รศ.ดร.ชวินทร์ ลีนะบรรจง
รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สุภาษิตโบราณเคยกล่าวไว้ว่า “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” ต่อให้เป็นคนเก่งคนฉลาดมาทั้งชีวิตก็ยังอาจพลั้งพลาดในบั้นปลายได้ ความโง่ก็เช่นกัน มันไม่เคยเข้าใครออกใคร หากไม่มีสติ “รู้ทัน” ความคิดของตนเอง ทุกคนมีสิทธิโง่ได้ด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าคนผู้นั้นจะเคยยิ่งใหญ่เพียงไหนมาก่อนก็ตาม
นิยามของคนโง่ คือ คนที่เห็นผิดเป็นชอบ เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ไม่มองเห็นโลกตามความเป็นจริง แต่มองเห็นโลกอย่างมีอคติไม่ว่ารักหรือชังก็ตาม
ผู้เขียนอยากจะช่วยหาตอบต่อคำถามที่ว่า “ระบบทักษิณอันเป็นผลผลิตแห่งระบอบทักษิณทำไมจึงสามารถดำรงอยู่ได้เพราะเหตุปัจจัยใด” ตามที่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้พยายามหาคำตอบไปก่อนแล้ว ดังปรากฏในบทความของเขาเรื่อง “ทำไมทักษิณ ทักษิณทำไม” ในหนังสือพิมพ์มติชน 27 ต.ค.51 โดยมีเนื้อความบางตอนในบทความนั้นปรากฏในตัวเอนดังต่อไปนี้
1. ผม(นิธิ เอียวศรีวงศ์)คิดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นสัญลักษณ์ของสิ่งดีๆ ที่ชาวบ้านจำนวนมากเคยได้รับจากรัฐบาลกลาง ไม่ว่าจะเป็นหลักประกันสุขภาพ ซึ่งแม้ไม่สู้จะมีประสิทธิภาพสูงนัก แต่เขาก็ได้ใช้ประโยชน์ไปตามอัตภาพ ซ้ำเป็นหลักประกันสุขภาพที่มั่นคงพอสมควรด้วย ความลังเลใจและนโยบายที่ไม่ชัดเจนของรัฐบาลซึ่งมาจากการรัฐประหารต่อเรื่องนี้ ยิ่งตอกย้ำ สัญลักษณ์ทักษิณว่าเป็นหลักประกันที่มั่นคงกว่าในเรื่องสุขภาพ กองทุนประเภทต่างๆ ซึ่งแม้ไม่ทำให้ส่วนใหญ่ของชาวบ้านมีชีวิตที่ดีขึ้น แต่ก็ช่วยให้ยืดวงจรของหนี้สินออกไปได้คล่องตัวขึ้น ดีกว่าไม่มีเสียเลย และนโยบายอื่นๆ ซึ่งรัฐบาลของคุณทักษิณได้หยิบยื่นทรัพยากรกลางลงไปถึงระดับล่าง อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนชื่อทักษิณ ชินวัตร จึงเป็นบุคลาธิษฐานของความใส่ใจต่อประชาชนระดับรากหญ้า ไม่ว่าความเป็นจริงจะเป็นดังนั้นหรือไม่ก็ตาม
ผู้เขียนกลับมีความเห็นว่า โดยข้อเท็จจริง ทักษิณ ชินวัตร เป็นสัญลักษณ์ของการ “แจก” น่าจะถูกต้องมากกว่า เป็นสัญลักษณ์ของสิ่งดีๆ ตามที่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวอ้าง เพราะภายใต้ระบอบทักษิณ โครงการต่างๆ เกือบทั้งหมดประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง และมิใช่ล้มเหลวเพราะไม่มีใครสานต่อหรือถูกกลั่นแกล้ง หากแต่ล้มเหลวเพราะมันเป็นสิ่งที่ผิดพลาดในตัวของมันเอง ซึ่งมีข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ให้เห็นอยู่มากมายในกองทุนแบบประชานิยมประเภทต่างๆ คำถามที่น่าจะถามก็คือทำไมทักษิณ ชินวัตรทำ แต่นักการเมืองอื่นๆ กลับไม่กล้าทำ เรื่องนี้ตอบได้เหมือนกันว่า นักการเมืองอื่นๆ ต่อให้โง่ เหมือนกันแต่ก็ไม่โง่พอที่จะกล้าทำอะไรที่ฝ่าฝืนความจริงอย่างพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินเหมือนอย่างทักษิณ ชินวัตร เพราะคาดการณ์ได้ค่อนข้างแน่ว่าจะพบจุดจบแบบหายนะอย่างไม่ต้องสงสัย
หาก นิธิ เอียวศรีวงศ์ มองว่าการ “แจก” ทำให้ผู้คนระดับล่างมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ก็เป็นการดีขึ้นอย่างชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ใครเล่าจะใจดำพอที่จะหลอกคนระดับล่างว่าชีวิตจะดีขึ้นจากการ “แจก” เหมือน ทักษิณ ชินวัตรที่ทำตัวเป็นแม่มดแจกแอบเปิลเคลือบยาพิษให้ชาวบ้านตาดำๆ ที่เปรียบเสมือนสโนว์ไวท์กิน และผู้ที่รับของ “แจก” ใครเล่าจะโง่พอที่จะเชื่อว่าชีวิตในความเป็นจริงจะดีขึ้นอย่างยั่งยืนเพราะของ “แจก” แบบไร้ปัญญาและขาดปรัชญาการพึ่งตนเองรองรับเหล่านี้
นิธิ เอียวศรีวงศ์ ไม่รู้เลยหรือว่า ชื่อทักษิณ ชินวัตร มิใช่เป็นบุคลาธิษฐานของความใส่ใจต่อประชาชนระดับรากหญ้า ที่ไม่เป็นความจริง หากแต่เป็นบุคลาธิษฐานของความหลอกลวงต่อประชาชนทุกระดับทั้งประเทศโดยแท้จริงต่างหาก
การมองแบบหลงผิดเช่นนี้ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ แทบไม่ต่างจากการเห็นกงจักรเป็นดอกบัวเลย
2. คุณทักษิณและพรรค ทรท.เข้าถึงเครือข่ายในชีวิตของชาวบ้าน ได้กว้างขวางกว่าที่นักการเมืองส่วนกลางเคยเข้าถึงมาแล้ว และไม่ใช่เฉพาะเครือข่ายผลประโยชน์ทางธุรกิจเพียงอย่างเดียว หากรวมถึงเครือข่ายทางสังคมและวัฒนธรรมด้วย เพราะที่จริงแล้วเครือข่ายเหล่านี้แยกออกจากกันได้ยาก เครือข่ายเหล่านี้มักผ่านนักการเมืองท้องถิ่นทุกระดับ กลายเป็นฐานเสียงที่แน่นหนาของคุณทักษิณ แม้ไม่มีตัวคุณทักษิณอยู่ในการเมืองไทยอีกแล้วก็ตาม
