ผู้จัดการายวัน – บลจ.หวังก.ล.ต.ช่วยแก้กฎกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ให้สถาบันเข้าถือหน่วยลงทุนได้ถึง 70%จากทั้งหมด เพื่อช่วยบุกเบิกตลาดพร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์ให้เป็นที่รู้จักและได้รับความสนใจมากขึ้น หลังวิกฤตการเงินฉุดความมั่นใจรายย่อย จนการเชิญชวนร่วมระดมทุนจัดตั้งโครงการเป็นได้อย่างยากลำบาก วอนผ่อนคลายเกณฑ์สักระยะเพื่อผลดีต่อทุกฝ่าย
นายสมพร บุรินทรารธิกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)เอ็มเอฟซี จำกัด กล่าวถึงแนวทางการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์)ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้และในปี 2552 ว่า ขณะนี้การระดมทุนจากนักลงทุนรายย่อยเป็นเรื่องที่ลำบาก ตรงข้ามกับนักลงทุนสถาบันซึ่งมีความสนใจลงทุนในพร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์มากกว่า โดยเรื่องดังกล่าวอยากจะขาร้องให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)พิจารณาหาทางช่วย เพื่อให้การจัดตั้งกองทุนประเภทดังกล่าวง่ายขึ้น และสามารถรองรับความต้องการของนักลงทุนที่หันมานิยมการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำท่ามกลางกระแสการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนี้
โดยเสนอว่า สำหรับกองทุนรวมอสังหาฯที่จะมีการจัดตั้งใหม่ ก.ล.ต.ควรอนุมัติให้สถาบันเข้าถือหน่วยลงทุนได้สูงสุดถึง70% ของหน่วยลงทุนทั้งหมด จากเดิมที่มีข้อบังคับให้จำนวนหน่วยลงทุนของโครงการสัดส่วน 2 ใน 3 ส่วนต้องมาจากการกระดมของนักลงทุนรายย่อย ซึ่งทำให้สถาบันมีสัดส่วนการลงทุนในพร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์เพียง 1 ใน3 ของโครงการ ซึ่งจะคล้ายกับเรื่องที่เคยยื่นเสนอให้สามารถระดมทุนจากรายย่อยขั้นต่ำ 50% เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการจัดตั้งกองทุน รวมทั้งเป็นการเปิดตลาดกองทุนรวมอสังหาฯให้นักลงทุนรู้จักและมีความสนใจมากยิ่งขึ้น
ขณะเดียวกัน นโยบายดังกล่าว ส่วนตัวไม่ต้องการให้เป็นนโยบายหรือกฏเกณฑ์ถาวร โดยคาดว่าน่าจะมีระยะเวลาประมาณ 5 ปี สำหรับการรุกตลาดกองทุนอสังหาฯ ให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจากนักลงทุนรายย่อยเท่านั้น เนื่องจากการมีสถาบันเข้ามาถือหน่วยลงทุนเพิ่มนี้ จะยิ่งช่วยสร้างความสนใจและความมั่นใจแก่นักลงทุนรายย่อยได้
ทั้งนี้ที่ผ่านมากองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนไทยตลาดหลักทรัพย์ ส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องสภาพคล่องของกองทุนที่อยู่ในระดับต่ำ จึงไม่ได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนเท่าที่ควร อีกทั้งจากภาวะวิกฤตสถาบันการเงินที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก ได้ส่งผลกระทบมาถึงราคาหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาฯที่ทำการจดทะเบียนไปก่อนหน้านี้เช่นกัน
รายงานข่าวระบุว่า ที่ผ่านมาทางก.ล.ต.ได้ให้ความสำคัญกับนักลงทุนรายย่อยอย่างสม่ำเสมอ โดยกำหนดว่าในการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ บริษัทจัดการลงทุน (บลจ.)ต้องให้ความสำคัญในการจัดสรรหน่วยลงทุนแก่นักลงทุนรายย่อยเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อให้กองทุนประเภทนี้ เป็นอีกทางเลือกในการลงทุนที่เหมาะสม และเอื้อต่อนักลงทุนทั่วไป เพื่อสามารถเข้าถึงผลประโยชน์จากการลงทุนในระดับที่ดี และมีความเสี่ยงต่ำ
