รัฐบาลที่ตั้งมั่นบนหลักการประชาธิปไตยแท้จริงจักต้องไม่ ‘มุ่งมั่น’ หรือ ‘สมรู้ร่วมคิด’ ประหัตประหารประชาชนผู้ออกมาคลาคล่ำท้องถนนหรือพื้นที่สาธารณะต่างๆ เพื่อแสดงความคิดอุดมการณ์ เรียกร้องหรือคัดค้านนโยบายสาธารณะ หรือกระทั่งล้มล้างรัฐบาลที่ไม่ใช่การล่วงปริมณฑลการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เนื่องด้วยกฎหมายสูงสุดของระบอบประชาธิปไตยไทยได้ให้ความสำคัญกับหลักการ ‘บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ’ มานานนับแต่มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 เรื่อยมาถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และ 2550 มาตรา 44 และ 63 ตามลำดับ
รัฐธรรมนูญล่าสุดทั้ง 2 ฉบับระบุการจำกัดเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธว่าจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยระหว่างประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือระหว่างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
การยุติการชุมนุมของประชาชนด้วยกฎหมายที่มิได้ตราขึ้นเพื่อควบคุมจำกัดสิทธิเสรีภาพการชุมนุมโดยตรง อย่างประมวลกฎหมายอาญา พ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 พ.ร.บ.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ. 2475 ตลอดจน พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ. 2535 พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และพ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 ที่เจ้าหน้าที่รัฐมักใช้เป็นฐานอำนาจจำกัดเสรีภาพการชุมนุมของประชาชนจึง ‘ทำลาย’ ภาคปฏิบัติการจริงของประชาชน มากเท่าๆ กับพวกเขากระทำขัดรัฐธรรมนูญเสียเอง
มากกว่านั้นการขาดบทบัญญัติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และการจำกัดอำนาจเจ้าหน้าที่รัฐในการควบคุมดูแลการชุมนุมของประชาชนในที่สาธารณะระหว่างการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก ยังเหนี่ยวนำความรุนแรงมาสู่การสลายการชุมนุมอยู่เสมอๆ อันเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่รัฐจักอาศัยเพียงระเบียบปฏิบัติภายในของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เช่น แผนกรกฎหรือแผนไพรีพินาศ มาเป็นมาตรการรับมือการชุมนุมของประชาชนในที่สาธารณะ
หลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพการชุมนุมของประชาชนโดยสงบและปราศจากอาวุธที่อยู่ในรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปีเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จึงยังง่อนแง่นโยกคลอนจากการถูกละเมิดโดยเจ้าหน้าที่รัฐลุอำนาจ และประชาชนผู้สถาปนาตนเองเป็นกลไกรัฐไล่ล่าเสมอมา
กล่าวอีกนัยหนึ่ง การไม่รับผิดชอบต่อการละเมิดบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญด้วยการบังคับใช้กฎหมายอื่นๆ ที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำกัดเสรีภาพการชุมนุมของประชาชนโดยตรง เมื่อรวมกับการขาดกฎหมายที่อนุญาตให้จำกัดเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนไว้เป็นการเฉพาะ ก็ทำให้การสลายการชุมนุมเปี่ยมไปด้วยอำนาจอยุติธรรม ขัดหลักสากลที่อารยประเทศยึดถือปฏิบัติ ถึงปากจะพร่ำเพื่อชาติบ้านเมืองสงบสุขเรียบร้อยเหมือนนานาชาติก็ตามที
แม้วาทกรรมว่าด้วยความสงบเรียบร้อยของประเทศจะประจวบเหมาะกับยุคสมัยการก่อการร้าย หากกระนั้นความมั่นคงของชาติ (National security) ก็ไม่ควรละเมิดเสรีภาพประชาชน (Freedom of citizen) มากนัก ยิ่งเป็นการประท้วงเพื่อเปลี่ยนแปลงการเมืองไปสู่ความสะอาดปราศจากทุจริตคอร์รัปชันด้วยแล้ว ยิ่งห่างไกลจากภาวะกระเทือนความมั่นคงของชาติยิ่ง
