ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ได้แต่ตั้งคณะกรรมการอิสระสอบสวนเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่7ต.ค.2551 ที่หน้ารัฐสภาจำนวน 9 คน โดยเริ่มทำการประชุมนัดแรก เมื่อวันที่ 16ต.ค.ที่ผ่านมา แต่เมื่อวันที่ 3พ.ย.ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการได้นัดหมายจะรับรายงานจากอนุกรรมการทั้ง 5ฝ่าย ซึ่งได้มีการแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 16 ต.ค. แต่ได้มีการยกเลิกการประชุมในวันที่ 3 พ.ย.และเลื่อนไปประชุมแทนในวันที่ 13พ.ย. ในเวลา 10.00น.ที่บ้านมะนังคศิลา
อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า 1ในคณะกรรมการทั้ง 9 คนได้แก่นายเจริญจิต ณ สงขลา ได้ยื่นหนังสือลาออกเมื่อวันที่ 1พ.ย.ต่อนายปรีชา พานิชวงศ์ ประธานกรรมการ โดยให้เหตุผลว่ามีปัญหาทางด้านสุขภาพ ทั้งนี้สังเกตได้ว่าก่อนหน้านั้น นายสมชาย ระบุว่าจะพิจารณาตัวเองเมื่อผลการสอบสวนออกมาแล้ว แต่การเลื่อนการประชุมและมีคณะกรรมการลาออก ซึ่งจะทำให้มีเวลาล่วงเลยไปถึงกว่า 30 วัน
ก่อนหน้านี้ ในการประชุมคณะกรรมการนัดแรก นายปรีชา ก็กล่าวยอมรับว่า ตัวเองมีปัญหาสุขภาพเหมือนกัน โดยนั่งนานเกิน 3 ชั่วโมงไม่ได้ เพราะมีปัญหาบริเวณ กระดูกสันหลัง พร้อมกันนี้ ยังยืนยันว่า หากรัฐบาลเข้ามาแทรกแซงการทำงาน ก็พร้อมจะลาออก
ขณะเดียวกัน หลังจากปรากฎรายชื่อ คณะกรรมการฯออกมา ซึ่งประกอบด้วย อดีตผู้พิพากษา นักกฎหมายรุ่นอาวุโส ต่างมีอายุส่วนใหญ่ไม่ต่ำกว่า 70 ปีขึ้นไป ยกเว้น คุณพรทิพย์ จาละ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฏีกา และนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง จนทำให้มีเสียงวิจารณ์ตามมาว่าเป็นคณะกรรมการ 700 ปี
ทั้งนี้ การทำงานของคณะกรรมการดำเนินไปอย่างช้าๆ โดยไม่มีวี่แววว่าจะสรุปผลได้เมื่อใด ขณะที่กก.สอบสวนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กลับมีความคืบหน้าไปมากโดยได้สอบปากคำบุคคลเกี่ยวข้องหลายราย แม้แต่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีก็มาให้ปากคำแล้ว และคาดว่าจะสรุปผล ส่งให้คณะกรรมการชุดใหญ่ชี้ขาดไม่เกินสิ้นเดือนพฤศจิกายน
นายสุรสีห์ โกศลนาวิน กก.สิทธิฯในฐานะประธานคณอนุกรรมการละเมิดสิทธิมนุษยชน1 กรณีการสลายการชุมนุม 7 ตุลาคม เปิดเผยว่า ได้เชิญเจ้าหน้าที่ ตำรวจระดับสูง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสลายชุมนุมมาสอบปากคำ โดยเมื่อวันที่ 3 พ.ย. ผู้บัญชาการกองพลาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มายอมรับว่า แกสน้ำตาที่ใช้ สลายการชุมนุม เป็นแกสน้ำตาที่นำเข้ามาตั้งแต่ปี 2536 โดยมีอายุการใช้งาน 5 ปี หมดอายุในปี 2541 ซึ่งคณะกรรมการได้ตั้งข้อสังเกต โดยซักถามว่า ขนาดแกสน้ำตา หมดอายุยังมีประสิทธิภาพทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตมากมาย หากไม่หมดอายุจะไม่มีอานุภาพมากกว่านี้หรือ ซึ่งทางผู้บัญชาการกองพลาธิการก็ไม่ได้ตอบในประเด็นนี้