แหล่งข่าวผู้จัดการกองทุนรายหนึ่ง กล่าวว่า เรื่องนี้นับเป็นปัญหาให้กับทุกบลจ.ในการจัดตั้งพร็อพเพอร์ตี้ โดยเฉพาะในช่วงนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ยากหากจะมีการจัดตั้งกองทุนประเภทนี้ขึ้น เนื่องจากภาวะการลงทุนในขณะนี้สร้างความหวั่นเกรงให้กับรายย่อย จนไม่กล้าลงทุนในทรัพย์สินประเภทอื่นๆเพิ่มเติม จึงถือเป็นความยากลำบากของบลจ.ในการชวนระดมทุน
แต่กลับกัน ในส่วนของนักลงทุนสถาบัน การลงทุนในกองทุนรวมอสังหาฯถือว่าเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์การเงินที่ได้รับความสนใจ หากโครงการนั้นมีศักยภาพที่ดี โดยที่ผ่านมานักลงทุนสถาบันบางรายต้องพบความผิดหวังจากการเข้าร่วมระดมทุน เนื่องจากได้รับหน่วยลงทุนในโครงการน้อยจนเกินไปกว่าที่องค์กรคาดหวังไว้
“การเปิดทางให้สถาบันเข้ามาถือหน่วยลงทุนในพร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์มากขึ้นจากเดิมที่ให้ได้เต็มที่แก่ 1ใน3ของหน่วยลงทุนทั้งหมด ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีและก.ล.ต.ควรลองพิจารณาในเรื่องนี้ เพราะจะช่วยให้ตลาดกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นทั้งจากนักลงทุนสถาบัน รวมทั้งนักลงทุนรายย่อย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น แต่หากก.ล.ต.ยังคงกฎตามเดิมก็เป็นเรื่องยากในการจัดตั้งกองทุน เพราะช่วงนี้และในปีหน้าการระดมทุนจากรายย่อยเพื่อมาจัดตั้งพร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์จะยิ่งเป็นเรื่องยากลำบากยิ่งขึ้น”แหล่งข่าวกล่าว
ก่อนหน้านี้ มีการประเมินแนวโน้มการลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในปี 2552 ว่าต่อไปสภาพคล่องจะมีน้อยลง กองทุนที่จัดตั้งใหม่ และการเพิ่มทุนของกองทุนเดิมจะเกิดขึ้นได้น้อย เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อที่ลดลงจะส่งผลต่อทั้งอุปสงค์และอุปทาน โดยการพัฒนาโครงการใหม่จะน้อยลง ส่วนโครงการที่ยังสร้างไม่เสร็จอาจหยุดชะงัก หรือหยุดโครงการโดยสิ้นเชิง ขณะเดียวกันสินทรัพย์ที่ใช้ในการทำธุรกิจอย่างเช่น อพาร์เมนต์ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ โรงแรมจะประสบปัญหาจากจำนวนลูกค้าที่ลดลง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ดังนั้นถ้าปัญหาวิกฤตการเงินยืดเยื้อ เรื่องดังกล่าวจะส่งผลต่อภาพรวมเป็นอย่างมาก
เช่นเดียวกับธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งจะต้องดูตัวเลขการขอส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอให้ดี เพราะที่ผ่านมาตัวเลขดังกล่าวมีการลดลง อีกทั้งในหลายปีที่ผ่านมาจากข้อมูลพบว่านักลงทุนที่เข้ามาจะเป็นรายเล็กและผู้ประกอบการขนาดกลาง ซึ่งมีบริษัทแม่อยู่ในต่างประเทศเข้ามาเช่าพื้นที่และโรงงานในไทยดังนั้นเมื่อบริษัทแม่เกิดปัญหานักลงทุนเหล่านี้พร้อมที่จะถอนเงินออกจากไทยได้ในทันที ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรมเช่นกัน
โดยวิธีแก้ไขของผู้ประกอบการ คืออาจมีการเสนอขายโครงการใหม่ให้นักลงทุนที่ไม่มีความจำเป็นจะต้องกู้สินเชื่อในประเทศมากนัก หรือเป็นพวกแหล่งทุนที่มีเงินสดสูง ส่วนนักลงทุนที่สนใจมีความรู้ และประสบการณ์ด้านลงทุนที่สูง ส่วนการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาฯนักลงทุนต้องให้ความสำคัญกับแหล่งที่มาของรายได้และโครงสร้างในการจัดการทรัพย์สินของกองทุนให้มากขึ้น รวมถึงปัจจัยในเรื่องสิทธิตามกฎหมายในการครอบครองสินทรัพย์การสร้างดุลยภาพระหว่างความเสี่ยงในการลงทุนและการเติบโตของสินทรัพย์
