ผู้จัดการรายวัน - ทหารเสียงแตกกรณีสัตว์นรกปาระเบิด "พันธมิตรฯ-จรัญ ภักดีธนากุล" ผบ.ทอ.บอกสถานการณ์น่าเป็นห่วงโดยเฉพาะแนวโน้มก่อนทักษิณจะโฟนอินข้ามโลกป่วน จี้ "รัฐบาล-ตำรวจ" เข้มงวดและต้องแสดงให้เห็นว่าสามารถคุ้มครองชีวิต ทรัพย์สิน ความปลอดภัยของประชาชนได้ ขณะที่ ผบ.สส.ปัดยังไม่มีการพูดคุยกับ ผบ.เหล่าทัพ อ้างเหตุการณ์เพิ่งเกิด รอตำรวจตรวจสอบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.3000 น. วานนี้ (30 ต.ค.) ที่กระทรวงกลาโหม นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย เดินทางมาเป็นประธานการประชุมสภากลาโหม โดยมี พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ และ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เข้าร่วมประชุม
พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้สัมภาษณ์ถึงเหตุระเบิดบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ว่า ต้องรอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบก่อน ยังไม่มีการพูดคุยกับ ผบ.เหล่าทัพ เพราะเหตุการณ์เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเวลา 03.00 น. ส่วนกรณีที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะโฟนอินพูดคุยกับประชาชนนั้น เราต้องติดตามสถานการณ์ ส่วนจะทำได้หรือไม่ เพราะ พ.ต.ท. ทักษิณ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนนั้น ต้องถามฝ่ายกฎหมาย เมื่อถามว่า ในฐานะที่เป็นเพื่อนร่วมรุ่น ตท.10 จะขอร้อง พ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้น พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า ท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่แล้ว ไม่สามารถแนะนำได้
อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว พล.อ.อ. อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่บริเวณหน้าสะพานมัฆวานน่าเป็นห่วง เพราะยิ่งใกล้ในช่วงที่มีการชุมนุมใหญ่ในวันที่ 1 พ.ย.นี้ จะมีแนวโน้มของเหตุการณ์ที่รุนแรงมากขึ้น สิ่งที่รัฐบาลและตำรวจต้องดำเนินการตามกฎหมายให้เข้มงวด ต้องแสดงให้เห็นว่าสามารถคุ้มครองชีวิต ทรัพย์สิน ความปลอดภัยของประชาชนได้ คือ ต้องทำให้กฎหมายเป็นกฎหมาย เพราะหากกฎหมายไม่เป็นกฎหมายแล้วก็จะมีกลุ่มอะไรต่างๆ ออกมาเคลื่อนไหวมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รัฐบาลควบคุมเหตุการณ์ได้ลำบาก นำมาซึ่งเหตุการณ์ที่รุนแรงขึ้น
'ในวันที่ 1 พ.ย.เป็นวันที่น่าเป็นห่วง เพราะถ้ามีการออกมาชุมนุมกันออกมาเป็นจำนวนมาก และนำสื่อของรัฐออกมาเปิดโอกาสให้ถ่ายทอดสัญญาณอะไรต่าง ๆ จะทำให้เหตุว่ารัฐบาลไม่เป็นกลางอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำให้เกิดกระแสต่อต้าน เกิดความรุนแรง ผมไม่อยากให้เหตุการณ์เกิดขึ้นเหมือนเหตุการณ์ในอดีต เพราะทุกครั้งที่มีการขัดแย้งกัน จนนำมาถึงการเดินขบวนครั้งใหญ่ นักการเมืองจะเอาสื่อของรัฐไปเป็นเครื่องมือ หลังจากนั้นจะเห็นได้ว่ามีการทำลายทรัพย์สินของทางราชการเกิดขึ้น เพราะกลุ่มที่เห็นว่าไม่ได้รับความยุติธรรมจนต้องออกมาแสดงอะไรสักอย่าง' พล.อ.อ.อิทธพรกล่าว
