เศรษฐกิจไทยยุค "สมชาย" ไร้อนาคต 2 อดีต รมว.คลัง สุดทน "สมคิด" ชี้รัฐบาลไร้พลังฟื้นความเชื่อมั่นยาก จวกขาดความเป็นเอกภาพ ประชาชนไม่มีที่พึ่ง ส่งผลไทยเสี่ยงเผชิญวิกฤติหนัก แนะ "โอฬาร" อย่าแบ่งเค้กงบแสนล้านโดยไม่ดูวัตถุประสงค์ "หม่อมอุ๋ย" สอนมวยรัฐบาลต้องมองระยะยาว กระตุ้นแบบต่อเนื่อง ไม่สร้างหนี้จนเกินกำลัง เสนอคงภาษี แต่นำงบไปใช้จ่ายในโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงและมีผลต่อการจ้างงาน
ในงานสัมมนาทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2552 “พลิกกลยุทธ์รับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2552” จัดโดยสมาคมเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในหัวข้อการเมืองไทยกับภาวะเศรษฐกิจปี 52 วานนี้ (25 พ.ย.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า สถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนี้ รัฐบาลจำเป็นจะต้องขจัดความกลัวในหัวใจของคนไทย และเรียกความเชื่อมั่นกลับมาให้ได้ หลักๆ คือ ทำให้บ้านเมืองไม่อยู่ในจุดเสี่ยงภัย คือต้องมีนโยบายที่ดี ตั้งใจดี มีเอกภาพ พูดเสียงเดียว พูดจริงและทำจริง มีผลเห็นชัดเจน อย่าปล่อยให้ประเทศตกอยู่ในภาวะวิตกกังวล จนไม่กล้าใช้จ่าย เพราะจะเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะเงินฝืดถอนตัวยาก เมื่อรู้ว่าเศรษฐกิจชะลอตัวจะต้องไม่กลัว ต้องตัดวงจร
"ต้องเชื่อมั่นและต่อสู้ ผู้ที่คุมกลไกเศรษฐกิจต้องสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดกับประเทศ และก้าวพ้นไปให้ได้ เพราะถ้าก้าวไปไม่พ้นภาวะเศรษฐกิจจะย่ำแย่ ถ้าทำไม่ได้บ้านเมืองจะลำบาก"
นายสมคิดกล่าวว่า บ้านเมืองต้องการรัฐบาลที่เข้มแข็งและมีพลังเพื่อฟื้นความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาโดยเร็ว ไม่เช่นนั้นไทยจะเผชิญกับความยากลำบากมากกว่าประเทศอื่นในการฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจโลกในปี 52 เพราะแม้จะมีมาตรการออกมามากมายก็จะไม่เกิดประสิทธิภาพ เพราะการคิดมาตรการต่างๆ ออกมา เป็นเพียงการป้องกัน ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการเมืองมา 2 ปี เราเสียความเชื่อมั่น ลามไปสู่ความน่าเชื่อถือของประเทศ
"อย่างน้อย 2-3 ปีแล้วที่ประเทศไทยไม่อยู่ในภาวะปกติ ขาดความเป็นเอกภาพ ขาดรัฐบาลที่มีพลังและความเชื่อมั่น ประชาชนขาดที่พึ่ง และไม่มั่นใจในอนาคตของตัวเอง โจทย์สำคัญของประเทศไทยคือการประคองไม่ให้เศรษฐกิจถดถอยมากไปกว่านี้"
นอกจากนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์จากงบประมาณ โดยเลือกใช้ในโครงการที่ก่อให้เกิดกิจกรรมที่มีความหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากกว่าให้ไปอยู่ในมือของประชาชน นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
