ผู้จัดการรายวัน – ขสมก. เตรียมประกาศที่โออาร์เมล์ เอ็นจีวี 4,000 คัน ลงเวปไซต์รับฟังความคิดเห็นวันนี้ (18พ.ย.) เร่งประมูล 11 ธ.ค. ประธานบอร์ดยันต้องเช่าเมล์เอ็นจีวีสถานเดียว อ้าง ขสมก.เงินขาด แบกหนี้สะสมกว่า 7 หมื่นล้าน แฉทีโออาร์เช่ารถแอร์เอ็นจีวี มูลค่า 7 หมื่นล้านส่อพิรุธ ไม่มีการตั้งที่ปรึกษาศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ จับตาหวั่นมีการล็อกสเปกให้กับกลุ่มบริษัทที่มีเครือข่ายของนักการเมืองอยู่เบื้องหลัง เอกชนชี้โครงการนี้มีเจ๊งกับเจ๊งในแง่บริหารจัดการเดินรถไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนแน่
นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยภายหลังการประชุมฯ เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 51 ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบการจัดทำเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) โครงการจัดเช่ารถเมล์ 4,000 คัน ตามที่คณะกรรมการร่างทีโออาร์ ที่มีนายชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นประธาน เสนอ โดยขั้นตอนต่อไปนั้น ทางคณะกรรมการฯจะมีการประกาศร่างทีโออาร์ลงบนเวปไซด์ของขสมก. เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
โดยจะเปิดรับฟังความคิดเห็น 3 ครั้ง เริ่มต้นครั้งแรกวันที่ 18 - 20 พ.ย.51 ครั้งที่ 2 วันที่ 25-28 พ.ย.51 และครั้งที่ 3 วันที่ 2-4 ธันวาคม 2551 โดยจะมีการนำร่างทีโออาร์ขึ้นโพสท์บนเว็บไซต์ของ ขสมก.,กระทรวงการคลัง, กระทรวงคมนาคม, กรมการขนส่งทางบก ซึ่งทุกครั้งคณะกรรมการร่างฯจะพิจารณาข้อคิดเห็น และส่งให้บอร์ดพิจารณาด้วย โดยวันที่ 9 ธันวาคม 2551 บอร์ดจะพิจารณาเป็นครั้งสุดท้าย และจะมีการประกาศประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-อ๊อคชั่น) ในวันที่ 11 ธันวาคม 2551 และใช้เวลา 30 วัน เพื่อพิจารณาเงื่อนไข และจะประกาศผล ทั้งนี้คาดว่าขั้นตอนทั้งหมดจะเสร็จสิ้นในเดือนมกราคม 2552
สำหรับคุณสมบัติของรถที่จัดเช่าทั้ง 4,000 คัน นั้น คณะกรรมการฯได้กำหนดว่า จะต้องเป็นรถใช้ก๊าซเอ็นจีวี และมีติดตั้งระบบตั๋วเก็บเงินอัตโนมัติ (E-Ticket) ระบบติดตามผ่านดาวเทียม (GPS) และมีการสรุปค่าเช่าเบื้องต้นอยู่ที่ประมาณ 4,000 บาท ต่อคันต่อวัน ส่วนราคากลางของโครงการในตลอดสัญญาเช่านั้น จะต้องรอผลการประกวดราคาว่า ราคาที่ได้จะมีราคาที่ต่ำกว่าราคากลางเท่าใด
“ที่ผ่านมามีข้อโต้แย้งว่า การจัดหารถ วิธีเช่าหรือซื้อดีกว่ากันในส่วนนี้ก็อยากบอกว่า วิธีเช่าดีที่สุด เพราะเป็นการต่อลมหายใจของขสมก.ให้มีรถใหม่เข้ามาใช้งาน และต้องยอมรับตามตรงว่า ขสมก.ไม่มีเงินก้อนใหญ่มาจัดซื้อรถในครั้งเดียว และปัจจุบันก็ทราบดีว่า ขสมก.มีผลขาดทุนสะสมกว่า 70,000 ล้านบาท และจะสูงเป็น 100,000 ล้านบาทหากไม่ทำอะไร” นายปิยะพันธ์กล่าว