นายสุรสีห์ กล่าวว่าในวันนี้ ( 5 พ.ย.) คณะกรรมการจะเดินทางไปตรวจสภาพรถ พยาบาลที่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในเหตุการณ์ ซึ่งมีสภาพถูกยิงจนเสียหาย ที่ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี รวมไปถึงนายทหารเสนารักษ์ สภากาชาด ที่ถูกยิงได้รับบาดเจ็บขณะเข้าไปช่วยเหลือประชาชน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายเจริญจิตต์ ณ สงขลา ได้ลาออกจากการเป็นคณะกรรมการฯ ของรัฐบาลว่าไม่ทราบเหตุผลว่าเป็นเพราะอะไร เต่เคยตั้งข้อสังเกตแล้วว่า คณะกรรมการชุดนี้ แทบไม่อยู่ในฐานะที่จะเอาฝ่ายนโยบายมารับผิดชอบเลย เพราะเป็นกรรมการที่ตั้งขึ้นโดยฝ่ายบริหารเอง ความจริงตนอยากให้หน่วนยงานที่เป็น องค์กรอิสระเร่งรัดผลสอบออกมาจะได้มีความชัดเจน ซึ่งตนคิดว่าคณะกรรมการ ที่มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริงน่าจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าคณะกรรมการของรัฐบาล
นอกจากนี้กระบวนการตรวจสอบรวมทั้งการรักษามาตรฐานทางการเมือง เป็นเรื่องสำคัญ การที่เราไปใช้วิธีการตั้งกรรมการที่ไม่เป็นอิสระขึ้นมา และจำกัดอำนาจเขาไม่น่าจะเป็นคำตอบให้กับสังคมได้ เพราะสุดท้ายก็จะสาวไม่ถึงต้นตอของปัญหา ซึ่งเรายังไม่เคยได้ยินข่าวว่า กรรมการชุดนี้ได้เรียกผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์หรือผู้รับผิดชอบเบื้องต้นไปสอบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า สุดท้ายแล้วคิดว่าจะได้เห็นความรับผิดชอบทางการเมืองจากรัฐบาลชุดนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า บ้านเมืองและการเมืองไทยทุกครั้งที่เดินเข้าสู่ วิกฤตก็คือการไม่แสดงความรับผิดชอบ จริงๆ แล้วถ้าทุกคนสละประโยชน์ส่วนตน แล้วทำให้ระบบเดินได้จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ประเทศเองก็บอบช้ำ และประชาชนก็เหนื่อยล้า มามากแล้ว ถ้ายังลากกันต่อไปหรือนำไปสู่ความขัดแย้ง หรือเพิ่มระดับความขัดแย้ง ความรุนแรงอีก ผลกระทบต่อความเป็นอยู่ต่อเศรษฐกิจจะยาว ตนไม่อยากให้เป็น อย่างนั้น
ผมคิดว่าโอกาสมีเสมอสำหรับคุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่จะแก้ปัญหา แต่อยู่ที่ว่า จะมีความกล้าหาญหรือไม่ เพราะยังไม่เห็นสัญญาณ ซึ่งผมก็เป็นห่วงกับสภาพ ที่เป็นอยู่ในขณะนี้มีแต่ความเสี่ยง ความสูญเสียอยู่เป็นรายวัน ความรุนแรงยังมีอยู่ การปาระเบิด การปะทะกัน การไปล้อมกรอบ มีอยู่ตลอดเวลา ทุกคนถูกลากไปอยู่ในวังวนความขัดแย้งหมด อย่างสถานีโทรทัศน์ ทีพีบีเอส ก็ถูกลากลงมาด้วย ยังไม่นับกรณีของกระบวนการยุติธรรม
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตาม สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา แถลงว่า อนุฯได้เชิญผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรี มาชี้แจงเรื่องหลักเกณฑ์การเยียวยาช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ 7 ตุลาคม ซึ่งอนุฯมีความเป็นห่วงเรื่องที่รัฐบาลต้องเร่งเยียวยาผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิต อย่างรวดเร็ว แต่ปรากฏว่า รัฐบาลกลับนำเหตุการณ์ วันที่ 29 สิงหาคม ที่จ.อุดรธานี เหตุการณ์วันที่ 2 กันยายน เข้ามารวมด้วยเป็น 3 กรณี
