เอเอฟพี – วิกฤตการเงินทั่วโลกที่ทำท่าไม่ยอมยุติลงง่ายๆ ในเวลานี้ กำลังกัดกร่อนรัศมีอันน่าเกรงขามที่เคยเปล่งประกายรอบๆ พวก”กองทุนเฮดจ์ฟันด์” อันเป็นเครื่องมือการลงทุนที่เกิดการการลงขันของพวกมหาเศรษฐี และกองทุนประเภทนี้โดยเฉพาะรายที่ค่อนข้างเล็กและลงทุนอยู่ในเอเชีย ต้องมีอันล้มครืนไปแล้วจำนวนมาก หรือไม่ก็กำลังซวนเซหนัก
บรรดานักวิเคราะห์บอกว่า อุตสาหกรรมประเภทนี้อยู่ในอาการต้องดิ้นรนเอาตัวรอดกันเป็นแถวท่ามกลางภาวะวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจโดยรวมกำลังเลวร้ายเช่นในขณะนี้ ทั้งที่เคยกำหนดจุดมุ่งหมายไว้ว่าเฮดจ์ฟันด์จะต้องให้ผลตอบแทนอย่างงดงามไม่ว่าในยาม “ตลาดกระทิง” หรือ “ตลาดหมี”
ขณะเดียวกัน การที่กองทุนเฮดจ์ฟันด์ทั้งหลายกำลังใช้ความพยายามในเชิงรุกเพื่อฟื้นตัวเอาคืนจากการขาดทุน ตลอดจนการที่นักลงทุนซึ่งกังวลกับผลตอบแทนที่ย่ำแย่จึงพากันไถ่ถอนเงินทุนออกมาจากอุตสาหกรรมนี้ ก็มีส่วนอย่างมากในการโหมกระพือให้ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก เกิดการเหวี่ยงตัวขึ้นลงอย่างรุนแรง
เฮดจ์ฟันด์บางแห่งนั้นล้มครืนลงไปแล้ว และอีกหลายๆ แห่งกำลังซวนเซ โดยที่พวกนักวิเคราะห์ต่างมองว่า จะต้องเกิดกระแสรวมตัวผนวกกิจการกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
“คุณกำลังมองเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬารถึงขั้นเป็นปรากฏการณ์ทีเดียวในอุตสาหกรรมนี้” เป็นความเห็นของ ร็อบ แลนซ์ ซีอีโอของ ดรากอนแบ็ก แคปิตอล ลิมิเต็ด กองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ตั้งฐานอยู่ในฮ่องกง
“พวกบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์จะต้องลดลงไปจำนวนหนึ่งทีเดียว เนื่องจากระดับของเงินทุนที่ไหลแวะเวียนเข้ามาก็ได้ลดต่ำลงไปแล้ว”
เฮดจ์ฟันด์ในตอนเริ่มแรกเป็นกองทุนเพื่อการลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งจะรับเฉพาะนักลงทุนกระเป๋าหนักจำนวนจำกัด และมักถูกมองด้วยความระแวงสงสัยเนื่องจากการดำเนินงานอย่างลึกลับและใช้ยุทธวิธีอย่างเช่นการทำชอร์ตเซล ทว่าสามารถให้ผลตอบแทนงดงามยิ่งกว่าการลงทุนในแบบเดิมๆ เป็นอันมาก แม้จะคิดค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการการลงทุนในระดับแพงลิบ
แต่ด้วยชื่อเสียงในเรื่องให้ผลตอบแทนดีมาก จึงได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งนักลงทุนระดับสถาบันอย่างเช่นกองทุนเงินบำนาญ ก็ยังเข้ามาเอี่ยวด้วย ทำให้กองทุนประเภทนี้ขยายออกไปทั่วโลก โดยประมาณการกันว่าเวลานี้มีมูลค่าทั้งสิ้นราว 1.7 ล้านล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม กองทุนเฮดจ์ฟันด์ต้องประสบการขาดทุนโดยเฉลี่ย 7.7% ในรอบ 9 เดือนแรกของปีนี้ ทั้งนี้ตามข้อมูลของ ยูเรก้าเฮดจ์ บริษัทในสิงคโปร์ซึ่งทำหน้าที่ติดตามอุตสาหกรรมประเภทนี้
กองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่สูญเสียหนักที่สุดนั้นก็คือพวกที่ลงทุนในแถบเอเชียนี่เอง ยูเรก้าเฮดจ์ระบุว่า พวกเฮดจ์ฟันด์ที่ลงทุนในแถบเอเชียยกเว้นญี่ปุ่น ต้องมีอันขาดทุนไปมากกว่า 20% ในรอบ 9 เดือนแรกของปี 2008 เฉพาะเดือนกันยายนเดือนเดียวก็เจ๊งไปกว่า 6%
“ผมคิดว่าในอุตสาหกรรมนี้กำลังเผชิญกับความเจ็บปวดเป็นอย่างมาก” ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่มีฐานอยู่ในฮ่องกงรายหนึ่งให้ความเห็น พร้อมกับเสริมว่า ถึงแม้การทรุดตัวเช่นนี้ “เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้” ทว่าอัตราความเร็วของความตกต่ำก็ยังเป็นสิ่งที่ผู้คนจำนวนมากรู้สึกประหลาดใจ
ผลประกอบที่ย่ำแย่เช่นนี้กำลังทำลายชื่อเสียงของอุตสาหกรรมนี้ หลังจากที่สามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนเพิ่มขึ้นๆ ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา
นอกจากนั้นยังทำให้พวกนักลงทุนบางกลุ่ม โดยเฉพาะนักลงทุนระดับสถาบันอย่างเช่น กองทุนเงินบำนาญ ซึ่งมีระเบียบกฎเกณฑ์การลงทุนอันค่อนข้างเข้มค้ำคออยู่ ต้องรีบหาทางไถ่ถอนการลงทุน จนกลายเป็นการบังคับให้เฮดจ์ฟันด์บางแห่งต้องระบายสินทรัพย์ที่ตนเองถือครองออกมาขาย แม้จะได้ราคาที่ขาดทุน เพื่อจะได้มีเงินทองมาจ่ายให้ผู้ต้องการไถ่ถอน
กระแสความเคลื่อนไหวเช่นนี้เอง กลายเป็นปัจจัยประการหนึ่งที่เติมเชื้อเพลิงให้มีการเทขายหลักทรัพย์ และราคาหุ้นทั่วโลกก็ทรุดเอาๆ
ความยากลำบากของเฮดจ์ฟันด์เช่นนี้ ยังบังเกิดขึ้นในจังหวะเวลาที่กำลังเกิดกระบวนการ “ปลดเปลื้องการกู้ยืม” (deleveraging) นั่นคือพวกแบงก์ที่ประสบปัญหาสภาพคล่องทั้งหลาย กำลังหันมาบีบบังคับให้ลูกค้าเงินกู้ซึ่งก็มีพวกเฮดจ์ฟันด์รวมอยู่ด้วย ต้องจ่ายคืนหนี้สินโดยเร็ว ทั้งนี้ปกติแล้วกองทุนเฮดจ์ฟันด์มักมีการระดมกู้ยืมเป็นจำนวนมาก เพื่อให้การวางเดิมพันในตลาดของตนมีน้ำหนักมีอิทธิพลเต็มที่
“กระแสการปลดเปลื้องการกู้ยืมของพวกกองทุนใหญ่ๆ คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุดที่เป็นตัวการทำให้เกิดช่วงเวลา 1 เดือนแห่งความเลวร้ายขนาดนี้ขึ้นกับตลาดหุ้นทั่วโลก” ราจีฟ บัดเดพูดี นักวิเคราะห์อาวุโสแห่งยูเรก้าเฮดจ์ให้ความเห็น