พล.อ.อ.อิทธพรกล่าวว่า ในอดีตเห็นได้ว่ากรมประชาสัมพันธ์จะถูกเผา ไม่อยากเห็นว่าสื่อของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐถูกทำลาย สิ่งที่น่าจะเป็นแนวทางที่จะลดกระแสนี้ได้ก็คือ รัฐบาลน่าจะต้องเตรียมตัว ไม่ใช่ว่าพอรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ยังปล่อยให้เหตุการณ์ในลักษณะอย่างนี้เกิดขึ้นมาอีก หากเกิดขึ้นมาก็คงจะแก้ตัวไม่ได้ว่าทำดีที่สุดแล้ว เพราะเมื่อรู้ตัวว่าอะไรจะเกิดขึ้นต้องดำเนินการทำอะไรขึ้นมาอย่าปล่อยให้เอาสื่อของรัฐมาเป็นเครื่องมือ
เมื่อถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่ทหารจะขอไม่ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ โฟนอินเข้ามาในวันที่ 1 พ.ย.นี้ เพื่อจะได้ยุติปัญหา พล.อ.อ.อิทธพร กล่าวว่า เรื่องนี้เราพยายามพูดตลอดเวลาว่าทุกคนต้องรู้ในขอบเขตของอำนาจหน้าที่ว่าเราก็อยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของเรา เพราะใครที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาคนนั้นจะต้องรับผิดชอบ เพราะปัญหารู้อยู่แล้วว่าอะไรจะเกิดขึ้น เพราะคนที่โฟนอินเข้ามารู้อยู่แล้วว่าอยู่ในฐานะอะไร และการที่นำสื่อสัญญาณออกมามันจะเกิดผลอะไรตามมา มันจะทำให้ประเทศชาติเสียหายมากน้อยแค่ไหน คนที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือใครที่รับผิดชอบเรื่องนี้ต้องออกมาชี้แจงก่อนว่า ท่าทีของคุณเป็นอย่างไรจะปล่อยให้ออกมาแล้วมาแก้ตัวทีหลังมันไม่ใช่ เพราะเหตุการณ์มันจะเกิดขึ้นแล้ว
พล.อ.อ.อิทธพรกล่าวว่า กองทัพไทยได้เรียกประชุมแล้วว่า เหตุการณ์น่าจะเกิดขึ้นอย่างไร และควรจะเตรียมการอย่างไร เราต้องป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ลุกลาม ประเด็นสำคัญคืออย่าปล่อยให้คนออกมาปะทะ หรือ เผชิญหน้ากัน ต้องป้องกันตั้งแต่แรก ๆ ไม่ใช่ปล่อยให้มาเผชิญหน้ากันแล้ว ถึงตรงนั้นก็ป้องกันลำบาก
ส่วน ผบ.เหล่าทัพ มีการส่งสัญญาณหรือบอกนายสมชาย เพื่อไม่ต้องการให้ พ.ต.ท. ทักษิณ โฟนอินหรือไม่ พล.อ.อ.อิทธพร กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมด้วย ท่านจะต้องรู้ดีอย่างมาก คงไม่ต้องมีใครไปชี้นำท่านว่า ในส่วนที่ท่านดูแลด้านความมั่นคงอยู่แล้ว เหตุการณ์อันไหนที่จะทำให้รุนแรงมากขึ้น ท่านต้องแสดงท่าทีตั้งแต่แรก
พล.อ.อ.อิทธพรยังกล่าวด้วยว่า ถ้าปล่อยให้มีการใช้สื่อของรัฐมามีส่วนร่วม จะทำให้เหตุการณ์รุนแรงมากขึ้น เมื่อถามว่า ในฐานะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนจะสามารถโฟนอินด้วยการสื่อของกรมประชาสัมพันธ์สามารถทำได้หรือไม่ พล.อ.อ.อิทธพร กล่าวว่า คำพิพากษาของศาลน่าจะเป็นตัวแสดงให้เห็นว่าอยู่ในฐานะอะไร