ทั้งที่ ทั้ง 2 เหตุการณ์ ไม่ได้เป็นเหตุระหว่างรัฐกับประชาชน จึงสงสัยว่า นำภาษี ประชาชนมาเยียวยา ได้อย่างไร ถ้าจะนับ ก็ต้องนับเหตุการณ์ปะทะกันทั้งหมดที่เกิดขึ้น เช่น ที่ศรีสะเกษ มหาสารคาม เชียงใหม่ มารวมด้วย ซึ่งผู้มาชี้แจงก็ตอบไม่ได้ว่า ใช้หลักเกณฑ์ใด ตอบเพียงว่า รัฐบาลจะรับผิดชอบ 3 กรณีเท่านั้น อนุฯเห็นว่า เกณฑ์การเยียวยาดังกล่าวจึงเป็น 2 มาตรฐาน ไม่มีกฎหมายรองรับ และอนุฯเกรงว่า จะยิ่งก่อความรุนแรง ยั่วยุ เพราะรัฐบาลใช้เงินภาษีของประชาชนไปประกันเหตุทั้งหมด
อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า 1ในคณะกรรมการทั้ง 9 คนได้แก่นายเจริญจิต ณ สงขลา ได้ยื่นหนังสือลาออกเมื่อวันที่ 1พ.ย.ต่อนายปรีชา พานิชวงศ์ ประธานกรรมการ โดยให้เหตุผลว่ามีปัญหาทางด้านสุขภาพ ทั้งนี้สังเกตได้ว่าก่อนหน้านั้น นายสมชาย ระบุว่าจะพิจารณาตัวเองเมื่อผลการสอบสวนออกมาแล้ว แต่การเลื่อนการประชุมและมีคณะกรรมการลาออก ซึ่งจะทำให้มีเวลาล่วงเลยไปถึงกว่า 30 วัน
ก่อนหน้านี้ ในการประชุมคณะกรรมการนัดแรก นายปรีชา ก็กล่าวยอมรับว่า ตัวเองมีปัญหาสุขภาพเหมือนกัน โดยนั่งนานเกิน 3 ชั่วโมงไม่ได้ เพราะมีปัญหาบริเวณ กระดูกสันหลัง พร้อมกันนี้ ยังยืนยันว่า หากรัฐบาลเข้ามาแทรกแซงการทำงาน ก็พร้อมจะลาออก
ขณะเดียวกัน หลังจากปรากฎรายชื่อ คณะกรรมการฯออกมา ซึ่งประกอบด้วย อดีตผู้พิพากษา นักกฎหมายรุ่นอาวุโส ต่างมีอายุส่วนใหญ่ไม่ต่ำกว่า 70 ปีขึ้นไป ยกเว้น คุณพรทิพย์ จาละ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฏีกา และนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง จนทำให้มีเสียงวิจารณ์ตามมาว่าเป็นคณะกรรมการ 700 ปี
ทั้งนี้ การทำงานของคณะกรรมการดำเนินไปอย่างช้าๆ โดยไม่มีวี่แววว่าจะสรุปผลได้เมื่อใด ขณะที่กก.สอบสวนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กลับมีความคืบหน้าไปมากโดยได้สอบปากคำบุคคลเกี่ยวข้องหลายราย แม้แต่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีก็มาให้ปากคำแล้ว และคาดว่าจะสรุปผล ส่งให้คณะกรรมการชุดใหญ่ชี้ขาดไม่เกินสิ้นเดือนพฤศจิกายน
นายสุรสีห์ โกศลนาวิน กก.สิทธิฯในฐานะประธานคณอนุกรรมการละเมิดสิทธิมนุษยชน1 กรณีการสลายการชุมนุม 7 ตุลาคม เปิดเผยว่า ได้เชิญเจ้าหน้าที่ ตำรวจระดับสูง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสลายชุมนุมมาสอบปากคำ โดยเมื่อวันที่ 3 พ.ย. ผู้บัญชาการกองพลาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มายอมรับว่า แกสน้ำตาที่ใช้ สลายการชุมนุม เป็นแกสน้ำตาที่นำเข้ามาตั้งแต่ปี 2536 โดยมีอายุการใช้งาน 5 ปี หมดอายุในปี 2541 ซึ่งคณะกรรมการได้ตั้งข้อสังเกต โดยซักถามว่า ขนาดแกสน้ำตา หมดอายุยังมีประสิทธิภาพทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตมากมาย หากไม่หมดอายุจะไม่มีอานุภาพมากกว่านี้หรือ ซึ่งทางผู้บัญชาการกองพลาธิการก็ไม่ได้ตอบในประเด็นนี้
นายสุรสีห์ กล่าวว่าในวันนี้ ( 5 พ.ย.) คณะกรรมการจะเดินทางไปตรวจสภาพรถ พยาบาลที่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในเหตุการณ์ ซึ่งมีสภาพถูกยิงจนเสียหาย ที่ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี รวมไปถึงนายทหารเสนารักษ์ สภากาชาด ที่ถูกยิงได้รับบาดเจ็บขณะเข้าไปช่วยเหลือประชาชน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายเจริญจิตต์ ณ สงขลา ได้ลาออกจากการเป็นคณะกรรมการฯ ของรัฐบาลว่าไม่ทราบเหตุผลว่าเป็นเพราะอะไร เต่เคยตั้งข้อสังเกตแล้วว่า คณะกรรมการชุดนี้ แทบไม่อยู่ในฐานะที่จะเอาฝ่ายนโยบายมารับผิดชอบเลย เพราะเป็นกรรมการที่ตั้งขึ้นโดยฝ่ายบริหารเอง ความจริงตนอยากให้หน่วนยงานที่เป็น องค์กรอิสระเร่งรัดผลสอบออกมาจะได้มีความชัดเจน ซึ่งตนคิดว่าคณะกรรมการ ที่มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริงน่าจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าคณะกรรมการของรัฐบาล