จากการเทกระหน่ำขายหุ้นของพวกกองทุนเช่นนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อบริษัทชั้นดีรายใหญ่สุดๆ ของโลกบางรายไปด้วย อาทิ เอชเอสบีซี ธนาคารใหญ่ที่สุดของยุโรปที่มีธุรกิจมหึมาอยู่ในเอเชีย อีกทั้งสามารถอยู่รอดมาได้ค่อนข้างปลอดภัยตลอดเวลาหลายๆ เดือนที่เกิดความปั่นป่วนในอุตสาหกรรมการธนาคารทั่วโลก
ปรากฏว่าแรงเทขาย ทำให้หุ้นเอชเอสบีซีที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ดำดิ่งลงมา 15% ในวันจันทร์(27 ต.ค.) สู่ระดับราคาปิดต่ำที่สุดตั้งแต่เดือนกันยายน 2001 ก่อนที่จะดีดกลับขึ้นได้ 20% ในวันถัดมา
“เอชเอสบีซีเป็นหนึ่งในหุ้นตัวหลักๆ ที่กองทุนเหล่านี้จำนวนมากถือครองเอาไว้ เนื่องจากกองทุนพวกนี้บางรายต้องรีบเทขายกันในวันจันทร์(27) คุณจึงเห็นหุ้นตัวนี้ราคาเซถลาลงมา” ปีเตอร์ ไหล ผู้อำนวยการฝ่ายขายแห่ง ดีบีเอส วิกเกอร์ส อธิบาย พร้อมกับชี้ด้วยว่า การทำชอร์ตเซลก็เป็นตัวการทำให้เกิดความปั่นป่วนคราวนี้ด้วย
ชอร์ตเซลซึ่งเป็นวิธีที่นักลงทุนบอกขายหุ้นตัวที่คาดหมายว่าราคาจะตกลงไปในอนาคต โดยที่ยังไม่ได้มีหุ้นถืออยู่ในมือ ครั้นเมื่อราคาหุ้นไหลรูดลงจริงๆ จึงไปช้อนซื้อจากตลาดมาส่งมอบให้ผู้ที่ซื้อ วิธีการเช่นนี้เป็นที่นิยมของเฮดจ์ฟันด์ และในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศจำนวนมากได้พากันออกมาตรการจำกัดหรือห้ามปรามการซื้อขายหุ้นเช่นนี้ เพราะเห็นกันว่าทำให้ราคาหุ้นยิ่งดำดิ่งอย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์ที่แล้ว พวกเฮดจ์ฟันด์ที่ทำชอร์ตเซลหุ้นโฟล์กสวาเกน ด้วยเชื่อว่าหุ้นบริษัทรถยนต์เยอรมันแห่งนี้จะต้องลงต่ำไปอีก กลับต้องเผชิญการขาดทุนอย่างมโหฬาร เนื่องจากบริษัทปอร์เช มีความเคลื่อนไหวเข้าเทคโอเวอร์บริษัทโฟล์ก ทำให้ราคาหุ้นตัวนี้กลับทะยานขึ้นลิ่วๆ พวกเฮดจ์ฟันด์ตลอดจนนักลงทุนรายอื่นที่ทำชอร์ตเซลไว้ จึงถูกบังคับให้ต้องซื้อหุ้นจากตลาดในราคาแพงระยับเพื่อส่งมอบแก่ผู้ซื้อ จนถึงขั้นทำเอานักวิเคราะห์บางรายวิตกว่า อาจจะมีกองทุนบางแห่งล้มครืนกันทีเดียว
“การขาดทุนอยู่ในระดับโหดสุดๆ ผมไม่คิดว่ามันจะทำให้กองทุนรายใหญ่ๆ ล้มหรอก แต่น่าจะทำให้พวกเล็กๆ หน่อยล้มได้” ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์รายหนึ่งที่ไม่ระบุชื่อ บอกกับหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์
