ส.ว.เรียกร้องความเป็นธรรมให้ "รสนา" รุมอัด"รองนิคม" รับลูกส.ส.พลังแม้ว ยัดวาระถอดถอนเข้าที่ประชุมเป็นเรื่องด่วนทั้งที่รู้ว่าไม่ผิด ด้านปธ.วุฒิฯ แจงเป็นวาระแจ้งเพื่อทราบ "เกชา" อ้างเห็นผู้ติดตามเข้ามาก่อนรสนาโดนส.ส.ล้อมกรอบ ขณะที่"รสนา" ยันไม่ได้นำใครเข้ามา ชี้การยื่นถอดถอนหวังดิสเครดิต ขู่สอบกลับทุจริต เอ็นบีที ฐานตีขลุมเป็นสถานีของพลังประชาชน
การประชุมวุฒิสภาเมื่อวานนี้ (7พ.ย.) มีนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานการประชุม ทั้งนี้นายนิคม แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ กรณี ส.ส.145 คน เข้าชื่อถอดถอนน.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 โดยระบุว่า มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง โดยขัดขวางการทำงานของสภา และพาผู้ติดตามเข้ามาในห้องประชุมสภา ในการประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา อภิปรายว่า ตอนนี้มีความพยายามทำให้เข้าใจเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค. คลาดเคลื่อน โดยบิดเบือนว่ามีส.ว.จำนวนหนึ่งไม่ต้องการให้รัฐสภาประชุมได้ และกล่าวหาว่ามีการเปิดโรงแรมสวนดุสิตเพลส เป็นกองบัญชาการ ใช้กล้องส่องทางไกลส่องมายังสภาและแจ้งความเคลื่อนไหวในสภากับกลุ่มพันธมิตรฯ จึงขอยืนยันว่าตน และน.ส.รสนา ต้องการให้บ้านเมืองเดินต่อไปอย่างมีนิติรัฐ และมีการใช้อำนาจรัฐโดยชอบธรรม และไม่ได้มีพฤติกรรมอย่างที่มีการกล่าวหา ซึ่งน.ส.รสนาไม่ได้เข้ามาก่อกวนการประชุม แต่ได้เข้ามาทักท้วง เนื่องจากมีผู้บาดเจ็บมากมายจากการสลายการชุมนุม เพื่อให้รัฐบาลเข้ามาแถลงนโยบายได้ในวันดังกล่าว
ส่วนที่มีการกล่าวหาว่าน.ส.รสนา พาผู้ติดตามที่เป็นสามีเข้าห้องประชุม การประชุมในวันนั้นน.ส.รสนาโดนส.ส.หลายคนเข้ามารุมล้อมกรอบ วิสัยคนเป็นสามีหากเห็นภรรยากำลังถูกคุกคาม ก็ต้องเข้ามาปกป้อง จึงขอถามว่าวุฒิสภาจะปล่อยให้สมาชิกที่ปฏิบัติหน้าที่ ถูกข่มขู่ โห่ฮา โดนขู่จะเตะ เมื่อลุกขึ้นอภิปรายในการประชุมร่วมของรัฐสภาหรือ จึงเสนอให้ที่ประชุมหารือในเรื่องดังกล่าว รวมถึงหารือปัญหาความขัดแย้งในวุฒิสภา ที่มีการพูดจากันจบแล้วในวิปวุฒิ แต่กลับมี ส.ว.หยิบมาพูดอีกในการประชุมสัปดาห์ที่แล้ว
อย่างไรก็ดี นายนิคม แจ้งว่าขอให้พิจารณาวาระอื่นก่อน เพราะมีกระทู้หลายกระทู้ และปัญหาในวุฒิสภาจบแล้ว แต่นายสมชาย ทักท้วงว่าปัญหาบ้านเมืองในวันนี้คือ การไม่เอาความจริงมาพูดกัน และเอาซุกไว้ใต้พรม จึงควรหารือเพื่อไม่ให้ปัญหาบานปลายออกไป
นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา กล่าวว่า เมื่อมีเรื่องเข้ามา ก็ต้องสอบสวนให้ได้ข้อยุติก่อนแจ้งที่ประชุม แต่ที่ประธานทำเหมือนเป็นการรับลูกจากฝ่ายการเมือง เพราะ 2-3 วันที่ผ่านมา มีการยื่นถอดถอนส.ว. หลายกรณี เช่น กรณี ส.ว.ยื่นเรื่องให้อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ทบทวนการนำเทปรายการความจริงวันนี้สัญจร ออกอากาศ ซึ่งอาจทำให้ความขัดแย้งในบ้านเมืองบานปลาย แต่ส.ส.ก็ยื่นเรื่องถอดถอน ฉะนั้นเห็นว่า ถ้าเป็นการเล่นเหลี่ยมทางการเมือง ประธานไม่ควรนำมาในที่ประชุม จนกว่าจะตั้งกรรมการสอบสวนจนได้ข้อยุติ
