ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทะยานขึ้นอย่างบ้าเลือดกว่า 16 ดอลลาร์เมื่อวันจันทร์(22) ก่อนที่จะขยับถอยลงมาวานนี้(23) ขณะที่ตลาดหุ้นพากันไหลรูดเป็นส่วนใหญ่ เป็นการแสดงปฏิกิริยาต่อแผนการของสหรัฐฯที่จะใช้เงิน 700,000 ล้านดอลลาร์เพื่อซื้อหนี้เสียของพวกสถาบันการเงิน ซึ่งกำลังทำท่าล่าช้าผ่านออกมาบังคับใช้ได้ลำบาก เพราะรัฐบาลกับรัฐสภาอเมริกันยังมีความเห็นไม่ลงรอยกันอยู่มาก ทางด้านกระทรวงพลังงานไทย เบรกผู้ค้ารีบขึ้นราคาน้ำมันตามตลาดโลก ขอให้รอดูสถานการณ์ 1-2 วันก่อน
ราคาน้ำมันที่พุ่งพรวดอย่างเดือดดาลครั้งนี้ ต่อเนื่องมาจากการไต่ระดับขึ้นเรื่อย ๆ ในวันก่อน ๆ จากที่เคยหล่นลงฮวบฮาบเกือบถึง 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังสหรัฐฯ เผยแผนการมูลค่ามหาศาลและครอบคลุมซึ่งมุ่งช่วยเหลือตลาดการเงินที่กำลังซวดเซอย่างหนักจากวิกฤตซับไพรม์ที่ต่อเนื่องเป็นวิกฤตสินเชื่อทั่วโลก เนื่องจากมาตรการล่าสุดดังกล่าว ทำให้พวกเทรดเดอร์ตลอดจนักวิเคราะห์มองว่า จะส่งผลให้ทิศทางความต้องการพลังงานในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก เริ่มกระเตื้องเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ (22) สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม ซึ่งกำหนดให้ซื้อขายกันวันสุดท้ายในวันเดียวกันนี้ ได้ทะยานขึ้น 16.37 ดอลลาร์ หรือราว 15.7 เปอร์เซ็นต์ ปิดที่ 120.92 ดอลลาร์ ขณะที่สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูด เพื่อการส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ก็เพิ่มขึ้น 6.62 เหรียญสหรัฐฯ ปิดที่ 109.37 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยที่มีปริมาณการซื้อขายคึกคักกว่าด้วยซ้ำ
ส่วนน้ำมันดิบเบรนต์เพื่อการส่งมอบเดือนพฤศจิกายน พุ่งขึ้น 6.43 ดอลลาร์ อยู่ที่ 106.04 ดอลลาร์ เบรนต์เพื่อการส่งมอบเดือนตุลาคมได้หมดอายุลงหลายวันก่อนหน้านี้แล้ว
สาเหตุที่ราคาพุ่งรุนแรงเช่นนี้ นักวิเคราะห์มองว่าปัจจัยสำคัญที่สุด มาจากการที่เงินดอลลาร์อ่อนตัว บวกกับการที่สัญญาเพื่อการส่งมอบเดือนตุลาคมกำลังจะหมดอายุ
"ตลาดน้ำมันที่นี่บ้าคลั่งไปแล้ว ดูเหมือนว่าการที่เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงช่วงนี้ เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นอย่างร้อนแรง นอกจากนี้ สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบที่ตลาดไนเม็กซ์ของสหรัฐฯ เพื่อการส่งมอบเดือนตุลาคม ก็หมดอายุลงพอดิบพอดี ส่งผลให้นักลงทุนต่างพากันทำชอร์ตคัพเวอริง (การที่นักลงทุนซึ่งทำชอร์ตเซลไว้ เข้าตลาดไปซื้อเพื่อกลับมาส่งมอบ)" อาแมนดา คูรเซนดูเออร์เฟอร์ นักวิเคราะห์ตลาดโภคภัณฑ์แห่งซัมมิตเอนเนอจี แห่งเมืองหลุยส์วิลล์ มลรัฐเคนทักกีกล่าว
