ที่กองบัญชาการกองทัพบก เมื่อเวลา 13.45 น. วานนี้ (6 พ.ย.) นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะหัวหน้าคณะกรรมการประสานงานเครือข่ายสานเสวนาเพื่อสันติธรรม ได้เดินทางเข้าพบ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก เพื่อหารือถึงแนวทางออกปัญหาของประเทศไทย โดยใช้เวลาในการหารือร่วม 1 ชั่วโมง
นพ.วันชัย กล่าวภายหลังการหารือว่า มาเรียนถามท่านถึงแนวทาง การยุติความรุนแรงที่ทางกลุ่มเราทำอยู่ว่า ท่านเห็นอย่างไร ซึ่ง พล.อ.อนุพงษ์ เห็นด้วย และจะให้การสนับสนุนแนวทางของเครือข่ายสานเสวนา ฯ และกองทัพพร้อมจะสนับสนุนจัดส่งกำลังพลเข้าร่วมหากมีการเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และยินดีที่จะให้ใช้พื้นที่ของหน่วยทหารจัดเสวนายุติความขัดแย้ง รวมถึงการใช้ช่องทางโทรทัศน์และเครือข่ายวิทยุกองทัพบก 126 สถานี เพื่อขยายแนวคิด
ท่านผบ.ทบ.ยังแนะให้ประสานกับทุกกลุ่มให้เข้าร่วม เพื่อยุติความรุนแรง ตามแนวทางนี้ โดยไม่แยกว่าเป็นฝ่ายใด ซึ่งท่านระบุว่า หากมีอะไรที่ทหารจะช่วย ให้บ้านเมืองสู่สันติสุขได้ ท่านยินดีช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามท่านห่วงว่า ทำอย่างไร ให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาพูดคุยกัน ซึ่งท่านอยากเห็นทุกฝ่ายหันหน้ามาพูดคุยกัน
นพ.วันชัย กล่าวว่า ส่วนเรื่องการป้องกันความรุนแรง ผบ.ทบ.ให้ความรับประกันว่า ในอนาคตทหารพร้อมที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง หากมีเหตุรุนแรง หรือการเผชิญหน้ากัน ท่านพร้อมที่จะเข้ามาช่วยดูแล นอกจากนี้ผบ.ทบ.ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดการปฏิวัติรัฐประหาร เพราะจะไม่เป็นผลดีต่อประเทศ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ เพรา ะตัวอย่างจากการปฏิวัติที่ผ่านมาเห็นอยู่ว่า ผลเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ทางกลุ่มจะเดินหน้าประสานเข้าพบหารือกับผู้บัญชาการเหล่าทัพท่านอื่นต่อไป
นพ.วันชัย กล่าวว่า ส่วนการเจรจากับกลุ่มพันธมิตรฯ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการ ประสานอยู่ซึ่งเราไม่ได้เร่งรัด เพราะเราเข้าใจว่าวิธีการอย่างนี้ คนที่เคยต่อสู้มา แล้วจู่ๆ จะมาเจรจา สังคมไทยยังมองว่า เป็นความแพ้ อยากบอกว่า การมานั่งพูดคุยกันไม่ได้หมายความว่า แพ้แล้ว เพราะการพูดคุยเป็นวิถีคนกล้า และเป็นวิถีทางที่จะหาทางออกได้ดีกว่า เช่นเดียวกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)ที่อยู่ในระหว่างการเจรจา
ส่วนกรณีที่พรรคพลังประชาชนเสนอให้พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นตัวกลางในการเจรจานั้น ทางกลุ่มคิดว่า พล.อ.เปรม ไม่ได้อยู่ในสถานะที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง และไม่ได้อยู่ในกระบวนการของการเมือง ซึ่งเราคงไม่เข้าไปประสานเพราะไม่ได้อยู่ในแนวคิดที่เราจะทำ แต่หากพล.อ. เปรม มองว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาของชาติบ้านเมือง และท่านจะเข้ามาเป็นผู้นำ ทางกลุ่มก็ยินดี