นอกจากนี้กระบวนการตรวจสอบรวมทั้งการรักษามาตรฐานทางการเมือง เป็นเรื่องสำคัญ การที่เราไปใช้วิธีการตั้งกรรมการที่ไม่เป็นอิสระขึ้นมา และจำกัดอำนาจเขาไม่น่าจะเป็นคำตอบให้กับสังคมได้ เพราะสุดท้ายก็จะสาวไม่ถึงต้นตอของปัญหา ซึ่งเรายังไม่เคยได้ยินข่าวว่า กรรมการชุดนี้ได้เรียกผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์หรือผู้รับผิดชอบเบื้องต้นไปสอบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า สุดท้ายแล้วคิดว่าจะได้เห็นความรับผิดชอบทางการเมืองจากรัฐบาลชุดนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า บ้านเมืองและการเมืองไทยทุกครั้งที่เดินเข้าสู่ วิกฤตก็คือการไม่แสดงความรับผิดชอบ จริงๆ แล้วถ้าทุกคนสละประโยชน์ส่วนตน แล้วทำให้ระบบเดินได้จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ประเทศเองก็บอบช้ำ และประชาชนก็เหนื่อยล้า มามากแล้ว ถ้ายังลากกันต่อไปหรือนำไปสู่ความขัดแย้ง หรือเพิ่มระดับความขัดแย้ง ความรุนแรงอีก ผลกระทบต่อความเป็นอยู่ต่อเศรษฐกิจจะยาว ตนไม่อยากให้เป็น อย่างนั้น
ผมคิดว่าโอกาสมีเสมอสำหรับคุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่จะแก้ปัญหา แต่อยู่ที่ว่า จะมีความกล้าหาญหรือไม่ เพราะยังไม่เห็นสัญญาณ ซึ่งผมก็เป็นห่วงกับสภาพ ที่เป็นอยู่ในขณะนี้มีแต่ความเสี่ยง ความสูญเสียอยู่เป็นรายวัน ความรุนแรงยังมีอยู่ การปาระเบิด การปะทะกัน การไปล้อมกรอบ มีอยู่ตลอดเวลา ทุกคนถูกลากไปอยู่ในวังวนความขัดแย้งหมด อย่างสถานีโทรทัศน์ ทีพีบีเอส ก็ถูกลากลงมาด้วย ยังไม่นับกรณีของกระบวนการยุติธรรม
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตาม สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา แถลงว่า อนุฯได้เชิญผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรี มาชี้แจงเรื่องหลักเกณฑ์การเยียวยาช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ 7 ตุลาคม ซึ่งอนุฯมีความเป็นห่วงเรื่องที่รัฐบาลต้องเร่งเยียวยาผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิต อย่างรวดเร็ว แต่ปรากฏว่า รัฐบาลกลับนำเหตุการณ์ วันที่ 29 สิงหาคม ที่จ.อุดรธานี เหตุการณ์วันที่ 2 กันยายน เข้ามารวมด้วยเป็น 3 กรณี
ทั้งที่ ทั้ง 2 เหตุการณ์ ไม่ได้เป็นเหตุระหว่างรัฐกับประชาชน จึงสงสัยว่า นำภาษี ประชาชนมาเยียวยา ได้อย่างไร ถ้าจะนับ ก็ต้องนับเหตุการณ์ปะทะกันทั้งหมดที่เกิดขึ้น เช่น ที่ศรีสะเกษ มหาสารคาม เชียงใหม่ มารวมด้วย ซึ่งผู้มาชี้แจงก็ตอบไม่ได้ว่า ใช้หลักเกณฑ์ใด ตอบเพียงว่า รัฐบาลจะรับผิดชอบ 3 กรณีเท่านั้น อนุฯเห็นว่า เกณฑ์การเยียวยาดังกล่าวจึงเป็น 2 มาตรฐาน ไม่มีกฎหมายรองรับ และอนุฯเกรงว่า จะยิ่งก่อความรุนแรง ยั่วยุ เพราะรัฐบาลใช้เงินภาษีของประชาชนไปประกันเหตุทั้งหมด