เอเอฟพี/รอยเตอร์ – นายกรัฐมนตรี ทาโร อาโซะ ของญี่ปุ่น วานนี้(30)เผยโฉมเพกเกจมูลค่าเกือบ 3 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อมุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของเอเชียแห่งนี้ ให้สามารถฟันฝ่าวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจที่กำลังแผ่ลามอยู่ทั่วโลก พร้อมกันนั้นก็เท่ากับเป็นการส่งสัญญาณว่า เขาคงจะยังไม่จัดการเลือกตั้งซึ่งมีความเสี่ยงสูงว่าทางพรรครัฐบาลออาจจะเพลี่ยงพล้ำ
อาโซะ ซึ่งพรรคลิเบอรัล เดโมแครติก ปาร์ตี้ (แอลดีพี) ของเขาที่เป็นแกนนำคณะรัฐบาลผสมญี่ปุ่นเวลานี้ กำลังมีคะแนนตามหลังฝ่ายค้านในการหยั่งเสียงล่าสุดหลายๆ สำนัก อีกทั้งถูกฝ่ายค้านกดดันให้จัดการเลือกตั้งก่อนกำหนด วานนี้กลับหันมาเลือกใช้วิธีบีบบังคับรัฐสภาให้ต้องเร่งรัดอนุมัติแผนการกอบกู้เศรษฐกิจของเขาที่มีมูลค่ารวม 26.9 ล้านล้านเยน (277,000 ล้านดอลลาร์) โดยที่จะเป็นการตั้งงบประมาณรายจ่ายยอดใหม่ทั้งสิ้น 5 ล้านล้านเยน
จากการที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเองก็ทำท่าโซเซอยู่บนขอบเหวของภาวะถดถอย มาตรการสำคัญอย่างหนึ่งในแพกเกจของอาโซะคราวนี้ จึงได้แก่การจ่ายเงินคืนให้แก่ครัวเรือนทั้งหมดในญี่ปุ่นเป็นจำนวน 2 ล้านล้านเยน (20,300 ล้านดอลลาร์) ซึ่งคำนวณแล้วสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิก 4 คนจะได้รับเงินราว 600 ดอลลาร์
“วิกฤตทางการเงินระดับโลกคราวนี้เป็นเหตุการณ์ที่ร้อยปีจึงจะเกิดสักครั้งหนึ่ง” อาโซะกล่าวในการแถลงข่าวถ่ายทอดทางโทรทัศน์ทั่วประเทศ “ประชาชนส่วนข้างมากท่วมท้น ต่างให้ความสำคัญกับเรื่องนโยบายโดยเฉพาะมาตรการเกี่ยวกับเศรษฐกิจ เหนือกว่าเรื่องการเมือง”
แพกเกจกระตุ้นเศรษฐกิจนี้ ยังมีมาตรการอย่างเช่น การลดค่าผ่านทางด่วน, การลดหย่อนภาษีสำหรับเงินกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสำหรับกำไรอันเกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์, นอกจากนั้นยังมีมาตรการสนับสนุนสถานที่เลี้ยงเด็ก และสถานที่ดูแลคนชรา, ตลอดจนโครงการกระตุ้นส่งเสริมเศรษฐกิจในท้องถิ่นต่างๆ
อาโซะยังให้คำมั่นที่จะช่วยเหลือพวกคนหนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นที่กำลังอยู่ในสภาพไร้งานประจำกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยจะให้แรงจูงใจแก่ธุรกิจต่างๆ เพื่อจะได้ว่าจ้างผู้คนมาทำงานตำแหน่งประจำในราว 600,000 ตำแหน่ง
“ในสถานการณ์อย่างเช่นที่เป็นอยู่นี้ เราจำเป็นต้องบรรเทาความไม่มั่นคงของประชาชน เราไม่ควรกลัวเกรงพายุรุนแรง แต่ก็ไม่ควรยืนอยู่เฉยๆ ปล่อยให้พายุไต้ฝุ่นพัดพาเอาเรากระเด็นไป” อาโซะกล่าว