ด้าน พล.ท.วิบูลย์ศักดิ์ หนีพาล แม่ทัพภาคที่ 2 กล่าวถึงการควบคุมดูแล สถานีวิทยุชุมชนในพื้นที่19 จว.ภาคอีสาน ไม่ให้มีการออกอากาศหมิ่นสถาบันว่า ในพื้นที่กองทัพภาคที่ 2 มีคลื่นสถานีวิทยุชุมชนกว่า 683 สถานี ทางกองทัพภาคที่ 2 ได้ทำความเข้าใจถึงเรื่องการออกอากาศและให้ปฏิบัติตามระเบียบการออกอากาศ อย่างเคร่งครัด รวมทั้งการนำเสนอข่าวที่หมิ่นเหม่ต่อสถาบันทางกองทัพภาคที่ 2 คงยอมไม่ได้ และมีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งที่ผ่านมาสถานีวิทยุชุมชน ในการดูแลให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและยังไม่มีสถานีใดปฏิบัตินอกกรอบหรือออกอากาศโดยมีผลกระทบต่อสถาบันแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้หากมีการตรวจพบว่ามีการออกอากาศหมิ่นสถาบันทางกองทัพภาคที่ 2 จะดำเนินการกับคลื่นวิทยุชุมชนนั้นตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดทันที
นายขวัญชัย สาราคำ หรือ ขวัญชัย ไพรพนา นักจัดรายการสถานีวิทยุชุมชน ชมรมคนรักอุดร คลื่น 95.75 เมกกะเฮิร์ต ที่สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ยังไม่ทราบถึงมาตรการในการดำเนินการของกองทัพภาคที่ 2 เกี่ยวกับการดำเนินการกับวิทยุชุมชน แต่ที่ผ่านมาตลอดเวลา 30 ปี ที่ตนทำหน้าที่เป็นผู้จัดรายการมาตลอดนั้น ไม่เคยที่จะพูดให้กระทบต่อสถาบันเบื้องสูง หรือ พูดให้กระทบต่อความมั่นคง
เมื่อตั้งสถานีวิทยุเอง ผู้ฟังชาวอุดรธานีก็รู้ดีว่า ที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยที่จะพูดให้กระทบต่อสถาบันหรือความมั่นคง และไม่ได้เชื่อมสัญญาณจากสถานีอื่น มาออกอากาศ แต่ในพื้นที่ก็มีสถานีวิทยุชุมชนบางสถานี เช่น สถานีวิทยุชุมชนคนรู้ใจ ที่มีการรับสัญญาณจากสถานีวิทยุชุมชนคนแท็กซี่ คลื่น 92.75 เมกกะเฮิร์ต มาออกอากาศในพื้นที่ จ.อุดรธานี ในช่วงเช้า ซึ่งตนไม่ได้ยุ่งเกี่ยวแต่อย่างใด
สำหรับสถานีวิทยุชุมชนคนแท๊กซี่ นั้นเป็นคลื่นวิทยุที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ และมีการจัดรายการพาดพิงสถาบันเบื้องสูงอยู่เนืองๆ ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาจนเป็นที่จับตาของหน่วยงานด้านความมั่นคงในช่วงนี้
นายปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงแนวทางที่กองทัพจะเข้ามาทำหน้าที่รักษาความมั่นคงทางการเมืองตามมาตรา 77 ในขณะนี้ว่า กองทัพสามารถทำหน้าที่ดังกล่าวได้ โดยใช้ พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร (พ.ร.บ.ความมั่นคง) ซึ่งเป็นกฎหมายที่เปิดให้มีการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองอย่างเป็นระบบ มาเป็นเครื่องมือ เพื่อปกป้องสถาบัน และรักษาความสงบสุขของบ้านเมือง