ด้วยถ้าอ้างอิงนิยาม ‘การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร’ ตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 จักพบว่าการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมไทยค่อนไปทางกระทบเสถียรภาพรัฐบาลมากกว่าบ่อนเซาะความมั่นคงรัฐหรือทำลายความสุขสงบประชาชน
การใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมประท้วงเฉกเช่น 7 ตุลาคมทมิฬที่มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 471 ราย โดย 8 รายทุพพลภาพสูญเสียแขน ขา นิ้วจึงควรถูกประณามดังแถลงการณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เผด็จการเสียงข้างมากที่ฉีกกระชากหัวใจการปกครองระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของประชาชนยามผสานกับการตรวจสอบถ่วงดุลล้มเหลวภายใต้มวลอากาศต้องเอาชนะคะคานประชาชนที่มาชุมนุมคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ได้เช่นนี้นำความรุนแรงมาสู่ผู้ประท้วงรัฐบาลประดุจสายธารไร้สุดสิ้น ไม่เพียงระเบิดทั้งหวังข่มขู่และสังหารจะเกิดเรื่อยมาเท่านั้น ทว่าถ้อยคำข่มขู่คุกคามอาฆาตมาดร้ายโดยเจ้าหน้าที่รัฐทั้งยังนั่งในตำแหน่งและเกษียณที่ผุดราวดอกเห็ดยังพังพินาศหลักการนี้จนย่อยยับ ยิ่งได้เชื้อไฟจากมวลมหาชนผู้พร้อมสถาปนาเป็นกลไกรัฐด้วยแล้ว
ต่อไปใครจะหาญกล้าท้าทายอำนาจรัฐอีก แม้จะต้องผจญความเลวร้ายจากนโยบายสาธารณะที่กระเทือนชีวิตตั้งแต่อยู่ใน ‘ครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน’ อย่างแสนสาหัสก็ตาม
วิวาทะว่าด้วยอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการรักษาความสงบเรียบร้อยของเจ้าหน้าที่รัฐกับเสรีภาพการชุมนุมของประชาชนจึงดำเนินมาตลอด โดยทบทวีความแหลมคมเข้มข้นขึ้นเมื่อประชาชนเข้าร่วมขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและการบริหารจัดการบ้านเมืองตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญที่เปิดกว้างกับการมีร่วมของปวงชนชาวไทยผู้ถืออำนาจอธิปไตย ในห้วงขณะที่รัฐบาลยังล้าหลังปรับตัวไม่ทัน หวงแหนอำนาจและอวดอ้างความชอบธรรมว่ามาจากการเลือกตั้งครอบคลุมทุกประเด็นแม้นจะเป็นเรื่องราวฉ้อราษฎร์บังหลวง
ฉะนั้นความเพียรตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาล คัดค้านแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อฟอกผิดเป็นถูกเปื้อนถูกเป็นผิด และยับยั้งการคอร์รัปชันเชิงนโยบายที่วางอยู่บนกรอบแนวคิดการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธถูกเจ้าหน้าที่รัฐใช้กฎหมายที่ไม่ได้ตราขึ้นเพื่อควบคุมจำกัดสิทธิเสรีภาพการชุมนุมเป็นที่มาแห่งอำนาจกระทำการควบคุม จับกุม หรือสลายการชุมนุมจึงทำลายดุลยภาพระหว่างความสะดวกของประชาชนในการใช้พื้นที่สาธารณะกับสิทธิเสรีภาพการชุมนุมของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญรับรองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานและสิทธิมนุษยชนคุ้มครองไว้