ทั้งนี้ การทำชอร์ตเซลคือการที่นักลงทุนบอกขายสินค้า (ซึ่งในกรณีนี้คือสัญญาอนุพันธ์ล่วงหน้าน้ำมัน)ออกไปโดยคาดหมายว่าราคาจะลดลงในอนาคต และเมื่อถึงกำหนดที่จะต้องชำระบัญชี ก็จะซื้อสัญญาน้ำมันจากตลาดมาชดใช้คืน ซึ่งหากราคาในอนาคตลดลงไปตามที่คาด นักลงทุนผู้ทำชอร์ตก็ได้กำไรจากส่วนต่าง
ในวันเดียวกันนี้ (22) เงินดอลลาร์ได้อ่อนค่าลง 2 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร สืบเนื่องจากความหวาดผวาของนักลงทุนถึงผลกระทบด้านการคลัง จากมาตรการช่วยเหลือครั้งล่าสุดของรัฐบาลประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ที่ยื่นข้อเสนอต่อรัฐสภา ขอใช้เงินภาษีของประชาชนราว 700,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อดูดซับหนี้เสียของพวกธนาคารและสถาบันการเงิน ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นตอของวิกฤตทางการเงินครั้งร้ายแรงที่สุดนับแต่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในปี 1930
ทั้งนี้ เงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงจะทำให้สินค้าโภคภัณฑ์ ดังเช่นน้ำมัน ทองคำ ซึ่งซื้อขายกันด้วยเงินดอลลาร์ มีราคาถูกลงสำหรับผู้ซื้อที่ถือเงินสกุลที่แข็งกว่าดอลลาร์
นอกจากนี้ มาตรการการช่วยเหลือระบบการเงินของรัฐบาล ยังช่วยกอบกู้ความมั่นใจของนักลงทุนว่า ความต้องการน้ำมันในสหรัฐฯ อาจยังทรงตัวต้านกระแสวิกฤติเศรษฐกิจ ได้มากกว่าที่เคยหวั่นวิตกกัน
ทางด้านคณะกรรมการการซื้อขายอนุพันธ์ฟิวเจอร์สด้านสินค้าโภคภัณฑ์ (ซีเอฟทีซี) อันเป็นหน่วยงานกำกับตรวจสอบตลาดซื้อขายล่วงหน้าของสหรัฐฯ ออกโรงแถลงว่า กำลังสอบสวนข้อเท็จจริงหลังจากราคาน้ำมันพุ่งพรวดเป็นประวัติการณ์ในวันจันทร์ เพื่อให้แน่ใจว่า การซื้อขายในตลาดน้ำมันดำเนินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
"เรากำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับบรรดาเจ้าหน้าที่ด้านกำกับตรวจสอบของตลาดไนเม็กซ์เพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีผู้ใดฉวยโอกาสจากความตึงเครียดในปัจจุบันที่รุมเร้าตลาดการเงิน เพื่อกอบโกยผลประโยชน์ด้วยการเข้าครอบงำบงการตลาด" วอลเตอร์ ลุคเคน รักษาการประธานซีเอฟทีซีกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในการซื้อขายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายหลังตลาดจริงปิด ปรากฏว่าราคาน้ำมันดิบได้ถอยลงมา โดยเมื่อเวลา 13.54 น.จีเอ็มที (ตรงกับ 20.54 น.เวลาเมืองไทย) ของวานนี้ สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบไลต์สวีตครูด เพื่อส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ได้ขยับลงมา 85 เซ็นต์ อยู่ที่ 108.52 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนต์ของลอนดอนก็ลดลง 2.01 ดอลลาร์ อยู่ที่ 104.03 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