นอกจากที่ประชุมยังมีมติ ตั้งคณะกรรมการขึ้น 1 ชุด เพื่อตรวจสอบ สภาพรถเก่าของของขสมก. ที่มีอยู่ ที่ในอนาคต จะถูกนำมารวมกับรถเมล์เช่าใหม่ 4,000 คัน โดยจะมีนายชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นประธาน โดยเบื้องต้นจะมีรถอยู่ในข่ายพิจารณา 1,800 คัน หากการพิจารณาสภาพของรถเหล่านี้ ไม่ครบตามจำนวน ที่จะทำให้การจัดหารถทั้ง 2 ส่วนครบ 6,000 คัน ก็จะเปิดโอกาสให้เอกชน เข้าร่วมเดินรถในอนาคต โดยรถของเอกชนนี้ต้องมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดของทีโออาร์โครงการเช่ารถ 4,000 คันด้วย
นอกจากนี้นายปิยะพันธ์กล่าวว่าด้วยว่า หลังจากทำแผนจัดหารถแล้วเสร็จ ขสมก.จะเดินหน้า แผนฟื้นฟูกิจการ เพื่อสางปัญหา หนี้และขาดทุนสะสม 70,000 ล้านบาท ของขสมก. ขณะเดียวกัน ก็จะมีการขอสภาพคล่องหมุนเวียนในการบริหารงาน ขสมก.เพิ่มเติมจากรัฐบาลอีก 3,500 ล้านบาท
***อัดเละหวั่นทีโออาร์ไม่โปร่งใส
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงข้อกำหนดทีโออาร์การเช่ารถโดยสารปรับอากาศใหม่ ใช้ก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวี จำนวน 4,000 คันมูลค่า 70,707,800 ล้านบาท มีระยะเวลา 10 ปี ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)ว่าข้อกำหนดดังกล่าวนั้นมีข้อสังเกตหลายประการที่ไม่มีความโปร่งใส เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นโครงการขนาดใหญ่ มีมูลค่าการจัดซื้อจ้างในวงเงินสูงกว่า 7 หมื่นล้านบาท แต่กลับไม่มีการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อสำรวจความเป็นไปได้ของโครงการดังกล่าวเลย แต่ที่ประชุมมีการอ้างว่าอัตราค่าจ้างที่ปรึกษามีวงเงินสูง และใช้ระยะเวลาในการดำเนินการนานและมีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรสูงและใช้บุคลากรมากเกินไป จึงไม่มีการจัดจ้างที่ปรึกษา แต่ให้คณะกรรมการเป็นผู้กำหนดร่างขอบเขตงานหรือทีโออาร์ขึ้นมาเอง
สำหรับเงื่อนไขในทีโออาร์ดังกล่าวกำหนดให้มีการติดตั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย ระบบอิเล็กทรอนิกส์รถยนต์ปรับอากาศใช้ก๊าซเอ็นจีวี จำนวน 4 พันคัน และบนรถโดยสารปรับอากาศ(เครื่องยนต์ดีเซล) จำนวน 1,800 คันซึ่งเป็นรถเก่าของ ขสมก. นอกจากนี้ต้องมีการติดตั้งระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ E-Ticket พร้อมอุปกรณ์ ติดตั้งระบบควบคุมและติดตามการเดินรถ GPS , GPRS และ CCTV พร้อมอุปกรณ์ และติดตั้งป้ายอัจฉริยะพร้อมอุปกรณ์ บริเวณป้ายรถเมล์ไม่น้อยกว่า 40 ชุด ซึ่งการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวนี้จะเห็นได้ว่ามีเพียงเอกชนบางรายเท่านั้นที่มีศักยภาพและมีความสามารถที่ดำเนินการได้ ซึ่งเป็นเอกชนรายหนึ่ง ซึ่งมีนักการเมืองเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นพรรคใหญ่ในรัฐบาลชุดนี้อยู่เบื้องหลัง
“เป็นที่รู้กันว่าบริษัทนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อทำธุรกิจเกี่ยวกับระบบ GPS และ GPRS ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของเอกชนที่ทำธุรกิจด้านสื่อสารและประมูลงานในกองสลาก โดยมีนายทุนกลุ่มการเมืองอยู่เบื้องหลัง ทำให้รัฐบาลชุดนี้พยายามผลักดันโครงการต่าง ๆ กลับขึ้นมาอีกครั้งรวมถึงโครงการรถเมล์แอร์เอ็นจีวีที่มีการติดตั้งระบบการเดินรถด้วย GPS และ GPRS ซึ่งรถเมล์ที่นำมาใช้นั้นวิ่งประจำทางอยู่แล้วจึงไม่มีความจำเป็นต้องมีการติดตั้งเครื่องมือดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่แปลกในการตั้งเงื่อนไขดังกล่าวขึ้นมา”แหล่งข่าวคนเดียวกัน ตั้งข้อสังเกต