โดยเฉพาะในมาตรา 3 ที่ให้กองทัพสามารถตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาจักร(กอ.รมน.) ซึ่งทางกองทัพสามารถยื่นขออนุมัติ จาก ครม.และนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ตั้งกอ.รมน. โดยหน่วยงานที่ว่านี้ต้องได้รับความร่วมมือ จากภาคประชาชน ที่ประกอบด้วย องค์กรสิทธิมนุษยชน นักกฏหมาย ซึ่งหากทางครม. และนายกฯอนุมัติ ก็สามารถจัดตั้งกองกำลัง โดยทางกองทัพ ต้องทำเรื่องไปขอ กองกำลังจากทางตำรวจ เพื่อช่วยกันแบ่งกำลังคุ้มกันในพื้นที่ที่มีการชุมนุมของประชาชนได้
นายปณิธาน กล่าวว่า หาก ครม.และนายกฯไม่อนุมัติ แต่หากทหารมีข้อมูลหลักฐานว่าบ้านเมืองเกิดความไม่สงบสุข เกิดความขัดแย้ง ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงของประเทศก็สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปยื่นกับทาง ครม. และนายกฯ แต่หากยังไม่ได้รับอนุมติอีก ก็ถือว่า นายกฯ และครม. ทำผิดกฏหมาย พรบ.ความมั่นคง
ส่วนการที่พันธมิตรฯออกมาเรียกร้องให้ทหารเข้ามามีบทบาทในสถานการณ์ปัจจุบันถือว่าเป็นการเชื้อเชิญการปฏิวัติหรือไม่ นายปณิธาน กล่าวว่า ยังไม่ชัดเจน แต่เป็นไปได้ที่พันธมิตรฯมีท่าทีจะหนุนกองทัพให้ออกมาทำหน้าที่ ซึ่งทหารได้ประกาศว่าจะไม่มีการปฏิวัติ โดยการที่พันธมิตรฯต้องหนุนทหาร เนื่องจากที่ผ่านมาพันธมิตรฯได้เรียกร้องให้รัฐบาล ยุติบทบาท หรือไม่ก็ยุบสภา เพื่อไม่ให้รัฐบาลยืดเยื้ออำนาจอีกต่อไป แต่ทางรัฐบาลกลับไม่มีท่าทีที่อ่อนลงเลย จึงเป็นไปได้ที่พันธมิตรฯมีแนวโน้มที่จะหนุน กองทัพให้ออกมาทำหน้าที่ แต่ก็คิดว่าคงไม่ใช่การปฏิวัติ
นพ.วันชัย กล่าวภายหลังการหารือว่า มาเรียนถามท่านถึงแนวทาง การยุติความรุนแรงที่ทางกลุ่มเราทำอยู่ว่า ท่านเห็นอย่างไร ซึ่ง พล.อ.อนุพงษ์ เห็นด้วย และจะให้การสนับสนุนแนวทางของเครือข่ายสานเสวนา ฯ และกองทัพพร้อมจะสนับสนุนจัดส่งกำลังพลเข้าร่วมหากมีการเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และยินดีที่จะให้ใช้พื้นที่ของหน่วยทหารจัดเสวนายุติความขัดแย้ง รวมถึงการใช้ช่องทางโทรทัศน์และเครือข่ายวิทยุกองทัพบก 126 สถานี เพื่อขยายแนวคิด
ท่านผบ.ทบ.ยังแนะให้ประสานกับทุกกลุ่มให้เข้าร่วม เพื่อยุติความรุนแรง ตามแนวทางนี้ โดยไม่แยกว่าเป็นฝ่ายใด ซึ่งท่านระบุว่า หากมีอะไรที่ทหารจะช่วย ให้บ้านเมืองสู่สันติสุขได้ ท่านยินดีช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามท่านห่วงว่า ทำอย่างไร ให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาพูดคุยกัน ซึ่งท่านอยากเห็นทุกฝ่ายหันหน้ามาพูดคุยกัน
