่เปิดหนังสือพิมพ์อ่านหรือเปิดวิทยุฟังเพื่อติดตามว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในโลกภายนอก ตอนสาวๆ ฉันเดินทางมามากแล้วด้วย”
เมื่อถามว่าแล้วไม่คิดถึงการเดินทางบ้างหรือ คุณยายตอบโดยไม่ต้องคิดว่า
“ไม่ล่ะ การเดินทางทุกวันนี้มันน่าสนุกเสียที่ไหน ทรมาน เสียเวลาอีกต่างหาก ฉันไม่มีวันหยุดมาเป็นทศวรรษแล้ว แต่ฉันก็พอใจที่เป็นแบบนี้ ฉันพยายามทำให้แน่ใจว่าการวิ่งทางไกลทุกครั้งจะพาฉันไปยังสถานที่ใหม่ๆ”
แล้วเพื่อนคู่คิดมิตรคู่ใจเล่า?
“อย่าดีกว่า ฉันไม่อยากมีใคร สามีจะทนกับการใช้ชีวิตแบบนี้ได้หรือ เขาคงคาดหวังว่าฉันจะทำอาหารให้กินวันละสามมื้อ ฝันไปเถอะ”
ไม่น่าแปลกใจที่แรกๆ แม้แต่สมาชิกในครอบครัวยังงุนงงกับพฤติกรรมของคุณยาย
“แต่สุดท้ายฉันคิดว่าแม่ภูมิใจในตัวฉันนะ พี่ชายที่ตอนนี้อยู่ที่ดัลลัสต่างกันกับฉันลิบลับ ส่วนเพื่อนบ้านก็น่ารักดี พวกเขาโบกมือให้เวลาฉันวิ่งผ่านเสมอ ถึงฉันจะมั่นใจว่าบางคนคิดว่าฉันบ้าก็ตาม”
แต่ไม่ว่าใครจะคิดอย่างไร หลังจากใช้ชีวิตแบบนี้มา 35 ปี โจนพอใจกับการที่ใครๆ ยกย่องให้เธอเป็นวีรสตรีสิ่งแวดล้อมสมัยใหม่
“มันทำให้หลายอย่างเปลี่ยนไปมาก ฉันต่อสู้ตามลำพังมา 35 ปี แต่ในที่สุดดูเหมือนคนอื่นๆ จะเริ่มฟังในสิ่งที่ฉันพูด เราต่างรู้ว่าเราใช้พลังงานมากเกินไป เราต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของโลก ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิตอย่างถอนรากถอนโคน”
แต่ถึงเราจะกังวลกับปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่กลับมีคนไม่มากมายนักที่ลุกขึ้นมาแก้ปัญหาจริงๆ จังๆ แบบโจน ถ้าอย่างนั้น คุณยายเคืองไหมเวลาเห็นคนอื่นผลาญพลังงานอย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง
“ไม่เลย ทุกคนมีสไตล์การใช้ชีวิตของตัวเอง ฉันก็เป็นฉัน เป็นผู้บุกเบิกการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในชีวิตประจำวัน”
ถ้าปรนเปรอตัวเองได้ด้วยสิ่งหรูหราฟุ่มเฟือย คุณยายอยากได้อะไร
“อย่าโง่ไปหน่อยเลย ฉันไม่เคยคิดถึงสิ่งเหล่านั้น แม้บางทีจะนึกอยากได้เครื่องพิมพ์ดีดที่ดีกว่านี้บ้างก็ตาม”
แต่ในความเป็นจริง ครัวของคุณยายไม่เหมือนครัวทั่วไป ตัวอย่างเช่นตู้เย็นใบเขื่องไม่ได้เสียบปลั๊กมาตั้งแต่ปี 1973
“ฉันซื้อมาเมื่อ 40 ปีที่แล้ว แต่ 30 ปีหลังมานี้ใช้เก็บถั่วและจมูกข้าว”
ส่วนหม้อหุงข้าวเต็มไปด้วยข่าวการเมืองที่ตัดจากหนังสือพิมพ์และเก่าจนเหลือง “เป็นที่เก็บกระดาษอย่างดีเชียว”