ทว่า ฮิโรมิชิ ฮิราคาวะ นักเศรษฐศาสตร์แห่งวาณิชธนกิจ เครดิต์ สวิส สาขาโตเกียว แสดงความข้องใจว่าแผนการนี้จะช่วยหยุดยั้งภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวของญี่ปุ่นได้จริงหรือ เขามองว่าถึงอย่างไรอัตราการว่างงานน่าจะสูงขึ้น ในเมื่อสหรัฐฯและประเทศอื่นๆ ต่างก็มีความต้องการสินค้าออกของญี่ปุ่นลดลงฮวบฮาบทั้งนั้น
“มาตรการต่างๆ ในการลดหย่อนภาษี ที่นำมาใช้ในบรรยากาศซึ่งมีความไม่มั่นคงเพิ่มสูงในเรื่องการจ้างงาน ทำให้เราคาดหมายว่าคงจะมีผลกระตุ้นเพียงจำกัดต่อการใช้จ่ายของแต่ละบุคคล และต่อการลงทุนของระดับครัวเรือน” เขาเขียนไว้ในรายงานส่งถึงลูกค้า
อาโซะซึ่งเพิ่งรับตำแหน่งเมื่อ 1 เดือนเศษที่ผ่านมา ต่อจากนายกรัฐมนตรี ยาสุโอะ ฟุคุดะ ผู้ไม่เป็นที่นิยมของประชาชน เป็นคนที่ประกาศชัดเจนว่าเขาคิดเห็นแตกต่างจากนายกรัฐมนตรีของแอลดีพีทั้งหลายนับตั้งแต่ยุคของ จุนอิชิโร โคอิซูมิ เป็นต้นมา
ขณะที่โคอิซูมิและนายกฯคนต่อๆ มาต่างเน้นเรื่องวินัยการคลัง พยายามจำกัดการใช้จ่ายของรัฐบาลเพื่อไม่ให้การขาดดุลงบประมาณยิ่งบานปลาย อาโซะกลับมีแนวคิดว่าควรใช้วิธีของแอลดีพีก่อนหน้ายุคโคอิซูมิ ซี่งก็คือการนำงบประมาณมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มเหนี่ยว แม้เขายืนยันว่าจะไม่ออกพันธบัตรรัฐบาลใหม่ๆ ใดๆ อันจะทำให้หนี้สินสาธารณะของญี่ปุ่นยิ่งเป็นภาระหนักหน่วง แต่จะนำเอาเงินสำรองพิเศษต่างๆ ของภาครัฐมาใช้ รวมทั้งอาจจะขึ้นภาษีการขาย (เหมือนภาษีมูลค่าเพิ่ม) ในอีก 3 ปีข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม ทางด้านฝ่ายค้านได้ออกมาแสดงท่าทีแล้วว่า คัดค้านแผนการนี้ของอาโซะ
อาโซะ ซึ่งพรรคลิเบอรัล เดโมแครติก ปาร์ตี้ (แอลดีพี) ของเขาที่เป็นแกนนำคณะรัฐบาลผสมญี่ปุ่นเวลานี้ กำลังมีคะแนนตามหลังฝ่ายค้านในการหยั่งเสียงล่าสุดหลายๆ สำนัก อีกทั้งถูกฝ่ายค้านกดดันให้จัดการเลือกตั้งก่อนกำหนด วานนี้กลับหันมาเลือกใช้วิธีบีบบังคับรัฐสภาให้ต้องเร่งรัดอนุมัติแผนการกอบกู้เศรษฐกิจของเขาที่มีมูลค่ารวม 26.9 ล้านล้านเยน (277,000 ล้านดอลลาร์) โดยที่จะเป็นการตั้งงบประมาณรายจ่ายยอดใหม่ทั้งสิ้น 5 ล้านล้านเยน
จากการที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเองก็ทำท่าโซเซอยู่บนขอบเหวของภาวะถดถอย มาตรการสำคัญอย่างหนึ่งในแพกเกจของอาโซะคราวนี้ จึงได้แก่การจ่ายเงินคืนให้แก่ครัวเรือนทั้งหมดในญี่ปุ่นเป็นจำนวน 2 ล้านล้านเยน (20,300 ล้านดอลลาร์) ซึ่งคำนวณแล้วสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิก 4 คนจะได้รับเงินราว 600 ดอลลาร์
“วิกฤตทางการเงินระดับโลกคราวนี้เป็นเหตุการณ์ที่ร้อยปีจึงจะเกิดสักครั้งหนึ่ง” อาโซะกล่าวในการแถลงข่าวถ่ายทอดทางโทรทัศน์ทั่วประเทศ “ประชาชนส่วนข้างมากท่วมท้น ต่างให้ความสำคัญกับเรื่องนโยบายโดยเฉพาะมาตรการเกี่ยวกับเศรษฐกิจ เหนือกว่าเรื่องการเมือง”