นพ.วันชัย กล่าวว่า ส่วนเรื่องการป้องกันความรุนแรง ผบ.ทบ.ให้ความรับประกันว่า ในอนาคตทหารพร้อมที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง หากมีเหตุรุนแรง หรือการเผชิญหน้ากัน ท่านพร้อมที่จะเข้ามาช่วยดูแล นอกจากนี้ผบ.ทบ.ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดการปฏิวัติรัฐประหาร เพราะจะไม่เป็นผลดีต่อประเทศ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ เพรา ะตัวอย่างจากการปฏิวัติที่ผ่านมาเห็นอยู่ว่า ผลเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ทางกลุ่มจะเดินหน้าประสานเข้าพบหารือกับผู้บัญชาการเหล่าทัพท่านอื่นต่อไป
นพ.วันชัย กล่าวว่า ส่วนการเจรจากับกลุ่มพันธมิตรฯ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการ ประสานอยู่ซึ่งเราไม่ได้เร่งรัด เพราะเราเข้าใจว่าวิธีการอย่างนี้ คนที่เคยต่อสู้มา แล้วจู่ๆ จะมาเจรจา สังคมไทยยังมองว่า เป็นความแพ้ อยากบอกว่า การมานั่งพูดคุยกันไม่ได้หมายความว่า แพ้แล้ว เพราะการพูดคุยเป็นวิถีคนกล้า และเป็นวิถีทางที่จะหาทางออกได้ดีกว่า เช่นเดียวกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)ที่อยู่ในระหว่างการเจรจา
ส่วนกรณีที่พรรคพลังประชาชนเสนอให้พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นตัวกลางในการเจรจานั้น ทางกลุ่มคิดว่า พล.อ.เปรม ไม่ได้อยู่ในสถานะที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง และไม่ได้อยู่ในกระบวนการของการเมือง ซึ่งเราคงไม่เข้าไปประสานเพราะไม่ได้อยู่ในแนวคิดที่เราจะทำ แต่หากพล.อ. เปรม มองว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาของชาติบ้านเมือง และท่านจะเข้ามาเป็นผู้นำ ทางกลุ่มก็ยินดี
ด้าน พล.ท.วิบูลย์ศักดิ์ หนีพาล แม่ทัพภาคที่ 2 กล่าวถึงการควบคุมดูแล สถานีวิทยุชุมชนในพื้นที่19 จว.ภาคอีสาน ไม่ให้มีการออกอากาศหมิ่นสถาบันว่า ในพื้นที่กองทัพภาคที่ 2 มีคลื่นสถานีวิทยุชุมชนกว่า 683 สถานี ทางกองทัพภาคที่ 2 ได้ทำความเข้าใจถึงเรื่องการออกอากาศและให้ปฏิบัติตามระเบียบการออกอากาศ อย่างเคร่งครัด รวมทั้งการนำเสนอข่าวที่หมิ่นเหม่ต่อสถาบันทางกองทัพภาคที่ 2 คงยอมไม่ได้ และมีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งที่ผ่านมาสถานีวิทยุชุมชน ในการดูแลให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและยังไม่มีสถานีใดปฏิบัตินอกกรอบหรือออกอากาศโดยมีผลกระทบต่อสถาบันแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้หากมีการตรวจพบว่ามีการออกอากาศหมิ่นสถาบันทางกองทัพภาคที่ 2 จะดำเนินการกับคลื่นวิทยุชุมชนนั้นตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดทันที
นายขวัญชัย สาราคำ หรือ ขวัญชัย ไพรพนา นักจัดรายการสถานีวิทยุชุมชน ชมรมคนรักอุดร คลื่น 95.75 เมกกะเฮิร์ต ที่สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ยังไม่ทราบถึงมาตรการในการดำเนินการของกองทัพภาคที่ 2 เกี่ยวกับการดำเนินการกับวิทยุชุมชน แต่ที่ผ่านมาตลอดเวลา 30 ปี ที่ตนทำหน้าที่เป็นผู้จัดรายการมาตลอดนั้น ไม่เคยที่จะพูดให้กระทบต่อสถาบันเบื้องสูง หรือ พูดให้กระทบต่อความมั่นคง
