ผู้จัดการรายวัน/รอยเตอร์/เอเอฟพี - – ตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งนรก เหตุนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นมาตรการของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจไม่สามารถช่วยแก้วิกฤตการเงิน จนทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกหดตัว ขณะที่ตลาดหุ้นไทย เจอพิษ “ตุลาฯทมิฬ” ดัชนีรูดต่ำกว่าวันละ 10% ตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ หรือหยุดพักซื้อขาย 2 ครั้งภายในเดือนเดียว กดดัชนีหลุด 400 จุด “ภัทรียา” แจงนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นแห่ทิ้งหุ้นเก็บเงินสด ความหวาดผวาภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำราคาหุ้นทั่วโลกและน้ำมันดำดิ่งลงอีกเมื่อวานนี้(27) โดยตลาดไม่ใยดีความเคลื่อนไหวใหม่ๆ ของรัฐบาลหลายชาติที่มุ่งปกป้องคุ้มครองเศรษฐกิจของประเทศตน ตลอดจนคำแถลงของกลุ่มจี7 ที่จะทำให้ระบบการเงินมีเสถียรภาพ
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (27 ต.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงต่อเนื่องและรุนแรง ตามทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลก ที่ได้รับผลกระทบจากความกังวลภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกถดถอย จนกระทั่งเวลา 16.04 น. ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงจากราคาปิดครั้งก่อนถึง 43.29 จุด หรือคิดเป็น 10.00% ทำให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต้องหยุดซื้อขายชั่วคราว (เซอร์กิตเบรกเกอร์) เป็นเวลา 30 นาที ซึ่งถือว่าเดือนนี้เป็นครั้งที่ 2 ในการใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ครั้งแรกใช้เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2551
หลังจากเปิดซื้อขายดัชนีตลาดหุ้นไทยยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และปิดที่ระดับต่ำสุดของวัน 387.43 จุด ลดลงจากวันก่อน 45.44 จุด หรือคิดเป็น 10.50% และระหว่างวันดัชนีปรับตัวสูงสุดที่ระดับ 424.88 จุด มูลค่าการซื้อขายรวม 11,786.99 ล้านบาท โดยดัชนีตลาดหุ้นได้ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบกว่า 5 ปี
ทั้งนี้ หากย้อนกลับไปตั้งแต่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2518 การใช้มาตรการเซอร์กิตเบรกเกอร์ ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 โดยครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 49 ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับลดลง 10.14% จากความกังวลที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศใช้มาตรการสำรอง 30% และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมา
***นักลงทุนแห่ทิ้งหุ้นเพื่อถือเงินสด
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงแรงถึงระดับ 10% ทำให้ต้องมีการหยุดพักการซื้อขายชั่วคราวถือเป็นไปตามทิศทางตลาดหุ้นภูมิภาค โดยตลาดหุ้นฮ่องกงปรับตัวลดลง 12% และตลาดหุ้นอื่นลดลงเฉลี่ย 8-9% จากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก เนื่องจากนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในการลงทุนและมาตรการดูแลของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และยุโรป โดยต้องการถือเงินสดเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน
“ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงแรงเป็นผลกระทบจากปัญหาต่างประเทศที่แผ่วงกว้าง ซึ่งประเทศใดประเทศหนึ่งจะออกมาตรการมาดูแลคงจะไม่บรรเทาปัญหาได้ทั้งหมด ดังนั้นนักลงทุนต้องติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด และลงทุนอย่างระมัดระวัง” นางภัทรียา กล่าวว่า
นางภัทรียา กล่าวว่า ในวันที่ 30 ตุลาคมนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินตลาดทุนเข้าร่วมประชุมนัดพิเศษ เพื่อหารือถึงบรรยากกาศตลาดทุนที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ส่วนเรื่องการจัดตั้งกองทุน 1.4 แสนล้านบาทนั้น ขณะนี้กระทรวงการคลัง ยังไม่ได้หารือกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งต้องขอรอดูรายละเอียดก่อน แต่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ดำเนินการจัดตั้งกองทุนแมทชิ่งฟันด์ไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม การระดมทุนเพื่อจัดตั้งแมทชิ่งฟันด์มูลค่า 8.2 พันล้านบาทนั้น อาจดำเนินการได้ลำบากขึ้น จากนักลงทุนขาดความเชื่อมั่น บวกกับภาวะตลาดหุ้นไม่ดี