"การลดภาษีรัฐบาลต้องดูว่าลดไหวหรือไม่ในระยะเวลา 2-3 ปีทำได้มากน่อยแค่ไหน การที่เงินไปอยู่ในมือผู้บริโภคในภาวะเวิกตกกังวล จะเกิดประโยชน์หรือไม่ ควรนำเงินไปใช้กิจกรรมที่มีการหมุนเวียนในตลาดจะเกิดประโยชน์มากกว่า ท่านโอฬาร อย่าแบ่งเค้กโดยไม่ดูวัตถุประสงค์ " นายสมคิดกล่าวและว่า อย่าปล่อยให้ประเทศไทยไม่มีความหมายบนเวทีโลก เพราะไม่เช่นนั้นจะเกิดผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อศักยภาพการแข่งขันทางการค้าของไทย พร้อมมองว่าในปีหน้าแต่ละประเทศจะต้องมีการปฏิรูปนโยบายการเงินและนโยบายการค้า ดังนั้นบทบาทของกระทรวงพาณิชย์ในเรื่องนี้จะต้องมีความชัดเจนมากขึ้น และอย่ามองสั้นต้องมองยาว โดยสิ่งที่ดำเนินการควรสอดรับกับการสร้างฐานในอนาคตข้างหน้าเพื่อถ่วงดุลกับต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร โครงสร้างพื้นฐาน และระบบโลจิสติกส์
นายสมคิดยังด้วยว่า จุดเสี่ยงของประเทศไทยที่ต้องระมัดระวังคือการไม่ให้เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องในระบบกลับมาซ้ำรอย เหมือนที่เคยเกิดในปี 40 โดยมองว่าสถาบันการเงินของไทยแม้จะมีความเข้มแข็ง แต่นโยบายการเงินก็ควรต้องสอดคล้องกับนโยบายการคลัง อย่าทำแบบต่างคนต่างไป และเห็นว่าขณะนี้ถึงเวลาแล้วที่จะต้องลดอัตราดอกเบี้ย แม้จะไม่สามารถหวังผลเลิศได้ว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นแต่ถือเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระต้นทุนให้ผู้ประกอบการ และการลงทุนของภาคธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
***อุ๋ยเตือนรัฐบาลอย่ามัวแต่แจกเงิน
ในงานเดียวกัน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของภาครัฐ โดยเฉพาะการตั้งงบประมาณแบบขาดดุลแสนล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจถือเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ปัญหาเศรษฐกิจอาจยืดเยื้อกินเวลามากกว่า 2 ปี สิ่งที่รัฐบาลจะต้องคำนึงถึงอย่างมาก คือ จะทำอย่างไรเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่องไปในระยะ 2-3 ปี โดยไม่สร้างหนี้จนเกินกำลัง จัดสรรเงินขาดดุลงบประมาณไปใช้ในโครงการที่เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน เช่น โครงการด้านสาธารณูปโภค แหล่งน้ำ สาธารณสุข การศึกษา เป็นต้น
"การตั้งงบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ถือว่าจำเป็น แต่การจะแก้ปัญหาโดยโหมขาดดุลเพียงปีเดียวอาจจะมีปัญหา ต้องเผื่อไว้ 2-3 ปี ดูว่าขาดดุลมากจะสร้างหนี้มากไปหรือไม่ และควรลงทุนในสิ่งที่ประชาชนรอคอยและเป็นประโยชน์มากกว่าการแจกเงินให้กับประชาชน" อดีต รมว.คลังกล่าวและว่า ปัจจัยหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 52 ให้เติบโตได้ 3-4% คือ การใช้จ่ายภาครัฐและการบริโภคภาคเอกชน เพราะการจะหวังพึ่งการส่งออกที่เคยเป็นปัจจัยหลักเดิมดูจะเป็นเรื่องยากแล้ว เพราะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญต่างชะลอตัวลง และคาดว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปีกว่าจะฟื้นตัว ดังนั้นปีหน้าโอกาสที่จะเห็นการส่งออกของไทยไม่ขยายตัวหรือมีอัตราการเติบโตที่ 0% ก็มีความเป็นไปได้
ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวถึงข้อเสนอของภาคเอกชนให้ปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่ม และการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดาว่า การลดอัตราภาษีเพื่อหวังจะกระตุ้นเศรษฐกิจสามารถทำได้ 2 ทาง ทางแรก คือ การลดภาษีเพื่อให้คนจ่ายภาษีน้อยลงและนำเงินส่วนนั้นไปจับจ่ายใช้สอย อีกทางหนึ่งคือ คงอัตราภาษีไว้เท่าเดิม แต่รัฐบาลนำงบประมาณไปใช้จ่ายในโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรง และมีผลต่อการจ้างงาน เพื่อให้มีเม็ดเงินมาจับจ่ายใช้สอยและหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง มองว่าทางเลือกที่สองจะเหมาะสมกับประเทศไทยในขณะนี้
ม.ร.ว.ปรีดิยาธรยังแสดงความเป็นห่วงนโยบายการดูแลราคาสินค้าเกษตรของรัฐบาล โดยเฉพาะในช่วงต้นปีที่ราคาข้าวในตลาดโลกปรับตัวสูงมากเป็นประวัติการณ์ รัฐบาลควรปล่อยให้มีการส่งออกข้าวเพื่อให้ได้ราคาดี แต่กลับเลือกใช้การรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังในราคาสูงกว่าตลาด ทำให้ต้องหมดงบประมาณไปจำนวนมาก ส่งผลกระทบมาถึงการบริหารจัดการในขณะนี้ ทำให้การรับจำนำข้าวนาปีในฤดูการผลิตปีนี้ที่ไม่สามารถดำเนินการได้เต็มที่ในยามที่ข้าวราคาตก เนื่องจากรัฐบาลมีข้าวจำนวนมากค้างอยู่ในสต็อคถึง 6.6 ล้านตัน เป็นข้าวที่เกิดจากเกษตรกรแห่นำมาจำนำในอดีต เพราะได้ราคาที่จูงใจ
"นโยบายที่กลับด้านของรัฐบาลเช่นนี้ อาจส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรของไทยจะลดต่ำลงได้อีก ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้จะกระทบต่อรายได้เกษตรกร ส่งผลมาถึงการบริโภคของภาคเอกชนที่ไม่สามารถขยายตัวได้ ในยามที่ประเทศต้องการพึ่งพาการบริโภคของเอกชนให้เป็นตัวช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ" อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลังกล่าว
ในงานสัมมนาทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2552 “พลิกกลยุทธ์รับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2552” จัดโดยสมาคมเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในหัวข้อการเมืองไทยกับภาวะเศรษฐกิจปี 52 วานนี้ (25 พ.ย.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า สถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนี้ รัฐบาลจำเป็นจะต้องขจัดความกลัวในหัวใจของคนไทย และเรียกความเชื่อมั่นกลับมาให้ได้ หลักๆ คือ ทำให้บ้านเมืองไม่อยู่ในจุดเสี่ยงภัย คือต้องมีนโยบายที่ดี ตั้งใจดี มีเอกภาพ พูดเสียงเดียว พูดจริงและทำจริง มีผลเห็นชัดเจน อย่าปล่อยให้ประเทศตกอยู่ในภาวะวิตกกังวล จนไม่กล้าใช้จ่าย เพราะจะเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะเงินฝืดถอนตัวยาก เมื่อรู้ว่าเศรษฐกิจชะลอตัวจะต้องไม่กลัว ต้องตัดวงจร
"ต้องเชื่อมั่นและต่อสู้ ผู้ที่คุมกลไกเศรษฐกิจต้องสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดกับประเทศ และก้าวพ้นไปให้ได้ เพราะถ้าก้าวไปไม่พ้นภาวะเศรษฐกิจจะย่ำแย่ ถ้าทำไม่ได้บ้านเมืองจะลำบาก"
