อายุยืนขึ้นหลักร้อยไม่ใช่เรื่องยาก ผลวิจัยใหม่สุดเซอร์ไพรส์ระบุแม้แต่คนที่เป็นโรคหัวใจหรือเบาหวานเมื่อแก่ยังมีโอกาสมีอายุยืนถึงหนึ่งศตวรรษ
ดร.วิลเลียม ฮอลล์ จากมหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ สหรัฐฯ บอกว่าคนมักคิดว่าการมีอายุร้อยปีเป็นโอกาสที่จำกัดสำหรับคนที่ไม่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังเท่านั้น
แต่ในบทบรรณาธิการของอาร์ไคฟ์ส ออฟ อินเทอร์นัล เมดิซิน ฮอลล์ได้รายงานผลศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบอสตัน ที่ทำการสัมภาษณ์และประเมินผลสุขภาพผู้หญิงกว่า 500 คน และผู้ชาย 200 คนที่อายุเกิน 100 ปีทางโทรศัพท์ ซึ่งพบว่า 2 ใน 3 ไม่เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะสูงวัย
ส่วนที่เหลือที่นักวิจัยเรียกว่า ‘ผู้รอดชีวิต’ เป็นโรคเกี่ยวกับภาวะสูงวัยก่อนอายุ 85 ปี ซึ่งรวมถึงโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือเบาหวาน อย่างไรก็ดี คนเหล่านี้ยังมีสมรรถนะโดยรวมแข็งแรงเกือบเท่ากับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มแรก
โดยรวมแล้ว ผู้ชายแข็งแรงกว่าผู้หญิง เกือบ 3 ใน 4 ของผู้รอดชีวิตเพศชายสามารถอาบน้ำและแต่งตัวเองได้ ขณะที่ผู้รอดชีวิตเพศหญิงเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่ทำแบบเดียวกันนี้ได้
ดร.เดลลารา เทอร์รี ผู้จัดทำรายงานฉบับนี้ และนักวิจัยคนอื่นๆ คิดว่า เนื่องจากผู้ชายต้องมีสภาวะที่แข็งแรงเป็นพิเศษจึงจะสามารถมีอายุถึงร้อยปีได้ ในทางกลับกัน ผู้หญิงสามารถอยู่กับโรคเรื้อรัง และบ่อยครั้งรวมถึงความบกพร่องของร่างกายได้ดีกว่าทั้งในแง่ร่างกายและจิตใจ
โรซา แมกกี เป็นหนึ่งในคุณทวดสุขภาพดีที่สามารถหลีกเลี่ยงโรคเรื้อรังมาได้จนถึงขณะนี้
“ชีวิตฉันราบรื่นมีความสุข ฉันไม่เคยกินยา ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า” คุณทวดวัย 104 ปี อดีตแม่ครัวและช่างเย็บเสื้อที่ทุกวันนี้สายตายังใช้ได้ดีบอก
แมกกีอยู่ตัวคนเดียวมาจนกระทั่งหกล้มเมื่อสองปีที่แล้วในบ้านที่เซนต์หลุย ลูกสาวจึงพาย้ายไปอยู่ด้วยกันในอพาร์ตเมนท์ที่ชิคาโก ที่นั่น คุณทวดไม่ค่อยได้ไปไหน แต่เดินเล่นบริเวณทางเดินของอพาร์ตเมนท์บ้างสัปดาห์ละ 2-3 เที่ยวโดยมีลูกสาวคอยประคอง และมีแพทย์และพยาบาลแวะมาตรวจสุขภาพเป็นประจำ
นอกจากพระเจ้าที่เจ้าตัวเชื่อว่าช่วยให้อายุยืนยาวแล้ว ยีนยังอาจมีส่วนในเรื่องนี้ โดยคุณตา-คุณยายของแมกกีมีอายุยืนถึง 100 และ 107 ปีตามลำดับ
กระนั้น นักวิจัยไม่เชื่อว่าสาเหตุมาจากพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว
ในการศึกษาชิ้นที่สองซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า พบว่าผู้ชายในวัย 70 ปีที่ไม่สูบบุหรี่ ไม่เป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคความดันโลหิตสูง รวมถึงออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง มีโอกาสมากขึ้นถึง 54% ที่จะมีอายุยืนถึง 90 ปี โดยที่สมรรถนะทั้งร่างกายและจิตใจยังแข็งแรงดี
โอกาสมีชีวิตรอดของบุคคลเหล่านี้จะลดลงตามปัจจัยเสี่ยงแต่ละอย่าง โดยคนที่มีปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดตามที่กล่าวมามีโอกาสมีอายุถึง 90 ปีเพียง 4%
การศึกษานี้เป็นการติดตามผลผู้ชาย 2.357 คนเป็นเวลา 25 ปีโดยประมาณ หรือกระทั่งบุคคลเหล่านั้นเสียชีวิต โดยเริ่มขึ้นเมื่อต้นทศวรรษ 1980 ขณะที่คนเหล่านี้อายุ 72 ปี ซึ่งพบว่าราว 41% หรือ 970 คน มีอายุยืนจนถึง 90 ปีเป็นอย่างน้อย และ 24% ไม่มีปัจจัยเสี่ยงใดๆ
ผลศึกษาระบุว่า คนที่ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ไม่สูบบุหรี่ มีน้ำหนักตัวและระดับความดันโลหิตปกติ และไม่เป็นโรคเบาหวาน มีโอกาสถึง 54% ที่จะอยู่จนถึงอายุ 90 ปี
ดร.ลอเรล เยตส์ จากโรงพยายาลสตรีบริกแฮมในบอสตัน กล่าวว่าพันธุกรรมมีบทบาทต่อเรื่องนี้เพียง 30% เท่านั้น ที่เหลือเป็นเรื่องของรูปแบบการดำเนินชีวิตล้วนๆ
ดร.เยตส์เสริมว่า ไม่มีคำว่าสายเกินไปในการหันมาใช้ชีวิตในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น แม้ว่าผลวิจัยไม่ได้บอกว่า การเลิกบุหรี่ ลดน้ำหนัก และออกกำลังกายเมื่ออายุ 70 ปี จะทำให้ชีวิตยืนยาวขึ้นหรือไม่ก็ตาม
ดร.วิลเลียม ฮอลล์ จากมหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ สหรัฐฯ บอกว่าคนมักคิดว่าการมีอายุร้อยปีเป็นโอกาสที่จำกัดสำหรับคนที่ไม่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังเท่านั้น
แต่ในบทบรรณาธิการของอาร์ไคฟ์ส ออฟ อินเทอร์นัล เมดิซิน ฮอลล์ได้รายงานผลศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบอสตัน ที่ทำการสัมภาษณ์และประเมินผลสุขภาพผู้หญิงกว่า 500 คน และผู้ชาย 200 คนที่อายุเกิน 100 ปีทางโทรศัพท์ ซึ่งพบว่า 2 ใน 3 ไม่เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะสูงวัย
ส่วนที่เหลือที่นักวิจัยเรียกว่า ‘ผู้รอดชีวิต’ เป็นโรคเกี่ยวกับภาวะสูงวัยก่อนอายุ 85 ปี ซึ่งรวมถึงโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือเบาหวาน อย่างไรก็ดี คนเหล่านี้ยังมีสมรรถนะโดยรวมแข็งแรงเกือบเท่ากับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มแรก
โดยรวมแล้ว ผู้ชายแข็งแรงกว่าผู้หญิง เกือบ 3 ใน 4 ของผู้รอดชีวิตเพศชายสามารถอาบน้ำและแต่งตัวเองได้ ขณะที่ผู้รอดชีวิตเพศหญิงเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่ทำแบบเดียวกันนี้ได้