ส่วนปัญหาเรื่องการชำระราคาและส่งมอบของตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น ขณะนี้ยังไม่พบปัญหาแต่อย่างใด โดยบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ ได้ดูแลเรื่องการปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (มาร์จินโลน) ซึ่งนักลงทุนที่มีการซื้อขายหุ้นส่วนใหญ่ใช้เงินสดในการลงทุนอยู่แล้ว โดยปัจจุบันมูลค่าการปล่อยมาร์จิ้นมีอยู่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท จากจำนวนลูกค้าประมาณ 4 พันรายเท่านั้น ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับในอดีต
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนจะต้องพิจารณาผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไทยที่จะมีการประกาศออกมาในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ ในการประกอบการตัดสินใจในการลงทุนจากมีข้อมูลที่ครบถ้วน ซึ่งคาดว่าน่าจะมีทิศทางที่ดีหลังจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงทำให้ต้นทุนการผลิตของบริษัทจดทะเบียนลดลงด้วย ขณะที่ผลงานกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่ออกมายังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ไม่ประสบปัญหาเหมือนสถาบันการเงินสหรัฐฯ – ยุโรป
***รมว.คลังไม่เข้าแทรกแซงตลาดหุ้น
นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลัง กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงเป็นการเคลื่อนไหวเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาค รวมทั้งสถานการณ์ต่างประเทศ ถือว่าเป็นไปตามกลไกการตลาด ทางการจึงไม่จำเป็นต้องเข้าแทรกแซงในขณะนี้
“ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงแรงคงไม่เกี่ยวข้องกับการที่เครือข่ายองค์กรต่างๆ เดินทางไปชุมนุมคัดค้านการเข้าจดทะเบียนและกระจายหุ้นของ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ หน้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวานนี้”
***รุนแรงสุดในรอบ 100 ปี
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเชีย พลัส จำกัด (มหาชน) ในฐานะนายกสมาคมวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงแรงจนต้องหยุดซื้อขายชั่วคราว เกิดจากนักลงทุนวิตกปัญหาวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นกำลังลุกลามสู่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง โดยจะเห็นได้จากการปิดบริษัทรถยนต์ของเยอรมนี หรือสายการบินทั่วโลก ที่มีรายได้ปรับลดลงจากปีก่อนเป็นจำนวนมาก รวมถึงการขนส่งสินค้า ที่ลดลงถึง 77% แสดงให้เห็นว่าการค้าขายทั่วโลกเริ่มลดลงมาก
“ขณะนี้มีแต่ข่าวร้าย และคาดว่าจะยังไม่หยุด รวมทั้งยังจะขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ โดยวิกฤติการเงินได้กระจายไปสู่ภาคธุรกิจที่แท้จริงแล้วตั้งแต่ปลายปีนี้ต่อเนื่องถึงปีหน้า นับว่ารุนแรงสุดในรอบ 100 ปี เพราะแค่เดือนตุลาคมเดือนเดียวพบว่า มูลค่าหุ้นในตลาดโลกหายไปแล้ว 400 ล้านล้านบาท หรือ 1 ใน 3 หากรวมตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันมูลค่าทรัพย์สินและการลงทุนหายไปแล้วกว่า 1.2 พันล้านล้านบาท ส่วนตลาดหุ้นไทยทั้งปีหายไปแล้ว 55% เฉพาะตุลาคมนี้หายไป 36% จากดัชนี 600 กว่าจุดลดเหลือ 300 กว่าจุดเท่านั้น”
นายก้องเกียรติกล่าวเพิ่มเติมว่า ณ ปัจจุบันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยยังไม่ถึงจุดต่ำสุด และไม่สามารถคาดการณ์ว่าจะลงถึงระดับใด แม้ว่าราคาหุ้นขณะนี้ต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น หากซื้อเวลานี้อาจจะได้ราคาถูกกว่าเจ้าของบริษัท แต่ความตื่นตระหนกทำให้ทุกคนเทขาย จึงอยากให้นักลงทุนหยุดขาย และเลือกลงทุนในหุ้นที่มีพื้นฐานดี เพราะคาดว่าดัชนีตลาดหุ้นน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากนักลงทุนหายตื่นกลัว หรือรัฐบาลมีมาตรการที่ประสบผลเข้ามาบรรเทาวิกฤตที่เกิดขึ้น
***เงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง
นักค้าเงินจาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) เปิดเผยการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทเมื่อวานนี้ (27 ต.ค.) ว่า ปิดตลาดที่ระดับ 34.79-34.83 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าจากวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ 34.67/70 บาทต่อดอลลาร์ โดยเคลื่อนไหวอ่อนค่าตลอดทั้งวัน เป็นไปตามค่าเงินสกุลหลัก และนักลงทุนวิตกกังวลการปรับลดลงของดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก
"ค่าเงินบาทอ่อนค่าสุดที่ระดับ 34.81 บาทต่อดอลลาร์ และแข็งค่าสุดที่ระดับ 34.67 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนวันพรุ่งนี้ (28 ต.ค.) คาดว่าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าได้อีก" นักค้าเงินกล่าว