นายสมคิดกล่าวว่า บ้านเมืองต้องการรัฐบาลที่เข้มแข็งและมีพลังเพื่อฟื้นความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาโดยเร็ว ไม่เช่นนั้นไทยจะเผชิญกับความยากลำบากมากกว่าประเทศอื่นในการฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจโลกในปี 52 เพราะแม้จะมีมาตรการออกมามากมายก็จะไม่เกิดประสิทธิภาพ เพราะการคิดมาตรการต่างๆ ออกมา เป็นเพียงการป้องกัน ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการเมืองมา 2 ปี เราเสียความเชื่อมั่น ลามไปสู่ความน่าเชื่อถือของประเทศ
"อย่างน้อย 2-3 ปีแล้วที่ประเทศไทยไม่อยู่ในภาวะปกติ ขาดความเป็นเอกภาพ ขาดรัฐบาลที่มีพลังและความเชื่อมั่น ประชาชนขาดที่พึ่ง และไม่มั่นใจในอนาคตของตัวเอง โจทย์สำคัญของประเทศไทยคือการประคองไม่ให้เศรษฐกิจถดถอยมากไปกว่านี้"
นอกจากนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์จากงบประมาณ โดยเลือกใช้ในโครงการที่ก่อให้เกิดกิจกรรมที่มีความหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากกว่าให้ไปอยู่ในมือของประชาชน นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
"การลดภาษีรัฐบาลต้องดูว่าลดไหวหรือไม่ในระยะเวลา 2-3 ปีทำได้มากน่อยแค่ไหน การที่เงินไปอยู่ในมือผู้บริโภคในภาวะเวิกตกกังวล จะเกิดประโยชน์หรือไม่ ควรนำเงินไปใช้กิจกรรมที่มีการหมุนเวียนในตลาดจะเกิดประโยชน์มากกว่า ท่านโอฬาร อย่าแบ่งเค้กโดยไม่ดูวัตถุประสงค์ " นายสมคิดกล่าวและว่า อย่าปล่อยให้ประเทศไทยไม่มีความหมายบนเวทีโลก เพราะไม่เช่นนั้นจะเกิดผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อศักยภาพการแข่งขันทางการค้าของไทย พร้อมมองว่าในปีหน้าแต่ละประเทศจะต้องมีการปฏิรูปนโยบายการเงินและนโยบายการค้า ดังนั้นบทบาทของกระทรวงพาณิชย์ในเรื่องนี้จะต้องมีความชัดเจนมากขึ้น และอย่ามองสั้นต้องมองยาว โดยสิ่งที่ดำเนินการควรสอดรับกับการสร้างฐานในอนาคตข้างหน้าเพื่อถ่วงดุลกับต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร โครงสร้างพื้นฐาน และระบบโลจิสติกส์
นายสมคิดยังด้วยว่า จุดเสี่ยงของประเทศไทยที่ต้องระมัดระวังคือการไม่ให้เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องในระบบกลับมาซ้ำรอย เหมือนที่เคยเกิดในปี 40 โดยมองว่าสถาบันการเงินของไทยแม้จะมีความเข้มแข็ง แต่นโยบายการเงินก็ควรต้องสอดคล้องกับนโยบายการคลัง อย่าทำแบบต่างคนต่างไป และเห็นว่าขณะนี้ถึงเวลาแล้วที่จะต้องลดอัตราดอกเบี้ย แม้จะไม่สามารถหวังผลเลิศได้ว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นแต่ถือเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระต้นทุนให้ผู้ประกอบการ และการลงทุนของภาคธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
***อุ๋ยเตือนรัฐบาลอย่ามัวแต่แจกเงิน
ในงานเดียวกัน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของภาครัฐ โดยเฉพาะการตั้งงบประมาณแบบขาดดุลแสนล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจถือเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ปัญหาเศรษฐกิจอาจยืดเยื้อกินเวลามากกว่า 2 ปี สิ่งที่รัฐบาลจะต้องคำนึงถึงอย่างมาก คือ จะทำอย่างไรเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่องไปในระยะ 2-3 ปี โดยไม่สร้างหนี้จนเกินกำลัง จัดสรรเงินขาดดุลงบประมาณไปใช้ในโครงการที่เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน เช่น โครงการด้านสาธารณูปโภค แหล่งน้ำ สาธารณสุข การศึกษา เป็นต้น