ขณะที่กะทะสีส้มสดไม่เคยเจอความร้อนมานานแล้ว แม้โจนใช้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวันก็ตาม
“อันนี้เป็นอุปกรณ์ยกน้ำหนักที่เพอร์เฟ็กต์มาก” คุณยายเล่าพร้อมสาธิตด้วยยกกะทะชูขึ้นๆ ลงๆ
“ฉันไม่ได้ทำอาหารมา 35 ปีแล้ว เพราะฉันว่ามันไร้สาระและเสียเวลาเปล่า”
ไม่ใช่แค่ทำครัวอย่างเดียวที่โจนเลิก คุณยายนักอนุรักษ์วัย 67 ปี กินอาหารที่ไม่ผ่านการปรุง (เช่น ผลไม้สด ถั่ว และจมูกข้าว) ไม่มีหลอดไฟในบ้าน ไม่ใช้เครื่องซักผ้า ไม่ขับรถหรือดูทีวี อาบน้ำอุ่นหรือเปิดเครื่องทำความร้อนในบ้านหลังน้อยที่อยู่ทางใต้ของลอนดอน
รายการสิ่งที่คุณยายไม่ทำยังรวมถึงการเดินทางด้วยยานพาหนะที่ต้องใช้เครื่องยนต์ ซึ่งเป็นกฎเหล็กที่เธอฝ่าฝืนมาเพียงสองครั้งนับจากปี 1973 ครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 1991 เมื่อคุณยายไหล่หลุดต้องนั่งรถพยาบาลไปหาหมอ และครั้งที่สองในเดือนมิถุนายน 1992 ที่จำเป็นต้องนั่งรถในขบวนแห่ศพแม่ไปฝังยังสุสาน
โจนเป็นนักรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมตัวยง เธอประหยัดพลังงานมาตลอดสามทศวรรษครึ่ง จนวันนี้ได้รับยกย่องว่าเป็นวีรสตรีสิ่งแวดล้อมแห่งศตวรรษที่ 21
“ฉันตัดสินใจทดลองด้วยวิธีการดำเนินชีวิตโดยใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อพิสูจน์ว่าเราสามารถอยู่รอดได้ และแน่นอนฉันใช้พลังงานน้อยที่สุดตลอด 35 ปีที่ผ่านมาโดยที่รู้สึกว่าชีวิตสุขสบายดี”
โจนไม่ใช่มนุษย์ประหลาด เธอจบปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบริสตอล เป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักเขียน นักวิจัยตลาด และนักกีฬา เธอวิ่งไปทุกที่ด้วยรองเท้าวิ่งราคาประหยัด
จุดเริ่มต้นของการสงวนรักษาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นเมื่อต้นปี 1972 เมื่อโจนเป็นที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่อุตสาหกรรมพลังงาน
“ตอนนั้นอยู่ๆ ฉันก็ตระหนักว่าเราตั้งโจทย์พลังงานผิด ฉันมองว่าโลกคือธุรกิจที่จำเป็นต้องมีการบริหารที่ดี พลังงานเป็นสกุลเงินร่วม และต้นไม้เป็นแรงงานในเศรษฐกิจที่อิงกับพลังงาน”
ด้วยเหตุนี้ โจนจึงนำชีวิตของตัวเองมาเป็นบททดลอง ปี 1973 มอร์ริส ไมเนอร์ รถรุ่นคุณทวด ถูกจอดตายในโรงรถจนถึงวันนี้ ยานพาหนะที่มาแทนที่คือจักรยานที่ปัจจุบันจอดพิงในห้องนอนแขกในสภาพยางแบนและสนิมเขลอะ