พลังงานเบรกผู้ค้าขึ้นราคาน้ำมัน
ทางด้านนายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยวานนี้ว่า สถานการณ์ราคาน้ำมันเมื่อวันที่ 22 ก.ย. ที่ตลาดโลกได้ปรับขึ้นสูงสุด แต่ผู้ค้าน้ำมันไม่ควรขึ้นราคาน้ำมันในทันที ควรรอดูสถานการณ์ราคาอีก 1-2 วัน เนื่องจากในช่วงที่เดือน ส.ค.-ก.ย.ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้ค้าน้ำมันลดราคาขายปลีกน้ำมันลงช้ากว่าราคาตลาดโลก ทำให้ค่าการตลาดน้ำมันอยู่ในระดับสูง
"ค่าการตลาดน้ำมันแก๊สโซฮอล E 10 อยู่ในระดับเฉลี่ย 2.40 บาทต่อลิตร ซึ่งค่าการตลาดในระดับปกติควรอยู่ในระดับ 1.70-2.00 บาท ต่อลิตร และค่าการตลาดน้ำมันดีเซล อยู่ในระดับเฉลี่ยกว่า 2.52 บาทต่อลิตร ซึ่งค่าการตลาดปกติควรอยู่ในระดับ 1.00-1.50 บาทต่อลิตร เมื่อรวมกับการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 40-50 สตางค์ต่อลิตรแล้ว ส่งผลให้ค่าการตลาดผู้ค้าน้ำมันลดลง คือ ค่าการตลาดน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 อยู่ในระดับ 1.36 บาทต่อลิตร และดีเซลอยู่ในระดับ 1.06 บาทต่อลิตร ซึ่งถือว่าเป็นค่าการตลาดอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติเล็กน้อย และค่าการตลาดเพิ่งจะลดต่ำกว่าเกณฑ์เป็นวันแรก ดังนั้นผู้ค้าจึงไม่ควรรีบขึ้นราคาน้ำมันทันที" นายพรชัยกล่าว
อย่างไรก็ดี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัทเชลล์ได้ระบุว่าไม่มีกฏหมายใดมาห้าม เพราะเป็นกลไกเสรี แต่เชลล์จะขอดูราคาปิดตลาดวันที่ 23 ก.ย. ก่อนตัดสินใจ หากราคาสิงคโปร์ปรับขึ้น ก็จะปรับราคาขายปลีกทันที
ราคาหุ้นโลกส่วนใหญ่ไหลรูด
สำหรับตลาดหุ้นทั่วโลกซึ่งพุ่งทะยานขึ้นไปมากในช่วงท้ายสัปดาห์ที่แล้ว เพราะมองว่ามาตรการของรัฐบาลสหรัฐฯ จะสามารถแก้ไขวิกฤตสินเชื่อตึงตัวที่ทำร้ายตลาดมากว่าปีแล้ว ทว่าเมื่อย่างเข้าสัปดาห์ใหม่ นักลงทุนและนักวิเคราะห์ก็ดูชักไม่แน่ใจ ทั้งในแง่ที่มาตรการนี้จะออกมาใช้ได้รวดเร็วหรือไม่ ในเมื่อฝ่ายรัฐบาลบุชกับทางรัฐสภาซึ่งพรรคเดโมแครตครองเสียงข้างมากอยู่ ดูจะยังมีความเห็นไม่ลงรอยกันในหลายๆ จุด นอกจากนั้นนักวิเคราะห์บางรายถึงขั้นตั้งคำถามว่า แม้มาตรการเช่นนี้ผ่านออกมาได้ ก็ยังอาจไม่เพียงพอแก้ปัญหาถึงรากเหง้าได้จริงๆ
อารมณ์ความรู้สึกเช่นนี้ ทำให้วอลล์สตรีทตอนปิดวันจันทร์ ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ไหลรูด 372 จุด หรือ 3.27%
เมื่อข้ามมาทางฟากเอเชียวานนี้ ตลาดส่วนใหญ่ก็ปิดติดลบตามไปด้วย อาทิ ฮ่องกง -3.9%, สิงคโปร์ -2.66%, เซี่ยงไฮ้ -1.56%, มุมไบ -3.03% แต่ก็มีหลายตลาดอยู่ในแดนบวก เช่น โซล+1.44%, ไทเป +1.17% ตลาดญี่ปุ่นนั้นปิดทำการเนื่องจากเป็นวันหยุด
