เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 พ.ย.นี้ ผมได้ไปร่วมเสวนาเรื่อง โลกาภิวัตน์กับชุมชน งานนี้ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยมีอาจารย์จากออสเตรเลีย 3 คนมาร่วมด้วย งานนี้จัดเพื่อเป็นเกียรติแก่ ดร.ปรีชา อุยตระกูล อดีตผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น ซึ่งเพิ่งเกษียณอายุไปเมื่อวันที่ 30 กันยายน นี้เอง
อาจารย์ชาวออสเตรเลียทั้ง 3 คนมาจากรัฐควีนส์แลนด์ ได้เท้าความหลังว่า เมื่อปี 1992 ผมได้ไปพบกับพวกเขาที่มหาวิทยาลัยเจมส์คุก และได้แนะนำว่า เขาควรตั้งแผนกไทยศึกษาขึ้น หานักศึกษาปริญญาเอกทำวิทยานิพนธ์เรื่องเมืองไทย และเรียนภาษาไทย ในขณะเดียวกัน ก็ควรนำนักวิชาการไทยมาทำปริญญาเอก
ผมบอกเขาว่า ในเมืองไทยนั้น อาจารย์ที่อยู่ต่างจังหวัดมีความรู้เกี่ยวกับชุมชนดีมาก แต่ไม่มีโอกาสได้มาเรียนปริญญาเอก เพราะภาษาอังกฤษไม่ดี ดังนั้นอาจารย์ในต่างจังหวัดก็ได้เป็นเพียงผู้ช่วยวิจัย และผู้ป้อนข้อมูลให้นักวิชาการเมืองหลวง และฝรั่งที่มาทำวิจัย
หากทางออสเตรเลียอยากเรียนรู้ และมีความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน ก็ต้องยอมลดมาตรฐานด้านภาษาลงหน่อย เพราะผู้มีความรู้และประสบการณ์กับชุมชนมีข้อมูลแยะ ทางออสเตรเลียก็ยอมทำให้ปรีชา อุยตระกูล ได้ไปเรียนต่อใช้เวลา 5 ปีก็จบกลับมา
ที่สำคัญก็คือ อาจารย์ออสเตรเลียทั้ง 3 ก็ได้มาโคราชหลายครั้ง ต่อมาอาจารย์คนหนึ่งได้นำนักศึกษา 8 คนมาเรียนรู้อยู่กินกับชาวบ้านเป็นเวลา 21 วัน นักศึกษาบอกว่า 21 วันนี้ พวกเขาได้เรียนรู้มากกว่าที่เรียนในห้องเรียนทั้งปี
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับออสเตรเลียทางวิชาการที่อาศัยแนวทางใหม่นี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการเกิดโลกาภิวัตน์ หากเรารู้จักใช้ประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ผลกระทบก็จะเป็นในด้านบวก เพราะกระแสโลกาภิวัตน์นั้น ส่วนหนึ่งก็เป็นเรื่องของบรรษัทข้ามชาติที่แผ่อิทธิพลเข้ามา แต่อีกส่วนหนึ่งก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เปิดโอกาสให้ประชาชนในระหว่างประเทศได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ดังนั้น การเผอิญกับกระแสโลกาภิวัตน์ จึงขึ้นอยู่กับความคิด และวิธีการที่เราสร้างขึ้นมา เราสามารถอาศัยเครื่องมือ เช่น อินเทอร์เน็ต และการเปิดเว็บไซต์ให้คนต่างชาติได้รับรู้ถึงกิจการของเราได้ ที่เห็นได้ชัดก็คือ การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน และการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ทั้งนี้เพราะโลกสมัยใหม่ได้ก่อให้เกิดความหลากหลาย คนจำนวนหนึ่งที่ต้องการท่องเที่ยวกับสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ส่วนที่เป็นฝ่ายให้บริการก็มีโอกาสฟื้นฟูวัฒนธรรม เช่น คนอัมพวา สมุทรสงคราม เป็นต้น