นอกจากนี้วาระนี้ เป็นวาระเรื่องด่วน และเข้ามาตอนนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภาไม่อยู่บนบัลลังก์ประธาน สมาชิกจึงสงสัย ฉะนั้นตนขอเสนอญัตติให้เลื่อนวาระนี้ออกไปก่อน ทำให้ นายนิคม ชี้แจงว่า เรื่องนี้ไม่ใช่ประเด็นการเมือง แต่เป็นการทำตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา ข้อ 112 ที่ต้องแจ้งให้ที่ประชุมทราบ จากนั้นถึงค่อยตั้งกรรมการสอบสวน แต่นายตวง ลุกขึ้นแย้งว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่แจ้งมาใหม่ ถือเป็นวาระใหม่ ประธาน และรองประธาน จึงควรคุยกันภายนอกก่อน ไม่เช่นนั้น จะเหมือนเป็นการรับลูกจากฝ่ายการเมือง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นส.ว. อีกหลายคน ได้อภิปรายเรียกร้องความเป็นธรรมให้น.ส.รสนา โดยระบุว่า เหตุวันดังกล่าวน.ส.รสนาไม่ได้พาผู้ติดตามเข้ามา และไม่เคยพาผู้ติดตามเข้ามาในการประชุมวุฒิสภาตามที่ ส.ส.หญิง พรรคพลังประชาชน แกนนำการยื่นถอดถอนระบุ
ทั้งนี้ เมื่อผู้ติดตามของน.ส.รสนา เป็นสามี และเห็นภรรยากำลังโดน ส.ส.4 -5 คนเดินเข้ามารุมล้อม ชี้หน้า โห่ฮา ด่าทอ ก็เป็นวิสัยของสามีที่จะเข้ามาปกป้อง และเมื่อเข้ามาก็มานั่งคุมเชิงไม่ได้ลุกขึ้นมาทำอะไร จึงไม่ร้ายแรงถึงต้องยื่นถอดถอน และไม่เข้าเกณฑ์รัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ขณะที่ ส.ส.คนหนึ่งมีพฤติกรรมไม่สมควรในสภาถึง 2 ครั้ง แต่กลับไม่มีการทำอะไร
นายประสพสุข บุญเดช วุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม ชี้แจงว่าเมื่อมีการยื่นเรื่องถอนถอนมายังตน ตามข้อบังคับการประชุมข้อ 112 ประธานวุฒิสภา ต้องแจ้งให้ที่ประชุมวุฒิสภาทราบโดยเร็ว จากนั้นจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการต่อ ถ้าพบว่ามีมูลป.ป.ช.จะส่งมายังวุฒิสภา เพื่อดำเนินการตามกระบวนการถอดถอนต่อไป ซึ่งตนเคยแจ้งเรื่องในลักษณะอย่างนี้ ต่อที่ประชุมหลายครั้งแล้ว
อย่างไรก็ดี เมื่อมีญัตติเข้ามา 2 ญัตติ จึงขอมติที่ประชุม ผลปรากฏว่าที่ประชุมมีมติให้พิจารณาเรื่องดัง
กล่าวต่อไป ด้วยคะแนน 42 ต่อ 41 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง จากนั้นเป็นการพิจารณาวาระเพื่อทราบ กรณีที่ ส.ส. 145 คน เข้าชื่อยื่นถอดถอน น.ส.รสนา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 โดย ส.ว.หลายคนอาทิ นายจำนงค์ สวมประคำ นายอนุรักษ์ นิยมเวช ส.ว.สรรหา อภิปรายว่า ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการแจ้งเพื่อทราบ จึงต้องรอป.ป.ช. สอบสวนก่อน หากมีมูลจึงส่งเรื่องกลับมาให้วุฒิสภาพิจารณา ฉะนั้นขั้นตอนนี้ จึงไม่ต้องอภิปรายชี้ผิดชี้ถูกมากมาย