บัดเดปูดีแห่งยูเรก้าเฮดจ์กล่าวเสริมว่า เท่าที่ผ่านมามีกองทุนราว 150 แห่งล้มกันไปแล้ว โดยที่พวกกิจการขนาดกลางๆ ที่ถือครองสินทรัพย์ระหว่าง 50 ถึง 500 ล้านดอลลาร์เป็นพวกที่เสี่ยงสูงที่สุด เนื่องจากนักลงทุนอาจไม่ไว้วางใจและคิดเปลี่ยนไปลงทุนกับกองทุนชื่อดังๆ มากกว่า
บรรดานักวิเคราะห์บอกว่า อุตสาหกรรมประเภทนี้อยู่ในอาการต้องดิ้นรนเอาตัวรอดกันเป็นแถวท่ามกลางภาวะวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจโดยรวมกำลังเลวร้ายเช่นในขณะนี้ ทั้งที่เคยกำหนดจุดมุ่งหมายไว้ว่าเฮดจ์ฟันด์จะต้องให้ผลตอบแทนอย่างงดงามไม่ว่าในยาม “ตลาดกระทิง” หรือ “ตลาดหมี”
ขณะเดียวกัน การที่กองทุนเฮดจ์ฟันด์ทั้งหลายกำลังใช้ความพยายามในเชิงรุกเพื่อฟื้นตัวเอาคืนจากการขาดทุน ตลอดจนการที่นักลงทุนซึ่งกังวลกับผลตอบแทนที่ย่ำแย่จึงพากันไถ่ถอนเงินทุนออกมาจากอุตสาหกรรมนี้ ก็มีส่วนอย่างมากในการโหมกระพือให้ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก เกิดการเหวี่ยงตัวขึ้นลงอย่างรุนแรง
เฮดจ์ฟันด์บางแห่งนั้นล้มครืนลงไปแล้ว และอีกหลายๆ แห่งกำลังซวนเซ โดยที่พวกนักวิเคราะห์ต่างมองว่า จะต้องเกิดกระแสรวมตัวผนวกกิจการกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
“คุณกำลังมองเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬารถึงขั้นเป็นปรากฏการณ์ทีเดียวในอุตสาหกรรมนี้” เป็นความเห็นของ ร็อบ แลนซ์ ซีอีโอของ ดรากอนแบ็ก แคปิตอล ลิมิเต็ด กองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ตั้งฐานอยู่ในฮ่องกง
“พวกบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์จะต้องลดลงไปจำนวนหนึ่งทีเดียว เนื่องจากระดับของเงินทุนที่ไหลแวะเวียนเข้ามาก็ได้ลดต่ำลงไปแล้ว”
เฮดจ์ฟันด์ในตอนเริ่มแรกเป็นกองทุนเพื่อการลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งจะรับเฉพาะนักลงทุนกระเป๋าหนักจำนวนจำกัด และมักถูกมองด้วยความระแวงสงสัยเนื่องจากการดำเนินงานอย่างลึกลับและใช้ยุทธวิธีอย่างเช่นการทำชอร์ตเซล ทว่าสามารถให้ผลตอบแทนงดงามยิ่งกว่าการลงทุนในแบบเดิมๆ เป็นอันมาก แม้จะคิดค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการการลงทุนในระดับแพงลิบ
แต่ด้วยชื่อเสียงในเรื่องให้ผลตอบแทนดีมาก จึงได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งนักลงทุนระดับสถาบันอย่างเช่นกองทุนเงินบำนาญ ก็ยังเข้ามาเอี่ยวด้วย ทำให้กองทุนประเภทนี้ขยายออกไปทั่วโลก โดยประมาณการกันว่าเวลานี้มีมูลค่าทั้งสิ้นราว 1.7 ล้านล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม กองทุนเฮดจ์ฟันด์ต้องประสบการขาดทุนโดยเฉลี่ย 7.7% ในรอบ 9 เดือนแรกของปีนี้ ทั้งนี้ตามข้อมูลของ ยูเรก้าเฮดจ์ บริษัทในสิงคโปร์ซึ่งทำหน้าที่ติดตามอุตสาหกรรมประเภทนี้
กองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่สูญเสียหนักที่สุดนั้นก็คือพวกที่ลงทุนในแถบเอเชียนี่เอง ยูเรก้าเฮดจ์ระบุว่า พวกเฮดจ์ฟันด์ที่ลงทุนในแถบเอเชียยกเว้นญี่ปุ่น ต้องมีอันขาดทุนไปมากกว่า 20% ในรอบ 9 เดือนแรกของปี 2008 เฉพาะเดือนกันยายนเดือนเดียวก็เจ๊งไปกว่า 6%
“ผมคิดว่าในอุตสาหกรรมนี้กำลังเผชิญกับความเจ็บปวดเป็นอย่างมาก” ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่มีฐานอยู่ในฮ่องกงรายหนึ่งให้ความเห็น พร้อมกับเสริมว่า ถึงแม้การทรุดตัวเช่นนี้ “เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้” ทว่าอัตราความเร็วของความตกต่ำก็ยังเป็นสิ่งที่ผู้คนจำนวนมากรู้สึกประหลาดใจ
ผลประกอบที่ย่ำแย่เช่นนี้กำลังทำลายชื่อเสียงของอุตสาหกรรมนี้ หลังจากที่สามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนเพิ่มขึ้นๆ ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา
นอกจากนั้นยังทำให้พวกนักลงทุนบางกลุ่ม โดยเฉพาะนักลงทุนระดับสถาบันอย่างเช่น กองทุนเงินบำนาญ ซึ่งมีระเบียบกฎเกณฑ์การลงทุนอันค่อนข้างเข้มค้ำคออยู่ ต้องรีบหาทางไถ่ถอนการลงทุน จนกลายเป็นการบังคับให้เฮดจ์ฟันด์บางแห่งต้องระบายสินทรัพย์ที่ตนเองถือครองออกมาขาย แม้จะได้ราคาที่ขาดทุน เพื่อจะได้มีเงินทองมาจ่ายให้ผู้ต้องการไถ่ถอน
กระแสความเคลื่อนไหวเช่นนี้เอง กลายเป็นปัจจัยประการหนึ่งที่เติมเชื้อเพลิงให้มีการเทขายหลักทรัพย์ และราคาหุ้นทั่วโลกก็ทรุดเอาๆ
ความยากลำบากของเฮดจ์ฟันด์เช่นนี้ ยังบังเกิดขึ้นในจังหวะเวลาที่กำลังเกิดกระบวนการ “ปลดเปลื้องการกู้ยืม” (deleveraging) นั่นคือพวกแบงก์ที่ประสบปัญหาสภาพคล่องทั้งหลาย กำลังหันมาบีบบังคับให้ลูกค้าเงินกู้ซึ่งก็มีพวกเฮดจ์ฟันด์รวมอยู่ด้วย ต้องจ่ายคืนหนี้สินโดยเร็ว ทั้งนี้ปกติแล้วกองทุนเฮดจ์ฟันด์มักมีการระดมกู้ยืมเป็นจำนวนมาก เพื่อให้การวางเดิมพันในตลาดของตนมีน้ำหนักมีอิทธิพลเต็มที่
“กระแสการปลดเปลื้องการกู้ยืมของพวกกองทุนใหญ่ๆ คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุดที่เป็นตัวการทำให้เกิดช่วงเวลา 1 เดือนแห่งความเลวร้ายขนาดนี้ขึ้นกับตลาดหุ้นทั่วโลก” ราจีฟ บัดเดพูดี นักวิเคราะห์อาวุโสแห่งยูเรก้าเฮดจ์ให้ความเห็น