พล.ร.อ. กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวว่า ขณะนี้ตำรวจคงดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ตนยังไม่ทราบข้อเท็จจริง เมื่อถามว่า กองทัพจะป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้น เพราะเหตุการณ์เมื่อคืนที่ผ่านมาถือเป็นการส่งสัญญาณเริ่มต้นของความรุนแรง และหากให้ พ.ต.ท. ทักษิณ จะโฟนอิน 1 พ.ย.นี้ จะทำให้รุนแรงมากขึ้นหรือไม่นั้น ไม่รู้ว่าจะเกี่ยวกันหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ขอให้ใจเย็นต้องดูว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดจากสาเหตุอะไร
เมื่อถามว่า กองทัพเตรียมการอย่างไรหากวันที่ 1 พ.ย.เกิดการปะทะนองเลือด พล.ร.อ.กำธร กล่าวว่า เราติดตามสถานการณ์อยู่ตลอด เมื่อถามว่า กองทัพจะนำกำลังทหารออกมาควบคุมดูแลหรือไม่ เพราะเหมือนรัฐบาลเพิกเฉยกับเหตุการณ์ พล.ร.อ.กำธร กล่าวว่า คงไม่ได้เพิกเฉย แต่ไม่ทราบ เมื่อถามย้ำว่า กองทัพจะนำทหารออกมาระงับไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงก่อนหรือไม่ พล.ร.อ.กำธร กล่าวว่า ออกไปได้อย่างไร การดำเนินการของทหารมีขอบเขต และมีกฎหมายกำหนดอยู่แล้ว
พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงข่าวภายหลังการประชุมสภาโหมว่า ในที่ประชุมนาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้มอบนโยบายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานต่อส่วนราชการต่างๆ ในกระทรวงกลาโหม โดยให้ดำเนินการยึดหลักกฏหมายของประเทศ ส่วนนโยบายรักษาความมั่นคงแห่งชาติ เน้นการพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างสมเกียรติ ทั้งในฐานะที่ทรงเป็นประมุขของประเทศและทรงดำรงตำแหน่งกองทัพไทย นายกฯ ยังเน้นการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ ส่งเสริมความสามัคคีระหว่างทหารกับประชาชน และยุติปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การสร้างภาพลักษณ์ของกระทรวงกลาโหมให้เป็นที่น่าเชื่อถือ เชื่อมั่นและศรัทธาของประชาชน
พล.ท.พีระพงษ์ กล่าวว่า ในเวลา 10.30 น. พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร) ได้เดินทางมารายงานสถานการณ์ให้กับนายกฯ เนื่องจากนายกฯต้องการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับเหตุระเบิดบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ และบ้านนายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อนำมาตอบคำถามผู้สื่อข่าว ซึ่งการหารือนอกรอบครั้งนี้เกิดขึ้นภายหลังการประชุมสภากลาโหม โดยมี พล.อ. อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ร่วมหารือ ซึ่งใช้เวลาหารือไม่นานนัก
"ในที่ประชุมไม่ได้พูดถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะโฟนอินผ่านรายการ ความจริงวันนี้ ในวันที่ 1 พ.ย.นี้" โฆษกกระทรวงกลาโหมกล่าว
ส่วนกรณีที่มองว่ารัฐบาลไม่ยอมทำอะไรทั้งที่อาจจะเกิดความรุนแรงนั้น คงตอบแทนไม่ได้ เพราะเรื่องนี้ละเอียดอ่อนมาก เราจะคาดเดาว่า การโฟนอินทำให้เกิดความรุนแรงขึ้น อาจจะไม่ใช่ทั้งหมด เพราะในทุกเหตุการณ์จะมีหลายตัวแปรที่เป็นเหตุ ไม่ใช่แค่เรื่องโฟนอินอย่างเดียว คิดว่าบางทีอาจจะไม่เกิด สิ่งไหนที่เป็นประโยชน์ก็ทำ สิ่งไหนที่ไม่เป็นประโยชน์ก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น สำหรับข้อสังเกตเกี่ยวกับสถานะของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่เป็นผู้ต้องคดีสามารถโฟนอินเข้ามาในประเทศได้หรือไม่นั้น ขอเวลาในการไปตรวจสอบข้อกฎหมายก่อน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.3000 น. วานนี้ (30 ต.