ด้านนายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว.ราชบุรี กล่าวว่า การประชุมรัฐสภาวันที่ 7 ต.ค. ในห้องประชุม ตนนั่งอยู่ใกล้ผู้ติดตามของน.ส.รสนา และเห็นผู้ติดตามของน.ส.รสนา เข้ามานั่งในห้องประชุมอย่างสงบเสงี่ยม พยายามก้มหน้าหลบและพูดโทรศัพท์ ซึ่งเข้ามาก่อนจะมี ส.ส.มารุมล้อม น.ส.รสนา แล้วและเมื่อมีเหตุการณ์ ก็ไม่เห็นว่าผู้ติดตามจะพยายามมาปกป้อง น.ส.รสนา และน.ส.รสนา ก็นั่งห่างกับผู้ติดตามถึง 5 แถว
น.ส.รสนา ชี้แจงว่า ขอยืนยันว่าไม่ได้นำคนนอกเข้ามา ส่วนผู้ติดตามจะเข้ามาในห้องประชุมเมื่อไร ตนไม่ทราบ แต่หากผู้ติดตามเข้ามามีความผิด ก็ต้องดำเนินการสอบสวนแยกออกจากกรณีของตน โดยให้ตรวจสอบเป็นรายบุคคล ส่วนกรณีที่กล่าวหาว่า ตนร่วมมือกับพันธมิตรฯโดยแบ่งแยกหน้าที่กันทำ ก็ขอปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นพวกเดียวกับพันธมิตรฯ และไม่ได้ออกจากรัฐสภาก่อนสมาชิกคนอื่น
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา อภิปรายว่า น.ส.รสนาไม่เกี่ยวข้องกับพันธมิตรฯ ที่มีคนบอกว่ามีความเกี่ยวข้องเพราะขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ขอยืนยันว่าน.ส.รสนาไม่ได้ขึ้นเวทีพันธมิตรฯมานานแล้ว
และแทบจะไม่รู้จักแกนนำพันธมิตรฯ เป็นการส่วนตัว ตนไม่อยากให้กล่าวหากันโดยสวมหมวกให้กันง่ายๆ ว่าใครเป็นพวกใคร ใครเป็นสายให้ใคร ใครทำตามใครสั่ง คนมีความแตกต่างกันได้ แต่ต้องคิดให้รอบด้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากสมาชิกอภิปรายนานกว่า 2 ชั่วโมงครึ่ง ประธานวุฒิสภา จึงสั่งปิดประชุมเมื่อเวลา 15.10 น.
เมื่อเวลา10.20 น. วานนี้ (7 พ.ย.) เครือข่ายแรงงานนอกระบบและมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ นำโดย นายสมคิด ด้วงเงิน เข้ายื่นดอกไม้ให้กำลังใจน.ส.รสนา ที่ถูก ส.ส.พรรคพลังประชาชน ยื่นเรื่องถอดถอนจากตำแหน่ง โดยน.ส.รสนา ให้สัมภาษณ์ ภายหลังการรับดอกไม้ว่าไม่รู้สึกกังวลที่ถูกยื่นถอดถอน โดยอ้างว่าผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 แทรกแซงสถานีโทรทัศน์ เอ็นบีที. เพราะเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นความจริง มั่นใจว่าจะชี้แจงได้ เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าว เป็นเพียงการทักท้วงให้สถานีโทรทัศน์ เอ็นบีที. ดำเนินการให้ถูกต้องในฐานะที่เป็นสื่อของรัฐที่ขณะนี้มีการตีความไปว่า เอ็นบีที เป็นของรัฐบาล และย่นย่อไปว่า เป็นของพรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาล จึงพยายามทำเพื่อประโยชน์ของพรรคการเมือง เป็นการเข้าใจผิด อาจเข้าข่ายทุจริตก็ได้ โดยทางกลุ่ม ส.ว.จะตรวจสอบในเรื่องนี้ต่อไป