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่าเงื่อนไขในทีโออาร์ กำหนดว่าให้ขสมก.เป็นผู้จัดหาอู่จอดรถ ประกอบด้วย ลานจอดรถ โรงซ่อม สถานที่ทำการต่าง ๆ สถานที่สำหรับก่อสร้างสถานีบริการก๊าซเอ็นจีวี และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และในกรณีที่ ขสมก.ไม่สามารถจัดหาอู่จอดรถได้ ขสมก.จะแจ้งให้ผู้เสนอราคาทราบภายใน 90 วันนับถัดจากวันที่ลงนามในสัญญา และให้ผู้เสนอราคาเป็นผู้จัดหาอู่จอดรถพร้อมดำเนินการทางสัญญาและส่งมอบอู่จอดรถให้ขสมก.ใน 9 เดือน ให้เสร็จสิ้นพร้อมการส่งมอบ ซึ่งเงื่อนดังกล่าวนี้คาดว่า ขสมก.ก็ไม่สามารถหาพื้นที่ดังกล่าวได้และในที่สุดก็ต้องให้เอกชนเป็นผู้จัดหาพื้นที่ เองตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะมีเอกชนบางรายเท่านั้นที่มีความพร้อมและต้องมีการเตรียมพื้นที่ไว้รองรับอยู่แล้ว เพราะพื้นที่ในการสร้างอู่จอดรถกว่า 22 แห่งกำหนดเนื้อที่ไว้แต่ละแห่งประมาณ 15-16 ไร่ จึงเป็นไปได้ยากในการหาพื้นที่ดังกล่าวในเวลาอันสั้น
เป็นที่น่าสังเกตว่าก่อนหน้านี้ในที่ประชุมซึ่งมี พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะทำงานได้มีมติให้รัฐเป็นผู้จัดหาที่ดินเอง เนื่องจากการซื้อที่ดินในระยะยาวนั้นมูลค่าที่ดินจะเพิ่มขึ้น แต่ในทีโออาร์เปิดทางให้เอกชนเป็นคนจัดหาในกรณีที่ขสมก.ไม่สามารถจัดหาได้เอง ซึ่งเป็นการผิดเงื่อนไข
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่าระยะเวลาการเช่ารถเมล์แอร์เอ็นจีวีนั้นมีระยะเวลาเพียง 10 ปีเท่านั้น แต่เงื่อนไขกำหนดให้ ปตท.เป็นผู้ลงทุนในการเชื่อมท่อก๊าซและสถานีบริการในกรณีเป็นพื้นที่ของรัฐหรือมีสัญญาเช่าต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 20 ปี ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากในการที่จะให้บริษัท ปตท.เข้ามาตั้งสถานีก๊าซและลงทุนเชื่อมต่อท่อก๊าซ เพราะเงื่อนไขกำหนดให้เอกชนมีระยะเวลาดำเนินการเพียง 10 ปีเท่านั้น ซึ่งอาจจะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน
สำหรับเงื่อนไขการสัญญาเช่ารถนั้นกำหนดให้ยืดหยุ่นในการปรับเพิ่มหรือลดในกรณีที่ผู้โดยสารไม่เป็นไปตามเป้าหมายและให้ระบุเงื่อนไขให้ทบทวนสัญญาได้ทุก 3-4 ปีหลังจากมีการประเมินผลหรือการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐ ซึ่งเงื่อนไขนี้เอกชนชี้ว่าไม่สามารถทำได้เช่นกัน เพราะทุก 3-4 ปีหากมีการขาดทุนไม่เป็นไปตามเป้าเท่ากับว่าสัญญาทำไปกว่าเกือบครึ่งแล้ว คาดว่า 4 พันคันขาดทุน 15 ล้านบาทต่อวัน ช่วง 3-4 ปีก็คิดเป็นเม็ดเงินหลายพันล้านบาท