ค.) ที่กระทรวงกลาโหม นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย เดินทางมาเป็นประธานการประชุมสภากลาโหม โดยมี พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ และ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เข้าร่วมประชุม
พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้สัมภาษณ์ถึงเหตุระเบิดบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ว่า ต้องรอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบก่อน ยังไม่มีการพูดคุยกับ ผบ.เหล่าทัพ เพราะเหตุการณ์เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเวลา 03.00 น. ส่วนกรณีที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะโฟนอินพูดคุยกับประชาชนนั้น เราต้องติดตามสถานการณ์ ส่วนจะทำได้หรือไม่ เพราะ พ.ต.ท. ทักษิณ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนนั้น ต้องถามฝ่ายกฎหมาย เมื่อถามว่า ในฐานะที่เป็นเพื่อนร่วมรุ่น ตท.10 จะขอร้อง พ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้น พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า ท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่แล้ว ไม่สามารถแนะนำได้
อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว พล.อ.อ. อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่บริเวณหน้าสะพานมัฆวานน่าเป็นห่วง เพราะยิ่งใกล้ในช่วงที่มีการชุมนุมใหญ่ในวันที่ 1 พ.ย.นี้ จะมีแนวโน้มของเหตุการณ์ที่รุนแรงมากขึ้น สิ่งที่รัฐบาลและตำรวจต้องดำเนินการตามกฎหมายให้เข้มงวด ต้องแสดงให้เห็นว่าสามารถคุ้มครองชีวิต ทรัพย์สิน ความปลอดภัยของประชาชนได้ คือ ต้องทำให้กฎหมายเป็นกฎหมาย เพราะหากกฎหมายไม่เป็นกฎหมายแล้วก็จะมีกลุ่มอะไรต่างๆ ออกมาเคลื่อนไหวมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รัฐบาลควบคุมเหตุการณ์ได้ลำบาก นำมาซึ่งเหตุการณ์ที่รุนแรงขึ้น
'ในวันที่ 1 พ.ย.เป็นวันที่น่าเป็นห่วง เพราะถ้ามีการออกมาชุมนุมกันออกมาเป็นจำนวนมาก และนำสื่อของรัฐออกมาเปิดโอกาสให้ถ่ายทอดสัญญาณอะไรต่าง ๆ จะทำให้เหตุว่ารัฐบาลไม่เป็นกลางอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำให้เกิดกระแสต่อต้าน เกิดความรุนแรง ผมไม่อยากให้เหตุการณ์เกิดขึ้นเหมือนเหตุการณ์ในอดีต เพราะทุกครั้งที่มีการขัดแย้งกัน จนนำมาถึงการเดินขบวนครั้งใหญ่ นักการเมืองจะเอาสื่อของรัฐไปเป็นเครื่องมือ หลังจากนั้นจะเห็นได้ว่ามีการทำลายทรัพย์สินของทางราชการเกิดขึ้น เพราะกลุ่มที่เห็นว่าไม่ได้รับความยุติธรรมจนต้องออกมาแสดงอะไรสักอย่าง' พล.อ.อ.อิทธพรกล่าว