การฟื้นฟูวัฒนธรรม และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมนี้เป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้คนในชุมชนมีความภูมิใจในวัฒนธรรม และวิถีชีวิตดั้งเดิมที่ชาวต่างชาติชื่นชอบชาวบ้านที่เคยเหินห่างวิถีชีวิตดั้งเดิม ก็ได้นำเอาสิ่งดีๆ กลับมาใหม่
ที่สำคัญก็คือ คนไทยเรามีความเชื่อมั่นในตนเองในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษมากขึ้น เพราะในอดีตเราถูกวัฒนธรรมตะวันตก ทำให้เราสูญเสียความมั่นใจในตนเอง ชาติใดที่คนขาดความมั่นใจในตนเองแล้ว โอกาสที่จะพัฒนาให้มีความเจริญก้าวหน้าก็จะเป็นไปได้ยาก
เมื่อพูดถึงเรื่องนี้ ก็อดนึกถึงบทบาทของพันธมิตรฯ ไม่ได้ บ่ายวันนั้นที่โรงแรมมีคุณอัญชลี ไพรีรัก มาพูดพอดี ผมมองออกไปนอกห้องเห็นผู้คนต่างวัยเดินเข้ามา สิ่งที่พันธมิตรฯ ได้ทำก็คือ การทำให้คนไทยที่เคยขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และมีความรู้สึกว่าตนไม่มีอำนาจ ไม่มีบทบาททางการเมืองได้ตื่นขึ้นมา เกิดความเชื่อมั่นว่าสามารถเปลี่ยนแปลงการเมืองได้ กระบวนการนี้ก็คือ Empowerment นั่นเอง
เมื่อประชาชนมีความมั่นใจในตนเอง และมีข้อมูลข่าวสารมีความรู้แล้ว พฤติกรรมทางการเมืองก็จะเปลี่ยนไป เมื่อผมกลับออกมาก็เห็นคน 5-6 คน สวมเสื้อแดงยืนประท้วงพันธมิตรฯ อยู่ ดูแล้วก็น่าสมเพชเวทนา เพราะท่าทางสารรูปของแต่ละคน ต่างผิดกับผู้เข้ามาฟังคำปราศรัยของฝ่ายพันธมิตรฯ ซึ่งเป็นคนมีความรู้ มีหมอ และนักธุรกิจมากมาย รวมทั้งข้าราชการ และภรรยานายทหารชั้นผู้ใหญ่ด้วย
การที่คนเราจะมีความเชื่อมั่นในตนเองนั้น จะต้องมีข้อมูลข่าวสาร มีความรู้เสียก่อน การได้รับการปลุกเร้าว่า เราสามารถเปลี่ยนการเมืองไทยได้เป็นสิ่งที่พันธมิตรฯ ทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคม
ก่อนจบ ผมขอยกตัวอย่างว่า การวิพากษ์วิจารณ์ของทั้งสองฝ่ายนั้น บางทีก็ดูไร้เดียงสา ขนาดผมลาออกจากการเป็นกรรมการมูลนิธิไทยคมไปนานแล้ว ก็ยังมีหนังสือพิมพ์ไปทำเป็นเรื่อง แล้วเอาไปถามฝ่ายพันธมิตรฯ ที่จริงตอนที่คุณพารณ อิศรเสนา มาชวนผมไปเป็นกรรมการ และการเป็นกรรมการมูลนิธิไทยคม ก็ต้องถือว่า ผมเป็นฝ่ายที่ไม่ได้ไปรับผลประโยชน์อะไร เบี้ยประชุมก็ไม่มี การหยิบยกเอาเรื่องแบบนี้แทนที่จะไปดูว่า มีคนที่เคยกินเงินเดือนของสนธิ แล้วก็ไปกินเงินเดือนของทักษิณ มาพูดบ้างจะเหมาะกว่า ผมเองก็เป็นเพียงคอลัมนิสต์ บังเอิญผมเลือกที่จะเขียนให้ผู้จัดการมากกว่าเขียนให้ฉบับอื่น เพราะผมเห็นว่า สนธิมีกึ๋น เป็นของจริง ไม่ใช่ของปลอมอย่างคนหลายคน
การยกเอาเรื่องแบบนี้มาแสดงให้เห็นความไร้เดียงสา และน่าสมเพชของสื่อบางฉบับ การต่อสู้ทางการเมืองปัจจุบัน สื่อบางฉบับยังตำหนิคนที่ไปประท้วงนายสมัครเลย ความทรงจำตอน 6 ตุลา 2519 หมดไปแล้วหรืออย่างไร
การเมืองเวลานี้เป็นเรื่องปกติที่เราต้องแก้ปัญหาด้วยตนเอง สมัยก่อนทหารเข้ามาแทรกแซง และเราก็เริ่มกันใหม่เหมือนกับการผลักปัญหาออกไปไม่มุ่งแก้ไขอย่างจริงจัง บัดนี้เราต้องคิดกันให้ดีว่า ระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยที่เราต้องการนั้น ทำอย่างไรจึงจะไม่สร้างปัญหาในทางการเมืองเสียเอง