สำหรับด้านยุโรป เมื่อถึงตอนบ่ายวานนี้ ลอนดอน -2.09%, ปารีส -1.36%, และแฟรงเฟิร์ต -0.82%
ขุนคลังพอลสัน-ประธานเฟดเร่งกล่อมรัฐสภา
เมื่อวานนี้ ทั้ง เฮนรี พอลสัน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ และ เบน เบอร์นันกี ประธานเฟด ต่างไปให้ปากคำต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารของวุฒิสภา ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเรียกร้องกดดันให้รัฐสภาอนุมัติแผนการช่วยเหลือสถาบันการเงิน 700,000 ล้านดอลลาร์โดยเร็ว
พอลสัน ซึ่งเป็นหัวหน้าใหญ่ในการจัดทำแผนการนี้ กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังถูกกระหน่ำโจมตีจาก "ปฏิกิริยาลูกโซ่"ของวิกฤตซับไพรม์ ดังนั้น หากรัฐสภาไม่รีบทำอะไรอย่างรวดเร็วแล้ว ก็จะเกิดผลต่อเนื่องซึ่ง "จะคุกคามทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจของเรา"
ขณะที่เบอร์นันกีก็ย้ำว่า "การลงมือปฏิบัติการของรัฐสภาเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน ในการทำให้สถานการณ์กลับมีเสถียรภาพ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจกลายเป็นผลต่อเนื่องอันหนักหนาสาหัสยิ่ง ต่อตลาดการเงินของเราและต่อเศรษฐกิจของเรา"
ประธานเฟดบอกว่า ตลาดทั่วโลก "ยังคงอยู่ภายใต้ความเครียดอย่างหนักหน่วงเป็นพิเศษ" ถึงแม้หลายๆ หน่วยงานจะมีปฏิบัติการกันไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ จึงถึงคราวที่รัฐสภาต้องลงมืออย่างรวดเร็ว "เมื่อพิจารณาจากพัฒนาการที่เคลื่อนตัวไปเร็วมากในตลาดการเงิน มันก็ยิ่งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดการกับวิกฤตคราวนี้"
อย่างไรก็ดี สมาชิกรัฐสภาของพรรคเดโมแครตยังคงแสดงท่าทีสงสัยข้องใจ วุฒิสมาชิก คริสโตเฟอร์ ด็อดด์ ประธานคณะกรรมาธิการการธนาคาร บอกว่า ข้อเสนอของรัฐบาลนั้นน่าตระหนกในเรื่องขนาดอันมหึมายิ่ง ขณะเดียวกันกลับขาดเขินไม่มีรายละเอียดเท่าที่ควร
เขาเรียกร้องว่า แผนการใดๆ ก็ตาม จะต้องยึดหลักการ 3 ข้อ นั่นคือ หนึ่ง ต้องมีหลักประกันว่าเงินภาษีของชาวอเมริกันจะถูกใช้ไปอย่างถูกต้องและรับผิดชอบ สอง ต้องมีมาตรการกำกับตรวจสอบที่ถูกต้องเหมาะสม และ สาม ต้องมีมาตรการไปช่วยเหลือผู้ซื้อบ้านที่กำลังจะถูกยึดด้วย ไม่ใช่ช่วยสถาบันการเงินถ่ายเดียว
ญี่ปุ่นบุกซื้อสินทรัพย์อเมริกัน
ขณะที่สถานการณ์ยังไม่มีอะไรชัดเจน พวกบริษัทญี่ปุ่นก็กำลังกลายเป็นผู้นำในการบุกซื้อสินทรัพย์ของวาณิชธนกิจที่ประสบปัญหา โดยเมื่อวันจันทร์ มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ประกาศจะซื้อหุ้น 20% ของมอร์แกนสแตนลีย์ ในมูลค่า 8,500 ล้านดอลลาร์ ส่วน โนมูระ โฮลดิ้ง ก็ซื้อกิจการส่วนที่อยู่ในญี่ปุ่นและออสเตรเลียของเลห์แมน