**หุ้นทั่วโลกทรุดฮวบ**
เปิดฉากการซื้อขายหุ้นทั่วโลกประจำสัปดาห์นี้ ปรากฏว่าตลาดเอเชียพากันปักหัวลงเป็นทิวแถว ลามต่อไปถึงแถบยุโรป และสหรัฐฯ
นักวิเคราะห์ค่ายเดรสด์เนอร์ ไคลน์เวิร์ต นาม วาเลนติน มารินอฟ กล่าวอย่างหวั่นไหวว่า "ดูเหมือนว่าความแตกตื่นตระหนกในตลาดจะไม่มีวันสิ้นสุด โดยที่เวลานี้ความหวาดกลัวภาวะเศรษฐกิจถดถอยกำลังกลายเป็นสิ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจสูงที่สุด"
ขณะที่ ดีลเลอร์ของ ซีเอ็มซี มาร์เกตส์ ชื่อ แมตต์ บัคแลนด์ บอกว่า หลังจากตลาดหลักทรัพย์อยู่ในอาการปั่นป่วนผันผวนในสัปดาห์ที่แล้ว ผู้คนจำนวนมากก็ตั้งความหวังว่าเริ่มต้นสัปดาห์ใหม่จะทำให้เกิดเสถียรภาพขึ้นมาได้บ้าง ทว่าจนถึงตอนนี้ยังแทบไม่มีอะไรบ่งชี้ว่าจะเป็นเช่นนั้นเลย
ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นนิกเกอิของญี่ปุ่น ร่วงลงมา 6.36% หรือ 486.18 จุด มาปิดที่ 7,162.90 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 26 ปี ขณะที่ดัชนีหุ้นฮั่งเส็งของฮ่องกง เลวร้ายกว่านั้นอีก โดยปิดลดต่ำลง 12.7% หรือ 1,602.54 จุด มายืนที่ 11,015.84 อันเป็นตัวเลขปิดต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2004
ฟิลิปปินส์ก็เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทย วานนี้ดัชนีไหลรูดลงต่ำกว่า 10% จนต้องใช้กลไกเซอร์กิตเบรกเกอร์ หรือหยุดพักระงับการซื้อขายไปช่วงหนึ่ง และถึงตอนปิดตลาดก็ยังคงดำดิ่ง 12.3%
ตลาดอื่นๆ ส่วนใหญ่ก็อยู่ในแดนลบเป็นแถว เซี่ยงไฮ้ -6.32%, ไทเป -4.65%, มุมไบ -2.2% มีเพียงตลาดหลักทรัพย์โซลที่สามารถขยับจากการทรุดตัวในช่วงต้นๆ กลับขึ้นอยู่ในแดนสีเขียว 0.8% ภายหลังจากที่ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศตัดลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมา 0.75% ซึ่งเป็นการหั่นครั้งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์
ทางฟากยุโรป ลอนดอนหล่นวูบสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี ขณะที่ตลาดยังคงย่อยรายงานข่าวที่ว่าเศรษฐกิจอังกฤษกำลังอยู่ตรงปากขอบภาวะถดถอย หลังจากตัวเลขอัตราเติบโตออกมาเป็นลบในช่วงไตรมาสสามปีนี้ ในช่วงเช้านั้น ดัชนีหุ้นฟุตซี่ของลอนดอนร่วงถึง 5.62% ก่อนจะดีดขึ้นไปจนเหลือติดลบ 1.83%
หุ้นปารีสก็ต่ำลง 3.79% ระหว่างการซื้อขายช่วงบ่ายๆ ขณะที่แฟรงเฟิร์ตติดลบอยู่ 2.23% ซึ่งนับว่าดีขึ้นกว่าในตอนเช้าแล้ว
สำหรับวอลล์สตรีท พอเปิดตลาด ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ก็รูดลง 1.01% แต่แล้วก็ดีดกลับขึ้นมาอยู่ในแดนบวกได้บ้าง ท่ามกลางการซื้อขายที่ค่อนข้างผันผวน
**น้ำมันหลุดระดับ60เหรียญ**
ทางด้านราคาน้ำมันก็ตกฮวบเช่นเดียว โดยบรรดานักลงทุนต่างมองโลกแง่ร้าย มองเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่กำลังดูมืดมนลงทุกทีเช่นนี้ น่าจะส่งผลให้ความต้องการใช้เชื้อเพลิงลดถอยลง
สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ เพื่อการส่งมอบเดือนธันวาคม ไหลลงมา 47 เซ็นต์ อยู่ที่ 63.68 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อเวลา 14.09 น.จีเอ็มที (ตรงกับ 21.09 น.เวลาเมืองไทย) หลังจากที่ก่อนหน้านั้นช่วงหนึ่งลงไปแตะ 61.30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นราคาต่ำที่สุดในรอบ 17 เดือน
ส่วนสัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนต์ของลอนดอน ติดลบ 73 เซ็นต์ อยู่ที่ 61.32 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยก่อนหน้านั้นช่วงหนึ่ง เซซวดลงถึง 2.20 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 59.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ความมัวซัวของภาวะเศรษฐกิจโลกมีอิทธิพลต่อตลาดน้ำมันมากยิ่งกว่าความเคลื่อนไหวในวันศุกร์(24) ขององค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ที่มีมติตัดลดเพดานการผลิตลงมา 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อพยายามพยุงราคาในตลาดไม่ให้ไหลรูด
"สิ่งที่โอเปกทำถือเป็นผลบวก (ต่อราคาในตลาด) ทว่าเวลานี้มันกลับกลายเป็นสิ่งที่ถูกมองข้ามกันไป" เป็นความเห็นของ ไมก์ วิตต์เนอร์ แห่ง โซซิเยเต เจเนราล
บรรดาโรงกลั่นแถบเอเชียกล่าววานนี้ว่า พวกเขายังไม่ได้รับแจ้งว่าจะมีการลดการส่งน้ำมันดิบใดๆ จากผู้ผลิตแถบอ่าวเปอร์เซีย และต่างเห็นกันว่าการตัดลดจริงๆ น่าจะอยู่ในระดับ 5%
ขณะที่ ผู้ว่าการด้านโอเปกของอิหร่าน โมฮัมหมัด อาลี คาติบี ได้ออกมาขู่ว่า โอเปกจะต้องลดการผลิตลงต่อไปอีก ถ้าหากการตัดลดที่ตกลงกันเมื่อวันศุกร์ ยังไม่ทำให้ตลาดมีเสถียรภาพ ซึ่งหมายความว่า ราคายังคงดิ่งลงต่อไปนั่นเอง
