ผู้จัดการรายวัน - อสังหาฯ หวั่นแบงก์เข้มปล่อยกู้ฉุดภาพรวม ธุรกิจเดี้ยง เผยยอดปฏิเสธสินเชื่อรายย่อยพุ่ง 50% ส่วนคอนโดฯ เจอหนักสุด ต้องขายกระดาษให้ได้ 50% ก่อนแบงก์ จึงพร้อมปล่อยกู้ วอนรัฐช่วยลดดอกเบี้ยเหลือ 3% กระตุ้นกำลังซื้อส่งอานิสงส์อีกหลายธุรกิจ พร้อมเสนอแก้กฎหมายบังคับจำนองที่เกี่ยวกับกรมบังคับคดีให้เร็วขึ้น พร้อมผ่อนเกณฑ์ให้ผู้ประกอบการเข้าซื้อบ้านในโครงการที่ถูกแบงก์ยึดนำมาขายใหม่ ช่วยลดปัญหาเอ็นพีเอทรุดโทรมหมดราคา
นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท นิรันดร์ เรสซิเดนท์ จำกัดและอุปนายกสมาคมอาคารชุด ไทย กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ในขณะนี้คือ การปฏิเสธสินเชื่อของ สถาบันการเงินมีสถิติเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งสินเชื่อรายย่อยและสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการ โดยยอดปฏิเสธสินเชื่อเพื่อ ซื้อที่อยู่อาศัยระดับราคาไม่เกิน 2 ล้านบาทประมาณ 30% เนื่องจากวงเงินน้อยทำให้ยอดปฏิเสธสินเชื่อไม่สูงมากนัก แต่สำหรับบ้านราคาตั้งแต่ 2-5 ล้านบาท มียอดปฏิเสธสินเชื่อสูงถึง 50% ทำให้ผู้ประกอบการต้องนำกลับมาขายใหม่เพิ่มต้นทุน การตลาดและต้นทุนด้านดอกเบี้ยมากยิ่งขึ้น
ส่วนสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการนั้น ทางสถาบันการเงินอนุมัติยากมาก โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียม ผู้ประกอบ- การต้องขายห้องชุดให้ได้ไม่น้อยกว่า 50% จึงจะอนุมัติสินเชื่อให้ นอกจากนี้ ยังมีข้อกำหนดเงื่อนไขเรื่องกลุ่มเป้าหมายผู้ซื้อห้องชุดที่เข้มงวดขึ้นเช่นเดียวกัน จะให้เฉพาะในส่วนคอนโดฯระดับราคา 1-3 ล้านบาท ที่เน้นกลุ่มเป้าหมายคนไทย ส่วนคอนโดฯระดับไฮเอนด์หรือบ้านพัก วิลลาตากอากาศ ซึ่งถือเป็นบ้านหลังที่สองในแหล่งท่องเที่ยว ที่เน้นจำหน่ายกลุ่มคนต่างชาติระดับราคาเกิน 10 บาทขึ้นไปนั้น จะไม่ปล่อยกู้ เพราะเห็นว่ามีความเสี่ยง กำลังซื้อลดลงจากปัญหาวิกฤตทางการเงิน
อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมฯต้องการให้มีการแก้กฎหมายการบังคับหลักประกันหรือบังคับจำนองให้เร็วขึ้น ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกรมบังคับคดี จากที่ในอดีตหลังจากที่ลูกหนี้ไม่ยอมชำระค่างวดต้องใช้เวลานาน ทำให้สินทรัพย์เสื่อมโทรมลงมาก เมื่อสถาบันการเงินนำออกขายก็ไม่ได้ราคา หากมีการบังคับหลักประกันเร็ว ก็จะช่วยรักษามูลค่าของสินทรัพย์นั้นไว้ได้ นอกจากนี้ควรเปิดโอกาสให้เจ้าของโครงการ สามารถเข้าซื้อ บ้านที่ถูกธนาคารยึดนำกลับมาช่วยขายใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาบ้านวางภายในโครงการ
'แบงก์เข้มงวดกับการให้สินเชื่อโครงการมาก ต้องทำการขายกระดาษให้ได้ 50% ก่อนจึงจะปล่อยกู้ จากที่ก่อนหน้านี้ดูแค่เพียงศักยภาพของโครงการเป็นหลักและมีบางธนาคารที่ตั้งเงื่อนไขไม่ปล่อยสินเชื่อบ้านให้แก่คนที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท/เดือนแล้ว ดังนั้น ภาครัฐควรเข้ามาช่วย เหลือโดยลดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านให้อยู่ในระดับ 3% เหมือนหลังปี 2540 จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 7% เพื่อช่วยประคับประคองธุรกิจในช่วงนี้ไปก่อนและการลดดอกเบี้ยยังช่วยให้ธุรกิจอื่นได้ประโยชน์ด้วย'