นอกจากนั้นยังมีข่าวลือว่า โกลด์แมนแซคส์ที่กำลังเปลี่ยนตัวเองเป็นกิจการธนาคารพาณิชย์ อาจหันมาจับมือกับ สุมิโตโม มิตซุย ไฟแนนเชียล กรุ๊ป แบงก์ใหญ่อันดับ 3 ของญี่ปุ่น
ราคาน้ำมันที่พุ่งพรวดอย่างเดือดดาลครั้งนี้ ต่อเนื่องมาจากการไต่ระดับขึ้นเรื่อย ๆ ในวันก่อน ๆ จากที่เคยหล่นลงฮวบฮาบเกือบถึง 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังสหรัฐฯ เผยแผนการมูลค่ามหาศาลและครอบคลุมซึ่งมุ่งช่วยเหลือตลาดการเงินที่กำลังซวดเซอย่างหนักจากวิกฤตซับไพรม์ที่ต่อเนื่องเป็นวิกฤตสินเชื่อทั่วโลก เนื่องจากมาตรการล่าสุดดังกล่าว ทำให้พวกเทรดเดอร์ตลอดจนักวิเคราะห์มองว่า จะส่งผลให้ทิศทางความต้องการพลังงานในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก เริ่มกระเตื้องเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ (22) สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม ซึ่งกำหนดให้ซื้อขายกันวันสุดท้ายในวันเดียวกันนี้ ได้ทะยานขึ้น 16.37 ดอลลาร์ หรือราว 15.7 เปอร์เซ็นต์ ปิดที่ 120.92 ดอลลาร์ ขณะที่สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูด เพื่อการส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ก็เพิ่มขึ้น 6.62 เหรียญสหรัฐฯ ปิดที่ 109.37 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยที่มีปริมาณการซื้อขายคึกคักกว่าด้วยซ้ำ
ส่วนน้ำมันดิบเบรนต์เพื่อการส่งมอบเดือนพฤศจิกายน พุ่งขึ้น 6.43 ดอลลาร์ อยู่ที่ 106.04 ดอลลาร์ เบรนต์เพื่อการส่งมอบเดือนตุลาคมได้หมดอายุลงหลายวันก่อนหน้านี้แล้ว
สาเหตุที่ราคาพุ่งรุนแรงเช่นนี้ นักวิเคราะห์มองว่าปัจจัยสำคัญที่สุด มาจากการที่เงินดอลลาร์อ่อนตัว บวกกับการที่สัญญาเพื่อการส่งมอบเดือนตุลาคมกำลังจะหมดอายุ
"ตลาดน้ำมันที่นี่บ้าคลั่งไปแล้ว ดูเหมือนว่าการที่เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงช่วงนี้ เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นอย่างร้อนแรง นอกจากนี้ สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบที่ตลาดไนเม็กซ์ของสหรัฐฯ เพื่อการส่งมอบเดือนตุลาคม ก็หมดอายุลงพอดิบพอดี ส่งผลให้นักลงทุนต่างพากันทำชอร์ตคัพเวอริง (การที่นักลงทุนซึ่งทำชอร์ตเซลไว้ เข้าตลาดไปซื้อเพื่อกลับมาส่งมอบ)" อาแมนดา คูรเซนดูเออร์เฟอร์ นักวิเคราะห์ตลาดโภคภัณฑ์แห่งซัมมิตเอนเนอจี แห่งเมืองหลุยส์วิลล์ มลรัฐเคนทักกีกล่าว
ทั้งนี้ การทำชอร์ตเซลคือการที่นักลงทุนบอกขายสินค้า (ซึ่งในกรณีนี้คือสัญญาอนุพันธ์ล่วงหน้าน้ำมัน)ออกไปโดยคาดหมายว่าราคาจะลดลงในอนาคต และเมื่อถึงกำหนดที่จะต้องชำระบัญชี ก็จะซื้อสัญญาน้ำมันจากตลาดมาชดใช้คืน ซึ่งหากราคาในอนาคตลดลงไปตามที่คาด นักลงทุนผู้ทำชอร์ตก็ได้กำไรจากส่วนต่าง