“โครงการนี้ทำไปก็มีแต่ขาดทุน เพราะเส้นทางที่กำหนดขึ้นมาใหม่ 400 เส้นทางล้วนแต่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ แถมวิ่งอยู่รอบนอกและปริมณฑล และยังกำหนดให้ทุกๆ 3 นาทีต้องมีปล่อยรถ และถ้าไม่ใช่เป็นช่วงผู้โดยสารหนาแน่นก็จะทำให้ขสมก.ต้องวิ่งรถเปล่าไม่มีผู้โดยสารและในที่สุดต้องประสบภาวการณ์ขาดทุนอย่างแน่นอน แต่รัฐบาลชุดนี้ก็พยายามดันทุรังผลักดันโครงการนี้ให้ได้”แหล่งข่าวคนเดียวกันกล่าว
อย่างไรก็ตามในการกำหนดพื้นที่อู่จอดต่าง ๆ นั้นส่วนใหญ่จะต้องอยู่รอบนอกกรุงเทพฯหรือปริมณฑล ซึ่งทำให้มีต้นทุนในการเดินทาง เพราะพื้นที่จอดรถนั้นไม่สอดคล้องกับพื้นที่ในการให้บริการ และมั่นใจว่าหากปริมาณรถเมล์ปรับอากาศจำนวน 4 พันคันหากมีการให้บริการจริง ๆ จะทำให้เกิดปัญหาความแออัดขึ้น ในท้องถนนอย่างแน่นอน เพราะเป็นรถที่มีขนาดใหญ่ ปัจจุบันขสมก.มีรถที่ให้บริการอยู่แล้วประมาณ 2 พันคันก็ยังสร้างปัญหาความแออัดบนท้องถนน
***จับตาเจ๊งรอเอกชนเซ้งต่อ
แหล่งข่าวจากพรรคร่วมรัฐบาล กล่าวว่าโครงการรถเมล์ปรับอากาศเอ็นจีวีนี้เคยมีการถูกกล่าวหาและโจมตีว่าส่อเค้ามีการทุจริต เพราะไม่มีความโปร่งใส เพราะหากมีการเปรียบเทียบระหว่างวิธีการซื้อและการเช่า เฉลี่ยการซื้อคันละประมาณ 2 ล้านบาท จำนวน 4 พันคันใช้งบประมาณเพียง 8,000 พันล้านบาทเท่านั้น แถมให้ค่าซ่อมบำรุงต่าง ๆอีก 2,000 พันล้านบาทคาดว่าใช้งบประมาณเพียง 10,000 ล้านบาทเท่านั้น
ขณะที่การเช่าจากเอกชนช่วง 10 ปีจะต้องใช้งบประมาณถึง 70,707,800 ล้านบาท คิดค่าเช่าคันละ 4,843 บาท/คัน/ วัน เมื่อเปรียบเทียบวิธีการซื้อและการเช่าจากเอกชนจะเห็นว่าวิธีการซื้อนั้นสามารถประมาณได้มากกว่า แต่รัฐบาลและนักการเมืองที่อยู่เบื้องหลังโครงการดังกล่าวมีการวิ่งเต้นในระดับกระทรวงเพื่อผลักดันโครงการนี้ให้ได้ ถึงแม้จะมีการคัดค้านแต่ก็อ้างว่าเป็นการนำมาให้บริการประชาชน และในที่สุด ขสมก.จะไม่สามารถแบกรับภาระขาดทุนจากการให้บริการได้ ในที่สุดจะต้องเลิกกิจการและขายสัมปทานให้กับเอกชนไปดำเนินการแทน
“สมัยก่อนนักการเมืองมีการทุจริตในรูปแบบของการจัดซื้อเพื่อหวังคอมมิชั่น แต่รูปแบบเดียวนี้เริ่มหาผลประโยชน์ตั้งแต่เริ่มโครงการจนสุดท้ายประสบภาวะขาดทุนและมีกลุ่มทุนทางการเมืองหรือพรรคพวกเตรียมเข้ามาฮุบกิจการ และโละของถูกให้กับกลุ่มทุนที่สนใจทั้งๆ ที่รู้ว่าโครงการนี้ทำไปนั้นต้องขาดทุนอย่างแน่นอนแถมมีความพยายามในการรีบเร่งให้ทันในรัฐบาลชุดนี้”แหล่งข่าวคนเดียวกัน กล่าวย้ำ
***รฟม.สร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว
นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว 2 เส้นทาง คือ สายสีเขียวอ่อน เส้นทางบางหว้า-สมุทรปราการ และสายสีเขียวเข้ม เส้นทางหมอชิต-สะพานใหม่ โดยในที่ประชุมเห็นชอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดำเนินการ โดยจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในสัปดาห์หน้า
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีมูลค่างานก่อสร้างและงานระบบรวม 6.5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นการก่อสร้างงานโยธา 4 หมื่นล้านบาท และงานระบบและรถไฟฟ้า 2.5 หมื่นล้านบาท.
นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยภายหลังการประชุมฯ เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 51 ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบการจัดทำเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) โครงการจัดเช่ารถเมล์ 4,000 คัน ตามที่คณะกรรมการร่างทีโออาร์ ที่มีนายชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นประธาน เสนอ โดยขั้นตอนต่อไปนั้น ทางคณะกรรมการฯจะมีการประกาศร่างทีโออาร์ลงบนเวปไซด์ของขสมก. เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
โดยจะเปิดรับฟังความคิดเห็น 3 ครั้ง เริ่มต้นครั้งแรกวันที่ 18 - 20 พ.ย.51 ครั้งที่ 2 วันที่ 25-28 พ.ย.51 และครั้งที่ 3 วันที่ 2-4 ธันวาคม 2551 โดยจะมีการนำร่างทีโออาร์ขึ้นโพสท์บนเว็บไซต์ของ ขสมก.,กระทรวงการคลัง, กระทรวงคมนาคม, กรมการขนส่งทางบก ซึ่งทุกครั้งคณะกรรมการร่างฯจะพิจารณาข้อคิดเห็น และส่งให้บอร์ดพิจารณาด้วย โดยวันที่ 9 ธันวาคม 2551 บอร์ดจะพิจารณาเป็นครั้งสุดท้าย และจะมีการประกาศประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-อ๊อคชั่น) ในวันที่ 11 ธันวาคม 2551 และใช้เวลา 30 วัน เพื่อพิจารณาเงื่อนไข และจะประกาศผล ทั้งนี้คาดว่าขั้นตอนทั้งหมดจะเสร็จสิ้นในเดือนมกราคม 2552
สำหรับคุณสมบัติของรถที่จัดเช่าทั้ง 4,000 คัน นั้น คณะกรรมการฯได้กำหนดว่า จะต้องเป็นรถใช้ก๊าซเอ็นจีวี และมีติดตั้งระบบตั๋วเก็บเงินอัตโนมัติ (E-Ticket) ระบบติดตามผ่านดาวเทียม (GPS) และมีการสรุปค่าเช่าเบื้องต้นอยู่ที่ประมาณ 4,000 บาท ต่อคันต่อวัน ส่วนราคากลางของโครงการในตลอดสัญญาเช่านั้น จะต้องรอผลการประกวดราคาว่า ราคาที่ได้จะมีราคาที่ต่ำกว่าราคากลางเท่าใด
“ที่ผ่านมามีข้อโต้แย้งว่า การจัดหารถ วิธีเช่าหรือซื้อดีกว่ากันในส่วนนี้ก็อยากบอกว่า วิธีเช่าดีที่สุด เพราะเป็นการต่อลมหายใจของขสมก.ให้มีรถใหม่เข้ามาใช้งาน และต้องยอมรับตามตรงว่า ขสมก.ไม่มีเงินก้อนใหญ่มาจัดซื้อรถในครั้งเดียว และปัจจุบันก็ทราบดีว่า ขสมก.มีผลขาดทุนสะสมกว่า 70,000 ล้านบาท และจะสูงเป็น 100,000 ล้านบาทหากไม่ทำอะไร” นายปิยะพันธ์กล่าว
นอกจากที่ประชุมยังมีมติ ตั้งคณะกรรมการขึ้น 1 ชุด เพื่อตรวจสอบ สภาพรถเก่าของของขสมก. ที่มีอยู่ ที่ในอนาคต จะถูกนำมารวมกับรถเมล์เช่าใหม่ 4,000 คัน โดยจะมีนายชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นประธาน โดยเบื้องต้นจะมีรถอยู่ในข่ายพิจารณา 1,800 คัน หากการพิจารณาสภาพของรถเหล่านี้ ไม่ครบตามจำนวน ที่จะทำให้การจัดหารถทั้ง 2 ส่วนครบ 6,000 คัน ก็จะเปิดโอกาสให้เอกชน เข้าร่วมเดินรถในอนาคต โดยรถของเอกชนนี้ต้องมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดของทีโออาร์โครงการเช่ารถ 4,000 คันด้วย