เห็นด้วยกับข้อเท็จจริงอันนี้ที่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เอ่ยอ้าง แต่ นิธิ เอียวศรีวงศ์กลับไม่มองเห็นเลยหรือว่าทักษิณ ชินวัตรไม่เคยใช้เครือข่ายเหล่านี้เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเลย ทุกสิ่งทุกอย่างที่ ทักษิณ ชินวัตร ได้ดำเนินการไปก็เพื่อให้ได้มาซึ่งเสียงสนับสนุน เพื่อตนเอง เพื่อพรรคของตน และเพื่อพวกพ้องมิใช่หรือ แถมยังสร้างวัฒนธรรมแห่งการ “ขอ” และไม่พึ่งพาตนเองในกับคนในสังคม ไม่ว่าจะจากกองทุนประชานิยมประเภทต่างๆ ที่ “แจก” แต่อย่างใดเลย ปรากฏการณ์ทางสังคมของวัฒนธรรมแห่งการ “ขอ” เช่นนี้มิใช่ปรากฏการณ์ที่จะนำไปสู่ “ความก้าวหน้าทางการเมือง” เหมือนอย่างที่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ อ้างเลย แต่กลับเป็นยาพิษหรือโรคภัยที่กัดกร่อนบั่นทอนพลังอันเข้มแข็งของสังคมไทยโดยรวมที่ไม่แยกชนบทออกไปจากเมืองต่างหาก
3. คุณทักษิณเป็นหัวหน้าพรรคคนแรกที่มีอำนาจต่อรองเหนือนักการเมืองของพรรคอย่างค่อนข้างเด็ดขาด ทั้งเพราะอำนาจเงินและอำนาจความนิยมที่ได้รับจากประชาชน ฉะนั้นคุณทักษิณจึงคุมข้าราชการอยู่ เพราะข้าราชการไม่สามารถฝากตัวกับนักการเมืองอื่นใดไปต่อรองกับนายกฯ ได้ (ข้าราชการในสังกัดของ “วัง” ต่างๆ อาจถูกย้ายได้ หากเจ้าของ “วัง” ไม่เป็นที่ไว้วางใจของคุณทักษิณ)
ฉะนั้นจึงเป็นครั้งแรก (หลังจากที่กองทัพหมดบทบาทปราบคอมมิวนิสต์ลง) ที่ชาวบ้านจำนวนไม่น้อย รู้สึกว่ามีอำนาจต่อรองกับข้าราชการได้มากขึ้น เพราะอย่างน้อยเจ้าพ่อที่หนุนหลังข้าราชการในท้องถิ่นต่างๆ ยังเป็นรองคุณทักษิณทั้งนั้น ชาวบ้านจึงมีอำนาจต่อรองกับข้าราชการได้มากขึ้น เลือดเข้าตาก็ยังจัดกระเช้าดอกไม้เข้าไปให้กำลังใจนายกฯถึงกรุงเทพฯ เพื่อร้องเรียนได้ อำนาจต่อรองนี้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับคนในชนบทนะครับ ในขณะที่คนชั้นกลางในเมืองอาจไม่รู้สึกอะไร เพราะถือว่าตัวสามารถต่อรองผ่านสื่อได้โดยสะดวกอยู่แล้ว
นิธิ เอียวศรีวงศ์ไม่รู้เลยหรือว่า ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทยได้รับการเลือกตั้งในครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2544 แม้จะมีคะแนนเสียงข้างมากที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้อยู่แล้ว แต่ทำไมยังต้องกวาดต้อนพรรคอื่นๆ ที่มิใช่พรรคประชาธิปัตย์เข้ามาอีก หากไม่ใช่เพราะไม่อยากให้มีการตรวจสอบโดยสภาเกิดขึ้นมิใช่หรือ
อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือนักการเมืองทั้งพรรคเดียวกันและที่ต่างพรรคออกไปและข้าราชการนอกจากจะเป็นจุดเด่นของทักษิณ ชินวัตรแล้ว ยังเป็นจุดตายด้วยเช่นกัน เพราะทำให้เขาเลือกที่จะใช้จำนวนที่ไม่ว่าจะเป็นจำนวนมือของ ส.ส.หรือจำนวนเงิน นำมาแทนกฎหมายในการพิสูจน์ความถูกผิด ตรรกะในเรื่องจำนวนมากย่อมเป็นสิ่งถูกต้องจึงเป็นกรอบแนวคิดที่หลีกเลี่ยงความจริง กรณีขายหุ้นชินคอร์ปให้สิงคโปร์จำนวน 73.000 ล้านบาทโดยไม่เสียภาษีแม้แต่บาทเดียวเป็นบทพิสูจน์อันหนึ่งว่า การยุบสภาหนีการซักฟอกในกรณีดังกล่าวโดยอ้างว่าให้ประชาชนตัดสินใจผ่านการเลือกตั้ง ทำให้ทักษิณ ชินวัตร เริ่มหมดสภาพการนำตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
นิธิ เอียวศรีวงศ์ไม่รู้เลยหรือว่าชาวบ้านจะมีสิทธิต่อรองได้อย่างไรในเมื่อข้าราชการที่อยู่ในสภาพที่ดีกว่ายังไม่สามารถต่อรองอะไรได้ อำนาจต่อรองที่นิธิ เอียวศรีวงศ์คิดว่าชาวบ้านมีนั้นเป็นภาพลวงตาหรือของจริงกันแน่ โดยเฉพาะชาวบ้านที่อยู่ในเขตที่ไม่เลือกพรรคของเขา แต่ที่แน่ๆ ก็คือชาวบ้านเป็นแค่เบี้ยตัวหนึ่งเท่านั้นเองที่จะถูกวางไปอยู่ข้างขุนหรือโคนบนหมากกระดานแห่งอำนาจของทักษิณ ชินวัตรเท่านั้น ผู้เขียนแทบไม่อยากเชื่อเลยว่า นิธิ เอียวศรีวงศ์ มอง “ข้าม” ความจริงอันนี้ไปได้อย่างไร
4. คุณทักษิณเป็นผู้มีบุคลิกถูกใจชาวบ้านกว่านักการเมืองใดๆ ที่เราเคยมีมา “ทัวร์นกขมิ้น” ที่นายกฯนุ่งผ้าขาวม้าลงไปห้องน้ำนั้น สื่อลงภาพทุกฉบับ และเป็นภาพที่น่าประทับใจแก่ชาวบ้านว่าท่านนายกฯใช้ชีวิตปกติเหมือนตนเอง แต่ภาพถ่ายนี้จะไม่ให้ใครถ่ายได้เลยก็ได้ เพราะมีทหารตำรวจล้อมรอบอยู่แล้ว แค่กันให้ถอยออกไปเสียก่อนก็ได้ ฉะนั้นจึงเป็นภาพที่คุณทักษิณตั้งใจจะให้ถ่ายรูป และเผยแพร่