ในวันเดียวกันนี้ (22) เงินดอลลาร์ได้อ่อนค่าลง 2 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร สืบเนื่องจากความหวาดผวาของนักลงทุนถึงผลกระทบด้านการคลัง จากมาตรการช่วยเหลือครั้งล่าสุดของรัฐบาลประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ที่ยื่นข้อเสนอต่อรัฐสภา ขอใช้เงินภาษีของประชาชนราว 700,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อดูดซับหนี้เสียของพวกธนาคารและสถาบันการเงิน ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นตอของวิกฤตทางการเงินครั้งร้ายแรงที่สุดนับแต่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในปี 1930
ทั้งนี้ เงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงจะทำให้สินค้าโภคภัณฑ์ ดังเช่นน้ำมัน ทองคำ ซึ่งซื้อขายกันด้วยเงินดอลลาร์ มีราคาถูกลงสำหรับผู้ซื้อที่ถือเงินสกุลที่แข็งกว่าดอลลาร์
นอกจากนี้ มาตรการการช่วยเหลือระบบการเงินของรัฐบาล ยังช่วยกอบกู้ความมั่นใจของนักลงทุนว่า ความต้องการน้ำมันในสหรัฐฯ อาจยังทรงตัวต้านกระแสวิกฤติเศรษฐกิจ ได้มากกว่าที่เคยหวั่นวิตกกัน
ทางด้านคณะกรรมการการซื้อขายอนุพันธ์ฟิวเจอร์สด้านสินค้าโภคภัณฑ์ (ซีเอฟทีซี) อันเป็นหน่วยงานกำกับตรวจสอบตลาดซื้อขายล่วงหน้าของสหรัฐฯ ออกโรงแถลงว่า กำลังสอบสวนข้อเท็จจริงหลังจากราคาน้ำมันพุ่งพรวดเป็นประวัติการณ์ในวันจันทร์ เพื่อให้แน่ใจว่า การซื้อขายในตลาดน้ำมันดำเนินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
"เรากำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับบรรดาเจ้าหน้าที่ด้านกำกับตรวจสอบของตลาดไนเม็กซ์เพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีผู้ใดฉวยโอกาสจากความตึงเครียดในปัจจุบันที่รุมเร้าตลาดการเงิน เพื่อกอบโกยผลประโยชน์ด้วยการเข้าครอบงำบงการตลาด" วอลเตอร์ ลุคเคน รักษาการประธานซีเอฟทีซีกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในการซื้อขายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายหลังตลาดจริงปิด ปรากฏว่าราคาน้ำมันดิบได้ถอยลงมา โดยเมื่อเวลา 13.54 น.จีเอ็มที (ตรงกับ 20.54 น.เวลาเมืองไทย) ของวานนี้ สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบไลต์สวีตครูด เพื่อส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ได้ขยับลงมา 85 เซ็นต์ อยู่ที่ 108.52 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนต์ของลอนดอนก็ลดลง 2.01 ดอลลาร์ อยู่ที่ 104.03 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
พลังงานเบรกผู้ค้าขึ้นราคาน้ำมัน
