ผู้จัดการรายวัน-บีโอไอแก้วิกฤตการลงทุนชะลอตัวจากผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจโลก เตรียมเสนอมาตรการเร่งรัดการลงทุนในปี 2552 วันที่ 5 พ.ย.นี้ อัดสิทธิประโยชน์ให้สูงสุดเทียบเท่าเขต 3 พิเศษไม่ว่าจะลงทุนที่ใด ยกเว้นกรุงเทพฯ เน้น 5 อุตสาหกรรมหลัก ด้านพลังงาน เทคโนโลยีขั้นสูง ผลิตวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม การเกษตร และสาธารณูปโภคขนาดใหญ่
รายงานข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม แจ้งว่า เมื่อวันที่ 29 ต.ค.ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการนโยบายส่งเสริมการลงทุน ซึ่งมีพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน ได้เห็นชอบมาตรการพิเศษเพื่อเร่งรัดการลงทุนช่วงปลายปี 2551-2552 เพื่อเร่งรัดให้เกิดการตัดสินใจลงทุนในประเทศในช่วงภาวะวิกฤติการเงินของโลกที่คาดว่าจะมีผลให้การลงทุนในอนาคต โดยเฉพาะปี 2552 อาจชะลอตัวได้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะนำเสนอต่อที่ประชุมบอร์ดใหญ่ที่มีนายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานวันที่ 5 พ.ย.นี้
สำหรับมาตรการพิเศษเพื่อเร่งรัดการลงทุนดังกล่าว บีโอไอจะให้สิทธิประโยชน์พิเศษกับโครงการลงทุนที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนภายในปี 2552 ในกิจการ 5 กลุ่มสำคัญที่เป็นประโยชน์อย่างสูงกับประเทศ และสามารถเริ่มต้นลงทุนได้โดยเร็ว คือ กลุ่มที่ 1 กิจการเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานและพลังงานทดแทน กลุ่มที่ 2 กิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง กลุ่มที่ 3 กิจการผลิตวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มที่ 4 กิจการเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร และกลุ่มที่ 5 โครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ หรือเมกกะโปรเจ็ก
ทั้งนี้ กิจการใน 5 กลุ่ม จะได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะลงทุนเขตใดก็ตาม ยกเว้นในจังหวัดกรุงเทพมหานคร เทียบเท่าการลงทุนในเขต 3 พิเศษ คือ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี โดยไม่จำกัดวงเงินลงทุน และได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% เป็นเวลา 5 ปี หลังจากยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปีไปแล้ว ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ
นายสมมาต ขุนเศรษฐ รองเลขาธิการสายงานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การเร่งรัดการลงทุนของบีโอไอด้วยการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม ถือเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากการลงทุนในอนาคตเชื่อว่าทุกประเทศต่างต้องงัดกลยุทธ์ในการดึงดูดการลงทุนมากขึ้นเพื่อแย่งชิงเม็ดเงินลงทุนที่จำกัดลงเพราะปัญหาวิกฤติการเงินของโลก
“การลงทุนในช่วงที่ผ่านมาลดลงเพราะปัญหาวิกฤติการเงินโลก ขณะเดียวกันไทยเองก็มีปัญหาการเมือง หากปัญหาการเมืองไม่จบก็จะยิ่งซ้ำเติมการลงทุนเพิ่ม ดังนั้นปี 2552 เชื่อว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการลงทุนคงต้องทำงานหนัก”นายสมมาตกล่าว
นางอรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กล่าวว่า ในปี 2552 การดึงดูดการลงทุนคงจะมีการแข่งขันที่สูงพอสมควร ดังนั้น บีโอไอจะมีการเสนอแพคเกจพิเศษสำหรับกระตุ้นการลงทุนในช่วงปี 2552 หรือเป็นแผนส่วนหนึ่งในโครงการส่งเสริมปีแห่งการลงทุน 2551-2552 เสนอบอร์ดบีโอไอ 5 พ.ย. นี้ โดยรายละเอียดคงจะต้องให้บอร์ดสรุปก่อน ซึ่งคาดว่านโยบายดังกล่าวจะมีส่วนทำให้เกิดการเร่งตัดสินใจลงทุนให้เร็วขึ้นระดับหนึ่งและจะก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นในอนาคต