แพกเกจกระตุ้นเศรษฐกิจนี้ ยังมีมาตรการอย่างเช่น การลดค่าผ่านทางด่วน, การลดหย่อนภาษีสำหรับเงินกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสำหรับกำไรอันเกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์, นอกจากนั้นยังมีมาตรการสนับสนุนสถานที่เลี้ยงเด็ก และสถานที่ดูแลคนชรา, ตลอดจนโครงการกระตุ้นส่งเสริมเศรษฐกิจในท้องถิ่นต่างๆ
อาโซะยังให้คำมั่นที่จะช่วยเหลือพวกคนหนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นที่กำลังอยู่ในสภาพไร้งานประจำกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยจะให้แรงจูงใจแก่ธุรกิจต่างๆ เพื่อจะได้ว่าจ้างผู้คนมาทำงานตำแหน่งประจำในราว 600,000 ตำแหน่ง
“ในสถานการณ์อย่างเช่นที่เป็นอยู่นี้ เราจำเป็นต้องบรรเทาความไม่มั่นคงของประชาชน เราไม่ควรกลัวเกรงพายุรุนแรง แต่ก็ไม่ควรยืนอยู่เฉยๆ ปล่อยให้พายุไต้ฝุ่นพัดพาเอาเรากระเด็นไป” อาโซะกล่าว
ทว่า ฮิโรมิชิ ฮิราคาวะ นักเศรษฐศาสตร์แห่งวาณิชธนกิจ เครดิต์ สวิส สาขาโตเกียว แสดงความข้องใจว่าแผนการนี้จะช่วยหยุดยั้งภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวของญี่ปุ่นได้จริงหรือ เขามองว่าถึงอย่างไรอัตราการว่างงานน่าจะสูงขึ้น ในเมื่อสหรัฐฯและประเทศอื่นๆ ต่างก็มีความต้องการสินค้าออกของญี่ปุ่นลดลงฮวบฮาบทั้งนั้น
“มาตรการต่างๆ ในการลดหย่อนภาษี ที่นำมาใช้ในบรรยากาศซึ่งมีความไม่มั่นคงเพิ่มสูงในเรื่องการจ้างงาน ทำให้เราคาดหมายว่าคงจะมีผลกระตุ้นเพียงจำกัดต่อการใช้จ่ายของแต่ละบุคคล และต่อการลงทุนของระดับครัวเรือน” เขาเขียนไว้ในรายงานส่งถึงลูกค้า
อาโซะซึ่งเพิ่งรับตำแหน่งเมื่อ 1 เดือนเศษที่ผ่านมา ต่อจากนายกรัฐมนตรี ยาสุโอะ ฟุคุดะ ผู้ไม่เป็นที่นิยมของประชาชน เป็นคนที่ประกาศชัดเจนว่าเขาคิดเห็นแตกต่างจากนายกรัฐมนตรีของแอลดีพีทั้งหลายนับตั้งแต่ยุคของ จุนอิชิโร โคอิซูมิ เป็นต้นมา
ขณะที่โคอิซูมิและนายกฯคนต่อๆ มาต่างเน้นเรื่องวินัยการคลัง พยายามจำกัดการใช้จ่ายของรัฐบาลเพื่อไม่ให้การขาดดุลงบประมาณยิ่งบานปลาย อาโซะกลับมีแนวคิดว่าควรใช้วิธีของแอลดีพีก่อนหน้ายุคโคอิซูมิ ซี่งก็คือการนำงบประมาณมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มเหนี่ยว แม้เขายืนยันว่าจะไม่ออกพันธบัตรรัฐบาลใหม่ๆ ใดๆ อันจะทำให้หนี้สินสาธารณะของญี่ปุ่นยิ่งเป็นภาระหนักหน่วง แต่จะนำเอาเงินสำรองพิเศษต่างๆ ของภาครัฐมาใช้ รวมทั้งอาจจะขึ้นภาษีการขาย (เหมือนภาษีมูลค่าเพิ่ม) ในอีก 3 ปีข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม ทางด้านฝ่ายค้านได้ออกมาแสดงท่าทีแล้วว่า คัดค้านแผนการนี้ของอาโซะ