บีโอไอปรับแผนเตรียมออกแพคเกจพิเศษเพิ่มสิทธิประโยชน์สำหรับการลงทุนในปี 2552 ดูดลงทุนเสนอบอร์ด 5 พ.ย.อนุมัติหวังรับมือวิกฤติการเงินโลกปี’52 ที่อาจมีผลการลงทุนหดตัว เพิ่มเขียวเล็บปีแห่งการลงทุน ควบคู่กับการทบทวนแผนส่งเสริมฯSMEs เผยโครงการค้างอนุมัติ 380 โครงการ 2.4 แสนล้านบาทจะเคลียร์หมดภายในธ.ค.นี้แน่นอน
นางอรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บอร์ดบีโอไอ)ที่มีนายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานวันที่ 5 พ.ย. บีโอไอจะเสนอแนวทางการออกแพ็คเกจพิเศษที่จะมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์การลงทุนสำหรับโครงการที่ยื่นขอส่งเสริมฯกับบีโอไอในปี 2552 เพื่อเป็นการดึงดูดการลงทุนที่มีศักยภาพมากขึ้นท่ามกลางวิกฤติการเงินโลกที่คาดว่าจะกระทบกับภาคการผลิตและการลงทุนให้ลดต่ำลง
“ปีแห่งการส่งเสริมการลงทุนหรือ Thailand Investment Year ที่ผ่านมาไม่มีจุดขาย อนุกรรมการบีโอไอจะหารือรายละเอียดในวันนี้(28 ต.ค.) เพื่อปรับแผนส่งเสริมฯใหม่ ก่อนเสนอบอร์ดใหญ่ซึ่งวิกฤติการเงินโลกยังไม่แน่ใจว่าผลกระทบจะรุนแรงเพียงใดแต่คงจะเห็นผลในปี 2552 บีโอไอคงต้องปรับนโยบายเพื่อการดึงดูดการลงทุนด้วยการออกเป็นแพคเกจพิเศษการลงทุนซึ่งคงจะต้องมีการปรับประเภทกิจการและโซนนิ่ง ”นางอรรชกากล่าว
นอกจากนี้บีโอไอจะสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนและให้นักลงทุนตระหนักว่า ไทยเป็นฐานการลงทุนระยะยาวแม้จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกและปัญหาในประเทศไทย แต่โครงการลงทุนกว่าจะเริ่มผลิตต้องใช้เวลา 2-3 ปี ควบคู่ไปกับการเปิดสำนักงานที่ต่างประเทศอีกหลายแห่ง ได้แก่ ไทเป ซิดนีย์ ปักกิ่ง กวางโจว โซล และสต๊อกโฮม เพื่อส่งเสริมการลงทุนมากขึ้น
ทั้งนี้บีโอไอยังมีแผนตั้งคณะทำงานเพื่อทบทวนนโยบายสิทธิประโยชน์ที่ให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมหรือ SMEs เนื่องจากที่ผ่านมายังประสบผลสำเร็จไม่มากนักตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ซึ่งคงจะต้องนำแพคเกจต่างๆ ที่ได้ดำเนินการแล้วมาดูถึงปัญหาว่าอยู่ที่จุดใดเพื่อปรับใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ในช่วงพ.ย.นี้ อย่างไรก็ตามบีโอไอได้งบประมาณ 47 ล้านบาทที่จะสนับสนุน SMEs ให้ทำเรื่องวิจัยและพัฒนาร่วมกับสถาบันวิจัยที่จะช่วยส่งเสริมอีกทางหนึ่ง ขณะเดียวกันจะได้เร่งรัดการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่กับ SMEs ให้มากขึ้นรวมไปถึงการทำงานร่วมกับสถาบันการเงินที่บีโอไอจะหารือเพื่อการปล่อยเงินกู้ด้วย ฯลฯ
สำหรับโครงการที่รอการอนุมัติจากบีโอไอที่ค้างอยู่ประมาณ 380 โครงการมูลค่าประมาณ 2.4 แสนล้านบาทนั้นจะมีการทยอยอนุมัติโดยคณะอนุกรรมการบีโอไอจะอนุมัติเพิ่มเติมอีกในวันนี้(27ต.ค.)อีกประมาณ 50 โครงการ และโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องผ่านบอร์ดใหญ่ประธานได้แจ้งให้มีการประชุม 2 สัปดาห์ต่อครั้งดังนั้นภายในเดือนธ.ค.คงจะสามารถอนุมัติโครงการที่ค้างการพิจารณาได้ทั้งหมด
“บีโอไอได้ติดตามนักลงทุนรายใหญ่ที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนที่มีมูลค่าลงทุนตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป พบว่า 70 โครงการ ยังไม่เดินหน้าลงทุน ซึ่งบีโอไอ จะติดตามว่ามีปัญหาและอุปสรรคใด เพื่อให้เกิดการลงทุนที่แท้จริงและจะเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน เพื่อให้มีคำขอลงทุนใหม่เข้ามา “นางอรรชกากล่าว
นางอรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บอร์ดบีโอไอ)ที่มีนายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานวันที่ 5 พ.ย. บีโอไอจะเสนอแนวทางการออกแพ็คเกจพิเศษที่จะมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์การลงทุนสำหรับโครงการที่ยื่นขอส่งเสริมฯกับบีโอไอในปี 2552 เพื่อเป็นการดึงดูดการลงทุนที่มีศักยภาพมากขึ้นท่ามกลางวิกฤติการเงินโลกที่คาดว่าจะกระทบกับภาคการผลิตและการลงทุนให้ลดต่ำลง
“ปีแห่งการส่งเสริมการลงทุนหรือ Thailand Investment Year ที่ผ่านมาไม่มีจุดขาย อนุกรรมการบีโอไอจะหารือรายละเอียดในวันนี้(28 ต.ค.) เพื่อปรับแผนส่งเสริมฯใหม่ ก่อนเสนอบอร์ดใหญ่ซึ่งวิกฤติการเงินโลกยังไม่แน่ใจว่าผลกระทบจะรุนแรงเพียงใดแต่คงจะเห็นผลในปี 2552 บีโอไอคงต้องปรับนโยบายเพื่อการดึงดูดการลงทุนด้วยการออกเป็นแพคเกจพิเศษการลงทุนซึ่งคงจะต้องมีการปรับประเภทกิจการและโซนนิ่ง ”นางอรรชกากล่าว
นอกจากนี้บีโอไอจะสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนและให้นักลงทุนตระหนักว่า ไทยเป็นฐานการลงทุนระยะยาวแม้จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกและปัญหาในประเทศไทย แต่โครงการลงทุนกว่าจะเริ่มผลิตต้องใช้เวลา 2-3 ปี ควบคู่ไปกับการเปิดสำนักงานที่ต่างประเทศอีกหลายแห่ง ได้แก่ ไทเป ซิดนีย์ ปักกิ่ง กวางโจว โซล และสต๊อกโฮม เพื่อส่งเสริมการลงทุนมากขึ้น
ทั้งนี้บีโอไอยังมีแผนตั้งคณะทำงานเพื่อทบทวนนโยบายสิทธิประโยชน์ที่ให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมหรือ SMEs เนื่องจากที่ผ่านมายังประสบผลสำเร็จไม่มากนักตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ซึ่งคงจะต้องนำแพคเกจต่างๆ ที่ได้ดำเนินการแล้วมาดูถึงปัญหาว่าอยู่ที่จุดใดเพื่อปรับใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ในช่วงพ.ย.นี้ อย่างไรก็ตามบีโอไอได้งบประมาณ 47 ล้านบาทที่จะสนับสนุน SMEs ให้ทำเรื่องวิจัยและพัฒนาร่วมกับสถาบันวิจัยที่จะช่วยส่งเสริมอีกทางหนึ่ง ขณะเดียวกันจะได้เร่งรัดการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่กับ SMEs ให้มากขึ้นรวมไปถึงการทำงานร่วมกับสถาบันการเงินที่บีโอไอจะหารือเพื่อการปล่อยเงินกู้ด้วย ฯลฯ
สำหรับโครงการที่รอการอนุมัติจากบีโอไอที่ค้างอยู่ประมาณ 380 โครงการมูลค่าประมาณ 2.4 แสนล้านบาทนั้นจะมีการทยอยอนุมัติโดยคณะอนุกรรมการบีโอไอจะอนุมัติเพิ่มเติมอีกในวันนี้(27ต.ค.)อีกประมาณ 50 โครงการ และโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องผ่านบอร์ดใหญ่ประธานได้แจ้งให้มีการประชุม 2 สัปดาห์ต่อครั้งดังนั้นภายในเดือนธ.ค.คงจะสามารถอนุมัติโครงการที่ค้างการพิจารณาได้ทั้งหมด
“บีโอไอได้ติดตามนักลงทุนรายใหญ่ที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนที่มีมูลค่าลงทุนตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป พบว่า 70 โครงการ ยังไม่เดินหน้าลงทุน ซึ่งบีโอไอ จะติดตามว่ามีปัญหาและอุปสรรคใด เพื่อให้เกิดการลงทุนที่แท้จริงและจะเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน เพื่อให้มีคำขอลงทุนใหม่เข้ามา “นางอรรชกากล่าว