ผมขอถือโอกาสขอบคุณท่านที่ได้กรุณาส่งพวงหรีด และร่วมทำบุญในงานศพพ่อผมด้วย เงินที่ได้ผมจะนำไปบริจาคให้โรงพยาบาลจุฬาฯ ครับ
อาจารย์ชาวออสเตรเลียทั้ง 3 คนมาจากรัฐควีนส์แลนด์ ได้เท้าความหลังว่า เมื่อปี 1992 ผมได้ไปพบกับพวกเขาที่มหาวิทยาลัยเจมส์คุก และได้แนะนำว่า เขาควรตั้งแผนกไทยศึกษาขึ้น หานักศึกษาปริญญาเอกทำวิทยานิพนธ์เรื่องเมืองไทย และเรียนภาษาไทย ในขณะเดียวกัน ก็ควรนำนักวิชาการไทยมาทำปริญญาเอก
ผมบอกเขาว่า ในเมืองไทยนั้น อาจารย์ที่อยู่ต่างจังหวัดมีความรู้เกี่ยวกับชุมชนดีมาก แต่ไม่มีโอกาสได้มาเรียนปริญญาเอก เพราะภาษาอังกฤษไม่ดี ดังนั้นอาจารย์ในต่างจังหวัดก็ได้เป็นเพียงผู้ช่วยวิจัย และผู้ป้อนข้อมูลให้นักวิชาการเมืองหลวง และฝรั่งที่มาทำวิจัย
หากทางออสเตรเลียอยากเรียนรู้ และมีความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน ก็ต้องยอมลดมาตรฐานด้านภาษาลงหน่อย เพราะผู้มีความรู้และประสบการณ์กับชุมชนมีข้อมูลแยะ ทางออสเตรเลียก็ยอมทำให้ปรีชา อุยตระกูล ได้ไปเรียนต่อใช้เวลา 5 ปีก็จบกลับมา
ที่สำคัญก็คือ อาจารย์ออสเตรเลียทั้ง 3 ก็ได้มาโคราชหลายครั้ง ต่อมาอาจารย์คนหนึ่งได้นำนักศึกษา 8 คนมาเรียนรู้อยู่กินกับชาวบ้านเป็นเวลา 21 วัน นักศึกษาบอกว่า 21 วันนี้ พวกเขาได้เรียนรู้มากกว่าที่เรียนในห้องเรียนทั้งปี
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับออสเตรเลียทางวิชาการที่อาศัยแนวทางใหม่นี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการเกิดโลกาภิวัตน์ หากเรารู้จักใช้ประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ผลกระทบก็จะเป็นในด้านบวก เพราะกระแสโลกาภิวัตน์นั้น ส่วนหนึ่งก็เป็นเรื่องของบรรษัทข้ามชาติที่แผ่อิทธิพลเข้ามา แต่อีกส่วนหนึ่งก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เปิดโอกาสให้ประชาชนในระหว่างประเทศได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ดังนั้น การเผอิญกับกระแสโลกาภิวัตน์ จึงขึ้นอยู่กับความคิด และวิธีการที่เราสร้างขึ้นมา เราสามารถอาศัยเครื่องมือ เช่น อินเทอร์เน็ต และการเปิดเว็บไซต์ให้คนต่างชาติได้รับรู้ถึงกิจการของเราได้ ที่เห็นได้ชัดก็คือ การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน และการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ทั้งนี้เพราะโลกสมัยใหม่ได้ก่อให้เกิดความหลากหลาย คนจำนวนหนึ่งที่ต้องการท่องเที่ยวกับสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ส่วนที่เป็นฝ่ายให้บริการก็มีโอกาสฟื้นฟูวัฒนธรรม เช่น คนอัมพวา สมุทรสงคราม เป็นต้น
การฟื้นฟูวัฒนธรรม และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมนี้เป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้คนในชุมชนมีความภูมิใจในวัฒนธรรม และวิถีชีวิตดั้งเดิมที่ชาวต่างชาติชื่นชอบชาวบ้านที่เคยเหินห่างวิถีชีวิตดั้งเดิม ก็ได้นำเอาสิ่งดีๆ กลับมาใหม่