เมื่อตั้งสถานีวิทยุเอง ผู้ฟังชาวอุดรธานีก็รู้ดีว่า ที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยที่จะพูดให้กระทบต่อสถาบันหรือความมั่นคง และไม่ได้เชื่อมสัญญาณจากสถานีอื่น มาออกอากาศ แต่ในพื้นที่ก็มีสถานีวิทยุชุมชนบางสถานี เช่น สถานีวิทยุชุมชนคนรู้ใจ ที่มีการรับสัญญาณจากสถานีวิทยุชุมชนคนแท็กซี่ คลื่น 92.75 เมกกะเฮิร์ต มาออกอากาศในพื้นที่ จ.อุดรธานี ในช่วงเช้า ซึ่งตนไม่ได้ยุ่งเกี่ยวแต่อย่างใด
สำหรับสถานีวิทยุชุมชนคนแท๊กซี่ นั้นเป็นคลื่นวิทยุที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ และมีการจัดรายการพาดพิงสถาบันเบื้องสูงอยู่เนืองๆ ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาจนเป็นที่จับตาของหน่วยงานด้านความมั่นคงในช่วงนี้
นายปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงแนวทางที่กองทัพจะเข้ามาทำหน้าที่รักษาความมั่นคงทางการเมืองตามมาตรา 77 ในขณะนี้ว่า กองทัพสามารถทำหน้าที่ดังกล่าวได้ โดยใช้ พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร (พ.ร.บ.ความมั่นคง) ซึ่งเป็นกฎหมายที่เปิดให้มีการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองอย่างเป็นระบบ มาเป็นเครื่องมือ เพื่อปกป้องสถาบัน และรักษาความสงบสุขของบ้านเมือง
โดยเฉพาะในมาตรา 3 ที่ให้กองทัพสามารถตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาจักร(กอ.รมน.) ซึ่งทางกองทัพสามารถยื่นขออนุมัติ จาก ครม.และนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ตั้งกอ.รมน. โดยหน่วยงานที่ว่านี้ต้องได้รับความร่วมมือ จากภาคประชาชน ที่ประกอบด้วย องค์กรสิทธิมนุษยชน นักกฏหมาย ซึ่งหากทางครม. และนายกฯอนุมัติ ก็สามารถจัดตั้งกองกำลัง โดยทางกองทัพ ต้องทำเรื่องไปขอ กองกำลังจากทางตำรวจ เพื่อช่วยกันแบ่งกำลังคุ้มกันในพื้นที่ที่มีการชุมนุมของประชาชนได้
นายปณิธาน กล่าวว่า หาก ครม.และนายกฯไม่อนุมัติ แต่หากทหารมีข้อมูลหลักฐานว่าบ้านเมืองเกิดความไม่สงบสุข เกิดความขัดแย้ง ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงของประเทศก็สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปยื่นกับทาง ครม. และนายกฯ แต่หากยังไม่ได้รับอนุมติอีก ก็ถือว่า นายกฯ และครม. ทำผิดกฏหมาย พรบ.ความมั่นคง
ส่วนการที่พันธมิตรฯออกมาเรียกร้องให้ทหารเข้ามามีบทบาทในสถานการณ์ปัจจุบันถือว่าเป็นการเชื้อเชิญการปฏิวัติหรือไม่ นายปณิธาน กล่าวว่า ยังไม่ชัดเจน แต่เป็นไปได้ที่พันธมิตรฯมีท่าทีจะหนุนกองทัพให้ออกมาทำหน้าที่ ซึ่งทหารได้ประกาศว่าจะไม่มีการปฏิวัติ โดยการที่พันธมิตรฯต้องหนุนทหาร เนื่องจากที่ผ่านมาพันธมิตรฯได้เรียกร้องให้รัฐบาล ยุติบทบาท หรือไม่ก็ยุบสภา เพื่อไม่ให้รัฐบาลยืดเยื้ออำนาจอีกต่อไป แต่ทางรัฐบาลกลับไม่มีท่าทีที่อ่อนลงเลย จึงเป็นไปได้ที่พันธมิตรฯมีแนวโน้มที่จะหนุน กองทัพให้ออกมาทำหน้าที่ แต่ก็คิดว่าคงไม่ใช่การปฏิวัติ