ยังไม่พูดถึงคำพูดคำจา และวัตรปฏิบัติอีกหลายอย่างที่น่าประทับใจแก่ชาวบ้าน เช่น ชอปปิ้ง, กินก๋วยเตี๋ยว, รักลูกเมีย ซื้อของแล้วไม่ต้องทอน ฯลฯทั้งหมดนี้จะพูดว่าคุณทักษิณเก่งด้านการตลาดก็ได้ แต่เป็นตลาดการเมืองนะครับ ไม่ใช่ตลาดโทรศัพท์มือถือ นายกฯที่เราเคยมีมาหลายคนก็เก่งด้านการตลาดการเมืองเหมือนกัน (เช่น คุณชาติชาย ชุณหะวัณ) แต่ผมคิดว่าเก่งไม่เท่าคุณทักษิณ ทั้งเป็นความเก่งที่เหมาะกับตลาดล่างมากกว่าตลาดบนเสียด้วย คงอีกนานกว่าเราจะมีนักการเมืองที่เก่งการตลาดระดับตลาดล่างอย่างนี้อีก
ผู้เขียนเห็นด้วยกับ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในเรื่องการสร้างภาพของทักษิณ ชินวัตร แต่เราจะหวังเพียงแต่ “ภาพ” ที่ผู้นำสร้างขึ้นมา หรือจะหวังให้ผู้นำแสดงถึง “ของแท้” ออกมา นายกฯ ที่เป็นนักการเมืองจากการเลือกตั้งส่วนใหญ่ก็จะมีแนวโน้มในการสร้างภาพอยู่แล้วมิใช่หรือ ที่จริง นิธิ เอียวศรีวงศ์ ควรจะพูดให้หมดด้วยว่า ทักษิณ ชินวัตร เป็นคนพูดจากลับกลอก ไม่อยู่ในร่องรอยมากน้อยเพียงใด หากเปรียบเทียบกับนายกฯทุกๆ คนที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์การเมืองไทย นายกฯ ที่มาจากเผด็จการทหารในอดีตยังจะมีความมั่นคงในคำพูดตนเองมากกว่าทักษิณ ชินวัตรเสียอีก
การตลาดกับการตลบตะแลงไม่ควรจะเป็นสิ่งเดียวกันและทักษิณ ชินวัตรน่าจะมีคุณสมบัติในประเด็นหลังมากกว่าการเป็นนักการตลาด การก้มลงกราบแผ่นดินแม่ที่สนามบินสุวรรณภูมิเมื่อเดือน ก.พ. 51 ที่ผ่านมา ดูจะเป็นการสร้างภาพขั้นสุดยอดเพื่อเข้ามาสู้คดีที่ดินรัชดาฯ พร้อมๆ กับการบอกกับสาธารณชนว่าตัวเขาเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมไทย อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในเวลาต่อมาก็คือ ทักษิณ ชินวัตร กลับหนีคดีที่ศาลอนุญาตให้เดินทางออกนอกประเทศเมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งดูจะขัดแย้งกับสิ่งที่ ทักษิณ ชินวัตรได้แสดงออกมาก่อนหน้านี้อย่างชัดเจน
ผู้เขียนและคนไทยจำนวนมากล้วนหวังว่าคงจะอีกแสนนานที่จะมีบุคคลเช่นทักษิณ ชินวัตรเข้ามาเล่นการเมืองอีก เช่นเดียวกับที่คนเยอรมันหวังว่าจะไม่มีคนอย่างฮิตเลอร์เข้ามาในการเมืองของเขาอีกเช่นกัน เพราะต่างมีประสบการณ์อันแสนขมขื่นด้วยกันทั้ง 2 ประเทศ
5. ปฏิเสธไม่ได้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมในสมัยคุณทักษิณดีขึ้น จะดีขึ้นเพราะฝีมือหรือเพราะเฮงก็ตามเถิดครับ ในทุกวันนี้ ผมยังเห็นแผงและรถขายของในตลาดติดสติ๊กเกอร์ “คิดถึงทักษิณ” อยู่ แม้ว่าสีจะซีดลงไปมากแล้ว ผมเคยคุยกับแม่ค้าขายกล้วยแขกที่ตลาดใกล้บ้าน เธอบอกว่าเธอติดสติ๊กเกอร์นี้เพราะรู้สึกอย่างนี้จริงๆ เนื่องจากเธอขายกล้วยแขกได้ดีในสมัยคุณทักษิณ อยากให้สภาพอย่างนั้นกลับมาอีก
หลังสมัยคุณทักษิณ เศรษฐกิจก็ไม่ได้เลวลงทันที แต่คนรู้สึกว่าไม่ดีเท่าสมัยคุณทักษิณ อาจเป็นเพราะนักการเมืองไม่เก่งด้านการตลาดเท่าก็ได้ เศรษฐกิจสมัยคุณทักษิณจะดีสักแค่ไหนก็ตาม แต่รัฐบาลคุณทักษิณรู้จักทำให้คนรู้สึกว่าดีจังเลย ซึ่งทำให้คนกล้าจับจ่ายใช้สอย
ในขณะเดียวกัน สภาพทางสังคมก็ถูกทำให้คนรู้สึกว่า “ดีจังเลย” เหมือนกัน ไม่ว่าการทำสงครามกับยาเสพติด, การลดอิทธิพลของเจ้าพ่อ, ฯลฯ สภาพเหล่านี้คงถูกขยายด้วยเทคนิคการตลาดเหมือนกัน แต่ก็ได้ผล ทางการเมืองก็ไม่มีอะไรอึมครึมให้ต้องวิตกห่วงใย
คุณทักษิณมาเสียท่าตอนความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ เพราะไม่มีเทคนิคการตลาดอะไรจะช่วยได้ เมื่อโรงเรียนถูกเผาและระเบิดทุกจุดทุกวันอย่างนั้น แม้กระนั้น คุณทักษิณก็สามารถยืนหยัดอยู่บนความล้มเหลวในภาคใต้มาได้ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นอยู่นั่นเอง เพราะวิธีบรรเทาผลกระทบทางการเมืองนานาชนิดที่คุณทักษิณใช้ นับตั้งแต่พับนกไปโปรย, ตั้งกรรมการสมานฉันท์, ส่งรองนายกฯ ไปศึกษาเพื่อทำข้อเสนอแนะ, ฯลฯ กลายเป็นเรื่องเฉพาะพื้นที่มากกว่าเป็นปัญหาของสังคมไทยทั้งหมดเพราะไม่ได้ลงไปศึกษาจริง ผมก็ได้แต่คำตอบที่ใครๆ ก็คงคาดเดาได้อยู่แล้ว แต่ปัญหานี้สำคัญ และอย่างที่กล่าวข้างต้น คือต้องการความรู้ที่ได้จากการศึกษาจริง เพราะมีประโยชน์แก่สังคมอย่างแน่นอน