นายสมพร บุรินทรารธิกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)เอ็มเอฟซี จำกัด กล่าวถึงแนวทางการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์)ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้และในปี 2552 ว่า ขณะนี้การระดมทุนจากนักลงทุนรายย่อยเป็นเรื่องที่ลำบาก ตรงข้ามกับนักลงทุนสถาบันซึ่งมีความสนใจลงทุนในพร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์มากกว่า โดยเรื่องดังกล่าวอยากจะขาร้องให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)พิจารณาหาทางช่วย เพื่อให้การจัดตั้งกองทุนประเภทดังกล่าวง่ายขึ้น และสามารถรองรับความต้องการของนักลงทุนที่หันมานิยมการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำท่ามกลางกระแสการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนี้
โดยเสนอว่า สำหรับกองทุนรวมอสังหาฯที่จะมีการจัดตั้งใหม่ ก.ล.ต.ควรอนุมัติให้สถาบันเข้าถือหน่วยลงทุนได้สูงสุดถึง70% ของหน่วยลงทุนทั้งหมด จากเดิมที่มีข้อบังคับให้จำนวนหน่วยลงทุนของโครงการสัดส่วน 2 ใน 3 ส่วนต้องมาจากการกระดมของนักลงทุนรายย่อย ซึ่งทำให้สถาบันมีสัดส่วนการลงทุนในพร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์เพียง 1 ใน3 ของโครงการ ซึ่งจะคล้ายกับเรื่องที่เคยยื่นเสนอให้สามารถระดมทุนจากรายย่อยขั้นต่ำ 50% เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการจัดตั้งกองทุน รวมทั้งเป็นการเปิดตลาดกองทุนรวมอสังหาฯให้นักลงทุนรู้จักและมีความสนใจมากยิ่งขึ้น
ขณะเดียวกัน นโยบายดังกล่าว ส่วนตัวไม่ต้องการให้เป็นนโยบายหรือกฏเกณฑ์ถาวร โดยคาดว่าน่าจะมีระยะเวลาประมาณ 5 ปี สำหรับการรุกตลาดกองทุนอสังหาฯ ให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจากนักลงทุนรายย่อยเท่านั้น เนื่องจากการมีสถาบันเข้ามาถือหน่วยลงทุนเพิ่มนี้ จะยิ่งช่วยสร้างความสนใจและความมั่นใจแก่นักลงทุนรายย่อยได้
ทั้งนี้ที่ผ่านมากองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนไทยตลาดหลักทรัพย์ ส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องสภาพคล่องของกองทุนที่อยู่ในระดับต่ำ จึงไม่ได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนเท่าที่ควร อีกทั้งจากภาวะวิกฤตสถาบันการเงินที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก ได้ส่งผลกระทบมาถึงราคาหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาฯที่ทำการจดทะเบียนไปก่อนหน้านี้เช่นกัน
รายงานข่าวระบุว่า ที่ผ่านมาทางก.ล.ต.ได้ให้ความสำคัญกับนักลงทุนรายย่อยอย่างสม่ำเสมอ โดยกำหนดว่าในการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ บริษัทจัดการลงทุน (บลจ.)ต้องให้ความสำคัญในการจัดสรรหน่วยลงทุนแก่นักลงทุนรายย่อยเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อให้กองทุนประเภทนี้ เป็นอีกทางเลือกในการลงทุนที่เหมาะสม และเอื้อต่อนักลงทุนทั่วไป เพื่อสามารถเข้าถึงผลประโยชน์จากการลงทุนในระดับที่ดี และมีความเสี่ยงต่ำ