การสร้างสมดุลระหว่างสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธของประชาชนกับความมั่นคงและประโยชน์ปวงชนประเทศชาติผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมของประชาชนจึงจำเป็นเร่งด่วนยิ่งยวด ไม่ใช่เพราะว่าปัจจุบันพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล เพราะถึงที่สุดแล้วกฎหมายนี้จะจัดสรรสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างสิทธิเสรีภาพประชาชนว่าด้วยการชุมนุมในที่สาธารณะ การชุมนุมในสภาวะสงคราม หรือในสถานการณ์ฉุกเฉินของทุกๆ กลุ่ม กับอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐในการรักษาความสงบเรียบร้อยประเทศชาติ ควบคู่กับป้องกันการเคลื่อนพลของมวลชนตรงข้ามเข้าห้ำหั่นกันได้ด้วย
แม้ยังไร้กฎหมาย หากทว่ารัฐบาลศรัทธาระบอบประชาธิปไตยแล้วจักต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธของประชาชนเสมอหน้ากันไม่ว่าจะหนุนหรือต้าน
อารยะประชาธิปไตยต้องสร้างจากความแตกต่างที่มีการชุมนุมเป็นเวทีปฏิบัติการจริง
อย่าให้ละม้ายการล้มละลายของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ท้ายสุดอาจครอบครองได้แค่ดินแดนแต่ครองใจพลเมืองไม่ได้เลยเพราะสูญเสียหลักนิติรัฐ (Legal state) นิติธรรม (The Rule of Law) ไปกับกระบวนการยุติธรรมล่าช้าและไม่ยุติที่ ‘ธรรม’ ที่คร่าชีวิตถึง 3,325 ราย
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็น ผอ.รมน. โดยมีอำนาจหน้าที่รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรจักต้องสังเคราะห์บทเรียนล้มเหลวจากการพยายามครอบครองดินแดนแทนที่จะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชนเพื่อครองจิตใจพลเมือง ก่อนนำมาประยุกต์ใช้จัดการความขัดแย้งทางการเมืองเพื่อไม่ให้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพการชุมนุมจนพลเมืองปลิดร่วงราวใบไม้
ในทางตรงข้ามพันธมิตรฯ เองก็ต้องเก็บเกี่ยวบทเรียนสำคัญของการครอบครองดินแดนเพื่อแสดงอำนาจเหนือรัฐบาลว่าจะ ‘ชนะใจ’ มวลมหาประชาชนต่อเนื่องไปได้อย่างไร ด้วยมีแค่ดินแดนแต่ไม่มีพลเมืองนั้นหามีประโยชน์อันใดไม่
การคุ้มครองพลเมืองจึงสำคัญกว่าการครอบครองดินแดนทั้งฟากฝั่งรัฐบาลและพันธมิตรฯ.-
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
เนื่องด้วยกฎหมายสูงสุดของระบอบประชาธิปไตยไทยได้ให้ความสำคัญกับหลักการ ‘บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ’ มานานนับแต่มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 เรื่อยมาถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และ 2550 มาตรา 44 และ 63 ตามลำดับ
รัฐธรรมนูญล่าสุดทั้ง 2 ฉบับระบุการจำกัดเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธว่าจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยระหว่างประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือระหว่างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
การยุติการชุมนุมของประชาชนด้วยกฎหมายที่มิได้ตราขึ้นเพื่อควบคุมจำกัดสิทธิเสรีภาพการชุมนุมโดยตรง อย่างประมวลกฎหมายอาญา พ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 พ.ร.บ.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ. 2475 ตลอดจน พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ. 2535 พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และพ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 ที่เจ้าหน้าที่รัฐมักใช้เป็นฐานอำนาจจำกัดเสรีภาพการชุมนุมของประชาชนจึง ‘ทำลาย’ ภาคปฏิบัติการจริงของประชาชน มากเท่าๆ กับพวกเขากระทำขัดรัฐธรรมนูญเสียเอง
มากกว่านั้นการขาดบทบัญญัติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และการจำกัดอำนาจเจ้าหน้าที่รัฐในการควบคุมดูแลการชุมนุมของประชาชนในที่สาธารณะระหว่างการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก ยังเหนี่ยวนำความรุนแรงมาสู่การสลายการชุมนุมอยู่เสมอๆ อันเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่รัฐจักอาศัยเพียงระเบียบปฏิบัติภายในของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เช่น แผนกรกฎหรือแผนไพรีพินาศ มาเป็นมาตรการรับมือการชุมนุมของประชาชนในที่สาธารณะ
หลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพการชุมนุมของประชาชนโดยสงบและปราศจากอาวุธที่อยู่ในรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปีเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จึงยังง่อนแง่นโยกคลอนจากการถูกละเมิดโดยเจ้าหน้าที่รัฐลุอำนาจ และประชาชนผู้สถาปนาตนเองเป็นกลไกรัฐไล่ล่าเสมอมา
กล่าวอีกนัยหนึ่ง การไม่รับผิดชอบต่อการละเมิดบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญด้วยการบังคับใช้กฎหมายอื่นๆ ที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำกัดเสรีภาพการชุมนุมของประชาชนโดยตรง เมื่อรวมกับการขาดกฎหมายที่อนุญาตให้จำกัดเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนไว้เป็นการเฉพาะ ก็ทำให้การสลายการชุมนุมเปี่ยมไปด้วยอำนาจอยุติธรรม ขัดหลักสากลที่อารยประเทศยึดถือปฏิบัติ ถึงปากจะพร่ำเพื่อชาติบ้านเมืองสงบสุขเรียบร้อยเหมือนนานาชาติก็ตามที
แม้วาทกรรมว่าด้วยความสงบเรียบร้อยของประเทศจะประจวบเหมาะกับยุคสมัยการก่อการร้าย หากกระนั้นความมั่นคงของชาติ (National security) ก็ไม่ควรละเมิดเสรีภาพประชาชน (Freedom of citizen) มากนัก ยิ่งเป็นการประท้วงเพื่อเปลี่ยนแปลงการเมืองไปสู่ความสะอาดปราศจากทุจริตคอร์รัปชันด้วยแล้ว ยิ่งห่างไกลจากภาวะกระเทือนความมั่นคงของชาติยิ่ง
ด้วยถ้าอ้างอิงนิยาม ‘การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร’ ตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 จักพบว่าการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมไทยค่อนไปทางกระทบเสถียรภาพรัฐบาลมากกว่าบ่อนเซาะความมั่นคงรัฐหรือทำลายความสุขสงบประชาชน
การใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมประท้วงเฉกเช่น 7 ตุลาคมทมิฬที่มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 471 ราย โดย 8 รายทุพพลภาพสูญเสียแขน ขา นิ้วจึงควรถูกประณามดังแถลงการณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เผด็จการเสียงข้างมากที่ฉีกกระชากหัวใจการปกครองระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของประชาชนยามผสานกับการตรวจสอบถ่วงดุลล้มเหลวภายใต้มวลอากาศต้องเอาชนะคะคานประชาชนที่มาชุมนุมคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ได้เช่นนี้นำความรุนแรงมาสู่ผู้ประท้วงรัฐบาลประดุจสายธารไร้สุดสิ้น ไม่เพียงระเบิดทั้งหวังข่มขู่และสังหารจะเกิดเรื่อยมาเท่านั้น ทว่าถ้อยคำข่มขู่คุกคามอาฆาตมาดร้ายโดยเจ้าหน้าที่รัฐทั้งยังนั่งในตำแหน่งและเกษียณที่ผุดราวดอกเห็ดยังพังพินาศหลักการนี้จนย่อยยับ ยิ่งได้เชื้อไฟจากมวลมหาชนผู้พร้อมสถาปนาเป็นกลไกรัฐด้วยแล้ว
ต่อไปใครจะหาญกล้าท้าทายอำนาจรัฐอีก แม้จะต้องผจญความเลวร้ายจากนโยบายสาธารณะที่กระเทือนชีวิตตั้งแต่อยู่ใน ‘ครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน’ อย่างแสนสาหัสก็ตาม