"การยื่นถอดถอนดังกล่าวเป็นการดิสเครดิตทางการเมือง เพราะกลุ่ม ส.ว.ตรวจสอบรัฐบาลอย่างเข้มแข็ง ทำให้พรรครัฐบาลไม่พอใจ จึงหยิบกฎหมายมาใช้ผิดๆ ถูกๆ เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือ ของกลุ่มส.ว." น.ส.รสนากล่าว
การประชุมวุฒิสภาเมื่อวานนี้ (7พ.ย.) มีนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานการประชุม ทั้งนี้นายนิคม แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ กรณี ส.ส.145 คน เข้าชื่อถอดถอนน.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 โดยระบุว่า มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง โดยขัดขวางการทำงานของสภา และพาผู้ติดตามเข้ามาในห้องประชุมสภา ในการประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา อภิปรายว่า ตอนนี้มีความพยายามทำให้เข้าใจเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค. คลาดเคลื่อน โดยบิดเบือนว่ามีส.ว.จำนวนหนึ่งไม่ต้องการให้รัฐสภาประชุมได้ และกล่าวหาว่ามีการเปิดโรงแรมสวนดุสิตเพลส เป็นกองบัญชาการ ใช้กล้องส่องทางไกลส่องมายังสภาและแจ้งความเคลื่อนไหวในสภากับกลุ่มพันธมิตรฯ จึงขอยืนยันว่าตน และน.ส.รสนา ต้องการให้บ้านเมืองเดินต่อไปอย่างมีนิติรัฐ และมีการใช้อำนาจรัฐโดยชอบธรรม และไม่ได้มีพฤติกรรมอย่างที่มีการกล่าวหา ซึ่งน.ส.รสนาไม่ได้เข้ามาก่อกวนการประชุม แต่ได้เข้ามาทักท้วง เนื่องจากมีผู้บาดเจ็บมากมายจากการสลายการชุมนุม เพื่อให้รัฐบาลเข้ามาแถลงนโยบายได้ในวันดังกล่าว
ส่วนที่มีการกล่าวหาว่าน.ส.รสนา พาผู้ติดตามที่เป็นสามีเข้าห้องประชุม การประชุมในวันนั้นน.ส.รสนาโดนส.ส.หลายคนเข้ามารุมล้อมกรอบ วิสัยคนเป็นสามีหากเห็นภรรยากำลังถูกคุกคาม ก็ต้องเข้ามาปกป้อง จึงขอถามว่าวุฒิสภาจะปล่อยให้สมาชิกที่ปฏิบัติหน้าที่ ถูกข่มขู่ โห่ฮา โดนขู่จะเตะ เมื่อลุกขึ้นอภิปรายในการประชุมร่วมของรัฐสภาหรือ จึงเสนอให้ที่ประชุมหารือในเรื่องดังกล่าว รวมถึงหารือปัญหาความขัดแย้งในวุฒิสภา ที่มีการพูดจากันจบแล้วในวิปวุฒิ แต่กลับมี ส.ว.หยิบมาพูดอีกในการประชุมสัปดาห์ที่แล้ว
อย่างไรก็ดี นายนิคม แจ้งว่าขอให้พิจารณาวาระอื่นก่อน เพราะมีกระทู้หลายกระทู้ และปัญหาในวุฒิสภาจบแล้ว แต่นายสมชาย ทักท้วงว่าปัญหาบ้านเมืองในวันนี้คือ การไม่เอาความจริงมาพูดกัน และเอาซุกไว้ใต้พรม จึงควรหารือเพื่อไม่ให้ปัญหาบานปลายออกไป
นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา กล่าวว่า เมื่อมีเรื่องเข้ามา ก็ต้องสอบสวนให้ได้ข้อยุติก่อนแจ้งที่ประชุม แต่ที่ประธานทำเหมือนเป็นการรับลูกจากฝ่ายการเมือง เพราะ 2-3 วันที่ผ่านมา มีการยื่นถอดถอนส.ว. หลายกรณี เช่น กรณี ส.ว.ยื่นเรื่องให้อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ทบทวนการนำเทปรายการความจริงวันนี้สัญจร ออกอากาศ ซึ่งอาจทำให้ความขัดแย้งในบ้านเมืองบานปลาย แต่ส.ส.ก็ยื่นเรื่องถอดถอน ฉะนั้นเห็นว่า ถ้าเป็นการเล่นเหลี่ยมทางการเมือง ประธานไม่ควรนำมาในที่ประชุม จนกว่าจะตั้งกรรมการสอบสวนจนได้ข้อยุติ