พล.อ.อ.อิทธพรกล่าวว่า ในอดีตเห็นได้ว่ากรมประชาสัมพันธ์จะถูกเผา ไม่อยากเห็นว่าสื่อของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐถูกทำลาย สิ่งที่น่าจะเป็นแนวทางที่จะลดกระแสนี้ได้ก็คือ รัฐบาลน่าจะต้องเตรียมตัว ไม่ใช่ว่าพอรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ยังปล่อยให้เหตุการณ์ในลักษณะอย่างนี้เกิดขึ้นมาอีก หากเกิดขึ้นมาก็คงจะแก้ตัวไม่ได้ว่าทำดีที่สุดแล้ว เพราะเมื่อรู้ตัวว่าอะไรจะเกิดขึ้นต้องดำเนินการทำอะไรขึ้นมาอย่าปล่อยให้เอาสื่อของรัฐมาเป็นเครื่องมือ
เมื่อถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่ทหารจะขอไม่ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ โฟนอินเข้ามาในวันที่ 1 พ.ย.นี้ เพื่อจะได้ยุติปัญหา พล.อ.อ.อิทธพร กล่าวว่า เรื่องนี้เราพยายามพูดตลอดเวลาว่าทุกคนต้องรู้ในขอบเขตของอำนาจหน้าที่ว่าเราก็อยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของเรา เพราะใครที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาคนนั้นจะต้องรับผิดชอบ เพราะปัญหารู้อยู่แล้วว่าอะไรจะเกิดขึ้น เพราะคนที่โฟนอินเข้ามารู้อยู่แล้วว่าอยู่ในฐานะอะไร และการที่นำสื่อสัญญาณออกมามันจะเกิดผลอะไรตามมา มันจะทำให้ประเทศชาติเสียหายมากน้อยแค่ไหน คนที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือใครที่รับผิดชอบเรื่องนี้ต้องออกมาชี้แจงก่อนว่า ท่าทีของคุณเป็นอย่างไรจะปล่อยให้ออกมาแล้วมาแก้ตัวทีหลังมันไม่ใช่ เพราะเหตุการณ์มันจะเกิดขึ้นแล้ว
พล.อ.อ.อิทธพรกล่าวว่า กองทัพไทยได้เรียกประชุมแล้วว่า เหตุการณ์น่าจะเกิดขึ้นอย่างไร และควรจะเตรียมการอย่างไร เราต้องป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ลุกลาม ประเด็นสำคัญคืออย่าปล่อยให้คนออกมาปะทะ หรือ เผชิญหน้ากัน ต้องป้องกันตั้งแต่แรก ๆ ไม่ใช่ปล่อยให้มาเผชิญหน้ากันแล้ว ถึงตรงนั้นก็ป้องกันลำบาก
ส่วน ผบ.เหล่าทัพ มีการส่งสัญญาณหรือบอกนายสมชาย เพื่อไม่ต้องการให้ พ.ต.ท. ทักษิณ โฟนอินหรือไม่ พล.อ.อ.อิทธพร กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมด้วย ท่านจะต้องรู้ดีอย่างมาก คงไม่ต้องมีใครไปชี้นำท่านว่า ในส่วนที่ท่านดูแลด้านความมั่นคงอยู่แล้ว เหตุการณ์อันไหนที่จะทำให้รุนแรงมากขึ้น ท่านต้องแสดงท่าทีตั้งแต่แรก
พล.อ.อ.อิทธพรยังกล่าวด้วยว่า ถ้าปล่อยให้มีการใช้สื่อของรัฐมามีส่วนร่วม จะทำให้เหตุการณ์รุนแรงมากขึ้น เมื่อถามว่า ในฐานะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนจะสามารถโฟนอินด้วยการสื่อของกรมประชาสัมพันธ์สามารถทำได้หรือไม่ พล.อ.อ.อิทธพร กล่าวว่า คำพิพากษาของศาลน่าจะเป็นตัวแสดงให้เห็นว่าอยู่ในฐานะอะไร
พล.ร.อ. กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวว่า ขณะนี้ตำรวจคงดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ตนยังไม่ทราบข้อเท็จจริง เมื่อถามว่า กองทัพจะป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้น เพราะเหตุการณ์เมื่อคืนที่ผ่านมาถือเป็นการส่งสัญญาณเริ่มต้นของความรุนแรง และหากให้ พ.ต.ท. ทักษิณ จะโฟนอิน 1 พ.ย.นี้ จะทำให้รุนแรงมากขึ้นหรือไม่นั้น ไม่รู้ว่าจะเกี่ยวกันหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ขอให้ใจเย็นต้องดูว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดจากสาเหตุอะไร
เมื่อถามว่า กองทัพเตรียมการอย่างไรหากวันที่ 1 พ.ย.เกิดการปะทะนองเลือด พล.ร.อ.กำธร กล่าวว่า เราติดตามสถานการณ์อยู่ตลอด เมื่อถามว่า กองทัพจะนำกำลังทหารออกมาควบคุมดูแลหรือไม่ เพราะเหมือนรัฐบาลเพิกเฉยกับเหตุการณ์ พล.ร.อ.กำธร กล่าวว่า คงไม่ได้เพิกเฉย แต่ไม่ทราบ เมื่อถามย้ำว่า กองทัพจะนำทหารออกมาระงับไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงก่อนหรือไม่ พล.ร.อ.กำธร กล่าวว่า ออกไปได้อย่างไร การดำเนินการของทหารมีขอบเขต และมีกฎหมายกำหนดอยู่แล้ว
พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงข่าวภายหลังการประชุมสภาโหมว่า ในที่ประชุมนาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้มอบนโยบายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานต่อส่วนราชการต่างๆ ในกระทรวงกลาโหม โดยให้ดำเนินการยึดหลักกฏหมายของประเทศ ส่วนนโยบายรักษาความมั่นคงแห่งชาติ เน้นการพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างสมเกียรติ ทั้งในฐานะที่ทรงเป็นประมุขของประเทศและทรงดำรงตำแหน่งกองทัพไทย นายกฯ ยังเน้นการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ ส่งเสริมความสามัคคีระหว่างทหารกับประชาชน และยุติปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การสร้างภาพลักษณ์ของกระทรวงกลาโหมให้เป็นที่น่าเชื่อถือ เชื่อมั่นและศรัทธาของประชาชน
พล.ท.พีระพงษ์ กล่าวว่า ในเวลา 10.30 น. พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร) ได้เดินทางมารายงานสถานการณ์ให้กับนายกฯ เนื่องจากนายกฯต้องการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับเหตุระเบิดบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ และบ้านนายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อนำมาตอบคำถามผู้สื่อข่าว ซึ่งการหารือนอกรอบครั้งนี้เกิดขึ้นภายหลังการประชุมสภากลาโหม โดยมี พล.อ. อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ร่วมหารือ ซึ่งใช้เวลาหารือไม่นานนัก
"ในที่ประชุมไม่ได้พูดถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะโฟนอินผ่านรายการ ความจริงวันนี้ ในวันที่ 1 พ.ย.นี้" โฆษกกระทรวงกลาโหมกล่าว
ส่วนกรณีที่มองว่ารัฐบาลไม่ยอมทำอะไรทั้งที่อาจจะเกิดความรุนแรงนั้น คงตอบแทนไม่ได้ เพราะเรื่องนี้ละเอียดอ่อนมาก เราจะคาดเดาว่า การโฟนอินทำให้เกิดความรุนแรงขึ้น อาจจะไม่ใช่ทั้งหมด เพราะในทุกเหตุการณ์จะมีหลายตัวแปรที่เป็นเหตุ ไม่ใช่แค่เรื่องโฟนอินอย่างเดียว คิดว่าบางทีอาจจะไม่เกิด สิ่งไหนที่เป็นประโยชน์ก็ทำ สิ่งไหนที่ไม่เป็นประโยชน์ก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น สำหรับข้อสังเกตเกี่ยวกับสถานะของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่เป็นผู้ต้องคดีสามารถโฟนอินเข้ามาในประเทศได้หรือไม่นั้น ขอเวลาในการไปตรวจสอบข้อกฎหมายก่อน.