ราคาน้ำมันดิบได้ตกลงมาเกือบ 60% แล้วนับแต่ที่ทะยานขึ้นทำสถิติสูงสุด ณ ระดับเหนือ 147 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในเดือนกรกฎาคม
**หลายประเทศออกมาตรการใหม่สู้วิกฤต**
ตลาดหลักทรัพย์และตลาดน้ำมันยังคงทรุดตัว ถึงแม้เมื่อวานนี้หลายประเทศและหลายองค์การระหว่างประเทศ มีความเคลื่อนไหวใหม่ๆ ที่จะหยุดยั้งวิกฤตในระบบการเงินการธนาคาร ตลอดจนปกป้องคุ้มครองเศรษฐกิจของตนไม่ให้ถูกกระทบจากวิกฤต
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ประกาศเมื่อวันอาทิตย์(26) ให้เงินกู้เพื่อหนุนภาวะเศรษฐกิจแก่ยูเครน เป็นจำนวน 16,500 ล้านดอลลาร์ ขณะที่คาดหมายว่าจะสามารถประกาศการให้เงินกู้ "จำนวนมาก" แก่ฮังการีได้ในอีกสองสามวันข้างหน้า
ส่วนธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงรวดเดียว 0.75% พร้อมแสดงท่าทีว่าอาจจะมีการลดกันต่อไปอีกถ้าหากจำเป็น
ขณะที่ญี่ปุ่นก็ประกาศมาตรการใหม่ๆ ในการสนับสนุนตลาดหุ้นที่ย่ำแย่ อาทิ ใช้มาตรการจำกัดเข้มงวดการทำ "ชอร์ตเซล", การเพิ่มเพดานของเงินทุนที่รัฐบาลจะอัดฉีดให้แก่พวกธนาคารประสบปัญหา
ด้านธนาคารกลางออสเตรเลียก็เข้าแทรกแซงในตลาดเงินตราต่างประเทศเป็นวันที่สอง เพื่อพยายามพยุงเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย หลังจากถูกนักลงทุนทุบจนอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบหลายๆ ปี
สำหรับธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) ได้ประกาศให้เงินกู้สกุลดอลลาร์ระยะเวลา 1 สัปดาห์ โดยแลกกับเงินสดสกุลยูโร เพื่อพยายามที่จะทำให้ตลาดเงินระหว่างธนาคารไม่ตีบตันชะงักงัน
**จี7ออกคำแถลงชี้เงินเยนผันผวนเกินไป**
แต่มาตรการที่ตอนประกาศออกมาดูหวือหวาที่สุด ก็คือ คำแถลงของบรรดารัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่ม 7 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี7) ซึ่งญี่ปุ่นในฐานะประธานจี7วาระปัจจุบันนำออกมาเผยแพร่เมื่อเช้าวานนี้
คำแถลงสั้นๆ นี้ระบุว่า "เราขอย้ำว่าเรายังคงใส่ใจในระบบการเงินโลก เพื่อที่จะสร้างความแข็งแกร่งและทำให้เกิดเสถียรภาพมากขึ้น"
"เรากำลังวิตกว่า ความผันผวนมากเกินไปของอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยน จะส่งผลทางลบต่อความมั่นคงทางด้านการเงินและเศรษฐกิจของโลกมากเพียงใด และเราจะยังคงจับตาดูความเคลื่อนไหวในตลาดต่างๆ อย่างใกล้ชิด และจะร่วมมือกันเมื่อเห็นสมควร"
คำแถลงที่ออกมาอย่างกะทันหันจากกลุ่มจี7 ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, อิตาลี, และแคนาดา บังเกิดขึ้นหลังจากที่สัปดาห์ที่แล้ว ค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ แตะระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี และเมื่อเทียบกับเงินยูโรก็อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 6 ปี
อย่างไรก็ตาม คำแถลงนี้มีผลต่อตลาดอัตราแลกเปลี่ยนน้อยมาก เงินดอลลาร์ขยับขึ้นเป็น 94.11 เยนหลังจากมีการเผยแพร่คำแถลง แข็งขึ้นจากระดับ 93.90 เยนในช่วงเช้าวานนี้ตอนที่ตลาดโตเกียวเปิดทำการ แต่ก็ยังคงอ่อนกว่าระดับ 94.24 เยนในตอนท้ายของตลาดนิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว
"การที่จี7 จะทำให้เงินเยนอ่อนค่าลงมานั้น คงจะลำบากถ้าหากว่าไม่มีการเข้าแทรกแซงในตลาดอย่างหนักแน่น" เคนอิชิ ยูโมโต รองประธานค้าเงินตราต่างประเทศของ โซซิเยเต เยเนราล ในโตเกียวให้ความเห็น
เขาให้ความเห็นต่อไปว่า การที่เผยแพร่คำแถลงจี 7 ในขณะที่ตลาดอเมริกาเหนือและยุโรปยังไม่เปิดทำการเช่นนี้ ทำให้เห็นได้ว่าเรื่องนี้น่าจะเกิดจากการดำเนินการของฝ่ายญี่ปุ่น
"หากว่าเป็นการแถลงร่วมของทุกฝ่ายอย่างแข็งขันแท้จริงแล้ว ป่านนี้ประเทศจี7 อื่นๆ ก็น่าจะออกมาแสดงความคิดเห็นสนับสนุนเพิ่มเติมแล้ว" ยูดมโตบอก
เมื่อวันศุกร์ เงินดอลลาร์สหรัฐฯร่วงลงไปอยู่เหนือระดับ 90 เยนนิดเดียว นับเป็นการลงดิ่งสู่ระดับนั้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนสิงหาคม 1995 เป็นต้นมา ในขณะที่เงินยูโรก็อ่อนค่าลงอยู่ที่ระดับ 114 เยน อันเป็นระดับที่ไม่ได้เห็นกันมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2002
เงินเยนมักจะแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เกิดมีความปั่นป่วนผันผวนทางการเงิน เพราะบรรดานักลงทุนทั้งหลายพากันไปกู้ยืมเป็นสกุลเงินญี่ปุ่นที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำมาก เพื่อเอาไปใช้ซื้อขายหลักทรัพย์และตราสารอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงสูงกว่า แต่เมื่อเกิดความผันผวนขึ้นมา ก็จะมีความเคลื่อนไหวคืนเงินกู้สกุลเยนกัน