นอกจากนี้นายปิยะพันธ์กล่าวว่าด้วยว่า หลังจากทำแผนจัดหารถแล้วเสร็จ ขสมก.จะเดินหน้า แผนฟื้นฟูกิจการ เพื่อสางปัญหา หนี้และขาดทุนสะสม 70,000 ล้านบาท ของขสมก. ขณะเดียวกัน ก็จะมีการขอสภาพคล่องหมุนเวียนในการบริหารงาน ขสมก.เพิ่มเติมจากรัฐบาลอีก 3,500 ล้านบาท
***อัดเละหวั่นทีโออาร์ไม่โปร่งใส
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงข้อกำหนดทีโออาร์การเช่ารถโดยสารปรับอากาศใหม่ ใช้ก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวี จำนวน 4,000 คันมูลค่า 70,707,800 ล้านบาท มีระยะเวลา 10 ปี ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)ว่าข้อกำหนดดังกล่าวนั้นมีข้อสังเกตหลายประการที่ไม่มีความโปร่งใส เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นโครงการขนาดใหญ่ มีมูลค่าการจัดซื้อจ้างในวงเงินสูงกว่า 7 หมื่นล้านบาท แต่กลับไม่มีการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อสำรวจความเป็นไปได้ของโครงการดังกล่าวเลย แต่ที่ประชุมมีการอ้างว่าอัตราค่าจ้างที่ปรึกษามีวงเงินสูง และใช้ระยะเวลาในการดำเนินการนานและมีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรสูงและใช้บุคลากรมากเกินไป จึงไม่มีการจัดจ้างที่ปรึกษา แต่ให้คณะกรรมการเป็นผู้กำหนดร่างขอบเขตงานหรือทีโออาร์ขึ้นมาเอง
สำหรับเงื่อนไขในทีโออาร์ดังกล่าวกำหนดให้มีการติดตั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย ระบบอิเล็กทรอนิกส์รถยนต์ปรับอากาศใช้ก๊าซเอ็นจีวี จำนวน 4 พันคัน และบนรถโดยสารปรับอากาศ(เครื่องยนต์ดีเซล) จำนวน 1,800 คันซึ่งเป็นรถเก่าของ ขสมก. นอกจากนี้ต้องมีการติดตั้งระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ E-Ticket พร้อมอุปกรณ์ ติดตั้งระบบควบคุมและติดตามการเดินรถ GPS , GPRS และ CCTV พร้อมอุปกรณ์ และติดตั้งป้ายอัจฉริยะพร้อมอุปกรณ์ บริเวณป้ายรถเมล์ไม่น้อยกว่า 40 ชุด ซึ่งการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวนี้จะเห็นได้ว่ามีเพียงเอกชนบางรายเท่านั้นที่มีศักยภาพและมีความสามารถที่ดำเนินการได้ ซึ่งเป็นเอกชนรายหนึ่ง ซึ่งมีนักการเมืองเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นพรรคใหญ่ในรัฐบาลชุดนี้อยู่เบื้องหลัง
“เป็นที่รู้กันว่าบริษัทนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อทำธุรกิจเกี่ยวกับระบบ GPS และ GPRS ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของเอกชนที่ทำธุรกิจด้านสื่อสารและประมูลงานในกองสลาก โดยมีนายทุนกลุ่มการเมืองอยู่เบื้องหลัง ทำให้รัฐบาลชุดนี้พยายามผลักดันโครงการต่าง ๆ กลับขึ้นมาอีกครั้งรวมถึงโครงการรถเมล์แอร์เอ็นจีวีที่มีการติดตั้งระบบการเดินรถด้วย GPS และ GPRS ซึ่งรถเมล์ที่นำมาใช้นั้นวิ่งประจำทางอยู่แล้วจึงไม่มีความจำเป็นต้องมีการติดตั้งเครื่องมือดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่แปลกในการตั้งเงื่อนไขดังกล่าวขึ้นมา”แหล่งข่าวคนเดียวกัน ตั้งข้อสังเกต