รายงานข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม แจ้งว่า เมื่อวันที่ 29 ต.ค.ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการนโยบายส่งเสริมการลงทุน ซึ่งมีพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน ได้เห็นชอบมาตรการพิเศษเพื่อเร่งรัดการลงทุนช่วงปลายปี 2551-2552 เพื่อเร่งรัดให้เกิดการตัดสินใจลงทุนในประเทศในช่วงภาวะวิกฤติการเงินของโลกที่คาดว่าจะมีผลให้การลงทุนในอนาคต โดยเฉพาะปี 2552 อาจชะลอตัวได้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะนำเสนอต่อที่ประชุมบอร์ดใหญ่ที่มีนายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานวันที่ 5 พ.ย.นี้
สำหรับมาตรการพิเศษเพื่อเร่งรัดการลงทุนดังกล่าว บีโอไอจะให้สิทธิประโยชน์พิเศษกับโครงการลงทุนที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนภายในปี 2552 ในกิจการ 5 กลุ่มสำคัญที่เป็นประโยชน์อย่างสูงกับประเทศ และสามารถเริ่มต้นลงทุนได้โดยเร็ว คือ กลุ่มที่ 1 กิจการเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานและพลังงานทดแทน กลุ่มที่ 2 กิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง กลุ่มที่ 3 กิจการผลิตวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มที่ 4 กิจการเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร และกลุ่มที่ 5 โครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ หรือเมกกะโปรเจ็ก
ทั้งนี้ กิจการใน 5 กลุ่ม จะได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะลงทุนเขตใดก็ตาม ยกเว้นในจังหวัดกรุงเทพมหานคร เทียบเท่าการลงทุนในเขต 3 พิเศษ คือ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี โดยไม่จำกัดวงเงินลงทุน และได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% เป็นเวลา 5 ปี หลังจากยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปีไปแล้ว ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ
นายสมมาต ขุนเศรษฐ รองเลขาธิการสายงานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การเร่งรัดการลงทุนของบีโอไอด้วยการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม ถือเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากการลงทุนในอนาคตเชื่อว่าทุกประเทศต่างต้องงัดกลยุทธ์ในการดึงดูดการลงทุนมากขึ้นเพื่อแย่งชิงเม็ดเงินลงทุนที่จำกัดลงเพราะปัญหาวิกฤติการเงินของโลก
“การลงทุนในช่วงที่ผ่านมาลดลงเพราะปัญหาวิกฤติการเงินโลก ขณะเดียวกันไทยเองก็มีปัญหาการเมือง หากปัญหาการเมืองไม่จบก็จะยิ่งซ้ำเติมการลงทุนเพิ่ม ดังนั้นปี 2552 เชื่อว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการลงทุนคงต้องทำงานหนัก”นายสมมาตกล่าว
นางอรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กล่าวว่า ในปี 2552 การดึงดูดการลงทุนคงจะมีการแข่งขันที่สูงพอสมควร ดังนั้น บีโอไอจะมีการเสนอแพคเกจพิเศษสำหรับกระตุ้นการลงทุนในช่วงปี 2552 หรือเป็นแผนส่วนหนึ่งในโครงการส่งเสริมปีแห่งการลงทุน 2551-2552 เสนอบอร์ดบีโอไอ 5 พ.ย. นี้ โดยรายละเอียดคงจะต้องให้บอร์ดสรุปก่อน ซึ่งคาดว่านโยบายดังกล่าวจะมีส่วนทำให้เกิดการเร่งตัดสินใจลงทุนให้เร็วขึ้นระดับหนึ่งและจะก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นในอนาคต