นิธิ เอียวศรีวงศ์อาจไม่รู้ในเรื่องข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยสมัยใหม่ที่ว่า ผลสำเร็จในทางเศรษฐกิจมักจะไม่ปรากฏในช่วงที่นักการเมืองผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่ ยกตัวอย่าง นายสมหมาย ฮุนตระกูล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังผู้อาจหาญแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยใช้การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจไทยในสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ แต่ผลจากการกระทำดังกล่าวมาผลิดอกออกผลเป็นความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในสมัยถัดมาของรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุนหะวัณ ในทำนองเดียวกัน ทักษิณ ชินวัตรก็มาฉกฉวยความสำเร็จในสิ่งที่ ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รมว.คลังและรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้ปรับโครงสร้างและวางรากฐานทางเศรษฐกิจไว้ให้หลังวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.2540 จึงมิใช่ความเฮงแต่เพียงอย่างเดียวที่ทักษิณ ชินวัตรมีหากแต่เป็นความเก่งของรัฐบาลและรมว.คลังชุดก่อนด้วย
สิ่งที่แย่ที่สุดที่ทักษิณ ชินวัตรได้ทำไว้ก็คือการมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จและได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างล้นหลามซึ่งนายกฯ คนอื่นๆ ไม่มี แต่กลับมิได้ใช้โอกาสที่หาได้ยากนี้คิดที่จะเป็นรัฐบุรุษผู้นำการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาสู่สังคมไทยเลยแม้แต่น้อย นิธิ เอียวศรีวงศ์ไม่เคยคิดเลยหรือว่าหน้าต่างแห่งโอกาสทางประวัติศาสตร์ที่เปิดให้แล้วในช่วงเวลาที่เป็นนายกฯ สมัยแรกแต่ทักษิณ ชินวัตรกลับทำได้แค่เพียงกระตุ้นการบริโภคเท่านั้น และยังมาจุดชนวนก่อความไม่สงบในภาคใต้อีกโดยการยุบ ศ.อ.บ.ต. จนเป็นที่มาของปัญหาที่ยังหาจุดจบไม่ได้จนถึงบัดนี้ ผู้เขียนและคนไทยจำนวนมากคงไม่โง่พอที่จะยกย่องผู้นำประเทศที่เอาแต่เบี่ยงประเด็น โดยพับนกไปโปรย ตั้งกรรมการสมานฉันท์ ส่งรองนายกฯ ไปศึกษาเพื่อทำข้อเสนอแนะ ฯลฯ เหมือนอย่าง ทักษิณ ชินวัตรได้หรอก
ทักษิณ ชินวัตร ไม่รู้เลยหรือว่า การที่ศาลได้ตัดสินในคดีที่ดินรัชดาฯ ว่ามีความผิดนั้นถูกต้องและชอบธรรมแล้ว เพราะทักษิณ ชินวัตรเป็นนักการเมือง และนักการเมืองทุกคนต้องมีพันธะที่ต้องรักษาตามที่กฏหมายการปราบปรามทุจริตที่มีมาก่อนได้กำหนดไว้ ดุจเดียวกับพระสงฆ์ทุกองค์ที่ต้องรักษาศีล 227 ข้อโดยไม่ละเว้นแม้แต่ข้อเดียว หากอยู่กับสีกาสองต่อสองในที่ลับตาพระสงฆ์ก็ต้องอาบัติหรือมีความผิดแต่ไม่สามารถลงโทษสีกาได้เพราะไม่ได้มีพันธะถือศีล 227 ข้อเช่นเดียวกับพระสงฆ์ ในทำนองเดียวกันการที่ภรรยาของทักษิณ ชินวัตรได้ถูกศาลตัดสินว่าไม่มีความผิดขณะที่ทักษิณ ชินวัตรมีความผิดก็เป็นไปตามพันธะที่ตัวเขาต้องมีกับสังคมโดยผ่านกฎหมาย ป.ป.ช.ที่กำหนดว่านักการเมืองไม่สามารถเป็นคู่สัญญากับรัฐได้นั้นเอง ทักษิณ ชินวัตรจึงไม่ควรตลบตะแลงเอาแต่อ้างข้างๆ คูๆ ว่าทำไมผัวผิดแต่เมียไม่ผิด
ทักษิณ ชินวัตร ไม่รู้เลยหรือว่า การไปอวดอุตริไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปทำบุญในวัดที่เป็นที่ของพระมหากษัตริย์ หรือการปล่อยให้มีการสร้างข่าวลือโดยอาศัยเพียงคำพ้องเสียงที่อ่านว่า ทัก-สิน กับ ตาก-สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสะกดในภาษาอังกฤษ มาเป็นเหตุว่าให้เกิดสับสนระหว่างตนเองกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือการปล่อยให้มีการไปสร้างพระชินวัตรมุนีที่มีการฝังรูปฝังรอยนักการเมืองต่างๆ อยู่ที่ฐานพระแทนที่จะเป็นยักษ์เหมือนดังการสร้างพระพุทธรูปเพื่อให้คนทั่วไปได้กราบไว้บูชา หรือแม้แต่การชี้แจงต่อสื่อมวลชนต่างชาติเมื่อ 22 ต.ค. 51 ที่ผ่านมาโดยกล่าวหา “บรรดาชนชั้นสูงที่มีอภิสิทธิ์” ทั้งหลายว่า ทักษิณ ชินวัตร เป็นภัยคุกคามต่อพวกเขา เพียงเพราะ ทักษิณ ชินวัตรเป็นตัวแทนของหลักการแห่งระบอบเสรีประชาธิปไตย ฯลฯ สิ่งต่างๆ เหล่านี้แม้จะยังมิได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อพิสูจน์ความถูกผิดตามกฎหมาย แต่ก็ส่อเจตนาไปในทางที่หมิ่นเหม่ต่อการลบหลู่สถาบันที่คนไทยเคารพเป็นอย่างยิ่ง แล้วจะให้ผู้เขียนและคนไทยจำนวนมากโง่พอที่จะเชื่อได้อย่างไรว่า ทักษิณ ชินวัตรนั้นมีความจงรักภักดีเหมือนอย่างที่ตัวเขามักกล่าวอ้างอยู่เสมอๆ
ใครกันแน่ที่น่าเชื่อถือกว่ากัน ระหว่างปราชญ์เที่ยงคืนที่ความคิดมืดมัวโดยรับแต่ความคิดเสรีแต่ปราศจากความรับผิดชอบชั่วดี ไม่รู้แจ้งว่าประเทศไทยนั้นมีสถาบันอันเป็นที่เคารพและเทิดทูน กับ น.ช. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ขายชาติและเป็นคนบาปของแผ่นดินที่แม้ได้หลบหนีคดีไปต่างประเทศแล้ว แต่ก็ยังพยายามบ่อนทำลายประเทศเกิดของตนเองทุกวิถีทางอย่างเมามัน
หมายเหตุ : เป็นความเห็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับต้นสังกัด
รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สุภาษิตโบราณเคยกล่าวไว้ว่า “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” ต่อให้เป็นคนเก่งคนฉลาดมาทั้งชีวิตก็ยังอาจพลั้งพลาดในบั้นปลายได้ ความโง่ก็เช่นกัน มันไม่เคยเข้าใครออกใคร หากไม่มีสติ “รู้ทัน” ความคิดของตนเอง ทุกคนมีสิทธิโง่ได้ด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าคนผู้นั้นจะเคยยิ่งใหญ่เพียงไหนมาก่อนก็ตาม
นิยามของคนโง่ คือ คนที่เห็นผิดเป็นชอบ เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ไม่มองเห็นโลกตามความเป็นจริง แต่มองเห็นโลกอย่างมีอคติไม่ว่ารักหรือชังก็ตาม
ผู้เขียนอยากจะช่วยหาตอบต่อคำถามที่ว่า “ระบบทักษิณอันเป็นผลผลิตแห่งระบอบทักษิณทำไมจึงสามารถดำรงอยู่ได้เพราะเหตุปัจจัยใด” ตามที่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้พยายามหาคำตอบไปก่อนแล้ว ดังปรากฏในบทความของเขาเรื่อง “ทำไมทักษิณ ทักษิณทำไม” ในหนังสือพิมพ์มติชน 27 ต.ค.51 โดยมีเนื้อความบางตอนในบทความนั้นปรากฏในตัวเอนดังต่อไปนี้
1. ผม(นิธิ เอียวศรีวงศ์)คิดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นสัญลักษณ์ของสิ่งดีๆ ที่ชาวบ้านจำนวนมากเคยได้รับจากรัฐบาลกลาง ไม่ว่าจะเป็นหลักประกันสุขภาพ ซึ่งแม้ไม่สู้จะมีประสิทธิภาพสูงนัก แต่เขาก็ได้ใช้ประโยชน์ไปตามอัตภาพ ซ้ำเป็นหลักประกันสุขภาพที่มั่นคงพอสมควรด้วย ความลังเลใจและนโยบายที่ไม่ชัดเจนของรัฐบาลซึ่งมาจากการรัฐประหารต่อเรื่องนี้ ยิ่งตอกย้ำ สัญลักษณ์ทักษิณว่าเป็นหลักประกันที่มั่นคงกว่าในเรื่องสุขภาพ กองทุนประเภทต่างๆ ซึ่งแม้ไม่ทำให้ส่วนใหญ่ของชาวบ้านมีชีวิตที่ดีขึ้น แต่ก็ช่วยให้ยืดวงจรของหนี้สินออกไปได้คล่องตัวขึ้น ดีกว่าไม่มีเสียเลย และนโยบายอื่นๆ ซึ่งรัฐบาลของคุณทักษิณได้หยิบยื่นทรัพยากรกลางลงไปถึงระดับล่าง อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนชื่อทักษิณ ชินวัตร จึงเป็นบุคลาธิษฐานของความใส่ใจต่อประชาชนระดับรากหญ้า ไม่ว่าความเป็นจริงจะเป็นดังนั้นหรือไม่ก็ตาม
ผู้เขียนกลับมีความเห็นว่า โดยข้อเท็จจริง ทักษิณ ชินวัตร เป็นสัญลักษณ์ของการ “แจก” น่าจะถูกต้องมากกว่า เป็นสัญลักษณ์ของสิ่งดีๆ ตามที่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวอ้าง เพราะภายใต้ระบอบทักษิณ โครงการต่างๆ เกือบทั้งหมดประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง และมิใช่ล้มเหลวเพราะไม่มีใครสานต่อหรือถูกกลั่นแกล้ง หากแต่ล้มเหลวเพราะมันเป็นสิ่งที่ผิดพลาดในตัวของมันเอง ซึ่งมีข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ให้เห็นอยู่มากมายในกองทุนแบบประชานิยมประเภทต่างๆ คำถามที่น่าจะถามก็คือทำไมทักษิณ ชินวัตรทำ แต่นักการเมืองอื่นๆ กลับไม่กล้าทำ เรื่องนี้ตอบได้เหมือนกันว่า นักการเมืองอื่นๆ ต่อให้โง่ เหมือนกันแต่ก็ไม่โง่พอที่จะกล้าทำอะไรที่ฝ่าฝืนความจริงอย่างพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินเหมือนอย่างทักษิณ ชินวัตร เพราะคาดการณ์ได้ค่อนข้างแน่ว่าจะพบจุดจบแบบหายนะอย่างไม่ต้องสงสัย
หาก นิธิ เอียวศรีวงศ์ มองว่าการ “แจก” ทำให้ผู้คนระดับล่างมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ก็เป็นการดีขึ้นอย่างชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ใครเล่าจะใจดำพอที่จะหลอกคนระดับล่างว่าชีวิตจะดีขึ้นจากการ “แจก” เหมือน ทักษิณ ชินวัตรที่ทำตัวเป็นแม่มดแจกแอบเปิลเคลือบยาพิษให้ชาวบ้านตาดำๆ ที่เปรียบเสมือนสโนว์ไวท์กิน และผู้ที่รับของ “แจก” ใครเล่าจะโง่พอที่จะเชื่อว่าชีวิตในความเป็นจริงจะดีขึ้นอย่างยั่งยืนเพราะของ “แจก” แบบไร้ปัญญาและขาดปรัชญาการพึ่งตนเองรองรับเหล่านี้
นิธิ เอียวศรีวงศ์ ไม่รู้เลยหรือว่า ชื่อทักษิณ ชินวัตร มิใช่เป็นบุคลาธิษฐานของความใส่ใจต่อประชาชนระดับรากหญ้า ที่ไม่เป็นความจริง หากแต่เป็นบุคลาธิษฐานของความหลอกลวงต่อประชาชนทุกระดับทั้งประเทศโดยแท้จริงต่างหาก
การมองแบบหลงผิดเช่นนี้ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ แทบไม่ต่างจากการเห็นกงจักรเป็นดอกบัวเลย
2. คุณทักษิณและพรรค ทรท.เข้าถึงเครือข่ายในชีวิตของชาวบ้าน ได้กว้างขวางกว่าที่นักการเมืองส่วนกลางเคยเข้าถึงมาแล้ว และไม่ใช่เฉพาะเครือข่ายผลประโยชน์ทางธุรกิจเพียงอย่างเดียว หากรวมถึงเครือข่ายทางสังคมและวัฒนธรรมด้วย เพราะที่จริงแล้วเครือข่ายเหล่านี้แยกออกจากกันได้ยาก เครือข่ายเหล่านี้มักผ่านนักการเมืองท้องถิ่นทุกระดับ กลายเป็นฐานเสียงที่แน่นหนาของคุณทักษิณ แม้ไม่มีตัวคุณทักษิณอยู่ในการเมืองไทยอีกแล้วก็ตาม