นอกจากนี้วาระนี้ เป็นวาระเรื่องด่วน และเข้ามาตอนนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภาไม่อยู่บนบัลลังก์ประธาน สมาชิกจึงสงสัย ฉะนั้นตนขอเสนอญัตติให้เลื่อนวาระนี้ออกไปก่อน ทำให้ นายนิคม ชี้แจงว่า เรื่องนี้ไม่ใช่ประเด็นการเมือง แต่เป็นการทำตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา ข้อ 112 ที่ต้องแจ้งให้ที่ประชุมทราบ จากนั้นถึงค่อยตั้งกรรมการสอบสวน แต่นายตวง ลุกขึ้นแย้งว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่แจ้งมาใหม่ ถือเป็นวาระใหม่ ประธาน และรองประธาน จึงควรคุยกันภายนอกก่อน ไม่เช่นนั้น จะเหมือนเป็นการรับลูกจากฝ่ายการเมือง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นส.ว. อีกหลายคน ได้อภิปรายเรียกร้องความเป็นธรรมให้น.ส.รสนา โดยระบุว่า เหตุวันดังกล่าวน.ส.รสนาไม่ได้พาผู้ติดตามเข้ามา และไม่เคยพาผู้ติดตามเข้ามาในการประชุมวุฒิสภาตามที่ ส.ส.หญิง พรรคพลังประชาชน แกนนำการยื่นถอดถอนระบุ
ทั้งนี้ เมื่อผู้ติดตามของน.ส.รสนา เป็นสามี และเห็นภรรยากำลังโดน ส.ส.4 -5 คนเดินเข้ามารุมล้อม ชี้หน้า โห่ฮา ด่าทอ ก็เป็นวิสัยของสามีที่จะเข้ามาปกป้อง และเมื่อเข้ามาก็มานั่งคุมเชิงไม่ได้ลุกขึ้นมาทำอะไร จึงไม่ร้ายแรงถึงต้องยื่นถอดถอน และไม่เข้าเกณฑ์รัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ขณะที่ ส.ส.คนหนึ่งมีพฤติกรรมไม่สมควรในสภาถึง 2 ครั้ง แต่กลับไม่มีการทำอะไร
นายประสพสุข บุญเดช วุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม ชี้แจงว่าเมื่อมีการยื่นเรื่องถอนถอนมายังตน ตามข้อบังคับการประชุมข้อ 112 ประธานวุฒิสภา ต้องแจ้งให้ที่ประชุมวุฒิสภาทราบโดยเร็ว จากนั้นจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการต่อ ถ้าพบว่ามีมูลป.ป.ช.จะส่งมายังวุฒิสภา เพื่อดำเนินการตามกระบวนการถอดถอนต่อไป ซึ่งตนเคยแจ้งเรื่องในลักษณะอย่างนี้ ต่อที่ประชุมหลายครั้งแล้ว
อย่างไรก็ดี เมื่อมีญัตติเข้ามา 2 ญัตติ จึงขอมติที่ประชุม ผลปรากฏว่าที่ประชุมมีมติให้พิจารณาเรื่องดัง
กล่าวต่อไป ด้วยคะแนน 42 ต่อ 41 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง จากนั้นเป็นการพิจารณาวาระเพื่อทราบ กรณีที่ ส.ส. 145 คน เข้าชื่อยื่นถอดถอน น.ส.รสนา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 โดย ส.ว.หลายคนอาทิ นายจำนงค์ สวมประคำ นายอนุรักษ์ นิยมเวช ส.ว.สรรหา อภิปรายว่า ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการแจ้งเพื่อทราบ จึงต้องรอป.ป.ช. สอบสวนก่อน หากมีมูลจึงส่งเรื่องกลับมาให้วุฒิสภาพิจารณา ฉะนั้นขั้นตอนนี้ จึงไม่ต้องอภิปรายชี้ผิดชี้ถูกมากมาย