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่าเงื่อนไขในทีโออาร์ กำหนดว่าให้ขสมก.เป็นผู้จัดหาอู่จอดรถ ประกอบด้วย ลานจอดรถ โรงซ่อม สถานที่ทำการต่าง ๆ สถานที่สำหรับก่อสร้างสถานีบริการก๊าซเอ็นจีวี และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และในกรณีที่ ขสมก.ไม่สามารถจัดหาอู่จอดรถได้ ขสมก.จะแจ้งให้ผู้เสนอราคาทราบภายใน 90 วันนับถัดจากวันที่ลงนามในสัญญา และให้ผู้เสนอราคาเป็นผู้จัดหาอู่จอดรถพร้อมดำเนินการทางสัญญาและส่งมอบอู่จอดรถให้ขสมก.ใน 9 เดือน ให้เสร็จสิ้นพร้อมการส่งมอบ ซึ่งเงื่อนดังกล่าวนี้คาดว่า ขสมก.ก็ไม่สามารถหาพื้นที่ดังกล่าวได้และในที่สุดก็ต้องให้เอกชนเป็นผู้จัดหาพื้นที่ เองตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะมีเอกชนบางรายเท่านั้นที่มีความพร้อมและต้องมีการเตรียมพื้นที่ไว้รองรับอยู่แล้ว เพราะพื้นที่ในการสร้างอู่จอดรถกว่า 22 แห่งกำหนดเนื้อที่ไว้แต่ละแห่งประมาณ 15-16 ไร่ จึงเป็นไปได้ยากในการหาพื้นที่ดังกล่าวในเวลาอันสั้น
เป็นที่น่าสังเกตว่าก่อนหน้านี้ในที่ประชุมซึ่งมี พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะทำงานได้มีมติให้รัฐเป็นผู้จัดหาที่ดินเอง เนื่องจากการซื้อที่ดินในระยะยาวนั้นมูลค่าที่ดินจะเพิ่มขึ้น แต่ในทีโออาร์เปิดทางให้เอกชนเป็นคนจัดหาในกรณีที่ขสมก.ไม่สามารถจัดหาได้เอง ซึ่งเป็นการผิดเงื่อนไข
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่าระยะเวลาการเช่ารถเมล์แอร์เอ็นจีวีนั้นมีระยะเวลาเพียง 10 ปีเท่านั้น แต่เงื่อนไขกำหนดให้ ปตท.เป็นผู้ลงทุนในการเชื่อมท่อก๊าซและสถานีบริการในกรณีเป็นพื้นที่ของรัฐหรือมีสัญญาเช่าต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 20 ปี ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากในการที่จะให้บริษัท ปตท.เข้ามาตั้งสถานีก๊าซและลงทุนเชื่อมต่อท่อก๊าซ เพราะเงื่อนไขกำหนดให้เอกชนมีระยะเวลาดำเนินการเพียง 10 ปีเท่านั้น ซึ่งอาจจะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน
สำหรับเงื่อนไขการสัญญาเช่ารถนั้นกำหนดให้ยืดหยุ่นในการปรับเพิ่มหรือลดในกรณีที่ผู้โดยสารไม่เป็นไปตามเป้าหมายและให้ระบุเงื่อนไขให้ทบทวนสัญญาได้ทุก 3-4 ปีหลังจากมีการประเมินผลหรือการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐ ซึ่งเงื่อนไขนี้เอกชนชี้ว่าไม่สามารถทำได้เช่นกัน เพราะทุก 3-4 ปีหากมีการขาดทุนไม่เป็นไปตามเป้าเท่ากับว่าสัญญาทำไปกว่าเกือบครึ่งแล้ว คาดว่า 4 พันคันขาดทุน 15 ล้านบาทต่อวัน ช่วง 3-4 ปีก็คิดเป็นเม็ดเงินหลายพันล้านบาท
“โครงการนี้ทำไปก็มีแต่ขาดทุน เพราะเส้นทางที่กำหนดขึ้นมาใหม่ 400 เส้นทางล้วนแต่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ แถมวิ่งอยู่รอบนอกและปริมณฑล และยังกำหนดให้ทุกๆ 3 นาทีต้องมีปล่อยรถ และถ้าไม่ใช่เป็นช่วงผู้โดยสารหนาแน่นก็จะทำให้ขสมก.ต้องวิ่งรถเปล่าไม่มีผู้โดยสารและในที่สุดต้องประสบภาวการณ์ขาดทุนอย่างแน่นอน แต่รัฐบาลชุดนี้ก็พยายามดันทุรังผลักดันโครงการนี้ให้ได้”แหล่งข่าวคนเดียวกันกล่าว