"การตั้งงบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ถือว่าจำเป็น แต่การจะแก้ปัญหาโดยโหมขาดดุลเพียงปีเดียวอาจจะมีปัญหา ต้องเผื่อไว้ 2-3 ปี ดูว่าขาดดุลมากจะสร้างหนี้มากไปหรือไม่ และควรลงทุนในสิ่งที่ประชาชนรอคอยและเป็นประโยชน์มากกว่าการแจกเงินให้กับประชาชน" อดีต รมว.คลังกล่าวและว่า ปัจจัยหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 52 ให้เติบโตได้ 3-4% คือ การใช้จ่ายภาครัฐและการบริโภคภาคเอกชน เพราะการจะหวังพึ่งการส่งออกที่เคยเป็นปัจจัยหลักเดิมดูจะเป็นเรื่องยากแล้ว เพราะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญต่างชะลอตัวลง และคาดว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปีกว่าจะฟื้นตัว ดังนั้นปีหน้าโอกาสที่จะเห็นการส่งออกของไทยไม่ขยายตัวหรือมีอัตราการเติบโตที่ 0% ก็มีความเป็นไปได้
ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวถึงข้อเสนอของภาคเอกชนให้ปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่ม และการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดาว่า การลดอัตราภาษีเพื่อหวังจะกระตุ้นเศรษฐกิจสามารถทำได้ 2 ทาง ทางแรก คือ การลดภาษีเพื่อให้คนจ่ายภาษีน้อยลงและนำเงินส่วนนั้นไปจับจ่ายใช้สอย อีกทางหนึ่งคือ คงอัตราภาษีไว้เท่าเดิม แต่รัฐบาลนำงบประมาณไปใช้จ่ายในโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรง และมีผลต่อการจ้างงาน เพื่อให้มีเม็ดเงินมาจับจ่ายใช้สอยและหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง มองว่าทางเลือกที่สองจะเหมาะสมกับประเทศไทยในขณะนี้
ม.ร.ว.ปรีดิยาธรยังแสดงความเป็นห่วงนโยบายการดูแลราคาสินค้าเกษตรของรัฐบาล โดยเฉพาะในช่วงต้นปีที่ราคาข้าวในตลาดโลกปรับตัวสูงมากเป็นประวัติการณ์ รัฐบาลควรปล่อยให้มีการส่งออกข้าวเพื่อให้ได้ราคาดี แต่กลับเลือกใช้การรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังในราคาสูงกว่าตลาด ทำให้ต้องหมดงบประมาณไปจำนวนมาก ส่งผลกระทบมาถึงการบริหารจัดการในขณะนี้ ทำให้การรับจำนำข้าวนาปีในฤดูการผลิตปีนี้ที่ไม่สามารถดำเนินการได้เต็มที่ในยามที่ข้าวราคาตก เนื่องจากรัฐบาลมีข้าวจำนวนมากค้างอยู่ในสต็อคถึง 6.6 ล้านตัน เป็นข้าวที่เกิดจากเกษตรกรแห่นำมาจำนำในอดีต เพราะได้ราคาที่จูงใจ
"นโยบายที่กลับด้านของรัฐบาลเช่นนี้ อาจส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรของไทยจะลดต่ำลงได้อีก ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้จะกระทบต่อรายได้เกษตรกร ส่งผลมาถึงการบริโภคของภาคเอกชนที่ไม่สามารถขยายตัวได้ ในยามที่ประเทศต้องการพึ่งพาการบริโภคของเอกชนให้เป็นตัวช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ" อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลังกล่าว