เห็นด้วยกับข้อเท็จจริงอันนี้ที่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เอ่ยอ้าง แต่ นิธิ เอียวศรีวงศ์กลับไม่มองเห็นเลยหรือว่าทักษิณ ชินวัตรไม่เคยใช้เครือข่ายเหล่านี้เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเลย ทุกสิ่งทุกอย่างที่ ทักษิณ ชินวัตร ได้ดำเนินการไปก็เพื่อให้ได้มาซึ่งเสียงสนับสนุน เพื่อตนเอง เพื่อพรรคของตน และเพื่อพวกพ้องมิใช่หรือ แถมยังสร้างวัฒนธรรมแห่งการ “ขอ” และไม่พึ่งพาตนเองในกับคนในสังคม ไม่ว่าจะจากกองทุนประชานิยมประเภทต่างๆ ที่ “แจก” แต่อย่างใดเลย ปรากฏการณ์ทางสังคมของวัฒนธรรมแห่งการ “ขอ” เช่นนี้มิใช่ปรากฏการณ์ที่จะนำไปสู่ “ความก้าวหน้าทางการเมือง” เหมือนอย่างที่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ อ้างเลย แต่กลับเป็นยาพิษหรือโรคภัยที่กัดกร่อนบั่นทอนพลังอันเข้มแข็งของสังคมไทยโดยรวมที่ไม่แยกชนบทออกไปจากเมืองต่างหาก
3. คุณทักษิณเป็นหัวหน้าพรรคคนแรกที่มีอำนาจต่อรองเหนือนักการเมืองของพรรคอย่างค่อนข้างเด็ดขาด ทั้งเพราะอำนาจเงินและอำนาจความนิยมที่ได้รับจากประชาชน ฉะนั้นคุณทักษิณจึงคุมข้าราชการอยู่ เพราะข้าราชการไม่สามารถฝากตัวกับนักการเมืองอื่นใดไปต่อรองกับนายกฯ ได้ (ข้าราชการในสังกัดของ “วัง” ต่างๆ อาจถูกย้ายได้ หากเจ้าของ “วัง” ไม่เป็นที่ไว้วางใจของคุณทักษิณ)
ฉะนั้นจึงเป็นครั้งแรก (หลังจากที่กองทัพหมดบทบาทปราบคอมมิวนิสต์ลง) ที่ชาวบ้านจำนวนไม่น้อย รู้สึกว่ามีอำนาจต่อรองกับข้าราชการได้มากขึ้น เพราะอย่างน้อยเจ้าพ่อที่หนุนหลังข้าราชการในท้องถิ่นต่างๆ ยังเป็นรองคุณทักษิณทั้งนั้น ชาวบ้านจึงมีอำนาจต่อรองกับข้าราชการได้มากขึ้น เลือดเข้าตาก็ยังจัดกระเช้าดอกไม้เข้าไปให้กำลังใจนายกฯถึงกรุงเทพฯ เพื่อร้องเรียนได้ อำนาจต่อรองนี้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับคนในชนบทนะครับ ในขณะที่คนชั้นกลางในเมืองอาจไม่รู้สึกอะไร เพราะถือว่าตัวสามารถต่อรองผ่านสื่อได้โดยสะดวกอยู่แล้ว
นิธิ เอียวศรีวงศ์ไม่รู้เลยหรือว่า ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทยได้รับการเลือกตั้งในครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2544 แม้จะมีคะแนนเสียงข้างมากที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้อยู่แล้ว แต่ทำไมยังต้องกวาดต้อนพรรคอื่นๆ ที่มิใช่พรรคประชาธิปัตย์เข้ามาอีก หากไม่ใช่เพราะไม่อยากให้มีการตรวจสอบโดยสภาเกิดขึ้นมิใช่หรือ
อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือนักการเมืองทั้งพรรคเดียวกันและที่ต่างพรรคออกไปและข้าราชการนอกจากจะเป็นจุดเด่นของทักษิณ ชินวัตรแล้ว ยังเป็นจุดตายด้วยเช่นกัน เพราะทำให้เขาเลือกที่จะใช้จำนวนที่ไม่ว่าจะเป็นจำนวนมือของ ส.ส.หรือจำนวนเงิน นำมาแทนกฎหมายในการพิสูจน์ความถูกผิด ตรรกะในเรื่องจำนวนมากย่อมเป็นสิ่งถูกต้องจึงเป็นกรอบแนวคิดที่หลีกเลี่ยงความจริง กรณีขายหุ้นชินคอร์ปให้สิงคโปร์จำนวน 73.000 ล้านบาทโดยไม่เสียภาษีแม้แต่บาทเดียวเป็นบทพิสูจน์อันหนึ่งว่า การยุบสภาหนีการซักฟอกในกรณีดังกล่าวโดยอ้างว่าให้ประชาชนตัดสินใจผ่านการเลือกตั้ง ทำให้ทักษิณ ชินวัตร เริ่มหมดสภาพการนำตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
นิธิ เอียวศรีวงศ์ไม่รู้เลยหรือว่าชาวบ้านจะมีสิทธิต่อรองได้อย่างไรในเมื่อข้าราชการที่อยู่ในสภาพที่ดีกว่ายังไม่สามารถต่อรองอะไรได้ อำนาจต่อรองที่นิธิ เอียวศรีวงศ์คิดว่าชาวบ้านมีนั้นเป็นภาพลวงตาหรือของจริงกันแน่ โดยเฉพาะชาวบ้านที่อยู่ในเขตที่ไม่เลือกพรรคของเขา แต่ที่แน่ๆ ก็คือชาวบ้านเป็นแค่เบี้ยตัวหนึ่งเท่านั้นเองที่จะถูกวางไปอยู่ข้างขุนหรือโคนบนหมากกระดานแห่งอำนาจของทักษิณ ชินวัตรเท่านั้น ผู้เขียนแทบไม่อยากเชื่อเลยว่า นิธิ เอียวศรีวงศ์ มอง “ข้าม” ความจริงอันนี้ไปได้อย่างไร
4. คุณทักษิณเป็นผู้มีบุคลิกถูกใจชาวบ้านกว่านักการเมืองใดๆ ที่เราเคยมีมา “ทัวร์นกขมิ้น” ที่นายกฯนุ่งผ้าขาวม้าลงไปห้องน้ำนั้น สื่อลงภาพทุกฉบับ และเป็นภาพที่น่าประทับใจแก่ชาวบ้านว่าท่านนายกฯใช้ชีวิตปกติเหมือนตนเอง แต่ภาพถ่ายนี้จะไม่ให้ใครถ่ายได้เลยก็ได้ เพราะมีทหารตำรวจล้อมรอบอยู่แล้ว แค่กันให้ถอยออกไปเสียก่อนก็ได้ ฉะนั้นจึงเป็นภาพที่คุณทักษิณตั้งใจจะให้ถ่ายรูป และเผยแพร่