ทางด้านนายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยวานนี้ว่า สถานการณ์ราคาน้ำมันเมื่อวันที่ 22 ก.ย. ที่ตลาดโลกได้ปรับขึ้นสูงสุด แต่ผู้ค้าน้ำมันไม่ควรขึ้นราคาน้ำมันในทันที ควรรอดูสถานการณ์ราคาอีก 1-2 วัน เนื่องจากในช่วงที่เดือน ส.ค.-ก.ย.ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้ค้าน้ำมันลดราคาขายปลีกน้ำมันลงช้ากว่าราคาตลาดโลก ทำให้ค่าการตลาดน้ำมันอยู่ในระดับสูง
"ค่าการตลาดน้ำมันแก๊สโซฮอล E 10 อยู่ในระดับเฉลี่ย 2.40 บาทต่อลิตร ซึ่งค่าการตลาดในระดับปกติควรอยู่ในระดับ 1.70-2.00 บาท ต่อลิตร และค่าการตลาดน้ำมันดีเซล อยู่ในระดับเฉลี่ยกว่า 2.52 บาทต่อลิตร ซึ่งค่าการตลาดปกติควรอยู่ในระดับ 1.00-1.50 บาทต่อลิตร เมื่อรวมกับการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 40-50 สตางค์ต่อลิตรแล้ว ส่งผลให้ค่าการตลาดผู้ค้าน้ำมันลดลง คือ ค่าการตลาดน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 อยู่ในระดับ 1.36 บาทต่อลิตร และดีเซลอยู่ในระดับ 1.06 บาทต่อลิตร ซึ่งถือว่าเป็นค่าการตลาดอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติเล็กน้อย และค่าการตลาดเพิ่งจะลดต่ำกว่าเกณฑ์เป็นวันแรก ดังนั้นผู้ค้าจึงไม่ควรรีบขึ้นราคาน้ำมันทันที" นายพรชัยกล่าว
อย่างไรก็ดี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัทเชลล์ได้ระบุว่าไม่มีกฏหมายใดมาห้าม เพราะเป็นกลไกเสรี แต่เชลล์จะขอดูราคาปิดตลาดวันที่ 23 ก.ย. ก่อนตัดสินใจ หากราคาสิงคโปร์ปรับขึ้น ก็จะปรับราคาขายปลีกทันที
ราคาหุ้นโลกส่วนใหญ่ไหลรูด
สำหรับตลาดหุ้นทั่วโลกซึ่งพุ่งทะยานขึ้นไปมากในช่วงท้ายสัปดาห์ที่แล้ว เพราะมองว่ามาตรการของรัฐบาลสหรัฐฯ จะสามารถแก้ไขวิกฤตสินเชื่อตึงตัวที่ทำร้ายตลาดมากว่าปีแล้ว ทว่าเมื่อย่างเข้าสัปดาห์ใหม่ นักลงทุนและนักวิเคราะห์ก็ดูชักไม่แน่ใจ ทั้งในแง่ที่มาตรการนี้จะออกมาใช้ได้รวดเร็วหรือไม่ ในเมื่อฝ่ายรัฐบาลบุชกับทางรัฐสภาซึ่งพรรคเดโมแครตครองเสียงข้างมากอยู่ ดูจะยังมีความเห็นไม่ลงรอยกันในหลายๆ จุด นอกจากนั้นนักวิเคราะห์บางรายถึงขั้นตั้งคำถามว่า แม้มาตรการเช่นนี้ผ่านออกมาได้ ก็ยังอาจไม่เพียงพอแก้ปัญหาถึงรากเหง้าได้จริงๆ
อารมณ์ความรู้สึกเช่นนี้ ทำให้วอลล์สตรีทตอนปิดวันจันทร์ ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ไหลรูด 372 จุด หรือ 3.27%
เมื่อข้ามมาทางฟากเอเชียวานนี้ ตลาดส่วนใหญ่ก็ปิดติดลบตามไปด้วย อาทิ ฮ่องกง -3.9%, สิงคโปร์ -2.66%, เซี่ยงไฮ้ -1.56%, มุมไบ -3.03% แต่ก็มีหลายตลาดอยู่ในแดนบวก เช่น โซล+1.44%, ไทเป +1.17% ตลาดญี่ปุ่นนั้นปิดทำการเนื่องจากเป็นวันหยุด
สำหรับด้านยุโรป เมื่อถึงตอนบ่ายวานนี้ ลอนดอน -2.09%, ปารีส -1.36%, และแฟรงเฟิร์ต -0.82%
ขุนคลังพอลสัน-ประธานเฟดเร่งกล่อมรัฐสภา