จากการเทกระหน่ำขายหุ้นของพวกกองทุนเช่นนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อบริษัทชั้นดีรายใหญ่สุดๆ ของโลกบางรายไปด้วย อาทิ เอชเอสบีซี ธนาคารใหญ่ที่สุดของยุโรปที่มีธุรกิจมหึมาอยู่ในเอเชีย อีกทั้งสามารถอยู่รอดมาได้ค่อนข้างปลอดภัยตลอดเวลาหลายๆ เดือนที่เกิดความปั่นป่วนในอุตสาหกรรมการธนาคารทั่วโลก
ปรากฏว่าแรงเทขาย ทำให้หุ้นเอชเอสบีซีที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ดำดิ่งลงมา 15% ในวันจันทร์(27 ต.ค.) สู่ระดับราคาปิดต่ำที่สุดตั้งแต่เดือนกันยายน 2001 ก่อนที่จะดีดกลับขึ้นได้ 20% ในวันถัดมา
“เอชเอสบีซีเป็นหนึ่งในหุ้นตัวหลักๆ ที่กองทุนเหล่านี้จำนวนมากถือครองเอาไว้ เนื่องจากกองทุนพวกนี้บางรายต้องรีบเทขายกันในวันจันทร์(27) คุณจึงเห็นหุ้นตัวนี้ราคาเซถลาลงมา” ปีเตอร์ ไหล ผู้อำนวยการฝ่ายขายแห่ง ดีบีเอส วิกเกอร์ส อธิบาย พร้อมกับชี้ด้วยว่า การทำชอร์ตเซลก็เป็นตัวการทำให้เกิดความปั่นป่วนคราวนี้ด้วย
ชอร์ตเซลซึ่งเป็นวิธีที่นักลงทุนบอกขายหุ้นตัวที่คาดหมายว่าราคาจะตกลงไปในอนาคต โดยที่ยังไม่ได้มีหุ้นถืออยู่ในมือ ครั้นเมื่อราคาหุ้นไหลรูดลงจริงๆ จึงไปช้อนซื้อจากตลาดมาส่งมอบให้ผู้ที่ซื้อ วิธีการเช่นนี้เป็นที่นิยมของเฮดจ์ฟันด์ และในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศจำนวนมากได้พากันออกมาตรการจำกัดหรือห้ามปรามการซื้อขายหุ้นเช่นนี้ เพราะเห็นกันว่าทำให้ราคาหุ้นยิ่งดำดิ่งอย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์ที่แล้ว พวกเฮดจ์ฟันด์ที่ทำชอร์ตเซลหุ้นโฟล์กสวาเกน ด้วยเชื่อว่าหุ้นบริษัทรถยนต์เยอรมันแห่งนี้จะต้องลงต่ำไปอีก กลับต้องเผชิญการขาดทุนอย่างมโหฬาร เนื่องจากบริษัทปอร์เช มีความเคลื่อนไหวเข้าเทคโอเวอร์บริษัทโฟล์ก ทำให้ราคาหุ้นตัวนี้กลับทะยานขึ้นลิ่วๆ พวกเฮดจ์ฟันด์ตลอดจนนักลงทุนรายอื่นที่ทำชอร์ตเซลไว้ จึงถูกบังคับให้ต้องซื้อหุ้นจากตลาดในราคาแพงระยับเพื่อส่งมอบแก่ผู้ซื้อ จนถึงขั้นทำเอานักวิเคราะห์บางรายวิตกว่า อาจจะมีกองทุนบางแห่งล้มครืนกันทีเดียว
“การขาดทุนอยู่ในระดับโหดสุดๆ ผมไม่คิดว่ามันจะทำให้กองทุนรายใหญ่ๆ ล้มหรอก แต่น่าจะทำให้พวกเล็กๆ หน่อยล้มได้” ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์รายหนึ่งที่ไม่ระบุชื่อ บอกกับหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์
บัดเดปูดีแห่งยูเรก้าเฮดจ์กล่าวเสริมว่า เท่าที่ผ่านมามีกองทุนราว 150 แห่งล้มกันไปแล้ว โดยที่พวกกิจการขนาดกลางๆ ที่ถือครองสินทรัพย์ระหว่าง 50 ถึง 500 ล้านดอลลาร์เป็นพวกที่เสี่ยงสูงที่สุด เนื่องจากนักลงทุนอาจไม่ไว้วางใจและคิดเปลี่ยนไปลงทุนกับกองทุนชื่อดังๆ มากกว่า