รัฐมนตรีคลัง โชอิชิ นาคาวากะ ของญี่ปุ่น เคยออกมาเตือนก่อนหน้านี้ว่า ความผันผวนรุนแรงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยน จะทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นไร้เสถียรภาพไปด้วย
การแสดงความเห็นทำนองนี้ ทำให้เกิดการคาดเดากันว่าญี่ปุ่นน่าจะเข้าแทรกแซงตลาดเป็นครั้งแรกนับแต่เดือนมีนาคม 2004 เป็นต้นมา เพื่อมิให้เงินเยนแข็งค่าเร็วเกินไปนัก ทว่าสิ่งนี้ก็ยังคงไม่เกิดขึ้น
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (27 ต.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงต่อเนื่องและรุนแรง ตามทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลก ที่ได้รับผลกระทบจากความกังวลภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกถดถอย จนกระทั่งเวลา 16.04 น. ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงจากราคาปิดครั้งก่อนถึง 43.29 จุด หรือคิดเป็น 10.00% ทำให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต้องหยุดซื้อขายชั่วคราว (เซอร์กิตเบรกเกอร์) เป็นเวลา 30 นาที ซึ่งถือว่าเดือนนี้เป็นครั้งที่ 2 ในการใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ครั้งแรกใช้เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2551
หลังจากเปิดซื้อขายดัชนีตลาดหุ้นไทยยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และปิดที่ระดับต่ำสุดของวัน 387.43 จุด ลดลงจากวันก่อน 45.44 จุด หรือคิดเป็น 10.50% และระหว่างวันดัชนีปรับตัวสูงสุดที่ระดับ 424.88 จุด มูลค่าการซื้อขายรวม 11,786.99 ล้านบาท โดยดัชนีตลาดหุ้นได้ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบกว่า 5 ปี
ทั้งนี้ หากย้อนกลับไปตั้งแต่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2518 การใช้มาตรการเซอร์กิตเบรกเกอร์ ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 โดยครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 49 ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับลดลง 10.14% จากความกังวลที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศใช้มาตรการสำรอง 30% และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมา
***นักลงทุนแห่ทิ้งหุ้นเพื่อถือเงินสด
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงแรงถึงระดับ 10% ทำให้ต้องมีการหยุดพักการซื้อขายชั่วคราวถือเป็นไปตามทิศทางตลาดหุ้นภูมิภาค โดยตลาดหุ้นฮ่องกงปรับตัวลดลง 12% และตลาดหุ้นอื่นลดลงเฉลี่ย 8-9% จากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก เนื่องจากนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในการลงทุนและมาตรการดูแลของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และยุโรป โดยต้องการถือเงินสดเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน
“ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงแรงเป็นผลกระทบจากปัญหาต่างประเทศที่แผ่วงกว้าง ซึ่งประเทศใดประเทศหนึ่งจะออกมาตรการมาดูแลคงจะไม่บรรเทาปัญหาได้ทั้งหมด ดังนั้นนักลงทุนต้องติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด และลงทุนอย่างระมัดระวัง” นางภัทรียา กล่าวว่า
นางภัทรียา กล่าวว่า ในวันที่ 30 ตุลาคมนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินตลาดทุนเข้าร่วมประชุมนัดพิเศษ เพื่อหารือถึงบรรยากกาศตลาดทุนที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ส่วนเรื่องการจัดตั้งกองทุน 1.4 แสนล้านบาทนั้น ขณะนี้กระทรวงการคลัง ยังไม่ได้หารือกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งต้องขอรอดูรายละเอียดก่อน แต่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ดำเนินการจัดตั้งกองทุนแมทชิ่งฟันด์ไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม การระดมทุนเพื่อจัดตั้งแมทชิ่งฟันด์มูลค่า 8.2 พันล้านบาทนั้น อาจดำเนินการได้ลำบากขึ้น จากนักลงทุนขาดความเชื่อมั่น บวกกับภาวะตลาดหุ้นไม่ดี
ส่วนปัญหาเรื่องการชำระราคาและส่งมอบของตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น ขณะนี้ยังไม่พบปัญหาแต่อย่างใด โดยบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ ได้ดูแลเรื่องการปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (มาร์จินโลน) ซึ่งนักลงทุนที่มีการซื้อขายหุ้นส่วนใหญ่ใช้เงินสดในการลงทุนอยู่แล้ว โดยปัจจุบันมูลค่าการปล่อยมาร์จิ้นมีอยู่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท จากจำนวนลูกค้าประมาณ 4 พันรายเท่านั้น ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับในอดีต
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนจะต้องพิจารณาผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไทยที่จะมีการประกาศออกมาในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ ในการประกอบการตัดสินใจในการลงทุนจากมีข้อมูลที่ครบถ้วน ซึ่งคาดว่าน่าจะมีทิศทางที่ดีหลังจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงทำให้ต้นทุนการผลิตของบริษัทจดทะเบียนลดลงด้วย ขณะที่ผลงานกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่ออกมายังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ไม่ประสบปัญหาเหมือนสถาบันการเงินสหรัฐฯ – ยุโรป
***รมว.คลังไม่เข้าแทรกแซงตลาดหุ้น
นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลัง กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงเป็นการเคลื่อนไหวเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาค รวมทั้งสถานการณ์ต่างประเทศ ถือว่าเป็นไปตามกลไกการตลาด ทางการจึงไม่จำเป็นต้องเข้าแทรกแซงในขณะนี้
“ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงแรงคงไม่เกี่ยวข้องกับการที่เครือข่ายองค์กรต่างๆ เดินทางไปชุมนุมคัดค้านการเข้าจดทะเบียนและกระจายหุ้นของ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ หน้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวานนี้”
***รุนแรงสุดในรอบ 100 ปี
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเชีย พลัส จำกัด (มหาชน) ในฐานะนายกสมาคมวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงแรงจนต้องหยุดซื้อขายชั่วคราว เกิดจากนักลงทุนวิตกปัญหาวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นกำลังลุกลามสู่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง โดยจะเห็นได้จากการปิดบริษัทรถยนต์ของเยอรมนี หรือสายการบินทั่วโลก ที่มีรายได้ปรับลดลงจากปีก่อนเป็นจำนวนมาก รวมถึงการขนส่งสินค้า ที่ลดลงถึง 77% แสดงให้เห็นว่าการค้าขายทั่วโลกเริ่มลดลงมาก
“ขณะนี้มีแต่ข่าวร้าย และคาดว่าจะยังไม่หยุด รวมทั้งยังจะขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ โดยวิกฤติการเงินได้กระจายไปสู่ภาคธุรกิจที่แท้จริงแล้วตั้งแต่ปลายปีนี้ต่อเนื่องถึงปีหน้า นับว่ารุนแรงสุดในรอบ 100 ปี เพราะแค่เดือนตุลาคมเดือนเดียวพบว่า มูลค่าหุ้นในตลาดโลกหายไปแล้ว 400 ล้านล้านบาท หรือ 1 ใน 3 หากรวมตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันมูลค่าทรัพย์สินและการลงทุนหายไปแล้วกว่า 1.2 พันล้านล้านบาท ส่วนตลาดหุ้นไทยทั้งปีหายไปแล้ว 55% เฉพาะตุลาคมนี้หายไป 36% จากดัชนี 600 กว่าจุดลดเหลือ 300 กว่าจุดเท่านั้น”
นายก้องเกียรติกล่าวเพิ่มเติมว่า ณ ปัจจุบันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยยังไม่ถึงจุดต่ำสุด และไม่สามารถคาดการณ์ว่าจะลงถึงระดับใด แม้ว่าราคาหุ้นขณะนี้ต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น หากซื้อเวลานี้อาจจะได้ราคาถูกกว่าเจ้าของบริษัท แต่ความตื่นตระหนกทำให้ทุกคนเทขาย จึงอยากให้นักลงทุนหยุดขาย และเลือกลงทุนในหุ้นที่มีพื้นฐานดี เพราะคาดว่าดัชนีตลาดหุ้นน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากนักลงทุนหายตื่นกลัว หรือรัฐบาลมีมาตรการที่ประสบผลเข้ามาบรรเทาวิกฤตที่เกิดขึ้น
***เงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง
นักค้าเงินจาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) เปิดเผยการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทเมื่อวานนี้ (27 ต.ค.) ว่า ปิดตลาดที่ระดับ 34.79-34.83 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าจากวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ 34.67/70 บาทต่อดอลลาร์ โดยเคลื่อนไหวอ่อนค่าตลอดทั้งวัน เป็นไปตามค่าเงินสกุลหลัก และนักลงทุนวิตกกังวลการปรับลดลงของดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก
"ค่าเงินบาทอ่อนค่าสุดที่ระดับ 34.81 บาทต่อดอลลาร์ และแข็งค่าสุดที่ระดับ 34.67 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนวันพรุ่งนี้ (28 ต.ค.) คาดว่าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าได้อีก" นักค้าเงินกล่าว
**หุ้นทั่วโลกทรุดฮวบ**
เปิดฉากการซื้อขายหุ้นทั่วโลกประจำสัปดาห์นี้ ปรากฏว่าตลาดเอเชียพากันปักหัวลงเป็นทิวแถว ลามต่อไปถึงแถบยุโรป และสหรัฐฯ
นักวิเคราะห์ค่ายเดรสด์เนอร์ ไคลน์เวิร์ต นาม วาเลนติน มารินอฟ กล่าวอย่างหวั่นไหวว่า "ดูเหมือนว่าความแตกตื่นตระหนกในตลาดจะไม่มีวันสิ้นสุด โดยที่เวลานี้ความหวาดกลัวภาวะเศรษฐกิจถดถอยกำลังกลายเป็นสิ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจสูงที่สุด"