อย่างไรก็ตามในการกำหนดพื้นที่อู่จอดต่าง ๆ นั้นส่วนใหญ่จะต้องอยู่รอบนอกกรุงเทพฯหรือปริมณฑล ซึ่งทำให้มีต้นทุนในการเดินทาง เพราะพื้นที่จอดรถนั้นไม่สอดคล้องกับพื้นที่ในการให้บริการ และมั่นใจว่าหากปริมาณรถเมล์ปรับอากาศจำนวน 4 พันคันหากมีการให้บริการจริง ๆ จะทำให้เกิดปัญหาความแออัดขึ้น ในท้องถนนอย่างแน่นอน เพราะเป็นรถที่มีขนาดใหญ่ ปัจจุบันขสมก.มีรถที่ให้บริการอยู่แล้วประมาณ 2 พันคันก็ยังสร้างปัญหาความแออัดบนท้องถนน
***จับตาเจ๊งรอเอกชนเซ้งต่อ
แหล่งข่าวจากพรรคร่วมรัฐบาล กล่าวว่าโครงการรถเมล์ปรับอากาศเอ็นจีวีนี้เคยมีการถูกกล่าวหาและโจมตีว่าส่อเค้ามีการทุจริต เพราะไม่มีความโปร่งใส เพราะหากมีการเปรียบเทียบระหว่างวิธีการซื้อและการเช่า เฉลี่ยการซื้อคันละประมาณ 2 ล้านบาท จำนวน 4 พันคันใช้งบประมาณเพียง 8,000 พันล้านบาทเท่านั้น แถมให้ค่าซ่อมบำรุงต่าง ๆอีก 2,000 พันล้านบาทคาดว่าใช้งบประมาณเพียง 10,000 ล้านบาทเท่านั้น
ขณะที่การเช่าจากเอกชนช่วง 10 ปีจะต้องใช้งบประมาณถึง 70,707,800 ล้านบาท คิดค่าเช่าคันละ 4,843 บาท/คัน/ วัน เมื่อเปรียบเทียบวิธีการซื้อและการเช่าจากเอกชนจะเห็นว่าวิธีการซื้อนั้นสามารถประมาณได้มากกว่า แต่รัฐบาลและนักการเมืองที่อยู่เบื้องหลังโครงการดังกล่าวมีการวิ่งเต้นในระดับกระทรวงเพื่อผลักดันโครงการนี้ให้ได้ ถึงแม้จะมีการคัดค้านแต่ก็อ้างว่าเป็นการนำมาให้บริการประชาชน และในที่สุด ขสมก.จะไม่สามารถแบกรับภาระขาดทุนจากการให้บริการได้ ในที่สุดจะต้องเลิกกิจการและขายสัมปทานให้กับเอกชนไปดำเนินการแทน
“สมัยก่อนนักการเมืองมีการทุจริตในรูปแบบของการจัดซื้อเพื่อหวังคอมมิชั่น แต่รูปแบบเดียวนี้เริ่มหาผลประโยชน์ตั้งแต่เริ่มโครงการจนสุดท้ายประสบภาวะขาดทุนและมีกลุ่มทุนทางการเมืองหรือพรรคพวกเตรียมเข้ามาฮุบกิจการ และโละของถูกให้กับกลุ่มทุนที่สนใจทั้งๆ ที่รู้ว่าโครงการนี้ทำไปนั้นต้องขาดทุนอย่างแน่นอนแถมมีความพยายามในการรีบเร่งให้ทันในรัฐบาลชุดนี้”แหล่งข่าวคนเดียวกัน กล่าวย้ำ
***รฟม.สร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว
นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว 2 เส้นทาง คือ สายสีเขียวอ่อน เส้นทางบางหว้า-สมุทรปราการ และสายสีเขียวเข้ม เส้นทางหมอชิต-สะพานใหม่ โดยในที่ประชุมเห็นชอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดำเนินการ โดยจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในสัปดาห์หน้า
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีมูลค่างานก่อสร้างและงานระบบรวม 6.5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นการก่อสร้างงานโยธา 4 หมื่นล้านบาท และงานระบบและรถไฟฟ้า 2.5 หมื่นล้านบาท.