ด้านนายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว.ราชบุรี กล่าวว่า การประชุมรัฐสภาวันที่ 7 ต.ค. ในห้องประชุม ตนนั่งอยู่ใกล้ผู้ติดตามของน.ส.รสนา และเห็นผู้ติดตามของน.ส.รสนา เข้ามานั่งในห้องประชุมอย่างสงบเสงี่ยม พยายามก้มหน้าหลบและพูดโทรศัพท์ ซึ่งเข้ามาก่อนจะมี ส.ส.มารุมล้อม น.ส.รสนา แล้วและเมื่อมีเหตุการณ์ ก็ไม่เห็นว่าผู้ติดตามจะพยายามมาปกป้อง น.ส.รสนา และน.ส.รสนา ก็นั่งห่างกับผู้ติดตามถึง 5 แถว
น.ส.รสนา ชี้แจงว่า ขอยืนยันว่าไม่ได้นำคนนอกเข้ามา ส่วนผู้ติดตามจะเข้ามาในห้องประชุมเมื่อไร ตนไม่ทราบ แต่หากผู้ติดตามเข้ามามีความผิด ก็ต้องดำเนินการสอบสวนแยกออกจากกรณีของตน โดยให้ตรวจสอบเป็นรายบุคคล ส่วนกรณีที่กล่าวหาว่า ตนร่วมมือกับพันธมิตรฯโดยแบ่งแยกหน้าที่กันทำ ก็ขอปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นพวกเดียวกับพันธมิตรฯ และไม่ได้ออกจากรัฐสภาก่อนสมาชิกคนอื่น
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา อภิปรายว่า น.ส.รสนาไม่เกี่ยวข้องกับพันธมิตรฯ ที่มีคนบอกว่ามีความเกี่ยวข้องเพราะขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ขอยืนยันว่าน.ส.รสนาไม่ได้ขึ้นเวทีพันธมิตรฯมานานแล้ว
และแทบจะไม่รู้จักแกนนำพันธมิตรฯ เป็นการส่วนตัว ตนไม่อยากให้กล่าวหากันโดยสวมหมวกให้กันง่ายๆ ว่าใครเป็นพวกใคร ใครเป็นสายให้ใคร ใครทำตามใครสั่ง คนมีความแตกต่างกันได้ แต่ต้องคิดให้รอบด้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากสมาชิกอภิปรายนานกว่า 2 ชั่วโมงครึ่ง ประธานวุฒิสภา จึงสั่งปิดประชุมเมื่อเวลา 15.10 น.
เมื่อเวลา10.20 น. วานนี้ (7 พ.ย.) เครือข่ายแรงงานนอกระบบและมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ นำโดย นายสมคิด ด้วงเงิน เข้ายื่นดอกไม้ให้กำลังใจน.ส.รสนา ที่ถูก ส.ส.พรรคพลังประชาชน ยื่นเรื่องถอดถอนจากตำแหน่ง โดยน.ส.รสนา ให้สัมภาษณ์ ภายหลังการรับดอกไม้ว่าไม่รู้สึกกังวลที่ถูกยื่นถอดถอน โดยอ้างว่าผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 แทรกแซงสถานีโทรทัศน์ เอ็นบีที. เพราะเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นความจริง มั่นใจว่าจะชี้แจงได้ เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าว เป็นเพียงการทักท้วงให้สถานีโทรทัศน์ เอ็นบีที. ดำเนินการให้ถูกต้องในฐานะที่เป็นสื่อของรัฐที่ขณะนี้มีการตีความไปว่า เอ็นบีที เป็นของรัฐบาล และย่นย่อไปว่า เป็นของพรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาล จึงพยายามทำเพื่อประโยชน์ของพรรคการเมือง เป็นการเข้าใจผิด อาจเข้าข่ายทุจริตก็ได้ โดยทางกลุ่ม ส.ว.จะตรวจสอบในเรื่องนี้ต่อไป
"การยื่นถอดถอนดังกล่าวเป็นการดิสเครดิตทางการเมือง เพราะกลุ่ม ส.ว.ตรวจสอบรัฐบาลอย่างเข้มแข็ง ทำให้พรรครัฐบาลไม่พอใจ จึงหยิบกฎหมายมาใช้ผิดๆ ถูกๆ เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือ ของกลุ่มส.ว." น.ส.รสนากล่าว