ขณะที่ ดีลเลอร์ของ ซีเอ็มซี มาร์เกตส์ ชื่อ แมตต์ บัคแลนด์ บอกว่า หลังจากตลาดหลักทรัพย์อยู่ในอาการปั่นป่วนผันผวนในสัปดาห์ที่แล้ว ผู้คนจำนวนมากก็ตั้งความหวังว่าเริ่มต้นสัปดาห์ใหม่จะทำให้เกิดเสถียรภาพขึ้นมาได้บ้าง ทว่าจนถึงตอนนี้ยังแทบไม่มีอะไรบ่งชี้ว่าจะเป็นเช่นนั้นเลย
ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นนิกเกอิของญี่ปุ่น ร่วงลงมา 6.36% หรือ 486.18 จุด มาปิดที่ 7,162.90 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 26 ปี ขณะที่ดัชนีหุ้นฮั่งเส็งของฮ่องกง เลวร้ายกว่านั้นอีก โดยปิดลดต่ำลง 12.7% หรือ 1,602.54 จุด มายืนที่ 11,015.84 อันเป็นตัวเลขปิดต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2004
ฟิลิปปินส์ก็เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทย วานนี้ดัชนีไหลรูดลงต่ำกว่า 10% จนต้องใช้กลไกเซอร์กิตเบรกเกอร์ หรือหยุดพักระงับการซื้อขายไปช่วงหนึ่ง และถึงตอนปิดตลาดก็ยังคงดำดิ่ง 12.3%
ตลาดอื่นๆ ส่วนใหญ่ก็อยู่ในแดนลบเป็นแถว เซี่ยงไฮ้ -6.32%, ไทเป -4.65%, มุมไบ -2.2% มีเพียงตลาดหลักทรัพย์โซลที่สามารถขยับจากการทรุดตัวในช่วงต้นๆ กลับขึ้นอยู่ในแดนสีเขียว 0.8% ภายหลังจากที่ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศตัดลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมา 0.75% ซึ่งเป็นการหั่นครั้งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์
ทางฟากยุโรป ลอนดอนหล่นวูบสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี ขณะที่ตลาดยังคงย่อยรายงานข่าวที่ว่าเศรษฐกิจอังกฤษกำลังอยู่ตรงปากขอบภาวะถดถอย หลังจากตัวเลขอัตราเติบโตออกมาเป็นลบในช่วงไตรมาสสามปีนี้ ในช่วงเช้านั้น ดัชนีหุ้นฟุตซี่ของลอนดอนร่วงถึง 5.62% ก่อนจะดีดขึ้นไปจนเหลือติดลบ 1.83%
หุ้นปารีสก็ต่ำลง 3.79% ระหว่างการซื้อขายช่วงบ่ายๆ ขณะที่แฟรงเฟิร์ตติดลบอยู่ 2.23% ซึ่งนับว่าดีขึ้นกว่าในตอนเช้าแล้ว
สำหรับวอลล์สตรีท พอเปิดตลาด ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ก็รูดลง 1.01% แต่แล้วก็ดีดกลับขึ้นมาอยู่ในแดนบวกได้บ้าง ท่ามกลางการซื้อขายที่ค่อนข้างผันผวน
**น้ำมันหลุดระดับ60เหรียญ**
ทางด้านราคาน้ำมันก็ตกฮวบเช่นเดียว โดยบรรดานักลงทุนต่างมองโลกแง่ร้าย มองเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่กำลังดูมืดมนลงทุกทีเช่นนี้ น่าจะส่งผลให้ความต้องการใช้เชื้อเพลิงลดถอยลง
สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ เพื่อการส่งมอบเดือนธันวาคม ไหลลงมา 47 เซ็นต์ อยู่ที่ 63.68 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อเวลา 14.09 น.จีเอ็มที (ตรงกับ 21.09 น.เวลาเมืองไทย) หลังจากที่ก่อนหน้านั้นช่วงหนึ่งลงไปแตะ 61.30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นราคาต่ำที่สุดในรอบ 17 เดือน
ส่วนสัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนต์ของลอนดอน ติดลบ 73 เซ็นต์ อยู่ที่ 61.32 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยก่อนหน้านั้นช่วงหนึ่ง เซซวดลงถึง 2.20 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 59.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ความมัวซัวของภาวะเศรษฐกิจโลกมีอิทธิพลต่อตลาดน้ำมันมากยิ่งกว่าความเคลื่อนไหวในวันศุกร์(24) ขององค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ที่มีมติตัดลดเพดานการผลิตลงมา 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อพยายามพยุงราคาในตลาดไม่ให้ไหลรูด
"สิ่งที่โอเปกทำถือเป็นผลบวก (ต่อราคาในตลาด) ทว่าเวลานี้มันกลับกลายเป็นสิ่งที่ถูกมองข้ามกันไป" เป็นความเห็นของ ไมก์ วิตต์เนอร์ แห่ง โซซิเยเต เจเนราล
บรรดาโรงกลั่นแถบเอเชียกล่าววานนี้ว่า พวกเขายังไม่ได้รับแจ้งว่าจะมีการลดการส่งน้ำมันดิบใดๆ จากผู้ผลิตแถบอ่าวเปอร์เซีย และต่างเห็นกันว่าการตัดลดจริงๆ น่าจะอยู่ในระดับ 5%
ขณะที่ ผู้ว่าการด้านโอเปกของอิหร่าน โมฮัมหมัด อาลี คาติบี ได้ออกมาขู่ว่า โอเปกจะต้องลดการผลิตลงต่อไปอีก ถ้าหากการตัดลดที่ตกลงกันเมื่อวันศุกร์ ยังไม่ทำให้ตลาดมีเสถียรภาพ ซึ่งหมายความว่า ราคายังคงดิ่งลงต่อไปนั่นเอง
ราคาน้ำมันดิบได้ตกลงมาเกือบ 60% แล้วนับแต่ที่ทะยานขึ้นทำสถิติสูงสุด ณ ระดับเหนือ 147 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในเดือนกรกฎาคม
**หลายประเทศออกมาตรการใหม่สู้วิกฤต**
ตลาดหลักทรัพย์และตลาดน้ำมันยังคงทรุดตัว ถึงแม้เมื่อวานนี้หลายประเทศและหลายองค์การระหว่างประเทศ มีความเคลื่อนไหวใหม่ๆ ที่จะหยุดยั้งวิกฤตในระบบการเงินการธนาคาร ตลอดจนปกป้องคุ้มครองเศรษฐกิจของตนไม่ให้ถูกกระทบจากวิกฤต