แหล่งข่าวผู้จัดการกองทุนรายหนึ่ง กล่าวว่า เรื่องนี้นับเป็นปัญหาให้กับทุกบลจ.ในการจัดตั้งพร็อพเพอร์ตี้ โดยเฉพาะในช่วงนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ยากหากจะมีการจัดตั้งกองทุนประเภทนี้ขึ้น เนื่องจากภาวะการลงทุนในขณะนี้สร้างความหวั่นเกรงให้กับรายย่อย จนไม่กล้าลงทุนในทรัพย์สินประเภทอื่นๆเพิ่มเติม จึงถือเป็นความยากลำบากของบลจ.ในการชวนระดมทุน
แต่กลับกัน ในส่วนของนักลงทุนสถาบัน การลงทุนในกองทุนรวมอสังหาฯถือว่าเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์การเงินที่ได้รับความสนใจ หากโครงการนั้นมีศักยภาพที่ดี โดยที่ผ่านมานักลงทุนสถาบันบางรายต้องพบความผิดหวังจากการเข้าร่วมระดมทุน เนื่องจากได้รับหน่วยลงทุนในโครงการน้อยจนเกินไปกว่าที่องค์กรคาดหวังไว้
“การเปิดทางให้สถาบันเข้ามาถือหน่วยลงทุนในพร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์มากขึ้นจากเดิมที่ให้ได้เต็มที่แก่ 1ใน3ของหน่วยลงทุนทั้งหมด ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีและก.ล.ต.ควรลองพิจารณาในเรื่องนี้ เพราะจะช่วยให้ตลาดกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นทั้งจากนักลงทุนสถาบัน รวมทั้งนักลงทุนรายย่อย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น แต่หากก.ล.ต.ยังคงกฎตามเดิมก็เป็นเรื่องยากในการจัดตั้งกองทุน เพราะช่วงนี้และในปีหน้าการระดมทุนจากรายย่อยเพื่อมาจัดตั้งพร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์จะยิ่งเป็นเรื่องยากลำบากยิ่งขึ้น”แหล่งข่าวกล่าว
ก่อนหน้านี้ มีการประเมินแนวโน้มการลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในปี 2552 ว่าต่อไปสภาพคล่องจะมีน้อยลง กองทุนที่จัดตั้งใหม่ และการเพิ่มทุนของกองทุนเดิมจะเกิดขึ้นได้น้อย เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อที่ลดลงจะส่งผลต่อทั้งอุปสงค์และอุปทาน โดยการพัฒนาโครงการใหม่จะน้อยลง ส่วนโครงการที่ยังสร้างไม่เสร็จอาจหยุดชะงัก หรือหยุดโครงการโดยสิ้นเชิง ขณะเดียวกันสินทรัพย์ที่ใช้ในการทำธุรกิจอย่างเช่น อพาร์เมนต์ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ โรงแรมจะประสบปัญหาจากจำนวนลูกค้าที่ลดลง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ดังนั้นถ้าปัญหาวิกฤตการเงินยืดเยื้อ เรื่องดังกล่าวจะส่งผลต่อภาพรวมเป็นอย่างมาก
เช่นเดียวกับธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งจะต้องดูตัวเลขการขอส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอให้ดี เพราะที่ผ่านมาตัวเลขดังกล่าวมีการลดลง อีกทั้งในหลายปีที่ผ่านมาจากข้อมูลพบว่านักลงทุนที่เข้ามาจะเป็นรายเล็กและผู้ประกอบการขนาดกลาง ซึ่งมีบริษัทแม่อยู่ในต่างประเทศเข้ามาเช่าพื้นที่และโรงงานในไทยดังนั้นเมื่อบริษัทแม่เกิดปัญหานักลงทุนเหล่านี้พร้อมที่จะถอนเงินออกจากไทยได้ในทันที ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรมเช่นกัน
โดยวิธีแก้ไขของผู้ประกอบการ คืออาจมีการเสนอขายโครงการใหม่ให้นักลงทุนที่ไม่มีความจำเป็นจะต้องกู้สินเชื่อในประเทศมากนัก หรือเป็นพวกแหล่งทุนที่มีเงินสดสูง ส่วนนักลงทุนที่สนใจมีความรู้ และประสบการณ์ด้านลงทุนที่สูง ส่วนการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาฯนักลงทุนต้องให้ความสำคัญกับแหล่งที่มาของรายได้และโครงสร้างในการจัดการทรัพย์สินของกองทุนให้มากขึ้น รวมถึงปัจจัยในเรื่องสิทธิตามกฎหมายในการครอบครองสินทรัพย์การสร้างดุลยภาพระหว่างความเสี่ยงในการลงทุนและการเติบโตของสินทรัพย์