ยังไม่พูดถึงคำพูดคำจา และวัตรปฏิบัติอีกหลายอย่างที่น่าประทับใจแก่ชาวบ้าน เช่น ชอปปิ้ง, กินก๋วยเตี๋ยว, รักลูกเมีย ซื้อของแล้วไม่ต้องทอน ฯลฯทั้งหมดนี้จะพูดว่าคุณทักษิณเก่งด้านการตลาดก็ได้ แต่เป็นตลาดการเมืองนะครับ ไม่ใช่ตลาดโทรศัพท์มือถือ นายกฯที่เราเคยมีมาหลายคนก็เก่งด้านการตลาดการเมืองเหมือนกัน (เช่น คุณชาติชาย ชุณหะวัณ) แต่ผมคิดว่าเก่งไม่เท่าคุณทักษิณ ทั้งเป็นความเก่งที่เหมาะกับตลาดล่างมากกว่าตลาดบนเสียด้วย คงอีกนานกว่าเราจะมีนักการเมืองที่เก่งการตลาดระดับตลาดล่างอย่างนี้อีก
ผู้เขียนเห็นด้วยกับ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในเรื่องการสร้างภาพของทักษิณ ชินวัตร แต่เราจะหวังเพียงแต่ “ภาพ” ที่ผู้นำสร้างขึ้นมา หรือจะหวังให้ผู้นำแสดงถึง “ของแท้” ออกมา นายกฯ ที่เป็นนักการเมืองจากการเลือกตั้งส่วนใหญ่ก็จะมีแนวโน้มในการสร้างภาพอยู่แล้วมิใช่หรือ ที่จริง นิธิ เอียวศรีวงศ์ ควรจะพูดให้หมดด้วยว่า ทักษิณ ชินวัตร เป็นคนพูดจากลับกลอก ไม่อยู่ในร่องรอยมากน้อยเพียงใด หากเปรียบเทียบกับนายกฯทุกๆ คนที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์การเมืองไทย นายกฯ ที่มาจากเผด็จการทหารในอดีตยังจะมีความมั่นคงในคำพูดตนเองมากกว่าทักษิณ ชินวัตรเสียอีก
การตลาดกับการตลบตะแลงไม่ควรจะเป็นสิ่งเดียวกันและทักษิณ ชินวัตรน่าจะมีคุณสมบัติในประเด็นหลังมากกว่าการเป็นนักการตลาด การก้มลงกราบแผ่นดินแม่ที่สนามบินสุวรรณภูมิเมื่อเดือน ก.พ. 51 ที่ผ่านมา ดูจะเป็นการสร้างภาพขั้นสุดยอดเพื่อเข้ามาสู้คดีที่ดินรัชดาฯ พร้อมๆ กับการบอกกับสาธารณชนว่าตัวเขาเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมไทย อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในเวลาต่อมาก็คือ ทักษิณ ชินวัตร กลับหนีคดีที่ศาลอนุญาตให้เดินทางออกนอกประเทศเมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งดูจะขัดแย้งกับสิ่งที่ ทักษิณ ชินวัตรได้แสดงออกมาก่อนหน้านี้อย่างชัดเจน
ผู้เขียนและคนไทยจำนวนมากล้วนหวังว่าคงจะอีกแสนนานที่จะมีบุคคลเช่นทักษิณ ชินวัตรเข้ามาเล่นการเมืองอีก เช่นเดียวกับที่คนเยอรมันหวังว่าจะไม่มีคนอย่างฮิตเลอร์เข้ามาในการเมืองของเขาอีกเช่นกัน เพราะต่างมีประสบการณ์อันแสนขมขื่นด้วยกันทั้ง 2 ประเทศ
5. ปฏิเสธไม่ได้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมในสมัยคุณทักษิณดีขึ้น จะดีขึ้นเพราะฝีมือหรือเพราะเฮงก็ตามเถิดครับ ในทุกวันนี้ ผมยังเห็นแผงและรถขายของในตลาดติดสติ๊กเกอร์ “คิดถึงทักษิณ” อยู่ แม้ว่าสีจะซีดลงไปมากแล้ว ผมเคยคุยกับแม่ค้าขายกล้วยแขกที่ตลาดใกล้บ้าน เธอบอกว่าเธอติดสติ๊กเกอร์นี้เพราะรู้สึกอย่างนี้จริงๆ เนื่องจากเธอขายกล้วยแขกได้ดีในสมัยคุณทักษิณ อยากให้สภาพอย่างนั้นกลับมาอีก
หลังสมัยคุณทักษิณ เศรษฐกิจก็ไม่ได้เลวลงทันที แต่คนรู้สึกว่าไม่ดีเท่าสมัยคุณทักษิณ อาจเป็นเพราะนักการเมืองไม่เก่งด้านการตลาดเท่าก็ได้ เศรษฐกิจสมัยคุณทักษิณจะดีสักแค่ไหนก็ตาม แต่รัฐบาลคุณทักษิณรู้จักทำให้คนรู้สึกว่าดีจังเลย ซึ่งทำให้คนกล้าจับจ่ายใช้สอย
ในขณะเดียวกัน สภาพทางสังคมก็ถูกทำให้คนรู้สึกว่า “ดีจังเลย” เหมือนกัน ไม่ว่าการทำสงครามกับยาเสพติด, การลดอิทธิพลของเจ้าพ่อ, ฯลฯ สภาพเหล่านี้คงถูกขยายด้วยเทคนิคการตลาดเหมือนกัน แต่ก็ได้ผล ทางการเมืองก็ไม่มีอะไรอึมครึมให้ต้องวิตกห่วงใย
คุณทักษิณมาเสียท่าตอนความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ เพราะไม่มีเทคนิคการตลาดอะไรจะช่วยได้ เมื่อโรงเรียนถูกเผาและระเบิดทุกจุดทุกวันอย่างนั้น แม้กระนั้น คุณทักษิณก็สามารถยืนหยัดอยู่บนความล้มเหลวในภาคใต้มาได้ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นอยู่นั่นเอง เพราะวิธีบรรเทาผลกระทบทางการเมืองนานาชนิดที่คุณทักษิณใช้ นับตั้งแต่พับนกไปโปรย, ตั้งกรรมการสมานฉันท์, ส่งรองนายกฯ ไปศึกษาเพื่อทำข้อเสนอแนะ, ฯลฯ กลายเป็นเรื่องเฉพาะพื้นที่มากกว่าเป็นปัญหาของสังคมไทยทั้งหมดเพราะไม่ได้ลงไปศึกษาจริง ผมก็ได้แต่คำตอบที่ใครๆ ก็คงคาดเดาได้อยู่แล้ว แต่ปัญหานี้สำคัญ และอย่างที่กล่าวข้างต้น คือต้องการความรู้ที่ได้จากการศึกษาจริง เพราะมีประโยชน์แก่สังคมอย่างแน่นอน