อนึ่งก่อนหน้านี้มีหลายธนาคารประกาศ ปรับเพดานของลูกค้าที่ต้องการขอสินเชื่อบ้าน เช่น ธนาคารกสิกรไทยฯ เป็นต้น
ยืดมาตรการภาษีเร่งเอกชนลงทุนเพิ่ม
ด้านนายสมเชาว์ ตันฑเทอดธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) ในฐานะนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมายอดขายที่อยู่อาศัยในทุกเซกเมนต์ของบริษัทปรับตัวลดลง จากช่วงเดียวกันของ ปีก่อนหน้าประมาณ 30% หลังธนาคารเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ขณะที่กลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัยในระดับ ราคา 1-3 ล้านบาทส่วนใหญ่ ใช้เงินกู้ผ่อนส่งระยะยาว 20-30 ปีกับสถาบันการเงิน และมีสัดส่วนที่ซื้อเงินสดน้อย ซึ่งกรณีเงินสดจะเป็นเฉพาะที่อยู่อาศัยระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป
นายอิสระ บุญยัง อุปนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรกล่าวว่า เมื่อวันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมากลุ่มผู้ประกอบการอสังหาฯในนามสมาคมต่างๆ ได้เข้าพบนายสุชาติ ธาดาดำรงเวช รมว.คลัง เพื่อขอให้ธนาคารของรัฐเป็นแกนนำในการปล่อยกู้สินเชื่อรายย่อย และให้ปรับลดดอกเบี้ยลงเพื่อช่วยเรื่องต้นทุนของผู้ประกอบการ และให้รายย่อยเข้าถึงสินเชื่อบ้านได้ง่ายขึ้น เพราะเวลานี้ ดอกเบี้ยสามารถลดลงได้ตามตลาดโลก ไม่ได้มีแรงกดดันเรื่องเงินเฟ้อ จากราคา น้ำมันปรับเพิ่มขึ้นเหมือนก่อนหน้านี้แล้ว
นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท นิรันดร์ เรสซิเดนท์ จำกัดและอุปนายกสมาคมอาคารชุด ไทย กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ในขณะนี้คือ การปฏิเสธสินเชื่อของ สถาบันการเงินมีสถิติเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งสินเชื่อรายย่อยและสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการ โดยยอดปฏิเสธสินเชื่อเพื่อ ซื้อที่อยู่อาศัยระดับราคาไม่เกิน 2 ล้านบาทประมาณ 30% เนื่องจากวงเงินน้อยทำให้ยอดปฏิเสธสินเชื่อไม่สูงมากนัก แต่สำหรับบ้านราคาตั้งแต่ 2-5 ล้านบาท มียอดปฏิเสธสินเชื่อสูงถึง 50% ทำให้ผู้ประกอบการต้องนำกลับมาขายใหม่เพิ่มต้นทุน การตลาดและต้นทุนด้านดอกเบี้ยมากยิ่งขึ้น
ส่วนสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการนั้น ทางสถาบันการเงินอนุมัติยากมาก โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียม ผู้ประกอบ- การต้องขายห้องชุดให้ได้ไม่น้อยกว่า 50% จึงจะอนุมัติสินเชื่อให้ นอกจากนี้ ยังมีข้อกำหนดเงื่อนไขเรื่องกลุ่มเป้าหมายผู้ซื้อห้องชุดที่เข้มงวดขึ้นเช่นเดียวกัน จะให้เฉพาะในส่วนคอนโดฯระดับราคา 1-3 ล้านบาท ที่เน้นกลุ่มเป้าหมายคนไทย ส่วนคอนโดฯระดับไฮเอนด์หรือบ้านพัก วิลลาตากอากาศ ซึ่งถือเป็นบ้านหลังที่สองในแหล่งท่องเที่ยว ที่เน้นจำหน่ายกลุ่มคนต่างชาติระดับราคาเกิน 10 บาทขึ้นไปนั้น จะไม่ปล่อยกู้ เพราะเห็นว่ามีความเสี่ยง กำลังซื้อลดลงจากปัญหาวิกฤตทางการเงิน
อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมฯต้องการให้มีการแก้กฎหมายการบังคับหลักประกันหรือบังคับจำนองให้เร็วขึ้น ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกรมบังคับคดี จากที่ในอดีตหลังจากที่ลูกหนี้ไม่ยอมชำระค่างวดต้องใช้เวลานาน ทำให้สินทรัพย์เสื่อมโทรมลงมาก เมื่อสถาบันการเงินนำออกขายก็ไม่ได้ราคา หากมีการบังคับหลักประกันเร็ว ก็จะช่วยรักษามูลค่าของสินทรัพย์นั้นไว้ได้ นอกจากนี้ควรเปิดโอกาสให้เจ้าของโครงการ สามารถเข้าซื้อ บ้านที่ถูกธนาคารยึดนำกลับมาช่วยขายใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาบ้านวางภายในโครงการ
'แบงก์เข้มงวดกับการให้สินเชื่อโครงการมาก ต้องทำการขายกระดาษให้ได้ 50% ก่อนจึงจะปล่อยกู้ จากที่ก่อนหน้านี้ดูแค่เพียงศักยภาพของโครงการเป็นหลักและมีบางธนาคารที่ตั้งเงื่อนไขไม่ปล่อยสินเชื่อบ้านให้แก่คนที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท/เดือนแล้ว ดังนั้น ภาครัฐควรเข้ามาช่วย เหลือโดยลดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านให้อยู่ในระดับ 3% เหมือนหลังปี 2540 จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 7% เพื่อช่วยประคับประคองธุรกิจในช่วงนี้ไปก่อนและการลดดอกเบี้ยยังช่วยให้ธุรกิจอื่นได้ประโยชน์ด้วย'
อนึ่งก่อนหน้านี้มีหลายธนาคารประกาศ ปรับเพดานของลูกค้าที่ต้องการขอสินเชื่อบ้าน เช่น ธนาคารกสิกรไทยฯ เป็นต้น
ยืดมาตรการภาษีเร่งเอกชนลงทุนเพิ่ม
ด้านนายสมเชาว์ ตันฑเทอดธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) ในฐานะนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมายอดขายที่อยู่อาศัยในทุกเซกเมนต์ของบริษัทปรับตัวลดลง จากช่วงเดียวกันของ ปีก่อนหน้าประมาณ 30% หลังธนาคารเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ขณะที่กลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัยในระดับ ราคา 1-3 ล้านบาทส่วนใหญ่ ใช้เงินกู้ผ่อนส่งระยะยาว 20-30 ปีกับสถาบันการเงิน และมีสัดส่วนที่ซื้อเงินสดน้อย ซึ่งกรณีเงินสดจะเป็นเฉพาะที่อยู่อาศัยระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป
นายอิสระ บุญยัง อุปนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรกล่าวว่า เมื่อวันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมากลุ่มผู้ประกอบการอสังหาฯในนามสมาคมต่างๆ ได้เข้าพบนายสุชาติ ธาดาดำรงเวช รมว.คลัง เพื่อขอให้ธนาคารของรัฐเป็นแกนนำในการปล่อยกู้สินเชื่อรายย่อย และให้ปรับลดดอกเบี้ยลงเพื่อช่วยเรื่องต้นทุนของผู้ประกอบการ และให้รายย่อยเข้าถึงสินเชื่อบ้านได้ง่ายขึ้น เพราะเวลานี้ ดอกเบี้ยสามารถลดลงได้ตามตลาดโลก ไม่ได้มีแรงกดดันเรื่องเงินเฟ้อ จากราคา น้ำมันปรับเพิ่มขึ้นเหมือนก่อนหน้านี้แล้ว