ตู้เย็นและหม้อหุงข้าวกลายสภาพเป็นภาชนะเก็บของ ระบบทำความร้อนถูกทอดทิ้ง
ค่าไฟเดือนๆ หนึ่งตกแค่ 7 ปอนด์ (364 บาท) โดยหมดไปกับหลอดประหยัดไฟ และวิทยุมือสอง เครื่องดูดฝุ่นที่ใช้ทุกวันพุธ และกาต้มน้ำสำหรับชงชานม
นอกจากประหยัดไฟแล้ว โจนยังใช้เครื่องใช้อย่างถนอมรักษา ชุดเก้าอี้สีส้มถูกนำกลับมาใช้งานรอบที่สอง สิ่งที่ดูเหมือนโรงงานชีสขนาดใหญ่บนผนังคืองานศิลป์ฝีมือตัวเอง
เธอบอกว่าเธอมีงานทำยุ่งตลอดวัน โจนตื่นตั้งแต่ตี 5.15 ฟังข่าว ตามด้วยการออกไปซื้อหนังสือพิมพ์ตอนหกโมงเช้า อาหารเช้าคือส้มซัทซูมสองลูกกับแอปเปิลหนึ่งลูก จากนั้นจึงไปถึงห้องสมุดตอนแปดโมงครึ่ง
“ฉันไปถึงคนแรกเสมอ ที่นั่นมีกลุ่มเพื่อนที่จะมานั่งคุยกันและอ่านหนังสือพิมพ์ ถ้าเป็นวันพฤหัสฯ ฉันจะอยู่นานหน่อยเพื่ออ่านนิวไซเอนทิสต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการวิจัยด้านพลังงานของฉัน”
มื้อกลางวัน โจนกินจมูกข้าว ถั่วบราซิล และลูกเกด เธอบอกว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการแถมราคาถูก
จบจากนั้น โจนจะนั่งร่างจดหมายร่ายถึงความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งให้นักการเมือง สมาชิกรัฐสภา ผู้นำในอุตสาหกรรม และนักวิเคราะห์ธุรกิจ ด้วยพิมพ์ดีดเก่าแก่ในห้องนั่งเล่น
“ส่วนใหญ่ฉันจะเก็บแรงไว้วิ่งยาวๆ ในวันอาทิตย์ไปกลางลอนดอน ปกติแล้วฉันจะวิ่งสัก 4-5 ชั่วโมง”
โจนหมกมุ่นกับการทำให้ร่างกายแข็งแรงกระปรี้กระเปร่าเสมอ ทุกเย็น เธอจะออกกำลังกายในยิมส่วนตัวที่ไม่ธรรมดาประมาณ 90 นาที
การออกกำลังกายของคุณยายเริ่มต้นขึ้นในครัวด้วยกะทะสีส้ม
“ฉันยกกะทะด้วยแขนข้างละ 360 ครั้ง ต่อด้วยเครื่องบริหารท่ากรรเชียงอีก 360 ครั้ง กระโดดข้ามสิ่งกีดขวางในจำนวนครั้งเท่ากันและเต้นฮูลาฮูปอีกนิดหน่อยในห้องนั่งเล่น จบด้วยการยืดหัวไหล่
“ถ้าคุณไปไหนมาไหนด้วยการวิ่ง สิ่งสำคัญคือการทำให้ร่างกายแข็งแรง การออกกำลังกายยังทำให้ฉันรู้สึกอุ่นสบายก่อนเข้านอน” แน่นอนว่านั่นเป็นสิ่งที่ดีมากในบ้านที่ไม่เปิดเครื่องทำความร้อนไม่ว่าอากาศจะหนาวเหน็บแค่ไหน
แม้บ้านของคุณยายค่อนข้างมืด แต่รับรองได้ว่าสะอาดสะอ้านทุกซอกมุม แต่เมื่อถามถึงอุปกรณ์ทำความสะอาด โจนตอบว่า
“อุปกรณ์เหล่านั้นเป็นต้นเหตุสำคัญของการรั่วไหลและปัญหาต่างๆ ในบ้าน แถมยังต้องเปลี่ยนกันบ่อยๆ ฉันเลยดีใจที่ในบ้านไม่มีของพวกนั้นสักชิ้น