นิธิ เอียวศรีวงศ์อาจไม่รู้ในเรื่องข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยสมัยใหม่ที่ว่า ผลสำเร็จในทางเศรษฐกิจมักจะไม่ปรากฏในช่วงที่นักการเมืองผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่ ยกตัวอย่าง นายสมหมาย ฮุนตระกูล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังผู้อาจหาญแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยใช้การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจไทยในสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ แต่ผลจากการกระทำดังกล่าวมาผลิดอกออกผลเป็นความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในสมัยถัดมาของรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุนหะวัณ ในทำนองเดียวกัน ทักษิณ ชินวัตรก็มาฉกฉวยความสำเร็จในสิ่งที่ ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รมว.คลังและรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้ปรับโครงสร้างและวางรากฐานทางเศรษฐกิจไว้ให้หลังวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.2540 จึงมิใช่ความเฮงแต่เพียงอย่างเดียวที่ทักษิณ ชินวัตรมีหากแต่เป็นความเก่งของรัฐบาลและรมว.คลังชุดก่อนด้วย
สิ่งที่แย่ที่สุดที่ทักษิณ ชินวัตรได้ทำไว้ก็คือการมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จและได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างล้นหลามซึ่งนายกฯ คนอื่นๆ ไม่มี แต่กลับมิได้ใช้โอกาสที่หาได้ยากนี้คิดที่จะเป็นรัฐบุรุษผู้นำการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาสู่สังคมไทยเลยแม้แต่น้อย นิธิ เอียวศรีวงศ์ไม่เคยคิดเลยหรือว่าหน้าต่างแห่งโอกาสทางประวัติศาสตร์ที่เปิดให้แล้วในช่วงเวลาที่เป็นนายกฯ สมัยแรกแต่ทักษิณ ชินวัตรกลับทำได้แค่เพียงกระตุ้นการบริโภคเท่านั้น และยังมาจุดชนวนก่อความไม่สงบในภาคใต้อีกโดยการยุบ ศ.อ.บ.ต. จนเป็นที่มาของปัญหาที่ยังหาจุดจบไม่ได้จนถึงบัดนี้ ผู้เขียนและคนไทยจำนวนมากคงไม่โง่พอที่จะยกย่องผู้นำประเทศที่เอาแต่เบี่ยงประเด็น โดยพับนกไปโปรย ตั้งกรรมการสมานฉันท์ ส่งรองนายกฯ ไปศึกษาเพื่อทำข้อเสนอแนะ ฯลฯ เหมือนอย่าง ทักษิณ ชินวัตรได้หรอก
ทักษิณ ชินวัตร ไม่รู้เลยหรือว่า การที่ศาลได้ตัดสินในคดีที่ดินรัชดาฯ ว่ามีความผิดนั้นถูกต้องและชอบธรรมแล้ว เพราะทักษิณ ชินวัตรเป็นนักการเมือง และนักการเมืองทุกคนต้องมีพันธะที่ต้องรักษาตามที่กฏหมายการปราบปรามทุจริตที่มีมาก่อนได้กำหนดไว้ ดุจเดียวกับพระสงฆ์ทุกองค์ที่ต้องรักษาศีล 227 ข้อโดยไม่ละเว้นแม้แต่ข้อเดียว หากอยู่กับสีกาสองต่อสองในที่ลับตาพระสงฆ์ก็ต้องอาบัติหรือมีความผิดแต่ไม่สามารถลงโทษสีกาได้เพราะไม่ได้มีพันธะถือศีล 227 ข้อเช่นเดียวกับพระสงฆ์ ในทำนองเดียวกันการที่ภรรยาของทักษิณ ชินวัตรได้ถูกศาลตัดสินว่าไม่มีความผิดขณะที่ทักษิณ ชินวัตรมีความผิดก็เป็นไปตามพันธะที่ตัวเขาต้องมีกับสังคมโดยผ่านกฎหมาย ป.ป.ช.ที่กำหนดว่านักการเมืองไม่สามารถเป็นคู่สัญญากับรัฐได้นั้นเอง ทักษิณ ชินวัตรจึงไม่ควรตลบตะแลงเอาแต่อ้างข้างๆ คูๆ ว่าทำไมผัวผิดแต่เมียไม่ผิด
ทักษิณ ชินวัตร ไม่รู้เลยหรือว่า การไปอวดอุตริไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปทำบุญในวัดที่เป็นที่ของพระมหากษัตริย์ หรือการปล่อยให้มีการสร้างข่าวลือโดยอาศัยเพียงคำพ้องเสียงที่อ่านว่า ทัก-สิน กับ ตาก-สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสะกดในภาษาอังกฤษ มาเป็นเหตุว่าให้เกิดสับสนระหว่างตนเองกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือการปล่อยให้มีการไปสร้างพระชินวัตรมุนีที่มีการฝังรูปฝังรอยนักการเมืองต่างๆ อยู่ที่ฐานพระแทนที่จะเป็นยักษ์เหมือนดังการสร้างพระพุทธรูปเพื่อให้คนทั่วไปได้กราบไว้บูชา หรือแม้แต่การชี้แจงต่อสื่อมวลชนต่างชาติเมื่อ 22 ต.ค. 51 ที่ผ่านมาโดยกล่าวหา “บรรดาชนชั้นสูงที่มีอภิสิทธิ์” ทั้งหลายว่า ทักษิณ ชินวัตร เป็นภัยคุกคามต่อพวกเขา เพียงเพราะ ทักษิณ ชินวัตรเป็นตัวแทนของหลักการแห่งระบอบเสรีประชาธิปไตย ฯลฯ สิ่งต่างๆ เหล่านี้แม้จะยังมิได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อพิสูจน์ความถูกผิดตามกฎหมาย แต่ก็ส่อเจตนาไปในทางที่หมิ่นเหม่ต่อการลบหลู่สถาบันที่คนไทยเคารพเป็นอย่างยิ่ง แล้วจะให้ผู้เขียนและคนไทยจำนวนมากโง่พอที่จะเชื่อได้อย่างไรว่า ทักษิณ ชินวัตรนั้นมีความจงรักภักดีเหมือนอย่างที่ตัวเขามักกล่าวอ้างอยู่เสมอๆ
ใครกันแน่ที่น่าเชื่อถือกว่ากัน ระหว่างปราชญ์เที่ยงคืนที่ความคิดมืดมัวโดยรับแต่ความคิดเสรีแต่ปราศจากความรับผิดชอบชั่วดี ไม่รู้แจ้งว่าประเทศไทยนั้นมีสถาบันอันเป็นที่เคารพและเทิดทูน กับ น.ช. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ขายชาติและเป็นคนบาปของแผ่นดินที่แม้ได้หลบหนีคดีไปต่างประเทศแล้ว แต่ก็ยังพยายามบ่อนทำลายประเทศเกิดของตนเองทุกวิถีทางอย่างเมามัน
หมายเหตุ : เป็นความเห็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับต้นสังกัด