ดร.เดลลารา เทอร์รี ผู้จัดทำรายงานฉบับนี้ และนักวิจัยคนอื่นๆ คิดว่า เนื่องจากผู้ชายต้องมีสภาวะที่แข็งแรงเป็นพิเศษจึงจะสามารถมีอายุถึงร้อยปีได้ ในทางกลับกัน ผู้หญิงสามารถอยู่กับโรคเรื้อรัง และบ่อยครั้งรวมถึงความบกพร่องของร่างกายได้ดีกว่าทั้งในแง่ร่างกายและจิตใจ
โรซา แมกกี เป็นหนึ่งในคุณทวดสุขภาพดีที่สามารถหลีกเลี่ยงโรคเรื้อรังมาได้จนถึงขณะนี้
“ชีวิตฉันราบรื่นมีความสุข ฉันไม่เคยกินยา ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า” คุณทวดวัย 104 ปี อดีตแม่ครัวและช่างเย็บเสื้อที่ทุกวันนี้สายตายังใช้ได้ดีบอก
แมกกีอยู่ตัวคนเดียวมาจนกระทั่งหกล้มเมื่อสองปีที่แล้วในบ้านที่เซนต์หลุย ลูกสาวจึงพาย้ายไปอยู่ด้วยกันในอพาร์ตเมนท์ที่ชิคาโก ที่นั่น คุณทวดไม่ค่อยได้ไปไหน แต่เดินเล่นบริเวณทางเดินของอพาร์ตเมนท์บ้างสัปดาห์ละ 2-3 เที่ยวโดยมีลูกสาวคอยประคอง และมีแพทย์และพยาบาลแวะมาตรวจสุขภาพเป็นประจำ
นอกจากพระเจ้าที่เจ้าตัวเชื่อว่าช่วยให้อายุยืนยาวแล้ว ยีนยังอาจมีส่วนในเรื่องนี้ โดยคุณตา-คุณยายของแมกกีมีอายุยืนถึง 100 และ 107 ปีตามลำดับ
กระนั้น นักวิจัยไม่เชื่อว่าสาเหตุมาจากพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว
ในการศึกษาชิ้นที่สองซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า พบว่าผู้ชายในวัย 70 ปีที่ไม่สูบบุหรี่ ไม่เป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคความดันโลหิตสูง รวมถึงออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง มีโอกาสมากขึ้นถึง 54% ที่จะมีอายุยืนถึง 90 ปี โดยที่สมรรถนะทั้งร่างกายและจิตใจยังแข็งแรงดี
โอกาสมีชีวิตรอดของบุคคลเหล่านี้จะลดลงตามปัจจัยเสี่ยงแต่ละอย่าง โดยคนที่มีปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดตามที่กล่าวมามีโอกาสมีอายุถึง 90 ปีเพียง 4%
การศึกษานี้เป็นการติดตามผลผู้ชาย 2.357 คนเป็นเวลา 25 ปีโดยประมาณ หรือกระทั่งบุคคลเหล่านั้นเสียชีวิต โดยเริ่มขึ้นเมื่อต้นทศวรรษ 1980 ขณะที่คนเหล่านี้อายุ 72 ปี ซึ่งพบว่าราว 41% หรือ 970 คน มีอายุยืนจนถึง 90 ปีเป็นอย่างน้อย และ 24% ไม่มีปัจจัยเสี่ยงใดๆ
ผลศึกษาระบุว่า คนที่ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ไม่สูบบุหรี่ มีน้ำหนักตัวและระดับความดันโลหิตปกติ และไม่เป็นโรคเบาหวาน มีโอกาสถึง 54% ที่จะอยู่จนถึงอายุ 90 ปี
ดร.ลอเรล เยตส์ จากโรงพยายาลสตรีบริกแฮมในบอสตัน กล่าวว่าพันธุกรรมมีบทบาทต่อเรื่องนี้เพียง 30% เท่านั้น ที่เหลือเป็นเรื่องของรูปแบบการดำเนินชีวิตล้วนๆ
ดร.เยตส์เสริมว่า ไม่มีคำว่าสายเกินไปในการหันมาใช้ชีวิตในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น แม้ว่าผลวิจัยไม่ได้บอกว่า การเลิกบุหรี่ ลดน้ำหนัก และออกกำลังกายเมื่ออายุ 70 ปี จะทำให้ชีวิตยืนยาวขึ้นหรือไม่ก็ตาม