“ส่วนการทำความสะอาดร่างกาย ฉันใช้แค่กาต้มน้ำ เหยือกสองใบ ชามกับที่ขัดตัวแค่นั้น คนส่วนใหญ่มักอาบน้ำและถูตัวมากเกินไป วิธีของฉันดีที่สุดแล้ว”
เนื้อตัวคุณยายดูสะอาดสะอ้านทุกอณูเหมือนบ้านที่อยู่ กระนั้น ชีวิตความเป็นอยู่ของโจนพลอยทำให้นึกถึงอาการกลัวที่ปิดทึบ
“อ๋อ ใช่ แต่ฉันสมมติว่าโลกหดลง ทางแก้ก็แค่เปิดหนังสือพิมพ์อ่านหรือเปิดวิทยุฟังเพื่อติดตามว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในโลกภายนอก ตอนสาวๆ ฉันเดินทางมามากแล้วด้วย”
เมื่อถามว่าแล้วไม่คิดถึงการเดินทางบ้างหรือ คุณยายตอบโดยไม่ต้องคิดว่า
“ไม่ล่ะ การเดินทางทุกวันนี้มันน่าสนุกเสียที่ไหน ทรมาน เสียเวลาอีกต่างหาก ฉันไม่มีวันหยุดมาเป็นทศวรรษแล้ว แต่ฉันก็พอใจที่เป็นแบบนี้ ฉันพยายามทำให้แน่ใจว่าการวิ่งทางไกลทุกครั้งจะพาฉันไปยังสถานที่ใหม่ๆ”
แล้วเพื่อนคู่คิดมิตรคู่ใจเล่า?
“อย่าดีกว่า ฉันไม่อยากมีใคร สามีจะทนกับการใช้ชีวิตแบบนี้ได้หรือ เขาคงคาดหวังว่าฉันจะทำอาหารให้กินวันละสามมื้อ ฝันไปเถอะ”
ไม่น่าแปลกใจที่แรกๆ แม้แต่สมาชิกในครอบครัวยังงุนงงกับพฤติกรรมของคุณยาย
“แต่สุดท้ายฉันคิดว่าแม่ภูมิใจในตัวฉันนะ พี่ชายที่ตอนนี้อยู่ที่ดัลลัสต่างกันกับฉันลิบลับ ส่วนเพื่อนบ้านก็น่ารักดี พวกเขาโบกมือให้เวลาฉันวิ่งผ่านเสมอ ถึงฉันจะมั่นใจว่าบางคนคิดว่าฉันบ้าก็ตาม”
แต่ไม่ว่าใครจะคิดอย่างไร หลังจากใช้ชีวิตแบบนี้มา 35 ปี โจนพอใจกับการที่ใครๆ ยกย่องให้เธอเป็นวีรสตรีสิ่งแวดล้อมสมัยใหม่
“มันทำให้หลายอย่างเปลี่ยนไปมาก ฉันต่อสู้ตามลำพังมา 35 ปี แต่ในที่สุดดูเหมือนคนอื่นๆ จะเริ่มฟังในสิ่งที่ฉันพูด เราต่างรู้ว่าเราใช้พลังงานมากเกินไป เราต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของโลก ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิตอย่างถอนรากถอนโคน”
แต่ถึงเราจะกังวลกับปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่กลับมีคนไม่มากมายนักที่ลุกขึ้นมาแก้ปัญหาจริงๆ จังๆ แบบโจน ถ้าอย่างนั้น คุณยายเคืองไหมเวลาเห็นคนอื่นผลาญพลังงานอย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง
“ไม่เลย ทุกคนมีสไตล์การใช้ชีวิตของตัวเอง ฉันก็เป็นฉัน เป็นผู้บุกเบิกการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในชีวิตประจำวัน”
ถ้าปรนเปรอตัวเองได้ด้วยสิ่งหรูหราฟุ่มเฟือย คุณยายอยากได้อะไร
“อย่าโง่ไปหน่อยเลย ฉันไม่เคยคิดถึงสิ่งเหล่านั้น แม้บางทีจะนึกอยากได้เครื่องพิมพ์ดีดที่ดีกว่านี้บ้างก็ตาม”