ที่สำคัญก็คือ คนไทยเรามีความเชื่อมั่นในตนเองในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษมากขึ้น เพราะในอดีตเราถูกวัฒนธรรมตะวันตก ทำให้เราสูญเสียความมั่นใจในตนเอง ชาติใดที่คนขาดความมั่นใจในตนเองแล้ว โอกาสที่จะพัฒนาให้มีความเจริญก้าวหน้าก็จะเป็นไปได้ยาก
เมื่อพูดถึงเรื่องนี้ ก็อดนึกถึงบทบาทของพันธมิตรฯ ไม่ได้ บ่ายวันนั้นที่โรงแรมมีคุณอัญชลี ไพรีรัก มาพูดพอดี ผมมองออกไปนอกห้องเห็นผู้คนต่างวัยเดินเข้ามา สิ่งที่พันธมิตรฯ ได้ทำก็คือ การทำให้คนไทยที่เคยขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และมีความรู้สึกว่าตนไม่มีอำนาจ ไม่มีบทบาททางการเมืองได้ตื่นขึ้นมา เกิดความเชื่อมั่นว่าสามารถเปลี่ยนแปลงการเมืองได้ กระบวนการนี้ก็คือ Empowerment นั่นเอง
เมื่อประชาชนมีความมั่นใจในตนเอง และมีข้อมูลข่าวสารมีความรู้แล้ว พฤติกรรมทางการเมืองก็จะเปลี่ยนไป เมื่อผมกลับออกมาก็เห็นคน 5-6 คน สวมเสื้อแดงยืนประท้วงพันธมิตรฯ อยู่ ดูแล้วก็น่าสมเพชเวทนา เพราะท่าทางสารรูปของแต่ละคน ต่างผิดกับผู้เข้ามาฟังคำปราศรัยของฝ่ายพันธมิตรฯ ซึ่งเป็นคนมีความรู้ มีหมอ และนักธุรกิจมากมาย รวมทั้งข้าราชการ และภรรยานายทหารชั้นผู้ใหญ่ด้วย
การที่คนเราจะมีความเชื่อมั่นในตนเองนั้น จะต้องมีข้อมูลข่าวสาร มีความรู้เสียก่อน การได้รับการปลุกเร้าว่า เราสามารถเปลี่ยนการเมืองไทยได้เป็นสิ่งที่พันธมิตรฯ ทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคม
ก่อนจบ ผมขอยกตัวอย่างว่า การวิพากษ์วิจารณ์ของทั้งสองฝ่ายนั้น บางทีก็ดูไร้เดียงสา ขนาดผมลาออกจากการเป็นกรรมการมูลนิธิไทยคมไปนานแล้ว ก็ยังมีหนังสือพิมพ์ไปทำเป็นเรื่อง แล้วเอาไปถามฝ่ายพันธมิตรฯ ที่จริงตอนที่คุณพารณ อิศรเสนา มาชวนผมไปเป็นกรรมการ และการเป็นกรรมการมูลนิธิไทยคม ก็ต้องถือว่า ผมเป็นฝ่ายที่ไม่ได้ไปรับผลประโยชน์อะไร เบี้ยประชุมก็ไม่มี การหยิบยกเอาเรื่องแบบนี้แทนที่จะไปดูว่า มีคนที่เคยกินเงินเดือนของสนธิ แล้วก็ไปกินเงินเดือนของทักษิณ มาพูดบ้างจะเหมาะกว่า ผมเองก็เป็นเพียงคอลัมนิสต์ บังเอิญผมเลือกที่จะเขียนให้ผู้จัดการมากกว่าเขียนให้ฉบับอื่น เพราะผมเห็นว่า สนธิมีกึ๋น เป็นของจริง ไม่ใช่ของปลอมอย่างคนหลายคน
การยกเอาเรื่องแบบนี้มาแสดงให้เห็นความไร้เดียงสา และน่าสมเพชของสื่อบางฉบับ การต่อสู้ทางการเมืองปัจจุบัน สื่อบางฉบับยังตำหนิคนที่ไปประท้วงนายสมัครเลย ความทรงจำตอน 6 ตุลา 2519 หมดไปแล้วหรืออย่างไร
การเมืองเวลานี้เป็นเรื่องปกติที่เราต้องแก้ปัญหาด้วยตนเอง สมัยก่อนทหารเข้ามาแทรกแซง และเราก็เริ่มกันใหม่เหมือนกับการผลักปัญหาออกไปไม่มุ่งแก้ไขอย่างจริงจัง บัดนี้เราต้องคิดกันให้ดีว่า ระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยที่เราต้องการนั้น ทำอย่างไรจึงจะไม่สร้างปัญหาในทางการเมืองเสียเอง
ผมขอถือโอกาสขอบคุณท่านที่ได้กรุณาส่งพวงหรีด และร่วมทำบุญในงานศพพ่อผมด้วย เงินที่ได้ผมจะนำไปบริจาคให้โรงพยาบาลจุฬาฯ ครับ