วิวาทะว่าด้วยอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการรักษาความสงบเรียบร้อยของเจ้าหน้าที่รัฐกับเสรีภาพการชุมนุมของประชาชนจึงดำเนินมาตลอด โดยทบทวีความแหลมคมเข้มข้นขึ้นเมื่อประชาชนเข้าร่วมขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและการบริหารจัดการบ้านเมืองตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญที่เปิดกว้างกับการมีร่วมของปวงชนชาวไทยผู้ถืออำนาจอธิปไตย ในห้วงขณะที่รัฐบาลยังล้าหลังปรับตัวไม่ทัน หวงแหนอำนาจและอวดอ้างความชอบธรรมว่ามาจากการเลือกตั้งครอบคลุมทุกประเด็นแม้นจะเป็นเรื่องราวฉ้อราษฎร์บังหลวง
ฉะนั้นความเพียรตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาล คัดค้านแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อฟอกผิดเป็นถูกเปื้อนถูกเป็นผิด และยับยั้งการคอร์รัปชันเชิงนโยบายที่วางอยู่บนกรอบแนวคิดการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธถูกเจ้าหน้าที่รัฐใช้กฎหมายที่ไม่ได้ตราขึ้นเพื่อควบคุมจำกัดสิทธิเสรีภาพการชุมนุมเป็นที่มาแห่งอำนาจกระทำการควบคุม จับกุม หรือสลายการชุมนุมจึงทำลายดุลยภาพระหว่างความสะดวกของประชาชนในการใช้พื้นที่สาธารณะกับสิทธิเสรีภาพการชุมนุมของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญรับรองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานและสิทธิมนุษยชนคุ้มครองไว้
การสร้างสมดุลระหว่างสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธของประชาชนกับความมั่นคงและประโยชน์ปวงชนประเทศชาติผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมของประชาชนจึงจำเป็นเร่งด่วนยิ่งยวด ไม่ใช่เพราะว่าปัจจุบันพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล เพราะถึงที่สุดแล้วกฎหมายนี้จะจัดสรรสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างสิทธิเสรีภาพประชาชนว่าด้วยการชุมนุมในที่สาธารณะ การชุมนุมในสภาวะสงคราม หรือในสถานการณ์ฉุกเฉินของทุกๆ กลุ่ม กับอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐในการรักษาความสงบเรียบร้อยประเทศชาติ ควบคู่กับป้องกันการเคลื่อนพลของมวลชนตรงข้ามเข้าห้ำหั่นกันได้ด้วย
แม้ยังไร้กฎหมาย หากทว่ารัฐบาลศรัทธาระบอบประชาธิปไตยแล้วจักต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธของประชาชนเสมอหน้ากันไม่ว่าจะหนุนหรือต้าน
อารยะประชาธิปไตยต้องสร้างจากความแตกต่างที่มีการชุมนุมเป็นเวทีปฏิบัติการจริง
อย่าให้ละม้ายการล้มละลายของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ท้ายสุดอาจครอบครองได้แค่ดินแดนแต่ครองใจพลเมืองไม่ได้เลยเพราะสูญเสียหลักนิติรัฐ (Legal state) นิติธรรม (The Rule of Law) ไปกับกระบวนการยุติธรรมล่าช้าและไม่ยุติที่ ‘ธรรม’ ที่คร่าชีวิตถึง 3,325 ราย
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็น ผอ.รมน. โดยมีอำนาจหน้าที่รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรจักต้องสังเคราะห์บทเรียนล้มเหลวจากการพยายามครอบครองดินแดนแทนที่จะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชนเพื่อครองจิตใจพลเมือง ก่อนนำมาประยุกต์ใช้จัดการความขัดแย้งทางการเมืองเพื่อไม่ให้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพการชุมนุมจนพลเมืองปลิดร่วงราวใบไม้
ในทางตรงข้ามพันธมิตรฯ เองก็ต้องเก็บเกี่ยวบทเรียนสำคัญของการครอบครองดินแดนเพื่อแสดงอำนาจเหนือรัฐบาลว่าจะ ‘ชนะใจ’ มวลมหาประชาชนต่อเนื่องไปได้อย่างไร ด้วยมีแค่ดินแดนแต่ไม่มีพลเมืองนั้นหามีประโยชน์อันใดไม่
การคุ้มครองพลเมืองจึงสำคัญกว่าการครอบครองดินแดนทั้งฟากฝั่งรัฐบาลและพันธมิตรฯ.-
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org