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ประกาศเมื่อวันอาทิตย์(26) ให้เงินกู้เพื่อหนุนภาวะเศรษฐกิจแก่ยูเครน เป็นจำนวน 16,500 ล้านดอลลาร์ ขณะที่คาดหมายว่าจะสามารถประกาศการให้เงินกู้ "จำนวนมาก" แก่ฮังการีได้ในอีกสองสามวันข้างหน้า
ส่วนธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงรวดเดียว 0.75% พร้อมแสดงท่าทีว่าอาจจะมีการลดกันต่อไปอีกถ้าหากจำเป็น
ขณะที่ญี่ปุ่นก็ประกาศมาตรการใหม่ๆ ในการสนับสนุนตลาดหุ้นที่ย่ำแย่ อาทิ ใช้มาตรการจำกัดเข้มงวดการทำ "ชอร์ตเซล", การเพิ่มเพดานของเงินทุนที่รัฐบาลจะอัดฉีดให้แก่พวกธนาคารประสบปัญหา
ด้านธนาคารกลางออสเตรเลียก็เข้าแทรกแซงในตลาดเงินตราต่างประเทศเป็นวันที่สอง เพื่อพยายามพยุงเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย หลังจากถูกนักลงทุนทุบจนอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบหลายๆ ปี
สำหรับธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) ได้ประกาศให้เงินกู้สกุลดอลลาร์ระยะเวลา 1 สัปดาห์ โดยแลกกับเงินสดสกุลยูโร เพื่อพยายามที่จะทำให้ตลาดเงินระหว่างธนาคารไม่ตีบตันชะงักงัน
**จี7ออกคำแถลงชี้เงินเยนผันผวนเกินไป**
แต่มาตรการที่ตอนประกาศออกมาดูหวือหวาที่สุด ก็คือ คำแถลงของบรรดารัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่ม 7 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี7) ซึ่งญี่ปุ่นในฐานะประธานจี7วาระปัจจุบันนำออกมาเผยแพร่เมื่อเช้าวานนี้
คำแถลงสั้นๆ นี้ระบุว่า "เราขอย้ำว่าเรายังคงใส่ใจในระบบการเงินโลก เพื่อที่จะสร้างความแข็งแกร่งและทำให้เกิดเสถียรภาพมากขึ้น"
"เรากำลังวิตกว่า ความผันผวนมากเกินไปของอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยน จะส่งผลทางลบต่อความมั่นคงทางด้านการเงินและเศรษฐกิจของโลกมากเพียงใด และเราจะยังคงจับตาดูความเคลื่อนไหวในตลาดต่างๆ อย่างใกล้ชิด และจะร่วมมือกันเมื่อเห็นสมควร"
คำแถลงที่ออกมาอย่างกะทันหันจากกลุ่มจี7 ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, อิตาลี, และแคนาดา บังเกิดขึ้นหลังจากที่สัปดาห์ที่แล้ว ค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ แตะระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี และเมื่อเทียบกับเงินยูโรก็อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 6 ปี
อย่างไรก็ตาม คำแถลงนี้มีผลต่อตลาดอัตราแลกเปลี่ยนน้อยมาก เงินดอลลาร์ขยับขึ้นเป็น 94.11 เยนหลังจากมีการเผยแพร่คำแถลง แข็งขึ้นจากระดับ 93.90 เยนในช่วงเช้าวานนี้ตอนที่ตลาดโตเกียวเปิดทำการ แต่ก็ยังคงอ่อนกว่าระดับ 94.24 เยนในตอนท้ายของตลาดนิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว
"การที่จี7 จะทำให้เงินเยนอ่อนค่าลงมานั้น คงจะลำบากถ้าหากว่าไม่มีการเข้าแทรกแซงในตลาดอย่างหนักแน่น" เคนอิชิ ยูโมโต รองประธานค้าเงินตราต่างประเทศของ โซซิเยเต เยเนราล ในโตเกียวให้ความเห็น
เขาให้ความเห็นต่อไปว่า การที่เผยแพร่คำแถลงจี 7 ในขณะที่ตลาดอเมริกาเหนือและยุโรปยังไม่เปิดทำการเช่นนี้ ทำให้เห็นได้ว่าเรื่องนี้น่าจะเกิดจากการดำเนินการของฝ่ายญี่ปุ่น
"หากว่าเป็นการแถลงร่วมของทุกฝ่ายอย่างแข็งขันแท้จริงแล้ว ป่านนี้ประเทศจี7 อื่นๆ ก็น่าจะออกมาแสดงความคิดเห็นสนับสนุนเพิ่มเติมแล้ว" ยูดมโตบอก
เมื่อวันศุกร์ เงินดอลลาร์สหรัฐฯร่วงลงไปอยู่เหนือระดับ 90 เยนนิดเดียว นับเป็นการลงดิ่งสู่ระดับนั้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนสิงหาคม 1995 เป็นต้นมา ในขณะที่เงินยูโรก็อ่อนค่าลงอยู่ที่ระดับ 114 เยน อันเป็นระดับที่ไม่ได้เห็นกันมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2002
เงินเยนมักจะแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เกิดมีความปั่นป่วนผันผวนทางการเงิน เพราะบรรดานักลงทุนทั้งหลายพากันไปกู้ยืมเป็นสกุลเงินญี่ปุ่นที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำมาก เพื่อเอาไปใช้ซื้อขายหลักทรัพย์และตราสารอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงสูงกว่า แต่เมื่อเกิดความผันผวนขึ้นมา ก็จะมีความเคลื่อนไหวคืนเงินกู้สกุลเยนกัน
รัฐมนตรีคลัง โชอิชิ นาคาวากะ ของญี่ปุ่น เคยออกมาเตือนก่อนหน้านี้ว่า ความผันผวนรุนแรงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยน จะทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นไร้เสถียรภาพไปด้วย
การแสดงความเห็นทำนองนี้ ทำให้เกิดการคาดเดากันว่าญี่ปุ่นน่าจะเข้าแทรกแซงตลาดเป็นครั้งแรกนับแต่เดือนมีนาคม 2004 เป็นต้นมา เพื่อมิให้เงินเยนแข็งค่าเร็วเกินไปนัก ทว่าสิ่งนี้ก็ยังคงไม่เกิดขึ้น