เมื่อวานนี้ ทั้ง เฮนรี พอลสัน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ และ เบน เบอร์นันกี ประธานเฟด ต่างไปให้ปากคำต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารของวุฒิสภา ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเรียกร้องกดดันให้รัฐสภาอนุมัติแผนการช่วยเหลือสถาบันการเงิน 700,000 ล้านดอลลาร์โดยเร็ว
พอลสัน ซึ่งเป็นหัวหน้าใหญ่ในการจัดทำแผนการนี้ กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังถูกกระหน่ำโจมตีจาก "ปฏิกิริยาลูกโซ่"ของวิกฤตซับไพรม์ ดังนั้น หากรัฐสภาไม่รีบทำอะไรอย่างรวดเร็วแล้ว ก็จะเกิดผลต่อเนื่องซึ่ง "จะคุกคามทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจของเรา"
ขณะที่เบอร์นันกีก็ย้ำว่า "การลงมือปฏิบัติการของรัฐสภาเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน ในการทำให้สถานการณ์กลับมีเสถียรภาพ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจกลายเป็นผลต่อเนื่องอันหนักหนาสาหัสยิ่ง ต่อตลาดการเงินของเราและต่อเศรษฐกิจของเรา"
ประธานเฟดบอกว่า ตลาดทั่วโลก "ยังคงอยู่ภายใต้ความเครียดอย่างหนักหน่วงเป็นพิเศษ" ถึงแม้หลายๆ หน่วยงานจะมีปฏิบัติการกันไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ จึงถึงคราวที่รัฐสภาต้องลงมืออย่างรวดเร็ว "เมื่อพิจารณาจากพัฒนาการที่เคลื่อนตัวไปเร็วมากในตลาดการเงิน มันก็ยิ่งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดการกับวิกฤตคราวนี้"
อย่างไรก็ดี สมาชิกรัฐสภาของพรรคเดโมแครตยังคงแสดงท่าทีสงสัยข้องใจ วุฒิสมาชิก คริสโตเฟอร์ ด็อดด์ ประธานคณะกรรมาธิการการธนาคาร บอกว่า ข้อเสนอของรัฐบาลนั้นน่าตระหนกในเรื่องขนาดอันมหึมายิ่ง ขณะเดียวกันกลับขาดเขินไม่มีรายละเอียดเท่าที่ควร
เขาเรียกร้องว่า แผนการใดๆ ก็ตาม จะต้องยึดหลักการ 3 ข้อ นั่นคือ หนึ่ง ต้องมีหลักประกันว่าเงินภาษีของชาวอเมริกันจะถูกใช้ไปอย่างถูกต้องและรับผิดชอบ สอง ต้องมีมาตรการกำกับตรวจสอบที่ถูกต้องเหมาะสม และ สาม ต้องมีมาตรการไปช่วยเหลือผู้ซื้อบ้านที่กำลังจะถูกยึดด้วย ไม่ใช่ช่วยสถาบันการเงินถ่ายเดียว
ญี่ปุ่นบุกซื้อสินทรัพย์อเมริกัน
ขณะที่สถานการณ์ยังไม่มีอะไรชัดเจน พวกบริษัทญี่ปุ่นก็กำลังกลายเป็นผู้นำในการบุกซื้อสินทรัพย์ของวาณิชธนกิจที่ประสบปัญหา โดยเมื่อวันจันทร์ มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ประกาศจะซื้อหุ้น 20% ของมอร์แกนสแตนลีย์ ในมูลค่า 8,500 ล้านดอลลาร์ ส่วน โนมูระ โฮลดิ้ง ก็ซื้อกิจการส่วนที่อยู่ในญี่ปุ่นและออสเตรเลียของเลห์แมน
นอกจากนั้นยังมีข่าวลือว่า โกลด์แมนแซคส์ที่กำลังเปลี่ยนตัวเองเป็นกิจการธนาคารพาณิชย์ อาจหันมาจับมือกับ สุมิโตโม มิตซุย ไฟแนนเชียล กรุ๊ป แบงก์ใหญ่อันดับ 3 ของญี่ปุ่น